พฤติกรรม การบริโภคอาหารของคนจีน

รายงานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนจีน ซึ่งจัดทำโดยสมาคมโภชนาการจีน (CNS) ระบุว่า การบริโภคอาหารอย่างไม่สมดุลเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง

พฤติกรรม การบริโภคอาหารของคนจีน

รายงานระบุว่า การบริโภคโซเดียมปริมาณมากเป็นสาเหตุหลักที่ผู้ใหญ่ในจีนเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญ คิดเป็น 17.3% ตามด้วยการบริโภคผลไม้ไม่เพียงพอ คิดเป็น 11.5% และการขาดกรดไขมันโอเมกา-3 จากผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ คิดเป็น 9.7%

ติงกังเฉียง รองประธานสมาคมฯ กล่าวว่า การศึกษาพบการบริโภคอาหารและสุขภาพของชาวจีนพัฒนาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และความสูงเฉลี่ยของประชาชนจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปริมาณการบริโภคเกลือต่อคนของครัวเรือนจีนอยู่ที่ 9.3 กรัมต่อวัน ลดลง 2 กรัมในทุก 10 ปี แต่ยังสูงกว่าปริมาณแนะนำ ซึ่งอยู่ที่ต่ำกว่า 5 กรัมต่อวัน

ขณะเดียวกันประชาชนจีนบริโภคเครื่องดื่มใส่น้ำตาลเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้การบริโภคน้ำตาลปริมาณมากกลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้กลุ่มวัยรุ่นจีนป่วยเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน

ชนชาติจีนเป็นหนึ่งใน 3 ชนชาติที่เป็นเจ้าแห่งวัฒนธรรมการ กิน อีก 2 ชนชาตินั้น ได้แก่ กรีก และโรมัน อาหารนานาชนิด ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ได้รับอิทธิพล การกินจากประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ เช่น เส้นสปาเก็ตตี้ที่เรากินกันอยู่นี้ก็มีกำเนิดมาจากเส้นก๋วยเตี๋ยวของ จีนนั่นเอง เมื่อเริ่มมี การติดต่อซื้อขายกันฝรั่งได้ชิมรสของ ก๋วยเตี๋ยวเกิด ติดใจจึงนำสูตรการทำไปเผยแพร่ในประเทศของตน และปรับปรุงดัดแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรม  ของตนจนเกิดเป็นอาหารเส้นต่างๆมากมาย และแพร่หลายไปทั่วโลกจนเกิดความเข้าใจผิดว่าเส้นสปา เก็ตตี้ และเส้นมัก กะโรนี ทั้งหลายมีต้นตำรับ เป็นชนชาติยุโรป

ชนชาติจีนนี้เป็นชนชาติแรกที่รู้จักการใช้ไฟทำให้อาหารสุก รู้จักการเลี้ยงสัตว์ การปลูกผักเพื่อนำมาเป็นอาหาร และการนำโลหะมาประดิษฐ์ ขึ้นเป็นภาชนะหุงต้ม นี่เป็นส่วนแรกที่บอกได้ว่าคนจีนให้ความสำคัญต่อการกินเป็นอย่างมาก ชาว จีนมีเคล็ดลับการปรุงอาหารมากมาย รวมทั้งอาหาร ต่างๆ ส่วนใหญ่ยังเป็นยาชั้นยอดอีกด้วย สิ่งที่มีความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ มารยาทการกินอาหารของคนจีน จากตำราว่าด้วยธรรมเนียม การกินของคนจีนสมัยโบราณที่ถือกันมานานเป็นพันปี กำหนดไว้ว่า

