เครื่องดนตรี ชนิด ใด ที่ เปรียบ เป็นเครื่อง แทน พระ ประคนธรรพ ใน พิธี ไหว้ครู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เครื่องดนตรี ชนิด ใด ที่ เปรียบ เป็นเครื่อง แทน พระ ประคนธรรพ ใน พิธี ไหว้ครู

ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง ตัวตะโพนทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุน เรียกว่า หุ่น ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนัง 2 หน้า ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียงเรียกว่า หนังเรียด หน้าใหญ่มีความกว้างประมาณ 25 ซม เรียกว่า หน้าเท่ง ติดหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง อีกหน้าหนึ่งเล็กกว่ามีขนาดประมาณ 22 ซม เรียกว่า หน้ามัด ตัวกลองยาวประมาณ 48 ซม รอบ ๆ ขอบหนังที่ขึ้นหน้า ถักด้วยหนังที่ตีเกลียวเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า ไส้ละมาน แล้วจึงเอาหนังเรียดร้อยในช่วงของไส้ละมานทั้งสองข้าง โยงเรียงไปโดยรอบจนมองไม่เห็นไม้หุ่น มีหนังพันตรงกลางเรียกว่า รัดอก ข้างบนรัดอกทำเป็นหูหิ้วและมีเท้ารองให้ ตัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้า ใช้ฝ่ามือซ้ายขวาตีได้ทั้งสองหน้า ใช้สำหรับประกอบจังหวะผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่าง ๆ

ตะโพนนี้ ถือเป็นบรมครูทางดุริยางคศิลป์ นับว่าพระประโคนธรรพ เป็นครูตะโพน เมื่อจะเริ่มการบรรเลง จะต้องนำดอกไม้ธูปเทียน บูชาตะโพนก่อนทุกครั้ง และถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมา เหตุที่ต้องกราบใหว้บูชาก็เพราะ ตะโพนเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงร่วมกับ สังข์ บัณเฑาะว์ และ มโหระทึก ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำองค์ของเทพเจ้า และสมมุติเทพ ดังนี้คือ สังข์ประจำพระองค์พระนารายณ์ และพระอินทร์ บัณเฑาะว์ ประจำองค์พระอิศวร มโหระทึก เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบพระอิศริยยศองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นสมมุติเทพส่วนตะโพนนั้นเป็นกลองที่พระคเณศได้เป็นผู้ตีเป็นคนแรก ดังนั้น ตะโพนเมื่อนำมาร่วมบรรเลงในวงปี่พาทย์ จึงถือเป็นบรมครู และทำหน้าที่กำกับหน้าทับต่างๆทั้งหมด

อ้างอิง[แก้]

  • แนะนำเครื่องดนตรีไทย จากเว็บดนตรีไทย.คอม

     

เครื่องดนตรี ชนิด ใด ที่ เปรียบ เป็นเครื่อง แทน พระ ประคนธรรพ ใน พิธี ไหว้ครู
     
เครื่องดนตรี ชนิด ใด ที่ เปรียบ เป็นเครื่อง แทน พระ ประคนธรรพ ใน พิธี ไหว้ครู

พิธีไหว้ครู-ครอบครูดนตรีไทยและนาฏศิลป์

กองส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

พิธีไหว้ครู-ครอบครูดนตรีไทยและนาฏศิลป์ เป็นวิถีปฏิบัติทางพิธีกรรมที่สำคัญของศิลปินไทยแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปินทางด้านดนตรีไทย นาฏศิลป์ โขน ละคร หรือการแสดงออกทางวัฒนธรรมไทยต่างๆ  ถือเป็นพิธีกรรมที่สำคัญและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา

การไหว้ครู เป็นวิถีปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงความเคารพต่อเทพผู้อบรมครูแห่งศิลปะการ แสดงทั้งมวล ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ผู้ซึ่งประสิทธิประสาทความรู้ทางดนตรีไทยและ นาฏศิลป์ให้ ทั้งครูในปัจจุบันและครูที่ล่วงลับไปแล้ว และในฐานะศิษย์ พร้อมใจกันปวารณาตนรับการถ่ายทอดด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อจะได้เป็นความรู้ติดตัวสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองในภายภาค หน้า

การครอบครู เป็นวิถีปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงการรับให้เป็นศิษย์ คือการนำศีรษะครูมาครอบ และครูจะคอยควบคุมรักษาช่วยให้ศิษย์มีความจำในกระบวนท่ารำ จังหวะดนตรี หากมีสิ่งใดที่ไม่งาม เกิดขึ้นกับศิษย์ ครูจะช่วยปัดเป่าให้พ้นจากตัวศิษย์ทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจและมีความมั่นใจ มากขึ้น

ความมุ่งหมายของพิธีไหว้ครู

๑.

เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายทั้งปวงที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ ศิษย์

๒.

เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียนนาฎศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว

๓.

เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม

๔.

เพื่อไว้สำหรับต่อท่ารำที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีความเชื่อมาแต่ โบราณว่าเพลงหน้าพาทย์บางเพลงจะต้องต่อท่ารำในพิธีไหว้ครู จึงจะเกิดเป็นสิริมงคลทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน

๕.

เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงามอยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจาร

                                                                                                      ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีไหว้ครู

๑.

สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน

๒.

สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมา ไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่า "ผิดครู"

๓.

เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว

๔.

ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน

๕.

เกิดความสบายใจหากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไป ก็จะได้เป็นการขอขมาครูไปด้วย

การกำหนดเวลา สถานที่ และการเตรียมการไหว้ครู

การไหว้ครูของไทย อาจได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียและจีน เพราะจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อินเดียและจีนเป็นชาติที่มีพิธีการหรือจารีตประเพณีที่เกี่ยวกับการเคารพครู อาจารย์ หรือผู้ใหญ่มายาวนาน ซึ่งโดยนิสัยของคนไทยที่รักอิสระ รักพวกพ้อง รักพ่อแม่ และบรรพบุรุษ เมื่อมีประเพณีที่สอดคล้องกันแพร่เข้ามา คนไทยจึงรับและนำมาสานต่อได้เป็นอย่างดี 

พิธีไหว้ครูตามแบบโบราณของไทย นิยมให้ประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูในเดือนคู่ ปัจจุบันมักประกอบพิธีในเดือน ๖ ถึงเดือน ๑๐ เป็นอย่างช้า แต่อนุโลมให้ประกอบพิธีได้ในเดือน ๙ เพราะถือว่า ๙ เป็นเลขมงคลของไทย  วันที่กำหนดให้ประกอบพิธีไหว้ครู จะต้องเป็นวันพฤหัสบดีข้างขึ้น ตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ ไปจนถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ นับว่าเป็นมงคลยิ่ง เพราะวันพฤหัสบดีข้างขึ้นถือว่าเป็น วันฟู” เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง และวันที่สามารถประกอบพิธีไหว้ครูได้อีกหนึ่งวัน คือ วันอาทิตย์ข้างขึ้น ปัจจุบันการไหว้ครูบางครั้งกำหนดแต่วันมิได้ถือเอาข้างขึ้นข้างแรม เพราะถือเอาฤกษ์สะดวกหรือความพร้อมเพียงของทุกฝ่าย แต่ก็ไม่หนีวันอยู่ ๒ วัน คือวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์
            สถานที่ไหว้ครู ต้องเป็นสถานที่สะอาด โอ่โถงขนาดใหญ่ บรรจุคนได้มาก เช่น ห้องประชุม โรงละคร โรงยิม

การเตรียมการไหว้ครู

๑.

การจัดสถานที่ ต้องดูสถานที่ตั้งศีรษะเทพเจ้า และศีรษะครูหัวโขนต่างๆ ให้หันหน้าออกไปทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออกจึงจะดี

๒.

การสร้างประรำพิธี ต้องกำหนดที่จำนวนศีรษะที่นำมาประกอบพิธีว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด และเครื่องสังเวยจัดไว้จำนวนมากน้อยเพียงใด หากเป็นเครื่องคู่ก็จำเป็นต้องจัดที่วางเครื่องสังเวยให้ใหญ่เพียงพอหรือหากเป็นเครื่องเดี่ยวก็จัดที่วางเครื่องสังเวยให้มีขนาดเล็กลงได้

๓.

