9 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน แนวคิดสิ่งเร้าและตอบสนอง กล่องดำความรู้สึกของพฤติกรรมผู้บริโภค หลักการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงทางปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ

9 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

ในรายวิชานี้ผู้เรียนจะได้รับแนวคิดพื้นฐานการเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค กระบวนการตัดสินใจ ตลอดจนการสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ความสามารถในการปรับตัวทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสมกับบริบทและสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี การนำนวัตกรรมมาเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล โดยทีมผู้สอนมากประสบการณ์ทั้งภาคการศึกษาและผู้มีประสบการณ์จริงในภาคธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าผู้เรียนจะมาจากสาขาในระดับใด สามารถเรียนรู้ได้ทั้งองค์ความรู้ที่ทันสมัย นำไปใช้ได้จริงกับผู้ที่สนใจจะเริ่มต้นประกอบธุรกิจหรือต้องการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต

9 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

9 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

ผศ. เหมือนจิต จิตสุนทรชัยกุล

 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

อาจารย์ ดร. รุจิกาญจน์ สานนท์

 อาจารย์พิเศษ/ ผู้ประกอบการ

อาจารย์ ปิยะดา ปุณณกิติเกษม

 อาจารย์พิเศษ/ ผู้ประกอบการ

9 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

 เวลาในการศึกษา
10 ชั่วโมงการเรียนรู้ ( 3 ชั่วโมง 30 นาทีสื่อวีดิทัศน์)

 เวลาในการศึกษาต่อสัปดาห์
2 ชั่วโมงการเรียนรู้แบบออนไลน์ (100 %) และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Self – paced learning)

 ประเภทการเรียนในวิชา
การเรียนรู้ด้วยตัวเองและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย เริ่มเรียน 1 มกราคม 2563 - 1 มีนาคม 2563
เนื้อหาทั้งหมด 9 บท เรียกว่า 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถบริหารจัดการเวลาเรียนของตนได้

 กำหนดการสอน
ในการเรียนรู้แต่ละบท ผู้เรียนสามารถเวลาศึกษาได้ใน 1 – 2 ชั่วโมง หรือตามสะดวก

 ค่าธรรมเนียมการเรียน
ไม่มี

 สื่อการเรียนรู้
วีดิทัศน์สื่อการสอน เอกสารประกอบการสอน เว็บลิงก์
หนังสือพฤติกรรมผู้บริโภคกับธุรกิจค้าปลีกในยุคดิจิทัล

9 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล
 ภาษาหลักของสื่อการสอน
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเบื้องต้น

9 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล
 ระดับความยาก-ง่ายของเนื้อหา
เบื้องต้น

9 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล
 คุณสมบัติผู้เรียน
สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์และโปรแกรมพื้นฐานทั่วไป
สามารถติดตั้ง application ในโทรศัพท์มือถือของตนได้
สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

9 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล
 รายวิชานี้เหมาะสมกับ
นักศึกษา ผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไป

9 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล
 วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. ผู้เรียนสามารถอธิบายในบริบทใหม่ที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค
2. ผู้เรียนสามารถเลือกกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันได้อย่างเหมาะสม
3. ผู้เรียนสามารถระบุการปรับตัวที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลง
    ที่มีผลต่อการซื้อของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

9 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล
 เกณฑ์การผ่านวิชา
เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมผ่านการวัดผลทั้งหมด
และได้ผลการประเมินเกิน 70% โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

9 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล
 ประมวลรายวิชา
ประมวลรายวิชา

พฤติกรรมด้านการใช้สื่อดิจิตอลของชาวอเมริกันค่อนข้างเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว  จนทำให้นักการตลาดต้องเร่งความเร็วไล่ตามทันให้ได้  และปรับแผนกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสมเสมอ   Business 2 Community  สรุป 10 พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิตอลของผู้บริโภคที่สำคัญ  ซึ่งจริงแล้วก็ใกล้เคียงกับพฤติกรรมของไทยไม่น้อย และนักการตลาดจำเป็นต้องทราบ

