การ ปรับ ตัว ให้ เข้า กับ สังคม

การ ปรับ ตัว ให้ เข้า กับ สังคม

การเข้าสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ของมนุษย์เราที่เป็นสัตว์สังคม คนเราไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวคนเดียว ดังนั้นการปรับตัวเข้าสังคมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการใช้ชีวิตของคนเรา ซึ่งทักษะการปรับเข้าหาสังคมให้เราและผู้อื่นนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่มีข้อขัดแย้งต่อกัน สบายใจกันทั้งสองฝ่ายจึงเป็นสิ่งที่ควรทำการเรียนรู้เอาไว้ โดยการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ตนเองมี 2 ส่วนที่สำคัญด้วยกันนั่นก็คือส่วนที่อยู่ภายในจิตใจ โดยเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจในตนเอง และอีกหนึ่งคือส่วนที่ปรากฏภายนอกที่เรียกว่า ทักษะการเข้าสังคม นั่นเอง

         โดยการเสริมสร้างความมั่นใจเริ่มมาจากการที่คุณรู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเอง สามารถหาข้อดีและข้อด้อยของตนเองได้ รู้ถึงความสามารถและข้อจำกัดของตนเอง รู้ถึงเกณฑ์บางอย่างที่มีข้อจำกัดว่าตนเองสามารถทำได้ดีหรือไม่ดี คิดถึงสิ่งต่าง ๆ โดยยึดหลักของเหตุผลและความเหมาะสมตามกาลเทศะ ซึ่งจะทำให้เกิดความ มั่นใจมากขึ้น เนื่องจากเป็นสิ่งที่คนทั่วไปให้การยอมรับ นอกจากนี้ควรฝึกฝนทำสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง เมื่อคุณได้พึ่งตัวเองบ่อย ๆ ก็จะทำให้คุณสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยความมั่นใจมากขึ้น ทำความเข้าใจว่าต้องมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นบ้างเป็นธรรมดา ให้ยอมรับคำตำหนิติเตียนที่อาจจะทำให้คุณเสียความมั่นใจไปบ้าง แต่ถึงอย่างนั้นคุณก็ต้องไม่ท้อถอย กลับกันคือต้องพยายามป้องกันแก้ไขไม่ให้ความผิดพลาดเหล่านั้นเกิดซ้ำอีก ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจเพิ่มขึ้น โดยการเสริมสร้างความมั่นใจต้องอาศัยเวลา หากต้องการมีความมั่นใจเรื่องใดก็ต้องทำเรื่องนั้นบ่อย ๆ ความมั่นใจก็จะเกิดขึ้นได้  การพัฒนาทักษะทางสังคมนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณได้มีโอกาสเข้าสังคมบ่อย ๆ ตัวอย่างเช่น การไปงานพบปะสังสรรค์เลี้ยงรุ่นหรือเข้าร่วมงานเลี้ยงบริษัท เป็นต้น ดังนั้นคุณจึงควรเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ไปงานกับเพื่อนหรือคนรู้จักใกล้ชิด แล้วจึงเรียนรู้โดยสังเกตว่าในงานนั้นเริ่มต้นทำความรู้จักหรือทักทายกันอย่างไร มีท่าทีการวางตัวอย่างไร คนทั่วไปเขาแต่งตัวกันอย่างไร มารยาทสังคมที่จำเป็นมีอะไรบ้าง

         นอกจากนี้ควรสังเกตเรื่องที่พูดเนื้อหาที่พูดว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่คนสนใจ โดยคนที่เริ่มเข้าสังคมทักษะแรกที่คุณสามารถทำได้คือ การฟังด้วยความตั้งใจ พยายามเก็บประสบการณ์  ก็จะทำให้คุณสามารถเลือกทำในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวคุณได้ต่อไป การพัฒนาบุคลิกภาพทั้งการเสริมสร้างความมั่นใจและการพัฒนาทักษะ การเข้าสังคมเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ทุกคน แค่ต้องอาศัยความสนใจและความตั้งใจที่จะฝึกฝนอย่างจริงจัง

