สังคมผู้ สูงอายุ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

มุมมอง “สังคมผู้สูงอายุ” กับผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม


เผยแพร่ 29 ธ.ค. 2562 ,11:14น.




ในปี 2569 ประเทศไทย จะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ หมายถึงมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป สัดส่วนเกิน 20 % ของประชากรทั้งประเทศ ตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างไร ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ท่ามกลางการตั้งคำถามถึงวางแผนดูแลผู้สูงวัยหลังเกษียณของทุกภาคส่วนในหลายมิติ

ปี 2568 เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีคนชรา 1 ใน 4 ของประชากร

"สังคมผู้สูงวัย" ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เช็กจำนวน "คนแก่" ในอนาคต คาด ทั่วโลกแตะ 2 พันล้านคน

นางโอมจิ้ แซ่ห่าน ชาวไทยเชื้อสายจีน ในวัย 62 ปี ตกอยู่ในสถานะสมาชิกในศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จ. สุพรรณบุรี  หลังลูก2คนไม่มีศักยภาพในการดูแล  แม้จะทำงานรับจ้างมาตั้งแต่ยังสาว แต่กลับไม่มีหลักแหล่ง ไม่มีนายจ้าง เมื่อเข้าสมัครงานในวัยเกษียณจึงไม่มีใครรับทำงาน เธอจึงแจ้งความประสงค์ขอรับการดูแลใช้ชีวิตบั้นปลายที่ศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุแห่งนี้

สังคมผู้ สูงอายุ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจังหวัดสุพรรณบุรี เล่าว่า ที่นี่ตั้งขึ้นเพราะในพื้นที่ มีผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งและไม่มีญาติดูแล ปัจจุบันรับงบประมาณจาก องค์การบริการส่วนจังหวัดปีละ 1 ล้าน 3 แสนบาท แบบปีต่อปี  แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการดูแล แต่ยังไม่มีหน่วยงานราชการใด รับศูนย์นี้อยู่ในสังกัดโดยตรง  ซึ่งกรณีของนางโอมจิ้ แม้จะทำงานเลี้ยงตัวเองได้ แต่ก็ไม่มีผู้ประกอบการรายใดรับทำงาน ประกอบกับเธอไม่มีญาติดูแล จึงได้สิทธิ์มาอยู่ที่นี่

ข้อมูลจาก กรมการปกครอง ระบุ สัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปของไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก  11 ล้านในปัจจุบัน ในปี 2569 จะเพิ่มเป็น 14 ล้านคน หรือคิดเป็น 20 % ของประชากรทั้งประเทศ หรือไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่อัตราการเกิดกลับต่ำลง

สังคมผู้ สูงอายุ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สายงานแรงงาน สะท้อนมุมมองว่า อนาคตภาคแรงงานจะมีสัดส่วนลดลงจากภาวะสังคมผู้สูงอายุ  และจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอน แม้ปัจจุบันกฎหมายจะจูงใจให้ภาคเอกชน รับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อนำรายจ่ายมารับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 2 เท่า แต่ต้องจ้างลูกจ้างไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน และส่วนใหญ่เป็นงานด้านการบริการ เอกชน เสนอควรรัฐสมทบให้สอดคล้องตามเงินเดือนจริงของลูกจ้าง ถึงจะจูงใจมากกว่า

สังคมผู้ สูงอายุ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

สอดคล้องกับข้อมูลจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพราะตามโครงการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ ที่รัฐบาลร่วมมือกับเอกชน 23 หน่วยงาน เมื่อมีนาคม ที่ผ่านมา 3 อันดับแรกที่ผู้สูงอายุได้รับการบรรจุงานในเดือน กันยายน 2562 คือ แรงงานด้านการผลิต แม่บ้าน และ พนักงานบริการลูกค้า  รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 11,432 บาท  เป้าหมายตลอดปี 2562 คือ บรรจุให้ได้ 100,000 ราย แม้มีผู้แจ้งความจำนงค์หลายหมื่นคน แต่ขณะนี้ได้การบรรจุ 3,900 คน โดยสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะงบประมาณน้อย

นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ แนะนำว่า  รัฐบาลจำเป็นต้องยกระดับในการให้ความรู้ทางเงินกลุ่มคนทำงานสำหรับวัยเกษียณ ส่วนในกลุ่มผู้สูงอายุที่เก็บเงินเกษียณไม่ทัน ต้องปรับโครงสร้างการจ้างงานเพิ่มตำแหน่งงานและวางระบบสวัสดิการให้รอบคอบ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือกับจากภาคเอกชนด้วย 

นอกจากนี้ ภาครัฐ ต้องเร่งวางแผน  เรื่องการวางโครงสร้างการจ้างงานผู้สูงอายุในตรงกับลักษณะงานในยุคที่มีเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้วย เพราะทันทีที่ผู้ประกอบการเปลี่ยนรูปแบบการบริหารธุรกิจ สามารถใช้หุ่นยนต์เข้ามาแทนที่มนุษย์ได้ในราคาที่ถูกกว่า ทักษะของการทำงานในระดับปกติ เช่นงานบริการ ก็อาจไม่มีความจำเป็นในตลาดแรงงานอีกต่อไป

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline

ารเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเป็นประเด็นที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสนใจและกำหนดเป็นหนึ่งในเป้าหมายเร่งด่วนที่ต้องดูแล เนื่องจากโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปย่อมส่งผลกระทบต่อหลายด้าน โดยในส่วนของเศรษฐกิจมีโอกาสที่จะกระทบทั้งความต้องการบริโภคสินค้าและบริการ กำลังแรงงาน รวมถึงการออมและการลงทุนให้ลดลง ประเทศไทยนับเป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ และอาจใช้เวลาเพียงอีก 10 ปีต่อจากนี้ในการก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มที่1  

สังคมผู้ สูงอายุ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

ช่วงที่ผ่านมาผู้เขียนมีโอกาสได้ศึกษาข้อมูลรายได้และการใช้จ่ายของครัวเรือนไทย 2 พบว่าการบริโภคโดยรวมจะลดลงเมื่อไทยกลายเป็นสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ เนื่องจากครัวเรือนที่มีผู้สูงวัยเป็นสมาชิกมีรายได้และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนต่ำกว่าครัวเรือนที่ไม่มีผู้สูงวัยเป็นสมาชิกค่อนข้างมาก แต่หากมาดูประเภทการบริโภค พบว่าครัวเรือนผู้สูงวัยยังคงมีความต้องการสินค้าพื้นฐานในการดำรงชีวิต แต่อาจเป็นสินค้าและบริการที่แตกต่างออกไป จึงขอมาเล่าสู่กันฟังและชวนคิดเพิ่มเติมถึง “โอกาสทอง” ของภาคธุรกิจที่ซ่อนอยู่ภายใต้ความท้าทายนี้

ธุรกิจที่มีโอกาสสูง คือกลุ่มสินค้าและบริการที่ครัวเรือนผู้สูงวัยมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าครัวเรือนที่ไม่มีผู้สูงวัยค่อนข้างมาก ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ โดยเห็นแนวโน้มการบริโภควิตามินและอาหารเสริมเพิ่มขึ้น การก่อสร้างและซ่อมแซมที่อยู่อาศัย เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและลดการเกิดอุบัติเหตุ บริการสาธารณสุขและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ เช่น ธุรกิจประกัน การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ เป็นต้น

ธุรกิจที่มีโอกาสแต่ต้องปรับตัว คือ กลุ่มสินค้าที่ครัวเรือนที่มีผู้สูงวัยเป็นสมาชิกมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของครัวเรือนทั้งหมด แต่ยังเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่ต้องการ เช่น ยานพาหนะส่วนบุคคล แม้ครัวเรือนผู้สูงวัยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลลดลง แต่ค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้บริการรถสาธารณะประเภทรถรับจ้างไม่ประจำทางกลับเพิ่มสูงขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงวัยส่วนใหญ่ยังคงต้องการความสะดวกสบายในการเดินทางหรืออาจมีข้อจำกัดด้านร่างกาย จึงเป็นโอกาสของธุรกิจบริการ Ride sharing และรถยนต์ที่มีระบบอัตโนมัติช่วยอำนวยความสะดวก เช่น รถที่มีที่นั่งเป็นวีลแชร์ รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ  นอกจากนี้ ผู้เขียนเห็นว่า ธุรกิจให้บริการอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุก็มีศักยภาพ แม้จะไม่ได้ถูกกล่าวถึงในงานศึกษา อาทิ บริการพาไปพบแพทย์หรือไปเที่ยว บริการดูแลผู้สูงวัย เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเริ่มเห็นบางค่ายรถยนต์จับมือกับโรงพยาบาลทำธุรกิจบริการรับส่งผู้ป่วยเพื่อต่อยอดธุรกิจเดิม การให้บริการเหล่านี้นอกจากเป็นโอกาสต่อยอดของภาคธุรกิจแล้ว ก็เพิ่มทางเลือกในการทำงานให้แก่กลุ่มแรงงานอิสระที่พร้อมจะ reskill ให้เหมาะกับความต้องการในตลาดแรงงานด้วยเช่นกัน

 

สังคมผู้ สูงอายุ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดยธนาคารแห่งประเทศไทย, 2565

