วิเคราะห์ คุณค่า กาพย์ห่อโคลงประพาส ธารทองแดง ppt

คุณค่าด้านเนื้อหา

๑.ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดริ้วขบวนเสด็จ 

๒.ได้รับความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของสัตว์

๓.สะท้อนให้เห็นสภาพความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ

๔.ได้รู้จักชื่อพรรณไม้และสัตว์ชนิดต่าง ๆ

คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑.การใช้คำให้เกิดจินตภาพ

๒.การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ

๓.การเลือกใช้คำที่มีเสียงสระเดียวกัน

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การอ่านเรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง จะต้องวิเคราะห์ วิจารณ์ และสรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ เพราะ การสรุปความรู้และการนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงจะทำให้การอ่านวรรณคดีเรื่องนั้น ๆ เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและรู้จักแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด
ท 5.1    ม. 2/3  อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
 ม. 2/4  สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
จุดประสงค์
- นักเรียนสามารถอธิบายคุณค่าของวรรณคดี เรื่องกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงได้  
- นักเรียนสามารถสร้างผังความคิดสรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านวรรณคดีเรื่องกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงได้
- นักเรียนเห็นความสำคัญของการศึกษาวรรณคดีไทย   

การวัดผลและประเมินผล

แบบประเมินการเขียนแผนภาพความคิด 
-เกณฑ์การประเมินการอธิบายคุณค่าของวรรณคดีเรื่องกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
 

วิเคราะห์ คุณค่า กาพย์ห่อโคลงประพาส ธารทองแดง ppt

Ji-chat.sa Download PDF

  • Publications : 47
  • Followers : 1

วิเคราะห์คุณค่ากาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

วิเคราะห์คุณค่ากาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

View Text Version Category : All

  • Follow

  • 0

  • Embed

  • Share

  • Upload

งานนำเสนอเรื่อง: "กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

2 ด.ช. จิรวัฒน์ สิทธินามสุวรรณ ม.๒๐๑ เลขที่ ๒๖ เสนอ
จัดทำโดย ด.ช. จิรวัฒน์ สิทธินามสุวรรณ ม.๒๐๑ เลขที่ ๒๖ เสนอ คุณครูผุสสดี ธุวังควัฒน์ รายงานวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย ๒ (ท๓๒๑๐๑) ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

3 ประวัติและความเป็นมาของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
สรุปเนื้อเรื่องในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง วิเคราะห์ศิลปะการประพันธ์ของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง การศึกษาธรรมชาติผ่านศิลปะการประพันธ์ คุณค่าและข้อคิดในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

4 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
คณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาทำรายงานวิชาการชิ้นนี้ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และคุณค่าต่างๆที่พบในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง โดยจะทำการศึกษาในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ ประวัติและความเป็นมาของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง สรุปเนื้อเรื่องในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง วิเคราะห์ศิลปะการประพันธ์ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง การศึกษาธรรมชาติผ่านศิลปะการประพันธ์ของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง และคุณค่ากับข้อคิดต่างๆที่กวีต้องการจะสั่งสอนผู้อ่าน ทางคณะผู้จัดทำได้คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่ได้อ่านรายงานวิชาการนี้ จะสามารถอ่านวรรณคดีทุกเรื่องได้อย่างได้อรรถรส สามารถพบคุณค่าที่แท้จริงของวรรณคดีเรื่องต่างๆได้ และสามารถนำคุณค่าและข้อคิดเหล่านั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

