เงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้า ติดต่อ ที่ไหน

คุณพ่อคุณแม่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาทจากประกันสังคมกันแล้วหรือยังเอ่ย ตอนนี้เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคมให้เพิ่มเป็น 800 บาท บางคนอาจจะกำลังยื่นเรื่อง บางคนงงมากเพราะตัวเองไม่ตรงตามเงื่อนไขหลักเลยยังไม่ยื่น มาค่ะ มาเคลียร์ทุกความสงสัย ทุกปัญหาเรื่องการยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทนเงินสงเคราะห์บุตรที่พ่อแม่อยากรู้และถามมากที่สุด เริ่ม!!!

  1. ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วกี่เดือน จึงจะใช้สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรได้

คำตอบ: ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิต่อเมื่อได้มีการนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่ได้รับสิทธิ


  1. สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรจ่ายให้บุตรที่มีอายุกี่ปี

คำตอบ: ผู้ประกันตนสามารถขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์


  1. กรณีเป็นผู้ประกันตนทั้งสามีและภรรยา สามารถใช้สิทธิสงเคราะห์บุตรทั้ง 2 ฝ่าย ได้หรือไม่

คำตอบ: สามารถใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น 


  1. บุตรบุญธรรมสามารถนำมายื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้หรือไม่

คำตอบ: บุตรบุญธรรมไม่สามารถนำมาเบิกสงเคราะห์บุตรได้


  1. ผู้ประกันตนมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตรได้กี่ครั้ง

คำตอบ: ใช้สิทธิเบิกได้คราวละไม่เกิน 3 คน 


  1. ถ้าผู้ประกันตนมีบุตรอายุ 3 ปี แต่ไม่ได้ยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์บุตร สามารถยื่นขอรับเงินย้อนหลังได้หรือไม่  สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายย้อนหลังให้หรือไม่ / อย่างไร

คำตอบ: การเบิกสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตรทางสำนักงานประกันสังคมจะต้องทำการตรวจสอบ การนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน  หากมีการนำส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนบุตรคลอด จึงจะมีการย้อนหลังให้ไม่เกิน 1 ปี  ตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนมิได้นำส่งเงินสมทบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินให้ผู้ประกันตน  ณ วันที่สิทธิเกิดขึ้นเท่านั้น


  1. พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ยังสามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมได้ไหม

คำตอบ: สำหรับคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนอยู่แล้ว และเป็นผู้ยื่นเรื่อง สามารถยื่นขอเงินสงเคราะห์บุตรได้ด้วยการใช้หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสแทนทะเบียนสมรส สำหรับคุณพ่อเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้ว และเป็นผู้ยื่นเรื่อง จะต้องมีหนังสือรับรองบุตรก่อน ขอขอรับสิทธิ์สงเคราะห์บุตร ต้องไปที่เขต/อำเภอที่เราอาศัยครับ แล้วร้องขอรับรองบุตรก่อน โดยยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต และใช้เอกสารดังนี้ บัตรประจำตัวประชาชน ของบิดา มารดา สูติบัตรของบุตร / พยานบุคคลจำนวน 2 คน


  1. พ่อหรือแม่เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 สามารถใช้สิทธิเบิกเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมได้ไหม

คำตอบ: ได้ แต่ต้องเป็นในเงื่อนไข คือ เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ใน 36 เดือน โดยจ่ายเงินสมทบ 9% จากฐานเงินเดือนเฉลี่ยที่ 4,800 บาท (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)


  1. เงินสงเคราะห์บุตรเข้าทุกวันที่เท่าไหร่

คำตอบ: โดยปกติแล้วจะได้รับทุกสิ้นเดือน แต่หากมีตรงกับวันหยุดอาจจะมีการเลื่อนออกไปบ้างเล็กน้อย หากเงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้าบัญชี สามารถติดต่อประกันสังคมสาขาที่เคยยื่นเรื่องไว้ หรือโทรสอบถามกับสายด่วนประกันสังคม 1506 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลให้อีกครั้ง


  1. ไม่ได้ยื่นเรื่องขอเงินสงเคราะห์บุตร ยื่นเรื่องและขอเบิกย้อนหลังได้ไหม

คำตอบ: ได้ แต่ทางสำนักงานประกันสังคมจะต้องทำการตรวจสอบ การนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน หากมีการนำส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนบุตรคลอดจึงจะมีการย้อนหลังให้ไม่เกิน 1 ปีตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนมิได้นำส่งเงินสมทบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินให้ผู้ประกันตน  ณ วันที่สิทธิเกิดขึ้นเท่านั้น


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506 

          - ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โทร. 0-2651-6534, 0-2651-6920, 0-2651-6902 หรือ 0-2255-5850-7 ต่อ 121, 122, 123, 147, 152 (วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-17.00 น.)

