เพาเวอร์แบงค์เอาขึ้นเครื่องได้ไหม

ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทผู้ผลิต Smartphone, Tablet หรือว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดต่างๆ ก็มักจะออกสินค้าที่มีขนาดความจุแบตเตอรี่สูงๆ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้งานได้ยาวนาน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะเพียงพอต่อการใช้งานทั้งวันได้เสมอ แบตสำรองหรือที่เราเรียกว่าพาวเวอร์แบงค์ ก็ยังคงเป็นอุปกรณ์เสริมมือถือ ที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด จากบทความก่อนหน้าที่เราเคยได้พูดถึงการ แนะนำวิธีซื้อ Power Bank เลือกยังไง ยี่ห้อไหน ? แต่เพื่อนๆ เคยสงสัยมั้ยครับว่าขึ้นหากต้องการขึ้นเครื่องบิน ต้องใช้พาวเวอร์แบงค์ความจุเท่าไหร่ กี่ mAh ? วันนี้ Mercular.com จะมาไขข้อข้องใจให้กระจ่าง เราไปติดตามกันเลยดีกว่าครับ

เพาเวอร์แบงค์เอาขึ้นเครื่องได้ไหม

นำพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องบิน ต้องมีความจุเท่าไหร่ ?

สำหรับเพื่อนๆ หลายคนที่สงสัยว่า เวลาที่เราจะนำพาวเวอร์แบงค์ ไปใช้งานบนเครื่องบินเนี่ย ปกติแล้วทางสนามบินนั้นมีข้อจำกัดอะไรหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว ทุกสายการบินนั้นจะมีข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการนำแบตสำรองหรือ Power Bank ในการนำไปใช้งานบนเครื่องบินไว้อย่างชัดเจน ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้นั้นดำเนินตามมาตรฐานความปลอดภัยของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATAS) ดังนั้นหากต้องการนำพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องบินจะต้องพิจารณาจากข้อกำหนดดังนี้ครับ

  • พาวเวอร์แบงค์ ที่มีความจุแบตเตอรี่มากกว่า 32000mAh ไม่ได้รับอนุญาตให้นำขึ้นเครื่องทุกกรณี
  • พาวเวอร์แบงค์ ที่มีความจุแบตเตอรี่ระหว่าง 20000mAh – 32000mAh สามารถนำขึ้นเครื่องได้จำนวนไม่เกิน 2 ก้อน
  • พาวเวอร์แบงค์ ที่มีความจุแบตเตอรี่ระหว่าง 20000mAh สามารถนำขึ้นเครื่องได้ไม่จำกัดจำนวน
  • พาวเวอร์แบงค์ ที่ไม่ได้ระบุขนาดความจุไว้ที่อุปกรณ์ หรือฉลากหลุดหายไป ไม่สามารถทำการตรวจสอบได้ ไม่ได้รับอนุญาตให้นำขึ้นเครื่อง

นั่นก็หมายความว่า หากเพื่อนๆ ต้องการแบตสำรองที่มีความจุ 32000mAh ขึ้นเครื่อง ก็สามารถพกไปได้สูงสุดแค่ 2 ก้อนเท่านั้นครับ ไม่ใช่ว่าพาวเวอร์แบงค์ความจุแบตเตอรี่สูงเท่าไหร่ก็ได้ สามารถนำไปใช้บนเครื่องบินได้ทั้งหมด นอกจากนี้ผู้โดยสารยังห้ามนำ Power Bank ใส่กระเป๋าเพื่อนำไปโหลดบริเวณใต้เครื่องบินโดยเด็ดขาด เพราะว่าภายในแบตสำรองบางรุ่นนั้นอาจจะประกอบด้วยวัสดุที่ทำให้เกิดการระเบิด หรือประกายไฟได้ ซึ่งมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นการนำพาวเวอร์แบงค์ติดตัวไปบนเครื่องเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด โดยข้อกำหนดเหล่านี้ ถูกตั้งขึ้นมาก็เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคนนั่นเองครับ

