อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น คือ

ช่วงนี้ภาวะเศรษฐกิจไทยได้พลิกจากเรื่อง “ข้าวยากหมากแพง” ไปเป็นเรื่องของ “ค่าเงินบาทอ่อน” กันแล้ว ซึ่งอาจทำให้ใครหลายคนงงว่า ค่าเงินบาทอ่อนคืออะไร หรือมีความหมายอย่างไร และใครบ้างที่ได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าลงบ้าง ไทยรัฐออนไลน์สรุปคำตอบมาให้

ค่าเงินบาทอ่อนคืออะไร

ค่าเงินบาทอ่อน หรือ เงินบาทอ่อนค่า คือ การที่เงินบาทไทยสามารถแลกเป็นสกุลเงินต่างประเทศที่เป็นสกุลหลัก เช่น เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาได้น้อยลง ในทางกลับกันเงินดอลลาร์สหรัฐก็สามารถแลกเป็นเงินบาทไทยได้มากขึ้น หรือเงินบาทไทยมีมูลค่าน้อยลงเมื่อเทียบกับเงินต่างประเทศ

ตัวอย่างเช่น จากเดิมเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2564 เราต้องใช้เงิน 33.43 บาท ก็สามารถแลกเป็นเงินดอลลาร์ได้ 1 ดอลลาร์ แต่ผ่านมาปีนี้ในวันที่ 24 กันยายน 2565 ต้องใช้เงินบาทถึง 37.54 บาท ถึงจะสามารถแลกเงินได้ 1 ดอลลาร์ เท่ากับต้องใช้เงินเพิ่มถึง 4.11 บาทในการแลก 1 เงินดอลลาร์นั่นเอง

เปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดขึ้นอีกคือ หากเราต้องเดินทางไปสหรัฐอเมริกา เราจะแลกเงินดอลลาร์ไปใช้ 1,000 ดอลลาร์ ถ้าค่าเงินบาทเท่ากับปีที่แล้ว เราก็จะใช้เงินเพียง 33,430 บาท แต่หากแลกตอนนี้ที่ค่าเงินบาทอ่อนลงมามาก เราต้องใช้เงินถึง 37,540 บาท

สาเหตุค่าเงินอ่อนเกิดจากอะไร

สาเหตุค่าเงินบาทอ่อนค่าลงนั้นมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก โดยในปี 2022 นี้สรุปได้ว่ามาจากเหตุหลักๆ ดังนี้

  1. ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ เฟด ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบยาแรง โดยปรับขึ้น 5 ครั้งในรอบ 7 เดือน จนเดือนกันยายนมาอยู่ที่ระดับ 3.00-3.25 เปอร์เซ็นต์ และยังจะปรับเพิ่มอีก เพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  2. ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย ที่กำลังเกิดสัญญาณวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก
  3. วิกฤติสงครามยูเครน-รัสเซีย ที่ยืดเยื้อมาแล้วหลายเดือน
  4. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น จนส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ

อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น คือ

นี่เป็นแค่สาเหตุหลัก จนทำให้ผู้คนหันมาถือเงินดอลลาร์ และซื้อพันธบัตรมากขึ้น เนื่องจากมองเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย จนทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น หรือก็คือทำให้ค่าเงินสกุลอื่น รวมทั้งเงินบาทอ่อนลง

ถือเป็นวัฏจักรความเปลี่ยนแปลงของค่าเงินที่ต้องยอมรับ เพราะประเทศไทยใช้ระบบลอยตัวค่าเงินบาทมาตั้งแต่ปี 2540 ที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง จึงทำให้ค่าเงินบาทปรับเปลี่ยนตามความเป็นจริงในการซื้อขายตลาดอัตราแลกเปลี่ยน จากที่ใช้ระบบตะกร้าเงินนั่นเอง

“ค่าเงินบาท” ที่อ่อนค่าลงเวลานี้ ก็ต้องบอกว่า มีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ซึ่งก็เป็นขั้วตรงข้ามของผู้ที่ได้ประโยชน์จากตอน “ค่าเงินบาท” แข็งค่าขึ้นเช่นกัน

ค่าเงินบาทอ่อน ใครได้ประโยชน์

  • ผู้ส่งออกสินค้า เรียกว่าเป็นเบอร์หนึ่งทีเดียวในการรับประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อน เพราะเมื่อมีการส่งสินค้าออกไปแล้ว รับเป็นเงินสกุลตราต่างประเทศเข้ามาจะสามารถแลกเป็นเงินบาทมากขึ้น เช่น จากเดิมส่งออกกำไร 100 ดอลลาร์ แลกเงินไทยได้แค่ 3,500 บาท แต่ปัจจุบันการแลกได้ 3,700 บาท
  • คนทำงานต่างประเทศ หรือรับเงินค่าจ้างเป็นดอลลาร์ เหมือนผู้ส่งออกนั่นเอง เพราะได้รับค่าจ้างค่าแรงเป็นเงินตราต่างประเทศ เมื่อส่งกลับไทยแม้จะมีจำนวนดอลลาร์เท่าเดิม แต่จะทำให้ที่บ้านแลกเป็นเงินไทยได้เพิ่มขึ้น
  • ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว เนื่องจากมีการรับเงินตราสกุลต่างประเทศก็เลยทำให้รายได้ที่เป็นเงินบาทขยับเพิ่มขึ้นเช่นกัน
  • นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง จะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมีกำลังซื้อและกำลังจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น หากนำเงินตราต่างประเทศมาใช้แลกเป็นเงินบาทในการใช้จ่ายในไทย เรียกว่าเป็นช่วงเวลาคุ้มค่าของนักท่องเที่ยวต่างชาติในการเดินทางมาเที่ยวเมืองไทย
  • นักลงทุนที่ถือทองคำในพอร์ตการลงทุน ถือเป็นช่วงจังหวะขายทำกำไร เพราะเป็นวัฏจักรที่ค่าเงินบาทอ่อนลงเมื่อไร ราคาทองคำมีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเสมอๆ

อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น คือ

ค่าเงินบาทอ่อน ใครเสียประโยชน์

เมื่อมีผู้ได้ประโยชน์ก็ย่อมมีผู้เสียประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อน ใครบ้างที่กำลังได้รับผลกระทบในเวลานี้บ้าง

  • ผู้นำเข้าสินค้า เรียกว่ารับไปเต็มประตู เนื่องจากต้นทุนที่ต้องจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเมื่อค่าเงินบาทอ่อนลง ก็ต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อและนำเข้าสินค้า แต่ได้ปริมาณสินค้าเท่าเดิม โดยเฉพาะในหมวดหมู่สินค้าพลังงาน ทั้งน้ำมันและก๊าซ ซึ่งปัญหานี้จะส่งผลต่อเนื่องไปยังราคาพลังงานในประเทศที่ต้องปรับเพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่พ้น โดยไม่นับรวมหากราคาตลาดน้ำมันโลกปรับเพิ่มขึ้นก็จะเป็น 2 เด้ง เกิดภาวะราคาพลังงานสูงขึ้นอีกทันที รวมไปถึงบรรดาบริษัทห้างร้านที่ต้องนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์จากต่างประเทศ เพราะจากเดิมเคยตกลงราคาไว้ แต่เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงก็จำเป็นที่ต้องหาเงินมาเพิ่มเพื่อจ่ายนั่นเอง
  • ผู้ที่มีหนี้ต่างประเทศ ต้องเรียกว่าได้รับผลกระทบสูสีกับผู้นำเข้าเลยทีเดียว เพราะจู่ๆ ดีบัญชีหนี้สินที่ต้องชำระก็งอกเงย เพิ่มภาระขึ้นมายิ่งกว่าดอกเบี้ยเสียอีก ยกตัวอย่าง เคยเป็นหนี้ 100 ดอลลาร์ ใช้เงินบาทแค่ 3,500 บาทก็จ่ายหนี้ได้แล้ว แต่ ณ วันนี้หนี้ก้อนเดิม 100 ดอลลาร์กลับต้องหาเงิน 3,700 บาทถึงชำระได้ กรณีนี้ถ้าใครเป็นหนี้หลักล้าน ร้อยล้าน พันล้าน หากไม่ซื้อประกันความเสี่ยงค่าเงินไว้ลำบากแน่นอน
  • ผู้บริโภค เรียกว่าเป็นผู้รับผลกระทบแบบลูกโซ่จากผู้นำเข้านั่นเอง เพราะเมื่อผู้นำเข้าต้องแบกภาระราคาค่านำเข้าสินค้าสูงขึ้น ก็ย่อมผลักภาระให้กับผู้บริโภค ตอนนี้หากจะซื้อผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศก็ต้องทำใจกับราคาที่จะปรับสูงขึ้น
  • นักเรียน-นักศึกษา-นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มที่จะเดินทางไปเที่ยว หรือศึกษาต่อต่างประเทศ เพราะจะมีต้นทุนที่สูงเพิ่มขึ้น ฉะนั้นคนที่วางแผนดังกล่าวควรต้องเตรียมตัวและเตรียมปัจจัยให้อย่างพร้อมเพียง เพราะนอกจากค่าใช้จ่ายในการไปเที่ยวหรือศึกษาต่อที่ขยับขึ้นแล้ว การซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ในต่างประเทศก็จะมีราคาแพงขึ้นตามด้วย
  • นักลงทุนไทย เมื่อใดที่เงินบาทอ่อนค่า จะทำนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นไทย เนื่องจากกลัวผลการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งจะตรงข้ามกับช่วงค่าเงินบาทแข็งค่า ที่เม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติจะไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เพราะจะได้กำไร 2 ต่อ คือทั้งกำไรจากการแข็งค่าของเงินบาท และกำไรจากการปรับขึ้นของราคาหุ้น

อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น คือ

ดังนั้นนักลงทุนทั้งหลายในช่วงนี้ควรเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มส่งออก เช่น กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน อาหาร เพราะได้ประโยชน์จากการค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ซึ่งจะทำให้มีเงินในมือมากขึ้น และหลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่มพลังงาน โรงไฟฟ้า ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทอ่อนค่า เนื่องจากมีการกู้เงินสกุลเงินดอลลาร์มาใช้

งานนี้เราจึงเห็นได้ว่าไม่ว่าค่าเงินบาทอ่อน หรือแข็งก็ย่อมมีผลกระทบทั้งนั้น เปรียบเหมือนเหรียญสองด้าน หรือช่วงนี้อาจต้องย้อนกลับสู่ยุค ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ หากไม่อยากแบกภาระและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในปัจจุบัน