คุณธรรมของผู้บริหาร 8 ประการ

Details: Parent Category: ROOT Category: บทความคุณธรรม | Published: 31 October 2016

 ๑. ขยัน
     มีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง

๒. ประหยัด
   ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายรู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของอย่างคุ้มค่าไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ

๓. ซื่อสัตย์
   มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงในปลอดจากความรู้สึกลำเอียง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อมรับรู้หน้าที่ของตนเอง ปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง

๔. มีวินัย
   ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคมและประเทศโดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ ยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม

๕. สุภาพ
   มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อย ไม่ก้าวร้าวรุนแรง หรืวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง มีมารยาทดีงาม วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย

๖. สะอาด
   รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้ง กาย ใจ และสภาพแวดล้อม มีความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น

๗. สามัคคี
   เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดีมีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและอย่างสมานฉันท์

๘. มีน้ำใจ
   เป็นผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคมรู้จักแบ่งปันเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นเห็นอก เห็นใจและเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

๙. กตัญญู
   ปฏิบัติตนเห็นคุณค่าแห่งการกระทำดี หรืออุปการคุณของผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูอาจารย์ หรือผู้อื่น พร้อมที่จะแสดงออกเพื่อบูชา และตอบแทนคุณความดีนั้นด้วยการกระทำ การพูดและการระลึกถึงด้วยความบริสุทธิ์ใจ

   จากคุณธรรมพื้นฐาน ๙ ประการ สามารถนำไปกำกับการแสดงพฤติกรรมอย่างเหมาะสมกับการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคม ภูมิใจในความเป็นไทย มีสำนึกนำในการดูและรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ การสำรวจตนเองทางด้านบุคลิกภาพ คุณธรรม ความฉลาดทางอารมณ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การวางแผนชีวิตและงาน และแนวทางในการบริหารจัดการชีวิต ครอบครัว สังคม การมองโลกในแง่ดี โดยการนำคุณธรรม ความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องและยั่งยืน

ที่มา : gotoknow

การพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงการฝึกฝนพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์ตามหลักไตรสิกขา อันประ กอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา หรืออีกนัยหนึ่งคือ พฤติกรรม จิตใจ และปัญญาไปพร้อมกัน โดยเน้นที่การพัฒนาปัญญาเป็นแกนหลักสำคัญของกระบวนการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกฝนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง สามารถเข้าใจเหตุปัจจัยและแก้ไขปัญหาได้ มีความประพฤติที่เป็นมาตรฐานในสังคม มีจิตใจที่ผ่องใส เบิกบาน เป็นอิสระทั้งภายนอกและภายใน ดับความทุกข์ ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับตน สามารถเป็นที่พึ่งให้กับตนเองได้


ความสำคัญและความเป็นมาของคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งปลูกฝังด้านปัญญา พัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียนให้มีความ สามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และมุ่งพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ โดยการปลูกฝังให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง เข้าใจตนเอง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาขัดแย้งทางอารมณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้น การจะพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และดำเนินชีวิตที่ดี มีความสุข คุณธรรมพื้นฐานสำคัญที่ควรเร่งปลูกฝังมี 8 ประการ ประกอบด้วย


  1. ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้ปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อ เนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร เป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
  2. ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่มีความประ หยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ
  3. ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรง ทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง
  4. มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ
  5. สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่น ทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย
  6. สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ
  7. สามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้อง การ เกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์ ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ
  8. มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจ เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการ เพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

คุณธรรมของผู้บริหาร 8 ประการ



ประโยชน์ของคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการมีประโยชน์ต่อเด็กในการดำเนินชีวิต หมายถึง เรื่องของชีวิตที่เป็นอยู่ทั้งหมด ซึ่งทางพุทธศาสนาหมายถึงเรื่องต่างๆ 3 เรื่อง ดังนี้

