Codon และ anticodon จะเป็น ชื่อ เรียก โครงสร้าง โมเลกุลของ สาร ใน ข้อ ใด

พันธุกรรม

พันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะ
     อะไรทำให้เรามีลักษณะเหมือนพ่อแม่ ความคล้ายคลึงบางอย่างอาจเกิดจากการอบรมเมื่อยังเด็ก และสภาพแวดล้อมแต่ลักษณะอีกจำนวนมาก เช่นสีของตา ที่ถูกถ่ายทอดออกมา ถูกควบคุมโดยคำสั่งจาก ยีน (gene) การศึกษาเกี่ยวกับยีนและกฎที่จะตัดสินว่า ลักษณะใดที่เราได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ เรียกว่า พันธุศาสตร์ (Genetics)

ยีนอยู่ที่ไหน
     ยีนกระจายอยู่ตามโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นเส้นบางเรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) ซึ่งอยู่ภายในนิวเครียส ของทุกเซลล์ โครโมโซมจะอยู่เป็นคู่จำนวนคู่ขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิต พืชบางชนิดมีจำนวนโครโมโซมมากกว่า 100 คู่ ในทุกเซลล์ หนอนสปีชีส์หนึ่งมีเพียงคู่เดียว มนุษย์มี 23 คู่ (หรือ 46 โครโมโซม)ในแต่ละเซลล์

ยีนถูกสร้างมาจากอะไร
     ยีนประกอบด้วยส่วนของสารเคมี DNA (Deoxyribo Nucleic Acid) ซึ่งควบคุมกิจกรรมในเซลล์ ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โครงสร้างของ DNA ถูกค้นพบในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี 1953 โดย เจมส์ วัตสัน (James Watson) และฟรานซิส คริค (Francis Crick)
แต่ละโมเลกุล DNA มีรูปร่างเป็น 2 สายบิดกันเป็นเกลียวเหมือนบันไดเวียน 2 อัน DNA ประกอบด้วย สารเคมี 4 ชนิด เกาะกันเป็นคู่ อะดีนีน (Adenine) จับกับไธมีน (Thymine) ไซโตรซีน (Cytosine) จับกับกัวนีน (Guanine) DNA บรรจุด้วยยีนหรือคำสั่งในรูปของรหัส การจัดเรียงของสารเคมีตามเกลียว จะเปลี่ยนแปลงไปตามคำสั่งที่เป็นรหัส

ยีนถูกค้นพบอย่างไร
     ความคิดเรื่องยีน หรือแฟคเตอร์ ถูกคิดครั้งแรกในปี 1865 โดยภารดาเกรเกอร์ เมนเดล (Brother Greger Mendel)เขาได้ทดลองผสมพันธุ์ถั่ว เพื่อศึกษาลักษณะต่างๆ เช่นความสูง และสีดอก ว่าถูกถ่ายทอดไปอย่างไร

รหัสพันธุกรรมคืออะไร
     ใน ปีพศ 2504 เอ็ม ดับบริวไนเรนเบิก และ เจเอ็ช แมททัย ชาวอเมริกัน ได้ค้นพบรหัสพันธุกรรมแรก คือ UUU ซึ่งเป็นรหัสของกรดอะมิโนชนิดฟินีลอะลานิล  และต่อมามีการข้นพบเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆและในปีพศ2509ค้นพบรหัสพันธุกรรมถึง 61 รหัส  และมีรหัสอิก3รหัสแต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นรหัสของสารใดภายหลังจึงพบว่า  รหัสทั้งสามนี้ทำหน้าที่หยุดการสังเคราะห์โปรตีน เมื่อพบรหัสนี้การสังเคราะโปรตีนจึงสี้นสุดลง  และยังพบ AUG เป็นรหัสของกรดอะมิโนชนิดเมไทโอนีลเป็นรหัสตั้งต้นของการสังเคราะห์โปรตีนอิกด้วย
     รหัสพันธุกรรมใน mRNA แต่ละรหัสมี เบสอยู่ 3 โมเลกุลเราเรียกแต่ละรหัสว่าโคดอนในการสังเคราะโปรตีน tRNA มีหน้าที่นำกรดอะมิโนมายัง mRNA โดย tRNAจะเข้าจับกับ mRNA  tRNA แต่ละโมเลกุลจะมีลำดับเบส 3 โมเลกุลที่เข้าคู่กับโคดอนได้เรียกเบส 3 โมเลกุล tRNA นี้เรียกว่า แอนติโคดอน(anticodon)

