ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้านต่างๆ

ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้านต่างๆ

ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้านต่างๆ

กลุ่มประเทศที่อยู่ในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือที่เราเรียกกันอย่างติดปากว่า “อาเซียน” นั้นในอดีตแม้จะเป็นประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกันทว่าการให้ความร่วมมือหรือการช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้นยังถือว่าไม่ค่อยมีมากนัก จนกระทั่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวว่าประเทศในแถบอาเซียนมีการประชุมหารือและกำหนดกันว่าจะทำการรวมตัวกันเพื่อสร้างอาณาจักรหนึ่งทางเศรษฐกิจ เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เจริญรุดหน้าเทียบเท่ากับประเทศมหาอำนาจในทวีปเอเชีย นั่นจึงทำให้เกิด Asean Economic Community หรือแปลเป็นภาษาไทยก็คือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเมื่อมีการรวมตัวแล้วผลประโยชน์หรือข้อดีที่ประเทศแถบอาเซียนจะได้รับประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้านต่างๆ

  1. ความพัฒนาขึ้นทางด้านของเศรษฐกิจ – แน่นอนว่าแค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วในเรื่องของการพัฒนาทางด้านของเศรษฐกิจ การรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนจะช่วยให้พืชผลหรือว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูมีราคามากขึ้น และที่สำคัญคือสามารถที่จะมีอำนาจในการต่อรองทางด้านของเศรษฐกิจกับนานาประเทศมากขึ้น ยกตัวอย่างง่ายๆ การที่ประเทศไทยต้องการจะขายข้าวแต่หากว่าใช้ในนามประเทศไทยความมีบารมีก็ดูจะไม่ค่อยเท่าไหร่ แต่ถ้าหากว่ามาในนามของประชาคมอาเซียนความเข้มแข็งหรือความแข็งแกร่งในการเจรจาต่อรองก็จะมีมากกว่า
  2. ความมั่นคงทางด้านการเมือง – ข้อดีในด้านต่อมาก็คือความปรองดองกันทางด้านการเมืองในแต่ละประเทศเพราะเมื่อมีการรวมตัวกันในแถบอาเซียนเท่ากับว่าความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองของประเทศในแถบนี้ก็จะมีความเชื่อมโยงกันได้ง่ายมากขึ้น เมื่อมีความเชื่อมโยงกันง่ายมากขึ้น การเจรจาต่อรองในด้านต่างๆ ก็จะทำอะไรได้ง่ายขึ้นด้วย นั่นทำให้การเมืองของแต่ละประเทศมีความมั่นคงมากขึ้น
  3. ด้านการท่องเที่ยว – อย่าลืมว่าประเทศในแถบอาเซียนนั้นถือเป็นประเทศที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นการที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มประชาคมอาเซียนแล้วการเดินทางของคนในแถบเดียวกันก็มีความง่ายดายมากขึ้น นั่นทำให้ความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นด้วย
  4. ความแข็งแกร่งในการต่อรองกับประเทศมหาอำนาจ – การรวมตัวเป็นปึกแผ่นย่อมดูมีความขลังและมีอำนาจในการเจรจาต่อรองด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามกับประเทศมหาอำนาจของโลกมากขึ้นทำให้ประเทศในแถบอาเซียนมีการพัฒนามากขึ้นด้วย

จะเห็นได้ว่าการรวมตัวเป็นปึกแผ่นของประเทศแถบอาเซียนนั้นสามารถสร้างประโยชน์ในนานาประเทศมากมาย จึงไม่แปลกใจที่การรวมตัวครั้งนี้จะมีแต่ข้อดีและสร้างประโยชน์มากมายมหาศาลแบบนี้

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้านต่างๆ

              ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่การเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตเดียวที่สามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นได้ โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ แรงงานฝีมือ และเงินทุนอย่างเสรี ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา และเพื่อช่วยยกระดับศักยภาพของกลุ่มประเทศเหล่านี้ ในการเข้าสู่กระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น

ระชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน(ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

               ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีเป้าหมายคือการยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกด้านให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี ในสิ่งแวดล้อมที่ดีมีความมั่นคงทางสังคม พร้อมรับมือกับผลกระทบอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน มีสำนึกความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ มรดกทางวัฒนธรรม และมีสำนึกร่วมในอัตลักษณ์ของภูมิภาค เพื่อสร้างให้เกิดสำนึกการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี มีความรับผิดชอบ อันนำไปสู่การสร้างให้ประชาคมอาเซียนเป็นสังคมแห่งความห่วงใยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยมีแผนงานที่สำคัญ(ไพรสิทธิ์ ศรีสุทธิเกิดพร , ๒๕๕๕ ; ๖๐ - ๖๒)] ได้แก่

) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development)

) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)

) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)

) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Ensuring Environmental Sustainability)

) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building ASEAN Identity)

3.ASEANมีการขยายตัวของความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ  อีกหรือไม่

  3.1อาเซียน+ (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม ๓ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียนและกระบวนการต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+๓เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน ๕ ด้าน ได้แก่

๑)ด้านการเมืองและความมั่นคง

๒) ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน

๓)ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลกและการ

พัฒนาอย่างยั่งยืน

๔)ด้านสังคม วัฒนธรรม

๕)การพัฒนาด้านการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆ และกลไก

ต่างๆ ในการติดตามผล   

3.2 อาเซียน+(ASEAN+6)     

“อาเซียน+เป็นการรวมกลุ่มกันของ ๑๖ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ๑๐ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก ๖ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน+๖มีประชากรรวมกันกว่า ๓ พันล้านคน หรือคิดเป็น ๕๐% ของประชากรโลกเลยทีเดียว   

ประโยชน์ของอาเซียน+

         จากรายงานการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ และ พ.ศ.๒๕๕๒ พบว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+๖(CEPEA) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศเอเชียตะวันออก เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ๒.๑๑% หรือหากวัดเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนแล้วค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะเพิ่มขึ้น ๓.๘๓% และเมื่อดูเฉพาะของประเทศไทยแล้ว จะพบว่า ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง ๔.๗๘% เลยทีเดียว ในขณะที่ประเทศ+๖มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้น ๒.๖%

      นอกจากนี้ อาเซียน+๖จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก ดังนี้

  - ขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค (Domestic demand within the region)

         -  เพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นความชำนาญในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ (Product specialization)

  - พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะเรื่อง Logistics ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้ จะนำไปสู่การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในแต่ละประเทศสมาชิก รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

4.อาเซียนสำคัญต่อประเทศไทยอย่างไร : สี่คำตอบสู่ประชาคมอาเซียน

          กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ  ได้จัดทำคู่มือฉบับประชาชน สำหรับเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ (๒๕๕๖)สรุปข้อมูลบางส่วนได้ ดังนี้       

4.1 เหตุใดประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน?

ไทยเล็งเห็นความสำคัญของการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคมาตั้งแต่แรก  เพื่อเสริมสร้างอำนาจต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ

โดยในปี  2535   อดีตนายกรัฐมนตรี  อานันท์   ปันยารชุน  ได้เสนอให้อาเซียนร่วมมือในการเปิดเสรีการค้าอาเซียน  (AS€AN  PREE  TRADE  Area  :  APTA)  เพื่อส่งเสริมปริมาณการค้าในภูมิภาค ลดต้นทุนในการผลิตและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

