บทความ เสื้อผ้าและการแต่งกาย

เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องนุ่งห่ม นับเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับผู้คนในสังคมมาอย่างช้านาน เทรนด์เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย มักเปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะ ๆ แล้วแต่ช่วงเวลา แล้วแต่เหตุการณ์ เสื้อผ้าบางรูปแบบ บางสไตล์ก็ได้รับความนิยมจากคนหมู่มากในระยะเวลายาวนาน บางสไตล์ก็เป็นที่นิยม กลายเป็นแฟชั่นในระยะเวลาสั้น ๆ ดังนั้นเรื่องเสื้อผ้ากับแฟชั่น จึงแทบจะแยกกันไม่ออก เป็นเรื่องที่มีความสำคัญกับชีวิตของเรา แต่ที่ว่าเสื้อผ้าและแฟชั่นสำคัญอย่างไร ไปศึกษากันอย่างละเอียดในบทความนี้กันได้เลย

ความสำคัญของเสื้อผ้าและแฟชั่น

1.ทำหน้าที่ปกป้องร่างกาย จากสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพอากาศที่ร้อน หรือหนาว และฝน ป้องกันลม ป้องกันไอแดดให้กับผิวกาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันสิ่งรบกวนต่าง ๆ จากภายนอก เช่น แมลงสัตว์กัดต่อย เป็นต้น เสื้อผ้ามีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดูแลสุขอนามัย และสุขภาพร่างกาย กล่าวคือหากรู้จักใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมตามแต่ละช่วงเวลาหรือเหตุการณ์ ก็จะสามารถช่วยให้ร่างกายมีความปลอดภัยได้นั่นเอง

 2.ช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นใจ แน่นอนว่าการเลือกใส่เสื้อผ้าที่มีคุณภาพดีและสวมใส่ถูกต้องตามกาลเทศะ จะช่วยให้ผู้สวมใส่เกิดความรู้สึกมั่นใจในตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องออกไปเผชิญหน้า พบปะพูดคุยกับผู้คนในสังคมเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน นอกจากนี้เสื้อผ้า และการแต่งตัวตามแฟชั่นยังเป็นเหมือนเครื่องที่สามารถช่วยกำหนดหรือควบคุมพฤติกรรมของผู้ที่สวมใส่ได้อย่างไม่รู้ตัวอีกด้วย หากไม่เชื่อลองสังเกตพฤติกรรมตนเองดูก็ได้ว่าเปลี่ยนแปลงไปตามรูปแบบที่สวมใส่ในแต่ละสไตล์จริงหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิงบางคนจะแสดงพฤติกรรมเรียบร้อยขึ้นหากใส่กระโปรง เป็นต้น และไม่เพียงแค่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้สวมใส่เท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงพฤติกรรมของผู้คนที่พบเจอที่มีต่อเราอีกด้วย เช่น หากเราแต่งตัวดีดีมาก ๆ ส่วนใหญ่มักจะได้รับความเอาใจใส่จากการบริการมากกว่าการที่เราแต่งตัวปกติ หรือแต่งตัวไม่ดี เป็นต้น

3.ใช้แสดงสถานะทางสังคมได้ แน่นอนว่าหากเราไม่ได้รู้จักใครเป็นการส่วนตัวมาก่อน เราอาจจะสามารถตัดสินคนคนนั้น ได้จากลักษณะและรูปลักษณ์ภายนอกที่เขามี ซึ่งก็คือการแต่งตัว แฟชั่นที่เขาเลือกใช้ ดังนั้นเสื้อผ้าจึงเป็นอีกหนึ่งอย่างที่สามารถใช้แสดงสถานะทางสังคมได้ โดยเราจะเห็นได้ว่าคนที่มีชื่อเสียงมากมายในวงสังคม มักจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ดูดีมีราคา และโดยปกติแล้วก็จะใช้เสื้อผ้าแบรนด์เนมต่าง ๆ มากน้อยแตกต่างกันไป แม้ว่าจะไม่เสมอไปแต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้คนในสังคมมักเลือกซื้อเสื้อผ้า ตามฐานะและบริบททางสังคมที่ตนเองอยู่นั่นเอง

