ให้ นักเรียน ยก ตัวอย่าง ผล งาน จิตรกรรม สมัย กรีก โรมัน มา 3 อย่าง

 
ให้ นักเรียน ยก ตัวอย่าง ผล งาน จิตรกรรม สมัย กรีก โรมัน มา 3 อย่าง

ศิลปะสากล
      หลังจากที่อาณาจักรโรมันตะวันตกสลายตัวไปแล้ว แต่ความเชื่อในด้านคริสตศาสนายังคงมีอยู่ พวกอนารยชนที่เข้ามามีอำนาจในอาณาจักรโรมันตะวันตก ได้ยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของคริสตศาสนา ทำให้ความเข้มอข็งของศาสนานี้มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สันตะปาปายังคงเป็นประมุขในกรุงโรม และมีอำนาจเหนือสถาบันต่าง ๆ ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสมัยกลาง จึงเป็นที่รู่จักกันในนามสมัยแห่งความศรัทธา (Age of Faith) ศาสนจักรทำหน้าที่เหมือนองค์กรระหว่างประเทศ กล่าวคือทำให้ดินแดนต่าง ๆ มีสภาพเป็นสมาชิกของศาสนาและอยู่ภายใต้กฎข้อบังคับของศาสนจักรอาณาจักรโรมัน ตะวันตกนั้นยังคงรักษาอำนาจไว้ได้ จนเป็นศูนย์กลางของยุโรปเป็นผู้พิทักษ์คริสตศาสนาในโลกที่แวดล้อมด้วยอนารยชน อย่างไรก็ตาม โรมันตะวันออกก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพวกอิสลาม หรือซาราเซนในระยะเวลาต่อมา
      ท่ามกลางความวุ่นวายในระยะที่จักรวรรดิโรมันสลายตัวนั้น คริสตศาสนาได้ก่อตัวขึ้นมาอย่างเงียบ ๆ จนกลายเป็นอารยธรรมใหม่ที่ผสมผสานระหว่างอิทธิพลของกรีก – โรมัน วัฒนธรรม คริสต์ศาสนา และวัฒนธรรมชนเผ่าเยอรมัน อารยธรรมนี้ดำเนินไปภายใต้อิทธิพลของคริสตศาสนาและลัทธิฟิลดัล (Feudalism) จนกระทั่งในคริสตศตวรรษที่ 12 และ 13 จึงรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุด จากผลงานศิลปกรรมเราจะเห็นได้ว่าเนื้อหามุ่งแสดงแนวคิดทางคริสตศาสนา ที่เชื่อในโลกหน้าจึงมีการเตรียมตัวปฏิบัติการในโลกปัจจุบันให้ดีที่สุด เพื่อเป็นวิถคไปสู่โลกหน้าอันเป็นโลกของพระผู้เป็นเจ้าผู้ประทานชีวิตมนุษย์และสัตว์โลก โลกเรานี้เป็นโลกแห่งความทุกข์ทรมาน มนุษย์ทุกคนมีบาปกำเนิดอันเป็นผลมาจากการกระทำของอาดัมและเอวา ดังนั้น ทุกคนจึงต้องเชื่อคำสอนและปฏิบัติตามพระผู้ไถ่บาป คือ พระเยซู จึงจะเข้าสู่ทางแห่งความรอด (Salvation) มีชีวิตนิรันดร์ในสวรรค์
      จากความเชื่อทางศาสนานี้ ทำให้เกิดความนิยมในการสร้างรูปเคารพของพระเยซู แม่พระ และนักบุญต่าง ๆ มากมาย แต่ผลงานเหล่านี้ หาชิ้นที่ทัดเทียมกรีกและโรมันได้ยากมากในด้านการใช้ฝีมือ เพราะศิลปินในสมัยนี้ไม่ต้องการเน้นความสวยงาม แต่จะเน้นเฉพาะเนื้อหาเท่านั้น ประกอบกับหลักความเชื่อที่ว่ากายมนุษย์เป็นบาปที่ชั่วร้าย เป็นบ่อเกิดของกิเลส เป้าหมายในการสร้างศิลปกรรมจึงไม่ใช่ความงดงาม แต่เป็นศิลปะเพื่อเตือนใจและสอนมนุษย์ให้หยุดความชั่วร้าย กระทำแต่ความดีงามเพื่อชีวิตที่ดีในโลกหน้า ศิลปะในสมัยนี้จึงเปรียบเสมือนสาวใช้ของศาสนา กล่าวคือ เป็นเครื่องมือที่จะทำให้มนุษย์เข้าใจศาสนามากยิ่งขึ้น
