Need for speed ภาคไหนแต งรถได ม นส ด

เกมตระกูล Need for Speed เป็นที่ทราบกันดีว่ามันเป็นเกมตระกูลแข่งรถที่ออกมาหลายภาคและมีอายุเก่าแก่พอสมควรแต่ถึงแม้มันจะมีภาคต่อออกมามากแค่ไหนแต่แฟน ๆ NFS รู้ดีว่ามีอยู่ไม่กี่ภาคเท่านั้นที่ยังครองใจอยู่ถึงทุกวันนี้

Need for speed ภาคไหนแต งรถได ม นส ด

ฉะนั้นเพื่อเป็นการรำลึกและต้อนรับภาคใหม่ NFS: Payback ที่จะมาในปีนี้เรามาดูกันว่าเกม Need for Speed ภาคไหนบ้างที่ถูกจัดว่ายอดเยี่ยมเจ๋งเป้งที่สุดโดยได้รวบรวมข้อมูลมาจาก Gameskinny ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันได้เลย

6.Need for Speed: The Run (2011)

Need for speed ภาคไหนแต งรถได ม นส ด

ภาค The Run จัดว่าเป็นภาคที่มีเนื้อหาเป็นเรื่องเป็นราวชวนให้ติดตามที่สุดกับการแข่งขันข้ามรัฐจากซานฟราน ฯ สู่นิวยอร์ค ตัวเกมอัดแน่นไปด้วยรถซิ่งกว่า 60 คันกราฟิกที่สมจริงด้วยขุมพลังเอนจิ้น Frostbite 2 เป็นเกมภาคแรกที่ตัวละครสามารถลงเดินบนถนนได้พร้อมกับมีฉากแอ็คชั่นมันส์ ๆ ให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมด้วย

5.Need for Speed: Underground (2003)

Need for speed ภาคไหนแต งรถได ม นส ด

เป็นภาคที่พาผู้เล่นไปเป็นนักซิ่งข้างถนนยามค่ำคืนกับการแข่งแบบสตรีทมีโหมดแข่งขันให้เลือกเล่นหลายแบบแม้ว่ากราฟิกจะดูด้อยแต่ก็ทดแทนด้วยระบบเกมที่แน่นปึ้กมีเพลงประกอบที่ยอดเยี่ยมเข้ากับธีมเกมหรือจะเป็นฟีเจอร์แต่งรถที่ทำได้ทั้งแต่งภายนอกหรือแต่ง/จูนเครื่องได้เต็มที่จึงไม่แปลกนักที่ต่อให้เป็นปี 2017 ก็ยังมีหลายคนเล่นภาคนี้กันอยู่

4.Need for Speed: Hot Pursuit (2010)

Need for speed ภาคไหนแต งรถได ม นส ด

จะพาผู้เล่นเข้าสู่โลกของการไล่ล่าของคู่ปรับตลอดกาลนั่นคือนักแข่งกับตำรวจโดยตัวเกมทำเจ๋งตรงที่สามารถเลือกฝั่งได้ว่าจะเล่นเป็นนักแข่งหรือตำรวจมาพร้อมรถซิ่งสายพันธุ์สปอร์ตมากกว่า 60 คันพร้อมกับอาวุธสำหรับไล่ล่า/หลบหนี ไม่มีแต่งซิ่งแต่เน้นแข่งขันกันเพียว ๆ ตอบโจทย์ความมันส์ชนิดที่ว่าได้รางวัลเกมแข่งรถยอดเยี่ยมในงาน E3 มาแล้วล่ะครับ

3.Need for Speed: Carbon (2006)

Need for speed ภาคไหนแต งรถได ม นส ด

มีเนื้อหาต่อจากภาค Most Wanted เมื่อผู้เล่นหนีตำรวจมาได้ก็เข้าสู่เมืองใหม่ที่เต็มไปด้วยหุบเขาซึ่งในภาคนี้จัดว่าโดนใจนักซิ่งสายดริฟท์แน่นอนเพราะตัวเกมแข่งขันกันบนภูเขาตอนกลางคืนที่เต็มไปด้วยโค้งมากมายแถมยังมีระบบ Crew สมาชิกทีมแต่ละคนกับความสามารถแตกต่างกันและต้องยึดพื้นที่ให้หมดทุกส่วนบวกกับต้องหลบหนีตำรวจอีกเลยทำให้ขึ้นอันกับ 3 ได้ไม่ยาก

2.Need for Speed: Underground 2 (2004)

Need for speed ภาคไหนแต งรถได ม นส ด

สานต่อความมันส์จาก Underground ภาคแรกและอัพเกรดระบบการเล่นจนหลาย ๆ คนต่างบอกว่ามันเป็นเกมที่มีระบบแต่งรถที่สมบูรณ์แบบที่สุดในตระกูล NFS มีรถซิ่งมากมายให้เลือกใช้โดยจะมุ่งเน้นรถแบบแข่งสตรีท โหมดเนื้อเรื่องอีเว้นท์แต่ละอย่างน่าสนใจมีโหมด Free Roam เป็นครั้งแรกเพลงประกอบก็มันส์ติดหูเป็นเกมที่ถูกพูดถึงอยู่เสมอแม้จะผ่านมา 10 กว่าปีก็ตาม

1.Need for Speed: Most Wanted (2005)

Need for speed ภาคไหนแต งรถได ม นส ด

อันดับที่ 1 ก็คงต้องยกให้ภาค Most Wanted ปี 2005 นี่แหละครับเพราะว่ามันเป็นเกมที่ครบจบทุกอย่างทั้งเกมเพลย์การควบคุมรถที่ง่าย , ตำรวจไล่ล่าเยอะ , เนื้อเรื่องดีเร้าใจน่าติดตามกับการไต่อันดับเอาชนะเหล่าแบล็คลิสต์+หนีหัวหน้าตำรวจ Cross , ระบบเสียงจัดเต็มดึงเอกลักษณ์รถแต่ละคันมอบความมันส์ได้ทุกครั้งที่หยิบมาเล่นครับ