4.เป็นเครื่องบ่งบอกประวัติศาสตร์ของโลกได้ อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าเสื้อผ้าในแต่ละแบบ แต่ละสไตล์ก็มักได้รับความนิยม เป็นแฟชั่นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไม การศึกษาเสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัยจึงเปรียบเสมือนเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ของโลกได้ไปในตัว ยกตัวอย่างเช่น อิทธิพลของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ส่งผลให้ผู้หญิงหันมาใส่กระโปรงที่สั้นขึ้น ใส่กางเกงที่ทำให้สามารถเคลื่อนตัวได้อย่างทะมัดทะแมงขึ้นเป็นต้น

5.ใช้อธิบายตัวตนของผู้ที่สวมใส่ได้เป็นอย่างดี เพราะการที่ใครคนใดคนหนึ่งจะแต่งตัวอย่างไร ย่อมมีผลมาจากความชอบส่วนตัว บุคลิกลักษณะของบุคคลนั้น ๆ หรือกระทั่งเกี่ยวข้องกับทัศนคติความเชื่อพื้นฐานของเขา ตลอดจนฐานะการเงิน ฐานะทางสังคมด้วย นั่นทำให้แฟชั่นกับเสื้อผ้านั้นมีเสน่ห์น่าหลงใหล เพราะเป็นเรื่องที่ไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบใครได้ออกมาเหมือนเป๊ะ ๆ อยู่ตลอดเวลา เพราะไม่มีใครฝืนใจเป็นคนอื่นได้ตลอดเวลานั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างกับความสำคัญของเสื้อผ้าและแฟชั่นที่เรานำมาฝากกัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่ออ่านบทความนี้จบ  ท่านผู้อ่านจะเห็นถึงความสำคัญและเข้าใจแฟชั่นมากยิ่งขึ้น

บทความงาน > การทำงาน > เทคนิคการทำงาน > การแต่งกาย : เครื่องมือสร้างงาน สร้างมิตร

การแต่งกาย : เครื่องมือสร้างงาน สร้างมิตร

  • 2 September 2014

บทความ เสื้อผ้าและการแต่งกาย
บทความ เสื้อผ้าและการแต่งกาย
บทความ เสื้อผ้าและการแต่งกาย
บทความ เสื้อผ้าและการแต่งกาย
บทความ เสื้อผ้าและการแต่งกาย
บทความ เสื้อผ้าและการแต่งกาย
บทความ เสื้อผ้าและการแต่งกาย

          การแต่งกาย จัดเป็นภาษาทางวัตถุ (object language) ประเภทหนึ่งที่ใช้สื่อสารระหว่างกัน การแต่งกายของบุคคลจะถูกแปลความ ประเมิน และตัดสิน โดยดูจากเสื้อผ้า ทรงผม รองเท้า และเครื่องประดับที่สวมใส่

          ผลการตัดสินอาจเป็นความพึงพอใจ ความรู้สึกยอมรับนับถือ ความรู้สึกให้เกียรติต่อผู้อื่น หากบุคคลนั้นแต่งกายเหมาะสม หรือในทางตรงกันข้าม อาจเกิดความรู้สึกไม่พอใจ รู้สึกดูถูก และรู้สึกไม่ต้องการสนทนาด้วย หากการแต่งกายของบุคคลนั้นไม่เป็นไปตามความคาดหวัง

การแต่งกายเป็น “เปลือกนอก” ของบุคคล ที่ถูกตีความและวัดคุณค่ามากที่สุด

          ความรู้สึกต่อการแต่งกายจะค่อนข้างรุนแรงในกลุ่มคนที่ชอบประเมินคนจากลักษณะภายนอก แม้ว่าในความเป็นจริง เราไม่ควรตัดสินคนจากสภาพที่เห็นภายนอก และการแต่งกายเป็นเสรีภาพเฉพาะบุคคล แต่การอยู่ร่วมกันในสังคมย่อมต้องมีกรอบ “ความเหมาะสม” บางประการที่กำหนดขึ้น เป็นเหมือนข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกัน และคาดหวังว่าคนในกลุ่มจะปฏิบัติตาม เช่น ในสถานที่ทำงาน ในงานเลี้ยงที่เป็นพิธีการ ในการประชุมผู้บริหาร ในการพบปะลูกค้า ในงานเลี้ยงสังสรรค์ และในงานสังคมประเภทต่างๆ เป็นต้น