เพาเวอร์แบงค์เอาขึ้นเครื่องได้ไหม

เลือกพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องบิน ที่มีความจุเหมาะสมกับอุปกรณ์

หลังจากที่เราทราบกันไปแล้วว่า ขึ้นเครื่องบิน ต้องใช้พาวเวอร์แบงค์ความจุเท่าไหร่กันแน่ ซึ่งคำตอบก็คือต้องต่ำกว่า 32000mAh จึงจะสามารถนำขึ้นเครื่องได้นั่นเอง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เพื่อนๆ จำเป็นที่จะต้องซื้อ Power Bank ที่มีความจุดังกล่าวไปขึ้นเครื่องแต่อย่างใด เนื่องจากแบตสำรองที่มีความจุสูงถึง 32000mAh นั้น มักจะมีราคาสูงกว่าพาวเวอร์แบงค์ทั่วไป ที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดอยู่แล้ว เราจึงจะมาแนะนำวิธีการเลือก Power Bank ขึ้นเครื่องบิน ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ของแต่ละบุคคลกันดีกว่าครับ เช่น หากเพื่อนๆ ต้องการใช้ พาวเวอร์แบงค์ iPhone 12 ที่มีสเปคความจุแบตเตอรี่ของเครื่องอยู่ที่ 2815mAh เพียงแค่อุปกรณ์เดียว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องนำแบตสำรองความจุสูงๆ ไปขึ้นเครื่องให้หนักกระเป๋า และสิ้นเปลืองงบประมาณแต่อย่างใด เพียงแค่มองหาพาวเวอร์แบงค์ที่มีความจุประมาณ 20000mAh ก็สามารถใช้งานเป็น Power Bank iPhone 12 ได้จำนวนหลายรอบแล้วครับ แล้วก็ควรเลือกซื้อรุ่นที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เช่น Power Bank Eloop E37 แบตสำรองที่มาพร้อมกับความจุ 22000mAh พร้อมหัวชาร์จเร็ว USB-C จำนวน 1 ช่อง และหัวชาร์จเร็ว USB-A จำนวน 2 ช่องบนอุปกรณ์ รองรับเทคโนโลยีชาร์จเร็ว Quick Charge 3.0 และ Power Delivery จ่ายกระแสไฟได้สูงสุด 18W นอกจากนี้ยังผลิตจากวัสดุที่แข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบาเพียง 370 เรียกได้ว่าเป็นพาวเวอร์แบงค์ Eloop ที่ได้รับความนิยมสูง จากผู้บริโภคอีกหนึ่งรุ่น สามารถนำไปใช้บนเครื่องบินได้เป็นอย่างดี คุ้มค่าเป็นอย่างมากครับ

เพาเวอร์แบงค์เอาขึ้นเครื่องได้ไหม

เลือกพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องบิน ที่ได้มาตรฐานในการผลิต

