เด็กวัย 2 ขวบ สามารถกระโดดโลดเต้น

สวัสดีค่ะ คุณ Mini Smile

การที่เด็กอายุ 6 ขวบ ชอบฉีกสมุดตัวเอง ชอบแกล้งเพื่อน ทำอะไรปุบปับอยู่ไม่นิ่ง รวมถึงการจ้องหน้าทำหน้าโกรธ ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ เช่น จากการซนตามวัย จากการเลี้ยงดู จากการทำเลียนแบบจากตัวอย่างที่เคยเห็น จากปัญหาพฤติกรรมของเด็กเอง ซึ่งอาจจะมีภาวะสมาธิสั้นหรือไม่ก็ได้ค่ะ ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเด็กแต่ละวัยจะมีสมาธิได้ไม่เท่ากัน โดยเด็กโตจะมีสามาธิมากกว่าเด็กเล็กค่ะ 

สำหรับเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น มักจะมี 3 องค์ประกอบคือ ซนมาก สมาธิสั้น และหุนหันพลันแล่น ค่ะ และโดยอาจจะมีบางองค์ประกอบหรือมีทั้งหมดเลยก็ได้ค่ะ

- ซนมาก เด็กจะกระโดดโลดเต้นตลอดเวลา ไม่อยู่นิ่ง ยุกยิก เล่นไม่รู้จักเหนื่อย ครูมักจะบอกว่าเด็กเดินในห้องตลอดเวลา ผุดลุกผุดนั่ง อยู่กับที่ไม่ได้ ชอบเล่นแรงๆ โลดโผน ไม่กลัวเจ็บ

- สมาธิสั้น ครูมักบอกว่า มักทำงานที่สั่งไม่ครบ ทำการบ้านไม่เสร็จ พูดสั่งแล้วไม่ทำตาม ฟังประโยคไม่จบ ทำของหายบ่อย 

- หุนหันพลันแล่น เด็กชอบพูดสวน ชอบแซงคิว ไม่รู้จักรอคอย

นอกจากนั้นพฤติกรรมเหล่านี้ควรปรากฎในหลายๆสถานที่ เช่น ที่โรงเรียน ที่บ้าน ที่วัด เป็นต้น ค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีสมาธิสั้นหรือไม่ควรไปตรวจกับกุมารแพทย์ค่ะ เนื่องจากจำเป็นต้องถามประวัติ โดยละเอียด ทั้งเรื่องของพัฒนาการ การเลี้ยงดู รวมถึงพฤติกรรมอื่นๆ ด้วย เนื่องจากเด็กที่มีสมาธิสั้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา รวมถึงหากพบว่าเด็กมีปัญหาพฤติกรรมจะต้องดูแลควบคู่กันไปด้วยค่ะ 

เด็กวัยอนุบาลมีสมรรถนะและพัฒนาการด้านร่างกาย

เด็กวัย 2 ขวบ สามารถกระโดดโลดเต้น

  เด็กอายุ 3-6 ขวบ พัฒนาการด้านร่างกายเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเรื่องความสูงและน้ำหนัก เด็กจะมีสัดส่วนของร่างกายใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มากขึ้น แขนและขายาวขึ้น เคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น ชอบวิ่งเล่น กระโดดโลดเต้น ไม่อยู่นิ่ง พร้อมทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง ใช้กำลังมากขึ้น ชอบอยู่กลางแจ้ง นอกจากนี้ยังสามารถใช้มือในการหยิบจับสิ่งของต่างๆได้มากขึ้น เด็กจึงสามารถแต่งตัว หวีผม แปรงฟัน และทำงานที่ละเอียดขึ้นได้ การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนมีดังนี้

