APEC ผล ประโยชน์ที่ไทยได้รับ

APEC 2022 ประโยชน์ที่ไทยจะได้จากการเป็นเจ้าภาพ 3 เรื่องมีอะไรบ้าง อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หลังเตรียมตัวมายาวนานตั้งแต่ปี 2563

APEC 2022 เริ่มต้นเปิดฉากการประชุมแล้ววันนี้เป็นวันแรก โดยหนึ่งคำถามที่สำคัญก้คือ ไทยจะได้ประโยชน์อะไรจากการเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" มีคำตอบ

 

นายอนุชา บรูพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยเตรียมตัวมายาวนานตั้งแต่ปี 2563 ตั้งแต่รับทราบวาระการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย โดยกระทรวงต่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของรัฐบาล และเอกชน ได้ทำงานและเตรียมการอย่างหนัก 

 

ด้วยความตระหนักถึงผลลัพธ์ว่าการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคจะสร้างประโยชน์ให้ประชาชนคนไทย มากที่สุดได้อย่างไร รัฐบาลไทยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการกำหนดหัวข้อหลัก ให้ไทยได้ประโยชน์มากที่สุด จึงเป็นที่มาของการกำหนดหัวข้อหลักของการประชุมครั้งนี้ คือ "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล" หรือ "Open. Connect. Balance."

 

ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งการ กำกับการทำงานให้คำนึงถึงหลักการที่สำคัญ ประกอบด้วย 

  • ประเด็นในการหารือเพื่อจะส่งผลให้ช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ธุรกิจทั้งรายเล็กรายใหญ่ได้เข้าถึงประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างเต็มที่ การเร่งฟื้นฟูการเดินทางภายหลังวิกฤตโควิด-19 เพื่อประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคบริการและการท่องเที่ยวซึ่งเป็นหัวใจของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย การส่งเสริมเศรษฐกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยั่งยืน และมีความรับผิดชอบผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้เศรษฐกิจไทยในระยะยาว

 

  • หาช่องทางให้ไทยได้แสดงศักยภาพ และความพร้อมให้โลกได้เห็นผ่านความสำเร็จในการจัดประชุมตลอดทั้งปี ซึ่งไทยต้องจัดการประชุมท่ามกลางความท้าทาย ทั้งที่เกี่ยวข้องกับ โควิด-19 และสถานการณ์โลกที่ผันผวน โดยเฉพาะการประชุมผู้นำเอเปคครั้งนี้ ที่จะเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่จัดแบบพบหน้า เป็นโอกาสให้ผู้นำเอเปคได้เดินทางมาพบหน้ากัน

 

  • หาโอกาสและช่องทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยในสัปดาห์การประชุมเอเปคจะมีผู้นำ และผู้แทนจากต่างประเทศเดินทางมาเยือนไทยประมาณ 3,000 คน และสื่อต่างชาติอีกกว่า 2,000 คน ซึ่งทุกคนจะได้เห็นศักยภาพของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน นำไปสู่โอกาสการค้าและการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น
     

นอกจากนั้น จะเป็นโอกาสในการนำเสนอภาพความโดดเด่นทางวัฒนธรรม อาหาร การแสดง และเอกลักษณ์ความสวยงามของไทยจะถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก ซึ่งในการประชุมผู้นำเอเปคครั้งนี้ ยังมีการประชุมที่เกี่ยวข้องอีกหลายรายการ อาทิ APEC CEO summit, ABAC, APEC SME ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ไทยได้ต้อนรับผู้นำจากหลายประเทศ ทั้งที่เป็นผู้นำเขตเศรษฐกิจ และเป็นแขกพิเศษ ได้แก่ มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีซาอุดีอาระเบีย และประธานาธิบดีฝรั่งเศส

 