จากข้อมูลข้างต้นเราจะเห็นว่า ในการนำ Power Bank ขึ้นเครื่องบิน นอกเหนือจากขนาดความจุของพาวเวอร์แบงค์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งสำคัญที่เราควรพิจารณาก่อนเลือกซื้อ นั่นก็คือความปลอดภัยในการใช้งานนั่นเอง ซึ่งพาวเวอร์แบงค์ที่ดี ควรจะได้รับมาตรฐานในการผลิตจากโรงงาน เช่น ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล CE, FCC และ RoHS โดยตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. 2563 ที่ผ่านมานั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีการออกข้อกำหนดมาว่า พาวเวอร์แบงค์ทุกชิ้นที่จำหน่ายในประเทศไทยต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน มอก. และต้องได้รับในอนุญาตในการผลิตหรือน้ำเข้า เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงความปลอดภัยในการใช้งานของผู้บริโภค หลังจากที่เคยมีเหตุการณ์พาวเวอร์แบงค์ไหม้ที่สนามบินเชียงใหม่ หรือ Power Bank ระเบิดภายในบ้านจนเกิดเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วประเทศนั่นเอง นอกจากนี้เพื่อนๆ ต้องหมั่นตรวจสอบด้วยว่าพาวเวอร์แบงค์ของตนเองนั้น ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดการระเบิด และไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ นอกจากนี้ควรติดตั้งเทคโนโลยีที่ช่วยรักษาความปลอดภัยขณะใช้งาน เช่น ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว, ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน, ป้องกันไฟช็อต, ป้องกันอุณหภูมิสูงขณะชาร์จ ซึ่งเรามักจะเห็นฟีเจอร์เหล่านี้ได้ตาม Power Bank จากแบรนด์ชั้นนำ เช่น แบตสำรอง Aukey PB-Y35 PowerPlus Sprint 20000mAh พาวเวอร์แบงค์คุณภาพสูง ที่ติดตั้งเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยณะชาร์จ ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน, ไฟฟ้ารั่ว, ป้องกันไฟช็อต นอกจากนี้ยัง ผ่านการรับรองมาตรฐาน CE, RoHS และมาตรฐาน MFi จาก Apple พร้อมฟีเจอร์การใช้งานที่ครบครัน เรียกได้ว่าเป็นพาวเวอร์แบงค์ ที่น่าใช้งานเป็นอย่างยิ่งครับ

เพาเวอร์แบงค์เอาขึ้นเครื่องได้ไหม

ขึ้นเครื่องบินใช้ Power Bank ยี่ห้อไหนดี ?

ปัจจุบันแบตสำรองนั้นเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ยอดนิยมที่ทุกคนมักจะมีติดตัวไว้ใช้งานกันทั้งนั้น ทำให้มีผู้ผลิตพาวเวอร์แบงค์ออกมาจำหน่ายมากมายในท้องตลาด ซึ่งแบรนด์ยอดนิยมที่ได้รับการยอมรับในเรื่องของมาตรฐานในการผลิต และโดดเด่นในเรื่องของฟีเจอร์ในการใช้งาน ทำให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ได้แก่ Power Bank Eloop, Power Bank Anker, พาวเวอร์แบงค์ Aukey เป็นต้น ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเข้าไปอ่านได้ที่หน้าบทความ 9 อันดับ Power bank ชาร์จเร็ว ปี 2021 ยี่ห้อไหนดี แต่ด้วยความเป็นที่ต้องการของตลาดนี่เอง ทำให้มีการผลิตพาวเวอร์แบงค์ปลอมหรือของเลียนแบบ ออกมาวางจำหน่ายเป็นจำนวนมากด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งพาวเวอร์แบงค์เลียนแบบพวกนี้มักจะมีราคาที่ถูกกว่าของแท้ ให้ผู้บริโภคอาจตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพได้โดยง่าย นอกจากจะได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพมาใช้งานแล้ว ยังมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุอีกต่างหาก เนื่องจากพาวเวอร์แบงค์เหล่านี้ มักจะผลิตจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดไฟไหม้หรือการระเบิดขึ้นได้ ผู้ผลิตแบตสำรองบางแบรนด์ จึงได้มีขั้นตอนการตรวจสอบสินค้า ว่าเป็นของแท้หรือไม่ เช่น พาวเวอร์แบงค์ Eloop หากเป็นสินค้าของแท้ จะมีรหัสประจำตัวสินค้าอยู่ 16 หลักซึ่งสามารถนำไปตรวจสอบ บนหน้าเว็บไซต์หลักของแบรนด์ได้ในทันที ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือ เพื่อนๆ ควรจะซื้อพาวเวอร์แบงค์แบรนด์ชั้นนำ จากร้านค้าที่ได้รับการยอมรับ หรือซื้อจากตัวแทนวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ซึ่งบนเว็บไซต์ Mercular ของเรา มี Power Bank ยอดนิยมจากแบรนด์ต่างๆ วางจำหน่ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น พาวเวอร์แบงค์ Eloop, แบตสำรอง Anker, พาวเวอร์แบงค์ Aukey, Power Bank Uniq ซึ่งมีรุ่นและขนาดความจุให้เลือกซื้ออย่างหลากหลาย สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องบินได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นแต่อย่างใดครับ

