องค์กร หรือ หน่วยงาน ใน ข้อ ใด ที่ ไม่มี บทบาท หน้าที่ เกี่ยวข้องกับสิทธิ มนุษย ชน

สิทธิมนุษยชนภายในองค์กร


1. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับใช้แรงงาน
1.1. บริษัทฯ จะให้เสรีภาพในการเลือกงาน แก่บุคลากรของบริษัท บริษัทฯ จะไม่มีการใช้แรงบังคับ แรงงานขัดดอก แรงงานทาส หรือ การค้ามนุษย์ งานทั้งหมด ต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ

1.2. บริษัทฯ จะหลีกเลี่ยงการใช้แรงงานเด็ก โดยมีชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสมตามข้อกฎหมายและจรรณยาบรรณธุรกิจเกี่ยวข้อง

1.3. บริษัทฯ จะหลีกเลี่ยงการใช้แรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นแรงงาน “ไม่จดทะเบียน” (irregular หรือ unregistered) หรือ แรงงานที่ “ไม่มีเอกสาร” (undocumented)

1.4. บริษัทฯ จะพิจารณาค่าจ้าง และ สวัสดิการต่างๆ รวมถึง ความก้าวหน้าทางวิชาชีพของบุคลากรของบริษัท ฯ อย่างเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เอื้อผลประโยชน์โดยมิชอบโดยอาศัยเพศโดยกำเนิด การแสดงออกทางเพศสภาพ หรือ รสนิยมทางเพศ อายุ เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ความพิการ และสถานะทางเศรษฐกิจ เป็นเกณฑ์ในการประเมิน

1.5. บริษัทฯ จะปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมต่อบุคลากรของบริษัทฯ โดยปราศจากการใช้ความรุนแรงในที่ทำงาน หรือ ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของบุคคลนั้น โดยรวมหมายถึง การล่วงละเมิดทางเพศ การข่มเหงทางเพศ การลงโทษรุนแรง การขู่เข็ญทางร่างกายและจิตใจ การทำร้ายร่างกาย การข่มขู่ การรังแก การกลุ้มรุม หรือ การข่มเหงด้วยวาจา

1.6. บริษัทฯ เปิดโอกาสให้บุคลากรของบริษัทฯ มีเสรีภาพในการสมาคม กับ กลุ่มกิจกรรมหรือกลุ่มทางความคิดใด ๆ ที่ ดำเนินกิจกรรมโดยไม่ขัด ต่อ จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ และไม่เกิดผลต่อภาพลักษณ์ หรือ ผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของบริษัทฯ อย่างไรก็ตามหากบุคลากรของบริษัทฯ มีการรวมกลุ่ม หรือ สมาคมกับกลุ่มทางการเมืองให้ถือเป็นการตัดสินใจตามสิทธิส่วนบุคคล เนื่องจากบริษัท ฯไม่มีนโยบายให้การสนับสนุน หรือ เกี่ยวข้องทางการเมืองไม่ว่าในระดับใด

1.7. บริษัทฯ จะให้ความมั่นคงในการทำงาน พร้อมทั้งสนับสนุนให้บุคลากรของบริษัทฯ มีความก้าวหน้าในวิชาชีพอย่างเท่าเทียมกัน โดยให้บุคลากรของบริษัท ฯ มีโอกาสในการทำงานในสายงานอื่น พร้อมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของบริษัทฯ อาทิ ความชำนาญเฉพาะด้าน ความชำนาญด้านภาษา อบรมการฝึกอาชีพ การเปิดรับสมัครงานภายใน ฯลฯ เป็นต้น

2. สิทธิในการทำงานในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

2.1. บริษัทฯ จะดำเนินงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยในอาชีพตามหลักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมโดยจัดให้มีการดูแลสุขอนามัยของสถานที่ทำงาน อาหาร น้ำดื่ม รวมถึงสุขภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีคณะทำงานรวมถึงมาตรการในการป้องกันและจัดการกับเหตุฉุกเฉิน อุบัติเหตุจากการทำงาน ความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน การควบคุมความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักร หรือ งานที่ต้องใช้แรงงานหนัก

2.2. บริษัทฯ จะจัดให้มีตัวแทน ช่องทางการสื่อสารงานสุขอนามัยและความปลอดภัยเพื่อให้บุคลากรของบริษัทฯ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจได้รับทราบสิทธิ หน้าที่ กระบวนการ และ ช่องทางการสื่อสารเป็นประจำทุกปี

2.3. บริษัทฯ จะไม่บังคับให้บุคคลใดตรวจหาเชื้อเอชไอวี หรือ เอดส์และวัณโรค และไม่นำการตรวจหาเอดส์ และ วัณโรคมาเป็นข้อแม้ในการจ้างงาน หรือ ข้อแม้ในการให้บริการทางสุขภาพในระหว่างการจ้างงาน อย่างไรก็ตามบุคลากรของบริษัทฯ อาจดำเนินการตรวจหาเชื้อเอดส์และวัณโรคได้โดยสมัครใจ ควบคู่ไปกับการให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจ และให้เก็บผลของการตรวจนั้นไว้เป็นความลับ โดยบริษัทฯ จะสนับสนุนกระบวนการสร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์และวัณโรคที่ถูกต้อง ให้ กับพนักงาน

2.4. บริษัทฯ จะให้ความคุ้มครองทางอนามัยเจริญพันธุ์ เช่น จัดหางานที่เหมาะสมแก่สตรีมีครรภ์ เช่น งานที่ไม่สัมผัสกับสารอันตราย งานที่ไม่ใช้แรงงานหนัก งานที่ไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในจุดเสี่ยง รวมถึงงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเวลาพักผ่อน และการเข้าถึงระบบอนามัยเจริญพันธ์ตามคำแนะนาของแพทย์ รวมทั้งมีการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง การลาคลอด สวัสดิการในช่วงลาคลอด และการคุ้มครองไม่ให้ถูกไล่ออกจากงาน อันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์

2.5. บริษัทฯ จะสนับสนุนและอำนวยความสะดวกเรื่องการประกันสังคมเพื่อให้บุคลากรของบริษัทฯ มีสุขภาวะที่เหมาะสมสำหรับการทำงานบริษัทฯ

3. ด้านสิ่งแวดล้อม
3.1. บริษัทฯ จะดำเนินงานโดยคงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมและสุขภาวะที่ดีและเหมาะสมต่อการทำงานของบุคลากรของบริษัทฯ รวมถึง ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจและกลุ่มเปราะบางโดยคำนึงถึงการป้องกันมลภาวะ การจัดการสารพิษ น้ำเสีย ขยะต่าง ๆ  รวมถึงมลพิษทางอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึง การลดการใช้ทรัพยากร เช่น การใช้น้ำ การใช้พลังงาน

3.2. บริษัทฯ จะส่งมอบสินค้าและบริการที่มีความปลอดภัย

3.3. บริษัทฯ จะจัดให้คณะทำงานด้านการดำเนินการจัดทำรายงานข้อมูลและการขออนุญาตตามเกณฑ์ กฎหมายและจรรณยาบรรณในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

4. ด้านจริยธรรม
4.1. บริษัทฯ จะเผยแพร่นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนในช่องทางสาธารณะ ให้บุคลากรขององค์กร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ และผู้สนใจได้รับทราบ ทบทวน และตรวจสอบได้โดยสะดวก

4.2. บริษัทฯ จะเปิดเผยผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชนไว้ในช่องทางสาธารณะให้บุคลากรขององค์กร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ และผู้สนใจได้รับทราบ ตรวจสอบความคืบหน้าได้โดยสะดวก

4.3. บริษัทฯ จะให้ความเป็นธรรมและมีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือ ผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยจะปกป้องความเป็นส่วนตัว และดำเนินการโดยปราศจากความคิดแค้น

4.4. บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการเผยแพร่ สื่อสารและฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน การปกป้องสิทธิของมนุษยชน นี้แก่บุคลากรของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ

5. กลุ่มเปราะบาง
เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อผลกระทบต่อเด็ก ซึ่ง เป็นกลุ่มเปราะบาง ตามนิยามที่ให้ไว้ในนโยบายนี้ บริษัท ฯ จะพิทักษ์ และเคารพสิทธิเด็กตามหลักการ 10 ข้อขององค์การยูนิเซฟ และ Save the Children ดังนี้
5.1. เคารพสิทธิเด็กและให้คำมั่นที่จะสนับสนุนสิทธิเด็ก
5.2. บริษัทฯ สนับสนุนการขจัดปัญหาแรงงานเด็กในการดำเนินงาน และ การติดต่อทางธุรกิจที่ไม่เหมาะสมและขัดต่อกฎหมาย
5.3. บริษัท ฯ จะจัดหางานที่มีคุณค่า และ เหมาะสมให้แก่คนงานที่เป็นเยาวชน ตลอดจนพ่อแม่ และ ผู้ดูแลเด็ก
5.4. บริษัท ฯ จะคำนึง ถึง การคุ้มครอง และ ความปลอดภัยของเด็ก ในสถานประกอบการและการดำเนินธุรกิจ
5.5. บริษัท ฯ จะทำให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ รวมถึงบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีความปลอดภัยและมีการส่งเสริมความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิเด็กผ่านผลิตภัณฑ์ และ บริการเหล่านั้น
5.6. บริษัท ฯ จะใช้สื่อโฆษณา และ การตลาดในทางที่เคารพและส่งเสริมสิทธิเด็ก
5.7. บริษัท ฯ จะเคารพและส่งเสริมสิทธิเด็ก เมื่อดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม การถือครองและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน
5.8. บริษัท ฯ จะคำนึงถึงสิทธิเด็ก ในการสร้างระบบรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ
5.9. บริษัท ฯ จะช่วยคุ้มครองเด็ก ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฉุกเฉิน และ ภัยพิบัติต่างๆ
5.10. บริษัท ฯ จะหนุนเสริมบทบาทของรัฐ และ ชุมชนในการคุ้มครอง และ เติมเต็มสิทธิเด็ก

การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
แนวปฏิบัติสำหรับกระบวนการตรวจสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน(Human Right Due Diligence HRDD)

มาตรการปฏิบัติ
บุคลากรของบริษัท ยูนิเวอร์แซล โพลีแบค จำกัด

1. บุคลากรของบริษัท ยูนิเวอร์แซล โพลีแบค จำกัด ต้องรับทราบสิทธิ หน้าที่ และขอบเขตด้านสิทธิมนุษยชนของตนและผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจโดยยึดถือ และ ปฏิบัตินโยบายนี้ขณะที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งขณะติดต่อกับผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจโดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ ทั้งสิ้น
2. บุคลากรของ บริษัท ยูนิเวอร์แซล โพลีแบค จำกัด ต้องไม่เพิกเฉยเมื่อพบว่าบุคลากรของ บริษัท ยูนิเวอร์แซล โพลีแบค จำกัด ท่านอื่น ๆ  หรือ ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจประกอบกิจการ โดยละเลย หรือละเมิดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนฉบับนี้
3. บุคลากรของบริษัทฯ ที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึง ผู้มีส่วนรู้เห็น หรือ เกี่ยวข้องจะต้องได้รับการลงโทษทางวินัยตามกฎของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้ และ อาจได้รับโทษตามกฎหมาย ทั้งนี้ ผู้ถูกกล่าวโทษจะไม่ถือว่ามีความผิดจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่ามีความผิดจริง

ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจ
1. บริษัทฯ สนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจดำเนินกิจการโดย คำนึง ถึง มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิแรงงานข้ามชาติ (ILO) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานของผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจ และ สนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจดำเนินกิจการ จัดทำนโยบาย ในเรื่อง การเคารพสิทธิมนุษยชนตามนโยบายและหลักจรรยาบรรณ ตามกรอบ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights – UNGP) ขององค์การสหประชาชาติ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ดำเนินการตามประกาศของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด โดย ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจสามารถศึกษา ทบทวน และตรวจสอบแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนได้จากนโยบายที่เผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ
2. ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจต้องไม่เพิกเฉย ต่อ การละเลย หรือละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ว่าในกระบวนการใดในการดำเนินธุรกิจร่วมกับบริษัทฯ
3. หากผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจละเลย เพิกเฉย หรือ พิสูจน์จนเป็นที่ประจักษ์ได้ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการดำเนินธุรกิจ และมีเจตนาไม่ดำเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตามนโยบายของยูนิเวอร์แซล โพลีแบค จำกัด บริษัท ฯ อาจยกเลิกสัญญาธุรกิจใดๆ ที่ทำไว้ล่วงหน้าโดยจะมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร

กลุ่มเปราะบาง
1. กลุ่มเปราะบาง มีสิทธิในการปฎิเสธการเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ของบริษัท ฯ โดยไม่ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
2.กลุ่มเปราะบาง สามารถสอบถามร้องเรียน ให้คำแนะนำ เกี่ยวกับสิทธิของตนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานหรือกิจกรรมของบริษัทฯ ได้โดยผ่านทางช่องทางร้องเรียนที่บริษัท ฯ ได้ให้ไว้ในนโยบายนี้ ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง หรือ ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้ปกครอง
3. กลุ่มเปราะบาง สามารถสอบถามร้องเรียน ให้คำแนะนำ เกี่ยวกับสิทธิของกลุ่มเปราะบาง ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงาน หรือ กิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจของบริษัท ฯ ได้โดยผ่านทางช่องทางร้องเรียนที่บริษัท ฯ  ได้ให้ไว้ในนโยบายนี้ ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง หรือ ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้ปกครอง