          ในงานเหล่านี้ย่อมมีการคาดหวังให้ผู้เข้าร่วมแต่งกายให้เหมาะสม ถูกต้องตามกาลเทศะ จากประสบการณ์การทำงานและการพบปะผู้คนที่หลากหลายมากว่า 30 ปี ผมได้ข้อสรุปความหมายของการแต่งกาย ซึ่งมีความหมายมากกว่าการนำเครื่องนุ่งห่มมาปกปิดร่างกาย และมีคุณค่ามากกว่าการทำหน้าที่เป็นเครื่องแสดงฐานะ หรือแสดงสไตล์ แสดงตัวตนของบุคคลนั้น ความหมายการแต่งกายของผม คือ “เครื่องมือสร้างงานและสร้างมิตรภาพ”

การแต่งกาย…เครื่องมือสร้างงาน

          หากเราต้องการประสบความสำเร็จในการทำงาน เราต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการแต่งกาย เพราะสองสิ่งนี้เชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก

เราต้องแต่งกาย “ให้เหมาะสม” เพื่อให้ได้งาน

          ผู้ให้คำปรึกษาด้านการแต่งกายรายหนึ่ง ให้คำแนะนำว่า หากต้องการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้งาน ควรไปสำรวจดูก่อนว่า คนในหน่วยงานนั้นแต่งกายกันอย่างไร และอีกรายหนึ่งกล่าวว่า ผู้สมัครงานที่แต่งตัวสวยเหมือนนางแบบ จะถูกสัมภาษณ์นาน แต่มักไม่ค่อยได้งาน
ไม่เพียงแต่การสมัครงาน แต่การพบปะพูดคุยกับลูกค้าครั้งแรกก็เช่นเดียวกัน การแต่งกายเป็นตัวชี้วัดประการหนึ่ง ที่บ่งบอกว่าเราจะ “ได้งาน” หรือไม่ เพราะในการพบกันเป็นครั้งแรก เราย่อมไม่รู้จักนิสัยใจคอ จึงต้องประเมินจากรูปลักษณ์ที่ปรากฏภายนอก ดังนั้น การแต่งกายที่เหมาะสมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความประทับใจครั้งแรก นอกเหนือจากปัจจัยอื่นๆ และที่สำคัญ การแต่งกายที่เหมาะสมจะช่วยให้เรามั่นใจในตนเอง และความมั่นใจในตนเองจะช่วยให้เราเกิดความกล้าในการพูดคุยโต้ตอบ และเกิดความสนิทสนมตามมาอย่างเป็นธรรมชาติ

เราต้องแต่งกาย “ให้เหมาะสม” เพื่อคนทำงาน

          ผมคิดว่าชุดที่พนักงานสวมใส่ ควรเป็นชุดที่เอื้อต่อการทำงานมากที่สุด การแต่งกายขององค์กรหลายแห่ง โดยเฉพาะในโรงงานหรือสำนักงานที่มีพนักงานจำนวนมาก และลักษณะงานเป็นงานประจำ มักนิยมให้พนักงานแต่งเครื่องแบบที่เหมือนๆ กัน โดยให้คุณค่าความเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นสำคัญ ซึ่งผมคิดว่า ความเป็นระเบียบเรียบร้อยนั้นเป็นสิ่งดี แต่สำหรับงานบางลักษณะ หรือบางองค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้คุณค่าในการใช้ความคิด ต้องการให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์ การให้เสรีภาพในการแต่งกาย อาจเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าการบังคับให้ใส่แบบฟอร์มในรูปแบบเดียวกันทุกคน เพราะผู้บริหารตระหนักว่า เสรีภาพในการแต่งกายจะเอื้อต่อการมีเสรีภาพทางความคิดด้วย ผู้บริหารที่ใส่สูทมาทำงานทุกวัน อาจไม่ช่วยสร้างทีมงานที่มีพลังได้มากเท่ากับผู้บริหารที่แต่งตัวไม่ต่างจาก พนักงานคนอื่นๆ และร่วมทำงานเป็น “เพื่อนร่วมทีม” เดียวกัน

