ข้อดี ของการ จดทะเบียน สมรส

ข้อดี vs ข้อเสียการจดทะเบียนสมรส สิ่งที่เราควรรู้ก่อนตัดสินใจแต่งงาน การตัดสินใจในชีวิตคู่ร่วมกันและมีการแต่งงานขึ้นเพื่อประกาศให้ครอบครัวทั้งสองฝ่าย ญาติสนิทมิตรสหาย ได้รับรู้ ในเรื่องของการแต่งงานที่เกิดขึ้นนั้นทางกฏหมายไม่ได้บังคับเรื่องการจดทะเบียนสมรสหรือไม่จดก็ได้ แล้วแต่ความพึงพอใจของคนทั้งคู่ แต่ก่อนที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะจดหรือไม่จดทะเบียนดี มาพิจารณาข้อดีและ ข้อเสียการจดทะเบียนสมรส จดทะเบียนสมรสก่อนแต่งงาน และไม่จดทะเบียนสมรสจากก่อนจรดปลายปากกากันค่ะ

Show

ข้อดี ของการ จดทะเบียน สมรส

ก่อนจดทะเบียนสมรสเราต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?

ข้อดี ของการ จดทะเบียน สมรส

(รูปโดย freepic.diller จาก freepik.com)

การจดทะเบียนสมรสถือเป็นหนึ่งเรื่องสำคัญของการใช้ชีวิตคู่ โดยเฉพาะคู่ไหนที่กำลังจะแต่งงานหรือแต่งงานแล้ว แน่นอนว่าเราก็อาจจะมีการจดทะเบียนสมรสกันไว้ เพื่อที่สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจของกันและกันได้ ส่วนใครที่ยังไม่รู้ว่าการจดทะเบียนสมรสนั้นต้องมีคุณสมบัติยังไงบ้าง มาดูกันเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ชุดผู้ชายออกงาน รวมชุดไปงานแต่งงาน และสไตล์ชุดเพื่อนเจ้าบ่าว ทริคแต่งตัวผู้ชาย!

1. ต้องอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์

จดทะเบียนสมรสก่อนแต่งงาน อย่างที่รู้กันดีว่าการที่เราจะจดทะเบียนสมรสได้นั้น ทั้งชายและหญิงจะต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ก่อน เพราะเมื่อไหร่ที่เราอายุยังไม่ถึง 17 ปี ก็จะไม่สามารถจดเทียนสมรสได้เลย เว้นเสียแต่กรณีเกิดเหตุการณ์ที่จำเป็นจริง ๆ หรือในกรณีที่เกิดเหตุอันควร ศาลก็จะอนุญาตให้เราสมรสกันก่อนที่เราจะมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้นั่นเอง

2. ต้องไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น

ข้อนี้เป็นอะไรที่สำคัญมากๆ แน่นอนว่าการที่เราจะจดทะเบียนสมรสกับใครสักคน บุคคลนั้นจะต้องไม่เป็นสามีหรือภรรยาของคนอื่น เพราะเมื่อไหร่ที่เราทำพฤติกรรมแบบนี้ ก็อาจจะบ่งบอกว่าเรากำลังทำในสิ่งที่ไม่ดีอยู่ เพราะฉะนั้นการที่เรารักใครสักคนเราจะต้องศึกษาดูใจและรู้ที่มาของเขาด้วยว่า เขาคนนี้เคยแต่งงานมาก่อนไหม หรือหย่าร้างกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือยัง เพื่อที่เราจะได้ไม่มานั่งเสียใจทีหลัง

3. ต้องให้ผู้ปกครองยินยอม

การที่เราจะจดทะเบียนสมรสได้นั้น ถึงแม้เราจะมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่เมื่อไหร่ที่เรายังอายุไม่ถึง 20 ปี จะต้องให้คุณพ่อและคุณแม่มาแสดงความยินยอมด้วย เพื่อความถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมาย แต่ถ้าใครที่มีอายุครบ 20 ปี หรือเกิน 20 ปีขึ้นไป ก็สามารถจดทะเบียนสมรสได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : 12 วิธีที่ผู้ปกครองสามารถช่วยให้เด็กฝึกความจำได้ดี วิธีทำให้ความทรงจำดีขึ้น

4. ต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ

คนที่เราจะจดทะเบียนสมรสได้ เขาคนนั้นจะต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือไร้ความสามารถ เช่น บุคคลที่มีอาการจิตไม่ปกติ หรือสมองพิการ เพราะบุคคลเหล่านี้ในทางกฎหมายจะไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้เลย ดังนั้นก่อนที่เราจะรักใครเราต้องศึกษาดูใจกันให้นาน ๆ เพื่อที่เหตุการณ์เหล่านี้จะได้ไม่เกิดขึ้นกับเรา