การจัดตั้งศีรษะเทพเจ้า และศีรษะครูหัวโขนต่างๆ ต้องทำระดับชั้นวางให้ต่างกัน ตามยศศักดิ์ อย่างน้อยประรำพิธีไม่ควรต่ำกว่า ๓ ชั้น

๔.

เมื่อจัดตั้งประรำพิธีเรียบร้อยแล้ว ต้องปูผ้าสีขาวขลิบของแดงยาวตามผืนผ้า หรือเป็นผ้าสีขาวล้วนก็ได้

๕.

เมื่อปูผ้าสีขาวเสร็จแล้ว ให้อันเชิญศีรษะเทพเจ้าชั้นสูงขึ้นก่อน (พระอิศวร) ไว้ตรงกลาง แล้ววางเรียงตามลำดับลงมาจนสุดท้าย

๖.

นำดอกไม้ประดับวาง พวงมาลัยคล้องศีรษะ พระด้านจอนหูขวา นางจอนหูซ้าย ห้อยผ้าแดงหรือสีชมพู ที่จอนหูขวาหรือซ้ายก็ได้

๗.

ถ้ามีรูปของครูบาอาจารย์ที่เสียชีวิตไปแล้วนำมากราบไหว้ ก็จัดวางให้เหมาะสม

๘.

ถ้ามีเครื่องประกอบ เช่น หนังใหญ่ อาวุธ กระบี่กระบอง หุ่นกระบอก ก็จัดที่วางให้แลดูสวยงามและเหมาะสม

๙.

จัดวางเครื่องสังเวยที่เตรียมไว้ โดยที่ทางขวาหันหน้าออกจากประรำพิธีเป็นฝ่ายมนุษย์วานร เครื่องสังเวยเป็นของสุก และทางซ้ายหันหน้าออกเป็นฝ่ายอสูร ยักษ์ เครื่องสังเวยจะเป็นของดิบ ส่วนตรงกลางเป็นเครื่องกระยาบวช และผลไม้

๑๐.

ตรงกลางด้านหน้าล่าง ตั้งเชิงเทียน ๓ เล่ม ตรงกลางเป็นเทียนชัย ขวาหันหน้าออกเป็นเทียนทอง ซ้ายหันหน้าออกเป็นเทียนเงิน ถัดออกมาเป็นกระถางธูปใหญ่ ตรงกลางต่อมาเป็นหมอนกราบ ปูผ้าสีขาว ๑ เมตรคลุมที่กราบ วางคัมภีร์บนที่กราบ ด้านซ้ายหันหน้าออกวางบาตรน้ำมนต์  แป้งกระแจะ และขันกำนลครู ด้านขวาหันหน้าออกวางพานเทวรูปสรงน้ำ พานใส่มงคล สังข์  พานสายสิญจน์คล้องศีรษะ และเหรียญมงคลแจกนักเรียน หรือผู้เข้ารับการครอบครู

๑๑.

เตียงทอง หรือเตียงแดง ยาวเมตรครึ่ง หรือ ๒ เมตร ปูผ้าขาวให้ประธานพิธีนั่ง

๑๒.

ปูผ้าขาวตรงกลางเป็นทางเดิน ๓ - ๔ เมตร ต่อจากเตียงยาวออกมาสำหรับผู้ประกอบพิธีรำเพลงหน้าพาทย์เข้าสู่พิธ

การจัดตั้งวางศีรษะเทพเจ้า และศีรษะโขนในพิธีไหว้ครู

๑.

หัวโขนพระอิศวร แทนสัญลักษณ์องค์พระอิศวร ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่ง และเป็นเป็นเทพเจ้าผู้ทำลายล้าง เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะต้องตั้งให้สูงสุดกว่าหัวโขนอื่น

๒.

หัวโขนพระนารายณ์ แทนสัญลักษณ์องค์พระนารายณ์ ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าผู้บริหารและรักษาโลก  เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะต้องต่ำกว่าพระอิศวร

๓.

หัวโขนพระพรหม แทนสัญลักษณ์องค์พระพรหม ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลก  เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน ต้องต่ำกว่าพระอิศวร แต่เสมอกับพระนารายณ์

๔.