เราต้องแต่งกาย “ให้เหมาะสม” เพื่อทำงาน

          เดือนตุลาคมของปีที่ผ่านมา มีข่าวเล็กๆ จากประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศที่จัดว่าให้เสรีภาพด้านการแต่งกายมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ในข่าวรายงานว่า ปัจจุบัน มีหน่วยงานหลายแห่งเริ่มทนไม่ได้กับการแต่งกายของพนักงาน และตัดสินใจออกระเบียบควบคุมการแต่งกายมากขึ้น เนื่องจากพนักงานแต่งกายโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม และความพึงพอใจของลูกค้า นายจ้างรายหนึ่งกล่าวว่า เธอทนไม่ได้ที่เห็นพนักงานใส่เสื้อรัดรูปเอวลอย แถมเจาะสะดือตามสมัยนิยม จนต้องบอกให้กลับไปแต่งตัวใหม่ให้เหมาะสม

          ผมคิดว่า เราสามารถให้เสรีภาพการแต่งกายแก่พนักงาน โดยให้คำนึงถึงภาพลักษณ์ขององค์กรและลูกค้าเป็นสำคัญ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจหมายถึงอนาคตของทุกคนที่ทำงานอยู่ว่าจะไปได้ไกลเพียงใด เช่น พนักงานขายที่ใส่เสื้อเก่า กางเกงสกปรก รองเท้าไม่ได้ขัด อาจสร้างความรู้สึกให้คนสงสารเวทนา แต่ไม่ได้ช่วยให้ลูกค้าเชื่อถือและไว้วางใจ ความสะอาดและความเรียบร้อยเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า เราจัดการดูแลตนเองได้ดีมากน้อยเพียงไร ถ้าเราจัดการดูแลตัวเองได้ดี ย่อมได้รับการตีความจากลูกค้าว่า เราย่อมดูแลรับผิดชอบงานได้เป็นอย่างดี เป็นต้น

          นอกจากนี้ การแต่งกายต้องคำนึงถึงเพื่อนร่วมงานด้วย เช่น พนักงานที่แต่งกายสวยเด่น เสื้อผ้ามีสีสันสะดุดตาเกินไป อาจทำให้เพื่อนพนักงานไม่มีสมาธิในการทำงาน พนักงานที่ไม่ดูแลตนเองเลย อาจสร้างความอึดอัดใจ รำคาญใจให้กับผู้ร่วมงาน เป็นต้น

การแต่งกาย…เครื่องมือสร้างมิตรภาพ

          การแต่งกายที่เหมาะสมนอกจากช่วย “สร้างงาน” ให้เราแล้ว ยังเป็นเครื่องมือช่วย “สร้างมิตรภาพ” ให้เราได้เป็นอย่างดีแอนดรูว์ แมตทิวส์ กล่าวไว้ในหนังสือ Making Friends ว่า “ถ้าเราอยากได้เพื่อน หรือรักษาเพื่อนไว้ จงใช้สติไตร่ตรองในการแต่งตัว” คำกล่าวนั้น ผมเห็นว่าไม่เกินจริง เพราะเวลาที่เราต้องออกงาน พบปะผู้คน เราควรใส่ชุดที่เอื้อต่อการสร้างมิตรภาพ

          เราควรตระหนักว่าการแต่งกายนั้น เชื่อมโยงกับมิตรภาพอย่างแนบแน่น คนบางคนยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง แต่งกายโดยยึดความพึงพอใจของตนเองเป็นหลัก ไม่เคยคิดถึงกลุ่มที่ตนไปปฏิสัมพันธ์ด้วย อาจทำให้ต้องเสียเพื่อน เสียมิตรภาพไปโดยไม่รู้ตัว เช่น ยึดติดสไตล์การแต่งตัวของตนเองจนไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้จัดงาน หรือมีเป้าหมายในการแต่งกายเพื่อมาอวดว่า ตนเองมีฐานะดีกว่าคนอื่นๆ อาจเสียเพื่อนไปหลังจากวันนั้น เป็นต้น

