1.ข้อใด ไม่ใช่ วิธีการในการลดปริมาณขยะในชุมชน

แยกขยะให้ถูกวิธี ดีต่อเรา ดีต่อโลก!

1.ข้อใด ไม่ใช่ วิธีการในการลดปริมาณขยะในชุมชน


วันนี้คุณแยกขยะถูกวิธีแล้วหรือยัง? หมดยุคของการทิ้งขยะรวมกันในถังเดียวแล้ว!!! เพราะ การแยกขยะช่วยโลกได้มากกว่าที่คิด มาดูกันว่าแยกขยะยังให้ให้ถูกวิธี นำกลับมารีไซเคิลได้ไม่ยาก ยิ่งในช่วงการระบาดของโควิด-19 ด้วยแล้ว การแยกขยะนอกจากจะช่วยเซฟโลก ยังเซฟเจ้าหน้าที่กำจัดขยะด้วยนะ 

1.ข้อใด ไม่ใช่ วิธีการในการลดปริมาณขยะในชุมชน

รู้จักของประเภทถังขยะกัน! 

1. ถังขยะสำหรับขยะอินทรีย์ ขยะเปียก (สีเขียว)

ขยะอินทรีย์ คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เนื้อสัตว์ เศษใบไม้แห้ง 

ประโยชน์จากการแยกขยะ : นำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ใส่ต้นไม้ แปลงผักสวนครัวได้

2. ถังขยะสำหรับขยะทั่วไป (สีน้ำเงิน)

เป็นขยะที่มักจะย่อยสลายไม่ได้ หรือย่อยสลายยากแต่ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าต่อการรีไซเคิล จำเป็นต้องหาวิธีกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติก  ภาชนะปนเปื้อนอาหาร กระดาษชานอ้อย

ประโยชน์จากการแยกขยะ : นำผ่านเทคโนโลยีการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้เป็นวัสดุใหม่

3.ถังขยะสำหรับขยะรีไซเคิล (สีเหลือง)

ขยะรีไซเคิลก็คือขยะที่เราทิ้งไปแล้วสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้งได้ ไม่ใช่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น ขวดพลาสติก, ถุงพลาสติก, ขวดแก้ว, กระป๋อง, กล่องกระดาษ, กระดาษ

ประโยชน์จากการแยกขยะ: ผลิตขาเทียม ผลิตหลังคารีไซเคิล ผลิตหลอดไฟ ผลิตจีวรพระสงฆ์

4. ถังขยะสำหรับขยะอันตราย (สีแดง)

ขยะอันตราย คือ ขยะที่มีสารปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ เช่น สารพิษ วัตถุติดเชื้อได้ วัตถุกัดกร่อน เช่น ถ่านไฟฉาย, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ยาหมดอายุ, วัตถุไวไฟ, กระป๋องเสปรย์

ประโยชน์จากการแยกขยะ: แยกขยะเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีตาม เพื่อไม่ไห้รั่วซึมลงแหล่งน้ำ หรือชั้นผิวดิน

ส่วนข้อดีของการแยกขยะก็มีมากมาย! ไม่ว่าจะเป็น

ช่วยลดปริมาณขยะ 
การ
แยกขยะเพิ่มการนำกลับมารีไซเคิล เราจะเหลือขยะที่ต้องกำจัดน้อยลง ขยะบนโลกก็จะลดลงด้วย

ประหยัดงบในการกำจัดขยะ 
นำงบส่วนนี้ไปพัฒนาด้านอื่นๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ลดการสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากร 
ของที่สามารถกลับมา
รีไซเคิลได้จะช่วยเพิ่มรายได้และลดทรัพยากรโลกในการผลิตใหม่อีกครั้งด้วยนะ

รักษาสิ่งแวดล้อมลดมลพิษในโลก
การแยกขยะ ทำให้เรากำจัดขยะได้ถูกวิธีมากขึ้น ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม


ข้อดีของการแยกขยะ มีเพียบเลยใช่ไหมคะ? :) รู้อย่างนี้แล้วต้องช่วยกันแยกขยะเพื่อเรา เพื่อโลกกันนะ ที่บ้านเพื่อนๆ แยกขยะยังไงกันบ้างมาแชร์ไอเดียกันได้ที่ Facebook Page : CP for Sustainability ลิงค์นี้เลย
https://www.facebook.com/CPGroupSustainability/posts/1330283557169709

ระบบกำจัดขยะ (Solid Waste Treatment Plant)
ขยะที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีแหล่งที่มาจากแหล่งชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งขยะในแต่ละวันประกอบด้วยเศษอาหาร กระดาษ เศษแก้ว เศษไม้ พลาสติก เศษดิน เศษหิน ใบไม้ ขี้เถ้า เป็นต้น โดยปริมาณขยะจะมีความแตกต่างกันตามแหล่งที่มา ซึ่งวิธีการกำจัดขยะที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ การนำไปเผาในเตาเผา การนำไปหมักเพื่อทำปุ๋ย การหมุนเวียนเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ การนำไปเป็นอาหารสัตว์ และการฝั่งกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
บริษัทเน้นการให้บริการโดยใช้วิธีการฝังกลบเป็นหลัก เนื่องจากมีขั้นตอนในการกำจัดที่ไม่ยุ่งยาก ต้นทุนต่ำ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การให้บริการระบบกำจัดขยะแบบฝังกลบ จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญเกี่ยวกับ สถานที่ตั้งของแหล่งฝังกลบให้ถูกสุขลักษณะตามหลักเกณฑ์ของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งประกอบด้วยระยะห่างจากจุดกำเนิดของแหล่งขยะ ขนาดของที่ดิน สภาพภูมิประเทศ ลักษณะของดิน และระดับน้ำใต้ดิน โดยรูปแบบการฝังกลบแบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้
1. การฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล
ใช้สำหรับฝังกลบขยะมูลฝอยหรือของเสียที่ไม่เป็นอันตราย โดยแบ่งวิธีฝังกลบแบ่งออกเป็น 2 แบบดังนี้

แบบถมพื้นดิน

ได้แก่ การฝังกลบขยะในพื้นที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อหรือเป็นพื้นที่ที่ต่ำและต้องการถม ให้พื้นที่นั้นสูงขึ้นกว่าระดับเดิม อาทิ บริเวณบ่อดินลูกรัง ริมตลิ่ง หรือบริเวณ ที่ถูกขุดดินเพื่อออกไปทำประโยชน์อย่างอื่น เป็นต้น โดยการฝังกลบพื้นที่แบบนี้ จะดำเนินการเทขยะลงไปในหลุมแล้วเกลี่ยขยะให้กระจายโดยรอบพร้อมกับบดอัด ให้แน่น หลังจากนั้นก็ใช้ดินกลบแล้วบดอัดให้แน่นอีกครั้ง

แบบขุดเป็นร่อง

ได้แก่ การกำจัดขยะแบบฝังกลบในพื้นที่ราบซึ่งต้องดำเนินการขุดให้เป็นร่องก่อน โดยจะต้องมีความกว้างอย่างน้อยประมาณ 2 เท่าของขนาดเครื่องจักรกลที่ใช้ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการทำงานของเครื่องจักร ส่วนความลึกของร่องจะขึ้นอยู่กับระดับของน้ำใต้ดิน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ร่องจะมีความลึกประมาณ 2 - 3 เมตร และทำให้ ลาดเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อไม่ให้น้ำขังในบ่อเมื่อเกิดฝนตก โดยดินที่ขุดเพื่อทำบ่อจะถูกวางกองไว้เพื่อใช้เป็นดินกลบต่อไป ต่อจากนั้นจึงนำขยะเทลงในบ่อแล้วเกลี่ยให้กระจายและบดทับให้แน่นอีกครั้ง

2. การฝังกลบอย่างปลอดภัย
ใช้สำหรับฝังกลบกากของเสียอันตรายที่ผ่านการทำลายฤทธิ์โดยปรับเสถียรแล้ว ซึ่งขั้นตอนในการกำจัดขยะแบบฝังกลบเป็นการนำขยะมากองรวมกันไว้ในบ่อดินแล้วเกลี่ยและบดอัดทับขยะให้แน่นโดยรถแทรกเตอร์ หลังจากนั้นนำดินมากลบทับหน้าขยะพร้อมบดอัดทับให้แน่นอีกครั้ง ชั้นบนสุดจะต้องกลบดินบดทับให้แน่น ทำเป็นชั้นๆ จนสามารถปรับระดับพื้นดินได้ตามต้องการ แล้วปล่อยให้ขยะสลายตัว ซึ่งระหว่างการรอเวลาสลายตัวนั้นจะต้องทำการตรวจสอบและกั้นรั้วบริเวณปฏิบัติการเพื่อป้องกันการบุกรุกอื่นๆ และขณะที่ขยะกำลังสลายตัวจะก่อให้เกิดน้ำจากการหมักของขยะ ซึ่งน้ำดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำหรือก่อนนำน้ำที่ได้บำบัดนั้นกลับมาใช้ใหม่
3. การผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF)
การใช้ขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้เพื่อการเผาไหม้โดยตรงมักก่อให้เกิดความยุ่งยากในการใช้งาน เนื่องจากความไม่แน่นอนและไม่สม่ำเสมอในองค์ประกอบต่างๆ ประกอบกันขึ้นเป็นขยะมูลฝอย ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามชุมชนและตามฤดูกาล อีกทั้งขยะมูลฝอยเหล่านี้มีค่าความร้อนต่ำ มีปริมาณเถ้าและความชื้นสูง สิ่งเหล่านี้ก่อความยุ่งยากให้กับผู้ออกแบบโรงเผาและผู้ปฏิบัติ และยังควบคุมการเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ยาก การแปรรูปขยะมูลฝอยโดยผ่านกระบวนการจัดการต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของขยะมูลฝอย เพื่อทำให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF) จะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวมาข้างต้นได้ ซึ่งเชื้อเพลิงที่ได้นั้นสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานได้ เชื้อเพลิงขยะ (RDF) เป็นการปรับปรุง และแปลงสภาพของขยะมูลฝอย ให้เป็นเชื้อเพลิงแข็งที่มีคุณสมบัติค่าความร้อน (Heating Value) ความชื้น ขนาด และความหนาแน่น เหมาะสมในการใช้เป็นเชื้อเพลิงป้อนหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไฟฟ้าหรือความร้อน และมีองค์ประกอบทั้งทางเคมีและกายภาพสม่ำเสมอ