5 ประวัติและความเป็นมาของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
ประวัติผู้แต่ง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ ไชยเชษฐสุริยวงศ์ มีพระนามที่ถูกเรียกอย่างเป็นสามัญว่า “เจ้าฟ้ากุ้ง” เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ และสมเด็จพระพันวัสสาใหญ่ ซึ่งโปรดให้สถาปนาเป็น กรมหลวงอภัยนุชิต เมื่อสมเด็จพระราชบิดาได้ขึ้นครองราชย์แล้ว จึงพระราชทานพระอิสริยยศเจ้าฟ้าธรรมธิเบศเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามว่า เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเสนาพิทักษ์ ในปี พ.ศ. ๒๒๗๖ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ ทรงเป็นกวีเอกองค์หนึ่งของไทย พระองค์ทรงนิพนธ์บทร้อยกรองไว้หลายเรื่อง เช่น บทเห่เรือ บทเห่เรื่องกากี กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง เป็นต้น

6 บทเห่เรือ

7 บทเห่สังวาสและเห่ครวญ

8 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

9 ความเป็นมา เจ้าฟ้าธรรมธิเบศทรงนิพนธ์ขึ้นขณะที่เจ้าพระองค์ท่าน ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการพระพุทธบาท จากท่าเจ้าสนุก ผ่านตำบลธารทองแดง ซึ่งมีธารน้ำสายหนึ่ง ชื่อว่า “ธารทองแดง” โดยมีเนื้อหาของว่าด้วย การชมธรรมชาติต่างๆ ชมสัตว์ ชมนก ชมสัตว์น้ำ และมีการพรรณนาถึงบรรดาพืชพรรณและสรรพสัตว์ต่างๆที่พบในบริเวณธารทองแดง (ปัจจุบันธารทองแดงอยู่ที่ อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี) ประพันธ์เป็นโคลงสี่สุภาพจำนวน ๑๑๓ บท และกาพย์ยานี ๑๑ อีก ๑๐๘ บท รวมเป็น ๒๒๑ บท

10 กลับหน้าหลัก จุดประสงค์
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงประพันธ์ขึ้นเพื่อมีวัตถุประสงค์ในการพรรณนาถึงลักษณะต่างๆของธรรมชาติ ทำให้บ่งบอกถึงลักษณะของธรรมชาติในบริเวณธารทองแดง ความสวยงาม ความสงบ สามารถเป็นบทเรียนให้กับผู้คนในยุคต่อๆมาได้เป็นอย่างดี และเพื่อเป็นการสอนคนในทั้งในสมัยก่อนและปัจจุบันให้รู้จักการอนุรักษ์ธรรมชาติ สอนให้คนรู้จักรักสิ่งมีชีวิต การใช้สอยเงินทองและทรัพยากรอย่างประหยัด กล่าวคือ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงมีวัตถุประสงค์ให้ผู้อ่านได้คิดไตร่ตรองพิจารณาและนำหลักคำสอนที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน กลับหน้าหลัก

11 สรุปเนื้อเรื่องในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงมีเนื้อเรื่องโดยสังเขปว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศเสด็จตามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาท พระองค์ทรงหยุดพักเพื่อเสวยพระกระยาหาร เมื่อพระองค์เสวยพระกระยาหารจนอิ่มเอิบสบายพระทัยแล้ว จึงเสด็จออกนอกเส้นทางด้วยความลืมตัว เนื่องจากหลงใหลในความสวยงาม และความสงบของธรรมชาติ บรรดานางสนมได้ห้ามไว้ไม่ให้พระองค์เสด็จออกนอกเส้นทาง แต่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศทรงยืนกรานที่จะไปให้ได้ บรรดานางสนมจึงจำต้องยอมให้พระองค์เสด็จตามเส้นทางของพระองค์พร้อมกับทหารบริวารตามอารักขา

12 หลังจากที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศเสด็จออกนอกเส้นทางมาจนถึงชายป่า พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นบรรดาสัตว์ป่าที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ล่ากันเป็นอาหารบ้าง ช่วยกันหาอาหารบ้าง และสภาพความเป็นอยู่ต่างๆ พระองค์ท่านจึงทรงนิพนธ์ “บทชมสัตว์ป่า” ขึ้น โดยเนื้อหามีใจความถึงบรรดาสรรพสัตว์ที่พระองค์ทอดพระเนตรเห็นด้วยพระองค์เอง ซึ่งจะบรรยายถึงลักษณะสภาพความเป็นอยู่ พฤติกรรมต่างๆ ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