มีใครเป็นแบบนี้บ้างไหมคะ? ไม่ค่อยชอบอยู่ท่ามกลางคนเยอะ ๆ ไม่อยากเป็นจุดสนใจ, ชอบตื่นเต้นเวลาต้องพูดคุยกับคนแปลกหน้า, ไม่ค่อยมีเพื่อน, ชอบทำอะไรคนเดียว ฯลฯ สารพัดลักษณะนิสัยที่ก่อร่างสร้างตัวตนให้เรากลายเป็นคน ‘เข้าสังคมไม่เก่ง’ หรือบางคนอาจจะโดนประทับตราว่าเป็นคน ‘โลกส่วนตัวสูง’ ‘เย่อหยิ่ง’ ‘ไม่เอาเพื่อน’ หรือเป็นคนอินโทรเวิร์ต (Introvert) แต่จริง ๆ แล้วลึก ๆ เราเองก็คงไม่อยากเลือกเป็นคนเก็บตัวเช่นนี้ไปตลอดหรอก ใช่ไหมคะ เพราะมันจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเอง และอาจทำให้เราพลาดโอกาสต่าง ๆ ในชีวิตไปได้ เพราะฉะนั้นคงเป็นเรื่องดีที่ถ้าเราสามารถแก้ไขและปรับความกลัวเหล่านั้นให้ลดน้อยลง และกล้ามีบทบาทในสังคมมากขึ้น 

ลักษณะของคนเข้าสังคมไม่เก่ง 

  • ไม่ชอบเป็นจุดสนใจของคนอื่น ขี้กังวล ประหม่า
  • ไม่ชอบสบตา พูดไม่เต็มเสียง 
  • ชอบอยู่คนเดียว
  • คิดมาก เก็บทุกคำพูดมาคิดเล็กคิดน้อย
  • ไม่มั่นใจในตัวเอง กลัวว่าสิ่งที่จะทำไปมันไม่ดีในสายตาคนอื่น กลัวผิด กลัวถูกจับจ้อง

บางคนอาจถึงขั้นป่วยเป็นโรคกลัวสังคม (Social anxiety disorder) ซึ่งจะมีอาการมือสั่น เหงื่อแตก เสียงสั่นมาก เพราะตื่นเต้น หวาดกลัวเวลาเจอสถานการณ์ที่ไม่คุ้นชิน และเป็นเช่นนี้ทุกครั้ง ต่อเนื่องยาวนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป (บางคนอาจเป็นมาตั้งแต่ยังเด็ก) จนต้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี แต่หากใครยังไม่เป็นถึงขั้นนั้น ลองมาดูวิธีปรับตัวเพื่อให้ตัวเองกล้าเข้าสังคมมากยิ่งขึ้นกันดีกว่า

ปรับความคิด  

อย่ามัวแต่ตอกย้ำความคิดว่าตัวเองเป็นคนพูดไม่เก่ง เป็นคนไม่มีเพื่อน เป็นคนไม่มีสังคม เป็นอินโทรเวิร์ต อย่าลืมว่าจิตเป็นนายกายเป็นบ่าวค่ะ ทิ้งกำแพงความคิดนั้นลงแล้วบอกตัวเองว่า เลิกคิดไปเอง! เพราะคนอื่นอาจไม่ได้สนใจเรามากอย่างที่เรากำลังนึกคิดในใจ ต้องประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าให้น้อยลง เช่น หากต้องพูดสนทนากับใครใหม่ ๆ ในสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม ต้องไม่คิดไปก่อนว่า เขาจะมองยังไง ไม่คิดแทนคนอื่น โฟกัสที่ตัวเองให้มากขึ้นดีกว่า

