บริษัท เบทาโกร จํากัด มหาชน เศรษฐกิจพอเพียง

เบทาโกร บริษัทอาหารชั้นนำระดับสากล (World-class Branded Food Company) เปิดวิสัยทัศน์การลงทุน วางเป้าขยายฐานการผลิตประเทศในอาเซียน หลังมองเศรษฐกิจโลกปีหน้ายังมีปัจจัยกระทบ เน้นยกระดับปริมาณการเลี้ยง ทั้งสุกรพันธุ์ สุกรขุน ไก่เนื้อ และไก่ไข่ให้มีคุณภาพ เร่งขยายฐานการผลิตอาหารสัตว์ในกัมพูชาและลาว พร้อมมั่นใจแบรนด์เบทาโกรได้รับการตอบรับอย่างดี ผลิตภัณฑ์มีนวัตกรรมและคุณภาพสูงเทียบเท่าไทย

บริษัท เบทาโกร จํากัด มหาชน เศรษฐกิจพอเพียง

บริษัท เบทาโกร จํากัด มหาชน เศรษฐกิจพอเพียง
บริษัท เบทาโกร จํากัด มหาชน เศรษฐกิจพอเพียง

ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-กันยายน) กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ มีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการรวม 4,511 ล้านบาท โดยรายได้หลักมาจากการดำเนินธุรกิจในกัมพูชาซึ่งมีอัตราการเติบโตที่สูงมาก ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจผ่านบริษัทย่อย คือ บริษัท เบทาโกร (กัมพูชา) จำกัด มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ในกรุงพนมเปญ และฟาร์มปศุสัตว์ สุกร และสัตว์ปีก รวม 331 แห่ง มีแผนที่จะก่อสร้างโรงงานอาหารสัตว์แห่งที่สองในกัมพูชา การลงทุนฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์ ฟาร์มสุกรขุน ฟาร์มไก่พ่อแม่พันธุ์ และโรงชำแหละสุกร, ไก่เนื้อ เพิ่มกำลังการผลิตสุกรได้ประมาณ 0.8 ล้านตัว และไก่ประมาณ 12.7 ล้านตัวต่อปี ภายในปี 2569

ขณะที่ในลาว ดำเนินธุรกิจผ่านบริษัทย่อยในนาม บริษัท เบทาโกร (ลาว) จำกัด ทำฟาร์มสุกร ฟาร์มสัตว์ปีก จำนวน 134 แห่ง และร้านเบทาโกรช็อป 5 แห่ง ตั้งอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ 3 แห่ง หลวงพระบาง 1 แห่ง และจำปาสัก 1 แห่ง มีแผนลงทุนก่อสร้างโรงงานอาหารสัตว์แห่งแรกกำลังการผลิต 72,000 ตันต่อปี ฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์แห่งใหม่ และลงทุนในโรงชำแหละสุกรและไก่สามสายพันธุ์ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ให้สามารถผลิตไก่ประมาณ 3.0 ล้านตัวต่อปี และสุกรประมาณ 0.2 ล้านตัวต่อปี ภายในปี 2569 เช่นกัน

ในส่วนเมียนมานั้น ช่วงที่ผ่านมาได้ดำเนินการในลักษณะกิจการร่วมค้ากับพันธมิตรท้องถิ่นนำเข้าพ่อแม่พันธุ์สุกร,เวชภัณฑ์ยาสัตว์, ผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งอาหารสัตว์เลี้ยงจากไทยเป็นหลัก แม้เมียนมาจะเป็นหนึ่งในตลาดอาเซียนที่น่าสนใจ แต่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบและพิจารณาอย่างรอบด้านมากที่สุด

นายวรวุฒิ กล่าวอีกว่า การลงทุนในทุกประเทศ เบทาโกรได้ให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องคุณภาพ การกำกับดูแลทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่การผลิต ซึ่งต้องได้มาตรฐานระดับสากล (World-Class) ตามเจตนารมณ์หลักใน 4 ด้าน ได้แก่ 1. Food Quality & Safety ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารตามมาตรฐานสากลเช่นเดียวกับไทย 2. Social Development ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานและพัฒนาคนในพื้นที่ให้เติบโตไปด้วยกัน นำความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้มาร่วมพัฒนาเกษตรกร 3. Good Governance ส่งพนักงานจากไทยไปประจำที่กัมพูชา ลาว และเมียนมา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน ขณะเดียวกันก็นำเทคโนโลยีทันสมัยที่ทำให้สามารถติดตาม วิเคราะห์ข้อมูล และผลการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 4. Alliance and Partnership สร้างคุณค่า และผลประโยชน์ร่วมกันกับพันธมิตรธุรกิจในท้องถิ่น