หัวโขนพระอินทร์ แทนสัญลักษณ์องค์พระอินทร์ ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าที่จะคอยให้ความช่วยเหลือคนดี เป็นผู้บันดาลให้ฝนตก เพื่อให้ความชุ่มฉ่ำแก่พืชผลในแผ่นดิน  เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน ต้องตั้งให้ต่ำกว่าพระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม

๕.

หัวโขนพระพิฆเนศ แทนสัญลักษณ์องค์พระพิฆเนศ ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ สติปัญญา ศิลปศาสตร์ เป็นใหญ่เหนืออุปสรรคทั้งมวล เป็นเทพผู้อยู่เหนือการรจนาหนังสือ  เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน ต้องตั้งให้ลดลงต่ำกว่าเทพองค์อื่นๆ แต่อาจระดับเดียวกับพระอินทร์

๖.

หัวโขนพระวิสสุกรรม แทนสัญลักษณ์องค์พระวิสสุกรรม ซึ่งถือเป็นเทพแห่งการช่างการก่อสร้าง และเกี่ยวข้องกับการละครชาตรี ที่ทรงเสด็จลงมาประทับยังเสากลางเวที เพื่อปกป้องภยันอันตรายทั้งปวง  เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน ต้องตั้งลดลงมาจากพระอิศวร พระนารายณ์     พระพรหม พระอินทร์ พระพิฆเนศ

๗.

หัวโขนพระปรคนธรรพ  แทนสัญลักษณ์องค์พระปรคนธรรพ ซึ่งถือว่าเป็นครูปี่พาทย์ เป็นผู้ประดิษฐ์พิณ เป็นผู้ปต่งคัมภีร์กฎหมายที่เรียกว่า "นารทิยาธรรมศาสตร์" เป็นผู้รอบรู้ในกาลทั้งสาม คือ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต  เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านขวาของเวทีรวมกับศีรษะพระครูฤษีต่างๆ

๘.

หัวโขนพระปัญจสีขร  แทนสัญลักษณ์องค์พระปัญจสีขร ซึ่งถือว่าท่านเป็นครูพิณและ ขับร้องต่างๆ   เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านขวาของเวทีรวมกับศีรษะพระครูฤษีต่างๆ

๙.

หัวโขนพระพิราพ  แทนสัญลักษณ์องค์พระพิราพ ถือว่าเป็นครูอสูรเทพผู้ทรงอิทธิฤทธิ์   ซึ่งศิลปินโขน-ละคร ดนตรีไทย เคารพสักการะในฐานะเป็นครูดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์  เป็นเทพเจ้าแห่งความตาย ความหายนะทั้งปวง  ในขณะเดียวกันก็เป็นเทพเจ้าแห่งความประสบโชค ขจัดโรคภัยต่างๆ เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านซ้ายของเวที ต่ำกว่าพระอิศวร แต่สูงกว่าหัวโขนยักษ์อื่นๆ และแยกออกมาอีกลุ่มหนึ่งนอกเหนือจากเทพหรือมนุษย์

๑๐.

หัวโขนพระฤษีกไลโกฎ พรภรตฤษี พระฤษีตาวัว พระฤษีตาไฟ แทนสัญลักษณ์ของท่านแต่ละตน ซึ่งถือว่าเป็นครูฝ่ายมนุษย์ ที่ได้ถ่ายทอดท่ารำและจดบันทึกท่ารำพระอิศวรไว้ โดยเฉพาะพระภรตฤษี (พ่อแก่) ศิลปินมักกล่าวถึงและมีไว้บูชา เพราะถือว่าท่านเป็นครูทางนี้โดยตรง  ส่วนพระฤษีตนอื่นศิลปินก็ให้ความเคารพนับถือเช่นกัน เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านขวาของเวที แยกกลุ่มออกมาจากเทพเจ้าหรืออสูร   

การตั้งเครื่องบูชาและเครื่องสังเวย

- ที่สำหรับครูปัธยาย  จัดเครื่องสังเวยของสุกและเป็นเครื่องคู่ (คือสิ่งละ ๒ ที่)

- ที่สำหรับครูดนตรีอยู่ทางขวามือ จัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องคู่