เพาเวอร์แบงค์เอาขึ้นเครื่องได้ไหม

จากข้อมูลทั้งหมดกี่กล่าวมา หวังว่าเพื่อน ๆ น่าจะได้รับความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับการนำพาวเวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องบินกันไปบ้างแล้วนะครับ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญก็คือขนาดความจุของ Power bank ต้องไม่เกินข้อกำหนดของสนามบิน จากนั้นก็พิจารณาตามความเหมาะสมของอุปกรณ์ของเรา ทั้งเรื่องของยี่ห้อแบตสำรอง และความจุแบตเตอรี่ เพื่อที่จะได้นำพาวเวอร์แบงค์ ที่เหมาะกับการใช้งานของเราไปใช้บนเครื่องได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะใช้ได้ไม่เพียงพอในขณะเดินทาง แล้วพบกับบทความที่น่าสนใจของเราได้ใหม่ในโอกาสหน้าครับ

สินค้าที่เกี่ยวกับบทความนี้

ขึ้นเครื่องพกพาวเวอร์แบงค์ได้ไหม

1. ความจุไฟฟ้า น้อยกว่า 20,000 mAh (หรือน้อยกว่า 100 Wh) สามารถพกขึ้นเครื่องได้ 2. ความจุไฟฟ้า ระหว่าง 20,000 - 32,000 mAh (หรือระหว่าง 100-160 Wh) สามารถพกขึ้นเครื่องได้เพียง 2 ก้อนเท่านั้น 3. ความจุไฟฟ้า มากกว่า 32,000 mAh (หรือมากกว่า 160 Wh) ไม่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องไปด้วย

พาวเวอร์แบงค์ eloop ขึ้นเครื่องได้ไหม

✔️ พาวเวอร์แบงค์ที่มีความจุไม่เกิน 20,000 mAh สามารถนำใส่กระเป๋า (Carry on) ขึ้นเครื่องบินได้ไม่จำกัดจำนวน เช่น E12, E33, E36 และ E41 เป็นต้น ========== สนใจสั่งซื้อ 🛒Lazada : bit.ly/LazadaEloopOfficial.

พาวเวอร์แบงค์ถือขึ้นเครื่องได้กี่แอมป์

– power bank ขนาดความจุไฟฟ้ามากกว่า 32000 mAh ไม่ได้รับอนุญาตให้นำขึ้นเครื่องทุกกรณี – power bank ความจุไฟฟ้าอยู่ที่ระหว่าง 20000 – 32000 mAh สามารถนำขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 2 ก้อน – power bank ความจุไฟฟ้าต่ำกว่า 20000 mAh สามารถนำขึ้นเครื่องได้ไม่จำกัดจำนวน

อะไรที่ไม่สามารถนําขึ้นเครื่องได้

อาหารที่มีของเหลวในปริมาณมาก เช่น ซุป น้ำ เครื่องดื่ม น้ำเชื่อม แยมสตูว์ ซอส น้ำพริก.
เครื่องสำอาง เช่น ครีม โลชั่น น้ำมัน น้ำหอม.
เจล เช่น ยาสีฟัน ยาสระผม เจลอาบน้ำ.
วัตถุที่ต้องฉีดพ่น เช่น สเปรย์ โฟม.
สิ่งที่มีส่วนผสมของของแข็งและของเหลว เช่น มาสคาร่า ลิปสติกชนิดน้ำ ลิปกลอส.