การแจ้งเบาะแส หรือ ข้อร้องเรียน
1. เรื่องที่รับแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
1.1 การละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่กำหนดไว้ในนโยบายนี้ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยทางตรง หรือ ทางอ้อม
1.2 การกระทำ ที่เพิกเฉย หรือ ละเมิดสิทธิมนุษยชนตามนโยบายของบริษัทฯ หรือ มีผลต่อระบบการควบคุมภายใน การประกอบธุรกิจของบริษัทฯ จนทำให้อาจสงสัยได้ว่าเป็นช่องทางในการละเมิดสิทธิมนุษยชน
1.3 การกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม จรรยาบรรณทางธุรกิจ

2. ช่องทางแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียน กลไกแสดงความคิดเห็นสำหรับบุคลากรของบริษัทฯ
บุคลากรของบริษัท ยูนิเวอร์แซล โพลีแบคจำกัด ทุกราย มีหน้าที่ต้องรายงานเรื่องราวไปยังบุคคล/หน่วยงานดังต่อไปนี้เมื่อพบเห็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของบริษัท ฯ
(1) หัวหน้าหน่วยงานที่บุคลากรของ บริษัท ยูนิเวอร์แซล โพลีแบค จำกัด ดังกล่าวสังกัดอยู่
(2) ผู้จัดการฝ่ายของบุคคลากร ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ ผู้จัดการทั่วไป
(3) กล่องรับความคิดเห็น
(4) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ()

3. ช่องทางแสดงความคิดเห็นสำหรับผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจ ผู้ร้องเรียนจากภายนอก ที่ไม่ข้องเกี่ยว กับ ธุรกิจของบริษัทฯ หรือตัวแทนกลุ่มเปราะบางที่ได้รับการแต่งตั้ง ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
(1) กล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ()
(2) เว็บไซด์ www.universalpolybag.com

นโยบายและแนวทางการคุ้มครองผู้ร้องเรียน และ การรักษาความลับ
1. การคุ้มครองผู้ร้องเรียน และ ผู้เกี่ยวข้อง
เนื่องจากการร้องเรียน และ การให้ข้อมูลที่กระทำไปโดยสุจริตใจ ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ทั้ง บริษัทฯ และบุคลากรของบริษัท ยูนิเวอร์แซล โพลีแบค จำกัด เป็นส่วนรวม ดังนั้น ผู้ยื่นคำร้องเรียน ผู้ให้ถ้อยคำ ให้ข้อมูล ให้ข้อเท็จจริง หรือให้พยานหลักฐานใดเกี่ยวกับการร้องเรียน และ ที่เป็นผู้พิจารณาคำร้องเรียน เมื่อได้กระทำไปโดยสุจริตใจ แม้จะเป็นเหตุให้เกิดข้อยุ่งยากประการใด ย่อมได้รับการประกันการคุ้มครองว่าจะ ไม่เป็นเหตุ หรือ ถือเป็นเหตุที่จะเลิกจ้าง ลงโทษ หรือดำเนินการใดที่เกิดผลร้ายต่อการประเมินผลงาน สิทธิประโยชน์ รายได้ รวมถึงสวัสดิการใดๆ ที่พึงได้ตามสิทธิของบุคลากรดังกล่าว

บริษัทฯ มีนโยบายที่จะให้ความเป็นธรรมกับบุคลากรของบริษัทฯ และ ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจโดยเท่าเทียมกันตามกฎข้อบังคับของบริษัทฯ โดยจะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ร้องเรียน และ เรื่องที่ร้องเรียนนั้นให้เป็นความลับ และจะดำเนินการเพื่อคุ้มครองผู้ร้องเรียน โดยผู้ร้องเรียนจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ ทั้งนี้ ผู้ถูกร้องเรียนจะไม่ถือว่ามีความผิดจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์อย่างเป็นธรรมแล้วว่ามีความผิดจริง