การรวมตัวทางเศรษฐกิจในอาเซียนมีความสำคัญกับประเทศไทยมากขึ้น  โดยตั้งแต่ปี  2545   อาเซียนกลายเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของไทย  (ปี 2556  ประมาณร้อยละ  26)  และไทยได้เปรียบดุลการค้าตลอด  การที่เข้าสู่ A€C  จะกลายเป็นตลาดที่มีประชากรกว่า 600  ล้านคน และการขยายการรวมตัวของอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค  โดยเฉพาะจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้  ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์  และอินเดีย ซึ่งจะทำให้เกิดตลาดที่มีประชากรรวมกว่า  3 พันล้านคน  หรือประมาณร้อยละ  50 ของประชากรโลกทั้งหมด   นอกจากนี้ ไทยตั้งอยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์สำคัญเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ  ในอาเซียนที่เอื้อให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคอันจะก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมกับคนไทยในส่วนต่างๆของประเทศ

4.2 เมื่อรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้วจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ได้อย่างอิสระเสรีจริงหรือ ?

ไม่จริงเนื่องจากในกรอบอาเซียนจะมีการเจราการเคลื่อนย้ายแรงงานประเภทวิชาชีพ (แพทย์  ทันตแพทย์  พยาบาล  วิศกร  สถาปนิก  บัญชี นักสำรวจและการท่องเที่ยว)  และบุคลากรระดับสูง (เช่น  ผู้บริหาร  ผู้ชำนาญการหรือผู้เชี่ยวชาญ)  ในลักษณะชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการและการลงทุนเท่านั้น

          ไม่ใช่   การให้คนงานต่างด้าวเข้ามาหางานทำขอสัญชาติหรือถิ่นที่อยู่และ

          ไม่ใช่  การอพยพแรงงานแบบถาวรในกิจการที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น   การเกษตร  หรือประมง  ทั้งนี้  การเคลื่อนย้ายแรงงานประเภทวิชาชีพและบุคลากรระดับสูงดังกล่าว  เป็นเพียงการยอมรับร่วมในคุณสมบัติของแต่ละวิชาชีพ  (Mutual  Recognition  Agreement  : MRA ) ไม่ได้เป็นการอนุญาตให้เข้ามาทำงานได้เลย  ยังคงต้องเป็นไปตามกฎระเบียบภายในของแต่ละสภาวิชาชีพและแต่ละประเทศ  แลไม่ห้ามหากประเทศใดจะมีการกำหนดมาตรการที่จำเป็นสำหรับกำกับการเข้าเมืองของบุคคลเหล่านี้

          กลุ่มวิชาชีพของไทยที่อาเซียนได้มีการจัดทำข้อตกลงร่วมจะมีโอกาสมากขึ้นในการเข้าไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นที่ขาดแคลนแรงงานประเภทนั้น เช่น  บรูไน ฯ  ขาดแรงงานวิชาชีพประเภท  แพทย์  พยาบาล  นักบัญชี และ  IT  อินโนนีเซียขาดแรงงานวิชาชีพประเภท  แพทย์  ทันตแพทย์  และนักบัญชี  ส่วนกัมพูชาขาดแรงงานวิชาชีพประเภท  วิศกร  ช่างสำรวจและITเป็นต้น


4.3
ภาคการเกษตรไทยจะได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างไร ?

• ตลาดส่งออกเปิดกว้างมากขึ้นจากการที่อาเซียนมีประชากรรวมกันกว่า  600  ล้านคน

• ส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้นจากภาษีที่ลดลง  สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น  ข้าว  น้ำตาล นมและผลิตภัณฑ์  สันสำปะหลัง  ไก่แปรรูป  อาหารแปรรูป  สิ่งปรุงรสอาหาร  เป็นต้น

• สินค้าวัตถุดิบนำเข้าราคาถูกลง  ทำให้ลดต้นทุนการผลิตเสี่ยงเพื่อการส่งออก  เช่น ปลา  และสัตว์น้ำ

• สามารถเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคในประเทศ

• ส่งเสริมการพัฒนาและการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหารของไทย

• เสริมสร้างโอกาสในการลงทุน เช่น การขยายกิจการ  หรือการย้ายขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ยังคงมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์  และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทย   ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรและอาหารของไทย

• สนับสนุนเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของไทยในอาเซียน  ในการกระจายสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเกษตรแปรรูป

• สนับสนุนการพัฒนาและเพิ่มคุณภาพบุคลากร / แรงงาน

• ลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และเพิ่มอำนาจการต่อรองของผู้บริโภค

5.ประชาคมอาเซียนผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างไร

               การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน มีเป้าหมายที่จะให้ประเทศสมาชิกมีความเชื่อมโยงกันในทุกๆ ด้าน  โดยให้ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ  การเมืองและความมั่นคง  และสังคมและวัฒนธรรม   ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมไทยในหลายด้าน ดังนี้

5.1  ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

      5.1.1 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

                  การพัฒนาประชาคมอาเซียน จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปผลกระทบในด้านบวกและด้านลบของประชาคมอาเซียนทางด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

      ด้านบวก

-  โอกาสในการประกอบอาชีพที่เปิดกว้าง มีการจ้างงาน การขยายตัวของการลงทุน ซึ่งจะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

-  สินค้าจากต่างประเทศที่มีคุณภาพดี ราคาต่ำเข้ามาในตลาดไทยทำให้ประชาชนมีโอกาสในการเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น

-  เกิดการพัฒนาสินค้าและศักยภาพการแข่งขันในพื้นที่สูงขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการผลิตสินค้าใหม่ๆ ตามความต้องการของตลาด

-  ก่อให้เกิดความร่วมมือทางการค้าและการบริการ ซึ่งจะสร้างความแข็งแกร่งในด้านอำนาจการต่อรอง และการขับเคลื่อนทางการค้าและทางเศรษฐกิจ

-  เกิดตลาดขนาดใหญ่ในภูมิภาค ซึ่งจะสร้างประโยชน์สูงสุดทางด้านการผลิต การค้า และการลงทุน

-  เกิดการขยายตัวทางการค้าและการลงทุน จากการยกเลิกอุปสรรคด้านภาษีหรือมาตรการทางการค้า รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

-  ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองจากการบริโภคสินค้าและบริการ  จากข้อตกลงอาเซียน

-  การสร้างเครือข่ายการผลิต  และการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่ทันสมัยระหว่างกัน

-  การได้รับประโยชน์จากระบบโลจิสติกส์ที่มีสะดวกและราคาที่ถูกลง  จากความร่วมมือทางการค้า และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

                 -  การพัฒนาการท่องเที่ยวจาการเดินทางที่สะดวกขึ้น และการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคของไทย

      ผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์

-  การเคลื่อนย้ายฐานการผลิต  ทำให้สินค้าภายในประเทศถูกตีตลาด  ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานเกิดปัญหาการว่างงานการถูกเลิกจ้าง และการเปลี่ยนอาชีพ

- การเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจ มากกว่าที่จะเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกันของประเทศสมาชิก

-  การเป็นคู่แข่งทางการค้า และการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าได้หลากหลาย  นำไปสู่การกดดันราคาสินค้า และการปรับตัวของผู้ประกอบการ

-นโยบายของรัฐบาลไทยด้านค่าแรงขั้นต่ำ ๓๐๐ บาท ทำให้ต้นทุนการผลิตในประเทศสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการย้ายฐานการผลิตในประเทศ

-  กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการในชุมชน จะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการในชุมชนเสียเปรียบด้านเงินทุน และการแย่งการตลาด

          5.1.2 ผลกระทบด้านสังคม

          การพัฒนาประชาคมอาเซียน จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุป ผลกระทบในด้านบวกและด้านลบของประชาคมอาเซียนทางด้านสังคม ดังนี้

      ด้านบวก

-  ประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม เน้นความร่วมมือและการทำกิจกรรมร่วมกันของประชาชน

-  ชุมชนมีเกิดการเรียนรู้ในการปกป้องผลประโยชน์และสิทธิของชุมชน

-  เกิดองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกและองค์กรเครือข่ายต่างๆ

-  มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน

 -  มีความร่วมมือและการแบ่งปันข้อมูลด้านการสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติจากธรรมชาติ

-  เกิดกระแสการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง

-  มีการใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น

      ด้านลบ

-  ผลกระทบด้านแรงงานข้ามชาติ ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม และการ       แพร่กระจายของโรคระบาด

-  การใช้แรงงานเด็กที่อาจเพิ่มขึ้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการแข่งขันทางการค้าที่สูงขึ้น

-  การประท้วงของเกษตรกรจากการถูกตีตลาดสินค้า 

-  เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ของเสียและมลพิษจากการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม

-  การพัฒนาเป็นสังคมเมือง  ทำให้ประชาชนเกิดความเป็นปัจเจกชน มีความรู้สึกแบ่งแยก ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจและความเอื้ออาทรต่อกัน

-  เกิดชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

-  มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ศาสนา และเชื้อชาติ เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาอัตลักษณ์ร่วมกันของอาเซียน

          5.1.3 ผลกระทบด้านการเมืองและความมั่นคง

                การพัฒนาประชาคมอาเซียน จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุป ผลกระทบในด้านบวกและด้านลบของประชาคมอาเซียนทางด้านการเมืองและความมั่นคง ดังนี้

               ด้านบวก

-  สิทธิ และเสรีภาพของประชาชน และชุมชน จะได้รับการปกป้องให้ดีขึ้น   เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการปกป้องผลประโยชน์ของชุมชนตนเอง

-ลดข้อขัดแย้งต่างๆ ในภูมิภาค โดยการจัดทำข้อตกลงและกลไกในการแก้ปัญหาและมาตรการป้องกันความขัดแย้ง

      ผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์

-   ปัญหาความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้แก่ ปัญหา

แรงงานข้ามชาติ  ปัญหาชุมชนชาวต่างชาติในภูมิภาคต่างๆ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด  การค้าอาวุธและการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย

5.2 ตัวอย่างผลกระทบต่องานพัฒนาชุมชน

         5.2.1  การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

               จากการวิเคราะห์พบว่าประชาคมอาเซียนมีผลกระทบต่อการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  (OTOP)  ดังนี้

               ด้านบวก

 -  ผู้ผลิตสามารถเข้าถึงตลาด  แหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ และการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับผู้ประกอบการ

-  การขยายความร่วมมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันของผู้ประกอบการ OTOP

 -  ทำให้ตลาดการค้าการขายสินค้า OTOP เกิดการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เช่น หมู่บ้าน OVP การท่องเที่ยวและบริการ, สินค้าแปรรูปทางการเกษตร และสินค้าประเภทอาหารเป็นต้น

-  เป็นการเผยแพร่และสืบทอดเอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยโดยผ่านผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ไปสู่ภูมิภาคอาเซียนเช่น การมีตราสัญญาลักษณ์สินค้า OTOP ไทย เป็นต้น

-  เป็นการสร้างโอกาสและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสินค้า OTOP ให้สามารถแข่งขันในตลาดภูมิภาคอาเซียนให้มีมาตรฐานระดับสากล

 -  ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ของไทยส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่กระแสตลาดกำลังต้องการบริโภค เช่น สินค้าการส่งเสริมสุขภาพ, ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

               ผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์

  ขาดการกำหนดแนวทางการเปิดตลาดสินค้า OTOP ของไทยที่ชัดเจนไปสู่ตลาดประชาคมอาเซียน

-ขาดการกำหนดแนวทางความเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างเครือข่ายผู้ประกอบการ OTOP                       

-ขาดความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายการค้าระหว่างประเทศทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการ    OTOP

-  สินค้า OTOP ของไทย และสินค้า OTOP ของประเทศในสมาชิกประชาคมอาเซียน มีลักษณะผลิตภัณฑ์คล้ายคลึงและใกล้เคียงกันมากเช่น ผ้าไหม, สินค้าทางการเกษตร เป็นต้น

