อายุ การ ใช้ งาน ครีม กันแดด

มองไปที่โต๊ะเครื่องแป้ง สะดุดกับสกินแคร์ที่เคยซื้อมาเมื่อปีที่แล้ว มือจะหยิบเอามาใช้ แต่ใจก็แอบลังเลว่ามันยังใช้ได้อยู่มั้ยนะ?

ใครอยู่แก๊งค์คนชอบซื้อเหมือนกันบ้างคะ? บ้าซื้อ “สกินแคร์” แล้วสุดท้ายก็ใช้ไม่หมด จะทิ้งก็เสียดาย “เก็บไว้ก่อนเดี๋ยวกลับมาใช้” หรือบางครั้งได้ใหม่ลืมเก่าก็มี พอจะมานั่งเก็บโต๊ะเครื่องแป้งทีก็ต้องมาปวดหัวว่า เอ๊ะ! มันเสื่อมสภาพหรือหมดอายุหรือยังนะ

มาทำความเข้าใจระหว่าง “เสื่อมสภาพ” กับ “หมดอายุ” ก่อนนะคะ สกินแคร์เสื่อมสภาพนั้นหมายถึงยังใช้สกินแคร์นั้น ๆ ได้อยู่ เพียงแต่สรรพคุณหรือคุณภาพอาจจะไม่เหมือนเดิม 100% ยิ่งถ้าปล่อยให้สกินแคร์เสื่อมสภาพเร็วก็อาจจะนำไปสู่การหมดอายุที่เร็วขึ้นด้วยเช่นกัน และถ้าฝืนใช้สกินแคร์ที่หมดอายุก็อาจจะเสี่ยงกับปัญหาหน้าพังได้ด้วยค่ะ

และโดยปกติสกินแคร์ทั่วไปถ้ายังไม่ได้เปิดใช้งาน (shelf life) จะมีอายุ 3-5 ปีนับจากวันที่ผลิต แต่ถ้าเปิดใช้งานแล้วก็จะอยู่ได้ต่ำ ๆ ประมาณ 6 เดือน - 1 ปีครึ่งนับจากวันที่เปิดใช้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทและแบรนด์ด้วยนะคะ และสาเหตุที่สกินแคร์มีอายุอยู่ได้นานก็เพราะมีส่วนผสมอย่างสารกันเสียนั้นเอง

อายุ การ ใช้ งาน ครีม กันแดด

“การเสื่อมสภาพของสกินแคร์นำไปสู่การหมดอายุที่เร็วขึ้น”

     ทฤษฎีทั้งหมดที่ว่ามานั้นก็ใช่ว่าจะเป๊ะ ๆ ไปสักทุกอย่างนะ บางครั้งสกินแคร์ที่เราซื้อมาก็อาจจะเสื่อมสภาพก่อนวันหมดอายุก็เป็นได้ นั้นก็เพราะมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน อย่างเช่น

  • อุณหภูมิในการเก็บรักษา : เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้สกินแคร์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น ควรเก็บรักษาสกินแคร์ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิห้องก็ได้ โดยเลี่ยงแสงแดด/ความร้อนจัด ๆ และไม่แนะนำให้เก็บในตู้เย็นนะคะ

  • เปิดฝาสกินแคร์ทิ้งไว้นาน : เพราะในอากาศมีทั้งความชื้นและเชื้อแบคทีเรีย เมื่อเราเปิดใช้สกินแคร์และทิ้งไว้นาน ๆ ความชื้นและแบคทีเรียจะลงไปสัมผัสกับเนื้อของครีม เพราะฉะนั้นใช้เสร็จก็อย่าลืมรีบปิดกันนะคะ

  • ใช้นิ้วมือสัมผัสกับเนื้อผลิตภัณฑ์ : สาเหตุที่หลาย ๆ แบรนด์ให้ “ไม้พาย” สำหรับตักครีมมาด้วยนั้นก็เพราะว่านิ้วของเราบางครั้งก็อาจจะไม่ได้สะอาดเสมอไป และอุณหภูมิของเราก็อาจจะเป็นตัวแปรที่ทำให้สกินแคร์เสื่อมสภาพด้วยนั้นเอง


กว่าจะรู้ตัวว่าสกินแคร์เสื่อมสภาพหรือหมดอายุแล้วนั้น ผลลัพธ์ของมันก็มาขึ้นอยู่บนหน้าของเราแล้วจ้า และเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ “หน้าพัง” เกิดขึ้น ChoiceChecker เลยมีเทคนิคในการสังเกตสกินแคร์ว่าเสื่อมสภาพแล้วหรือยังมาฝากกันค่ะ

1. สกินแคร์ประเภทที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก ประเภทนี้ก็จะแบ่งออกเป็น 2 จำพวกใหญ่ ๆ นั้นก็คือ..
 

  • จำพวกที่ 1หนืดน้อย เหลวเหมือนน้ำ ได้แก่ คลีนซิ่งวอเตอร์ / โทนเนอร์ / โลชั่น / เอสเซ้นส์ (อายุการใช้งานอยู่ที่ 1 ปีนับจากวันที่เปิดใช้)

การสังเกตว่าผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำเริ่มเสื่อมสภาพแล้วหรือยัง ให้ดูว่าสีของผลิตภัณฑ์เริ่มมีการเปลี่ยนไปมั้ย ตกตะกอน?หรือเปล่า (ถ้าแต่เดิมไม่มีการตกตะกอน) ถ้าบางตัวแต่เดิมมีสีขุ่นอยู่แล้วก็อาจจะต้องดูเรื่องของกลิ่นว่ายังคงเดิมเหมือนตอนที่ซื้อมาใหม่ ๆ หรือเปล่า และสำหรับโทนเนอร์ที่มีส่วนผสมของ AHAs/BHAs หรือวิตามินซี ก็ไม่ควรที่จะเก็บไว้นานเกินไปเพราะค่า pH Balance อาจมีการเปลี่ยนและอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวได้ง่ายกว่าปกติค่ะ

  • จำพวกที่ 2หนืดกลางถึงหนืดมาก ไม่เหลวเหมือนน้ำ ได้แก่ เซรั่ม / อิมัลชั่น / แอมพลู / เอสเซ้นส์ (อายุการใช้งานอยู่ที่ 1 ปี - 1 ปีครึ่งนับจากวันที่เปิดใช้)

จำพวกนี้จะมีหลากหลายเนื้อสัมผัส ขึ้นอยู่กับแต่ละแบรนด์เลยค่ะ วิธีการสังเกตสกินแคร์ประเภทนี้ว่าเสื่อมสภาพหรือว่าหมดอายุหรือไม่ ก็ดูได้จากกลิ่นที่เปลี่ยนไป แย่สุดก็คือเนื้อผลิตภัณฑ์มีการจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อน เนื้อสกินแคร์มีความสาก ความหนืดของสกินแคร์เปลี่ยนแปลงไป มีความเหลวขึ้น หรือหนืดขึ้น


2. สกินแคร์ประเภทเนื้อครีม โดยก็จะมีทั้งน้ำและน้ำมันเป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ ครีมมอยเจอร์ไรเซอร์ / ครีมกันแดด (อายุการใช้งานอยู่ที่ 1 - 2 ปีนับจากวันที่เปิดใช้)

ประเภทของเนื้อครีมจะเป็นอะไรที่ดูง่ายที่สุด โดยสังเกตจากการแยกชั้นของเนื้อครีมกับน้ำมัน บางตัวอาจจะมีการเปลี่ยนสีหรือมีกลิ่นหืนร่วมด้วย แต่ทั้งนี้อย่างครีมกันแดดจะมีอายุการใช้งานที่น้อยกว่ากว่าครีมบำรุงทั่วไปนะคะ ประมาณ 6 เดือน - 1 ปี ไม่เกินนี้ เพราะถ้านานกว่านี้ประสิทธิภาพของสารป้องกันผิวจากแสงแดดอาจจะเสื่อมสภาพ ทำให้การปกป้องผิวทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพค่ะ

3. สกินแคร์ประเภทประเภทที่มีออยล์เป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คลีนซิ่งออยล์ / เฟสออยล์

