การสั่งสมบุญนําสุขมาให้ หมายถึง

การสั่งสมบุญนําสุขมาให้ หมายถึง

ความสั่งสมบุญ นำสุขมาให้ - สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย

บุญ แปลตามศัพท์ว่า ชำระ ฟอกล้าง ท่านแสดงว่าแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

- บุญที่เป็นส่วนของเหตุ ได้แก่ ความดีต่างๆ เรียกว่า เป็นบุญ เพราะเป็นเครื่องชำระฟอกล้างความชั่ว

- บุญส่วนที่เป็นผล คือ ความสุข บุญที่เป็นส่วนเหตุ คือ ความดีเกิดจากการกระทำ ถ้าอยู่เฉยๆไม่ทำก็ไม่เกิดเป็นบุญขึ้น

@@@@@@

การทำบุญนี้เรียกว่า บุญกิริยา จำต้องมีวัตถุ คือ สิ่งเป็นที่ตั้ง และสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ทางพุทธศาสนาแสดง โดยย่อ 3 อย่างคือ

- บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
- บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
- บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

บุญคือความดีทั้ง 3 ข้อ อันจะเป็นเครื่องชำระล้างความชั่ว ตลอดถึงรากเหง้าของความชั่ว

ขอบคุณที่มา : คำสอนสมเด็จพระสังฆราชที่ 70 ความดี
http://ethics.nso.go.th/index.php/moral/29-100

คนเราทุกคน ตั้งแต่ถือกำเนิดเกิดขึ้นมาก็เร่าร้องเรียกหาสิ่งที่ต้องการจากพ่อแม่ อาทิ นมแม่ ผ้าอ้อม เปล บ้าน ยาแก้ไข้และวัคซีนแก้โรค จัดเป็นหมวดหมู่ว่า ปัจจัย ๔ ต่อเนื่องจากวัยเยาว์มาแล้ว เมื่อเติบใหญ่ดูแลตัวเองได้ ก็ประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงกายเลี้ยงใจด้วยน้ำพักน้ำแรงของตน แสวงหาสิ่งของจำเป็นจนถึงบำรุงบำเรอตนให้สะดวก สุข สบาย ยิ่งขึ้นตามลำดับ ตามกระแสนิยม อาทิ โทรศัพท์เคลื่อนที่ รถยนต์ เครื่องประดับ อาหารรสเลิศ ฯลฯ จะสังเกตได้ว่า ความอยากมี อยากได้ของเรานั้นไม่มีที่สิ้นสุด เป็นส่วนเกิน เกินกว่าคุณค่าของชีวิตหนึ่งๆที่จะต้องใช้สอย ไม่เพียงวัตถุเท่านั้น แต่สั่งสมซึ่ง โลภะ โทสะ โมหะ เข้าอีกด้วย ชีวิตจึงเต็มไปด้วยความรกรุงรัง ยิ่งสั่งสม ยิ่งหนัก ยิ่งคับ ยิ่งแคบ ยิ่งทุกข์มาก ยิ่งห่างไกลความสุข

การสั่งสมอีกลักษณะหนึ่งซึ่งไม่เป็นที่นิยมในสังคมปัจจุบัน แต่เป็นการสั่งสมที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ เป็นการสะสมที่ ยิ่งสั่งสมยิ่งเบา ยิ่งโปร่ง ยิ่งโล่ง ไม่มีเกิน ไม่มีขอบเขต ควรขวนขวายเป็นนิจ นำไปความสุขสงบ สันติ และอิสระในชีวิตอย่างหาใดเปรียบ แตกต่างจากการสั่งสมแบบที่กล่าวข้างต้นโดยสิ้นเชิง

การสั่งสมนี้ คือ การสั่งสมบุญ การหมั่นประพฤติปฏิบัติตนให้ดีงาม ตามหลักการของพระพุทธศาสนา รู้จักสั่งสมบุญด้วยการแบ่งปันสิ่งของที่เหลือกินเหลือใช้ การให้นี้ช่วยลดความเห็นแก่ตัว ทำให้มองเห็นคุณค่าของผู้อื่นและมีความสุขในการอยู่ร่วมกันกับสังคม สองคือ รู้จักสั่งสมบุญด้วยการรักษาศีล มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฏของคนหมู่มาก สร้างบุคลิกภาพที่ดี และพร้อมที่จะพัฒนายิ่งๆขึ้นไป สุดท้ายต้องรู้จักสั่งสมบุญด้วยการภาวนา ฝึกอบรมจิตใจให้สูงขึ้น เกิดความบริสุทธิ์ผ่องใสจากภายใน มองเห็นทุกสิ่งรอบการได้อย่างแจ่มชัดและวินิจฉัยอย่างแยบคายด้วยปัญญา พัฒนาตนให้เป็นผู้เจริญ นำความไพบูลย์ สมบูรณ์ สุข เกษม มาสู่ตนและสังคม
สรุปความว่า การที่เราจะมีความสุขทั้งทางด้านวัตถุและทางด้านจิตใจ เกิดมีจากการสั่งสมบุญทั้งสามที่กล่าวไว้ข้างต้นทีละเล็กละน้อย เป็นการมองหาความสุขที่มีอยู่ใกล้ตัว สุขที่จะให้ สุขที่จะดูแลและพัฒนาตนให้สมกับที่เกิดมาเป็นมนุษย์

นมตฺถุ รตนตยสฺสฯ
ขอความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

นักธรรมชั้นตรี

วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม

วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.
ความสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ นำสุขมาให้.

