เคลือบฟลูออไรด์บ่อยๆได้ไหม

ฟลูออไรด์เป็นธาตุที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่ช่วยเสริมสร้างฟันของเราให้แข็งแรง ฟลูออไรด์ช่วยป้องกันฟันผุได้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันฟันผุคือการใช้ฟลูออไรด์จากหลาย ๆ แหล่ง

ฟลูออไรด์ตามธรรมชาติพบได้ในแหล่งน้ำ แต่จะมีปริมาณน้อย นอกจากนี้ยังพบได้ในอาหารบางชนิดเช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ และชา ในบางพื้นอาจมีการเติมฟลูออไรด์ลงไปในน้ำด้วย ส่วนยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และวิธีการรักษาทางทันตกรรมส่วนมากมีฟลูออไรด์ประกอบอยู่ด้วยเสมอ และบางครั้งทันตแพทย์จะสั่งจ่ายฟลูออไรด์แบบเม็ดรับประทานให้กับเด็กที่ได้รับธาตุฟลูออไรด์ไม่เพียงพอจากการดื่มน้ำเพื่อช่วยป้องกันฟันผุ

ฟลูออไรด์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด?

เคลือบฟันเป็นชั้นนอกสุดของฟัน (ส่วนที่เราสามารถมองเห็นได้) ซึ่งเป็นส่วนที่ผลึกของแร่ธาตุอัดเรียงตัวเข้าด้วยกันอย่างใกล้ชิด เคลือบฟันของเราจะสูญเสียแร่ธาตุและแร่ธาตุจะกลับเข้ามาใหม่ในทุก ๆ วัน การสูญเสียแร่ธาตุเรียกว่า การลดแร่ธาตุ (Demineralization) ส่วนการได้รับแร่ธาตุกลับมาใหม่นั้นเรียกว่า การคืนแร่ธาตุ (Remineralization) โดยที่ทั้งสองกระบวนการจะสร้างสมดุลในตัวมันเอง

การลดแร่ธาตุจะเริ่มจากแบคทีเรียประเภทที่ทำให้เกิดคราบพลักที่ฟันของคุณ แบคทีเรียเหล่านี้ใช้น้ำตาลในปากของคุณเป็นอาหารและสร้างกรดขึ้นมา กรดเหล่านี้จะไปละลายผลึกที่ฟันของเรา ส่วนการคืนแร่ธาตุนั้นจะช่วยสร้างเคลือบฟันให้กลับขึ้นมาใหม่ ในกระบวนการนี้ แร่ธาตุอย่างฟลูออไรด์ แคลเซียม และฟอสเฟตจะสะสมอยู่ที่ภายในเคลือบฟัน หากเราสูญเสียเคลือบฟันในปริมาณมากโดยที่ไม่มีการซ่อมแซมคืนแร่ธาตุกลับมาให้กับเคลือบฟัน ฟันของเราจะผุได้

ฟลูออไรด์ช่วยเสริมความแข็งแรงให้ฟันโดยการช่วยเร่งการคืนแร่ธาตุ นอกจากนี้ ฟลูออไรด์ยังช่วยยับยั้งแบคทีเรียไม่ให้สร้างกรดขึ้นมาทำลายฟันของคุณด้วย

ฟลูออไรด์สามารถสร้างความแข็งแรงให้ฟันของคุณได้ด้วย 2 วิธี นั่นคือ ทั้งจากภายนอกและภายใน

ฟันจะดูดซับฟลูออไรด์จากภายนอกได้ด้วยหลายวิธี ดังนี้

  • เมื่อคุณรับการรักษาด้วยการเคลือบฟลูออไรด์ที่คลินิกทันตกรรม
  • เมื่อคุณแปรงฟันด้วยยาสีฟันหรือใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์
  • เมื่อมีการเติมฟลูออไรด์ลงไปในน้ำดื่มที่ชะผ่านฟันของคุณ

ฟันจะทำการดูดซึมฟลูออไรด์โดยภายนอกของฟันสัมผัสกับฟลูออไรด์ที่เรียกว่า "การให้ฟลูออไรด์เฉพาะที่" หรือภาษาทั่วไปเรียกว่า "การเคลือบฟลูออไรด์"

นอกจากนี้ ฟลูออไรด์ที่ได้มาจากภายในจะเป็นชนิดที่เราต้องกลืนเข้าไปในร่างกาย จากนั้นฟลูออไรด์ก็จะเข้าสู่กระแสเลือดและกลายเป็นส่วนหนึ่งของฟัน ขณะที่ฟันโตขึ้นเรื่อย ๆ วิธีนี้เรียกว่า "ฟลูออไรด์แบบทั่วร่างกาย" ฟันของคุณจะแข็งแรงขึ้นและทนต่อกรดที่มาทำลายเคลือบฟัน

เด็ก ๆ สามารถรับประทานฟลูออไรด์แบบทั่วร่างกายได้โดย

  • ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่ผสมฟลูออไรด์
  • รับประทานฟลูออไรด์เสริมที่ทันตแพทย์สั่งจ่าย
  • รับฟลูออไรด์ที่มีอยู่ปริมาณเล็กน้อยจากอาหาร

การเคลือบฟลูออไรด์ที่คลินิกทันตกรรมจะเป็นวิธีที่ใช้สำหรับเด็กเนื่องจากฟันยังมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เด็กที่มีประวัติฟันผุหรือมีความเสี่ยงสูงว่าจะเป็นฟันผุควรได้รับฟลูออไรด์เสริม ซึ่งฟลูออไรด์เสริมนี้จะช่วยเร่งการคืนแร่ธาตุให้กับฟัน เด็ก ๆ จำนวนมากได้รับฟลูออไรด์เสริมจากการไปพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือนแม้ว่าจะดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์อยู่แล้วก็ตาม การรักษาดังกล่าวช่วยปกป้องฟันของเด็ก ๆ ไม่ให้ผุ

ยิ่งไปกว่านั้น การใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนผสมก็ช่วยป้องกันฟันผุในเด็กที่มีประวัติฟันผุหรือมีความเสี่ยงเกิดฟันผุได้ น้ำยาบ้วนปากที่หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไปแนะนำใหใช้ได้กับเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป นอกจากนี้ในกรณีที่ต้องการฟลูออไรด์มากกว่าปกติ ทันตแพทย์อาจสั่งจ่ายหรือให้ซื้อน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์สูงหรือเจลที่มีฟลูออไรด์สูงกว่าปกติมาใช้กับเด็ก

โดยทั่วไปฟลูออไรด์เสริมจะให้กับเด็กที่อายุ 6 – 16 ปี ที่ได้รับฟลูออไรด์จากการดื่มน้ำในระดับต่ำ และอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะมีฟันผุ ซึ่งฟลูออไรด์เสริมจะมีขายในชนิดน้ำหรือแบบหยอดปากสำหรับเด็กเล็ก และแบบเม็ดสำหรับเด็กโต โดยที่ทันตแพทย์หรือกุมารแพทย์จะเป็นผู้สั่งจ่าย

การเคลือบฟลูออไรด์จะช่วยป้องกันฟันผุได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ใครก็ตามที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีฟันผุก็สามารถเข้ารับการเคลือบฟลูออไรด์ได้ โดยทันตแพทย์จะเคลือบฟลูออไรด์ลงไปที่ฟันของคุณโดยตรง

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของฟันผุคือ

  • มีประวัติฟันผุ
  • ไม่ค่อยไปพบทันตแพทย์
  • ไม่ค่อยแปรงฟัน
  • รับประทานอาหารไม่ถูกโภชนาการ โดยเฉพาะการรับประทานขนมหวานหรือของว่างบ่อย ๆ

การรับประทานยาบางตัวสามารถทำให้ปากของเราแห้งได้ เช่น ยาต้านฮีสตามีน และยาอื่น ๆ เช่นยารักษาปัญหาความดันสูง ยาลดภาวะวิตก และยาภาวะซึมเศร้า หากคุณมีน้ำลายในปากน้อยจะยิ่งทำให้อาการฟันผุของคุณแย่ลงเร็วขึ้น เนื่องจากน้ำลายเป็นตัวชะล้างเอาแบคทีเรียออกไปจากปากของคุณ

เคลือบฟลูออไรด์บ่อยๆได้ไหม

การเตรียมตัว

ก่อนที่คุณจะเข้ารับการเคลือบฟลูออไรด์ในคลินิกทันตกรรม คุณควรทำความสะอาดฟันให้สะอาด ทันตแพทย์อาจต้องขัดเกลาฟันของคุณเล็กน้อยเพื่อกำจัดคราบที่เกาะอยู่บริเวณผิวหน้าฟัน หากคุณใช้น้ำยาบ้วนปากหรือเจลที่มีฟลูออไรด์เองที่บ้าน ให้แปรงฟันให้สะอาดและขัดฟันด้วยไหมขัดฟันก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ ควรใช้ผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์ดังกล่าวในช่วงเวลากลางคืนก่อนนอน เพราะเมื่อคุณหลับฟันของคุณจะดูดซึมฟลูออไรด์จากผลิตภัณฑ์เรื่อย ๆ โดยไม่ถูกชะออกไป

เคลือบฟลูออไรด์ทำอย่างไร?

การเคลือบฟลูออไรด์ที่ทันตแพทย์ดำเนินการให้คุณนั้นจะมีปริมาณฟลูออไรด์สูงกว่าในน้ำยาบ้วนปากหรือยาสีฟันที่คุณใช้ทั่วไป เคลือบฟลูออไรด์เป็นวิธีที่ใช้ได้สำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้ การรักษาด้วยฟลูออไรด์ที่คลินิกทันตกรรมจะมีสารเคมีที่ไม่เหมือนกับสารเคมีในยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปาก และจะติดอยู่ที่ฟันของคุณได้นานกว่า

ฟลูออไรด์ที่ทันตแพทย์ใช้จะมี 2 แบบด้วยกัน แบบแรกคือ แอซิดูเลตฟอสเฟสฟลูออไรด์ (APF) ซึ่งจะมีฤทธิ์เป็นกรด ขณะที่โซเดียมฟลูออไรด์จะเป็นกลางและปกติแล้วโซเดียมฟลูออไรด์ที่เป็นกลางนี้จะใช้กับผู้ที่มีภาวะปากแห้ง (ภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อย) หรือผู้ที่ผ่านการอุดฟันด้วยวัสดุสีเดียวกับฟัน รวมถึงผู้ที่ทำการครอบฟันหรือทำสะพานฟัน เนื่องจากฟลูออไรด์ที่เป็นกรดอาจระคายเคืองกับปากที่แห้ง รวมถึงอาจทำให้เกิดหลุมเล็ก ๆ ในวัสดุอุดฟันแบบพลาสติกที่มีสีเดียวกับฟันได้

การใช้ฟลูออไรด์แบบที่เป็นเจล โฟม หรือฟลูออไรด์แบบที่ค่อย ๆ หมดไประหว่างการพบแพทย์แต่ละครั้ง คุณต้องทำให้ฟันของคุณแห้งก่อนที่จะใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อไม่ให้ฟลูออไรด์ถูกเจือจางลงไป ฟลูออไรด์แบบที่เป็นเจลหรือโฟมสามารถใช้ได้โดยใช้ถาดครอบฟันที่มีรูปร่างเหมือนอุปกรณ์ครอบปาก ใช้เวลาประมาณ 1 – 4 นาทีในการเคลือบฟลูออไรด์แต่ละครั้ง ส่วนฟลูออไรด์แบบที่ค่อย ๆ หมดไประหว่างการพบแพทย์ ใช้โดยการทาลงไปบนฟันที่มีแนวโน้มเกิดฟันผุได้โดยตรงเพื่อทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น ซึ่งเป็นจุดเด่นของฟลูออไรด์แบบใช้เฉพาะที่ เมื่อเทียบกับฟลูออไรด์แบบที่เป็นเจลหรือโฟม ฟลูออไรด์แบบเฉพาะที่อาจมีปริมาณฟลูออไรด์ที่เข้มข้นสูงมากและมีหลากหลายรสชาติให้เลือก สิ่งสำคัญคือคุณต้องไม่กลืนฟลูออไรด์นั้นลงไป

โดยทั่วไปแล้วฟลูออไรด์เสริมจะใช้กับเด็ก ๆ ที่มีความเสี่ยงเป็นปัญหาฟันผุสูง โดยให้ใช้ในปริมาณน้อย ปริมาณที่ใช้ได้ต่อวันคือ 0.25 – 1 มิลลิกรัม โดยที่ปริมาณดังกล่าวขึ้นอยู่กับอายุของเด็กและปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำที่เด็กดื่ม

ทันตแพทย์จะไม่สั่งจ่ายฟลูออไรด์เสริมมากกว่า 264 มิลลิกรัมต่อหนึ่งครั้ง เนื่องจากฟลูออไรด์มีความเป็นพิษหากบริโภคในปริมาณสูงเกินไป สำหรับเด็กอายุ 2 ขวบที่มีน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม ปริมาณสูงสุดที่ให้ได้คือ 320 มิลลิกรัม เพื่อหลีกเลี่ยงการรับฟลูออไรด์เกินปริมาณที่เหมาะสม คุณไม่ควรสะสมฟลูออไรด์ชนิดเม็ดไว้ที่บ้านในปริมาณที่มากเกินไป หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับความเสี่ยงของฟลูออไรด์ ให้คุณไปพบทันตแพทย์หรือแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับฟลูออไรด์จะดีที่สุด

เราทุกคนควรแปรงฟันโดยใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ แต่ให้ระมัดระวังในเด็กเล็กเนื่องจากเด็ก ๆ มักกลืนยาสีฟัน สำหรับเด็ก ให้ใช้ยาสีฟันในปริมาณเท่ากับเม็ดถั่ว และสอนให้เด็กบ้วนยาสีฟันทิ้งให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ไม่ควรใช้ยาสีฟันที่แต่งกลิ่นรสมากจนเกินไป เนื่องจากเด็กมักมีโอกาสกลืนยาสีฟันประเภทนี้ได้มากกว่า

หลังเคลือบฟลูออไรด์

อย่ารับประทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่มใด ๆ หรือสูบบุหรี่หลังการเคลือบฟลูออไรด์อย่างน้อย 30 นาที เพื่อเพิ่มการสัมผัสฟลูออไรด์ที่ฟันของคุณได้มากขึ้น

ความเสี่ยง

ฟลูออไรด์มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเมื่อใช้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ฟลูออไรด์อาจเป็นอันตรายได้เมื่อใช้ในประมาณสูง ควรตรวจสอบระบบน้ำที่มีการเติมฟลูออไรด์ลงไป เพื่อให้ทราบว่ามีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำพอเหมาะหรือไม่ ผู้ปกครองควรตรวจตราการใช้ผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์ที่บ้านทั้งหมดรวมถึงยาสีฟันด้วย จัดเก็บฟลูออไรด์ชนิดเม็ดให้ฟันจากมือเด็กเล็ก

หากมีการกลืนฟลูออไรด์ลงไปมาก เด็กเล็กอาจมีอาการคลื่นไส้ และฟลูออไรด์ที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดจุดบนฟันที่กำลังงอกขึ้นได้ จุดดังกล่าวจะสามารถมองเห็นได้เมื่อฟันเหล่านี้งอกขึ้นมาในปาก หากเกิดกรณีนี้ขึ้นคุณควรปรึกษาทันตแพทย์ ซึ่งทันตแพทย์จะสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์ที่เหมาะสมกับเด็ก ๆ ได้

ปริมาณฟลูออไรด์ที่มากถึงระดับที่เป็นพิษจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของเด็ก เช่น เด็กอายุ 8 ขวบที่หนักประมาณ 20 กิโลกรัมจะอยู่ที่ 655 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบได้กับการเติมฟลูออไรด์ส่วนลงในน้ำปริมาตร 235 มิลลิลิตรจะมีค่าเท่ากับฟลูออไรด์ 1 ส่วนต่อน้ำ 1 ล้านส่วน ซึ่งในที่สุดแล้วจะมีฟลูออไรด์ 0.25 มิลลิกรัม ยาสีฟันที่ป้ายหนึ่งครั้งมีฟลูออไรด์ 0.24 มิลลิกรัม เนื่องจากผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์เหล่านี้กำหนดให้ใช้ในปริมาณน้อย ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงเนื่องจากพิษฟลูออไรด์ได้ที่บ้านจึงมีน้อยมาก

เมื่อไหร่ควรปรึกษาทันตแพทย์

คุณควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบเมื่อคุณใช้ผลิตภัณฑ์เสริมฟลูออไรด์ ทันตแพทย์หรือนักทันตานามัยจะสามารถแนะนำแหล่งหรือผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์ที่ดีให้ รวมถึงแนะนำได้ว่าฟลูออไรด์ชนิดใดที่เหมาะกับลูกของคุณที่สุด

เคลือบฟลูออไรด์ ดีไหม

การเคลือบฟลูออไรด์จะช่วยป้องกันฟันผุได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ใครก็ตามที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีฟันผุก็สามารถเข้ารับการเคลือบฟลูออไรด์ได้ โดยทันตแพทย์จะเคลือบฟลูออไรด์ลงไปที่ฟันของคุณโดยตรง ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของฟันผุคือ มีประวัติฟันผุ ไม่ค่อยไปพบทันตแพทย์

เคลือบฟลูออไรด์ มีกี่แบบ

ฟลูออไรด์เคลือบฟันกี่ประเภท ฟลูออไรด์เคลือบฟัน แบ่งเป็น 2 ประเภทตามรูปแบบการใช้งาน ดังนี้ ฟลูออไรด์เคลือบฟันชนิดรับประทาน มีทั้งรูปแบบเม็ดและรูปแบบน้ำ สามารถใช้ผสมกับน้ำดื่มได้เลย ซึ่งมีบางประเทศที่ผสมฟลูออไรด์กับน้ำประปา หรือน้ำดื่มให้ประชาชนดื่มเพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เคลือบฟลูออไรด์ ผู้ใหญ่ ดีไหม

มีงานวิจัยค้นพบว่าฟลูออไรด์ที่ผสมอยู่ในยาสีฟัน หรือในน้ำยาบ้วนปาก รวมถึงชนิดเพื่อการรักษา ล้วนมีประสิทธิภาพที่ช่วยป้องกันฟันผุให้กับคนทุกวัย นอกจากนี้ ฟลูออไรด์ยังมีประโยชน์กับผู้สูงวัยที่มีภาวะภาวะปากแห้งหรืออาการน้ำลายน้อยอีกด้วย ส่วนใหญ่ปัญหาปากแห้งเป็นผลข้างเคียงมาจากการใช้ยาบางจำพวก รวมถึงปริมาณน้ำลายจะลดลงเมื่อ ...

เคลือบฟลูออไรด์ฟันจะขาวไหม

หลายคนอาจสงสัยว่า เคลือบฟลูออไรด์ฟันขาวไหม ซึ่งจริงๆแล้วการเคลือบฟลูออไรด์อาจไม่ได้ช่วยให้ฟันขาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะเป็นเพียงการเคลือบสารลงบนผิวฟัน เพื่อให้ฟันแข็งแรงเท่านั้น