      การแสดงออกทางศิลปกรรมในสมัยกลาง มีลำดับขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการมาตั้งแต่ศิลปะแบบโรมาเนสค์ (Romanesque) ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของพระซึ่งเป็นผู้นำในด้านศาสนาและการปกครองศิลปะของโรมาเนสค์มีทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอาณาจักรของพระ และใช้เป็นเครื่องมือสอนศาสนาให้เกิดความศรัทธาในสมัยนี้ มีการนำรูปโค้งแบบโรมันเข้ามาประกอบการก่อสร้าง ลักษณะโบสถ์หนา และทึบตัน แม้นมีหน้าต่างก็นิยมปล่อยแสงเข้ามาในอาคารเพียงนิดเดียว ทำให้ภายในอาคารค่อนข้างมืด แม้นว่าโบสถ์วิหารในสมัยนี้ไม่สง่างามเท่ากับโบสถ์แบบโกธิค แต่ก็รับใช้ศาสนาได้ดี เพราะนิยมตกแต่งอาคารด้วยรูปพระเยซูและนักบุญต่าง ๆ จิตรกรรมและประติมากรรมจึงเป็นเรื่องราวในศาสนา ซึ่งมีผลกระทบต่อการกระตุ้นจิตใจของคนในสมัยนั้นให้มีศีลธรรม แม้แต่โครงสร้างในทางสถาปัตยกรรมทุกชิ้นก็ล้วนมีความหายอย่างเช่น เส้นโค้ง (Arch) นอกจากทำให้ห้องดูกว้างแล้วยังเป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์ ซึ่งเชื่อกันว่ามีความโค้งกว้างใหญ่ เมื่อใดที่มองดูเพดานและหลังคาโบสถ์ ก็ทำให้โยงความคิดถึงสวรรค์ซึ่งเป็นที่สถิตของพระผู้เป็นเจ้า ศิลปะโรมาเนสค์เราสามารถศึกษาได้ทางตอนเหนือของอิตาลี และที่เบอร์กันดีในฝรั่งเศส เช่น โบสถ์แซงต์ บาซาร์ (St. Lazare) ที่เบอร์กันดี เป็นต้น
      ส่วนศิลปะแบบโกธิค (Gothic) เป็นศิลปะเมืองใหญ่ที่ให้ความรู้สึกสูงส่งและสง่างาม ต่างจากศิลปะแบบโรมาเนสค์ ซึ่งเป็นศิลปะแบบชนบทที่มีแบบแผนตายตัว ศิลปะโกธิคถูกสร้างขึ้นมาจากความร่วมมทอร่วมใจของประชาชน จึงให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวาและละเอียดประณีตมากกว่า อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาอีกด้วย แม้ว่าจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้ศาสนา แต่รูปแบบมีความอ่อนช้อยแสดงออกซึ่งศรัทธาต่อพระศาสนาอย่างแรงกล้า เครื่องตกแต่งมีทั้งจิตรกรรมและประติมากรรม ศิลปกรรมที่เด่นมากที่สุดจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของศิลปะแบบโกธิคก็คือ กระจกสีสเตนท์กลาส (Stained Glass) ซึ่งเกิดจากการนำกระจกสีมาตัดเป็นรูปร่าง และเรื่องราวตามที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาเชื่อมต่อกันด้วยโลหะประเภทตะกั่วนิยมประดับตามหน้าต่าง และประตูทำให้เกิดความอลังการ เพราะแสงอาทิตย์ที่มาตกกระทบยังรูปภาพเหล่านี้ จะเกิดการสะท้อนของแสงสีต่าง ๆ มากมาย ทำให้สวยงามและแปลกตา
      นอกจากนี้งานประติมากรรมหล่อรูปพระเยซู แม่พระ และนักบุญต่าง ๆ ก็นิยมประดับตามหลังคา หน้าต่าง และประตูของโบสถ์ประกอบกับหลังคานิยมสร้างยอดแหลมสูง ทำให้โบสถ์แบบโกธิคมีความงดงาม ที่ดูประดุจคล้ายเลียนแบบสวรรค์ของพระเจ้า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมาก คือ โบสถ์นอเตรอ ดาม เดอ ปารีส (Netre Dame de Paris) โบสถ์อาเมียวและรูอัง (Amคำว่า “เรอแนสซองส์” นี้เป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่า “การเกิดใหม่” ซึ่งในที่นี้ หมายถึงอารยธรรมกรีกและโรมัน ได้ถูกฟื้นฟูให้เกิดใหม่ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งหลังจากการเสื่อมสลาย