โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง อาการ

โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง อาการ

Show

โรคระบบทางเดินหายใจ รู้จักไว้ปลอดภัยกว่า

ในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกบ่อย ปริมาณความชื้นในอากาศก็จะเพิ่มขึ้น แต่บางวันอากาศกลับร้อนกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้ ในหน้าฝนมักมีการระบาดของเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบหายใจหลายชนิด ทำให้เด็กๆ รวมถึงคุณพ่อ คุณแม่ ติดโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจมากขึ้น โดยโรคระบบทางเดินหายใจในเด็กที่พบบ่อย สามารถจำแนกแบบง่ายๆ เป็นโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน และระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ดังนี้

“โรคหวัด” โรคของระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่ไม่ควรละเลย

โรคของระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่พบได้บ่อยที่สุดคงหนีไม่พ้นโรคหวัดซึ่งพบได้ราว 60-70% ของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งจริงๆ แล้วเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบหายใจมีมากกว่า 200 ชนิดขึ้นไป และนอกจากนี้ยังอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้ด้วย

หวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัสจะทำให้มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เจ็บคอ ไอจาม คัดจมูก แสบตา น้ำตาไหล ตาแดง ส่วนใหญ่จะมีอาการอยู่ประมาณ 5-7 วัน ก็จะหายเป็นปกติ ถ้าเป็นหวัดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้สูง บายรายอาจหนาวสั่น ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ซึ่งลักษณะของน้ำมูกมักจะมีสีเขียวปนเหลืองให้เห็นตั้งแต่วันแรกๆ ของการเป็นโรค อาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ และกดเจ็บร่วมด้วย

โรคของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง…เรื่องนี้ต้องรู้

ในที่นี้จะกล่าวถึง โรคหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย และมีอาการตั้งแต่รุนแรงน้อยจนถึงมาก อาการของโรคหลอดลมอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การแพ้ และการระคายเคืองจากสารเคมี แต่จะขอกล่าวถึงเฉพาะโรคหลอดลมอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ

โดยทั่วไปมักเริ่มด้วยอาการของโรคหวัดนำมาก่อน เช่น มีไข้ น้ำมูกใส ต่อมามีอาการไอ เริ่มต้นมักจะไอแห้งๆ แล้วตามมาด้วยไอมีเสมหะขาวใสหรือเหลือง ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการ เป็นได้ทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย อาการไอเป็นอาการเด่นที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ บางคนจะให้ประวัติว่าไอมากจนอาเจียน หรือไอจนนอนไม่ได้ บางครั้งจะมีลักษณะของอาการหอบร่วมด้วย

โรคปอดอักเสบ พบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และมักจะรุนแรงกว่า เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโรคติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาการที่พบจะประกอบด้วย มีไข้ ไอ หายใจหอบ หรือมีลักษณะหายใจลำบาก ในเด็กเล็กมักจะมีอาการงอแงมากกว่าปกติ ไม่ยอมกินอาหารและน้ำ สาเหตุมักเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งพบได้ทั้งจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย นอกจากนั้น อาจเกิดจากการสูดสำลักอาหารและน้ำ รวมทั้งสารเคมีต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา ในเด็กที่เป็นปอดอักเสบหลายๆ ครั้ง อาจจะทำให้เกิดความผิดปกติของทางเดินหายใจอย่างถาวรได้ เช่น อาจจะทำให้เกิดเป็นโรคหลอดลมโป่งพอง ส่งผลทำให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ถดถอย และจำเป็นต้องให้การรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

โรคระบบทางเดินหายใจ” เป็นแล้วรีบรักษา…ไม่สายเกินแก้

สำหรับข้อบ่งชี้ที่ต้องรีบนำผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจมาพบแพทย์ ก็คือ

  • เป็นผู้ป่วยเด็กอายุน้อย โดยเฉพาะถ้าน้อยกว่า 3 เดือน

  • มีอาการไข้สูง หายใจหอบ เหนื่อย

  • เจ็บคอ หรือมีน้ำมูกเขียวเหลืองร่วมกับมีไข้สูงตั้งแต่ 38.5 องศา ขึ้นไป

  • มีอาการปวดบริเวณโพรงจมูก

  • ปฏิเสธไม่ยอมกินอาหารและน้ำ

  • อาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์

รู้เท่าทัน ป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ

จะเห็นได้ว่าในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว เด็กจะป่วยด้วยปัญหาทางเดินหายใจจำนวนมากและบ่อยกว่าปกติ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็เกิดจากสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการแพร่ระบาดของเชื้อโรค หากคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่อยากจะให้ลูกหลานต้องป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ ก็ควรให้การดูแลที่เหมาะสมเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ เช่น การจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านที่อยู่อาศัยให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่เข้าไปบริเวณที่มีคนแออัด หรือบริเวณที่คนพลุกพล่าน ล้างมือก่อนรับประทานขนมหรืออาหาร ออกกำลังกายและรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีวัคซีนมากมายที่สามารถป้องกันโรคติดเชื้อทางระบบหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ หากมีโอกาสควรปรึกษาแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันไว้

โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง อาการ

โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจร้ายแรงจนอาจทำให้เสียชีวิต

โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้เยื่อบุและผนังหลอดลมตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นจากภายใน และจากสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ ส่งผลให้หายใจไม่สะดวกและมีเสียงหวีด เหนื่อยหอบ ไอเรื้อรัง แน่นหน้าอก โดยเฉพาะตอนกลางคืนและช่วงเช้ามืด โดยหอบหืดสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และทำให้เสียชีวิตได้หากอาการรุนแรง หอบหืดไม่ใช่โรคติดต่อแต่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้

