คัดสําเนาทะเบียนบ้านต่างจังหวัดได้ไหม

การขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร

  • คัดสําเนาทะเบียนบ้านต่างจังหวัดได้ไหม

Details

Details Parent Category: คู่มือการบริการ Category: ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน

การขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร

    เอกสารหลักฐานรายการเกี่ยวกับบัตรมีอายุเก็บรักษาไม่น้อยกว่า 6 - 18 ปี  ผู้ถือบัตรและผู้มีส่วนได้เสีย สามารถขอตรวจหลักฐาน  หรือคัดสำเนารายการบัตรเดิมจากฐานข้อมูลทะเบียนบัตรจากระบบคอมพิวเตอร์ ณ สถานที่ดังนี้

    (1) ที่ทำการปกครองจังหวัด ศาลากลางจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ
    (2) สำนักทะเบียนที่ออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทุกแห่ง

    การตรวจสอบข้อมูลทะเบียนบัตร สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ตั้งแต่ข้อมูลปี 2531 ถึงปัจจุบันและข้อมูลทะเบียนบัตรตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา จะมีภาพถ่ายใบหน้าของผู้ขอมีบัตรปรากฎอยู่ด้วย ในกรณีที่ไม่สามารถ ตรวจค้นได้จากระบบคอมพิวเตอร์สามารถขอตรวจสอบหรือคัดสำเนาหลักฐานการทำบัตรจากระบบไมโครฟิล์ม คำขอมีบัตรและฟิล์มรูปถ่ายได้ที่ หน่วยบริการข้อมูล สำนักบริหารการทะเบียน ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 0-2629-9125 ถึง 41 ต่อ 1101 - 2 ในวันและเวลาราชการ การขอตรวจหลักฐาน หรือคัดสำเนา  หรือคัดและรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรต้องเสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนให้โทรศัพท์สอบถาม " ศูนย์บริการตอบปัญหางานทะเบียนและบัตรทางโทรศัพท์ ที่หมายเลขโทร 1548 " หรือทาง INTERNETที่ http://www.dopa.go.th. หรือ KHONTHAI.COM ( ปรับปรุงแก้ไข ตามคู่มือปฏิบัติงานบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2548 ฝ่ายระเบียบและกฎหมายบัตรประจำตัวประชาชน )

      หากเราไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน สามารถขอให้ทางเทศบาลคัดสำเนาทะเบียนบ้านเล่มใหม่ให้ได้หรือไม่ครับ เป็นบุตรเจ้าบ้านครับต้องนำหลักฐานอะไรไปบ้างครับ

การขอคัดหรือรับรองสำเนาทะเบียนบ้านหรือรายการทะเบียนราษฎร์
************************

๑. สถานที่แจ้ง

- ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ/สำนักงานเขตหรือสำนักทะเบียนกลาง 

๒. หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

- บัตรประจำตัวและหลักฐานแสดงผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ

๓. ค่าธรรมเนียม

- การขอให้นายทะเบียนคัดและรับรองสำเนาทะเบียนบ้าน เสียค่าธรรมเนียม ๕ บาท

- การรับรองการทะเบียนราษฎร์ ค่าธรรมเนียม ๑๐ บาท (กรณีบริการด้วยระบบคอมพิวเตอร์)

อัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. ๒๕๓๔

- คัดและรับรองทะเบียนบ้าน ฉบับละ ๕ บาท

- คัดและรับรองรายการข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร ฉบับละ ๑๐ บาท

- แจ้งย้ายปลายทาง ๕ บาท

- ขอรับสำเนาทะเบียนบ้านแทนฉบับเดิมที่ชำรุด หรือสูญหาย ฉบับละ ๕ บาท

หมายเหตุ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการขอคัดและรับรองทะเบียนบ้าน ในกรณีใช้เพื่อการศึกษาทั่วไป, ใช้เกี่ยวกับการเข้ารับราชการ,ใช้เกี่ยวกับการขอรับการสงเคราะห์ทางราชการ, ใช้เกี่ยวกับการจัดที่ดินเพื่ออยู่อาศัยของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือประกอบอาชีพกสิกรรม, ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

คัดสำเนาทะเบียนบ้านกับ 5 เรื่องที่ต้องรู้ ทำได้โดยไม่ต้องไปสำนักงานเขต

ทางกรมการปกครองก็ไม่นิ่งนอนใจ จึงคิดหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน ดังเช่นการเปิดจุดบริการด่วนมหานคร BMA Express Service บนสถานีรถไฟฟ้า BTS หรือ BMA Drive Thru Service ซึ่งหลายคนอาจเคยใช้บริการกันบ้างแล้ว โดยรู้ไหมว่าสามารถขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านได้ด้วย โดยไม่ต้องไปสำนักงานเขตให้เสียเวลา

ทำความรู้จักคัดสำเนาทะเบียนบ้านคืออะไร

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่า การคัดสำเนาทะเบียนบ้าน คืออะไร คำตอบคือการคัดสำเนาทะเบียนบ้าน ก็เปรียบเหมือนเป็นการอัปเดตความเคลื่อนไหวของทะเบียนบ้าน ในกรณีที่ในบ้านมีสมาชิกเพิ่มเข้ามาหรือย้ายออกไป อาทิ เกิด ตาย หรือรวมไปถึงการรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในบ้าน เป็นต้น

คัดสำเนาทะเบียนบ้านได้ที่ไหน

โดยปกติแล้ว การขอคัดสำเนาทะเบียนบ้าน สามารถเตรียมเอกสารไปติดต่อกับทางสำนักงานเขตที่ระบุไว้ในทะเบียนบ้านได้ แต่เพื่อความสะดวกของประชาชนทางกรมการปกครองจึงได้จัด จุดบริการด่วนมหานคร หรือ BMA Express Service จำนวน 12 แห่ง ไว้คอยบริการ ดังนี้

  • ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
  • ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค
  • ห้างสรรพสินค้าซีคอน บางแค
  • ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค
  • ห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์
  • 6.ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง
  • ศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย
  • ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์
  • สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข
  • สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต
  • สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์
  • สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่

สามารถจองคิวเข้าใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน BMA Q ดาวน์โหลดได้ที่นี่ : Google Play / iOS

ส่วนต่างจังหวัด จองคิวเพื่อขอรับบริการล่วงหน้า ณ ที่ว่าการอำเภอ ได้ที่เว็บไซต์ กรมการปกครอง

คัดสำเนาทะเบียนบ้านใช้เอกสารอะไรบ้าง

แม้จะไม่จำเป็นต้องไปถึงสำนักงานเขต แต่การจะไปคัดสำเนาทะเบียนบ้านก็ควรเตรียมเอกสารความพร้อมให้ครบถ้วนด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

กรณีแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนบ้าน

  • เอกสารราชการที่มาแสดงประกอบหลักฐานในการแก้ไขรายการ
  • บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านหรือเจ้าของประวัติหรือบิดามารดา)
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สูติบัตร (กรณีแจ้งเกิด) หรือ มรณบัตร (กรณีแจ้งตาย)

การแจ้งย้ายเข้า

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
  • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว

การแจ้งย้ายออก

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง

การแจ้งย้ายปลายทาง

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย หรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่นพร้อมสำเนา บัตรที่ลงชื่อเจ้าของบัตร กำกับไว้
  • เจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
  • หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไป ดำเนินการแจ้งย้ายได้)
  • หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่ บัตรฯ พร้อมด้วยสำเนาบัตรฯ ที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ (กรณีผู้แจ้งย้าย)

ค่าธรรมเนียมในการขอคัดสำเนาทะเบียนบ้าน

  • ขอคัดสำเนา หรือคัดและรับรองสำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย ฉบับละ 10 บาท
  • ขอคัดสำเนา หรือคัดและรับรองสำเนารายการข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร ฉบับละ 20 บาท
  • การแจ้งการเกิดต่างท้องที่ ฉบับละ 20 บาท
  • การแจ้งการตายต่างท้องที่ ฉบับละ 20 บาท
  • การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง ฉบับละ 20 บาท
  • การแจ้งย้ายที่อยู่ต่างท้องที่ ฉบับละ 20 บาท
  • ขอรับสำเนาทะเบียนบ้านกรณีชำรุดหรือสูญหาย ฉบับละ 20 บาท

The customer Information service counter at bangkok bts Station, thailand. Asian woman asking travel information or buying subway ticket. คัดสำเนาทะเบียนบ้าน

ควรรู้ก่อนคัดสำเนาทะเบียนบ้านที่ BMA Drive Thru Service

สำหรับการคัดสำเนาทะเบียนบ้านที่จุดให้บริการ BMA Drive Thru Service นั้น ขณะนี้เปิดให้บริการที่สำนักงานเขตจตุจักรเท่านั้น โดยข้อดีของการบริการที่นี่คือ ไม่ต้องลงจากรถเพียงเทียบรถเข้าใกล้จุดบริการ พร้อมยื่นเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ในการติดต่อ ก็สามารถคัดสำเนาทะเบียนบ้านได้เลย

เรียกได้ว่าเป็นการพลิกโฉมการให้บริการงานราชการอย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว สำหรับการคัดสำเนาทะเบียนที่ไม่จำเป็นต้องไปสำนักงานเขตให้ยุ่งยาก เพียงเลิอกใช้บริการ BMA Express Service บนรถไฟฟ้า BTS หรือ BMA Drive Thru Service ณ จุดบริการ ก็สามารถสร้างความสะดวกสบายในการติดต่องานทะเบียนราษฎร์อย่างการคัดสำเนาทะเบียนบ้านได้แล้ว

แต่หากใครที่จำเป็นต้องมีขั้นตอนเกี่ยวกับกฎหมาย ซึ่งต้องไปสำนักงานเขตนั่น ทางที่ดีควรใช้บริการจองคิวออนไลน์ ผ่านช่องทาง E-mail :  และ Line ID : smartidbooking ก็สะดวกสบายเช่นกัน

เรื่องข้างต้นเขียนโดย อารยา ศิริพยัคฆ์ Content Writer ประจำเว็บไซต์ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่  

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

คัดสําเนาทะเบียนบ้านของคนอื่นได้ไหม

คำตอบ กรณีบุคคลไปยื่นขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ของตนเอง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็จะดำเนินการตรวจสอบความมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร์ฯ คงจะเป็นแค่กล่าวอ้างเฉยๆไม่ได้ หากเป็นไปตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วเจ้าหน้าที่ก็คงอนุญาตให้คัดสำเนาทะเบียนบ้านได้ต่อไป

ขอคัดสําเนาทะเบียนบ้านได้ที่ไหนบ้าง

โดยปกติแล้ว การขอคัดสำเนาทะเบียนบ้าน สามารถเตรียมเอกสารไปติดต่อกับทางสำนักงานเขตที่ระบุไว้ในทะเบียนบ้านได้ แต่เพื่อความสะดวกของประชาชนทางกรมการปกครองจึงได้จัด จุดบริการด่วนมหานคร หรือ BMA Express Service จำนวน 12 แห่ง ไว้คอยบริการ ดังนี้ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค ห้างสรรพสินค้าซีคอน บางแค

คัดสําเนาบัตรประชาชน ได้ที่ไหน

สถานที่ติดต่อ สามารถยื่นขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ทุกแห่งทั่วประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปภูมิลำเนาที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนั้น เนื่องจากปัจจุบันกรมการปกครองได้จัดทำรูปแบบการทำบัตรประจำตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (ระบบOnline)

สำเนาทะเบียนบ้านเอาไปทำอะไรได้บ้าง

ประโยชน์หลักของทะเบียนบ้าน คือ การแสดงตัวตนของผู้อยู่อาศัย รวมทั้งการนำไปใช้เป็นเอกสารทางราชการเพื่อดำเนินการธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้ทะเบียนบ้านตัวจริงเป็นหลักฐานในการยืนยันตัวตนสำหรับการขอเปลี่ยนชื่อ หรือระบุตัวตนให้ตรงกับบัญชีรายชื่อเพื่อมอบสิทธิ์ในการเลือกตั้ง เป็นต้น