  • ฟัน เด็กวัยนี้จะมีฟันน้ำนมครบ 20 ซี่ หลังจากนั้นฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดและจะมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ ซี่แรกที่ขึ้นมาเป็นฟันกรามซี่ล่าง เด็กจะปวดและรำคาญ อาจเป็นสาเหตุให้เบื่ออาหาร พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กควรช่วยทำความสะอาดปากและฟันให้กับเด็ก ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดหรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม และระมัดระวังไม่ให้แปรงสีฟันกระทบเนื้อเยื่อในปาก เพราะจะทำให้เด็กเจ็บและไม่อยากแปรงฟัน
  • กล้ามเนื้อใหญ่ จะมีความก้าวหน้ามากกว่ากล้ามเนื้อเล็ก เด็กวัยนี้สามารถบังคับการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดี เดินได้คล่อง สามารถ
  • วิ่งและกระโดดได้ดี ไม่ค่อยอยู่นิ่ง
  • กล้ามเนื้อเล็ก เด็กวัยนี้ ยังจับดินสอไม่ค่อยถนัด แต่ก็สามารถวาดวงกลมหรือรูปเรขาคณิตได้ และเด็กจะทำได้ดีขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น
  • ความสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ ยังไม่สมบูรณ์ เด็กวัยนี้จึงมีความยากลำบากในการใช้สายตาจับจ้องหรือเพ่งดูวัตถุเล็กๆ ดังนั้น ตัวหนังสือที่จะให้เด็กวัยนี้อ่าน จึงควรเป็นตัวโตๆ และความถนัดในการใช้มือซ้ายหรือขวาของเด็ก จะเห็นได้ชัดในวัยนี้ พ่อแม่จึงควรสังเกตความถนัดของเด็ก และอธิบายให้เด็กที่ถนัดซ้ายทราบว่าเป็นของธรรมดา ไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติ
อายุพัฒนาการด้านร่างกายตามวัยที่สำคัญของเด็ก
3 ปี
  • ความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 5-8 เซนติเมตร หรือ 2-3 นิ้วต่อปี (มีความยาวลำตัวมากกว่าแรกเกิด 2 เท่าในช่วงอายุนี้) น้ำหนักตัวขึ้น 1.4-2.3 กิโลกรัม
  • ขาจะยาวกว่าแขน ผอมเก้งก้าง แลดูตัวสูงคล้ายผู้ใหญ่ ไม่เป็นเด็กอ้วนเหมือนสมัยทารก
  • นอนนาน 10-12 ชั่วโมงในเวลากลางคืน
  • รับประทานอาหารไม่ค่อยหก สามารถถือถ้วยน้ำดื่มแบบมีหู โดยน้ำไม่หก
  • แปรงฟันและล้างมือเองได้ เริ่มฝึกการขับถ่าย ไม่ถ่ายเลอะ ต้องช่วยแต่งตัวอยู่บ้าง
  • กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ กระโดดขาเดียวได้
  • รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว เตะลูกบอลได้
  • เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้ ถีบจักรยาน 3 ล้อได้
  • เขียนรูปวงกลมตามแบบ ลากเส้นแนวตั้ง แนวนอนได้
  • จับดินสอคีบระหว่างนิ้ว 3 นิ้วได้ (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วหัวแม่มือ)
  • ใช้กรรไกรมือเดียวได้
  • ต่อบล็อกหรือแท่งไม้ได้สูง 7 ชั้นหรือมากกว่า
4-5 ปี
  • ความสูงโดยเฉลี่ย 102-114 เซนติเมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ย 14-18 กิโลกรัม
  • กระฉับกระเฉง ไม่ชอบอยู่เฉย
  • ชอบกระโดดข้ามสิ่งของเล็กๆ กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้ ชอบปีนป่ายสิ่งต่างๆ
  • เดินขึ้น-ลงบันไดสลับเท้าได้
  • เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
  • ใช้กรรไกรเป็น ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
5-6 ปี
  • ความสูงโดยเฉลี่ย 107-117 เซนติเมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ย 17-20.5 กิโลกรัม
  • ศีรษะมีขนาดเกือบเท่าผู้ใหญ่
  • รู้จักความสะอาดและไม่ทำเลอะ สามารถเข้าห้องน้ำขับถ่ายเองและดูแลความสะอาดได้
  • ติดกระดุมและรูดซิปเอง รับประทานอาหารเองโดยใช้ช้อนส้อม โดยไม่หก
  • กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ยืนขาเดียวได้ เรียนรู้ที่จะกระโดดข้ามหรือกระโดดเชือกได้
  • เดินขึ้น-ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว เดินต่อเท้าได้ เดินถอยหลังตามเส้นได้
  • รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
  • เขียนรูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยมตามแบบได้
  • ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
  • ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ ยืดตัว คล่องแคล่ว

ที่มา http://taamkru.com/th