ระยะเวลาแห่งความเจริญของสมัยนี้อยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 – 16 โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อพูดถึงสมัยเรอแนสซองส์คนส่วนมากมักจะนึกถึงอิตาลีมากกว่าที่อื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่รูปแบบของเรอแนสซองส์ มีหลายแบบ เช่น เรอแนสซองส์แบบฝรั่งเศส และเรอแนสซองส์แบบสเปน เป็นต้น แต่ทั้งหมดนี้ต่างเกิดขึ้นมาจากความปรารถนาของศิลปินที่จะกลับมาสู่โลกอันแท้จริง ซึ่งต่างจากสมัยกลางที่มีรูปแบบศิลปะอยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนา
      ศิลปะแบบเรอแนสซองส์มีเอกลักษณ์อยู่ที่ความพยายามสรรสร้างงานศิลปะ ให้เหมือนธรรมชาติมากที่สุด และแสดงออกถึงจิตใจของกลุ่มชน แทนที่จะแสดงออกซึ่งความรู้สึกของใครคนใดคนหนึ่งอันเป็นลักษณะเฉพาะหน่วย การสร้างงานศิลปะในสมัยนี้จึงเป็นการแสดงออกซึ่งคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่สรรสร้างเพื่อยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์หรือศาสนา
จิตรกรรม
      ในสมัยนี้ได้เกิดความก้าวหน้าทางการวาดเขียนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวาดภาพบนฝาผนังแบบเฟรสโก (Fresco) ซึ่งเป็นวิธีวาดภาพบนผนังปูนเปียกให้เสร็จเรียบร้อย ก่อนผนังปูนแห้ง มิฉะนั้นจะต้องคอยพรมน้ำให้พื้นผนังปูนเปียกอยู่เสมอ เพื่อว่าจะได้ง่ายต่อการดูดซึมซับของสี วิธีการแบบนี้ไม่สะดวกต่อการเก็บรายละเอียด แต่ให้ความคงทนถาวรเป็นเยี่ยม
      นอกจากนี้ การวาดภาพยังนิยมวาดให้มีทัศนียภาพ ทำให้เกิดภาพ 3 มิติ (Perspective) ภาพวาดจึงดูสมจริงและมีชีวิต ลักษณะการวาดภาพแบบนี้เคยทำกันมาบ้างแล้วในสมัยโรมัน
      ศิลปินในสมัยเรอแนสซองส์ที่มีชื่อเสียงด้านจิตรกรรมมีหลายท่าน เช่น บอตติเชลลี (Botticelli) ผู้วาด “กำเนิดเทพีวีนัส” (The Birth of Venus) ซึ่งเป็นภาพที่แสดงให้เห็นความสามารถในการวาดสัดส่วนทางด้านสรีระได้เหมือนจริง แต่เนื้อหาเป็นเรื่องราวที่ได้มาจากเทพปกีรณัมของกรีก-โรมัน ไม่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของศาสนา จึงกล้าแสดงกายวิภาคของมนุษย์อย่างเปิดเผย เพื่อเน้นความงามที่เกิดจากสรีระของมนุษย์
      เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) เป็นศิลปินอัจฉริยภาพอีกผู้หนึ่งที่มีความสามารถรอบด้าน ทั้งในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม การดนตรี วิศวกรรม ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังได้ประดิษฐ์รถยนต์จำลองออกแบบเครื่องบิน เรือดำน้ำ และอื่น ๆ อีกมาก
      นอกจากนี้ยังมีการคิดค้นวิทยาการทางด้านทัศนียภาพ และแสง – เงา เพื่อนำมาใช้ในการวาดภาพ ทำให้ผลงานศิลปกรรมของเขามีความงดงามที่อยู่บนพื้นฐานของความกลมกลืน ระหว่างศีรษะของมนุษย์กับทัศนียภาพที่เป็นธรรมชาติ จึงสร้างอารมณ์ให้แก่ผู้ชม ผลงานศิลปะที่สำคัญ ได้แก่ ภาพ “โมนาลิซา” (Monalisa) และภาพ “อาหารมือสุดท้าย” (The Last Supper)