นอกจากนั้น ในระยะยาว บริษัทฯ ยังมีแผนจะขยายการดำเนินงานในประเทศอื่นๆ ที่เป็นตลาดที่มีศักยภาพ เช่น อินเดีย จีน และเวียดนาม โดยยังคงมุ่งเน้นการเป็นพันธมิตรกับธุรกิจท้องถิ่น เพื่อประโยชน์อันเกิดจากความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจ และความมุ่งมั่นในการสร้างการเจริญเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ทั้งในประเทศเพื่อนบ้าน และระดับภูมิภาคต่อไป

กว่าครึ่งทศวรรษ ที่คนไทยทุกคนได้รู้จักกับ “เบทาโกร” ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจปศุสัตว์สัตว์ครบวงจร และอาหารแปรรูป จวบจนปัจจุบัน กล่าวได้ว่า บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) คือ ผู้นำธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารครบวงจรของประเทศไทย ทว่ายังมีอีกหลายมิติ และหลายพาร์ทธุรกิจ ซึ่งเป็นแนวทางพัฒนาสู่ความยั่งยืนของ “เบทาโกร”

โดยหนึ่งใน “พันธกิจ” ที่สำคัญ ที่เบทาโกรให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด คือ กิจกรรมพัฒนาชุมชนและช่วยเหลือสังคม (Corporate Social Contribution : CSC) และกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ (Corporate Social Responsibility : CSR) ซึ่ง คุณวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) มุ่งหวังให้ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรและทำปศุสัตว์ ซึ่งเป็นอาชีพที่สำคัญมากที่สุดของประเทศไทย ให้ได้มีอาชีพ  มีรายได้  มีชีวิตความเป็นอยู่ มีความหวัง และยืนหยัดอยู่ได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้โดยเชื่อว่าการแก้ไขปัญหาในชุมชนไม่สามารถแก้ไขได้เพียงเรื่องเดียว เพราะทุกเรื่องล้วนเชื่อมโยงกันทั้งหมด จึงเป็นที่มาของ “การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม” Holistic Area Base Community Development : H.A.B.

บริษัท เบทาโกร จํากัด มหาชน เศรษฐกิจพอเพียง
1.คุณจักริน แต้ไพสิฐพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส เบทาโกร สำนักกิจการเพื่อสังคม

การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม

ปัจจุบันเบทาโกรยังคงขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวมไปอย่างไม่หยุดยั้ง ผ่านการบริหารงานโดย คุณจักริน แต้ไพสิฐพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สำนักกิจการเพื่อสังคม ผู้สานต่อเป้าหมายของผู้บริหารระดับสูง และอยู่เบื้องหลังความสำเร็จ การทำงานรูปแบบ CSC และ CSR ของ “เบทาโกร” ในยุคปัจจุบัน

คุณจักริน คือ ผู้ริเริ่มและบุกเบิกเปิดตลาดไก่ปรุงสุกส่งออกในหลายประเทศในยุโรปมาตลอดระยะเวลา 15 ปี จนกระทั่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง สร้างยอดขายให้กับเครือเบทาโกรมากกว่าหมื่นล้านบาท และเป็นส่วนของธุรกิจหลักให้กับเครือฯ จนถึงวันนี้ อีกทั้งยังเข้ามาสานต่อแนวทางการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม จากแนวคิดของคุณวนัสที่ได้มองเห็นความยากดีมีจนของเกษตรกรในประเทศไทย ที่ทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์เท่าไหร่แต่ไม่รวยสักที

บริษัท เบทาโกร จํากัด มหาชน เศรษฐกิจพอเพียง
2.คุณจักรินร่วมเปิดศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียง

เบทาโกร สู้กับ “ความยากจน” ศัตรูของเกษตรกรไทย

คุณจักรินได้กล่าวว่า โดยพบว่า เหตุผลหลักๆ คือ เกษตรกรขาดความรู้ในเรื่องการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ประกอบกับเบทาโกรขับเคลื่อนและพัฒนาเรื่อง Productivity มาโดยตลอด กล่าวคือ ทำอย่างไรให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ และลดต้นทุนการผลิต จึงทำให้เบทาโกรมีฐานข้อมูลและองค์ความรู้ จึงต้องการเข้าไปช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุน เกษตรกรไทยในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศไทย

“ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว คุณวนัสได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาให้มาช่วยเก็บข้อมูลสำรวจเรื่องการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม โดยเริ่มต้นดำเนินการในพื้นที่ของ ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ซึ่งเบทาโกรทำงานร่วมกับทีมอาจารย์ และนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ มาอย่างยาวนานเกือบ 10 ปี

ซึ่งการทำงานแต่ละครั้งจะมีทีมลงพื้นที่สำรวจข้อมูลของชาวบ้าน จึงได้เรียนรู้วิธีการลงพื้นที่ เก็บข้อมูลต่างๆ หลังจากนั้นเบทาโกรจึงได้สร้างทีมงานคนรุ่นใหม่ขึ้นมาดำเนินกิจกรรมเอง โดยสรรหาเด็กรุ่นใหม่ๆ ที่จบทางด้านพัฒนาชุมชนเข้ามาอยู่ในทีม จนปัจจุบันมีจำนวนกว่า 40 คน ที่เป็นทีมช่วยสังคมของเบทาโกรกระจายอยู่ทั่วประเทศ” คุณจักรินกล่าว

เราได้นำองค์ความรู้จากอาจารย์ และนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ นำมาต่อยอดและปรับใช้ในการทำงาน จึงเป็นที่มาของคำว่า  Holistic Area Base Community Development ย่อมาจาก H.A.B. ซึ่งแปลว่า “เราจะทำงานช่วยชุมชนในพื้นที่แบบองค์รวม” กล่าวคือ การโฟกัสในพื้นที่นั้นๆ และจะช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน เกษตรกรในทุกๆ เรื่องไปพร้อมกัน อาทิ เรื่องเศรษฐกิจ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และการศึกษา

คุณจักรินกล่าวต่อว่าจากประสบการณ์การทำงานทำให้ทราบว่าปัญหาเรื่องเศรษฐกิจเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด กว่า 50% ในแต่ละหมู่บ้าน หรือตำบลต่างๆ รองลงมาอีก 20% คือ ปัญหาด้านสุขภาพ และเรื่องอื่นๆ ตามมา อย่างไรก็ตามการพัฒนาชุมชน สำหรับเบทาโกรนั้นต้องทำควบคู่กันไปในทุกๆ เรื่อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชาวบ้านอยากให้ช่วยเรื่องไหนก่อนเป็นอันดับแรก

บริษัท เบทาโกร จํากัด มหาชน เศรษฐกิจพอเพียง
3.คุณจักรินร่วมศึกษาดูงานกับนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ

“เศรษฐกิจพอเพียง” ทำเกษตรทฤษฎีใหม่ คาถาแก้ความจน

สำหรับหลักการทำงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่แบบองค์รวม คุณจักรินเปิดเผยว่ามีรูปแบบการทำงานโดยแบ่งเป็น 3 Party หลักๆ ได้แก่

1.Stakeholder การมีส่วนได้ ส่วนเสีย และชาวบ้านหรือเกษตรกรได้ประโยชน์ โดยชาวบ้าน และผู้นำชุมชน ต้องร่วมกันคิด และร่วมกันทำด้วย จึงจะเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมและอย่างยั่งยืน

2.Facilitator การอำนวยความสะดวก ซึ่งตัวของเบทาโกรเองนั้นไม่ได้มีองค์ความรู้ในทุกเรื่อง ดังนั้นเบทาโกรจะเปรียบเสมือนสื่อกลาง สรรหาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้ ความสามารถ ในองค์ความรู้ในเรื่องต่างๆ นำมาถ่ายทอดให้กับชาวบ้านและเกษตรกร

3.Knowledge หรือการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชาวบ้าน ยกตัวอย่างเช่น การเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรปลูกพืช เช่น ลำไย โดยเบทาโกรลงพื้นที่สำรวจ เก็บข้อมูล รับทราบถึงปัญหา และวางแผนการทำงาน หาแนวทางแก้ไข โดยประสานกับอาจารย์ หรือนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากร อบรมความรู้แก่เกษตรกร เป็นต้น

​“อธิบายการทำงานกับชุมชนอย่างเข้าใจง่ายๆ โดย เราจะคอยประสานกับทางผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้นำชุมชน เพื่อเข้าไปช่วยคุยกับชาวบ้าน หรือลูกบ้าน และถ้าชาวบ้านเห็นด้วย เราก็จะจัดทีม CSC ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับเบทาโกร และทีม CSR (ชุมชนสัมพันธ์) เพื่อลงพื้นที่ไปพูดคุยกับชาวบ้าน