1.Multi-tasking ในอุปกรณ์ดิจิตอลจะเริ่มเข้ามาแทนที่การดูทีวี

3 ใน 4 ของผู้ที่เป็นเจ้าของอุปกรณ์ดิจิตอล จะใช้งานอุปกรณ์ของพวกเขาในขณะกำลังดูทีวี นั่นหมายความว่ามันเกือบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะดึงความสนใจของผู้บริโภคมาที่จุดๆเดียว   อย่างไรก็ตามยังคงมีวีธีการดึงดูดความสนใจของพวกเขาอย่างสร้างสรรค์จากทั้งสองหน้าจอได้  คือ  แบรนด์ของคุณจึงควรจะหันมาทำการตลาดแบบ dual screen

 

2. ความนิยมการฟังเพลงผ่านอินเทอร์เน็ต

ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักฟังเพลง จากแหล่งออนไลน์ต่างๆ เช่น บริการจัดเพลงตามคำขอออนไลน์ออย่าง Pandora, สถานีวิทยุทางอินเทอร์เน็ต หรือ Youtube ซึ่งเบื้องหลังของการเติบโตนี้ก็คือเหล่านักโฆษณาทั้งหลายนั่นเอง ซึ่งช่องทางเหล่านี้ เป็นสิ่งที่แบรนด์ของคุณควรจะให้ความสำคัญ

 

3. ผู้ใช้ smartphone เกลียด Targeted Ads

อาจจะเป็นการบั่นทอนกำลังใจนักการตลาด แต่กว่า 90% ของผู้ใช้ smartphone ไม่ชอบการโฆษณาที่เจาะจงเป้าหมายจากพฤติกรรมของผู้บริโภคและจะติดไปในเว็บอื่นๆ  พวกเขาคิดว่ามันเป็นการล้ำสิทธิส่วนบุคคลและเป็นสิ่งที่ไม่น่าสบอารมณ์อย่างที่สุด  อย่างไรก็ตามชาวอเมริกันมีความสนใจเกม ,แอพลิเคชัน และข้อมูลต่างๆ ผ่านทางโทรศัพท์มือถืออย่างมาก  คุณจะใช้ช่องทางนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร แต่ต้องไม่สร้างความสำคัญแก่ผู้บริโภค

 

4. ผู้บริโภคต้องการภาพ ไม่ใช่ คำพูด

คอนเท้นท์ภาพกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากกว่าคอนเท้นท์ประเภทคำพูดหรือคำบรรยาย ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับ Pinterest และวีดีโอออนไลน์ทั่วไป  ในขณะนี้เว็บบล็อกชื่อดังอย่าง Tumblr ได้รับความนิยมจากวัยรุ่นมากกว่า Facebook เสีย  เนื่องจากคอนเท้นท์ภาพสามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้มากกว่าคอนเท้น์ประเภทอื่นๆ ที่อยู่ในโลก Social Network ดังนั้นหากจะทำให้มีภาพที่ดึงดูดความสนใจแก่ผู้ชมก็จะดีไม่น้อย

 

5. การใช้เวลาว่างบนโลกไซเบอร์ของผู้บริโภค สร้างโอกาสอันดีให้กับนักการตลาด

ชาวอเมริกันมกใช้เวลาว่างของพวกเขานั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์  ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีสำหรับแบรนด์ต่างๆ  มันจะดีมากหากแบรนด์ของคุณสามารถดึงดูดความสนใจผู้บริโภคได้ อย่าง StumbleUpon (search engine นำเสนอเว็บคอนเท้นท์ความชอบและพฤติกรรมของผู้บริโภค) , เว็บไซต์ตลกขบขัน หรือเกมออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น  ดังนั้นจะทำอย่างไรให้แบรนด์เข้าถึงผู้บริโภคในสถานะสิ่งพักผ่อนหย่อนใจของพวกเขา

 

6. Snapchat ที่จริงแล้วอาจจะมีไว้เพื่อการตลาด ไม่ใช่การส่งต่อภาพลามกอนาจาน

ก่อนหน้านี้ Snapchat ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากถูกมองว่าเป็น App เข้าข่ายเรื่องเพศ  แต่นักการตลาดหัวใสกำลังมองข้ามจุดนี้ไปและกำลังทดลองใช้งาน Snapchat ดังกล่าวเพื่อแจกคูปองส่วนลด  จากเรื่องนี้ คุณอาจจะเอาสิ่งที่เกิดขึ้นเข้าไปมีส่วนในแผนการตลาดของคุณด้วยก็ได้

