โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล



พาไปรู้จักกับ โรงไฟฟ้าสุดสยอง“เชอร์โนบิล” ที่ช่วงก่อนสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่นี่เคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแปลกสุดสะพรึงของยูเครน ซึ่งนักท่องเที่ยวผู้รักความท้าทายต้องการไปเยือนสักครั้ง

ใน “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” ที่ยังคงเดินหน้ารบรากันอย่างไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงง่าย ๆ นอกจากเมืองท่า เมืองสำคัญ และเมืองหลวง “กรุงเคียฟ” ที่กองทัพรัสเซียพยายามตีโอบล้อมและรุกคืบไปเรื่อย ๆ แล้ว แหล่งพลังงานโดยเฉพาะ “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์” ต่าง ๆ ในยูเครน นั้นก็ถือเป็นหนึ่งในเป้าโจมตีสำคัญที่รัสเซียต้องการยึดครอง

ทั้งนี้หลังกองกำลังรัสเซียยิงโจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดของยุโรปทางตอนใต้ของยูเครน

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

สื่อต่างประเทศรายงานว่า วันนี้กองกำลังรัสเซียยิงโจมตี “โรงไฟฟ้าซาปอริซเซีย” (Zaporizhzhia) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดของยุโรปทางตอนใต้ของยูเครน ทำให้เกิดเพลิงไหม้ปรากฏเป็นข่าวไปทั่วโลก ก่อนที่เหตุการณ์จะคลี่คลายลง เนื่องจากสามารถดับไฟได้และไม่มีอุปกรณ์ หรือจุดสำคัญของโรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้รับความเสียหาย

แต่กระนั้นทั่วโลกก็ยังอดหวั่นวิตกว่า สงครามครั้งนี้หากมีการโจมตีที่ผิดพลาดก็จะทำให้เกิดผลกระทบจากนิวเคลียร์ซ้ำรอย “เชอร์โนบิล” ที่มหันตภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ

รู้จักโรงไฟฟ้าฯ “เชอร์โนบิล”


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl nuclear power plant) ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ตั้งอยู่ที่เมือง “พรีเพียต” (Pripyat) ซึ่งเดิมอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศสหภาพโซเวียต ส่วนปัจจุบันเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ ทางตอนเหนือของยูเครน (ใกล้ชายแดนเบลารุส)

เชอร์โนบิลเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประเภท RMBK แห่งที่ 3 ของ สหภาพโซเวียต และเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกบนแผ่นดินยูเครน

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

เชอร์โนบิลเป็นที่รู้จักโด่งดังก้องโลก หลังโรงไฟฟ้าแห่งนี้เกิดระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เม.ย.2529 อุบัติเหตุครั้งนั้นเกิดจากการทดสอบระบบช่วงกลางคืน แต่เกิดความผิดพลาดทำให้แกนปฏิกรณ์หมายเลข 4 หลอมละลายจนเกิดระเบิดขึ้นมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันทีกว่า 40 ราย

ที่สำคัญคือเกิดกัมมันตภาพรังสีที่มีอันตรายร้ายแรงรั่วไหลไปกว่า 8 ตัน แพร่กระจายออกไปทั่วทุกทิศทาง กลายเป็นเขตปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีเข้มข้น ส่งผลกระทบเป็นบริเวณกว้าง ทั้งในยูเครน รัสเซียตะวันตก และกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งหลังจากนั้นมันได้ได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 4,000 คน

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

นอกจากนี้มหัตภัยจากกัมมันตภาพรังสี ยังเป็นอันตรายต่อมนุษย์ในระยะยาว ทำให้ผู้คนเป็นป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์กันเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงผลกระทบต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สัตว์ และพืชพรรณต่าง ๆ จำนวนมาก

การระเบิดของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล เป็นมหัตภัยนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ มีความรุนแรงในระดับ 7 ซึ่งเป็นความรุนแรงสูงสุด ซึ่งนักวิชาการจำนวนมากระบุว่า รุนแรงยิ่งกว่าการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ในเมือง “ฮิโรชิมา” และ “นาซากิ” เมื่อปี พ.ศ. 2488 เสียอีก

เชอร์โนบิล ที่เที่ยวสุดสะพรึง


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

หลังเชอร์โนบิลระเบิดนอกจากการปิดโรงไฟฟ้าถาวรแล้ว ยังมีการประกาศให้พื้นที่ในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลเป็นเขตอันตราย มีการปิดเมืองพรีเพียตและอพยพผู้คนออกจากเมืองนี้ทันที

