บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ ยึดทรัพย์

วันสุดท้าย [26 กุมภาพันธ์ 2565] กับงาน "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน" ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เขตบางนา กรุงเทพฯ เวลาตั้งแต่ 09.00 - 16.30 น. ขอเชิญประชาชนที่มีคดีข้อพิพาทก่อนฟ้อง และหลังศาลมีคำพิพากษาร่วมงาน เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ กยศ. หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ 

นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี เปิดเผยว่า "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน" ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในวันแรก มีผู้ลงทะเบียนล่วงหน้ากว่า 4,000 ราย และมีประชาชนวอล์คอิน (walk in) เข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก โดยมีสถาบันการเงิน บริษัทธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เข้าร่วมงานมากถึง 17 แห่ง  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 วันได้แก่  

วันที่ 25 ก.พ.65 ประกอบด้วย กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.), ธนาคารซิตี้แบงก์, บริษัท ซิตี้คอร์ป ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เจเอ็มที เน็ทเวิร์ค เซอร์วิสเซ็ส จํากัด (มหาชน), บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด, บริษัท เคบีเจ แคปปิตอล จำกัด, บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและและสหกรณ์การเกษตร, ธนาคารอาคารสงเคราะห์, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด, บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด และบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด

วันที่ 26 ก.พ.65 ประกอบด้วย กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.), ธนาคารซิตี้แบงก์, บริษัท ซิตี้คอร์ป ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เจเอ็มที เน็ทเวิร์ค เซอร์วิสเซ็ส จํากัด (มหาชน), บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด, บริษัท เคบีเจ แคปปิตอล จำกัด, บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน). ธนาคารอาคารสงเคราะห์, และบริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด  

อย่างไรก็ตาม สำหรับลูกหนี้อื่น ๆ ที่มาร่วมงานแต่ไม่ได้เจราจาไกล่เกลี่ยกับเจ้าหนี้ ซึ่งอาจเพราะเป็นการวอล์คอิน (walk in) เข้ามา หรือ มาไม่ตรงกำหนดวันที่เจ้าหนี้มาร่วมงาน ทางกรมบังคับดคีจะมีจุดบริการลงทะเบียนไกล่เกลี่ยออนไลน์ โดยกรมบังคับคดีจะประสานกับสถาบันการเงินที่มาร่วมงานครั้งนี้ พิจารณาใช้เงื่อนไข หรือสิทธิประโยชน์เดียวกันกับงานดังกล่าว  

ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ที่ลูกหนี้จะได้รับ แบ่งเป็น

กรณีลูกหนี้ชั้นก่อนฟ้อง จะได้รับการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ลดเบี้ยปรับ ลดดอกเบี้ย ลดค่างวดรายเดือน งดฟ้องดำเนินคดี และรับเงื่อนไขปลดผู้ค้ำประกัน เช่น เป็นหนี้บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 350,000 บาท ลูกหนี้ได้รับส่วนลดเหลือ 150,000 บาท  

ส่วนลูกหนี้ในชั้นบังคับคดี จะได้รับสิทธิ คือ ขยายเวลาผ่อนชำระหนี้ ลดเบี้ยปรับ ลดจำนวนเงินผ่อนชำระหนี้ งดยึดทรัพย์ งดขายทอดตลาด ลูกหนี้จะไม่ถูกบังคับคดี 

อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากวันนี้ ประชาชนที่เป็นหนี้ที่ต้องการไกล่เกลี่ย ในกรุงเทพฯ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของกรมบังคับ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรมบังคับคดี และสำนักงานบังคับคดีกรุงเทพ 1 -7 โดยจะศูนย์ ฯ จะประสานสถาบันการเงินที่เข้าร่วมงานทั้ง 17 แห่ง เพื่อขยายเวลาเงื่อนไข และสิทธิประโยชน์ให้กับลูกหนี้ต่อไป  

สำหรับการจัดงาน "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน" ครั้งต่อไป ได้มีการวางแนวทาง และแผนการจัดงานไว้ โดยจะไปตามภูมิภาคต่าง ๆ เริ่มจากภาคกลางและภาคใต้ในเดือนมีนาคมและเมษายน แต่ยังไม่ได้ระบุเป็นวัน สถานที่ ซึ่งรอความชัดเจน และจะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบอีกครั้ง

การจัดตั้งองค์กร

บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ ยึดทรัพย์

เมื่อปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินของประเทศเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM จึงถูกจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2543 เพื่อบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาหนี้เสีย หรือ สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Non-Performing Loan : NPL) โดยรับโอนจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีภาระหนี้ตามบัญชี (Outstanding per book : OPB) ในขณะนั้นรวม 519,378 ล้านบาท ด้วยเงินทุนจดทะเบียนครั้งแรก 25 ล้านบาท โดย มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฯ) เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด ในปี 2544 พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 (พรก. บสท.)

