สาเหตุ การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

สาเหตุ การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ

การฟื้นฟูศิลปวิทยา  หรือยุค เรเนสซองซ์ (Renaissance)  แปลว่าการเกิดใหม่เกิดขึ้นในยุโรป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16หลังจากสงครามครูเสดอันยาวนานร่วม 300 ปีสิ้นสุดลง ยุโรปก็เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เนื่องจากมีการขุดค้นพบซากเมืองโบราณของกรีกและโรมัน ทำให้ยุโรปได้นำศิลปวิทยาการจากการขุดค้นพบมาปรับปรุง ดัดแปลงใหม่ ทำให้ยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทุก ๆ ด้าน

สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการก็คือ สงครามครูเสด ประการแรกคือ การพัฒนาทางด้านการค้า เพราะว่าเส้นทางที่ต้องเดินทางไปรบนั้นเป็นระยะทางที่ไกลมาก บรรดาประชาชนในละแวกนั้นก็ถือโอกาสเอาสินค้าต่างๆมาจำหน่ายขายให้แก่ผู้มาแวะพักและต่อมานานๆ ผู้เข้ามาแวะพักก็ถือโอกาสนำสินค้าแปลกๆใหม่ๆที่ตนเองไปพบเห็นในต่างแดนติดไม้ติดมือมาจำหน่าย หรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นด้วย ทำให้เกิดเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่เป็นล่ำเป็นสันขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมในลักษณะนี้มีผลทำให้เกิดชนชั้นใหม่ๆขึ้นมาในสังคม คือชนชั้นกลาง ได้แก่พวกพ่อค้า นักธุรกิจ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีบทบาทอำนาจทางเศรษฐกิจขึ้นมาแทนที่พวกขุนนางเจ้าของที่ดิน อันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามครูเสดในครั้งนั้น มีผลทำให้เกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นอย่างมาก การเดินทางไปทำสงครามของชาวยุโรป ทำให้พวกเขาได้เห็นความเจริญรุ่งเรืองต่างๆในทางตะวันออกที่รุดหน้ามากว่ายุโรปตะวันตกในยุคเดียวกันนั้นเป็นอันมาก ความเจริญต่างๆเหล่านั้นแท้ที่จริงแล้วก็เกิดขึ้นมาจากพื้นฐานดั้งเดิมที่มีมาจากทางตะวันตก คือความรู้ศิลปะวิทยาการในสมัยกรีก สมัยโรมัน ยุคโบราณนั่นเอง ดังนั้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 18 เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ  ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากยุคกลางไปสู่ยุคสมัยใหม่ หลังจากที่เริ่มมีการฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในอิตาลีแล้วก็เริ่มแพร่ขยายออกไปยังดินแดนต่างๆอย่างรวดเร็ว โดยปกติทั่วไปแล้วก็มักจะแพร่ขยายไปตามเส้นทางการค้า จากอิตาลีก็ขยายตัวออกไปยัง เบลเยี่ยม เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน โปรตุเกส และสแกนดิเนเวีย ตามลำดับ

สาเหตุ การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา วัดยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของเหล่าศิลปินนอกจากนี้ยังมีพวกขุนนาง พ่อค้าผู้ร่ำรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงก็ได้ว่าจ้าง และอุปถัมภ์เหล่าศิลปินต่าง ๆ ด้วย ตระกูลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ได้แก่ ตระกูลวิสคอนตี และสฟอร์ซา ในนครมิลาน ตระกูลกอนซากาในเมืองมานตูอา และตระกูลเมดีชีในนครฟลอเรนซ์ การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จมาสู่ชีวิตมากขึ้น ผลงานของศิลปินที่มีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ทำให้ชื่อเสียงของศิลปินหลายคนเป็นที่รู้จักทั่วโลกตลอดกาล เช่น ลีโอนาร์โด ดา วินชี

