สาร ใด ที่มีการหลั่งออกมามาก ผิดปกติ แล้วจะทำให้คน

สาร ใด ที่มีการหลั่งออกมามาก ผิดปกติ แล้วจะทำให้คน
  • บางครั้งเมื่อร่างกายเกิดควาผิดปกติ เช่น เหนื่อยล้า ท้องผูก สิวขึ้น ผมร่วง อารมณ์แปรปรวน อาจเกิดจากฮอร์โมนในร่างกายหลั่งมาก / น้อยเกินไป
  • การตรวจฮอร์โมนจึงอาจทำให้ทราบว่าอาการเหล่านั้นมีที่มาจากฮอร์โมนผิดปกติหรือไม่ จะได้หาทางรักษาได้ถูกต้อง 
  • สอบถามแอดมิน หรือให้แอดมินหาแพ็กเกจตรวจฮอร์โมนราคาดีๆ สถานที่ใกล้ๆ แตะที่นี่ได้เลย
  • เช็กราคาจริงแพ็กเกจตรวจฮอร์โมนจากคลินิกและโรงพยาบาล จองผ่าน HDmall รับส่วนลด! แตะเลย

ฮอร์โมน (Hormone) คือสารเคมีในร่างกายที่ผลิตขึ้นจากกลุ่มเซลล์ในต่อมไร้ท่อต่างๆ เช่น ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) มดลูก รังไข่ ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ฮอร์โมนแต่ละชนิดในร่างกายจะมีหน้าที่เฉพาะ แล้วเดินทางด้วยกระแสเลือด เพื่อไปบอกอวัยวะต่างๆ ว่าต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง เช่น บอกให้นอน ให้หิว ให้เกิดการเผาผลาญพลังงาน ให้มีความรู้สึกนึกคิดต่างๆ รวมถึงมีอารมณ์ทางเพศ

หากฮอร์โมนผิดปกติ ไม่ว่ามีมากไปหรือน้อยไป ก็จะส่งผลให้ระบบของร่างกายผิดเพี้ยนไปด้วย เพราะร่างกายจะรับข้อมูลที่ผิดเพี้ยนนั่นเอง


เลือกหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับการตรวจฮอร์โมนที่นี่

  • ตรวจฮอร์โมนเพื่ออะไร?
  • ตรวจฮอร์โมนทำอย่างไร?
  • อาการแบบไหนอาจเกี่ยวกับฮอร์โมนผิดปกติ?
  • สาเหตุที่อาจทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ
  • ตัวอย่างชนิดฮอร์โมนที่สำคัญ

  • ตรวจฮอร์โมนเพื่ออะไร?

    การตรวจฮอร์โมน เป็นการทำเพื่อให้รู้ว่าฮอร์โมนแต่ละชนิดมีการหลั่งออกมามากหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่ เป็นหนึ่งในวิธีหาสาเหตุของความผิดปกติในร่างกาย เมื่อทราบว่าฮอร์โมนใดที่ผิดปกติแล้ว ก็สามารถสืบย้อนกลับไปได้ว่าฮอร์โมนตัวนั้นหลั่งออกมาจากต่อมใดจนพบปัญหาที่แท้จริง และแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง ตรงจุด

    หากแพทย์มีกังวลเกี่ยวกับต่อมใดๆ ในร่างกาย ก็อาจแนะนำให้ตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือ X-Ray เพิ่มเติมเพื่อหาสัญญาณความผิดปกติ เช่น ต่อมใต้สมอง มดลูก อัณฑะ รังไข่ และต่อมไทรอยด์

    สาร ใด ที่มีการหลั่งออกมามาก ผิดปกติ แล้วจะทำให้คน

    ตรวจฮอร์โมนทำอย่างไร?