ที่องค์พระพิราพทางด้านซ้ายมือ จัดเครื่องสังเวยของดิบเป็นเครื่องคู่

ที่พระภูมิจัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องเดี่ยว

ที่ตรงหน้าเครื่องปี่พาทย์วงที่ใช้บรรเลงในพิธี จัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องเดี่ยว

 รายละเอียดเครื่องสังเวย มีดังนี้

บายศรีปากชาม   คู่                  หัวหมูสุก    คู่  ดิบ   คู่ 

มะพร้าวอ่อน   คู่                       เป็ดสุก   คู่  ดิบ   คู่ 

กล้วยน้ำ   คู่                            ไก่สุก   คู่  ดิบ   คู่ 

ผลไม้ ๗ อย่าง   คู่                    กุ้งสุก   คู่  ดิบ   คู่ 

อ้อยทั้งเปลือก   คู่                     ปลาสุก   คู่  ดิบ   คู่ 

เผือก มัน ถั่ว งา นม เนย   คู่       ปูสุก   คู่  ดิบ   คู่ 

เหล้า   คู่                                 หัวใจ ตับ หมูดิบ   คู่ 

เครื่องกระยาบวช   คู่                 ไข่ไก่ดิบ   คู่ 

ขนมต้มแดง ขาว  ๔  คู่                หมูหนาม   คู่

เครื่องจิ้ม   คู่                            ข้าวเหนียวหน้าเนื้อ หรือมะตะบะ ๑ คู่

หมาก พลู บุหรี่ ไม้ขีดไฟ   คู่       น้ำเย็น   คู่

บุหรี่ กับ ชา   คู่

จัด สิ่งของเหล่านี้ให้ครบไม่ขาดไม่เกิน  นอกจากเครื่องบูชาและเครื่องสังเวยแล้ว ยังมีเครื่องกำนล ประกอบด้วย ขัน ๑ ใบ เงิน ๖ บาท ผ้าห่มหรือผ้าเช็ดหน้า ๑ ผืน เทียนขี้ผึ้งขาว ๓ เล่ม ดอกไม้ ธูป บุหรี่ ไม้ขีดไฟ และหมากพลู ๓ คำ ใช้ทั้งประธานในพิธีและผู้เข้าครอบครู

ขั้นตอนการไหว้ครู

๑.

จัดเตรียมสถานที่และทำความสะอาดบริเวณที่จัดให้เรียบร้อย

๒.

เชิญหัวโขนหรือศีรษะครู ทั้งที่เป็นเทพเจ้า เทวดา ฤาษี และคนธรรพมาประดิษฐาน เพื่อเป็นประธานตั้งไว้บนโต๊ะที่เตรียมพร้อมแล้ว

๓.

นิมนต์ พระภิกษุ จำนวน ๙ รูป มาทำพิธีสวดมนต์เย็นเพื่อความเป็นสิริมงคล ในบริเวณสถานที่ที่จัดไว้ในตอนเย็น และนิมนต์มาทำพิธีอีกครั้งในตอนเช้าวันรุ่งขึ้นก่อนเริ่มพิธีไหว้ครู

๔.

จัดเครื่องกระยาบวช เครื่องสังเวย เครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องสังเวยจะจัดออกเป็น ๓ ชุด คือ
- ส่วนของพระมหาเทพ เทวดา นางฟ้า เป็นอาหารสุก
- ส่วนของพระครูฤาษี พระปรคนธรรพ เป็นอาหารสุก
- ส่วนของพระพิราพ ซึ่งเป็นเทพอสูร เป็นอาหารดิบ 

๕.

เชิญประธานจัดงานมาจุดธูปเทียนบูชาครู  ครูผู้ประกอบพิธีแต่งชุดขาว อ่านโองการเชิญครูต่างๆ มาร่วมในพิธี

๖.

ดนตรีบรรเลงเพลงหน้าพาทย์แต่ละเพลงตามที่ครูผู้ประกอบพิธีจะเรียกเพลง หลังจากที่อ่านโองการเชิญครูปัธยายแต่ละองค์แล้ว

๗.

ครูผู้ประกอบพิธีกล่าวถวายเครื่องเซ่นสังเวยต่างๆ ที่ได้จัดมา เสร็จแล้วกล่าวลาเครื่องเซ่นสังเวย

๘.