13 เมื่อเจ้าฟ้าธรรมธิเบศเสด็จประพาสชายป่าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระองค์ทรงพบนกยูง และเมื่อพระองค์เสด็จต่อไปอีกสักพัก จึงได้พบกับบรรดาสัตว์ปีกอื่นๆ พระองค์ทรงสังเกตสัตว์ปีกเช่นเดียวกับสังเกตสัตว์ป่า เมื่อพระองค์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ปีกเหล่านี้ พระองค์ท่านจึงทรงนิพนธ์ “บทชมนก” ขึ้น โดยมีเนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่พระองค์ทรงสังเกตเห็นมา

14 ในขณะที่พระองค์กำลังชมสัตว์ปีกเหล่านี้อยู่ พระองค์ได้ทรงสังเกตเห็นพืชพรรณซึ่งผลิดอกออกผลอย่างสวยงาม พระองค์จึงทรงเสด็จไปยังดงพืชเพื่อที่จะได้ทอดพระเนตรบรรดาพืชผักต่างๆ ซึ่งในช่วงแรกๆที่พระองค์เสด็จไป พืชพรรณต่างๆล้วนเป็นพืชที่กำลังจะเจริญเติบโตพร้อมที่จะให้ผลในอีกไม่ช้า ต่อมาพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นพืชพรรณผลไม้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น กล้วยไม้ ตาล น้อยหน่า มังคุด เป็นต้น เมื่อพระองค์เสด็จไปได้อีกสักพัก พระองค์จึงทรงเด็ดผลไม้ที่สุกแล้วมาเสวย ซึ่งขณะที่พระองค์กำลังเสด็จประพาสดงพืชพรรณแห่งนี้ พระองค์ทรงสังเกต รูปร่างของพืชพรรณ ลักษณะทางกายภาพ เช่น สีกลิ่น รส ผิว เป็นต้น รวมถึงแม้กระทั่งรสชาติของผลไม้ที่พระองค์ทรงเด็ดมาเสวยระหว่างทาง เมื่อพระองค์ได้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับพืชผักผลไม้เหล่านี้เป็นที่แน่ชัดแล้ว พระองค์ท่านจึงทรงนิพนธ์ “บทชมไม้ดอก ไม้ผล” ขึ้น โดยมีเนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่พระองค์ทรงสังเกตเห็นมา

15 เมื่อพระองค์เสด็จออกจากดงพืชพรรณเหล่านี้แล้ว พระองค์ได้เสด็จมาถึงแม่น้ำแห่งหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของ “ธารทองแดง” พระองค์ได้เสด็จเลียบไปตามธารทองแดงนี้และได้ทอดพระเนตรเห็นบรรดาสัตว์น้ำสัตว์บกในบริเวณนั้นๆรวมถึงพืชน้ำด้วย พระองค์ทรงสังเกตพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่างๆของสิ่งมีชีวิตในบริเวณธารทองแดง เมื่อพระองค์ทรงสังเกตเห็นบรรดาสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นเรียบร้อยแล้วจึงทรงนิพนธ์ “บทชมสัตว์น้ำ หรือบทชมปลา” ขึ้นมา โดยมีเนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่พระองค์ทรงสังเกตเห็นมา