โรคหอบหืดและโรคหืด เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

โรคหอบหืดและโรคหืดเป็นโรคเดียวกัน บางครั้งเรียกหอบหืดในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหอบร่วมด้วย ซึ่งในผู้ป่วยโรคหืดบางรายอาจไม่มีอาการหอบ มีเพียงอาการไอเรื้อรัง หายใจมีเสียงหวีด ซึ่งเกิดจากการอักเสบในหลอดลบลมและมีหลอดลมตีบแต่ไม่ถึงขั้นหอบ โดยอาการหอบจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หลอดลมตีบที่รุนแรง และในทางปฏิบัติพบว่าโรคหืดเป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรังที่สำคัญ นอกจากกรดไหลย้อน และจมูกอักเสบเรื้อรัง

อาการของโรคหอบหืดหรือโรคหืด

ไอต่อเนื่องนาน 2-3 สัปดาห์ หายใจมีเสียงหวีด อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หากอาการหนักอาจทำให้หายใจไม่ออก ไม่สามารถรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ และไม่สามารถนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้  เกิดระบบหายใจล้มเหลว จนถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิต ในที่สุด

สาเหตุของโรคหืด

โรคหืดหรือหอบหืดเกิดจากการอักเสบของหลอดลมเรื้อรัง ร่วมกับการที่หลอดลมมีความไวต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากผิดปกติ ทำให้เกิดอาการของโรคหืด ได้แก่ สารก่อภูมิแพ้ในและนอกครัวเรือน  เช่น ฝุ่น และไรฝุ่น รังแคสัตว์ เกสรดอกไม้ รวมทั้งสารก่อมลพิษในอากาศ ควันบุหรี่ ไอระเหยน้ำมัน สารเคมี ก๊าซพิษต่าง ๆ เป็นต้น หรือการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียและเชื้อราในอากาศ นอกจากนี้ยังพบว่าสภาพอากาศที่เย็นและแห้ง เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดได้ด้วย

สภาพอากาศเย็นกระตุ้นให้เกิดหอดหืดอย่างไร

ในสภาพอากาศที่เย็นและแห้ง ปราศจากความชื้น จะกระตุ้นให้หลอดลมเกิดการหดตัว ส่งผลให้ผู้ป่วยหายใจลำบากและมีอาการหอบหืดกำเริบได้

วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น

อาการสำคัญที่เป็นสัญญาณของโรคหอบหืดมีทั้งหมด 3 อย่าง ได้แก่ ไอเรื้อรัง หายใจมีเสียงวี้ด เหนื่อยหอบ หากพบว่ามีครบทั้ง 3 อาการ ทำให้เพิ่มความน่าจะเป็นของการเป็นโรคหืด อย่างไรก็ตามควรทดสอบเพื่อวินิจฉัยโรคหืดในผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรัง

การวินิจฉัยโรค

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคหอบหืดด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ร่วมกับการทดสอบสมรรถภาพปอด เพื่อวินิจฉัยภาวะหลอดลมตีบจากหืด และวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ออกไป การเอกซเรย์ปอดในโรคหอบหืดผลเอกซเรย์ปอดมักจะไม่พบความผิดปกติใด ๆ ที่ชัดเจน ทำให้วิธีทดสอบสมรรถภาพปอดเป็นการวินิจฉัยที่แม่นยำมากกว่า

การดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืด

ดังเช่นโรคเรื้อรังอื่นๆ ผู้ป่วยโรคหอบหืดหรือโรคหืดจะมียาประจำในการรักษา ได้แก่ ยากิน ยาฉีดและยาสูดพ่น ยากินจะอออกฤทธิ์รักษาอาการหอบหืดได้ช้ากว่ายาสูดพ่น เพราะยากินต้องผ่านกระบวนการดูดซึมในร่างกาย แตกต่างจากยาพ่นซึ่งสามารถเข้าถึงหลอดลมได้ทันทีที่พ่นเข้าไป และมีผลข้างเคียงต่ำกว่า หากแต่ต้องอาศัยเทคนิกการใช้ยาที่ถูกต้อง

สำหรับยาพ่นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ยาควบคุมโรคและยาบรรเทาอาการ

  1. ยาควบคุมโรค เป็นยาสูดพ่นที่มีองค์ประกอบเป็นสเตียรอยด์ช่วยลดการอักเสบของหลอดลม ต้องใช้อย่างสม่ำเสมอ แม้จะไม่มีอาการ
  2. ยาบรรเทาอาการเป็นยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์เร็ว ใช้เมื่อมีอาการหืดกำเริบเฉียบพลัน หรือเมื่อมีอาการหายใจลำบากเกิดขึ้น

ที่สำคัญผู้ป่วยควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และใส่ใจในเรื่องการพักผ่อนที่เพียงพอ ลดน้ำหนักในกรณีที่อ้วน หลีกเลี่ยงความเครียดทางจิตใจ รวมถึงหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และมลพิษในอากาศรวมทั้งงดสูบบุหรี่ ที่กระตุ้นให้หอบหืดกำเริบ

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ยา

  • การปรับขนาดยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ อย่าปรับยาหรือหยุดด้วยตนเอง แม้อาการจะดีขึ้นแล้ว
  • ผู้ป่วยต้องพกยาฉุกเฉินติดตัวไว้ เพื่อบรรเทาอาการเมื่อหอบหืดกำเริบ และคนรอบข้างควรรู้ตำแหน่งที่คนไข้เก็บยาเอาไว้ หากฉุกฉินคนรอบข้างจะได้ช่วยเหลือทัน

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์
สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “หอบหืด โรคทางเดินหายใจที่ร้ายแรงจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต :พบหมอรามา ช่วง Big story” ได้ที่นี่