อย่างไรก็ดี ในโอกาสการประชุมเอเปคครั้งนี้จะมีการลงนามความตกลงทวิภาคีที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทยอีกหลายฉบับ เป็นโอกาสให้รัฐบาลได้นำเสนอวิสัยทัศน์ และความมุ่งมั่นตั้งใจในการส่งเสริมความยั่งยืน นวัตกรรม ควบคู่ไปกับศิลปวัฒนธรรมที่งดงาม โดยการประชุมนี้จะจัดแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ green meeting เช่น รถยนต์ที่ใช้รับรองผู้นำก็จะเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ในส่วนของการประชุมจะลดการใช้กระดาษให้มากที่สุด นำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในการตกแต่งสถานที่ และขยะพลาสติกในงานจะถูกนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล

 

รัฐบาลและผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประชาสัมพันธ์ โอกาส ประโยชน์ รูปแบบ และความพร้อมของการจัดการประชุมเอเปค 2022 อย่างต่อเนื่อง ทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไชต์ โซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์ม และช่องทางการนำเสนอต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อประชาสัมพันธ์บทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศ และเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในประเทศรับรู้ ซึ่งขอย้ำแนวทางการทำงานของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนไทยทุกคนได้รับประโยชน์สูงสุด  

ตอบ   ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเปค (The Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 2532 (ค.ศ.1989) โดยประเทศออสเตรเลียเป็นผู้ริเริ่ม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสนับสนุนการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีเป้าหมายหลัก 4 ประการ คือ การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืนและยุติธรรม การพัฒนาบรรษัทธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการภาครัฐที่ดี การสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพของภาคการเงิน และสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกเอเปค ในปัจจุบัน สมาชิกเอเปคประกอบด้วย 21 เขตเศรษฐกิจ (Member Economies)

สาระสำคัญของการประชุมที่ผ่านมา
       ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคที่ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น 10 ครั้ง สมาชิกเอเปคได้มีการหารือในประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น ยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค การปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินโลก (International Financial Architecture-IFA) การสร้างระบบการระวังภัยและป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำและดำเนินมาตรการริเริ่มต่างๆ (APEC Policy Initiatives) ที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งและเสถียรภาพของเศรษฐกิจและการเงินภายในภูมิภาค ซึ่งสมาชิกจะรับไปดำเนินการตามความสมัครใจและรายงานผลต่อที่ประชุม โดยมีมาตรการต่างๆ สรุปได้ดังนี้
       (1) มาตรการเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบการเงิน ได้แก่ Voluntary Action Plan for Freer and Stable Capital Flows, Bank Failure Management, Fighting Financial Crimes, Financial Regulators Training Initiative, Company Accounting and Financial Reporting Task Force, Electronic Financial Transactions System
       (2) มาตรการเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตลาดทุน ได้แก่ Supporting the Development of Credit Rating Agencies and Strengthening Disclosure Standards, Privatization Forum
       (3) มาตรการเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลด้านการเงิน ได้แก่ APEC Future Economic Leaders Think Tank, APEC Finance and Development Program
       (4) มาตรการเพื่อเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการองค์กรที่ดี ได้แก่ Pathfinder Initiative on Corporate Governance

       โดยประเทศไทยได้มีส่วนร่วมในการศึกษามาตรการริเริ่มต่างๆ ดังนี้
       (1) APEC Initiative on Privatization Forum โดยมีประเทศไทยเป็นผู้ประสานงานหลัก
       (2) APEC Initiative on Alternative Remittance System โดยมีประเทศไทย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสิงค์โปร์ เป็นผู้ประสานงานหลัก
       (3) Development of Securization and Credit Guarantee Markets โดยมีประเทศไทย สาธารณรัฐเกาหลี และเขตปกครองพิเศษฮ่องกงร่วมเป็นผู้ประสานงานหลัก
       (4) Insolvency Law โดยมีประเทศไทยและอินโดนีเซียเป็นผู้ประสานงานหลัก

การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 10 ที่ประเทศไทยเป็นประธาน
       ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 10 ได้มีการหารือภายใต้หัวข้อหลัก Local/Regional Link, Global Reach: A New APEC Financial Cooperation ซึ่งมุ้งเน้นการเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละเขตเศรษฐกิจเข้ากับเศรษฐกิจภูมิภาคและเศรษฐกิจโลกควบคู่กันไปเข้าด้วยกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้สมาชิกเอเปคสมควรมีความร่วมมือทางการเงินที่จะสร้างความเชื่อมโยง (Linkage) ที่แข็งแกร่งระหว่างเศรษฐกิจในแต่ละเขตเศรษฐกิจและของภูมิภาค เนื่องจากระบบเศรษฐกิจไม่สามารถที่จะพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ หากปราศจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยหัวข้อหลักนี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 หัวข้อย่อย (Sub-Theme) ได้แก่
       (1) การพัฒนาเศรษฐกิจรากหญ้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Grass-roots and SME Development)
       (2) การพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาค (Regional Bond Market Development)
       (3) การเปิดเสรีทางการค้าในมุมมองนโยบายการเงินและการคลัง (Fiscal and Financial Aspects of Regional Trade Arrangements)

การเตรียมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังครั้งที่ 11
       ในการประชุมปีนี้ 2547 ชิลีเป็นเจ้าภาพ ได้มีการกำหนดหัวข้อหลักดังนี้
       (1)Fiscal Policy for Growth and Stability in an Open APEC Region โดยจะเน้นถึงการมีวินัยทางการคลัง (Fiscal Disclipine) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐในช่วงเศรษฐกิจหดตัว ที่จะต้องเน้นการบริหารจัดการที่มีความเหมาะสม ทั้งด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สาธารณะ เป็นต้น
       (2) Institution Building in a World of Free Volatile Capital Flows: Looking Forward to APEC 2020 โดยที่ตามเป้าหมาย Bogor ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาจะต้องดำเนินนโยบายเพื่อให้มีการค้าและการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี ซึ่งการเคลื่อนย้ายเงินสุทธิระหว่างสมาชิกเอเปคในปัจจุบันยังมีความผันผวนอยู่มาก สมาชิกเอเปคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศจึงควรร่วมมือกันเพื่อลดความผันผวนดังกล่าว ทั้งในระดับภายในประเทศและต่างประเทศ

ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ
       เวทีเอเปคจะเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสมาชิกเอเปคอื่นๆ ซึ่งสามารถใช้เวทีเอเปคในการหารือระดับนโยบายและร่วมหาแนวทางการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาคและประชาสัมพันธ์ศักยภาพของเศรษฐกิจไทยต่อนักลงทุน

ไทยได้รับประโยชน์อะไรจากAPEC

ประการแรก บทบาทไทยในเวทีเศรษฐกิจโลก ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปคครั้งนี้ จะได้แสดงศักยภาพให้นานาชาติได้เห็นถึง 1) ความพร้อมในการจัดงานระดับนานาชาติเพื่อต้อนรับผู้นำทั้งภาครัฐและเอกชนจากประเทศต่างๆ 2) ศักยภาพของประเทศไทยในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก 3) การเสริมสร้างความเชื่อมั่นของ ...

APEC 2022 ประเทศไทยได้อะไร

3. ประโยชน์ต่อประเทศไทยจากการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุม APEC CEO Summit 2022. คาดว่าการเป็นเจ้าภาพเอเปคครั้งนี้จะส่งผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยในช่วง 3-5 ปีข้างหน้ารวมทั้งสิ้นประมาณ 5-6 แสนล้านบาท ดังนี้

เอเปคใครมาบ้าง

สำหรับผู้นำที่ยืนยันเข้าร่วมประชุมผู้นำเอเปคถึงขณะนี้ 15 ราย ได้แก่.
แอนโทนี อัลบาเนซี นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย.
สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ นายกรัฐมนตรีบรูไน.
จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา.
4.สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน.
จอห์น ลี ผู้บริหารสูงสุดฮ่องกง.
โจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย.