จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ตัวอย่าง

วัน-เดือน-ปีคำเขียนคำอ่านคำแปล
31-12-2563 รตฺโย อโมฆา คจฺฉนฺติ รัตโย อะโมคา คัจฉันติ ไม่ควรปล่อยให้วันคืน ผ่านไปสูญเปล่า
30-12-2563 กาโล ฆสติ ภูตานิ กาโล ฆะสะติ ภูตานิ กาลเวลา ย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ พร้อมกับตัวมันเอง
29-12-2563 ตตฺราปิ สรตี โย ตัตราปิ สะระตี โย วัย ย่อมเสื่อมไปทุกขณะ
28-12-2563 อาสํ น ฉินฺเทยฺย สุขาคมาย อาสัง นะ ฉินเทยยะ สุขาคะมายะ เมื่อต้องการความสุข ไม่พึงสิ้นหวัง
27-12-2563 ปฏิมํเสตมตฺตนา ปะฏิมังเสตะมัตตะนา จงตรวจสอบตนด้วยตนเอง
26-12-2563 อตฺตนา โจทยตฺตานํ อัตตะนา โจทะยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง
25-12-2563 อตฺตา ว เสยฺโย ปรมา อัตตา วะ เสยโย ปะระมา ตนเองนั่นแหล่ะ เป็นสิ่งสำคัญ
24-12-2563 มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ มัตตัญญุตา สะทา สาธุ ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ
23-12-2563 ธมฺโม ว เตสํ อธิโก วิเสโส ธัมโม วะ เตสัง อะธิโก วิเสโส ธรรมะเท่านั้น ทำให้คนต่างจากสัตว์
22-12-2563 สีลเมว อิธ อคฺคํ สีละเมวะ อิธะ อัคคัง ศีลเท่านั้น เป็นเลิศในโลกนี้
21-12-2563 วิหญฺญติ จิตฺตวสานุวตฺตี วิหัญญะติ จิตตะวะสานุวัตตี ผู้ทำตามใจ จะมีแต่ความเดือดร้อน
20-12-2563 กุทโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ กุทโธ ธัมมัง นะ ปัสสะติ เมื่อโกรธ จะมองไม่เห็นธรรม
19-12-2563 ลทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ ลัทโธ ธัมมัง นะ ปัสสะติ เมื่อโลภ จะมองไม่เห็นธรรม
18-12-2563 อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ อิจฉา นะรัง ปะริกัสสะติ ความอยาก ย่อมชักพาคนไปต่างๆ
17-12-2563 อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา อิจฉา หิ อนันตะโคจะรา ความอยากได้ ไม่มีที่จบสิ้นเลย
16-12-2563 ปสฺสทฺธิยา อสติ ทุกฺขํ วิหรติ ปัสสัททิยา อะสะติ ทุกขัง วิหะระติ เมื่อใจไม่สงบ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
15-12-2563 อุปสนฺโต สุขํ เสติ อุปะสันโต สุขัง เสติ ผู้มีความสงบใจ ย่อมอยู่เป็นสุข
14-12-2563 อตฺตานุรกฺขี ภว มา อฑยฺหิ อัตตานุรักขี ภะวะ มา อะทัยหิ ผู้ตามรักษาตน จะไม่เดือดร้อน
13-12-2563 ทนฺโต เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ ทันโต เสฏโฐ มนุสเสสุ ผู้ที่ฝึกตนแล้ว ประเสริฐที่สุด
12-12-2563 เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ เมธาวี สุขัง โส อะธิคัจฉะติ ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข
11-12-2563 สกมฺมุนา โหติ ผลูปปตฺติ สะกัมมุนา โหติ ผะลูปะปัดติ การงานจะประสบผลสำเร็จ เพราะลงมือทำ
10-12-2563 นิปฺผนฺนโสภิโน อตฺถา นิปผันนะโสภิโน อัตถา ประโยชน์จะงดงาม เมื่อประสบผลสำเร็จ
9-12-2563 อตฺตานํ อติมญฺญสิ อัตตานัง อะติมัญญะสิ ไม่ควรดูหมิ่นตนเอง
8-12-2563 จิตฺตํ ภาวิตํ กมฺมนิยํ โหติ จิตตัง ภาวิตัง กัมมะนิยัง โหติ จิตที่อบรมแล้ว ย่อมทำการงานให้สำเร็จ
7-12-2563 มา จิตฺตสฺส วสํ คมิ มา จิตตัดสะ วะสัง คะมิ อย่าเผลอไปตามกระแสจิต
6-12-2563 สุขํ รุกฺขสฺส ฉายาว สุขัง รุกขัสสะ ฉายาวะ ร่มเงาของต้นไม้ ย่อมอำนวยความสุขให้ได้
5-12-2563 ยาตานุยายี จ ภวาหิ มาณว ยาตานุยายี จะ ภะวาหิ มาณะวะ จงเดินตามทางที่บุพการีชนดำเนินไปแล้ว
4-12-2563 ตโต ญาติ มาตาปิตุ ตะโต ญาติ มาตาปิตุ ร่มเงาแห่งบิดามารดา ย่อมอำนวยความสุขให้ได้
3-12-2563 จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ จิตตัง คุตตัง สุขาวะหัง จิตที่ระวังดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้
2-12-2563 จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง จิตที่ฝึกดีแล้ว นำความสุขมาให้
1-12-2563 จิตฺตํ ภาวิตํ มหโต สํวตฺตติ จิตตัง ภาวิตัง มะหะโต สังวัตตะติ จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมมีประโยชน์มาก