คุณลักษณะทั่วไปของเชื้อเพลิงขยะประกอบด้วย

• ปลอดเชื้อโรคจากการอบด้วยความร้อน ลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อโรค
• ไม่มีกลิ่น
• มีขนาดเหมาะสมต่อการป้อนเตาเผา - หม้อไอน้ำ
• มีความหนาแน่นมากกว่าขยะมูลฝอยและชีวมวลทั่วไป เหมาะสมต่อการจัดเก็บ และขนส่ง
• มีค่าความร้อนสูงเทียบเท่ากับชีวมวล และมีความชื้นต่ำ
• ลดปัญหามลภาวะจากการเผาไหม้
หลักการทำงานของเทคโนโลยีนี้ เริ่มจากการคัดแยกขยะที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้ เช่น โลหะ แก้ว เศษหิน ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิลออกจากขยะรวม ในบางกรณีจะมีการใช้เครื่องคัดแยกแม่เหล็กเพื่อคัดแยกมูลฝอยที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ และใช้เครื่อง Eddy Current Separator เพื่อคัดแยกอลูมิเนียมออกจากมูลฝอย จากนั้นจึงป้อนขยะมูลฝอยไปเข้าเครื่องสับ - ย่อยเพื่อลดขนาด และป้อนเข้าเตาอบเพื่อลดความชื้นของมูลฝอย โดยการใช้ความร้อนจากไอน้ำหรือลมร้อนเพื่ออบขยะให้แห้ง ซึ่งจะทำให้น้ำหนักลดลง และสุดท้ายจะส่งไปเข้าเครื่องอัดเม็ด เพื่อทำให้ได้เชื้อเพลิงขยะอัดเม็ดที่มีขนาดและความหนาแน่นเหมาะสมต่อการขนส่งไปจำหน่ายเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งในบางกรณีจะมีการเติมหินปูนเข้าไปกับมูลฝอยระหว่างการอัดเป็นเม็ด เพื่อควบคุมและลดปริมาณก๊าซพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้
การออกแบบขั้นตอนต่างๆ ในการแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ถ้าขยะมูลฝอยได้มีการคัดแยกส่วนที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น โลหะ และแก้ว ได้จากแหล่งกำเนิด ดังนั้น กระบวนการแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิงก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนการคัดแยกโลหะหรือแก้ว โดยทั่วไปขยะจะถูกนำมาคัดแยกส่วนที่นำไปกลับใช้ซ้ำได้ เช่น โลหะ อลูมิเนียม และแก้ว และคัดแยกอินทรีย์สาร เช่น เศษอาหาร ที่มีความชื้นสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบป้อนเข้ากระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ หรือผลิตสารปรับปรุง คุณภาพดิน สำหรับส่วนประกอบมูลฝอยที่เหลือจะถูกนำไปลดขนาด ส่วนใหญ่ประกอบด้วยกระดาษ เศษไม้ พลาสติก ซึ่งสามารถนำไปใช้ในกระบวนการเผาไหม้โดยตรงในรูปของ Coarse RDF (c-RDF) หรือ RDF ชนิดหยาบ หรือนำมาผ่านกระบวนการทำให้แห้งและการอัดแท่งเพื่อผลิตเป็น Densified RDF (d-RDF) ในการพิจารณาว่าจะผลิตขยะเชื้อเพลิงชนิดใดขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของระบบการเผาไหม้ สถานที่ที่ตั้งระหว่างที่ผลิตเชื้อเพลิงขยะ และสถานที่ที่ใช้งาน องค์ประกอบของเชื้อเพลิงขยะ จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของขยะที่นำมาแปรรูป วิธีการจัดเก็บ และกระบวนการที่ใช้ ในการแปรรูป คุณลักษณะที่สำคัญของขยะเชื้อเพลิงหลังจากการแปรรูปแล้ว ได้แก่ ค่าความร้อน ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า และปริมาณซัลเฟอร์และคลอไรด์ นอกจากนี้การแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิงจะช่วยลดความชื้น ส่งผลให้ค่าความร้อนขยะ มีค่าสูงขึ้นด้วย
การใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงขยะ สามารถใช้ได้ทั้งในรูปผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อน โดยที่อาจจะมีการใช้ประโยชน์ในสถานที่ผลิตเชื้อเพลิงขยะ หรือขนส่งไปใช้ที่อื่น นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เผาร่วมกับถ่านหิน เพื่อลดปริมาณการใช้ถ่านหิน ในอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมซีเมนต์ โดยมีรูปแบบเตาเผาที่ใช้เปลี่ยนเชื้อเพลิงขยะให้เป็นพลังงานความร้อน ประกอบด้วย เตาเผาแบบตะกรับ (Stoker) เตาเผาแบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized Bed Combustor) หรือเตาเผาแก็สซิฟิเคชั่น (Gasification) หรือไพโรไลซิส (Pyrolysis)