เริ่มด้วยรอยยิ้ม 

ภาษากายที่สร้างได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือรอยยิ้ม จากเดิมที่อาจจะชอบอยู่คนเดียว เดินก้มหน้าก้มตา มองแต่จอโทรศัพท์ พักทุกอย่างแล้วลองมองไปรอบตัว เจอใครก็ลองยิ้มทักทายสักนิด แสดงความเป็นมิตรให้เขาเห็นก่อน เพื่อเปิดโอกาสให้ทั้งตัวและคนรอบข้างในการสานต่อบทสนทนา

ลองบทสนทนาเล็ก ๆ กับคนใกล้ชิด 

คนรอบข้างที่ต้องพบเจอทุกวันเป็นสนามทดลองที่ดี เริ่มจากการรู้จักสังเกตเรื่องรอบตัวจากคนใกล้ชิด แล้วค่อยเริ่มสานต่อ เช่น เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเปลี่ยนลุคใหม่ อาจจะเริ่มทักทายด้วยคำชม (อย่างจริงใจ ไม่ต้องเสแสร้ง) เพื่อสร้างสถานการณ์เล็ก ๆ ที่น่าประทับใจ แล้วจึงค่อยพัฒนาการพูดคุยให้เป็นไปอย่างธรรมชาติ อาจจะลองตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ในใจไว้ก็ได้ว่า ต้องทำความรู้จักคนรอบตัวอย่างน้อยวันละ 1 คน ก็จะช่วยผลักดันให้เรากล้า และมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เราอยู่ได้ดียิ่งขึ้น

กล้า ๆ เข้าไว้

หาเรื่องถาม หาเรื่องคุย บางครั้งบางทีคนอื่นเห็นว่าเราเป็นคนเงียบ ๆ เขาเลยอาจจะไม่กล้าเข้ามาทำความรู้จัก แต่เมื่อเราเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนที่ตัวเอง เราจึงต้องเป็นฝ่ายเริ่มก่อนบ้าง แรก ๆ อาจจะฝืนใจหน่อย แต่เชื่อเถอะ แค่เริ่มต้นได้ก็ชนะแล้ว แต่นับเป็นโชคดีของคนที่เข้าสังคมไม่เก่ง โดยธรรมชาติคนเหล่านี้จะเป็นพวกชอบฟังมากกว่าพูด จึงเป็นเรื่องดีที่จะนำจุดนั้นมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะในการเข้าสังคมหรืออยู่ในวงสนทนา ผู้ที่รู้จักฟังและจับประเด็นจะได้เปรียบ เนื่องจากนำมาต่อยอดและเสนอความคิดความอ่านออกไปได้ เมื่อฟังแล้วต้องกล้าพูดด้วยค่ะ

หาโอกาสไปเจอกับสังคมที่แปลกใหม่ 

ลองเริ่มจากสิ่งที่ชอบ หาตัวเองให้เจอก่อนว่าชอบอะไร เพราะสิ่งที่ชอบ จะทำให้เราอินกับมัน จากนั้นให้เริ่มพาตัวเองไปในสังคมที่ชอบอะไรเหมือน ๆ กัน หรือมีใครชวนไปไหนก็ลองตอบรับดูบ้าง การได้เจอกับคนเยอะ ๆ จะช่วยเปลี่ยนความคิด ตัวตนเราได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่แน่นะวันนึงเราเองนี่แหละที่จะกลายเป็นตัวตั้งตัวตีหากิจกรรมใหม่ ๆ ร่วมกับคนอื่นก็เป็นได้

ใช้เวลาร่วมกับคนอื่นให้มากขึ้น  

ยิ่งอยู่คนเดียวยิ่งรู้สึกสันโดษ ยิ่งสันโดษก็ยิ่งต้องอยู่คนเดียว ลองก้าวออกมาจากจุดสบายใจนั้น แล้วท้าทายตัวเองด้วยการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นบ้าง มนุษย์เป็นสัตว์สังคมนะคะ ไม่ว่ายังไงก็หนีการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นไม่พ้นแน่นอน แต่จากเวลาอันน้อยนิดที่ใช้ ก็ลองเพิ่มให้มากขึ้นกว่าเดิม เช่น เรียนเสร็จอาจจะลองไปกินขนมกับเพื่อน ๆ ดูบ้าง หรือเลิกงานก็ลองไปกินดื่มเที่ยวกับที่ทำงานบ้าง นาน ๆ ทีก็เป็นเรื่องที่ดีที่ช่วยผลักเราออกจากความสันโดษนั้นได้

.