สกินแคร์ประเภทนี้จะมีส่วนผสมหลักเป็นน้ำมัน หรือ oil base ส่วนมากจะไม่มีส่วนผสมของสารกันเสีย เพราะเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราจะไม่ขึ้นในน้ำมันแต่จะขึ้นในที่ที่มีน้ำเป็นหลัก ทำให้อายุการใช้งานจึงน้อยกว่าประเภทที่มีส่วนผสมของน้ำเป็นหลักค่ะ (อายุการใช้งาน 9 เดือน -1 ปีเมื่อเปิดใช้แล้ว ) โดยวิธีการสังเกตก็คือกลิ่นที่เปลี่ยนไป อาจจะเริ่มมีการเหม็นหืน


อ่านถึงตรงนี้แล้วมีใครรีบไปหยิบสกินแคร์ของตัวเองมาดูตามบ้างเอ่ย? ก็หวังว่าข้อมูลทั้งหมดที่ ChoiceChecker นำมาฝากในวันนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ไม่มากก็น้อยนะคะ >..< ส่วนครั้งหน้าจะมีเรื่องราวอะไรมาแชร์กับเพื่อน ๆ อีกนั้นก็ฝากติดตามด้วยนะค้า สำหรับวันนี้ Byeeeee


ตามชื่อกระทู้เลยนะคะ อยากทราบว่าครีมกันแดดหน้ามีอายุการใช้งานกี่ปีคะ

พอดีไปค้นเจอครีมกันแดดที่ซื้อทิ้งไว้ ยังไม่ได้ใช่เลยคะ

มันมีแต่วันผลิต แต่ไม่มีวันหมดอายุอ่าคะ เขียนว่าผลิตปี 2008 ไม่รู้ว่าป่านนี้ข้างในยังใช้ได้อยู่มั๊ยอ่า

รบกวนผู้รู้ตอบหน่อยนะคะ ขอบคุณคะ

No issues.

Jebanista คุณก็เป็นได้!

มีรีวิว หรือ How to อะไรเอามาแชร์กัน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ JEBAN COMMUNITY
ได้ง่ายนิดเดียว เริ่มเขียนเลย

ครีมกันแดด Anessa อยู่ได้กี่ปี

ครีมกันแดด Anessa Perfect UV Sunscreen Skincare🇯🇵 ผลิตภัณฑ์ของแท้ 100% จากญี่ปุ่น (ฉลากไทย) 🌸สินค้ามีอายุ 5 ปี ฿469 - ฿489.

กันเเดดหมดอายุใช้ได้ไหม

หากยังไม่มีครีมกันแดดขวดใหม่ และจำเป็นจะต้องใช้ครีมกันแดดที่หมดอายุแล้ว อาจยังสามารถนำมาใช้งานได้ ทั้งนี้ ครีมกันแดดควรมีกลิ่นเหมือนกับตอนแรกที่ซื้อมา เพราะการทาครีมกันแดดหมดอายุอาจช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดได้มากกว่าการไม่ทาครีมกันแดด นอกจากนี้ ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมหลักมาจากแร่ธาตุ ซึ่งมีส่วนผสมของสังกะสีออกไซด์ และไททา ...

ครีมนีเวียอยู่ได้กี่ปี

ผลิตภัณฑ์นีเวียที่ยังไม่เปิดใช้ผ่านการรับรองว่ามีอายุการใช้งานอย่างน้อย 30 เดือนนับตั้งแต่วันที่ผลิต นอกเสียจากว่าจะมีการระบุวันหมดอายุที่แน่นอน การปล่อยไว้กับความร้อนหรือแสงแดดอาจทำให้ตัวผลิตภัณฑ์ผิดปกติไปจากเดิม เราแนะนำให้ทิ้งผลิตภัณฑ์เก่าที่ดูคล้ายเมล็ดข้าว มีน้ำ สีเปลี่ยน หรือกลิ่นเปลี่ยนไป

ครีมทาผิว มีอายุการใช้งานกี่ปี

- ครีมหรือโลชั่นบำรุงผิว หมดอายุภายใน 1 ปีหลังจากเปิดใช้ครั้งแรก หรือสังเกตสัญลักษณ์คล้ายรูปกระป๋องเปิดฝาที่ข้างขวด เช่น มีตัวเลข 12M อยู่ในกระป๋อง หมายความว่าหลังจากเปิดใช้จะมีอายุการใช้งาน 12 เดือน