"เงินสงเคราะห์บุตร" ประกันสังคม เข้าวันไหน 2565 แตกต่างจาก เงินอุดหนุนบุตร หรือไม่ ลงทะเบียนอย่างไร เช็คสิทธิ เงื่อนไข แล้วเงินไม่เข้าทำไง

“เงินสงเคราะห์บุตร” ประกันสังคม เข้าวันไหน 2565 แล้วหากไม่เข้าบัญชี ต้องทำอย่างไร เป็นคำถามที่หลายคนหาคำตอบ TOP News เปิดรายละเอียดวิธีเช็คสิทธิ เงื่อนไข คุณสมบัติ ขั้นตอนลงทะเบียน วันโอนเงิน เคลียร์ชัดแตกต่างจาก เงินอุดหนุนบุตร หรือไม่ แล้วถ้าจะขอรับเงินช่วยเหลือจากทั้ง 2 โครงการเลยเป็นไปได้มั้ย ครบ จบ ที่นี่

 

“เงินสงเคราะห์บุตร” ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 สามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรจาก ประกันสังคม ได้ 800 บาทต่อเดือนต่อคน คราวละไม่เกิน 3 คน โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

เงื่อนไขการยื่นขอรับเงิน สงเคราะห์บุตร

 

  • เป็น ผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือ มาตรา 39
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
  • เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
  • อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
  • ผู้ประกันตน พ่อ หรือ แม่ สามารถเลือกใช้สิทธิได้ 1 สิทธิ

 

 

 

เอกสารที่ต้องใช้

 

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
  • กรณีผู้ประกันตน หญิง ใช้สิทธิ : สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  • กรณีผู้ประกันตน ชาย ใช้สิทธิ : สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า พร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  • กรณีเปลี่ยน ชื่อ – ชื่อสกุล ให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยน ชื่อ – ชื่อสกุล ด้วย
  • กรณีผู้ประกันตนต่างชาติ ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน

 

 

 

  1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
  3. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
  4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
  6. ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  7. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  8. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
  9. ธนาคารออมสิน
  10. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

 

 

 

* หรือสามารถลงทะเบียนรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ได้

 

  • เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับเงิน สงเคราะห์บุตร ให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับ เมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ
  • กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

 

 

 

สถานที่ยื่นเรื่องลงทะเบียน

 

  • สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมสาขาใกล้บ้าน ในวันและเวลาราชการ (08.30 – 16.30 น.)

 

 

 

การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร

 

  • เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 

 

 

 

เงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้า ติดต่อ ที่ไหน

 

 

 

 

 

เช็คเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมผ่านแอปพลิเคชัน

 

  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SSO Connect

 

 

 

  1. App Store : คลิกที่นี่
  2. Google Play : คลิกที่นี่

 

 

 

  • หรือเข้าเว็บไซต์ sso.go.th : คลิกที่นี่
  • จากนั้นเข้าสู่ระบบ หากยังไม่ได้เป็นสมาชิกสามารถสมัครผ่านระบบก่อน (สมัครสมาชิก)
  • ผู้ที่เข้าผ่านแอปพลิเคชัน กดเลือกเมนู การเบิกสิทธิประโยชน์ ส่วนผู้ที่เข้าผ่านเว็บไซต์กดเลือกเมนู การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน
  • ระบบจะแสดงรายการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร เป็นรายเดือนไว้ให้ตามสิทธิของผู้ประกันตน

 

 

 

เงิน สงเคราะห์บุตร ประกันสังคม เข้าวันไหน?

 

จากข้อมูลแล้ว ปกติเงิน สงเคราะห์บุตร ประกันสังคม ควรโอนเข้าบัญชีให้ทุก ๆ สิ้นเดือน โดยถ้าติดวันหยุดหรือเสาร์อาทิตย์ ก็จะทำโอนเข้าบัญชีให้ล่วงหน้าก่อน

ทำไมเงินอุดหนุนบุตรประกันสังคมไม่เข้า

ได้ส่งเงินสมทบของเดือนนั้นหรือไม่ เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมจะทำการจ่ายให้ย้อนหลังจากสิทธิที่ได้รับเป็นเวลา 3 เดือน ดังนั้น หากคุณไม่ได้ส่งเงินสมทบเดือนไหน อีก 3 เดือนถัดมา คุณจึงจะไม่ได้รับเงินของเดือนนั้น เช่น ถ้าเดือนเมษายนไม่ได้ส่งเงินสมทบ ก็จะไม่ได้เงินเข้าบัญชีในปลายเดือนกรกฎาคมนั่นเอง

เงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้าเช็คได้ที่ไหน

หากมีข้อสงสัย ในการเช็คเงินอุดหนุนบุตร หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โทร. 0 2651 6534 หรือ 0 2651 6920 หรือ 0 2651 6920.

เงินประกันสังคมสงเคราะห์บุตร 2565 เข้าวันไหน

จากข้อมูลแล้ว ปกติ “เงิน สงเคราะห์ บุตรประกันสังคม ควรโอนเข้าบัญชีให้ทุก ๆ สิ้นเดือน โดยถ้าติดวันหยุดหรือเสาร์ – อาทิตย์ ก็จะทำโอนเข้าบัญชีให้ล่วงหน้าก่อน ไม่เกินเที่ยงคืน ใครมี SMS ธนาคารแจ้งเตือนก็ไปถอนมาใช้ได้เลย เดือน เมษายน 2565 จ่ายเงิน สงเคราะห์บุตร วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2565 (30 เมษายน ตรงกับวันเสาร์)

เงินสงเคราะห์บุตรติดต่อได้ที่ไหน

ผู้ประกันตนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา/ ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th. แชร์ 2,377 ครั้ง สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office.