โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

.. อีกทั้งยังตั้งอยู่บริเวณที่มีลำน้ำลึกใกล้ทะเล ถ้าข้าซึกไม่มีทัพเรือที่เข้มแข็งก็ยากที่จะตีเมืองธนบุรีได้ .. ทั้งนี้โปรดเกล้าฯให้ขยายเมืองออกไป กรุงธนบุรีจึงมีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลักษณะเป็นเมืองอกแตก มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านตรงกลางอาณาเขตของเมือง ครอบคลุมทั้งสองฝั่งลำน้ำเจ้าพระยา ในพุทธศักราช 2310

.. ด้านบน คือ แผนที่แสดงลำน้ำเจ้าพระยาพร้อมแสดงตำแหน่งเมืองต่างๆ รวมถึงเมืองบางกอก สมัยสมเด็จพระนารายณ์ เขียนโดยอาศัยข้อมูลสำรวจของ มองซิเออร์ เดอ ลา มาร์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวรใหม่ 12 ห้อง เผยภาพประวัติศาสตร์ ศิลปะช่างหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในรูปลักษณ์ที่สวยงาม และทันสมัย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวรใหม่ 12 ห้อง เผยภาพประวัติศาสตร์ ศิลปะช่างหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในรูปลักษณ์ที่สวยงาม ทันสมัย และยังคงคุณค่าความสำคัญของมรดกศิลปะชิ้นเอกของชาติ

โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เปิด 12 ห้องนิทรรศใหม่ ไฉไลกว่าเดิม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งอยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงละครแห่งชาติ ตรงข้ามสนามหลวง โดยล่าสุดได้เปิดห้องนิทรรศการเพิ่มอีก 12 ห้อง หลังจากปรับปรุงครั้งใหญ่มาตั้งแต่ปี 2555 ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุของแท้ ผลงานชิ้นเอกของมนุษยชาติบนผืนแผ่นดินไทยในแต่ละยุคสมัย รวมถึงหมู่พระที่นั่งต่าง ๆ พร้อมออกแบบแสงไฟ ให้ผู้ชมเห็นความงาม 360 องศา มีการนำเทคโนโลยี เข้ามาช่วยสื่อสารเนื้อหาจากตัววัตถุแก่ผู้ชมอย่างพอเหมาะ ทั้งทัชสกรีน วีดิทัศน์ และ แอพพลิเคชั่น QR-Code / AR-Code โดยไม่บดบังสุนทรียภาพของตัววัตถุที่จัดแสดง

  • อาคารหมู่พระวิมาน

จัดแสดงนิทรรศการศิลปะไทยประเพณี ดังนี้

1. พระที่นั่งบูรพาภิมุข จัดแสดงเครื่องศัสตราวุธโบราณ ศิลปะงานช่างหลวงประเภทเครื่องศัสตราวุธ ประกอบด้วยอาวุธโบราณประเภทต่างๆ ที่เคยใช้ในการสงครามตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์ โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ได้แก่ ตำราพิชัยสงครามสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จัดแสดงพร้อมหุ่นจำลองการจัดกระบวนทัพแบบครุฑ ตามตำราพิชัยสงคราม

2. พระที่นั่งวสันตพิมาน (ชั้นบน) จัดแสดงเครื่องที่ประทับวังหน้า จัดวางเครื่องเรือนโบราณผลงานศิลปะงานช่างหลวงหลายสาขา ที่รวบรวมไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคลมาแต่ต้น จำลองรูปแบบและบรรยากาศพระวิมานที่ประทับในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

3. พระที่นั่งวสันตพิมาน (ชั้นล่าง) จัดแสดงเครื่องถ้วยในราชสำนัก ภาชนะเครื่องถ้วยในสำรับสำหรับราชสำนักสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

4. พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข จัดแสดงเครื่องโลหะศิลป์  ที่ได้รับเทคนิคงานช่างจากต่างชาติ เข้ามาผสมผสานภายใต้รูปแบบศิลปะช่างไทย ได้แก่ งานถมเงิน งานถมทอง งานถมปัด งานกะไหล่ งานดุนทอง-เงิน และเครื่องบังกะลอ