16 หลังจากที่พระองค์เสด็จประพาสธารทองแดงเป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์จึงเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท โดยทรงนิพนธ์โคลงในตอนท้ายของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงเกี่ยวกับตัวของพระองค์ท่านเองซึ่งเป็นผู้แต่ง รวมทั้งเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเสนาพิทักษ์ เจ้าฟ้าต่างกรม (ลูกพี่ลูกน้อง) ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ ได้ชื่นชมและยกย่องกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงที่พระองค์ท่านทรงนิพนธ์ขึ้น รวมทั้งฝากคำสอนถึงผู้อ่านคนอื่นๆว่า “วรรณคดีของพระองค์ท่าน ได้เรียบเรียงด้วยคำที่ไพเราะ ผู้อ่านใดที่รู้วิธีการอ่านวรรณคดี จะสามารถเข้าถึงข้อคิดและจุดประสงค์ที่แท้จริงของวรรณคดีเรื่องนี้ได้ แต่หากใครไม่รู้วิธีการอ่านวรรณคดี หรืออ่านเพียงแค่ใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง จะไม่มีวันเข้าถึงหลักคำสอนที่แท้จริงของวรรณคดีเรื่องนี้ได้ มีแต่จะสร้างความเสียหายเสื่อมเสียให้กับวรรณคดีเรื่องนี้เท่านั้น” กลับหน้าหลัก

17 วิเคราะห์ศิลปะการประพันธ์ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
เอกลักษณ์ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงสามารถสื่อถึงเอกลักษณ์ของมันได้โดยชื่อของมัน หมายถึง วรรณคดีเรื่องนี้ใช้ลักษณะการประพันธ์เป็นกาพย์ห่อโคลง(๑) นอกจากนั้น กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงในการประพันธ์แต่ละบท ไม่เคร่งครัดเรื่องคำเอก-โท หรือสัมผัสมาก แต่นิยมแต่ง “ล้อความ” กัน หมายถึงทั้งกาพย์และโคลงในบทหนึ่งๆ จะสื่อความหมายตรงกัน และใช้คำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันในการประพันธ์ เช่น

18 ลมั่งพรั่งดงกว้าง เขาสองข้างกางโจงโครง
ลมั่งพรั่งดงกว้าง เขาสองข้างกางโจงโครง รูปร่างกวางโอ่โถง ฝีเท้าวิ่งยิ่งกว่ากวาง ฯ ๑๘ ลมั่งเขาคู่ตั้ง กางโกง สองข้างเคียงโจงโครง แตกต้น รูปร่างกวางโอ่โถง ดีกว่า ฝีเท้าวิ่งยิ่งพัน แล่นล้ำเลยกวาง ฯ นอกจากจะมีการแต่งคำประพันธ์ในลักษณะ “ล้อความ” กันแล้ว กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงจะเป็นวรรณคดีที่มี “โคลงกระทู้” เป็นโคลงก่อนส่งท้าย ๓ บท และต่อด้วยโคลงสี่สุภาพส่งท้ายอีก ๒ บท ได้แก่

19 เจ้าฟ้า หนุ่มน้อยราช กุมาร ธรรม์ ธำรงกลอนการ ยั่วแย้ม
๑๐๙ เจ้าฟ้า หนุ่มน้อยราช กุมาร ธรรม์ ธำรงกลอนการ ยั่วแย้ม ธิเบศร์ วราสถาน ไชยเชษฐ สุริยวงศ์ ทรงโคลงแต้ม แต่งไว้วานสงวน ฯ เจ้าฟ้า เลิศล้ำโพธิ์ สมภาร กรมขุน หลวงพญากราน กราบเกล้า เสนา นราบาน ใจชื่น ชมนา พิทักษ์ รักษาเช้า ค่ำด้วยใจเกษม ฯ จบ จนจอมโลกย์เจ้า คืนวัง บ พิตรสถิตบัลลังก์ เลิศหล้า ริ ร่างกาพย์โคลงหวัง ชนโลก อ่านนา บูรณ์ พระโคลงเจ้าฟ้า ธิเบศร์เข้าจงสงวน ฯ