     รหัสพันธุกรรมหรือโคดอนหมายถึงลำดับของนิวคลีโอไทด์บนอาร์เอ็นเอสื่อสารที่ถอดข้อความพันธุกรรมมาจากดีเอ็นเอ ให้ออกมาเป็นลำดับของกรดอะมิโนในโมเลกุลของโปรตีน คำถามที่ตามมาขณะนั้นคือ ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์มีเพียง 4 ชนิดเท่านั้น สามารถถ่ายรหัสและแปลรหัสได้เป็นกรดอะมิโนถึง 20 ชนิด ได้อย่างไร มีการคำนวณว่ารหัสพันธุกรรมจะต้องประกอบด้วยจำนวนนิวคลีโอไทด์อยู่กี่ตัว จึงสามารถบอกความแตกต่างของกรดอะมิโนได้ 20 ตัว การตอบคำถามเหล่านี้มาจากผลงานของนักชีวเคมีหลายท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก Nirenberg และ Kborana มีผลงานค้นคว้ารหัสพันธุกรรมได้ 64 ตัว ต่อกรดอะมิโนทั้ง 20 ชนิด โดยที่นิวคลีโอไทด์ 3 ตัว จะประกอบกันเป็นรหัสพันธุกรรมสำหรับกรดอะมิโนหนึ่งตัว กรดอะมิโนตัวหนึ่งอาจมีรหัสพันธุกรรมมากกว่าหนึ่งได้ ดังนั้นรหัสพันธุกรรมบนอาร์เอ็นเอสื่อสารนี้เรียกว่า ทริพเพลตโคดอน (triplet code) หรือโคดอน (codon) (ดูตารางรหัสพันธุกรรมในตารางที่ 5.1 ) การแปลลำดับของเบสใน mRNA จะต้องเริ่มจากปลาย 5’ ไปยังปลาย 3’ โดยที่ลำดับของเบสสามตัวติดต่อกันจะกำหนดเป็นรหัสสำหรับกรดอะมิโนหนึ่งตัว สำหรับรหัสเริ่มต้นของกรดอะมิโนตัวแรกคือ AUG ในพวกโปรคาริโอท กรดอะมิโนนั้นคือ N-ฟอร์มิล เมไทโอนีนซึ่งถูกพามาด้วย tRNA ที่ต่างกันกับ tRNA ที่พากรดอะมิโนเมไทโอนีนภายในห่วงโซ่พอลิเพปไทด์ สำหรับพวกยูคาริโอทกรดอะมิโนตัวแรกคือเมไทโอนีนไม่มีการเติมหมู่ฟอร์มิลที่เมไทโอนีน ยกเว้นการสังเคราะห์โปรตีนที่เกิดขึ้นในไมโทคอนเดรีย (mitochondria) และคลอโรพลาสต์ (chloroplasts) ซึ่งจะมี N-ฟอร์มิล เมไทโอนีนเป็นกรดอะมิโนตัวแรก AUG เป็นโคดอนเดียวเท่านั้นที่จำเพาะต่อกรดเมไทโอนีนจึงทำหน้าที่เป็นทั้งโคดอนเริ่มต้นและโคดอนสำหรับเมไทโอนีนที่อยู่ภายในห่วงโซ่พอลิเพปไทด์ การแปลรหัสจะหยุดเมื่อพบโคดอนที่มีความหมายให้หยุดหรือรหัสหยุด เนื่องจากไม่มี tRNA ที่มีแอนติโคดอนที่เฉพาะต่อโคดอนนั้น โคดอนที่เป็นรหัสหยุดคือ UAA