  1. ถ้าแขกที่ได้รับเชิญไปกินอาหารมีตำแหน่งราชการต่ำกว่าผู้เป็นเจ้าภาพ ก่อนจะนั่งโต๊ะ ผู้น้อยที่เป็นแขก ควรแสดงความไม่บังควรที่จะร่วมโต๊ะกับผู้ใหญ่ จะนั่งลงได้ก็ต่อเมื่อผู้ใหญ่คะยั้นคะยอ
  2. อย่าเพิ่งลงมือกินจนกว่าจะเห็นผู้ใหญ่ใช้ตะเกียบคีบอาหารชิ้นแรกเข้าปาก และเมื่อจะคีบอาหารกินบ้าง ก็ต้องเลือก ชิ้นที่เล็ก และอร่อยน้อยที่สุด อย่าเลือกชิ้นอร่อยที่สุดเช่นส่วนที่เป็นหัวพุงหัวมันกินก่อนเป็นอันขาด เพราะเป็นการ เสียมารยาทอย่างร้ายแรง จะได้กินของดีที่สุดในจานหนึ่ง ๆ ก็จะต้องคอยจนกว่าจะเป็นผู้ใหญ่จริง ๆ ที่คนต่ำยศกว่า เราเชิญไปกิน
  3. ถ้าเจ้าภาพไม่เชิญดื่มสุราล้างปากระหว่างจาน อย่ายกแก้วหรือจอกขึ้นดื่มเองโดยลำพังเป็นอันขาด ต้องคอยให้ ผู้มีอาวุโสเขาชวนดื่มจึงค่อยดื่ม
  4. เวลากินอาหารไม่ควรส่งเสียงดัง ไม่ควรใช้ฟันหน้าแทะกระดูกกันในโต๊ะอาหาร และชิ้นปลาที่กัดแล้ว ไม่มีการวาง กลับลงในจานจะต้องกินทั้งชิ้น โดยเลือกเอาแต่ชิ้นที่กินได้พอดีคำ
  5.  เนื้อสัตว์ที่ต้ม ตุ๋น หรือทอดจนนุ่ม หรือกรอบแล้ว สามารถใช้ฟันกัดแบ่งกินทีละคำได้ แต่ถ้าเป็นเนื้อที่แห้งเหนียว ต้องใช้มีดตัดให้ขาดเป็นชิ้นเสียก่อน แล้วจึงใช้ตะเกียบคีบเข้าปาก การฉีกเนื้อเหนียวด้วยมือ แล้วป้อนเข้าปากนั้น ถือเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ

กฎอีกข้อที่เห็นจะลืมกล่าวไปไม่ได้นั่นคือ เมื่อกินซุปจะต้องไม่เติมอะไรเลย เว้นแต่น้ำซุปหูหลามที่เขาเอาน้ำส้มจิ๊กโฉ่มาให้เติม ถ้าใครเติม ซอสใดๆ ลงไปในซุป เจ้าของบ้านจะขอโทษ และบอกว่า “หมดสติปัญญาที่จะปรุงซุปที่รสชาติดีกว่านี้ไว้รับรองท่าน” นั้นหมายถึงว่า ซุปถ้วยนั้นๆ เป็นซุปที่เจ้าของบ้านบรรจงทำอย่างสุดฝีมือแล้ว หากเราเติมซอสปรุงรสใดๆจึงเสมือนการดูถูกฝีมือของเจ้าบ้าน

นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมต่างๆ อีกมากมายซึ่งในปัจจุบันได้ลดความเข้มข้นลงบ้างแล้ว แต่ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นสิ่งน่าจดจำ เพราะเป็นวัฒนธรรม อันดีงาม และเรายังสามารถกล่าวได้เต็มปากด้วยว่า ประเทศจีนเป็นประเทศมหาอำนาจทางอาหาร อย่างแท้จริง

แม้เศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจแห่งเอเชียอย่าง จีน จะยังคงซึมลึก และยังไม่มีปัจจัยใดกระตุ้นให้ตลาดโดยรวมตื่นตัวมากนัก ทว่า สำหรับผู้ส่งออกไทย ตลาดสินค้าส่งออกไปยังแดนมังกรก็ยังคงน่าสนใจและเปิดกว้างให้กับสินค้าไทยหลายประเภท เพียงแค่นักธุรกิจไทยเปิดรับและเริ่มศึกษา ‘พฤติกรรมการบริโภคคนจีน’ ในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไป รับรองว่าโอกาสเจาะตลาดผู้บริโภคชาวจีนที่นับวันยิ่งมีกำลังซื้อสูงจะมาอยู่ในมือของทุกคนได้ไม่ยาก

จากบทความ เรื่อง “การยกระดับการบริโภคของคนจีนกับความต้องการสินค้านำเข้า สินค้าไทยกลุ่มไหนมีโอกาส” เขียนโดย นายโกสินทร์ บุณยวัฒโนภาส ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครคุนหมิง เผยแพร่ในเว็บไซต์ thaibizchina.com ได้ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์จากการศึกษา ‘พฤติกรรมการบริโภคคนจีน’ ที่เปลี่ยนแปลงไป และนำมาปรับใช้เพื่อสร้างโอกาสในการเจาะตลาดแดนมังกรต่อได้ด้วยทิศทางที่เหมาะสม


‘พฤติกรรมการบริโภคของคนจีน’ แต่ละยุคสมัย และนโยบายทางการจีน ตัวชี้วัดโอกาสตลาดส่งออก

ผู้เขียนบทความเริ่มเล่าให้ฟังถึงวิวัฒนาการ ‘พฤติกรรมการบริโภคคนจีน’ แต่ละยุคสมัย ที่มีส่วนกำหนดทิศทางการบริโภคของคนจีนซึ่งเปลี่ยนไป

พฤติกรรม การบริโภคอาหารของคนจีน

กระแสการยกระดับการบริโภคในจีนผ่าน 2 ยุคแรกที่เน้นการกินอิ่มนอนหลับ มีระดับและสะดวกสบายไปแล้ว เข้าสู่ยุคที่ 3 เน้นการบริโภคแบบล้ำสมัย มีสไตล์ของตนเอง โดยมีพื้นฐานจากการเผยแพร่ของอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายขึ้น จึงมีทางเลือกในการเลือกซื้อสินค้าที่หลากหลายและสะดวกมากขึ้น ตามความต้องการและไลฟ์สไตล์ของตนเอง โดยมีลักษณะเด่น 4 ประการ คือ

หนึ่ง การบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการด้านจิตใจ เช่น กิจกรรมสันทนาการ การท่องเที่ยว ประสบการณ์ชีวิต

สอง การบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการด้านความรู้ เช่น การศึกษา วัฒนธรรม

สาม การบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพ เช่น การรักษาพยาบาล การบำรุงสุขภาพ การออกกำลังกาย และ

สี่ การบริโภคเชิงอัจฉริยะ เช่น การสื่อสาร โทรคมนาคม การเดินทาง

ทว่า พฤติกรรมการบริโภคของชาวจีนที่อยู่ท่ามกลางปัจจัยลบจากสงครามการค้า ซึ่งมีการคาดการณ์การค้าระหว่างประเทศและผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของจีน ว่าการขยายตัวจะลดลง ส่งผลให้รัฐบาลจีนต้องกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เพื่อพยุงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่จีนเองก็ได้ปรับตัวโดยเน้นการพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศในสัดส่วนที่มากกว่าการส่งออกมาระยะหนึ่งแล้ว

จากที่ผู้บริโภคชาวจีนมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง สินค้านำเข้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคชาวจีน โดยสินค้าไทยก็ได้เข้าไปบุกตลาดจีนมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ในยุคของการยกระดับการบริโภค ผู้ผลิตสินค้าไทยมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษา ทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคจีนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วย โดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภคสินค้านำเข้า เพื่อประเมินศักยภาพการแข่งขันของสินค้าไทยในสายตาของผู้บริโภคจีน และนำมาปรับใช้ในการวางกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมต่อไป


พฤติกรรม การบริโภคอาหารของคนจีน

เปิดโผสินค้าโดนใจผู้บริโภคชาวจีน ชี้ช่องเจาะตลาดสินค้าส่งออกแดนมังกร

ประเด็นต่อมาที่บทความชิ้นนี้ตั้งใจนำเสนอ คือ การชี้แนะโอกาสการทำตลาดสินค้าส่งออกในประเทศจีน โดยอ้างอิงจาก ข้อมูลสถิติประกอบการจัดงานแสดงสินค้า China International Import Expo (CIIE) ที่ได้ข้อสรุปสำคัญดังนี้

  • ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้ามีสูง

จากการสำรวจพบว่า ร้อยละ 79.6 ของผู้บริโภคเคยซื้อสินค้านำเข้า ในจำนวนนี้ ร้อยละ 41.7 ซื้อสินค้านำเข้าในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ของการซื้อสินค้าประเภทเดียวกัน โดยสินค้าที่ครองสัดส่วนค่อนข้างสูง คือ เครื่องสำอาง สินค้าแม่และเด็ก นาฬิกาและแว่นตา และเครื่องใช้ไฟฟ้า

  • ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความปลอดภัย การออกแบบ และคุณภาพ

ผู้บริโภคชาวจีนให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของสินค้าประเภทอาหาร สินค้าแม่และเด็ก เครื่องสำอาง รถยนต์ และยังให้ความสำคัญต่อการออกแบบของสินค้าประเภทนาฬิกา แว่นตา อัญมณี และเครื่องประดับ ให้ความสำคัญต่อคุณภาพของสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน อุปกรณ์สันทนาการกีฬาและการศึกษา ให้ความสำคัญต่อราคาและรูปแบบของสินค้าประเภทเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า หมวก และให้ความสำคัญต่อฟังก์ชันการใช้งานของสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า

  • ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้านำเข้าเพิ่มมากขึ้น

ภายในครึ่งปีข้างหน้า ร้อยละ 24.1 ของผู้บริโภคจะเพิ่มการซื้อสินค้านำเข้า โดยอาหาร สินค้าแม่และเด็ก เครื่องสำอาง นาฬิกาและแว่นตา อัญมณีและเครื่องประดับ และรถยนต์ เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค 6 ประเภท ที่มีสัดส่วนผู้บริโภคต้องการจะเพิ่มการซื้อสินค้านำเข้า มากกว่าสัดส่วนผู้บริโภคที่จะลดการซื้อสินค้านำเข้า

พฤติกรรม การบริโภคอาหารของคนจีน


ศึกษาเพิ่มเติมจาก Success case ผู้ส่งออกสินค้าไทย ครองใจชาวจีนในมณฑลยูนนาน

เพื่อให้เห็นภาพลู่ทางประสบความสำเร็จในฐานะผู้ส่งออกสินค้าไทย ผู้เขียนได้ไปสัมภาษณ์เพิ่มเติม คุณจันทร์จิรา อนันต์ชัยพัฒนา นักธุรกิจไทยที่มีประสบการณ์ทำธุรกิจในมณฑลยูนนานกว่า 20 ปี และผู้บริหารบริษัท มูนไลท์เทรดดิ้ง จำกัด ผู้นำเข้าสินค้าระดับพรีเมียมของไทย

โดยในปัจจุบัน บริษัท มูนไลท์เทรดดิ้ง ได้ร่วมมือกับหุ้นส่วนชาวจีน ซึ่งเป็นผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีนด้านสินค้าอาหารนำเข้า จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นที่นครคุนหมิงเพื่อทำตลาดอีคอมเมิร์ซสินค้าอาหารนำเข้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยล่าสุดได้เปิดร้าน Tmall flagship store บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” รวมทั้ง เตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ปลาเส้น “ทาโร่” และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดใบหน้า “Dee Ler’s” ที่ลงทุนร่วมกับคุณอธิชาติ ชุมนานนท์ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ด้วย

พฤติกรรม การบริโภคอาหารของคนจีน

สำหรับคุณจันทร์จิรา การที่บริษัทตั้งอยู่ที่นครคุนหมิง ไม่มีผลกระทบต่อการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตช่วยให้เราสามารถทำธุรกิจจากที่ไหนก็ได้ แค่เพียงเรามีข้อมูลและการบริหารจัดการที่ดี นอกจากนี้ เธอยังชี้ว่าการขยายธุรกิจมาอยู่ในเมืองรอง ยังช่วยประหยัดต้นทุนค่าเช่าสถานที่ ค่าจ้างพนักงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้ด้วย