2. การปิดบังข้อมูลส่วนบุคคลและการเก็บรักษาความลับ
บุคลากรของ บริษัท ยูนิเวอร์แซล โพลีแบค จำกัด หรือ ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจ รวมทั้งผู้ร้องเรียนจากภายนอก จะได้รับการปกป้องความเป็นส่วนตัวโดยอาจเลือกไม่เปิดเผยชื่อ และ ข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อรายงานการกระทำ หรือ การละเมิดของบุคลากรของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ สนับสนุนให้บุคลากรของ บริษัท ยูนิเวอร์แซล โพลีแบค จำกัด ระบุตัวตนของตนเมื่อทำการรายงานเพื่อความสะดวกในการต่อการติดต่อและสอบสวน
เมื่อบุคลากรของบริษัท ยูนิเวอร์แซล โพลีแบค จำกัด หรือ ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจทำการรายงานแล้ว หน่วยงานที่รับเรื่องพึงดำเนินมาตรการปกป้องคุ้มครอง และ ป้องกันที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถทำการสอบสวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ เพื่อป้องกันบุคลากรของบริษัท ฯ หรือ ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจ รวมทั้ง ผู้ร้องเรียนจากภายนอกดังกล่าวจากการกลั่นแกล้ง หรือ การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ทั้งนี้บริษัทฯ จะดำเนินการโดยปราศจาก การแก้แค้นเอาคืน และไม่นำกรณีร้องเรียนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ที่บุคลากรของบริษัทฯ หรือ ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจควรได้รับจากการปฏิบัติงานหรือ การดำเนินธุรกิจร่วมกับบริษัทฯ

การดำเนินการสืบสวน และบทลงโทษ
1. เมื่อได้รับการแจ้งเบาะแส คณะทำงาน/คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน หรือ คณะทำงานเกี่ยวกับมาตรฐานแรงงานไทย หรือคณะทำงานด้านการตรวจสอบภายใน จะเป็นผู้กลั่นกรอง สืบสวนข้อเท็จจริง
2. ระหว่างการสืบสวนข้อเท็จจริง คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน หรือ คณะทำงานด้านแรงงานสัมพันธ์ หรือ คณะทำงานด้านการตรวจสอบ อาจจะมอบหมายให้ตัวแทน (ผู้บริหาร) แจ้งผลความคืบหน้าเป็นระยะให้ผู้แจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนได้ทราบ

3. หากการสืบสวนข้อเท็จจริงแล้ว พบว่าข้อมูล หรือหลักฐานที่มี มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ที่ถูกกล่าวหาได้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน และ หรือ สิทธิเด็กจริง บริษัท ฯ จะให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหา ได้รับทราบข้อกล่าวหา และให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ตนเอง โดยการหาข้อมูล หรือ หลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำอันทุจริตตามที่ได้ถูกกล่าวหา
4. หากพิสูจน์ได้ว่าผู้ถูกร้องเรียนได้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนจริง การละเมิดนั้นถือว่าเป็นการกระทำผิดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน จะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนดไว้ และหากการกระทำทุจริตนั้นผิดกฎหมาย ผู้กระทำความผิดอาจจะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย ทั้งนี้
4.1 โทษทางวินัยตามระเบียบของบริษัทฯ คำตัดสินของ ประธานบริหาร/ผู้จัดการทั่วไป หรือ คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน หรือ คณะทำงานด้านแรงงานสัมพันธ์ หรือ ผู้บริหาร ถือเป็นอันสิ้นสุด
4.2 โทษทางกฎหมายไม่ว่าโทษทางแพ่ง หรือ อาญาความรับผิดจะเป็นของบุคลากรของบริษัทฯ หรือบริษัทฯ ให้ยืนตามคำสั่งหน่วยงานทางกฎหมาย

แนวทางการเยียวยา
ในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าบริษัทฯ หรือ บุคลากรของบริษัท ฯ ได้ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ร้องเรียนใด ๆ จริง ให้คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน พิจารณาแนวทางการเยียวยา เป็นรายกรณี รวมทั้งแสวงหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดซ้ำทั้งโดยเจตนา และไม่เจตนาเพื่อให้การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนดำเนินไปได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และ ยั่งยืน
หากกรณีการละเมิด ฯ ได้รับการพิสูจน์ ในทางกฎหมายแล้ว และสรุปว่า บริษัท ฯ ต้องดำเนินการเยียวยาทางกายภาพ ชดใช้ทางแพ่ง หรือเยียวยาทางจิตใจ ให้ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ ผู้จัดการทั่วไป ของบริษัทฯ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตกลง และ ดำเนินการชดเชย ตามความเหมาะสม

การเผยแพร่นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
เพื่อให้บุคลากรของบริษัท ฯ ทุกรายในองค์กรได้รับทราบนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน บริษัท ฯ จะดำเนินการเผยแพร่นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของ บริษัท  ฯ ดังต่อไปนี้
1. บริษัท ฯ จะติดประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ให้บุคลากรของบริษัท ฯ รับทราบโดยทั่วกัน
2. บริษัท ฯ จะเผยแพร่นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ของบริษัทฯ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ Email เว็บไซต์บริษัท หรือ รายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนในองค์กร เป็นต้น
3. บริษัทฯ จะจัดให้มีการทบทวนนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