ณ บัดนี้จักได้อธิบายเนื้อความแห่งกระทู้พุทธสุภาษิตที่ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นพอเป็นแนวทางการศึกษา และนำไปปฏิบัติสืบไป

อธิบายความว่า ผลแห่งการทำความดี เราเรียกอย่างหนึ่งว่าบุญ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะตัว เกิดขึ้นแก่ผู้กระทำ อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่าความดี คือกรรมอันบุคคลทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง เมื่อเป็นดั่งนี้กรรมดีหรือบุญ เมื่อทำเป็นประจำจนเป็นนิสัยย่อมทำให้ประสบแต่ความสบายใจ, สุขใจ การทำบุญนี้ท่านแบ่งออกได้หลายวิธี เรียกว่าบุญกริยาวัตถุ หากแบ่งออกโดยพิสดารเป็น ๑๐ ประการ หากแบ่งโดยย่อได้ ๓ ประการคือ ทานมัย๑, สีลมัย๑, ภาวนามัย๑ การบริจาคหรือให้สิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ เรียกว่าทานมัย การรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม, ทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน เรียกสีลมัย การอบรมจิตให้สงบ พิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริง เรียกภาวนามัย ทานมัยนั้นเป็นเบื้องต้นของการทำบุญที่สามารถปฏิบัติได้ง่าย การให้ทานนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ผู้ให้๑ ให้ด้วยใจบริสุทธิ์มีความตั้งใจ วัตถุทาน๑ เป็นของผู้ให้และได้มาโดยชอบธรรม ผู้รับทาน๑ เป็นเนื้อนาบุญที่เหมาะสมกับวัตถุทานนั้น เมื่อครบองค์ประกอบนี้ จักยังให้อานิสงค์แห่งทานให้สมบรูณ์ ธรรมนั้นก็จัดให้เป็นทานได้ สมดังพุทธสุภาษิต ที่มีใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ.
การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง.

อธิบายความว่า ทานนั้นแบ่งเป็น ๒ คือ อามิสทาน๑ ธรรมทาน๑ อามิสทานคือการให้วัตถุทานอันได้แก่ จตุปัจจัย และสิ่งของอื่นอันเป็นกัปปิยะไม่เป็นโทษ ส่วนธรรมทานนั้นคือ การยังให้บุคคลผู้ยังไม่รู้ธรรมได้รู้ธรรมที่ควร อีกอย่างหนึ่งคือการทำให้ผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิรู้ธรรมกลับมาเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิได้ ถือว่าได้ให้ธรรมเป็นทานเหมือนกัน จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิจักเป็นผู้มีความสุขกาย, สุขใจ ทั้งที่บ้าน, ที่ทำงาน ก็จะประสบความสุข สงบ ดั่งนี้เป็นตัวอย่างเบื้องต้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ท่านจึงว่าการให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวงดังนี้.

สรุปความว่า บุญอันบุคคลทำให้สม่ำเสมอ ผู้ทำย่อมได้รับผลแห่งบุญคือความสบายกาย, สบายใจ การทำบุญนั้นมีทานเป็นอาทิ ด้วยธรรมทานเป็นยอดแห่งทานทั้งปวง ย่อมยังผู้ให้และผู้รับประสบสุขสันติทั้งกายและใจ เป็นสุขทั้งยามหลับ แลตื่น สมดังพุทธสุภาษิตที่ลิขิตไว้ในเบื้องต้นว่า

สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.
ความสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ นำสุขมาให้.

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้


วันเสาร์ ที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ตรงกับ วัน แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปี มะแม

นับเนื่องจากการเดินทางไปทำงานที่ประเทศศรีลังกา, ความสนใจเพื่อจะค้นหา "แก่น" แห่งพระพุทธศาสนามีมากขึ้นจากที่รู้จักพระศาสนาเพียงบางส่วน. การหาแก่นเราจำเป็นต้องรู้จักต้นไม้ทั้งต้นเสียก่อน จึงจะสามารถบอกได้ว่า นี้คือใบ นี้คือดอก นี้คือเปลือก นี้คือ .... นี้คือแก่น ร่วมแบ่งปันเผยแผ่พระศาสนาให้ยืนยาวต่อไป View All Posts

การสั่งสมบุญนำสุขมาให้หมายถึงอะไร

“ความสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ นำสุขมาให้” (ขุ.ธ. ๒๕/๓๐) บุญ คือ สภาวะที่เป็นสุข เป็นสภาวะที่ชำระจิตใจของคนให้สะอาดจากบาป เมื่อไม่มีบาปอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ จิตใจก็เป็นสุข

สุขโข บุญญสฺสฺ อุจฺจโย มีความหมายตรงกับข้อใด

สุโข ปุญฺส อุจฺจโย การสั่งสมบุญ นำสุขมาให้

สะสมบุญคืออะไร

เอาเป็นว่า “แต้มบุญ” เป็นเพียงคำเรียกของคนสมัยนี้ ซึ่งก็หมายถึงการค่อย ๆ สร้างบุญไปเรื่อย ๆ ตามกำลังของแต่ละคน แต่ไม่หมายความว่า "แต้มบุญ" จะสามารถไปแลกเปลี่ยนเป็นผลบุญหรืออะไรก็ตามได้ คนเราทำบุญเพื่ออะไร? เพื่อให้ได้บุญ เพื่อความสุข เพื่อพ้นทุกข์ เพื่อความสงบ หรือเพื่อความร่ำรวยทั้งในชาตินี้และชาติภพหน้ากันแน่…

ทำไม ต้อง สะสม บุญ

ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องสั่งสมบุญบ่อย ๆดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า “ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญไซร้ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้” เพราะฉะนั้นขอให้เราทำบุญอย่างสม่ำเสมอ บุญเล็ก บุญน้อย บุญใหญ่ ให้ทำไปทุก ๆ บุญ แล้วบุญที่ทำไว้จะมาส่งผลเป็นความสุขความสำเร็จให้แก่เรา