โดยผู้บริหารหญิง บริษัท มูนไลท์เทรดดิ้ง ได้ให้ทัศนะต่อการยกระดับการบริโภคในจีนเพิ่มเติมว่า

“ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับสินค้าไทย เนื่องจากสินค้าไทยได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคจีนเรื่องคุณภาพดี มาตรฐานการผลิตสูง และราคาคุ้มค่า ทั้งนี้ จากสินค้านำเข้า 6 ประเภทที่ผู้บริโภคจีนมีความต้องการนำเข้าเพิ่ม พบว่า เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ 3 ประเภท ได้แก่ อาหาร สินค้าแม่และเด็ก และเครื่องสำอาง เช่น น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น นมผง ผ้าอ้อมเด็ก หมอนยางพารา ผลิตภัณฑ์สปา และเครื่องสำอางสำหรับแต่งหน้า”

“โดยสินค้าไทยเหมือนผ่านการพิสูจน์คุณภาพมาจากผู้ใช้ชาวไทยแล้ว ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนมั่นใจได้ด้วยในประสิทธิภาพการใช้งาน เช่น ประเทศไทยมีอากาศร้อนชื้น ผ้าอ้อมเด็กจึงใช้วัสดุที่ไม่ระคายเคืองผิวทารกและดูดซับความชื้นได้ดี และเครื่องสำอางสำหรับแต่งหน้าจึงใช้ส่วนผสมที่ติดแน่นและไม่ลบเลือนง่าย”

นอกจากนี้ การยกระดับการบริโภคไม่ได้จำกัดแค่เรื่องของสินค้าเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องของบริการ ดังนั้น ร้านอาหารไทยก็สามารถตอบสนองการยกระดับการบริโภคของผู้บริโภคได้เช่นกัน

คุณจันทร์จิราขยายธุรกิจจากความสำเร็จที่ได้รับในฐานะผู้ส่งออกสินค้าไทยสู่การเปิดร้านอาหารไทย Cloud18 ที่ใจกลางนครคุนหมิงอีกด้วย ซึ่งคุณจันทร์จิรามองว่า ร้านอาหารไทยไม่จำเป็นต้องนำเสนอความเป็นไทยโดยการตกแต่งด้วยนางรำหรือลายกนก ซึ่งล้าสมัยแล้ว แต่สามารถนำเสนอความเป็นไทยผ่านการตกแต่งร้านให้มีบรรยากาศสบายเหมือนอุปนิสัยคนไทย รวมทั้งรสชาติอาหารและการตกแต่งจานที่มีสไตล์ด้วย food stylist

พฤติกรรม การบริโภคอาหารของคนจีน

ต่อมา คุณจันทร์จิราให้คำแนะนำสำหรับผู้ส่งออกสินค้าไทยที่สนใจตลาดจีน ว่าต้องดำเนินการดังนี้

  • พิจารณาว่าสินค้าตรงกับความต้องการของตลาดจีนหรือไม่

ทั้งในเรื่องคุณภาพ ราคา บรรจุภัณฑ์ คู่แข่ง และขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้า เพราะสินค้าประเภทเดียวกันในตลาดจีนมีเยอะมาก

  • จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทันที ป้องกันการก๊อปปี้

หากเห็นว่า สินค้ามีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดจีนได้ ก็ควรพิจารณาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทันที เนื่องจากมีสินค้าไทยจำนวนไม่น้อยที่ถูกนักธุรกิจจีนหัวใสจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตัดหน้า

  • จัดตั้งบริษัทในจีนเพื่อดำเนินการเรื่องนำสินค้าขึ้นทะเบียน

แนะนำให้ทำกับ China Entry-Exit Inspection and Quarantine (CIQ) นำเข้าสินค้า และจัดจำหน่ายต่อไป หากไม่สะดวกที่จะจัดตั้งบริษัทในจีนเอง ก็สามารถหาตัวแทนจำหน่ายในจีนเพื่อดำเนินการเรื่องดังกล่าวแทนได้

