การแบ่งประเภทของสถาบันการเงินที่แบ่งตามหน้าที่ในการดําเนินการ

โจทย์ปัญหา

การแบ่งประเภทของสถาบันการเงินที่แบ่งตามหน้าที่ในการดําเนินการ

  • มัธยมต้น
  • เศรษฐศาสตร์

สถาบันการเงินที่แบ่งตามลักษณะของกิจการ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบ

1สถาบันการเงินแบ่งตามลักษณะของกิจการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร หมายถึง สถาบันการเงินที่ดำเนินงานรับฝากเงินที่สามารถไถ่ถอนคืนได้ และให้กู้ยืม เป็นช่องทางการเชื่อมโยงระหว่างผู้ออมกับผู้ต้องการเงินทุน ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ 2. สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร


1. ธนาคาร 1.1 ธนาคารกลาง หมายถึง สถาบันทางการเงินของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินและเครดิตของประเทศ ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและเสถียรภาพต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ แต่ต้องอยู่ภายใต้นโยบายของรัฐบาล ไม่ได้แสวงหาผลกำไรเป็นผลตอบแทนเหมือนกับธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย 1.2 ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง ธนาคารที่ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายเงินคืนเมื่อต้องทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ รวมทั้งให้กู้ยืมหรือสินเชื่อแก่ประชาชน ให้บริการซื้อขายตั๋วแลกเงิน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ 1.3 ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษ ได้แก่ 1) ธนาคารออมสิน เป็นธนาคารของรัฐบาล มีหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้มีเงินออมรายย่อย ออกพันธบัตร สลากออมสิน รับฝากเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสงเคราะห์ชีวิตและการศึกษาโดยเฉพาะเยาวชนของชาติ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ปล่อยเงินกู้ให้ผู้มีรายได้น้อยในวงเงินต่ำ คนทั่วไปจึงเรียกว่า ธนาคารคนจน 2) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นธนาคารของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชนเกี่ยวกับการกู้ยืม เพื่อนำไปซื้อที่ดินหรืออาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือซ่อมแซมต่อเติม ไถ่ถอนการจำนองที่ดินและอาคาร หรือเพื่อการลงทุนในกิจการการเคหะ พร้อมกับรับฝากเงินของประชาชนทั่วไปด้วย 3) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สังกัดกระทรวงการคลัง ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ในรูปของการกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำไปลงทุนด้านการเกษตร 2. สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร 2.1 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำกัด 2.2 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2.3 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม 2.4 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 2.5 บริษัทประกันภัยและบริษัทประกันชีวิต 2.6 สหกรณ์ออมทรัพย์ 2.7 โรงรับจำนำ

     ผู้ให้บริการทางการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.

    ​​​​​​​​​​​​​​​​​​

    การแบ่งประเภทของสถาบันการเงินที่แบ่งตามหน้าที่ในการดําเนินการ
     

    ​1.  สถ​าบันการเงิน​​​​

    ​​​​
    การแบ่งประเภทของสถาบันการเงินที่แบ่งตามหน้าที่ในการดําเนินการ
    ​​หมายถึง สถาบันที่ทำหน้าที่ให้บริการทางการเงิน เช่น การรับฝาก-ถอนเงิน การให้สินเชื่อ การรับชำระเงิน และธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาตแก่ลูกค้าไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป บริษัท ห้างร้าน หรือหน่วยงานราชการ ซึ่งประกอบธุรกิจสถาบันการเงินภายใต้พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และ ธปท. เป็นผู้กำกับดูแล โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่​

    ​​1.1  ธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank)

    หมายถึง บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อครบกำหนดระยะเวลา ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงิน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยและหลักทรัพย์ ธุรกิจอนุพันธ์ทางการเงิน ธุรกิจธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (e-banking)  ธุรกิจการเงินและธุรกิจการให้บริการอื่น ธนาคารพาณิชย์แบ่งออกได้อีก 4 ประเภท ดังนี้​