      จิตรกรที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งก็คือ ราฟาเอล (Raphael) ผู้สร้างสรรค์ศิลปกรรมจนได้ชื่อว่า “ศิลปินสมบูรณ์แบบ” (The Perfect Painter) เพราะภาพวาดส่วนมากเน้นความงามที่เกิดจากรูปร่างของมนุษย์ ที่แสดงอารมณ์หลากหลายต่าง ๆ กันออกมา การใช้สีนิยมสีสดคล้ายกับงานศิลปะในสมัยไบแซนทีน แต่กายวิภาคมีความงดงาม อ่อนช้อย ทั้งชายและหญิง และเด็กเล็ก ท่าทางของบุคคลในภาพแสดงออกเหมือนเคลื่อนไหวได้ สร้างอารมณ์ให้แก่ผู้ชมได้เป็นอย่างดี ภาพเขียนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “โรงเรียนเอเธนส์” (The School of Athens) เป็นภาพที่เกี่ยวกับนักปรัชญากรีกหลายคน รวมทั้งตัวราฟาเอลด้วย
      ศิลปินอีกท่านหนึ่งที่มีผลงานเป็นแบบฉบับของศิลปกรรมในสมัยต่อมา ก็คือไมเคิลแอนเจโล (Michaelangelo) ซึ่งมีความสามารถทั้งในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม จิตรกรรมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีก็คือ ภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” (The Last of Judgement) และภาพวาดลบนฝาผนังและเพดาน ที่มีอยู่ในโบสถ์ซีสตีน (Sistine Chapel) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ความงามของภาพเหล่านี้ไม่เพียงแต่แสดงออกซึ่งความเข้าใจ และความงามทางกายวิภาคแล้วยังแสดงออกซึ่งศรัทธาความเชื่อในศาสนา งานจิตรกรรมของไมเคิลแอนเจโล จึงมีลักษณะที่โดดเด่นและแตกต่างจากงานของดาวินชีและราฟาเอล เพราะบุคคลต่าง ๆ ในศิลปกรรมของไมเคิลแอนเจโลส่วนมากเปลือยกาย แสดงออกซึ่งกล้ามเนื้อและกายวิภาอย่างชัดเจน ไมเคิลแอนเจโล เชื่อว่ามนุษย์เป็นสิ่งสร้างของพระเจ้า จึงไม่ใช่เรื่องน่าละอายหรือเป็นความชั่วร้ายที่ต้องปกปิดร่างกาย ในทางตรงข้ามเมื่อเรามองความงดงามทางสรีระของมนุษย์ ยิ่งทำให้เราเห็นความยิ่งใหญ่ในมหิทธานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งทรงเป็นศิลปินเอกเหนือศิลปินทั้งหลาย จากความคิดนี้ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ถึงความสามารถของไมเคิลแอนเจโล ที่สามารถประยุกต์ความเชื่อในทางศาสนากับหลัการทางศิลปกรรมแบบกรีก-โรมัน โดยนำมาประสานกันในงานศิลปกรรมทำให้เกิดรูปแบบใหม่ที่เข้ากันได้ดี
ประติมากรรม
      งานแกะสลักเกิดขึ้นมากมายในสมัยนี้ วัสดุที่นิยมแกะสลักเป็นพวกหินอ่อนมากกว่าที่จะใช้หินชนิดอื่น ๆ ศิลปินที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ไมเคิลแอนเจโล ผลงานของเขาส่วนมากได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์ จึงมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในพระคัมภีร์ แต่รูปแบบของการแสดงออกทางศิลปะยังคงดำเนินตามแบบกรีก-โรมัน งานประติมากรรมที่นับว่าเป็นงานชิ้นเอกของโลก คือ ปิเอต้า (Pieta) ซึ่งตั้งอยู่ในโบสถ์ซีสตีน งานแกะสลักรูปเดวิด (David) วีรบุรุษของชาวยิว เป็นผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่ทำให้ชื่อเสียงของไมเคิลแอนเจโลมีมากขึ้น ปัจจุบันผลงานชิ้นนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองฟลอเรนซ์ งานแกะสลักรูปโมเสส (Moses) เป็นผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่ได้รับการยกย่องไม่น้อยไปกว่างานชิ้นอื่น ๆ เพราะมีการแสดงออกซึ่งอารมณ์ และให้ความรู้สึกของการเคลื่อนไหวในอิริยาบถ ทำให้ผู้ที่ชมงานศิลปกรรมชิ้นนี้เกิดอารมณ์ร่วมไปกับศิลปิน ผู้สร้างผลงานชิ้นนี้สร้างเพื่อประดับหลุมพระศพของพระสันตะปาปาจูเลียส ที่ 2 เจตจำนงของเจ้าของและผู้สร้างต้องการให้ใหญ่โตมโหฬาร แต่เนื่องจากทุนทรัพย์ม่ไม่พอ จึงต้องตัดทอนบางส่วนลดน้อยลง เหลือเฉพาะตัวโมเสสเท่านั้น
      ข้อน่าสังเกตของงานศิลปกรรมเหล่านี้ อยู่ที่การแสดงออกซึ่งความงามทางด้านกายวิภาค และความเป็นแบบแผนที่มาจากความกลมกลืนและความสมดุลย์ที่เกิดจากรูปทรง และสัดส่วนของร่างกายทั้ง ๆ ที่ในสมัยเรอแนสซองส์ขาดเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะใช้วัดสัดส่วน แต่ไมเคิลแอนเจโล สามารถสลักรูปเดวิด โมเสส และแม่พระได้อย่างสมจริง
สถาปัตยกรรม
      ในสมัยนี้การสร้างสถาปัตยกรรมที่แน่นหนาถาวร คำนึงถึงสัดส่วนอย่างเป็นเหตุเป็นผล ไม่มีลักษณะหรูหราแปลกตา สถาปนิกที่สำคัญ ได้แก่ บรามันเต (Bramante) ผู้สร้างวิหาร ซาน ปิเอโตร (Sam Pietro) ที่กรุงโรมในปี ค.ศ. 1502
      สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสมัยนี้ คือ โบสถ์เซนปีเตอร์ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1506 และสร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1626 ใช้เวลาก่อสร้าง 120 ปี มีศิลปินและสถาปนิกช่วยกันออกแบบ 4 คน คือ บรามันเต (Bramante) ราฟาเอล (Raphael) ไมเคิลแอนเจโล (Michelangelo) และเบอร์นินี (Bernini) ทำให้โบสถ์เซนต์ปีเตอร์มีความวิจิตรพิสดารจนเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของโลก และเป็นรูปแบบมาตรฐานในทางสถาปัตยกรรมของสมัยต่อ ๆ มา
      เราจะเห็นได้วางานศิลปกรรมในสมัยเรอแนสซองส์นี้ สะท้อนความคิดทางปรัชญาและศาสนาได้อย่างประสานกลมกลืนกันดี ศิลปินสนใจในด้านความงามแบบสากลจนเกิดเป็นแบบอุดมคติ (Idealism) ทั้ง ๆ ที่พยายามสร้างให้เหมือนจริงตามธรรมชาติก็ตาม ลักษณะเด่นของงานศิลปกรรมในสมัยนี้ โดยเฉพาะผลงานของไมเคิลแอนเจโลมีลักษณะที่เราอาจเรียกได้ว่าเป็นสาวใช้ของศาสนา และเป็นกระบอกเสียงของคริสตจักรในการสอนศาสนาโดยไม่ต้องอาศัยตัวหนังสือ
      ภาพเขียนหรืองานแกะสลักจะปรากฎเป็นภาพเปลือย แสดงให้เห็นส่วนสัดของร่างกาย แต่ภาพเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ผู้ชมบังเกิดความรู้สึกในทางต่ำทรามแบบภาพอนาจารทั้งหลาย ในทางตรงข้ามภาพเหล่านี้ได้ช่วยให้บุคคลในสมัยนั้นเข้าใจเนื้อหาของศาสนาดียิ่งขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นคัมภีร์ไบเบิลฉบับรูปภาพ เพราะภาพเขียนส่วนมากแสดงเนื้อหาที่ได้มาจากพระคัมภีร์ไบเบิลทั้งฉบับเก่า และฉบับใหม่