ภาชนะเครื่องใช้ประเภทเครื่องโลหะศิลป์ไทย มักสร้างด้วยความประณีต เพื่อถวายพระมหากษัตริย์ ใช้เป็นเครื่องประกอบอิสริยยศพระบรมวงศานุวงศ์ เครื่องยศขุนนาง และเครื่องใช้พระสงฆ์

5. พระที่นั่งปฤษฎางคภิมุข จัดแสดงเครื่องสัปคับ คือ ที่นั่งบนหลังช้าง พาหนะในอดีตของไทย

6. มุขเด็จ จัดแสดงเครื่องไม้แกะสลัก ศิลปะไม้แกะสลักชิ้นสำคัญ ได้แก่ บานประตูพระวิหารวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร ผลงานฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

7. พระที่นั่งอุตราภิมุข จัดแสดงอิสริยพัสตราภูษาภัณฑ์ โบราณวัตถุชิ้นสำคัญในนิทรรศการ ได้แก่ ฉลองพระองค์ครุยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นต้น

8. พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นบน) จัดแสดงเครื่องใช้ในพุทธศาสนา

9. พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นล่าง) จัดแสดงศิลปะเครื่องมุก เครื่องใช้ เครื่องเรือนประดับมุก ที่จัดแสดงในนิทรรศการนี้ล้วนเป็นเครื่องใช้ในพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น เครื่องมุกในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ฯลฯ

10. พระที่นั่งทักษิณาภิมุข จัดแสดงเครื่องมหรสพและการละเล่น

  • อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์

จัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์โบราณคดีในประเทศไทยหลังพุทธศตวรรษที่ 18 ดังนี้

ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปะแห่งกรุงศรีอยุธยา จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นเอก สื่อสารเนื้อหาประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองยาวนานถึง ๔๑๗ ปี ทั้งความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง ความเจริญทางเศรษฐกิจในฐานะเมืองท่าการค้าของภูมิภาคเอเชีย ความรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา ก่อเกิดฝีมือช่างภายใต้ความศรัทธา สะท้อนผ่านพุทธศิลปกรรมอยุธยา อันเป็นเอกลักษณ์ เป็นรากฐานของศิลปกรรมรัตนโกสินทร์ในยุคต่อมา ซึ่งพัฒนาต่อไปเป็นศิลปะประจำชาติไทยในปัจจุบัน

ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปะแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสื่อสารประวัติศาสตร์เหตุการณ์การเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งของอาณาจักรคนไทยในนามกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ การสร้างบ้านเมืองใหม่บนรากฐานวิทยาการความรู้ ลักษณะสังคม ศิลปกรรมจากครั้งบ้านเมืองยังดี ณ กรุงเก่า หรือกรุงศรีอยุธยา ก่อร่างสังคมไทยใหม่ท่ามกลางสงครามรอบด้าน การค้าขายนานาชาติ สัมพันธไมตรีทางการค้ากับจีน อินเดีย และชาวยุโรป เป็นต้น

ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เวลา 09.00-16.00 น. ทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (ยกเว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

รัตนโกสินทร์เกิดในสมัยใด

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325. อาณาจักรรัตนโกสินทร์

โบราณวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ มี อะไร บ้าง

10 โบราณวัตถุไฮไลต์ Night Museum ฉลอง 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์.
พระที่นั่งบุษบกเกริน ... .
พระพุทธสิหิงค์ แห่งวังหน้า ... .
พระคเณศปางคณปติ ... .
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะศรีวิชัย ... .
ตะเกียงโรมันเทพเจ้าไซเลนุส ... .
หลวงพ่อศิลาขาว ศิลปะทวารวดี.

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่ในช่วงรัชกาลใด

การพัฒนาของไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หมายถึง ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ซึ่งนับว่าเป็นระยะเชื่อมต่อระหว่างประวัติศาสตร์ไทยยุคเก่ามาสู่การปฏิรูป และพัฒนาประเทศตามแบบอารยธรรมตะวันตกในยุคปัจจุบัน ความเจริญในด้านต่างๆ ในช่วงนี้คือ - การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด

ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นหมายถึงช่วงเวลาใด

ด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระหว่าง พ.ศ. 2325–2394 สมัยปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ระหว่าง พ.ศ. 2394–2475 และสมัยประชาธิปไตย ระหว่างพ.ศ. 2475–ปัจจุบัน