การเพิ่มทุนและการลดทุนของ ห้างหุ้นส่วน

การที่บริษัทออกหุ้นใหม่หรือเพิ่มทุน เพิ่มเติมจากหุ้นเดิมที่มีอยู่แล้ว เมื่อบริษัทประกอบการมาได้ในระยะหนึ่ง การดำเนินกิจการด้วยทุนจดทะเบียนตอนเริ่มจัดตั้งบริษัทอาจไม่เพียงพอสำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการหรือด้วยวัตถุประสงค์อื่น แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริษัท โดยจะต้องจัดการประชุมผู้ถือหุ้นและลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน เพื่อให้มีมติพิเศษในการเพิ่มทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5 เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทุน โดยที่ประชุมต้องมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนน

 

ตัวอย่าง

ประกาศ วันที่  15 เม.ย. 256X

ประชุม วันที่  30 เม.ย. 256X

**ไม่นับวันที่ประกาศและวันที่ประชุม**

 

หากบริษัทไม่ลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ตามมาตรา 1175 แห่งประมวลแพ่งและพาณิชย์

ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

 

บริษัท ลดทุน

(ขั้นตอนที่ 1) อนุมัติลดทุน

การที่บริษัทต้องการลดการออกหุ้นใหม่หรือลดมูลค่าทุน เมื่อต้องขนาดลดขนาดกิจการลง เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ หรือด้วยวัตถุประสงค์อื่น แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริษัท โดยจะต้องจัดการประชุมผู้ถือหุ้นและลงประกาศหนังสือพิมพ์เชิญประชุมผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน เพื่อให้มติพิเศษให้ลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกับทุนที่เพิ่ม

(ขั้นตอนที่ 2) ประกาศลดทุน        

การลดทุน, แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. หลังจากจดทะเบียนขั้นตอนที่ 1 แล้ว ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ให้ทราบเรื่องการลดทุนบริษัทและลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 14 วันหลังจากมีมติในที่ประชุม เพื่อให้เจ้าหนี้ทราบการลดทุนและมีสิทธิคัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บอกกล่าว

ก่อนจดทะเบียนเพิ่มทุน ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนก่อน โดยสามารถทำสัญญาเพื่อเป็นหลักฐาน ที่อยู่ในรูปแบบของลายลักษณ์อักษร ก็ได้เช่นกัน

ยื่นคำขอจดทะเบียน กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เมื่อมีการทำสัญญายินยอมเรียบร้อยแล้ว ให้หุ้นส่วนผู้จัดการตามอำนาจจัดทำคำขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน (แบบ หส.1 ) และ แก้ไขรายการจดทะเบียน (แบบ หส.2 ) เป็นต้น แล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

ถึงแม้ว่า คนส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่าการลงหุ้นนั้นต้องเป็นเงินสดเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง สำหรับห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถเลือกประเภทในการลงหุ้นได้ว่าต้องการจะลงด้วยอะไร เช่น เงิน แรง หรือ สินทรัพย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การลงหุ้น และ ประเภทของผู้เป็นหุ้นส่วน ก็มีความเกี่ยวเนื่องด้วยกันอยู่ ดังนี้

1. หุ้นส่วนจำกัด จะสามารถลงหุ้นด้วยเงินเท่านั้น
2. หุ้นส่วนไม่จำกัด จะสามารถลงหุ้นด้วยอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น เงิน แรง หรือ สินทรัพย์

สำหรับห้างหุ้นส่วน การลดทุนนั้น จะมีความแตกต่างจากบริษัทอยู่ โดยที่จะไม่มีการลดมูลค่าหุ้น หรือ ลดจำนวนหุ้น แต่จะเป็นการนำเงินออกจากห้างหุ้นส่วนแทน เพราะการลงหุ้นสำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการเอาเงินทุนมาลงหุ้นในห้างหุ้นส่วน ดังนั้น ตอนลดทุน จึงเป็นการนำเอาเงินออกเท่านั้น โดยที่ หุ้นส่วนไม่จำกัดบางคนจะไม่สามารถมีส่วนร่วมในการลดทุนได้ เช่น ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดที่ลงหุ้นด้วยแรง เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่าง หุ้นส่วนจำกัด และ หุ้นส่วนไม่จำกัด