5. ต้องไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดาและมารดา

ข้อนี้อาจเกิดขึ้นได้น้อยมาก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เรามักจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า การที่เราจะจดทะเบียนสมรสหรือแต่งงานกันได้นั้น เราจะต้องไม่เป็นพี่น้องกัน หรือเรียกง่าย ๆ ว่าถ้าเป็นพี่น้องสายเลือดเดียวกันเราจะไม่สามารถทำแบบนี้ได้ เว้นเสียแต่ใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้เป็นลูกแท้ หรือไม่ได้อยู่ในสายเลือดเดียวกันกับเราก็อาจจะจดทะเบียนสมรสและแต่งงานกันได้

6. คนที่รับเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมไม่สามารถสมรสกับบุตรบุญธรรมได้

อีกหนึ่งข้อที่เราควรรู้ นั่นคือคนที่รับลูกคนอื่นมาเป็นลูกบุญธรรมจะไม่สามารถแต่งงานกับเขาได้ สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายได้เลย เขาอาจจะไม่ใช่ลูกแท้ ๆ ของเราก็จริงแต่เมื่อไหร่ที่เรารับเขาเป็นลูกบุญธรรมแล้ว เราก็ไม่สามารถที่จะกระทำสิ่งเหล่านี้ได้จริง ๆ

7. จดทะเบียนสมรสกับคนเดิม

หญิงคนไหนที่เคยจดทะเบียนสมรสกันมาก่อน แล้วเกิดการหย่าร้างกัน แต่อยู่ ๆ ก็อยากจะกลับมาจดทะเบียนสมรสกับคนเดิมอีกครั้งในกรณีนี้ก็สามารถทำได้เลย แต่ใครที่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน แล้วหย่าร้างเพื่อมาจดทะเบียนสมรสกับคนใหม่ เราก็อาจจะต้องรอระยะเวลาการหย่าร้างให้ครบอย่างน้อย 310 วันก่อน ถึงจะทำการจดทะเบียนสมรสใหม่ได้ เว้นแต่บางกรณีที่จำเป็นจริง ๆ ก็อาจจะต้องรอศาลอนุญาตต่อไป

พฤติกรรมแบบไหนที่ทำให้เรามั่นใจในตัวเขาได้

ข้อดี ของการ จดทะเบียน สมรส

(รูปโดย prostook จาก freepik.com)

การที่เราจะตกลงปลงใจกับใครสักคน แน่นอนว่าใครคนนั้นจะต้องแสดงความรักและความจริงใจให้เราเห็น เพื่อที่เราจะได้มั่นใจ และยอมแต่งงานกับเขาได้ โดยสิ่งที่จะทำให้เรารู้ได้นั้นอาจจะเกิดจากพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ผัวเมียกันห้ามมีความลับต่อกันจริงหรือ เว้นระยะแค่ไหนในชีวิตคู่

1. ไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงอื่นเข้ามา

ในขณะที่เขาคบกับเรา หรือคุยกับเรา เขาจะต้องไม่เปิดใจให้กับคนอื่น ถึงแม้จะบางเวลาหรือบางโอกาสเขาอาจจะนอกใจหรือสามารถคุยกับคนอื่นได้ เพราะยังไงเราก็ไม่ได้มารู้กับเขา แต่เขาก็ไม่ทำและซื่อสัตย์กับเราแค่คนเดียว สิ่งนี้ถ้าเกิดขึ้นกับใครเรียกได้ว่าเป็นผู้หญิงที่โชคดีมาก ๆ เลยทีเดียว

2. ให้เกียรติเราตลอด

เมื่อไหร่ที่เขารู้สึกโกรธหรือโมโห เขาสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ ไม่ด่าหรือทำร้ายเรา ไม่เอาเรื่องของเราไปพูดในทางเสียหาย และที่สำคัญเขาจะไม่ฉวยโอกาสหากเราไม่เต็มใจและให้เกียรติเราในทุก ๆ เรื่องนั่นเอง

3. เป็นที่ปรึกษาและรับฟังที่ดี

ไม่ว่าเราจะมีปัญหาหรือมีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตก็ตาม เขาคนนั้นพร้อมที่จะอยู่เคียงข้าง ให้คำปรึกษาและพร้อมช่วยเราแก้ไขปัญหาโดยที่ไม่ทิ้งเราไปไหน อีกทั้งยังเป็นคนที่คอยรับฟังเราตลอดในช่วงเวลาที่เราไม่สบายใจหรือกำลังมองหาที่ระบาย

4. พูดเรื่องอนาคตที่มีเรา

การที่คบกับใครสักคนเป็นเวลานาน ๆ แน่นอนว่าเราก็อยากวางแผนอนาคตไว้ด้วย ซึ่งถ้าเขาคนนั้นมีการวางแผนอนาคตและอยากใช้ชีวิตกับเรา ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และที่สำคัญเราควรดูการกระทำของเขาด้วย ไม่ควรเชื่อเพียงแค่คำพูดของเขา

5. แนะนำให้คนรอบตัวรู้จักเรา

การที่เขาพาเราไปทำความรู้จักกับครอบครัว และคนที่เขารู้จักเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ เพราะนั่นกำลังบ่งบอกว่าเราคือตัวจริงของเขา และเขาอาจจะภูมิใจที่มีเราเป็นแฟนนั่นเอง

ข้อเสียการจดทะเบียนสมรส

– ภรรยาที่มีชื่อเป็นหุ้นส่วนในหลาย ๆ บริษัท การทำธุรกรรมต่าง ๆ จะยุ่งยากมากขึ้น

– ภรรยาต้องเปลี่ยนข้อมูลทางนิติกรรม ทั้งเปลี่ยน Passport เปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวต่างๆ

– ต้องแยกสินส่วนตัวกับสินสมรส โดยจะต้องตกลงกันเป็นสัญญาก่อนการสมรสไว้ในทะเบียนสมรส

– ดอกผลจากสินส่วนตัว ต้องกลายเป็นสินสมรส เช่น การได้รับเงินเดือนโบนัสก็ถือเป็นสินสมรสได้เหมือนกัน

– การทำนิติกรรมตาม **มาตรา 1476 **ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนจึงจะทำได้

– ถ้าสามีหรือภรรยาต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้ที่ก่อไว้ก่อนหรือระหว่างสมรสให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน

– ถ้าสามีภรรยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้ง 2 ฝ่าย

ข้อดี ของการ จดทะเบียน สมรส

ข้อดีของการจดทะเบียน

– เป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฏหมาย

– คู่สมรสมีสิทธิ์ได้รับมรดกเสมือนตนเป็นทายาทชั้นบุตร

– ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ จะเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิต

– บุตรที่เกิดมาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายทั้ง 2 ฝ่าย

แล้วข้อดี vs ข้อเสียจากการไม่จดทะเบียนสมรสล่ะ >>>

ข้อดี ของการ จดทะเบียน สมรส

ข้อเสียของการไม่จดทะเบียนสมรส

– เป็นสามีภรรยากันแต่ในนาม

– ไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดกของคู่สมรส

– ไม่มีสิทธิ์รับเงินประกัน

– บุตรที่เกิดมาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายแต่ฝ่ายหญิงเท่านั้น เว้นแต่ฝ่ายชายจะจดทะเบียนรับรอง

– ฝ่ายหญิงไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าอุปการะบุตรจากฝ่ายชาย

ข้อดีของการไม่จดทะเบียนสมรส 

– ไม่มีสินสมรส เงินใครเงินมัน

หมายเหตุ ***ความหมายของมาตรา1476 สามีภริยาที่จดทะเบียนร่วมกันต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายดังนี้

  • ขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่า จำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ ยกเว้นการจำนำที่ทำฝ่ายเดียวได้
  • ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี
  • ให้กู้ยืมเงิน
  • ให้โดยเสน่หาเว้นแต่การให้พอสมควรแก่ฐานะ
  • นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน
  • ประนีประนอมยอมความ

การจัดการทรัพย์สินสมรสนอกจากที่ระบุ สามีภริยาจัดการได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

บทความที่น่าสนใจ : วิธีประคองชีวิตคู่ คนรักกันอย่างเดียวไม่พอ อยากให้ชีวิตรักเวิร์คต้องทำยังไง?

20 วิธีจัด งานแต่งงานแบบประหยัด ลดค่าใช้จ่ายในงานแต่งงาน ใครกำลังจะแต่งต้องจดให้ดี

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

ทำไมถึงต้องจดทะเบียนสมรส

ทะเบียนสมรส คือ เอกสารทางกฎหมายที่ยืนยันความสัมพันธ์ของคู่แต่งงาน ที่ใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันสิทธิ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างสามี – ภรรยา เช่น การรับรองบุตร การแบ่งสินสมรส รวมไปถึงการฟ้องหย่า ให้สามารถได้สิทธิ์อย่างถูกกฎหมายและเป็นไปตามที่ควรได้รับ

ประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรสคือข้อใด

การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์จัดการสินสมรสร่วมกัน (ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรส) นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนหากมีทรัพย์สินใดงอกขึ้นมา จะกลายเป็นสินสมรสทั้งหมด การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน

การจดทะเบียนสมรสจะดีไหม

ข้อดี มีสิทธิ์ในเรื่องของทรัพย์สินคู่สมรส เช่น สิทธิ์รับเงินจากทางราชการ หรือนายจ้าง หรือ การรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน, สิทธิ์ในการจัดการสินสมรสร่วมกัน, การมีสิทธิ์เป็นทายาทมรดกทันที ลดหย่อนค่าภาษีเงินได้ หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว ไม่ว่าฝ่ายไหนจะรายได้มากกว่ากัน ก็ลดหย่อนภาษีเงินได้ได้

จดทะเบียนสมรสมีผลเสียอะไรบ้าง

ข้อเสียของการจดทะเบียนสมรส การจัดการทรัพย์สินจะยุ่งยากเพราะเป็นสินสมรส ดังนั้นจะจัดการทรัพย์สินอย่างไร เช่น จะซื้อ จะขาย จะปล่อยเช่า หรือจะยกหนี้ ฯลฯ ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ดอกผลจากสินส่วนตัวของเรา รวมถึงเงินเดือนของเรา โบนัสของเรา หลังแต่งงานจะถือเป็นสินสมรสด้วย ดังนั้นมีคนมาแบ่งเงินเราแล้วนะ