สาเหตุ การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

กระบวนการของการฟื้นฟูศิลปวิทยา

เริ่มต้นด้วยความสนใจ ตื่นตัวที่จะศึกษาภาษาโบราณต่างๆ ได้แก่ กรีก ละติน และฮิบรู บรรดาพวกนักมนุษยศาสตร์ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนยุโรปหันมาสนใจภาษาโบราณแล้วยังกระตุ้นให้พวกเขาได้สนใจในภาษาท้องถิ่นของตัวเองด้วย การฟื้นฟูศิลปวิทยาย่อมจะเป็นไปไม่ได้ อย่างรวดเร็ว หากไม่มีการคิดประดิษฐ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งเกิดขึ้น การประดิษฐ์ที่ว่านั้นก็คือ เครื่องพิมพ์ชนิดแท่นเคลื่อนที่ได้ (movable type) โดยนักคิดชาวเยอรมันชื่อ โยฮัน กูเตนเบอร์ก เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ พิมพ์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทำให้ความรู้ทางศิลปวิทยาการต่างๆเผยแพร่ออกไปได้อย่างรวดเร็ว

แนวคิดของประชาชนมีเหตุผล ไม่งมงาย หรือถูกครอบงำโดยความเชื่อทางศาสนาแบบลืมหูลืมตาไม่ขึ้นดังเช่นในยุคกลางอีกต่อไป จนเกิดมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆตามมา ไม่ว่าจะเป็นด้าน ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ การดนตรีและนาฏกรรม และการค้นพบทางด้านภูมิศาสตร์

ด้านภาษา

ชาวยุโรปต่างก็หันมาสนใจใช้ภาษาถิ่นของตนเองมากยิ่งขึ้น แทนที่จะใช้ภาษาลาตินเป็นภาษาทางการแต่เพียงภาษาเดียวเช่นสมัยก่อน ภาษาถิ่นที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้อย่างเป็นระบบ ได้แก่ภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และอิตาเลียน  ภายหลังมีการใช้ภาษาถิ่นมากขึ้น ภาษาละตินก็ถูกลดความสำคัญลง

ด้านวรรณกรรม

จากลักษณะที่เคยอิงอยู่กับศาสนา มาเป็นลักษณะของการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ หรือไม่ก็เป็นการแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้ศึกซาบซึ้งในความงดงามของสิ่งธรรมชาติทั้งหลาย ละเมียดละไม มีความไพเราะเพราะพริ้งเสนาะโสตประสาทมากยิ่งขึ้น แสดงความเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น

ด้านวิทยาศาสตร์

มีนักคิดประดิษฐ์ผู้ซึ่งค้นพบหลักทฤษฏีและสิ่งประดิษฐ์แปลกๆใหม่ๆเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

คอเปอร์นีคัส (Copernicus) นักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ ค้นพบทฤษฏีเกี่ยวกับสุริยจักรวาลใหม่ขึ้นมาที่มีชื่อว่า ทฤษฏีเฮลโอเซนตริก (Heliocentric Theory) โดยกล่าวว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลไม่ใช่โลก

กาลิเลโอ (Galileo)นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวอิตาเลียน ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ขึ้นมาเพื่อพิสูจน์ว่าโลกมีสัณฐานกลม

เซอร์อแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษซึ่งค้นพบกฎของแรงโน้มถ่วง                 (Law of Gravitation)

ทางด้านดนตรีและนาฏกรรม

ยังคงเกี่ยวพันกับศาสนาอยู่มากเพราะว่าเพลงส่วนใหญ่ยังเป็นเพลงที่ร้องหรือบรรเลงในโบสถ์เสียเป็นส่วนใหญ่ มีการคิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีแปลกๆใหม่ๆเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ได้แก่ พวกเครื่องดนตรีต้นแบบของไวโอลิน เปียโน และออร์แกน