      ในสมัยใหม่นี้ มีรูปแบบศิลปะที่เกิดขึ้นหลากหลายจนยากที่จะกำหนดระยะเวลาให้แน่นอนลงไป นักศิลปะบางท่านกำหนดสมัยใหม่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา อันเป็นระยะเวลาของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ บางท่านก็กำหนดตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 อันเป็นระยะเวลาของการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม และมีอีกหลายท่านที่กำหนดตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 สำหรับในที่นี้ได้กำหนดให้ศิลปะสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา โดยถือตามแนวคิดของเชนี (Cheney 1958 : V)
      ในสมัยนี้ ศิลปินมีอิสระในการทำงานมากขึ้นยิ่งกว่ายุคใด ๆ นับตั้งแต่การเริ่มระยะเวลาประวัติศาสตร์ เป็นต้นมา เพราะศิลปินในสมัยนี้ไม่ต้องอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของใครไม่ต้องตกอยู่ภายใต้การชี้นำ หรือแรงผลักดันจากสังคม พวกเขาไม่เพียงแต่จะสร้างฐานะของตนให้สูงขึ้นแล้ว ยังมีบทบาทต่อสังคม การเมือง และศาสนา ผลงานส่วนมากเป็นงานจิตรกรรมที่แสดงออกซึ่งสุนทรียภาพอันหลากหลาย
      ในระยะแรก ๆ ของสมัยศิลปกรรมมีลักษณะแบบนีโอ-คลาสสิค (Neo-Classicism) ซึ่งมีรากฐานอยู่บนเหตุผลและมีแบบแผนเช่นเดียวกับศิลปะกรีก-โรมัน ความงามของศิลปะจึงปรากฎออกมาในรูปของสัดส่วนที่ถูกต้องตามหลักกายวิภาค เนื้อหาและเรื่องราวต่าง ๆ ในงานศิลปะตลอดจนการจัดลำดับความสำคัญของบุคคลในภาพจะถูกต้องสมเหตุสมผลและมีแบบแผน ศิลปินที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ริเริ่ม คือ ยาค หลุยส์ ดาวิด (Jacques Louis David, ค.ศ. 1748 – 1825) ผลงานที่สำคัญได้แก่ “คำปฏิญาณของโฮราที” (The Oth of Horatii) และ “การดื่มน้ำเฮมลอคของโสคราตีส” (Socrates Drinking Hemlock)
      ต่อมา ดาวิดได้เปลี่ยนรูปแบบการวาดภาพตามแนวกรีก-โรมัน มาเป็นแบบสะท้อนสังคมซึ่งตรงกับสมัยการปฏิวัติของฝรั่งเศส เขาวาดได้ดีมากจนมีผู้ยกย่องให้เป็น “ศิลปินแห่งการปฏิวัติ” (The Painter of Revolution) เช่น ภาพความตายของมาราต์ (The Death of Marat)
      หลังจากเกิดรูปแบบศิลปะนีโอ-คลาสสิค แล้ว ได้มีการเคลื่อนไหวทางศิลปะในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ท้าทายต่อลัทธินีโอ-คลาสสิค โดยไม่ยอมรับแบบแผนตามแนวกรีก-โรมัน ตลอดจนพยายามหนีออกจากเหตุผลไปค้นหาความจริงใหม่ ๆ ตามวิถีทางที่ตนปรารถนา รูปแบบศิลปะเหล่านี้ ได้แก่ ลัทธิโรแมนติค (Romanticism) และลัทธิสัจนิยม (Realism)
ศิลปะในศตวรรษที่ 20
      ในสมัยนี้มีรูปแบบทางศิลปะเกิดขึ้นมาหลายลัทธิ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเพียงบางลัทธิ เช่น ลัทธิโฟวิสม์ (Fauvism) ลัทธิแนฟว์ (Na?ve) ลัทธิคิวบิสม์ (Cubism) ลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) ลัทธิอภิปรัชญา (Metaphisical Painting) ลัทธินามธรรม (Abstract) ศิลปะแบบอ๊อป อาร์ต (Op. Art) เป็นต้น

ให้ นักเรียน ยก ตัวอย่าง ผล งาน จิตรกรรม สมัย กรีก โรมัน มา 3 อย่าง

http://www.mh.ac.th/StudentWorkM6/siriyaweb62/artinter.htm

   
ให้ นักเรียน ยก ตัวอย่าง ผล งาน จิตรกรรม สมัย กรีก โรมัน มา 3 อย่าง