20 การเล่นเสียง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง มีการเล่นเสียงทั้ง พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เช่น การเล่นเสียงพยัญชนะ หัวลิงหมากลางลิง ต้นลางลิงแลหูลิง ลิงไต่กะไดลิง ลิงโลดคว้าประสาลิง ฯ หัวลิงหมากเรียกไม้ ลางลิง ลางลิงหูลิงลิง หลอกขู้ ลิงไต่กะไดลิง ลิงห่ม ลิงโลกฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิง ฯ

21 การเล่นเสียงสระ ดูหนูสู่รูงู งูสุดสู้หนูสู้งู   หนูงูสู้ดูอยู่ รูปงูทู่หนูมูทู ฯ ดูงูขู่ฝูดฝู้ พรูพรู หนูสู้รูงูงู สุดสู้ งูสู้หนูหนูสู้ งูอยู่ หนูรู้งูงูรู้ รูปทู้มูทู ฯ

22 การเล่นเสียงวรรณยุกต์
ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง การเล่นเสียงวรรณยุกต์จะพบได้ในกาพย์ห่อโคลงแต่ละบทเพียงเล็กน้อย แต่จะมีสอดแทรกอยู่ในวรรณคดีเรื่องนี้มากมาย เช่น นกเขาเข้าเคียงคู้ ก่งตอคูคู่ขานขัน   กระทาทักปักกรอกัน บ้างขันไขว่ไล่ลามชน ฯ นกเขาขันคู่คู้ เคียงขยัน คอก่งคูขานขัน คื่นหน้า กระทาทักปักกรอกัน เสียงเฉื่อย ลามไล่ไขว่ขันจ้า แปลกขู้ชนแทง ฯ

23 การเล่นคำ การเล่นคำซ้ำ หัวลิงหมากลางลิง ต้นลางลิงแลหูลิง
หัวลิงหมากลางลิง ต้นลางลิงแลหูลิง   ลิงไต่กะไดลิง ลิงโลดคว้าประสาลิง ฯ หัวลิงหมากเรียกไม้ ลางลิง ลางลิงหูลิงลิง หลอกขู้ ลิงไต่กะไดลิง ลิงห่ม ลิงโลกฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิง ฯ

24 การใช้ภาพพจน์ การเปรียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง
ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง มีลักษณะการพรรณนาและบรรยาย ถึงลักษณะต่างๆของสิ่งมีชีวิต ซึ่งกวีอาจได้คาดการณ์ไว้ว่า หากมีผู้คนที่มาจากต่างแดน หรือลูกหลานที่ไม่รู้ลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดใด กวีจึงต้องมีการอุปมาในเชิง “ดึงลักษณะเด่นที่เหมือนกัน” เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ เช่น กระจายสยายซร้องนาง ผ้าสไบบางนางสีดา   ห่อห้อยย้อยลงมา แต่ค่าไม้ใหญ่สูงงาม ฯ กระจายสยายคลี่ซร้อง นงพงา สไบบางนางสีดา ห่อห้อย ยื่นเลื้อยเฟื้อยลงมา โบยโบก แต่ค่าไม้ใหญ่น้อย แกว่งเยื้องไปมา ฯ

25 กลับหน้าหลัก การเลียนเสียงธรรมชาติ
ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง จะมีการบรรยายและพรรณนาถึงธรรมชาติมากมาย ดังนั้น ในการประพันธ์วรรณคดีเรื่องนี้ การเลียนเสียงธรรมชาติเป็นศิลปะการประพันธ์ชนิดหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้สำหรับงานเขียนประเภทวรรณคดีเกี่ยวกับธรรมชาติ สำหรับกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงได้ใช้ศิลปะการประพันธ์ประเภทเลียนเสียงธรรมชาติ นับว่าเป็นส่วนมากในแต่ละบท เช่น ดูหนูสู่รูงู งูสุดสู้หนูสู้งู   หนูงูสู้ดูอยู่ รูปงูทู่หนูมูทู ฯ ดูงูขู่ฝูดฝู้ พรูพรู หนูสู้รูงูงู สุดสู้ งูสู้หนูหนูสู้ งูอยู่ หนูรู้งูงูรู้ รูปทู้มูทู ฯ กลับหน้าหลัก