    การตรวจฮอร์โมนทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ใช้กันมากที่สุดก็คือการตรวจระดับฮอร์โมนจากเลือด เพราะสามารถตรวจได้ทั้งระบบฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) คอร์ติซอล (Cotisol) และฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid)

    ผู้ที่เข้ารับการตรวจฮอร์โมนควรเลือกโปรแกมตรวจให้เหมาะสมกับเพศของตนเอง เช่น ผู้หญิงอาจเลือกโปรแกรมที่เน้นตรวจฮอร์โมนเพศที่ต่างกับผู้ชาย

    การตรวจอีกประเภทที่พบได้ทั่วไปคือการตรวจฮอร์โมนจากน้ำลาย ก็สามารถตรวจระดับฮอร์โมนได้หลายชนิดเช่นกัน เช่น เอสตราดิออล (Estradiol) โปรเจสเตอโรน (Testosterone) แต่ได้รับความนิยมน้อยกว่าการตรวจเลือดมาก

    อาการแบบไหน อาจเกี่ยวกับฮอร์โมนผิดปกติ?

    เนื่องจากฮอร์โมนเดินทางผ่านกระแสเลือดที่ไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย ทำให้อาการของฮอร์โมนผิดปกตินั้นค่อนข้างกว้างและเกิดขึ้นได้กับหลายส่วน ต่อไปนี้คือตัวอย่างอาการที่อาจเกี่ยวกับฮอร์โมนผิดปกติ

    • เหนื่อยล้า บางรายอาจกล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดเมื่อย
    • ท้องผูก ลำไส้ทำงานผิดปกติ
    • ผิวแห้ง
    • สิวขึ้นผิดปกติ
    • หัวใจเต้นเร็วขึ้นหรือช้าลงผิดปกติ
    • ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำ หิวข้าวบ่อย
    • ผมบาง ผมร่วงง่าย
    • ความต้องการทางเพศลดลง ประจำเดือนผิดปกติ
    • บางรายอาจมีบุตรยาก
    • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า วิตกกังวล

    แต่อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนเป็นหนึ่งในปัจจัยของอาการเหล่านี้เท่านั้น หากมีอาการดังที่กล่าวไปเกิดขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดจากฮอร์โมนเสมอไป

    สาเหตุที่อาจทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ

    สาเหตุที่อาจทำให้ฮอร์โมนผิดปกตินั้นแตกต่างไปตามชนิดฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ ก็อาจเกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาเยอะเกินไปจนทำให้การเผาผลาญมากหรือน้อยเกินไป โดยปัจจัยที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกตินั้นก็อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ยาที่ใช้ มะเร็งไทรอยด์ และอื่นๆ

    ต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ที่ทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ

    • โรคเบาหวาน ส่งผลให้ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) เกิดความผิดปกติ และอาจกระทบไปถึงฮอร์โมนเอสโตรเจน ไทรอยด์ โปรเจสเตอโรน และคอร์ติซอลด้วย
    • ยาที่ใช้ ยาบางชนิดส่งผลต่อความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนบำบัด ยารักษาโรคมะเร็ง
    • อาการบาดเจ็บบางชนิด อาจส่งกระทบถึงการผลิตฮอร์โมน โดยเฉพาะอาการบาดเจ็บที่กระทบกับสมอง
    • ความเครียด โดยเฉพาะผู้ที่มีความเครียดสะสมเรื้อรัง ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนผิดปกติได้
    • การใช้ชีวิต เช่น การกินอาหารโภชนาการไม่เหมาะสม หรือกินอาหารที่คิดว่าดีต่อสุขภาพ แต่เลือกใช้ส่วนผสมที่มีผลต่อระดับฮอร์โมนเป็นประจำ เช่น ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
    • การรับเอาสารเคมีปนเปื้อนเข้าร่างกาย มักพบได้ในอาหาร เช่น ยาฆ่าแมลงในผักผลไม้ ยาฆ่าเชื้อในเนื้อสัตว์ เป็นต้น
    • ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) โดยปกติต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนออกมาเพื่อควบคุมการทำงานของหัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ ทำให้คุณมีพลังงานเพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักขึ้น เป็นต้น
    • ความผิดปกติของต่อมหมวกไต (Congenital Adrenal Hyperplasia: CAH) ทำให้ขาดเอนไซม์จากต่อมหมวกไต ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ ความดันเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน
    • กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing Syndrome) เกิดจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงเกินไป ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ความดันเลือด และเป็นหนึ่งในสาเหตุของสิว น้ำหนักขึ้น ผิวช้ำง่าย เป็นต้น
    • โรคแอดดิสัน (Addison's Disease) ส่งผลให้ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ จนรู้สึกอ่อนเพลีย ความดันเลือดต่ำ น้ำหนักลด
    • กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner's syndrome) เกิดจากโครโมโซมผิดปกติและอาจตรวจพบได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา โดยอาจทำให้โตช้า และมีรอบเดือนผิดปกติ
    • กลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่ (Prader-Willi Syndrome) เป็นอีกหนึ่งอาการจากพันธุกรรมที่ส่งผลต่อสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) และต่อมใต้สมอง ซึ่งทั้งสองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญต่อฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย ผู้ที่มีกลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่ จึงอาจมีฮอร์โมนเพศต่ำ
    • ตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด เมื่อตับอ่อนอักเสบจึงมีส่วนทำให้ฮอร์โมนหลายชนิดผิดปกติ เช่น อินซูลิน กลูคากอน (Glucagon) และฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone)