 

7. Tablet กลายมาเป็นช่องทางการซื้อขายหลัก

ผู้บริโภคใช้ Tablet กันมากขึ้น  อีกทั้งยอดการสั่งซื้อสินค้ากำลังแซงหน้าจาก smartphone และคอมพิวเตอร์ในเร็วๆนี้  เนื่องจากสามารถพกพาติดตัวไปได้สะดวกสบายและง่ายต่อการซื้อ  ดังนั้นแบรนด์ของคุณได้ปรับรูปแบบเว็บไซต์ รวมถึงสิ่งอื่นๆเพื่อรองรับผู้ใช้งาน Tablet ให้พร้อม

 

8. Amazon เป็น search engine สำหรับการช็อปปิ้งที่ใหญ่ที่สุด

ผู้บริโภคที่ต้องการช็อปปิ้งมักเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Amazon มากกว่า Google ซึ่งแนวโน้มในลักษณะนี้ก็ดูจะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จากการจำนวนกาสมาชิกแบบ Prime(ระดับพิเศษ)ของ Amazon และตลาดสินค้าออนไลน์อื่นๆกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว  ดังนั้นบางทีสินค้าของคุณควรเข้าไปอยู่ใน Amazon และทำให้เป็นที่นิยมในนั้น

 

9. ห้ามละเลย Google+

Google ได้ให้ความชัดเจนในการที่จะผลักดันให้ Google+ ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยม โดยเริ่มมีการเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆมากขึ้นเพื่อดึงดูดสมาชิก บางทีคุณอาจจะลองใช้ประโยชน์จาก Google+ ในปีนี้

 

10. ผู้บริโภคอาจจะรู้เรื่องราคาดีกว่าที่คุณรู้

Showrooming หมายถึง การใช้สโตร์เป็นสถานที่ชมและทดลองสินค้าแต่ไม่ซื้อที่นั้น  กลับไปสั่งซื้อในออนไลน์ที่มีราคาถูกกว่าราคาสโตร์  เทรนด์นี้เป็นสิ่งที่น่าจับตามองในช่วงคริสมาสต์ปี 2012  และคาดว่าจะมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริโภคสามารถที่จะเดินเลือกชมสินค้า จากร้านนั้นไปร้านนี้ เพื่อหาราคาของสินค้าที่ตรงกับความต้องการของพวกเขามากที่สุด แบรนด์ของคุณจึงต้องวางกลยุทธ์ในการตั้งราคาให้เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ดังกล่าว

พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิตอลมีอะไรบ้าง

พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่าง มาก เนื่องจากระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูง ท าให้ผู้บริโภคหันมา ใช้สื่ออินเทอร์เน็ต ในการท ากิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชมรายการต่าง ๆ การอ่านข่าวสารหรือบทความ การเล่นเกม หรือแม้แต่การสั่งซื้อสินค้า ผ่านทาง อินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยที่ผู้บริโภคไม่จ า ...

พฤติกรรมของผู้บริโภคมีอะไรบ้าง

เปลี่ยนแปลงไป...
พฤติกรรมของผู้บริโภค ในปัจจุบันแตกต่างอย่างไรกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในอดีต.
1. พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่สูงขึ้น.
2. พฤติกรรมการชำระสินค้าด้วยเงินดิจิทัล.
4. พฤติกรรมในการเกาะกระแสสังคม.
5. พฤติกรรมลดความภักดีต่อแบรนด์.

พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันเป็นอย่างไร

“ลุมพินี วิสดอม” เผย 4 พฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบัน เน้น “รวดเร็ว-คุ้มค่า-ทุกที่ทุกเวลา-สะดวกสบาย” แนะผู้ประกอบการเร่งปรับตัว นำเทคโนโลยี พัฒนางานบริการ ตอบโจทย์เทรนด์อนาคต

การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคมีประโยชน์อย่างไรกับการทำการตลาดออนไลน์

1. ช่วยให้นักการตลาดเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค 2. ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถหาหนทางแก้ไขพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในสังคมได้ถูกต้องและสอดคล้องกับความสามารถในการตอบสนองของธุรกิจมากยิ่งขึ้น 3. ช่วยให้การพัฒนาตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถทำได้ดีขึ้น