          การแต่งกายของผมสำหรับไปงานต่างๆ จะสนับสนุนการสร้างมิตรภาพด้วยเป็นหลัก สิ่งแรกที่คำนึงถึงคือ “การเอาใจเขามาใส่ใจเรา” โดยพิจารณาว่า งานนั้นคาดหวังให้ผู้เข้าร่วมงานแต่งชุดแบบใด ถ้างานนั้นเรียกร้องความสุภาพ ความเป็นสากล ผมมักเลือกใส่สูท ใส่ชุดที่สุภาพเรียบร้อย ถ้างานนั้นเรียกร้องความเป็นไทย หรือต้องการให้ผู้เข้าร่วมงานใส่ชุดประจำชาติ ชุดประจำท้องถิ่น ผมจะไม่รีรอเลยที่จะแต่งกายเช่นนั้น แม้ว่าในบางชุด เมื่อผมใส่แล้วยังอดขำตนเองไม่ได้ เพราะเป็นชุดท้องถิ่นที่ใส่แล้วดูแปลกๆ ไม่ค่อยเหมาะกับผมสักเท่าไร

          ถ้าเราสามารถเลือกเครื่องแต่งกายที่สร้างความสบายใจให้แก่ทั้งสองฝ่าย คือ เอาใจเจ้าภาพด้วยและเราสบายใจด้วยจะดีที่สุด เช่น สีของเสื้อผ้า ควรเป็นสีที่เราชอบ และคนรอบข้างมองเห็นแล้วเกิดความรู้สึกสบายตา ไม่สร้างมลพิษทางสายตา ส่วนเนื้อผ้า ควรเลือกที่เราใส่แล้วสบาย เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ ช่วยให้เราไม่อึดอัด มีความคิดปลอดโปร่ง และมีความสุขมากขึ้น เป็นต้น

บทความ เสื้อผ้าและการแต่งกาย
          หากเราสามารถแต่งกายตอบสนองความคาดหวังของผู้อื่นได้ ย่อมเท่ากับเป็นการหยิบยื่นมิตรภาพด้วยการให้เกียรติ และแสดงออกถึงความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม การร่วมงานย่อมเป็นไปด้วยความราบรื่น เราจะมีความสุขตลอดงานเมื่อพบปะสายตาที่หยิบยื่นมิตรภาพให้ และเรารู้ว่ามิตรภาพนั้นจะดำรงอยู่สืบต่อไป

          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผมจะใช้การแต่งกายเป็นเครื่องมือสร้างงาน สร้างมิตรภาพ แต่ในวิถีชีวิตส่วนตัวยามว่าง ผมเลือกที่จะใส่ชุดลำลอง ในสไตล์และสีสันที่ตนเองชอบมากที่สุด ช่วยให้ผมเกิดความรู้สึกสบายๆ ปลดปล่อยจากกรอบ กฎเกณฑ์ทางสังคม เป็นการแต่งกายที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวเราจริงๆ ซึ่งจะเชยหรือทันสมัย ย่อมพบเห็นกันได้ในวันเหล่านี้

ที่มา : ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
สมาชิกที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

บทความ เสื้อผ้าและการแต่งกาย

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

 

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แต่งกายให้ประทับใจตั้งแต่วันแรกของการทำงาน

แต่งกายอย่างไรในวันสัมภาษณ์งาน

การแต่งกายทำงาน  การแต่งกายไปทำงาน  แต่งกายไปทำงาน  แต่งตัวไปทำงาน

บทความยอดนิยม

Term Paper Writing Services

The need for an expert to do term essay...

Can Be Term Paper Writing Services worth the Price?

Students have many choices available to them when they’re...

บทความ เสื้อผ้าและการแต่งกาย

10 เช็คลิสต์เคลียร์งานก่อนหยุดยาว

ช่วงปลายปีถือเป็นถือช่วงเวลาแห่งความสุขที่ทุกคนรอคอยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเดือนธันวาคม ที่ถือเป็นเดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤ...