การสร้างรั้ว ติดถนนสาธารณะ

ต้องเริ่มแบบนี้ครับ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กำหนดความหมาย “อาคาร” ว่าหมายถึง “ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึง รั้ว กำแพง หรือประตู ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎกระทรวงกำหนด” 

จะเห็นว่ารั้ว ตามความหมายนี้ ถือเป็นอาคาร จึงต้องมีระยะร่นตามกฎหมาย ไม่สามารถสร้างชิดติดแนวถนนได้!!

แต่อย่าเพิ่งร้อนใจครับ กฎหมายควบคุมอาคารยังพอมีการผ่อนผันให้ โดยให้สามารถสร้างได้ แต่ต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร จากระดับทางเท้า หรือถนนสาธารณะ และในเขตกรุงเทพมหานครหากถนนสาธารณะมีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร จะยอมให้ก่อสร้างรั้วให้มีความสูงเพียง 2 เมตรเท่านั้น

เพิ่มเติมอีกนิดสำหรับรั้วที่อยู่ตรงมุมถนนสาธารณะ กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2535) ข้อ 5 กำหนดว่า “รั้วหรือกำแพงกั้นเขตที่อยู่มุมถนนสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป และมีมุมหักน้อยว่า 135 องศา ต้องปาดมุมรั้วหรือกำแพงกั้นเขตนั้น โดยให้ส่วนที่ปาดมุมมระยะไม่น้อยกว่า 4 เมตร และทำมุมกับเนวถนนสาธารณะเป็นมุมเท่าๆ กัน”

รั้วบ้านในอดีต อาจจะเป็นแค่สิ่งที่ไว้กำหนดอานาเขตของบ้าน และป้องกันบุคคลภายนอก และสิ่งไม่พึงประสงค์เข้ามา แต่ในปัจจุบันนี้ รั้วบ้านนอกจากช่วยปกบ้องบ้านแล้วยังถือเป็นการตกแต่งบ้านอย่างนึกอีกด้วย ดังคำพูดที่ว่า บ้านสวยราคาหลายล้าน แต่หากรั้วบ้านไม่สวยก็ทำให้บ้านดูสวยน้อยลงไปด้วยเช่นกัน รั้วบ้านเปรียบเสมือนเสื้อผ้า รั้วบ้านสวยก็ยิ่งทำให้บ้านดูดีมีราคาขึ้นนั่นเอง

การสร้างรั้ว ติดถนนสาธารณะ

รั้วบ้านใครเป็นเจ้าของกันแน่?

ถ้าเป็นรั้วบ้านของบ้านจัดสรร จะมีระบุไว้ว่า รั้วบ้านถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างบ้านข้างเคียง หรือรั้วข้างบ้าน รั้วจะถูกวางไว้กึ่งกลางระหว่างเส้นแบ่งที่ดิน ส่วนถ้าเป็นรั้วบ้านที่ไม่ใช่บ้านจัดสรรแล้ว เราจะเข้าไปอยู่ใหม่ อาจจะต้องเช็คจากหมุดที่ดินว่า รั้วนั้นอยู่กึ่งกลางที่ดินหรือไม่ ถ้ารั้วอยู่กึ่งกลางที่ดิน ก็จะถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ถ้ารั้วนั้นอยู่ในเขตที่ดินของบ้านข้างเคียงทั้งหมด เราต้องสร้างรั้วขึ้นมาใหม่ ในที่ดินของเราเท่านั้น จะไปใช้รั้วบ้านร่วมกับบ้านข้างเคียงไม่ได้ เพราะจะถือว่าเราไปใช้พื้นที่ล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของบ้านข้างเคียง

จากการที่รั้วบ้าน เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ทั้งสองบ้านต้องช่วยกันสร้าง ดูแล และออกค่าใช้จ่าย หากมีการซ่อมแซมรั้วคนละครึ่ง ทั้งนี้ หากเราเข้าไปอยู่อาศัยใหม่ และรั้วเดิมที่อยู่กึ่งกลางที่ดิน ถูกสร้างโดยบ้านข้างเคียงแล้ว เราอาจจะแสดงน้ำใจ ด้วยการขอซ่อมแซมรั้วเดิม โดยออกค่าใช้จ่ายให้ในครั้งนี้ เพราะเราไม่ได้ช่วยออกค่าสร้างรั้วให้ตั้งแต่แรกนั่นเอง

กฎหมายรั้วบ้าน ที่ควรรู้

1. ทำรั้วบ้าน ต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือไม่?