ผู้มาร่วมงานรำถวายเพื่อบูชาครู ซึ่งนิยมรำเพลงช้า-เพลงเร็ว เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงบางเพลง เช่น ตระนิมิตร ตระบองกัน คุกพาทย์ เป็นต้น

๙.

ครูผู้ประกอบพิธี ทำพิธีครอบให้ศิษย์ที่มาร่วมงาน โดยนำศีรษะครูมาครอบให้ ๓ ศีรษะ คือ
ศีรษะพระครูฤาษี อันเป็นสัญลักษณ์ครูทั่วไป
ศีรษะพระพิราพ อันเป็นสัญลักษณ์ครูโขน
ศีรษะเทริดโนห์รา อันเป็นสัญลักษณ์ครูละคร 

๑๐.

ลูกศิษย์นำขันกำนล มีดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าเช็ดหน้าขาว เงินกำนลครู ๒๔ บาท (อาจแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ ๖ บาท ๑๒ บาท ๒๔ บาท หรือ ๓๖ บาท)  ผู้ที่ได้รับครอบถือว่าเป็นศิษย์ที่มีครูแล้ว และในวงการนาฎศิลป์ได้รับคนผู้นี้เป็นนาฎศิลป์โดยสมบูรณ์

๑๑.

ลูก ศิษย์ที่จะจบออกจากสถาบันเป็นปีสุดท้าย จะเข้ารับมอบ โดยครูผู้ประกอบพิธีจะส่งศรพระขันธ์ให้กับศิษย์ผู้นั้นรับไว้ เปรียบเสมือนการขออนุญาตเพื่อไปสอนศิษย์ต่อไป

๑๒.

ครูผู้ประกอบพิธีจะเจิมหน้าผาก ประพรมน้ำมนต์ พร้อมให้ของที่ระลึก(ถ้ามี) และกล่าวคำอวยพรให้กับศิษย์ทุกคนที่เข้าพิธีไหว้ครู

๑๓.

ศิษย์ทุกคนจะรำส่งครู ซึ่งนิยมรำโปรยข้าวตอกดอกไม้เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อไป

 ดนตรีและเพลงที่ใช้ประกอบในพิธีไหว้ครูโขน-ละคร

         ดนตรีที่ใช้บรรเลงนิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า ส่วนเพลงที่บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครูเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์อันเป็นเพลงที่ในวงการศิลปินให้ความเคารพ  ผู้ที่บรรเลงได้จะต้องเป็นบุคคลที่มีฝีมือเป็นอย่างดี เพราะถ้าเกิดความผิดพลาดอาจจะมีผลถึงตนเอง ที่เรียกว่า "ผิดครู" ซึ่งเพลงดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับพิธีไหว้ครูเป็นอย่างมาก เป็นเพลงที่จะกำหนดอัญเชิญครูปัธยาย (ครูเทพเจ้าต่างๆ) มาร่วมในพิธี ซึ่งแต่ละสถานที่อาจมีการกำหนดเพลงเรียงตามลำดับไม่เหมือนกัน เช่น

๑.

เพลงเหาะ เชิญพระอิศวร

๒.

เพลงกลม เชิญเทพเจ้า

๓.

เพลงโคมเวียน เชิญเทวดาทั่วๆ ไป

๔.

เพลงบาทสกุณี เชิญพระนารายณ์

๕.

เพลงตระพระปรคนธรรพ เชิญพระปรคนธรรพ (ครูดนตรี)

๖.

เพลงตระองค์พระพิราพเต็มองค์ เชิญองค์พระพิราพ

๗.

เพลงคุกพาทย์ เชิญครูยักษ์ใหญ่ทั่วไป

๘.

เพลงดำเนินพราหมณ์ เชิญผู้ทรงศีล

๙.

เพลงช้า-เพลงเร็ว เชิญครูมนุษย์

๑๐.

เพลงเชิดฉิ่ง เชิญครูนาง

๑๑.

เพลงกราวนอก เชิญครูวานรหรือพานร

๑๒.

เพลงกราวใน เชิญครูยักษ์ทั่วไป

๑๓.

เพลงกราวตะลุง  เชิญครูแขก

๑๔

เพลงโล้  เชิญครูที่เดินทางน้ำ

๑๕.