Download

พุทธศาสนสุภาษิต

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ตัวอย่าง

          พุทธศาสนสุภาษิต คือ สุภาษิต ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ ซึ่งเป็นเนื้อความสั้น ๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ สามารถใช้ได้ทั้งเป็นแนวทางดำเนินชีวิต และหาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหาที่สงสัย หรือ แม้แต่เตือน สติ ให้เรา หู ตา สว่าง เกิดปัญญาเข้าใจ ได้อุบายที่ดีในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหา และพ้นจากเครื่องเศร้าหมองได้

    พุทธศาสนสุภาษิต มีอยู่มากมาย แต่ในระดับชั้นนี้ขอนำเสนอไว้ 4 เรื่อง ดังนี้

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ตัวอย่าง

    ภาพ  :  การฝึกจิต

จิตฺตํ ทนฺติ สุขาวหํ

อ่านว่า จิต-ตัง-ทัน-ตัง-สุ-ขา-วะ-หัง

      แปลว่า จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้

      ความหมาย จิตที่ฝึกดีแล้ว หมายถึง จิตที่ได้รับการฝึกอบรมและดูแลรักษามาเป็นอย่างดี ทำให้เป็นคนหนักแน่น มั่นคง ไม่หวั่นไหวในสิ่งแวดล้อมที่ีมากระทบ มีความสงบเยือกเย็น

      จุดมุ่งหมาย มุ่งให้ฝึกอบรมจิต ซึ่งทำได้หลายทาง เช่น การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งต่างๆ ให้รู้และเข้าใจสภาพที่เป็นจริง เช่น การระลึกถึงศีล การระลึกถึงจาคะ การระลึกถึงเทวดา และวิธีการกำหนดลมหายใจเข้าออก  เป็นต้น

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ตัวอย่าง

 

น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ

อ่านว่า นะ-อุจ-จา-วะ-จัง-ปัน-ทิ-ตา-ทัส-สะ-ยัน-ติ

      แปลว่า บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นๆ ลงๆ

      ความหมาย บัณฑิต หมายถึง ผู้มีปัญญา ผู้ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักความดีงาม ใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิต และมีจิตใจห่างไกลจากสิ่งชั่วร้ายหรืออบายมุขต่างๆ บัณฑิตต้องมีจิตใจมั่นคง ยึดมั่นในคุณงามความดี ทำความดีเสมอต้นเสมอปลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่แสดงอาการขึ้นๆ ลงๆ

      จุดมุ่งหมาย ต้องการสอนให้ผู้อยู่ในวัยเรียน มีความมั่นคงในการทำความดี เข้าใจถึงลักษณะของผู้เป็นบัณฑิต  ซึ่งผ่านการศึกษาและการฝึกอบรมมาดีแล้ว ต้องมีจิตใจมั่นคงเข้มแข็งในการทำสิ่งที่ดีถูกต้องดีงาม ไม่ดื้อร้นทำตามใจตัวเอง แต่ต้องยึดหลักธรรมเป็นใหญ่

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ตัวอย่าง

นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต

อ่านว่า นัต-ถิ-โล-เก-อะ-นิน-ทิ-โต

      แปลว่า คนที่ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก

      ความหมาย การนินทา หมายถึง การติเตียนลับหลัง หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเรื่อง โลกธรรม สอนว่า การนินทาเป็นเรื่องธรรมดาของโลก สรรเสริญกับนินทาเป็นของคู่กัน บุคคลที่ได้รับการสรรเสริญ ก็ย่อมถูกนินทาได้เช่นกัน

      จุดมุ่งหมาย สอนให้ชาวพุทธเข้าใจธรรมชาติของโลกและมนุษย์ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ต้องตระหนักว่าไม่มีใครในโลกรอดพ้นจากการนินทา


จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ตัวอย่าง

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ตัวอย่าง

โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ

อ่านว่า โก-ธัง-คัด-วา-สุ-ขัง-เส-ติ

      แปลว่า ฆ่าความโกรธได้ย่อมอยู่เป็นสุข

      ความหมาย ความโกรธ เป็นความรู้สึกไม่พอใจอย่างรุนแรงต่อบุคคล หรือต่อสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนที่มีความทุกข์ เมื่อเกิดความโกรธอาจตัดสินใจใช้อารมณ์รุนแรงกระทำต่อบุคคลหรือสิ่งของส่งผลเสียหายร้ายแรงตามมา ดังนั้นการกำจัดความโกรธออกไป

      จุดมุ่งหมาย สอนให้ชาวพุทธรู้จักโทษและผลเสียของความโกรธ รู้จักฝึกระงับความโกรธ มิให้เกิดขึ้นง่ายๆ โดยใช้หลักไตรสิกขา ได้แก่

  •        การรักษาศีล
  •      การเจริญสมาธิ
  • ·       การเจริญปัญญา

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ตัวอย่าง