ด้านนาฏกรรมในยุคนี้ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปและสะท้อนให้เห็นลักษณะของการฟื้นฟูศิลปวิทยา ลักษณะนั้นก็คือการพยายามรื้อฟื้นผลงานในยุคคลาสสิคมาแสดงกันในรูปแบบของอุปรากร(Opera) เรื่องที่เป็นที่นิยมกันมากก็คือ ตำนานของยูรีไคส (Eurydice)

การค้นพบทางภูมิศาสตร์

ประการแรกก็คือความรู้สึกท้าทายอันเกิดจากแนวความคิดและสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบใหม่ เป็นต้นว่า แนวความคิดที่ว่าโลกกลม การคิดประดิษฐ์เข็มทิศ เครื่องบอกระยะรุ้ง แวง หรือ ละติจูด ลองจิจูด ซึ่งมีประโยชน์ต่อการเดินเรือ สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้คนกล่าที่จะเดินทางออกไปในทะเลเป็นระยะทางไกลๆ เพราะไม่ต้องกลัวหลงทิศทาง สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความต้องการสินค้าจากทางตะวันออกหรือเอเชียในปริมาณที่มากขึ้น ได้แก่พวก ผ้าไหม เครื่องเทศ เป็นต้น จึงมีการคิดเครื่องมือต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเดินเรือ ประเทศที่เป็นผู้นำในการส่งนักสำรวจออกไปสำรวจท้องทะเลคือ โปรตุเกสตามมาติดๆก็คือสเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส ตามลำดับ ทำให้พบดินแดนต่างๆอย่างมากมาย ซึ่งบางแห่งไม่เป็นที่รู้จักของชาวตะวันตกมาก่อน เช่น บาร์โทโลมิว ไดแอช (Bartholomew Diaz) ชาวโปรตุเกสค้นพบ แหลมกกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส(Christopher Columbus) ชาวสเปน ผู้เดินทางไปถึงทวีปอเมริกาคนแรกแห่งยุคโดยบังเอิญ ทั้งที่จริงเขาตั้งใจจะไปทวีปเอเชีย แต่พบอเมริกาเสียก่อน เลยทำให้สเปนกลายเป็นผู้บุกเบิกทวีปอเมริดา และดินแดนในภูมิภาคแถบนี้ไว้ครอบครองอย่างมากมายมหาศาล ถึงแม้ว่าการตื่นตัวในการสำรวจทางทะเลจะก่อให้เกิดความขัดแย้งกันเรื่องผลประโยชน์ แต่ผลที่ตามมามีประโยชน์ต่อมวลมนุษย์อย่างมหาศาล ทำให้เกิดเส้นทางการค้าใหม่เกิดขึ้นอีกเส้นทางหนึ่งคือ เส้นทางมหาสมุทรแอ๊ตแลนติก  ทำให้ได้แหล่งการค้าและวัตถุดิบมากยิ่งขึ้น

โดยสรุปทั่วๆไปแล้ว การฟื้นฟูศิลปวิทยาที่เกิดขึ้นในยุโรป ในช่วง คริสตวรรษที่ 15-18 นั้นยังผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากความคิดที่เชื่องมงาย มาเป็นความก้าวหน้าเป็นอิสระ กล้าคิดกล้าทำ ยังผลให้เกิดการคิดประดิษฐ์และการค้นพบที่สำคัญต่างๆ ทำให้สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวยุโรปเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเป็นอันมาก

การเขียนประวัติศาสตร์ในยุคเรอเนสซองส์ตามแนวมนุษยนิยมมีลักษณะดังนี้

1.            เริ่มแรกเป็นการเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ต่อมาเริ่มขยายขอบเขตความสนใจออกไปโดยที่นักประวัติศาสตร์มนุษยนิยมสนใจอดีตที่ห่างไกลของยุคลาสสิก

2.            ศูนย์กลางความเจริญของการเขียนประวัติศาสตร์ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการอยู่ที่อิตาลี