อย่างไรก็ตาม การลดทุนสามารถถูกลดได้ทั้งจาก หุ้นส่วนจำกัด และ หุ้นส่วนไม่จำกัด ซึ่งประเภทของผู้เป็นหุ้นส่วน ก็มีความแตกต่างกัน ดังนี้

1. หุ้นส่วนจำกัด
หรือ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด คือจำพวกหุ้นส่วนที่ได้รับการคุ้มครองบางส่วน ในที่นี้หมายถึง หากห้างหุ้นส่วนเกิดล้มละลาย หรือถูกฟ้องร้อง ผู้เป็นหุ้นส่วน ที่ถูกจัดอยู่ในประเภทหุ้นส่วนจำกัด ก็จะต้องรับผิดชอบไม่เกินที่ได้ลงเงินไว้

2. หุ้นส่วนไม่จำกัด
หรือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด คือจำพวกหุ้นส่วนที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง ในที่นี้หมายถึง หากห้างหุ้นส่วนเกิดล้มละลาย หรือถูกฟ้องร้อง ผู้เป็นหุ้นส่วน ที่ถูกจัดอยู่ในประเภทหุ้นส่วนไม่จำกัด ก็จะต้องรับผิดชอบต้องเท่าที่ความเสียหายเกิด หรือรับผิดชอบทั้งหมด

ข้อได้เปรียบ - ข้อเสียเปรียบของหุ้นส่วนจำกัด และ หุ้นส่วนไม่จำกัด

หุ้นส่วนจำกัด

1. ข้อได้เปรียบ
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ไม่ได้มีความมั่นคงมากกว่าหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับปิด เพราะเมื่อห้างหุ้นส่วนเกิดปัญหาผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งสองประเภท ก็จะได้รับผลกระทบอย่างไม่มีข้อแม้ อย่างไรก็ตาม หุ้นส่วนจำกัด นั้นจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
2. ข้อเสียเปรียบ
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด จะไม่ได้รับสิทธิในการเซ็นเอกสารสำคัญต่าง ๆ เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือ บุคคลที่มีอำนาจในการเซ็นเอกสารจะต้องเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดเท่านั้น

หุ้นส่วนไม่จำกัด

1. ข้อได้เปรียบ
หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด สามารถมีสิทธิในการเซ็นเอกสารสำคัญต่าง ๆ เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือ บุคคลที่มีอำนาจในการเซ็นเอกสารจะต้องเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดเท่านั้น
2. ข้อเสียเปรียบ
หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ไม่ได้มีความมั่นคงน้อยกว่าหุ้นส่วนจำกัดความรับปิด เพราะเมื่อห้างหุ้นส่วนเกิดปัญหาผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งสองประเภท ก็จะได้รับผลกระทบอย่างไม่มีข้อแม้ อย่างไรก็ตาม หุ้นส่วนไม่จำกัด นั้นจะได้รับผลกระทบมากกว่า เพราะต้องรับผิดชอบทั้งหมด เช่น หากเกิดหนี้สินจากการล้มละลาย หุ้นส่วนไม่จำกัดก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการชำระหนี้จนหมด

การลงหุ้น ของห้างหุ้นส่วนจำกัด

โดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่าการลงหุ้นนั้นต้องเป็นเงินสดเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง สำหรับห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถเลือกประเภทในการลงหุ้นได้ว่าต้องการจะลงด้วยอะไร เช่น เงิน แรง หรือ สินทรัพย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การลงหุ้น และ ประเภทของผู้เป็นหุ้นส่วน ก็มีความเกี่ยวเนื่องด้วยกันอยู่ ดังนี้