.

แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะการเข้าสังคมไม่เก่ง หรือเป็นคนอินโทรเวิร์ตนั้นเป็นแค่เพียงบุคลิกภาพของมนุษย์แบบหนึ่งเท่านั้น ซึ่งมันสามารถพัฒนาและปรับเปลี่ยนกันได้ ขอเพียงแค่ต้องกล้า และหมั่นฝึกฝน เปรียบเสมือนการขับรถ ไม่มีใครขับเป็นตั้งแต่เกิดหรอกใช่ไหมคะ แต่ทักษะนี้เกิดจากการฝึก เรียนรู้ และทำมันบ่อยครั้งจนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิตเรา จากถนนเล็กสู่ถนนใหญ่ จากความกลัวสู่ความกล้า ในที่สุดไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ แล้วหลังจากนั้นจะปรับใช้ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าแบบใดก็ล้วนแล้วแต่ความสามารถเฉพาะตัว

อย่าลืมนะคะว่าต่อให้มีฮาวทูสอนมากมายขนาดไหน แต่ถ้าเราไม่ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตัวเอง ก็ไม่มีทางจะเอาชนะมันได้ ยังไงก็ลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ เอาใจช่วยทุกคนค่ะ

การเข้าสังคมมีความสําคัญอย่างไร

การเข้าสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ของมนุษย์เราที่เป็นสัตว์สังคม คนเราไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวคนเดียว ดังนั้นการปรับตัวเข้าสังคมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการใช้ชีวิตของคนเรา ซึ่งทักษะการปรับเข้าหาสังคมให้เราและผู้อื่นนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่มีข้อขัดแย้งต่อกัน สบายใจกันทั้งสองฝ่ายจึงเป็นสิ่งที่ควรทำการ ...

เข้าสังคมยังไง

7 ทักษะการเข้าสังคมง่ายๆ ที่ทำให้คุณกลายเป็น 'ที่ประทับใจ' ของใคร....
1. รู้จักสบตา ... .
2. วางมือถือลง แล้วให้ความสนใจคนที่อยู่ตรงหน้า ... .
3. การเรียกชื่อของคู่สนทนา ... .
4. การยิ้ม ... .
5. การจับมือทักทาย ... .
6. การฟัง ... .
7. ไม่ใช่แค่ฟังผ่านๆ แต่ต้องฟังอย่างตั้งใจ ... .
5 สิ่งที่คุณควรทำเมื่อขาดแรงบันดาลใจ.

ทำไมต้องปรับตัวในสังคม

การปรับตัวของมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ว่าในสังคมใดก็ตาม จะมีส่วนช่วยให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันเป็นไปอย่างง่ายดายยิ่งขึ้น เพราะการหยิบยื่นน้ำใจไมตรีจากผู้อื่น และการหยิบยื่นน้ำใจไมตรีกลับไปยังผู้รับ จะทำให้สังคมอบอวลไปด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน จนสามารถสร้างความสุข และความสบายใจในการดำเนินชีวิตได้

ทำยังไงให้กล้าเข้าสังคม

5 เทคนิคง่ายๆ ที่จะทำให้คนเข้าสังคมไม่เก่ง กล้าและมั่นใจเผชิญโลกมากขึ้น date : 19.กุมภาพันธ์. 2020 tag : Lifestyle..
ยิ้มบ่อยๆ ... .
ปล่อยวางความกลัว แล้วรวบรวมความกล้า ... .
ไม่ติดมือถือ ... .
เป็นผู้ฟังที่ดี ... .
ออกไปทำกิจกรรมข้างนอกบ้าง.