  1. เรื่องของความสัมพันธ์กับโลกภายนอก ด้วยพฤติกรรมทางกาย วาจา และการใช้อินทรีย์ต่างๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย การเห็น การได้ยิน ฯลฯ สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุและสิ่งแวดล้อมทางสังคม เรียกสั้นๆ ว่า ศีล
  2. เรื่องของจิตใจ เจตจำนง ความตั้งใจ แรงจูงใจ ที่จะทำให้เรามีพฤติกรรมต่างๆสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนั้น ตามภาวะและคุณสมบัติต่างๆของจิตใจของเรา เรียกว่า สมาธิ
  3. เรื่องของปัญญา ความรู้ ความคิด เป็นตัวชี้ทางว่าเราทำพฤติกรรมของเราไปตามความรู้ ความเข้าใจ และภายในขอบ เขตของความรู้นั้น ซึ่งเรียกว่า ปัญญา ความสัมพันธ์ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยส่งผลกระทบต่อกัน ระหว่างพฤติกรรม จิตใจ/อารมณ์ และปัญญา ซึ่งเป็นส่วนประกอบแห่งการดำเนินชีวิต เป็นเรื่องของชีวิตของเรา จะแยกจากกันไม่ได้ รวมทั้งหมดเรียกว่า “จริยะ” ในชีวิตที่เป็นอยู่ เด็กย่อมต้องพบประสบการณ์ต่างๆ และต้องเจอสถานการณ์ใหม่ๆตลอดเวลาทุกวัน เมื่อเจอประสบการณ์ใหม่ เราก็ต้องเรียนรู้และต้องมีปฏิกิริยาตอบไป เมื่อมีสถานการณ์เกิดขึ้นใหม่ เราก็ต้องคิดว่าจะจัดการอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร นี่คือการศึกษา คุณธรรม จริยธรรม หรือการดำเนินชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่มีการศึกษา ดังนั้น ในการพัฒนามนุษย์ จึงเป็นการพัฒนาชีวิตที่ดำเนินไปพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน แยกจากกันไม่ได้ ดังนี้

กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งสู่การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม คือ การเน้นวิถีชีวิตของเด็ก ตั้งแต่เรื่องการกิน อยู่ ดู ฟัง ไปจนกระทั่งเรื่องการพัฒนาทักษะทั้งในการด้านการใช้ร่างกาย การคิด การกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ได้ แก่ การนำเด็กเข้าสู่ประสบการณ์ตรงในวิถีปฏิบัติของชาวพุทธ เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนา การสวดมนต์ การนั่งสมาธิ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การให้เด็กเป็นผู้บริการช่วยเหลือผู้อื่น เช่น การบริการครู บริการผู้อาวุโสหรือแขกผู้ ใหญ่ที่มาเยี่ยมชมโรงเรียน การล้างจานให้เพื่อน การปลูกผักรับประทานเอง การประกอบอาหาร หรือการใช้ศิลปะ ดนตรี เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของเด็ก การเล่านิทานที่มีเนื้อหาสอดแทรกคติธรรม และการจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ เพื่อให้เด็กตระหนักต่อความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับโลกรอบตัว

ทั้งนี้ ครูหรือผู้สนใจที่ต้องการปลูกฝังคุณธรรมให้กับเด็ก จำเป็นจะต้องศึกษาแนวคิดสำคัญของคุณธรรมเหล่านั้นให้เข้าใจอย่างแท้จริง คำนึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก และความสนใจในการเรียนรู้ของเด็กที่แตกต่างกันออกไป ตามพื้นฐานของเด็กและสภาพแวดล้อมรอบตัวเป็นสำคัญ แล้วจึงนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทหรือหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ ในโรงเรียน ครูจะต้องระลึกอยู่เสมอว่า ตนในฐานะกัลยาณมิตรของเด็ก ถือเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งจำเป็นจะต้องฝึกหัดขัดเกลาตนเอง เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งฝึกฝนพิจารณาใคร่ครวญถึงคุณค่าแท้ของคุณธรรมที่ต้องการปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับเด็กอย่างแท้จริง จึงจะสามารถนำกระบวนการดังกล่าวไปใช้อย่างได้ผล

คุณธรรมของผู้บริหารมีอะไรบ้าง

1.ทานํ การเสียสละทรัพย์สินส่วนตนแก่ผู้อื่น 2.ศีลํ การดำรงตนอยู่ในกฎเกณฑ์อันดีงาม 3.ปาริจาคํ การเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อความสุขส่วนรวม 4.อาชชวํ ความซื่อตรง ดำรงตนอยู่ในสัตย์สุจริต

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการมีอะไรบ้าง

กระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรให้ปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการแก่เยาวชนไทย อันได้แก่ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ด้วยการใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และ ...

คุณธรรม8ประการหลีกเลี่ยงการทุจริตมีอะไรบ้าง

สำนักงานเลขานุการกรม กลุ่มคุ้มครองจริยธรรม ยินดีต้อนรับ.
๑. ขยัน มีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง.
๒. ประหยัด ... .
๓. ซื่อสัตย์ ... .
๔. มีวินัย ... .
๕. สุภาพ ... .
๖. สะอาด ... .
๗. สามัคคี ... .
๘. มีน้ำใจ.

คุณธรรมของนักปกครองนักบริหารที่ดีอยู่ในหลักใด

7. เป็นผู้ประกอบด้วย “หลักธรรมาภิบาล” คือ คุณธรรมของนักปกครอง นักบริหาร ที่ดี (Good Governance) คือ ความรับผิดชอบรับการตรวจสอบต่อสาธารณะ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความ เป็นธรรมในสังคม และการคานึงถึงส่วนรวม การยึดมั่นฉันทามติการมีส่วนร่วม การสองตอบความต้องการ หลัก นิติธรรม หลักความโปร่งใส