    1.1.1  ธนาคารพาณิชย์ไทย (ดูราย​ชื่อธนาคาร)​

    1.1.2  ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (Retail Bank) มายถึง บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริการทางการเงินพื้นฐาน เช่น การรับฝากเงิน การโอนและรับชำระเงินแก่ประชาชนรายย่อย  และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจที่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับ เงินตราต่างประเทศ และตราสารอนุพันธ์ (ดูรายชื่อธนาคาร)​​​​

    1.1.3  ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (Subsidiary) หมายถึง บริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนในประเทศไทยและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดยมีธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด (ดูรายชื่อธนาคาร)​

    1.1.4  สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (Foreign Bank Branch / Full Branch) หมายถึง สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (ดูรายชื่อธนาคาร)​

    ​1.2  บริษัทเงินทุน (Finance Company)

    หมายถึง บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน โดยรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่​อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ และสามารถให้กู้ยืมเงินตามประเภทของธุรกิจเงินทุนที่ได้รับอนุญาต เช่น การให้กู้ยืมเงินระยะปานกลางและ ระยะยาวแก่กิจการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือพาณิชยกรรม การให้เช่าซื้อบางประเภท แต่ไม่สามารถประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศได้ (ดูรายชื่อบริษัท)​​

    1.3  บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (Credit Fancier Company)

    หมายถึง บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ โดยสามารถรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และต้องฝากเงินไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท โดยสามารถให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝาก (ดูรายชื่อบริษัท)​​


    ​2​.  สำนักงานผู้แทนธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ​​

    การแบ่งประเภทของสถาบันการเงินที่แบ่งตามหน้าที่ในการดําเนินการ
    ​หมายถึง สำนักงานของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. ให้ดำเนินการแทนธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ  โดยดำเนินการได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการติดต่อ ประสานงาน การแนะนำลูกค้า และการรวบรวมข้อมูล เช่น ข่าวสารเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของลูกค้าและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงิน เพื่อส่งให้สำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานอื่น ๆ ของธนาคารเท่านั้น (ดูรายชื่อสำนักงานผู้แทน)​

    ​3.  บริษัทบริหารสินทรั​พย์ (บบส.)​​​​

    ​​​​
    การแบ่งประเภทของสถาบันการเงินที่แบ่งตามหน้าที่ในการดําเนินการ
    ​หมายถึง บริษัทที่ได้จดทะเบียนกับ ธปท. ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 เพื่อทำหน้าที่บริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ของสถาบันการเงิน โดยการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ยังเปิดกิจการอยู่หรือปิดกิจการแล้ว รวมถึงหลักประกันของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเพื่อนำมาบริหาร เช่น ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ฟื้นฟูลูกหนี้ หรือจำหน่ายโอนต่อไป (ดูรายชื่อบริษัท)​

    ​4.  สถ​าบันการเ​งิ​นเฉพาะกิจ ​(Specialized Financial Institutions : SFIs)​​

    ​​
    การแบ่งประเภทของสถาบันการเงินที่แบ่งตามหน้าที่ในการดําเนินการ
    ​หมายถึง สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐในการพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจ และสนับสนุนการลงทุนต่าง ๆ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังซึ่งได้มอบหมายให้ ธปท. ทำหน้าที่ตรวจสอบผลการดำเนินงานและความเสี่ยง และรายงานผลการตรวจสอบไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ดูรายชื่อสถาบันการเงิน)​

    5.  ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถ​าบันการเงิน​​​​​​ (Non-bank)

    การแบ่งประเภทของสถาบันการเงินที่แบ่งตามหน้าที่ในการดําเนินการ
    ​หมายถึง ผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์  ได้แก่
    ผู้ให้บริการบัตรเครดิตผู้ให้บริการสินเชื่อ​ส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับ (นาโนไฟแนนซ์) ผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ผู้ให้บริการด้านการแลกเปลี่ยนเงินหรือโอนเงินตราต่างประเทศ
    ​​(​ดูรายชื่อ​ผู้​ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน)​

    ขอรับคำปรึกษา หรือ ร้องเรียน

    การแบ่งประเภทของสถาบันการเงินที่แบ่งตามหน้าที่ในการดําเนินการ

    โปรแกรมคำนวณ

    คุณคือใคร