แม้เชอร์โนบิลจะสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวง แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปกว่า 20 ปี ระดับความรุนแรงของกัมมันตภาพรังสีค่อย ๆ เบาบางลง ทางการยูเครนจึงสบช่อง เปิดให้เข้าเยี่ยมชมพื้นที่ที่เคยถูกปิดตายในรัศมี 30 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้าฯ ในปี 2553 และมีการจัดโปรแกรมนำเที่ยวโรงไฟฟ้าฯ ในปี 2561

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

นอกจากนี้ในปี 2562 ยูเครนยังมีแผนเปิดทัวร์ล่องเรือในพื้นที่โรงงานไฟฟ้าสุดสยองแห่งนี้อีกด้วย เนื่องจากปริมาณนักท่องเที่ยวที่ใสเยือนเชอร์โนบิลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นถึง 10 เท่าตัวเลยทีเดียว

ทั้งนี้ทางการยูเครนได้มีการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวตลอดแนวแม่น้ำปรีเปียต (Pripyat) และแม่น้ำอูซห์ (Uzh) ภายในเขตอันตรายของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลซึ่งทุกเส้นทางได้รับการตรวจสอบโดยอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณรังสีและได้รับการรับรองว่าปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

สำหรับการไปเยือนเชอร์โนบิล นักท่องเที่ยวต้องเดินทางไปกับบริษัททัวร์ที่ทางการยูเครนรับรอง และควรจองทัวร์ล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วัน

อย่างไรก็ดีการมาเที่ยวโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลมีข้อควรระวังพิเศษคือ ต้องไปในพื้นที่ที่กำหนดซึ่งมีปริมาณรังสีที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และต้องอยู่ในเวลาที่กำหนด ที่สำคัญคือห้ามออกนอกพื้นที่เด็ดขาด เพราะบริเวณโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลยังมีหลายจุดที่เป็นโซนอันตราย ซึ่งยังคงมีสารกัมมันตรังสีหลงเหลืออยู่สูงมาก และเป็นอันตรายต่อมนุษย์

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

ผู้มาเยือนเชอร์โนบิลจะได้พบกับบรรยากาศอันสุดสะพรึง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีชีวิตชีวาของที่นี่ นำโดยไฮไลท์คือ ตัวโรงไฟฟ้ากับเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของหายนะครั้งนี้ และอาคารที่พักสำหรับพนักงานที่เคยเป็นอดีตสถาปัตยกรรมอันสมัยใหม่ที่ถูกทิ้งร้างว้างเปล่าดูน่าสะพรึง

นอกจากนี้ก็ยังมีภาพบรรยากาศของบ้านเมือง อาคารบ้านเรือนหมู่บ้าน โรงเรียนร้างที่ยังคงมีซากอาคาร ห้องเรียน โต๊ะเก้าอี้ และของเล่นเด็กที่กระจัดกระจาย สนามกีฬาที่ผุพัง และสวนสนุกที่เก่าคร่ำสนิมขึ้นเขรอะ ซึ่งทุกอย่างล้วนร้างว่างเปล่าดูหดหู่ และดูชวนหลอนสุดสะพรึงคล้ายฉากในหนังผียังไงยังงั้น

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

อย่างไรก็ดีในช่วงก่อนสงครามรัสเซีย-ยูเครน โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวแปลกสุดสะพรึงแห่งใหม่ของโลก ที่นักท่องเที่ยวผู้รักความท้าทายต้องการไปเยือนสักครั้ง

โดย “นิตยสารฟอร์บส์”นิตยสารเกี่ยวกับธุรกิจและการเงินชื่อดังระดับโลกของสหรัฐอเมริกาได้ระบุว่า “เชอร์โนบิลคือสถานที่พิเศษหนึ่งเดียวในโลก ที่จะเปลี่ยนวิถีความคิดของผู้ที่ไปเยือนไปตลอดกาล”

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

สำหรับการศึกในสงครามรัสเซีย-ยูเครน โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลที่เลิกใช้และร้างมากว่า 30 ปี กลับเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่กองกำลังรัสเซียได้เข้ามายึดครอง เนื่องจากเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนเส้นทางที่สั้นที่สุดจากเบลารุสไปยังกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน โดยโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลตั้งอยู่ห่างจากกรุงเคียฟประมาณ 130 กิโลเมตรเท่านั้น

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล





  • Chernobyl
  • พรีเพียต
  • โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล
  • โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
  • เชอร์โนบิล
  • Pripyat
  • ยูเครน
  • สงครามรัสเซีย-ยูเครน