ตามหนังสือ นโยบายสาธารณะ pol3301 ยุทธศาสตร์ของแผนการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

91 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่สําคัญได้แก่

(1) ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานรายได้หลักของประเทศ

(2) ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(3) เร่งรัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

(4) สนับสนุนให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ

(5) ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 153) การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มี 5 ประการ ดังนี้

1 ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2 การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3 สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม

4 ภาคการเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

5 ชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ

92 ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งเดินหน้าพัฒนาไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” หมายความว่าอย่างไร

(1) การพัฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม (2) การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2575

(3) การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นผู้นําในกลุ่มประเทศอาเซียน

(4) การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทย 4.0 คือ การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลมาสร้างสรรค์หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง

93 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ข้อใด

(1) เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรม

(2) เทคโนโลยีการเกษตร

(3) นาโนเทคโนโลยี

(4) เทคโนโลยีการศึกษา

(5) เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) เช่น นาโนเทคโนโลยีเชิงชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Biological and Medical Nanotechnology) มีบทบาทเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างมาก และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการพื้นฐานของมนุษยชาติ เช่น การมีอายุยืนยาว ปราศจาก โรคภัยไข้เจ็บและรักษาโรค มีสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งมีรูปร่างหน้าตาสวยงามตลอดเวลา

94 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายว่าในปี 2549 ประชาชนจะมีการศึกษาอย่างไร

(1) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 ปี

(2) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8 ปี

(3) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี

(4) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 12 ปี

(5) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 ปี

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 122 – 123) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนี้

1 ให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี ในปี พ.ศ. 2549

2 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2549

3 ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

4 ให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคมที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ฯลฯ

95 การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” มีแนวทางอย่างไร

(1) สนับสนุนให้เกษตรกรริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

(2) ให้สินเชื่อทางการเกษตรแก่เกษตรกรมากขึ้น

(3) รัฐเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สนับสนุนมาเป็นผู้ชี้นําในการพัฒนาการเกษตร (4) ให้ภาคเอกชนลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 97) การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 มีแนวทาง ดังนี้

1 สนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิต ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และความต้องการของตลาดในระยะยาว

2 ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ยากจน แรงงานรับจ้างภาคเกษตร ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่ดินของตนเอง ให้ได้รับบริการด้านปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

3 รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “ผู้นํา” มาเป็น “ผู้สนับสนุน” ในการพัฒนาการเกษตร

4 ภาครัฐต้องเน้นการลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

96 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านอัตราเงินเฟ้ออย่างไร

(1) ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี

(2) ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

(3) ไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี

(4) ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี

(5) ไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

  1. “หน่วยงานกลาง” มีบทบาทสําคัญในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ หน่วยงานกลางได้แก่

(1) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(2) สํานักงบประมาณ

(3) กระทรวงมหาดไทย

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยกําหนดให้ปรับปรุงบทบาทของหน่วยงานกลาง 5 หน่วยงาน ดังนี้

1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2 สํานักงบประมาณ

3 สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

4 สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

5 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

98 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ คือ

(1) มีการประเมินความเสี่ยง

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(3) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(4) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก (5) ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 152 153), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้ประเมินความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญไว้ 6 ประการ ซึ่งถือเป็นรายละเอียดที่ ทําให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความแตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อน ๆ ดังนี้

1 การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ไม่สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

3 โครงสร้างประชากรที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง

4 ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณีดั้งเดิมถูกบิดเบือน

5 ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง

6 มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงเพราะเกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศและปัญหาการก่อการร้าย

99 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคได้แก่ข้อใด

(1) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(2) การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม

(3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

(4) การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 161 163) ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีดังนี้

1 การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

2 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

3 การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

4 การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม ฯลฯ

100 ภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติเป็นอย่างไร

(1) ได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี 2548

(2) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

(3) มีอันดับเพิ่มสูงขึ้น

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301 -2 หน้า 137) ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ มีอันดับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนในปี 2548 ซึ่งยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