หลายคนอาจคิดว่ารั้วบ้านไม่น่าจะต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะ “รั้ว” ไม่ใช่ “อาคาร” คนเข้าไปอยู่ไม่ได้ อย่างไรก็ตามกฎหมายควบคุมอาคาร ให้ความหมายของอาคารมากไปกว่าเพียงสิ่งก่อสร้างที่คนเข้าไปอยู่ หรือใช้สอยได้เท่านั้น ดังนั้น จึงต้องดูว่ารั้ว ที่จะสร้างนั้นเข้าข่ายเป็นอาคาร ตามกฎหมายควบคุมอาคารหรือไม่ หากเข้าข่ายเป็นอาคาร ก็จะต้องมีการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง และสร้างให้เป็นตามข้อกำหนดอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้

การสร้างรั้ว ติดถนนสาธารณะ

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กำหนดให้ “อาคาร หมายถึง ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึง รั้ว กำแพง หรือประตู ที่สร้างขึ้นติดต่อ หรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎกระทรวงกำหนด” โดย กฎกระทรวงกำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเป็นอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 กำหนดให้สิ่งก่อสร้างใดก็ตามที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตร เข้าข่ายเป็น “อาคาร” ด้วย

จะเห็นว่าหากรั้วบ้านนั้น สร้างติดต่อ หรือใกล้กับที่สาธารณะ ก็จะถือเป็นอาคาร หรือหากไม่ได้สร้างติดต่อ หรือใกล้กับที่สาธารณะ แต่รั้วนั้นมีความสูงถึง 10 เมตร ก็จะถือเป็นอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารเช่นกัน (สำหรับคำว่า “ใกล้เคียง” ตามที่กฎหมายเขียนไว้ เบื้องต้นในทางปฏิบัติ หมายถึง แนวรั้วที่กั้นระหว่างที่ดินเอกชนกับที่สาธารณะ) ดังนั้น รั้วกั้น จึงถือเป็นส่วนที่ระหว่างเขตที่ดินเอกชนกับที่สาธารณะ จะต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะถือเป็นอาคาร ตามกฎหมายรั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชนที่ติดกัน และรั้วนั้น มีความสูงไม่ถึง 10 เมตร ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะไม่ถือเป็นอาคาร แต่หากรั้วนั้นมีความสูงถึง 10 เมตร ก็จะต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างเพราะเข้าข่ายเป็นอาคาร

2. แนวรั้ว และความสูงของรั้วด้านติดถนนสาธารณะ

โดยทั่วไปกฎหมายอาคารจะกำหนดให้ แนวของอาคารด้านที่ติด หรือใกล้กับทางสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นถนนสาธารณะ หรือแหล่งน้ำสาธารณะ ต้องมีระยะถอยร่น ไม่สามารถสร้างให้ชิดแนวเขตทางสาธารณะได้ หลายคนอาจสงสัยต่อว่า กรณีที่รั้วบ้านเข้าข่ายเป็นอาคาร ทำไมจึงสามารถก่อสร้างตรงชิดแนวเขตที่ดินbและติดกับเขตถนนสาธารณะได้ โดยไม่ต้องถอยร่น ขอให้ทราบว่า รั้วบ้านที่สร้างระหว่างที่ดินเอกชน กับถนนสาธารณะ กฎหมายควบคุมอาคารผ่อนผันให้รั้ว หรือกำแพงที่สร้างขึ้นติดต่อ หรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้ว ให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้า หรือถนนสาธารณะ หากความสูงไม่เป็นไปตามที่ผ่อนผันไว้ รั้วนั้นก็จะต้องมีระยะถอยร่น (จากถนนสาธารณะ) สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หากถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ความสูงรั้วด้านที่ยอมให้สร้างชิดเขตถนนสาธารณะ จะถูกจำกัดให้สูงได้ไม่เกิน 2 เมตรเท่านั้น