กำหนดให้ บสส.ต้องโอน NPL ซึ่งมีภาระหนี้ตามบัญชี จำนวน 309,089 ล้านบาทให้แก่ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ต่อมาในวันที่ 7 พฤษภาคม 2547 กองทุนฯ ได้มีมติให้ บสส. รับโอนกิจการของบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด (บสพ.) โดยให้ บสพ. ขายลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) แล้วโอนสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันที่เหลือทั้งหมด ให้แก่ บสส. หลังจากนั้นนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา บสส. ได้ดำเนินการซื้อ NPL และทรัพย์สินรอการขาย (Non-Performing Assets : NPA) จากสถาบันการเงินอื่นเพื่อมาบริหารอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้ประมูลซื้อ NPL และ NPA จาก บสท. ในปี 2555 เนื่องจาก บสท. ต้องปิดดำเนินการตามเวลาที่ พรก.บสท.กำหนดไว้ ต่อมา บสส. เริ่มเปิดที่ทำการสำนักงานสาขาที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสาขาแรกเมื่อปี 2550 และทยอยเปิดสาขาเพื่อเป็นศูนย์บริการลูกค้าทุกภูมิภาคของประเทศ ในปี 2555 รวม 4 สาขา คือ เชียงใหม่ ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และพิษณุโลก

ในปี 2560 ธนาคารแแห่งประเทศไทย ริเริ่มโครงการช่วยเหลือประชาชนรายย่อยในการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งมีหนี้ค้างชำระอยู่กับธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างเบ็ดเสร็จและมีประสิทธิภาพ ด้วยความร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ จึงมีการจัดตั้ง “โครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน” หรือเรียกว่า “คลินิกแก้หนี้” โดยตกลงร่วมกันแต่งตั้ง บสส. เป็นหน่วยงานกลาง เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินกับธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายให้ได้ข้อยุติในคราวเดียว ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการชำระหนี้ของตนเองได้อย่างเหมาะสม ตามความสามารถที่แท้จริง และบสส. ยังทำหน้าที่จัดกิจกรรมให้ความรู้เสริมสร้างวินัยทางการเงินที่ดีให้แก่ประชาชนอีกด้วย ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารซิตี้แบงก์ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารทิสโก้ ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาต ธนาคารยูโอบี ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารแห่งประเทศจีน และธนาคารไอซีบีซี (ไทย)

ปี 2543

บสส. จัดตั้งขึ้นเพื่อรับโอน NPL จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภาระหนี้ตามบัญชี 519,378 ล้านบาท

ปี 2544

บสส. โอน NPL ภาระหนี้ตามบัญชี 309,089 ล้านบาท ให้แก่ บรรษัท บริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)

ปี 2547

บสส.ควบรวมกิจการ และรับโอนสินทรัพย์จาก บริษัท บริหาร สินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด (บสพ.) ทำให้ยอดรวม NPL ส่วนของธนาคารกรุงไทย และบสพ. เป็นจำนวนทั้งสิ้น 275,944 ล้านบาท

ปี 2549

เริ่มซื้อ NPL และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) จากสถาบันการเงินอื่นมาบริหาร

ปี 2550

เปิดที่ทำการสาขาแห่งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่

ปี 2551

เปิดที่ทำการสาขาแห่งที่สองที่จังหวัดขอนแก่น

ปี 2552

เปิดที่ทำการสาขาแห่งที่สามที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ปี 2555

เปิดที่ทำการสาขาแห่งที่สี่ที่จังหวัดพิษณุโลก และรับโอน NPL และ NPA คืนจาก บสท. เมื่อ บสท.ปิดตัวลงในปี 2554

ปี 2560

เปิดดำเนินการ “โครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน” หรือ “คลินิกแก้หนี้”