3.            การเขียนประวัติศาสตร์จึงมิได้ถูกจำกัดอยู่เพียงประวัติศาสตร์ร่วมสมัยอีกต่อไป ในยุคนี้เน้นการเขียนประวัติศาสตร์ในแง่วรรณคดี มีการปรับปรุงทางด้านภาษาและวัฒนธรรมมากกว่าปรับปรุงในด้านวัฒนธรรมหรือการวิจารณ์ด้านสังคม

4.            แบบอย่างของการเขียนประวัติศาสตร์สมัยนี้ได้รับอธิพลมาจากลิวิ และตาซิตุสของโรมันมากกว่า                 เฮโรโดตัสและธูซีดีดิสของกรีก

5.            ไม่ให้ความสนในด้านอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์แต่ยังให้ความสนใจเกี่ยวกับนิทานปรัมปรา และมักจะละทิ้งข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เพื่อจะให้ได้ภาษาที่สละสลวย

6.            ด้านการที่ยุคสมัยนี้เป็นยุคที่ให้ความสำคัญของการเป็นมนุษย์ดังนั้นการเขียนประวัติศาสตร์จึงเป็นอิสระจากศาสนายกย่องวีระบุรุษ เจ้าชายแห่งนครรัฐและกษัตริย์ พยายามสืบหาต้นกำเนิดของมนุษย์อย่างแท้จริงที่ไม่ได้ถือกำเนินมาจากพระเจ้าอย่างสมัยยุคกลางเพื่อพัฒนาตนเองให้ถึงระดับสุดยอด  เพื่อศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจต่อคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐ

7.            เนื่องจากเป็นยุคที่มีการผลิตแทนพิมพ์แล้ว (จอห์น กูเตนเบร์ก ชาวเยอรมนี ประดิษฐ์แท่นพิมพ์แบบเคลื่อนที่ได้ในปี ค.ศ. 1450) จึงทำให้งานเขียนประวัติศาสตร์ได้รับการเผยแพร่อย่างแพร่หลาย

8.            คนเขียนประวัติศาสตร์ไม่ใช่พระเหมือนอย่างในยุคกลาง โดยมากจะเป็นนักกฎหมาย นักการเมือง                นักปรัชญา

9.            งานเขียนประวัติศาสตร์จะใช้ข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ความจริงใด ข้อมูลใดหรือเหตุการณ์ใดไม่สามารถพิสูจน์ได้จะไม่แตะต้อง

10.          มีการนำผลการศึกษาทางโบราณคดีและภาษาศาสตร์มาประยุคใช้กับงานเขียนประวัติศาสตร์

สาเหตุ การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

ผู้ผลิตงานเขียนประวัติศาสตร์ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

มาเคียวเวลลี (Niccolo Machiaveli, 1469 – 1527 A.D.)

มาเคียวเวลลี เป็นบุตรชายผู้พิพากษาชาวเมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี นอกจากเป็นนักประวัติศาสตร์และยังเป็นนักการเมือง รัฐบุรุษ นักการทูต กวี นักปรัชญาการเมือง นับว่าเป็นผู้มีความรู้มีความสามารถสำคัญยิ่งในยุคสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เมื่อครั้นอายุได้ 25 ปีเขาได้รับราชการในด้านการต่างประเทศและสงคราม จึงได้มีโอกาสท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ มีโอกาสได้สังเกตการณ์ด้าน การทูต และการทหารของอิตาลีอย่างใกล้ชิด  เขาจึงเป็นนักรวบรวมข้อมูลที่ดี และสร้างสรรค์ผลงานออกมาจนเป็นที่ยอมรับ ผลงานสำคัญของมาเคียวเวลลีเช่น

1.            The history of Florence ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1525 เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้แต่ง แต่การแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นสิ่งที่เชิดชูคุณค่าของงาน อีกทั้งยังได้วิเคราะห์และตีความเหตุการณ์โดยใช้ข้อมูลสนับสนุนที่เชื่อถือได้และภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