โดยเราส่งทีมไปพูดคุยกับแต่ละครอบครัวในทุกๆ เรื่อง แบบเจาะลึก อาทิ สมาชิกครอบครัวมีใครบ้าง มีความเป็นอยู่อย่างไร ประกอบอาชีพอะไร สุขภาพเป็นอย่างไร อยากให้ช่วยเหลือเรื่องอะไร ซึ่งเราพูดคุยในทุกมิติ สุดท้ายแล้วกว่า 50% จะลงท้ายด้วยปัญหาเรื่องเศรษฐกิจมาเป็นอันดับแรก

ขั้นตอนการดำเนินงานต่อจากนั้น โดยจะวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขในแต่ละเรื่องๆ เช่น ด้านอาชีพ ซึ่งเบทาโกรมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้ทำ “เกษตรแบบผสมผสาน” มากกว่าการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างเดียว และปีละไม่มาก

โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มาปรับใช้เป็นแนวทางการประกอบอาชีพและดำเนินชีวิต กล่าวคือ แบ่งสรรปันส่วนที่ดินเป็น 3-4 ส่วน ทำบ่อน้ำ ปลูกผัก ปลูกเห็ด เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ หรือทำปศุสัตว์ ฯลฯ ให้มีรายได้ ทั้งรายวัน-รายสัปดาห์ รายเดือน และตลอดทั้งปี เป็นต้น

ซึ่งเราจะคอยช่วยเหลือเกษตรกร ทำให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้นตามลำดับ ไม่ทอดทิ้งชาวบ้าน และเกษตรกร หรือหากเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชเชิงเดี่ยวจริงๆ เราก็แนะนำนักวิชาการซึ่งเชี่ยวชาญพืชแต่ละชนิด ให้มาช่วยแนะนำการปลูกให้ถูกวิธี ให้เกษตรกรอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นทำเกษตรเชิงเดี่ยวหรือผสมผสานก็ตาม

และนี่คือ บทบาทของการทำหน้าที่เป็น Facilitator นั่นคือ เบทาโกร พร้อมเพิ่มเติมข้อมูลให้ในสิ่งที่เกษตรกรขาดหายไป เพื่อให้ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ถูกหลัก ถูกวิธี ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และจำหน่ายผลผลิตได้อย่างมีกำไร มีเงิน และมีชีวิตที่ดีขึ้น” คุณจักรินกล่าวเสริม

บริษัท เบทาโกร จํากัด มหาชน เศรษฐกิจพอเพียง
4.คุณจักรินร่วมเกี่ยวข้าวกับนักวิชาการ

พัฒนาองค์รวม ทุกคนคือต้นแบบของตัวเอง

​ปัจจุบันการดำเนิน  “การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม”  Holistic Area Base Community : H.A.B. เบทาโกรสร้างให้เกิดความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในหลายๆ พื้นที่

​สำหรับงบประมาณ “การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม” และในการช่วยเหลือสังคมแต่ละปี มีการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายให้ทีมงานกว่า 40 ชีวิต, การดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ, เป็นค่าใช้จ่ายการลงพื้นที่สำรวจ ศึกษาดูงาน เพื่อทำให้เกิด Action ในพื้นที่ต่างๆ เป็นต้น

สำหรับพันธกิจ รวมถึงเป้าหมายต่อไปในระยะสั้น และในระยะยาว ที่ เบทาโกร ได้กำหนดเอาไว้ โดยคุณจักรินเปิดเผยว่าต้องการพัฒนาชุมชนด้านต่างๆ ในพื้นที่ ต.ช่องสาริกา ต่อยอดจากนโยบายของคุณวนัสที่ได้สร้างและปูทางเอาไว้เรียบร้อยแล้ว

โดยจะเริ่มต้นทำที่หมู่ 9 และอีก 12 หมู่ ที่เหลือทั้งหมด ซึ่งทำควบคู่ขนานกันไป ทั้งนี้คุณจักรินบอกด้วยว่าจะไม่สร้างชุมชนต้นแบบ กล่าวคือ จะไม่สร้างใครเป็นต้นแบบแค่คนเดียว แต่ทุกคนจะเป็นต้นแบบให้กับตัวเอง  และพัฒนาไปพร้อมๆ กัน

“อย่างไรก็ตามประเทศไทยมีกว่า 8,000 ตำบล ซึ่งเบทาโกรคงไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด แต่ต้องทำให้ได้มากที่สุด และลงมือปฏิบัติจริงให้ถึงแก่น รู้ถึงปัญหาความทุกข์ร้อนของชาวบ้านอย่างลึกซึ้ง แล้วนำกลับมาวิเคราะห์วางแผนหาแนวทางช่วยเหลืออย่างตรงจุด และต้องให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรม

การช่วยให้เกษตรกรมีความรู้ที่ถูกต้องในการประกอบอาชีพ และรู้จักวิธีดูแลสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม ให้ดี ทำให้เรามีคุณค่า มีความสุขที่ได้เห็นรอยยิ้มของชาวบ้าน สร้างสังคมที่ดี สร้างสุขภาพที่ดี และสร้างรายได้ให้พอเพียงกับการใช้ชีวิตอย่างเพียงพอ

สิ่งสำคัญในการลงมือทำ ไม่ใช่แค่การประชาสัมพันธ์​ การโฆษณาผ่านสื่อ ไม่ใช่แค่พูดว่าเราได้ช่วยชาวบ้าน เกษตรกร แต่เราเลือกที่จะลงมือทำ ทำ ทำ และทำ จนเกิดความเชื่อมั่นว่าชีวิตของเกษตรกรที่เราไปร่วมแรงร่วมใจ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจริงในทุกมิติ

“นี่ต่างหากที่เป็นรางวัล ที่เครือเบทาโกรของเราอยากได้จากชุมชน สังคม และประเทศชาติ” คุณจักรินกล่าว

อย่างที่บอกว่าเบทาโกรมีการวางแผนการทำงาน มีการหา Knowledge จากหลายแหล่ง มีนักวิชาการ/อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และมีทีมสตาฟ ลงพื้นที่ไปพูดคุยให้คำแนะนำกับชาวบ้าน และเรามีเวทีให้ทุกคนมาพบปะ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล การทำเกษตรและปศุสัตว์ ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้ชาวบ้าน และพี่น้องเกษตรกร พาไปศึกษาดูงานตามสถานที่ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนทักษะองค์ความรู้ และให้ชาวบ้าน หรือเกษตรกร ได้นำไปปรับใช้ในแปลงเกษตร หรือฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ได้จริง เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น และประกอบอาชีพอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนสืบไป” คุณจักรินกล่าวในตอนท้าย

ความเป็น เบทาโกร สามารถสัมผัสได้จากการพูดคุยและสะท้อนความเป็นตัวตนของคุณจักริน หรือพี่เหน่ง เพราะสัมผัสได้ถึงคนตัวใหญ่ แต่อ่อนน้อมถ่อมตน จริงใจ ตรงไปตรงมา ให้เกียรติ และให้เครดิตทุกคนที่ร่วมงาน เรามาทำความรู้จักตัวตนผ่านประวัติโดยสังเขป

บริษัท เบทาโกร จํากัด มหาชน เศรษฐกิจพอเพียง
5.คุณจักริน แต้ไพสิฐพงษ์ หรือพี่เหน่ง

จักริน แต้ไพสิฐ​พงษ์​ หรือพี่เหน่ง

ประวัติการศึกษา

:ประถม-มัธยม -​ รร.อัสสัมชัญ บางรัก รุ่น 102

:ปริญญาตรี​ -​ บริหารธุรกิจ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

:ปริญญาโท -​ เศรษฐศาสตร์​ระหว่างประเทศ Dominican Univercity of California

คุณจักริน หรือพี่เหน่ง  เป็นบุตรคนสุดท้อง ของคุณสุวิทย์  และนางลัดดาวัลย์ แต้ไพสิฐพงษ์  มีฐานะเป็นหลาน ของคุณชัยวัฒน์​ แต้ไพสิฐพงษ์​ ประธานเครือ เบทาโกร

สำหรับไลฟ์สไตล์ เป็นคนคุยสนุก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน ชอบการออกกำลัง ดูแลสุขภาพ กีฬาที่ถนัดจะเป็นการวิ่งและตีกอล์ฟ ดูแลสุขภาพด้วยการล้างพิษตับที่ธัญสมุย คราวละ 6-11วัน โดยการดื่มน้ำมันมะกอก ควบคู่ไปกับการอดอาหาร เพื่อเอาของเสียต่างๆ ออกจากร่างกาย ลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรค NCD

บทความนี้น่าจะทำให้เรารู้จักตัวตนที่แท้จริงของพี่เหน่ง จักริน ได้มากขึ้น หากมีโอกาสได้พบปะกัน สามารถแวะทักทาย แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อวงการได้