อาชีวะบัญชี จบมาทํางานอะไร

ช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามสนับสนุนและส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจกับการเรียนสายอาชีพมากขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจากเพราะการเปิด AEC ที่ทำให้มีสาขาอาชีพสามารถทำงานอย่างเสรีในประชาคมอาเซียน ได้แก่ วิศวกร สถาปนิก การสำรวจ บัญชี พยาบาล ทันตแพทย์ แพทย์ และกลุ่มอาชีพด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ซึ่งถ้ามาเจาะลึกดูแล้วจะเห็นว่า ในบรรดาอาชีพเหล่านี้เพียง 3 อาชีพ คือ พยาบาล ทันตแพทย์ และแพทย์ ที่ต้องจบทางสายสามัญเท่านั้น

แต่ด้วยข้อมูลที่กล่าวมาก็ยังไม่อาจฟันธงได้ว่า การเรียนจบสายอาชีพกับสายสามัญ แบบไหนจะหางานได้ง่ายกว่ากัน? ลองมาดูความแตกต่างระหว่างคนที่เรียนจบสายอาชีพและสายสามัญกันเลยครับ ว่ามีความแตกต่างกันตรงไหน อย่างไร

                                           

สายอาชีพ

- มีหลักสูตรหลักคือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เป็นระดับการฝึกวิชาชีพระดับพื้นฐานในงานสายอาชีพนั้นๆ เมื่อเรียนจบก็นำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพได้ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็นระดับความรู้ที่สูงขึ้นจาก ปวช. เน้นความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น ผู้เรียนก็จะมีความรู้ความชำนาญพิเศษมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อได้ถึงระดับสูงสุดเท่ากับการศึกษาสายสามัญคือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เช่น สาขาบัญชี สาขาการโรงแรม เป็นต้น

- ข้อดีของสายอาชีพคือ มีความรู้เฉพาะด้านแน่น ไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัยก็สามารถทำงานได้เลย สอบราชการก็ได้

- ข้อเสียของสายอาชีพคือ มีข้อจำกัดในการเรียนต่อมหาวิทยาลัยในบางสาขาวิชาหรือบางคณะ เช่น คณะสัตวแพทย์ฯ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขฯ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ทั้งหมดนี้สายอาชีพไม่สามารถสมัครเรียนต่อได้

 

สายสามัญ

- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถครบทุกด้าน

- ข้อดีของสายสามัญคือ ความรู้พื้นฐานทั่วไปค่อนข้างแน่นกว่าสายอาชีพ เพราะเน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ สามารถเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือรัฐบาล มีโอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ หรือกิจกรรมอื่นๆ มากกว่าสายอาชีพ

- ข้อเสียของสายสามัญคือ ความรู้เฉพาะด้านอาจไม่แน่นเท่าสายอาชีพ เรียนจบแค่ ม. 6 แล้วไม่ต่อปริญญาตรีจะหางานค่อนข้างยาก และไม่ค่อยมีประสบการณ์ในวิชาชีวิตการทำงานเท่าสายอาชีพ

 

จะเห็นว่าทั้งสายอาชีพและสายสามัญล้วนมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แต่การจะได้งานดีๆ หรืออาชีพที่ตรงใจ ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการมีความชำนาญหรือทักษะเฉพาะด้าน การพัฒนาตัวเองและใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ การมีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน ที่สำคัญคือต้อง "รัก" ในอาชีพที่ทำ ก็จะยิ่งทำในสิ่งนั้นได้ดี

ไม่ว่าจะจบสายอาชีพหรือสายสามัญ ความมุ่งมั่นและตั้งใจจะสามารถสร้างความโดดเด่น และเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดสำหรับทุกบริษัทที่ต้องการคนทำงานคุณภาพมาร่วมงานด้วย

เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้จากทฤษฎี และปฏิบัติโดยการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการที่ทำความร่วมมือ ในด้านการจัดการศึกษารูปแบบทวิภาคี โดยการฝึกอาชีพ ได้แก่ บริษัท รุ่งเรืองการบัญชีและทนายความ จำกัด, บริษัท เจ.ที.คอนซัลแทนท์ จำกัด, บริษัท มาตา แอคเค้าติ้ง แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด, บริษัท รุ่งเรืองการบัญชี จำกัด เป็นต้น


 

โอกาสในการประกอบอาชีพ
  1. ผู้ทำบัญชี
  2. พนักงานบัญชีของเอกชน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ
  3. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
  4. ผู้วางระบบบัญชี
  5. ผู้สอนวิชาชีพบัญชีในสถานศึกษา
  6. ผู้ประกอบการธุรกิจ

 

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
   โดยระบบคัดเลือกของวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชาการบัญชี
สถานที่จัดการเรียนการสอน

วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี และวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

แผนการศึกษาตามหลักสูตรปกติ
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 75 หน่วยกิต

การศึกษาตามหลักสูตรนักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 75 หน่วยกิต

ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

อัตราค่าบำรุงการศึกษาและค่าธรรมเนียม

 ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ          บาท

  1. ค่าลงทะเบียนรายวิชา หน่วยกิตละ       บาท
  2. ค่าประกันอุบัติเหตุ ปีการศึกษาละ        บาท (อาจมีการเปลี่ยนแปลง)

– ค่าบำรุงการศึกษาภาคฤดูร้อน ภาคการศึกษาละ        บาท

รวมประมาณตลอดหลักสูตร             บาท (ไม่รวมภาคฤดูร้อน)

สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 - สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

  • แผนผังเว็บไซต์
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นโยบายคุกกี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ การใช้เว็บไซต์นี้ต่อไปถือว่าคุณยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ ดูข้อมูล นโยบายคุกกี้ ของเรา