26 การศึกษาธรรมชาติผ่านศิลปะการประพันธ์
ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพจำนวน ๑๑๓ บท และกาพย์ยานี ๑๑ อีก ๑๐๘ บท ในแต่ละบทนั้น กวีจะพรรณนาและบรรยายถึงลักษณะต่างๆของสิ่งมีชีวิต พฤติกรรมการล่าเหยื่อ พฤติกรรมการใช้ชีวิต ฯลฯ เช่น

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39 กลับหน้าหลัก

40 คุณค่าและข้อคิดในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
คุณค่าด้านอารมณ์ ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง มีเนื้อหาที่ว่าด้วยการชมธรรมชาติ ชมสัตว์ต่างๆ ชมพืชพรรณต่างๆ กวีได้ใช้บรรยายโวหารและพรรณนาโวหารเพื่อใช้สื่อคุณค่าด้านอารมณ์ของวรรณคดีเรื่องนี้ รวมถึงการเลือกสรรในการเลือกใช้คำต่างๆในการสื่อความหมาย ส่งผลให้วรรณคดีเรื่องนี้สามารถสื่อคุณค่าด้านอารมณ์ได้มากขึ้นพร้อมกับสื่อความหมายไปได้ในเวลาเดียวกัน กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงเป็นงานเขียนที่มีรูปแบบการเขียนในเชิงของ “นิราศ” คุณค่าด้านอารมณ์ของวรรณคดีเรื่องนี้จึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่กวีได้เห็นและประพันธ์ขึ้น ซึ่งกวีได้พรรณนาและอุปมาถึงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ผู้อ่านจะได้รู้จักพืชและสัตว์นานาชนิด ในขณะเดียวกันผู้อ่านสามารถศึกษาวิธีการใช้ถ้อยคำเพื่อการสื่อความหมายและวิธีการเล่นเสียงให้ไพเราะของกวี ทำให้ภาพที่สื่อความออกมานั้นมีชีวิตชีวา รวมถึงแสดงให้เห็นว่า วรรณคดีไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อ เข้าใจยาก และยังส่งผลให้ผู้อ่านติดตามวรรณคดีเรื่องนี้ต่อไป

41 คุณค่าด้านคุณธรรมและข้อคิด
ในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงได้กล่าวถึงลักษณะต่างๆของธรรมชาติ บอกให้ผู้อ่านทราบถึงธรรมชาติอันงดงามที่มีในประเทศไทย กล่าวคือ กวีต้องการที่จะให้ผู้อ่านรู้คุณค่าของธรรมชาติและรู้ที่จะอนุรักษ์มันเอาไว้ ทั้งพืช สัตว์ ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น หากมนุษย์ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ โดยไม่คิดที่จะดูแลความสมดุลและคงสภาพเดิมไว้ มนุษย์จะไม่เหลือทรัพยากรไว้ใช้อีกต่อไป นอกจากมีคุณค่าคุณธรรมเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติแล้ว ยังมีคุณค่าในการอ่านวรรณคดีอีกด้วย ซึ่งกวีได้กล่าวไว้ในโคลงส่งท้าย ซึ่งกล่าวไว้ว่า

42 อักษรเรียงร้อยถ้อย คำเพราะ
ผู้รู้อ่านเสนาะ เรื่อยหรี้ บรู้อ่านไม่เหมาะ ตรงเทิ่ง ไปนา ทำให้โคลงทั้งนี้ ชั่วช้าเสียไป ฯ อักษรสรรค์สร้างช่าง ชุบจาน โคลงก็เพราะเสนาะสาร แต่งไว้ ผู้รู้อ่านกลอนกานท์ พาชื่น ใจนา ผู้บ่รู้อ่านให้ ขัดข้องเสียโคลง ฯ