2.            The Prince เป็นผลงานด้านปรัชญาทางด้านการเมือง ซึ่งได้ทำให้มาเคียวเวลลีได้รับการยกย้องว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่จากนักประวัติศาสตร์กลุ่มมนุษยนิยม แห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้กลายเป็นคู่มือของชนชั้นปกครอง หัวใจของหนังสือเล่มนี้คือ “การทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายโดยวิธีใดวิธีหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรม” และได้กลายเป็นหนังสือที่ทำให้เกิดการรวมอิตาลีในครั้งต่อมา ในขณะเดียวกันงานเขียนเล่มนี้ทำให้เขาถูกใส่ร้ายอย่างอยุติธรรม

ปรัชญาการเขียน

1.            เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองภายในกับนโยบายต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างนโบบายทางการทหารกับความคลี่คลายทางการเมืองอย่างถ่องแท้

2.            แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์อันมีผลต่อการเมือง อีกทั้งแสดงความคิดเห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์มีบทบาทสำคัญที่ต้องรับผิดชอบอยู่มาก

3.            มีความต้องการให้รัฐต่าง ๆ ของอิตาลีได้รวมกันภายใต้การปกครองเดียวกันโดยมีเมืองฟลอเรนซ์เป็นศูนย์กลาง

4.            ประวัติศาสตร์เป็นบทเรียนทางการเมืองแก่ปัจจุบัน

ลักษณะและขั้นตอนการเขียน

1.            เป็นคนแรกที่มีแนวการเขียนประวัติศาสตร์เป็นสำคัญ

2.            ได้แยกการเมืองออกจากศาสนา เลิกวิธีการบันทึกลำดับเหตุการณ์ตามธรรมดามาเป็นการรวบรวมหลักฐานแทน

3.            มาเคียวเวลลีได้ทำการไตร่ตรองวินิจฉัยหลักฐานต่าง ๆ และทำการวิจารณ์ตามความเห็นส่วนตัว

4.            ไม่ได้เขียนเรียงตามลำดับศักราช แต่ใช้หัวข้อเป็นเรื่องหลัก

5.            ไม่ได้เขียนสำนวนไพเราะ มุ่งเขียนความเป็นจริง ใช้หลักฐานไม่มาก แต่เป็นหลักฐานที่ดี แล้วบรรยายอย่างระเอียดพร้อมวิจารณ์

6.            ใช้ภาษาที่จริงจัง ก้าวร้าว และรุนแรง

สาเหตุ การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหมายถึงอะไร

การฟื้นฟูศิลปวิทยา หมายถึง การเกิดใหม่(rebirth) เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทาง วัฒนธรรมที่กินเวลาตัง้แต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17.

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการเกิดแนวคิดอะไร

วิทยาศาสตร์ แนวคิดที่สำคัญ ได้แก่ การเล่นแร่แปรธาตุ โดยพาราเซลซัส, แนวคิดระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง โดยนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส และความรู้ด้านการแพทย์ โดยแอนเดรียส เวซาเลียส และ วิลเลียม ฮาร์วีย์

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี เป็นจุดแรกของการเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งเป็นช่วงเวลาของความเจริญทางวัฒนธรรมที่สูงสุดในยุโรปที่เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ไปจนสิ้นสุดลงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นช่วงเวลาที่เชื่อมระหว่างยุคกลางของยุโรปกับยุโรปสมัยใหม่ตอนต้น

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หมายถึงยุคใด

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (ภาษาอังกฤษ: Italian Renaissance) เป็นจุดแรกของการเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งเป็นช่วงเวลาของความเจริญทางวัฒนธรรมที่สูงสุดในยุโรปที่เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ไปจนสิ้นสุดลงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นช่วงเวลาที่เชื่อมระหว่างยุคกลางของยุโรปกับยุโรปสมัยใหม่ตอนต้น (Early Modern Europe)