  • อยากสำเร็จ ต้องกล้าลงทุน

การจะประสบความสำเร็จในการบุกตลาดจีน ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านเงินทุนและความกล้าทุ่มเทของผู้ประกอบการไทยด้วย โดยเฉพาะการทำตลาดอีคอมเมิร์ซ เพราะผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่มักจะหวังยอดขายในตลาดจีน แต่กลับไม่ยอมลงทุน

ยกตัวอย่าง น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นของไทยมีคุณภาพเทียบเท่าหรือสูงกว่าของประเทศอื่นและราคาต่ำกว่า แต่เมื่อค้นหาน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นใน Tmall กลับไม่พบน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นของไทยเลย มีแต่น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นของประเทศอื่น ซึ่งสาเหตุมาจากผู้ประกอบการไทยมีสินค้าดี แต่ไม่กล้าลงทุน นั่นเอง


ที่มา : บทความ เรื่อง “การยกระดับการบริโภคของคนจีนกับความต้องการสินค้านำเข้า สินค้าไทยกลุ่มไหนมีโอกาส” เขียนโดย นายโกสินทร์ บุณยวัฒโนภาส ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครคุนหมิง เผยแพร่ในเว็บไซต์ thaibizchina.co


ชี้โอกาสส่งสินค้าไทย ไปผงาดในตลาดแดนมังกร ในมุมมองที่หลากหลาย

BEAUTIFUL CHINA ก้าวย่างทศวรรษที่ 8 ของจีน

จีน ฝ่ากระแสเศรษฐกิจดิ่ง ด้วยบทบาทใหม่น่าจับตา “ผู้นำ เกษตรกรรมสมัยใหม่” ระดับโลก

ไต้หวัน…จากดินแดนยากจนสู่จ้าวแห่งเทคโนโลยี

Post Views: 3,605

  • TAGS
  • การค้าระหว่างประเทศ
  • การส่งออกสินค้า
  • ขายของออนไลน์
  • พฤติกรรมผู้บริโภค
  • อีคอมเมิร์ซ
  • เพิ่มยอดขาย

Previous articleสาลิกาคาบข่าว Vol.309/62

Next articleโลกการเงิน การธนาคาร จะอยู่รอดอย่างไรในยุคแห่งการดิสรัปชัน ฟังคำตอบจาก ‘อรพงศ์ เทียนเงิน’ ซีอีโอ SCB

พฤติกรรม การบริโภคอาหารของคนจีน

Praornpit Katchwattana

https://www.salika.co

เริ่มต้นขีดเขียนในฐานะ สื่อมวลชน กับงานผู้สื่อข่าวประจำกองประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในปี 2546 ก่อนไปหาประสบการณ์ชีวิตที่เมลเบิร์น ออสเตรเลียมา 1 ปี และกลับมายึดอาชีพ “นักเขียน” จริงจัง กับการเป็น กองบรรณาธิการนิตยสารชีวจิต 3 ปี หลังจากนั้นคิดว่าน่าจะเปลี่ยนสายไปทำงานในบริษัท PR agancy ได้ 6 เดือน เมื่อรู้ว่าไม่ถูกจริต เลยออกมาเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารฟีลกู้ดอย่าง Happy+ อยู่ 1 ปี สัมภาษณ์ทั้งดาราและคนบันดาลใจ ก่อนเข้าสู่ระบบงานประจำอีกครั้งกับนิตยสาร MBA กับการเป็นนักเขียนที่รับผิดชอบในเซคชั่นหลักสูตร MBA ของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ สั่งสมประสบการณ์อยู่ 3 ปี ก็ได้เวลา Upskill สู่งาน Online content writer ที่ใช้ความชอบและความหลงใหลในการถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ความรู้ใหม่ๆ ในยุค Education 4.0 อุตสาหกรรมทางการแพทย์ ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์