43 จากบทร้อยกรองข้างต้นนี้ ถอดคำประพันธ์ได้ว่า กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงประพันธ์ด้วยคำที่ไพเราะ ผู้ที่อ่านวรรณคดีเป็นจะทำให้วรรณคดีนี้ได้อรรถรสและเกิดความไพเราะเสนาะหู แต่ผู้ที่ไม่รู้จักวิธีการอ่านวรรณคดีที่แท้จริง จะทำให้วรรณคดีเรื่องนั้นเสียความไพเราะและเสื่อมเสียในที่สุด สรุปความได้ว่า กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง เป็นวรรณคดีประเภทนิราศ มีเนื้อหาที่ว่าด้วยธรรมชาติต่างๆ โดยกวีได้ถ้อยใช้คำที่ไพเราะเพื่อสื่อความหมายและเพื่อสื่อคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้ รวมถึงฝากคำสอนต่างๆถึงผู้อ่านให้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

44 Thank you กลับหน้าหลัก
จากหนังสือ วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ซึ่งเขียนโดยกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวไว้ว่า “วรรณคดีจึงนับได้ว่าเป็นสิ่งที่กล่อมเกลามนุษย์ ให้รู้จักความงาม ความดี และความเป็นจริงของชีวิต” เป็นข้อความที่ช่วยอธิบายขยายความวัตถุประสงค์ของวรรณคดีที่แท้จริง ทำให้ผู้อ่านวรรณคดีรู้จักวิธีการอ่านวรรณคดีว่า การอ่านวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ มิใช่อ่านเพียงแต่จับใจความสำคัญของเรื่องเท่านั้น แต่ต้องอ่านทุกตัวอักษรและอ่านอย่างให้ได้อรรถรส คล้อยตามสถานการณ์และคิดตามไปเรื่อยๆแล้วจะพบกับคุณค่าที่แท้จริงของวรรณคดี เพื่อรักษาความดีความงามของวรรณคดีสืบไว้ให้อนุชนรุ่นหลังคอยติดตามสืบไป Thank you กลับหน้าหลัก

45 บรรณานุกรม หนังสือ ธรรมธิเบศ , เจ้าฟ้า. กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม , ๒๔๙๘. ๔๕ หน้า. ปราณี พานโพธิ์ทอง. วรรณคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น. รายงานวิชาประวัติศาสตร์ไทย ; เล่มที่ ๑. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะอักษรศาสตร์, ๒๕๑๔. ๑๑๓ หน้า. ศิลปากร , กรม. เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ : พระราชประวัติและบทร้อยกรองบางเรื่อง. กรุงเทพฯ : กรม ศิลปากร, ๒๕๒๙. ศิลปากร , กรม. วรรณกรรมสมัยอยุธยา. ๓ เล่ม. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กองวรรณคดีและ ประวัติศาสตร์, ๒๕๒๙. ศิลปากร , กรม. วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๒. ๓ เล่ม. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กองวรรณคดี และประวัติศาสตร์, ๒๕๓๑. ศึกษาธิการ , กรม. วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒. ๖ เล่ม. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๕๐.

46 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ณัฐณิชา หอมหวล. “เนื้อเรื่องกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง”. T5surat. ไม่ปรากฏวันเดือน ปีที่เผยแพร่. โรงเรียนเทศบาล ๕ เมืองสุราษฎ์ธานี. ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒. < เพลินพิศ สุพพัตกุล. “กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง”. Sahavicha. ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒. < วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “กาพย์ห่อโคลง”. วิกิพีเดีย. ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒. มูลนิธิวิกิพีเดีย. ๒๘ ตุลาคม๒๕๕๒. < อุไร อรุณฉาย. “กาพย์ห่อโคลงนิราศทองแดง”. Snr. ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒. โรงเรียนสตรีสุริโยทัย. ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒. < thai/index_1.htm>.