    อย่างไรก็ตาม การจะวินิจฉัยว่าฮอร์โมนผิดปกตินั้นเกิดจากอะไรนั้นควรปรึกษาแพทย์ และบอกข้อมูล ประวัติการรักษาให้แพทย์ทราบโดยครบถ้วน เพื่อให้การวินิจฉัยแม่นยำยิ่งขึ้น

    สาร ใด ที่มีการหลั่งออกมามาก ผิดปกติ แล้วจะทำให้คน

    ตัวอย่างชนิดฮอร์โมนที่สำคัญ

    ตัวอย่างฮอร์โมนที่ทำหน้าที่สำคัญในร่างกาย ซึ่งมักมีในรายการตรวจฮอร์โมน เช่น

    • ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ช่วยในการนำน้ำตาลเข้าเซลล์เพื่อไปใช้ให้พลังงาน
    • ฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH, T3, T4) ทำหน้าที่ควบคุมหลายระบบในร่างกาย เช่น ควบคุมน้ำหนักและการเผาผลาญพลังงานของเซลล์ ช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย เกี่ยวข้องกับการสร้างผิว ผม เล็บ เป็นต้น
    • ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต (Cortisol, Aldosterone, DHEA) ช่วยกำจัดความเครียด ควบคุมสมดุลแร่ธาตุในร่างกาย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
    • ฮอร์โมนเสริมสร้างและช่วยในการเจริญของเซลล์ (Growth hormone, IGF-1) เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึม การเจริญเติบโต และการฟื้นฟูของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย
    • ฮอร์โมนเพศ (Estradiols, Progesterone, LH, FSH, Testosterone) ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและการทำงานของระบบสืบพันธุ์

    อย่างไรก็ตาม การตรวจฮอร์โมนอาจไม่ใช่วิธีเฉพาะเจาะจงอันดับแรกๆ หลังจากเข้าไปพบแพทย์ ดังนั้นหากต้องการตรวจฮอร์โมนอย่างละเอียด สามารถดูแพ็กเกจเสริมได้จาก HDmall

    เปรียบเทียบราคา ตรวจฮอร์โมน จากคลินิกและโรงพยาบาลมากมาย พร้อมจองคิวผ่าน HDmall เพื่อรับส่วนลดหรือแคชแบ็กได้เลย


    บทความที่เกี่ยวข้อง

    • จะเป็นอย่างไร? หากฮอร์โมนไม่สมดุล
    • แชร์ประสบการณ์ตรวจฮอร์โมนที่รพ.พญาไท 2 พบความผิดปกติที่คาดไม่ถึง!
    • ตรวจระดับฮอร์โมน 13 รายการ เช็คความไม่สมดุลของฮอร์โมนหญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2

    • Health Testing Centers, Hormone Imbalance And Hormone Level Testing, (https://www.healthtestingcenters.com/hormone-imbalance-and-hormone-level-testing/).
    • Corinne O'Keefe Osborn, Everything You Should Know About Hormonal Imbalance, (https://www.healthline.com/health/hormonal-imbalance), 14 January 2020.
    • ศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท., ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system), (https://www.scimath.org/lesson-biology/item/7123-2017-06-04-07-31-16), 4 มิถุนายน 2560.