เป็นประจําเดือนไปตรวจสุขภาพได้ไหม

สาระน่ารู้

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องตรวจสุขภาพ

เตรียมตัวเจาะเลือดทำอย่างไรดี  ปฏิบัติตนตามชีวิตประจำวันอย่างปกติไม่ควรดื่มสุราและกาแฟ เพราะจะมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงยาประจำที่กินอยู่ให้กินปกติ ยกเว้นทางแพทย์แจ้งให้งดกินก่อนมาเจาะเลือดนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอกรณีเจาะเลือดตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ให้งดกินอาหารทุกชนิดรวมทั้งเครื่องดื่มทุกประเภท ก่อนเจาะเลือด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง ยกเว้นดื่มน้ำเปล่าได้เล็กน้อยกรณีเจาะเลือดตรวจหาระดับไขมันในเลือด ให้งดกินอาหารทุกชนิดรวมทั้งเครื่องดื่มทุกประเภท ก่อนเจาะเลือด 12 ชั่วโมง ยกเว้นดื่มน้ำเปล่าได้เล็กน้อยใส่เสื้อที่สามารถพับแขนขึ้นได้สะดวก ไม่รัดแน่นเกินไปในการเจาะเลือดการปฏิบัติตนหลังการเจาะเลือด ควรพับงอแขนด้านที่ถูกเจาะเลือดประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เลือดหยุดไหล หรือให้กดบริเวณสำลีที่ปิดแผลให้แน่นประมาณ 5 นาทีในกรณีที่ต้องอดอาหารก่อนมาเจาะเลือด ให้รีบกินอาหารหลังการเจาะเลือดเสร็จ (ยกเว้นงดอาหารเพื่อตรวจรายการอื่น)ไม่นวดหรือคลึงบริเวณที่เจาะเลือด เพราะจะทำให้เส้นเลือดที่ถูกเจาะแตกและเป็นรอยช้ำได้ถ้ามีรอยเขียวช้ำจากการเจาะเลือดจะจางหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ ทำความสะอาดอวัยวะเพศ (ในสตรีขณะมีประจำเดือน) ควรถ่ายปัสสาวะทิ้งในช่วงแรกและเก็บในช่วงกลางของการถ่ายปัสสาวะประมาณ 10-15 ซีซี เพื่อลดการปนเปื้อน และนำภาชนะที่เก็บปัสสาวะออกก่อนที่จะสุดการถ่ายปัสสาวะ ** สุภาพสตรีในระหว่างมีรอบเดือนไม่ควรตรวจปัสสาวะ เนื่องจากมีเม็ดเลือดแดงปนเปื้อน ทำให้การตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดพลาดได้ ** การเก็บอุจจาระส่งตรวจ ขวดที่ใช้เก็บเป็นขวดปากกว้างมีฝาเกลียว สะอาดและแห้ง ต้องเก็บทันทีหลังจากผู้ป่วยถ่าย จำนวนประมาณ 1-5 กรัม (ขนาดประมาณหัวแม่มือ)ควรเก็บในส่วนที่ผิดปกติ ได้แก่ ส่วนที่มีมูก มูกเลือด เหลว หรือมีสีแปลกออกไป เลือกเก็บมาแห่งละนิดละหน่อย และนำมาบรรจุใส่ภาชนะเดียวกัน การเก็บเสมหะส่งตรวจ บ้วนปากด้วยน้ำเปล่าก่อนไอ เพื่อไม่ให้มีเศษอาหารปน เพราะมีลักษณะเหมือนเชื้อทนกรดหายใจเข้าลึกๆ 2-3 ครั้งไอแรงๆ โดยออกแรงจากทรวงอก ให้เสมหะขึ้นมาจากหลอดลมเมื่อขากได้แล้วให้ยกปากถ้วยขึ้นชิดริมฝีปากล่าง ค่อยๆปล่อยเสมหะลงภาชนะตรวจดูเสมหะที่เก็บได้ เสมหะที่ใช้ตรวจได้ดีควรมีลักษณะเป็นเมือกเหลว เป็นยวง ขุ่นข้นสีปนเหลืองหรือปนเขียว ไม่ใช่น้ำลายซึ่งใสหรือเป็นฟองขาวปิดภาชนะเก็บเสมหะให้แน่นแล้วส่งห้องปฏิบัติการ หากไม่สามารถส่งได้ทันทีในวันนั้นควรเก็บในตู้เย็นไม่ให้ถูกแสงแดดและความร้อน

การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ

เพราะมีโรคหลายชนิดที่เกิดขึ้นที่ร่างกายไม่แสดงอาการ แต่แอบแฝงเป็นภัยเงียบคุกคามสุขภาพ การตรวจสุขภาพจึงมีเป้าหมายสำคัญ คือการค้นหาโรคที่ซ่อนอยู่โดยที่ร่างกายยังไม่แสดงอาการผิดปกติ และค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เพื่อหาแนวทางป้องกันและรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เตรียมพร้อมก่อนตรวจ

- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง หากพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนไปโดยเฉพาะความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิของร่างกาย
- งดอาหาร และเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เนื่องจากยาและแอลกอฮอล์ อาจมีผลต่อการตรวจบางรายการ
- หากมีโรคประจำตัว หรือประวัติสุขภาพด้านอื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ หรือพยาบาลทราบก่อนการตรวจ
- ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับ แขน

สำหรับสุภาพสตรี

- งดใส่เครื่องประดับต่างๆ ที่เป็นโลหะ / สุภาพสตรีงดใส่ชุดชั้นในที่เป็นโครงเหล็ก
- หากมีประจำเดือนแนะนำให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะและมีผลกระทบต่อผลการตรวจ
- หากตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยการเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) ควรหลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงมีประจำเดือน เพราะเต้านมจะมีความคัดตึง ควรตรวจหลังมีประจำเดือน
- ในกรณีสงสัยว่าตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่องดการตรวจเอกซเรย์

ข้อควรทราบของการเก็บสิ่งส่งตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง

ขั้นตอนการเก็บปัสสาวะ
1) ทำความสะอาดบริเวณภายนอกโดยรอบก่อน
2) ให้ทิ้งปัสสาวะในช่วงแรก และ ตอนก่อนถ่ายสุด โดยให้เก็บเฉพาะช่วงกลางระหว่างปัสสาวะ
3) เก็บประมาณ 20-30 มล.หรือ 3/4 ของกระปุกและส่งให้เจ้าหน้าที่ภายใน 1 ชม (เพราะแบคทีเรียจะเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ PH ของปัสสาวะเป็นด่าง ถ้าส่งทันทีไม่ได้ควรเก็บในที่ควบคุมอุณหภูมิ 0-4 องศา (โดยไม่ควรเก็บเกิน 18 ชม) 

ขั้นตอนการเก็บอุจจาระ

1) ตรวจสอบความเรียบร้อยของภาชนะที่จัดเก็บ จะต้องแห้งสะอาดและมีฝาปิดมิดชิด
2) ในขั้นตอนการเก็บควรปัสสาวะทิ้งไปก่อนเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่อาจส่งผลต่อการตรวจได้
3) ถ่ายอุจจาระลงในถุงพลาสติกปากกว้างแห้งสะอาด หรืออาจใช้พลาสติกสำหรับหุ้มห่อวางพาดโถสุขภัณฑ์ตามภาพเพื่อไม่ให้ตัวอย่างตกลงน้ำ และใช้ที่ป้ายพลาสติกที่อยู่ในกระปุกเก็บอุจจาระประมาณ 4-5 กรัมและให้ส่งตรวจทันทีไม่เกิน 1 ชม เนื่องจากระยะไทรโฟซอยด์ของโปรโตซัวอาจตาย

ควรล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลัง เนื่องจากอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคได้

สอบถามข้อมูล

ศูนย์ตรวจสุขภาพ
โทร. 02-514-4141 ต่อ 3111,3107

คนท้องตรวจสุขภาพประจําปีได้ไหม

ในสตรีที่ตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการเอกซเรย์ หรือ ตรวจ (Mammogram) การตรวจปัสสาวะ การตรวจภายในสตรี หรือตรวจมะเร็งปากมดลูก ควรตรวจหลังมีประจำเดือนวันสุดท้ายอย่างน้อย 7 วัน หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ กรุณานำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัย

ตรวจสุขภาพประจําปี ต้องไปกี่โมง

การตรวจสุขภาพสามารถตรวจตอนไหน เวลาไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมาตอนเช้าเสมอไป ตอนบ่ายก็ตรวจได้ เพราะที่รพ.นครธน เรามีบริการตรวจสุขภาพ “All Day Checkup” ที่ออกแบบโปรแกรมตรวจสุขภาพให้เหมาะสมเฉพาะบุคคล โดยไม่จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร 8-12 ชั่วโมง หรือมา รพ.เพื่อตรวจสุขภาพในตอนเช้าเท่านั้น

งดอาหารก่อนตรวจสุขภาพกี่ชั่วโมง

กรุณางดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย) กรุณางดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากยาและแอลกอฮอล์ อาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบก่อนตรวจ

กินยาแก้แพ้ ก่อน ตรวจสุขภาพ ได้ ไหม

ก่อนการตรวจสุขภาพ หากมีรับประทานยาตามแพทย์สั่งอยู่ เช่น ยาลดความดันโลหิต, ยาเบาหวาน, ยาแก้หวัด ฯลฯ สามารถรับประทานได้ตามปกติ โดยดื่มน้ำเปล่าไม่เกิน 1 แก้ว ควรใส่เสื้อผ้าที่พับแขนเสื้อขึ้นได้สะดวกไม่รัดแน่น เพื่อความสะดวกในการเจาะเลือด