เพลงเสมอเถร  เชิญครูฤษีขึ้นสู่ที่ประทับ

๑๖.

เพลงเสมอมาร  เชิญครูยักษ์ขึ้นสู่ที่ประทับ

๑๗.

เพลงเสมอเข้าที่  เชิญครูที่มิได้เจาะจงว่าเป็นใครสู่ที่ประทับ

๑๘.

เพลงเสมอผี  เชิญวิญญาณที่เกี่ยวข้องด้านนาฏศิลป์ดนตรีขึ้นสู่ที่ประทับ

๑๙.

เพลงแผละ  เชิญสัตว์ปีกใหญ่ เช่น ครุฑ มาในพิธี

๒๐.

เพลงลงสรง  เชิญครูที่มาทุกองค์ลงสรงน้ำ

๒๑.

เพลงนั่งกิน  เชิญครูที่มาประชุมทุกองค์กินเครื่องเสวย

๒๒.

เพลงเซ่นเหล้า  เชิญครูที่มาประชุมทุกองค์ดื่มสุรา

๒๓.

เพลงช้า-เพลงเร็ว  เชิญทุกคนที่มาร่วมพิธีรำถวาย

๒๔.

เพลงกราวรำ  เชิญศิษย์ทุกคนรำเพื่อเป็นสิริมงคลและส่งครูกลับ

๒๕.

เพลงพระเจ้าลอยถาด  ส่งครูกลับ

๒๖.

เพลงมหาชัย  บรรเลงส่งท้ายเพื่อความสามัคคี

เครื่องดนตรีชนิดใดที่เปรียบเป็นเครื่องแทนพระประคนทำในพิธีไหว้ครู

มรทงค์หรือ ตะโพน เป็นสิ่งแทนดุริยเทพที่นักดนตรีไทยนับถือมาก คือ พระปรคนธรรพ อีก ทั้ง ตะโพนจะเป็นผู้ขึ้นเพลงสาธุการซึ่งเปรียบได้กับเพลงครูของนักดนตรีไทย เมื่อนักดนตรีไทยได้ยินเสียง ตะโพนขึ้นเพลงสาธุการจะพนมมือไหว้เพื่อแสดงความเคารพครู

เครื่องดนตรีประจำพระประคนธรรพคือเครื่องดนตรีใด

ตะโพนนี้ ถือเป็นบรมครูทางดุริยางคศิลป์ นับว่าพระประโคนธรรพ เป็นครูตะโพน เมื่อจะเริ่มการบรรเลง จะต้องนำดอกไม้ธูปเทียน บูชาตะโพนก่อนทุกครั้ง และถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมา เหตุที่ต้องกราบใหว้บูชาก็เพราะ ตะโพนเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงร่วมกับ สังข์ บัณเฑาะว์ และ มโหระทึก ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำองค์ของเทพเจ้า และสมมุติเทพ ...

เครื่องดนตรีใดที่เป็นตัวแทนของบรมครูดนตรี *

ตะโพน ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ทำด้วยไม้และหนัง เป็นเครื่องกำกับจังหวะ ที่ใช้อยู่ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งคู่กับกลองทัด เชื่อกันว่า ตะโพนเป็นตัวแทนของบรมครูทาง ดุริยางคศิลป์ คือ พระปรคนธรรพ ผู้ที่มีคนแรก คือ พระคเณศ ซึ่งยกย่องว่า เป็นเทพเจ้า แห่งศิลปศาสตร์ เมื่อนำตะโพนเข้ามาผสมกับวงปี่พาทย์ จึงต้องเคารพนับถือ เป็นบรม ...

วงดนตรีในข้อใดที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครู

ตามแบบแผนประเพณีโบราณ การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ต้องใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็งเท่านั้น โดยเฉพาะ ในพิธีไหว้ครูดนตรีไทยจะใช้วงปี่พาทย์ประเภทอื่นไม่ได้ แต่หากนำเพลงตระไหว้ครูดนตรีไทยไปใช้บรรเลง ในกิจกรรมอื่น เช่น ละคร และการแสดงต่างๆ ก็อาจใช้วงปี่พาทย์ประเภทอื่นๆ ได้ เช่น วงปี่พาทย์ ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์ไม้นวม เป็นต้น ในที่นี้จะ ...