การสร้างรั้ว ติดถนนสาธารณะ

3. ลักษณะและรูปแบบของรั้ว

กฎหมายไม่ได้กำหนดรูปแบบว่ารั้วต้อง ทึบ โปร่ง หรือต้องมีรูปแบบเช่นใด แต่กำหนดให้รั้วต้องมีการ “ปาดมุม” ตรงที่ดินที่อยู่มุมถนนสาธารณะ และมีมุมหักน้อยกว่า 135 องศา โดย (กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2535) ข้อ 5) กำหนดว่า “รั้วหรือกำแพงกั้นเขตที่อยู่มุมถนนสาธารณะ ที่มีความกว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป และมีมุมหักน้อยว่า 135 องศา ต้องปาดมุมรั้ว หรือกำแพงกั้นเขตนั้น โดยให้ส่วนที่ปาดมุม มีระยะไม่น้อยกว่า 4 เมตร และทำมุมกับแนวถนนสาธารณะเป็นมุมเท่า ๆ กัน”

สำหรับกรุงเทพมหานคร มีกำหนดเฉพาะที่ดินอยู่มุมถนนที่กว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 8 เมตร ที่รั้วต้องปาดมุม และต้องไม่มีส่วนใดของรั้ว กำแพง หรืออาคารยื่นล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนที่ปาดมุม วัตถุประสงค์ก็น่าจะเพื่อความปลอดภัย และไม่ให้เกิดความเสียหาย (ของทั้งรถ และทั้งรั้ว) ในการเลี้ยวรถบนถนนที่มีความกว้างไม่มากนัก 

4. แนวรั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชน

รั้วที่กั้นระหว่างที่ดินเอกชน กับที่สาธารณะ แน่นอนว่าต้องไม่มีส่วนใดของรั้วล้ำออกไปในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะบนดิน เหนือดิน หรือใต้พื้นดิน เช่น ฐานรากรั้วก็ล้ำออกไปไม่ได้ แต่สำหรับแนวรั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชนด้วยกัน กฎหมายควบคุมอาคารไม่ได้กำหนดว่าจะต้องอยู่แนวใด ดังนั้น การที่ท่านเจ้าของบ้านจะทำรั้วระหว่างที่ดินของท่านกับที่ดินเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน ท่านจะนำหลักเกณฑ์เดียวกับการสร้างรั้วติดกับที่สาธารณะไปใช้ก็ได้ คือ รั้วทั้งหมดอยู่ในเขตที่ดินของผู้ที่จะสร้างรั้ว หรือหากเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกัน สามารถตกลงกันได้ ก็อาจก่อสร้างให้แนวรั้วกั้นระหว่างที่ดิน โดยให้แนวเขตที่ดินอยู่กึ่งกลางตลอดแนวรั้วก็ได้ และกรณีนี้ อาจตกลงกันไปถึงเรื่องการออกค่าใช้จ่ายการทำรั้วได้เช่นกัน 

การสร้างรั้ว ติดถนนสาธารณะ

เป็นอย่างไรกันบ้างกับกฎหมายรั้วบ้านที่เรานำมาฝากกัน อย่าลืมว่า รั้วบ้านที่จะก่อสร้างหากเข้าข่ายเป็น อาคาร ตามกฎหมายควบคุมอาคาร ก็จะต้องมีการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง และได้รับอนุญาตก่อนจึงจะลงมือก่อสร้างได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคตได้นั่นเอง