หากจะชวนคิดต่อยอด ผู้เขียนเห็นว่าธุรกิจที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงในงานวิจัยนี้ก็ยังมีโอกาสซ่อนอยู่ หากมีการปรับลักษณะของสินค้าและบริการให้เหมาะสม เช่น ธุรกิจการศึกษา เนื่องจากการเปลี่ยนไปสู่สังคมผู้สูงวัยส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะ ผู้สูงอายุที่ยัง active แต่มีเงินเก็บไม่มากน่าจะยังมีความต้องการทำงานเพื่อให้มีรายได้ ซึ่งผู้สูงวัยกลุ่มนี้จะต้องการการศึกษาที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิมเพื่อ upskill หรือ reskill ให้กับตนเองเพื่อให้ยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน 

ผู้บริโภคที่จะเข้าถึงสินค้าและบริการที่กล่าวมาอาจมีเพียงผู้สูงวัยที่มีรายได้ปานกลางถึงสูงเท่านั้น ซึ่งครัวเรือนกลุ่มนี้อาจเป็นสัดส่วนไม่มากในสังคมไทย เพราะปัจจุบันสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงวัยยังมีอุปทานน้อยและราคาสูง จึงยังต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งด้านการลงทุนและการวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ที่หลากหลายและมีคุณภาพ รวมถึงผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่อเอื้อให้ธุรกิจมีโอกาสและความคล่องตัวในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ โดยอุปทานที่เพิ่มขึ้นในอนาคตจะช่วยให้ราคาสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงวัยลดลงจนครัวเรือนผู้สูงวัยทุกประเภทสามารถเข้าถึงได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้สินค้าไทยไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศ อาทิ สหรัฐฯ ที่เป็น

คู่ค้าสำคัญและจะกลายเป็นสังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ ซึ่งภาคธุรกิจของไทยที่พร้อมคว้าโอกาสและปรับตัว ก็จะสามารถเติบโตไปพร้อมกับเทรนด์ใหม่ของโลกนี้ด้วยกัน

อ้างอิง

1 ตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ (Aged Society) คือ ประเทศที่มีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด ขณะที่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) คือ ประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด

2 รังสิมา ศรีสวัสดิ์ (2565) “โอกาสและแนวทางสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยภายใต้การเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมผู้สูงวัย” Focus and Quick (FAQ) Issue 194, ธนาคารแห่งประเทศไทย  

ผู้เขียน :
ดร. กิ่งกาญจน์ เกษศิริ
รังสิมา ศรีสวัสดิ์
ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ 

คอลัมน์ “ร่วมด้วยช่วยคิด”
นสพ.ประชาชาติธุรกิจ 25-27 กรกฎาคม 2565

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

>> Download PDF

ผู้สูงอายุส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร

ทางด้านอุปทาน การเป็นสังคมผู้สูงอายุอาจนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต เนื่องจากอัตราการเกิดที่ต่ำและการชราภาพของแรงงานจะทำให้กำลังแรงงานในอนาคตมีจำนวนที่ลดลง และยิ่งประชากรมีอายุมากขึ้นเลยวัยกลางคนก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานน้อยลง ทั้งนี้ ในกลุ่มของผู้สูงวัยจากสถิติมีเพียงร้อยละ 37.9 ของ ...

สังคมสูงวัยส่งผลกระทบอย่างไร

การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุผู้สูงอายุในประเทศไทยส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งทางด้าน เศรษฐกิจและด้านสังคม กล่าวคือ การลดลงของแรงงาน ผลผลิตและรายได้ที่ลดลง ความยากล าบากในการ ด ารงชีพ ขาดการส่งเสริมด้านคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อันเป็นเหตุปัจจัยที่ต้องแสวงหาแนวทางในการ แก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทยให้พร้อมเป็น ...

ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

ปัญหาด้านสังคมพบว่า มีผู้สูงอายุยากจน จานวนมากที่เจ็บป่วยและถูกทอดทิ้ง ส่งผลต่อด้าน จิตใจ คือ กังวลใจ ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย ผู้ให้ข้อมูล มีความเห็นว่าสาเหตุเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ของสังคมทั้งโครงสร้าง ค่านิยมและเศรษฐกิจโดย สังคมชนบทปัจจุบันก าลังกลายเป็นสังคมเมือง ขนาดครอบครัวเปลี่ยนจากครอบครัวขยายเป็น ครอบครัวเดี่ยว ...

เศรษฐกิจผู้สูงวัย คืออะไร

เศรษฐกิจผู้สูงวัย (silver economy) คือ ระบบเศรษฐกิจส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นสำหรับผู้สูงวัย ทั้งผลิตภัณฑ์ บริการ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ โดยผู้สูงวัยในที่นี้มักนับรวมผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป (อ้างอิงจาก The Silver Economy - Final Report (2018) ของ The European Commission)