   5.2.2 การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

         จากการวิเคราะห์พบว่าประชาคมอาเซียนมีผลกระทบต่อการดำเนินงานการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ดังนี้

        ด้านบวก

 -  เป็นโอกาสในการเป็นผู้นำหรือต้นแบบในการใช้ด้านแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภูมิภาคอาเซียน

-  เป็นโอกาสในการขยายฐานการเรียนรู้ของชุมชนที่ตามเป็น Best Practice

-  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถเป็นภูมิคุ้มกันแก่ชุมชนในกระแสบริโภคนิยม และทุนนิยม

       ผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์

-  วิถีการดำเนินชีวิตตามแนวทางทุนนิยม  หลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็ว ผ่านการโฆษณาประชาสัมพันธ์จากสื่อต่างๆ ทำให้ประชาชนมีพฤติกรรมเลียนแบบ  และมีค่านิยมในการดำเนินชีวิตที่ฟุ่มเฟือย
-  ค่านิยม และวัฒนธรรมชุมชนถูกหลงลืม

-
อาจเกิดแรงกระทบด้านกระแสบริโภคนิยม และการดูดกลืนทางค่านิยมและวัฒนธรรมของชุมชนที่เปลี่ยนไปจากเดิมเช่น ปัญหาหนี้สิน, ระบบวิธีคิดและการทำงานของคนในชุมชนที่เปลี่ยนไป เป็นต้น

- ปัญหาทางสังคมอาจเกิดเพิ่มมากขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรข้ามชาติ, การค้ามนุษย์, ยาเสพติด    

   5.2.3 การพัฒนาทุนชุมชน

        จากการวิเคราะห์พบว่าประชาคมอาเซียนมีผลกระทบต่อการดำเนินงานการพัฒนาทุนชุมชน  ดังนี้

   ด้านบวก

-  เป็นโอกาสของการแสดงศักยภาพการเป็นผู้นำของการบริหารจัดการของทุนชุมชนในประเทศภูมิภาคประชาคมอาเซียน

-  มีทุนชุมชนไหลเวียนเข้าสู่ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมาตรการเปิดตลาดเสรีการค้า

-  การพัฒนาทุนชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว    

      ผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์

 -  วิถีชีวิตแบบคนเมือง ตลอดจนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แพร่กระจายเข้าไปในชุมชน  ทำให้ทุนชุมชนในชนบทซึ่งเป็นพื้นฐานความเข้มแข็งของชุมชนลดลง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนที่เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และผูกพันกันเป็นชุมชน ลดลงตามไปด้วย

-  ทุนชุมชนบางประเภทอาจจะไหลออกนอกประเทศ เช่น แรงงานฝีมือด้านช่างก่อสร้าง เป็นต้น

-  ทุนชุมชนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอาจถูกคุกครามและถูกทำลายเพิ่มขึ้น เช่น พื้นที่ทางการเกษตรลดน้อยลงกลายเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรมหรือกลายเป็นชุมชนเมือง เป็นต้น

   การเข้าร่วมประชาคมอาเซียนส่งผลต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก  จำเป็นที่ผู้นำชุมชนต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งในส่วนของตัวผู้นำโดยตรง  ตลอดจนสร้างสรรค์ชุมชนให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงจะทำให้สังคมไทยได้รับประโยชน์จากงานด้านต่างๆของประชาคมอาเซียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ  ขณะเดียวกันก็สามารถปกป้องตัวเองจากผลลบที่อาจเกิดจากประชาคมอาเซียนได้อย่างดีด้วยเช่นกัน  ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่าเวลานี้  ผู้นำชุมชนตระหนักและเห็นความสำคัญของการเตรียมตัวและสร้างความพร้อมให้กับตนเองและชุมชน และหาทางผลักดันให้เกิดการเตรียมความพร้อมในชุมชนแล้วหรือยัง  คำตอบของคำถามนี้อยู่ที่ผู้นำชุมชนทุกคน  เพราะท่านคือผู้นำคนสำคัญของชุมชน.