ซีรีส์นี้เริ่มแรกพัฒนาโดยสตูดิโอชาวแคนาดาชื่อ Distinctive Software หรือรู้จักกันในชื่อ EA Canada โดยเกมแรกมีชื่อว่า เดอะนีดฟอร์สปีด ในอเมริกาเหนือ, ญี่ปุ่น และยุโรป ในปี 1994 โดยวางจำหน่ายลงบนเครื่องคอนโซลยุคที่ห้า และจนถึงยุคที่เจ็ดในปี 2008 โดยตัวเกมมีระบบการเล่นหลักคือ แข่งรถในสนามแข่ง ต่อมาก็เพิ่มตำรวจเข้าไปไล่ล่าผู้เล่นในสนามแข่งด้วย

การเล่น[แก้]

เกมส์เกือบทั้งหมดในชุด นีดฟอร์สปีด มีการเล่นและระบบต่างๆ คล้ายกันหมด โดยที่ผู้เล่นต้องควบคุมรถแข่งในสนามแข่งที่มีความหลากหลาย ซึ่งเป้าหมายคือชนะการแข่งขัน ในโหมดทัวร์นาเมนท์หรือโหมดอาชีพ ผู้เล่นต้องชนะชุดการแข่งขันแต่ละชุดในนั้นเพื่อที่จะปลดล็อกรถแข่งและสนามแข่งต่อไป ก่อนการแข่งรถ ผู้เล่นจะต้องเลือกรถแข่งและระบบเกียร์ของรถซึ่งมีทั้งระบบเกียร์แบบธรรมดาและระบบเกียร์แบบอัตโนมัติ

ถึงแม้ว่าเกมชุดนี้จะมีการใช้ชื่อนีดฟอร์สปีดด้วยกัน แต่อาจมีการเล่น เสียง ภาพกราฟิก หรือจุดมุ่งหมายแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น ในบางเกมรถแข่งอาจมีการพังและความเร็วลดลงจากการชนคู่แข่งหรือขอบสนาม ในขณะที่บางเกมไม่สามารถมีรอยพังและความเสื่อมสมรรถภาพของเครื่องยนต์ได้เลย ในบางเกมรถอาจมีความสมจริงมาก แต่บางเกมรถไม่ค่อยมีความสมจริง

ในภายหลังเปิดตัวของ นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์เกราน์ด ชุดเกมนี้ก็ได้เปลี่ยนจากการแข่งรถสปอร์ตในสนามแข่งจากจุดไปจุดมาเป็นการแต่งรถซิ่งผิดกฎหมายบนถนนในเมือง จนถึงปัจจุบัน การแต่งรถแข่งในเมืองได้เป็นรูปแบบหลักในชุดเกมนี้ตลอดมา

นีดฟอร์สปีด: ชิฟต์ ภาคแรกและภาคสอง ได้เปลี่ยรเป็นแนวจำลองการแข่งรถในสนามแข่งแบบปิดจริง อย่างเช่น Nürburgring และ Laguna Seca แล้วก็ยังมีสนามแข่ง (แบบปิด) บนถนนในลอนดอนและชิคาโก้ ส่วนรถที่ใช้ในการแข่งขันได้มีรวมกันทั้งรถเอ็กโซติก รถสปอร์ต และรถพิเศษสำหรับการแข่งบนสนาม

เกมส่วนใหญ่ในแฟรนไชส์นี้จะมีรถตำรวจไล่ล่าจับผู้ร้าย และผู้เล่นสามารถเลือกที่จะเล่นเป็นผู้ร้ายหรือตำรวจได้อีกด้วย ส่วนรูปแบบการดริฟต์ และการแข่งรถแบบลาก (แดรก) ได้เริ่มมีครั้งแรกใน นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์เกราน์ด รูปแบบการแข่งขันนี้อยู่ในโหมดอาชีพ ในการแข่งขันการดริฟต์ ผู้เล่นจะต้องชนะผู้เล่นอื่นโดยสะสมแต้มการดริฟต์ให้มากที่สุด ซึ่งนับจากระยะทางและเวลาที่สามารถดริฟต์ได้ของรถของผู้เล่น ในการแข่งขันแบบลาก ผู้เล่นต้องชนะที่หนึ่งในการแข่งขัน แต่ถ้าผู้เล่นได้ไปปะทะกับรถจราจรหรือสิ่งกีดขวางต่างๆ การแข่งขันก็จะจบทันที

ส่วนแนวคิดของการแต่งรถ ได้พัฒนาขึ้นไปพร้อมกับเกมใหม่ๆ ที่ออกมา โดยในตอนแรกเริ่มต้นจากการการปรับแต่งรถว่าจะให้รถนั้นมีรูปแบบแบบไหน และต่อมาก็เริ่มตั้งค่าระบบต่างๆ ได้เช่น ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (ABS), ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (TSC) และแรงกด (downforce) หรือจะอัปเกรดชิ้นส่วนรถยนต์ อย่างเช่น เครื่องยนต์และกระปุกเกียร์ ส่วนการปรับแต่งภายนอกได้เริ่มมีความสำคัญในโหมดการแข่งขันอาชีพหลังจากที่นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์เกราน์ด 2 ได้วางจำหน่าย โดยที่รถที่มีการปรับแต่งภายนอกได้สวยก็จะมีเรตติ้งสูง และจะได้อยู่บนปกนิตยสาร (ที่เกมสมมุติขึ้นมา)

เช่นเดียวกับเกมส์แข่งรถอื่นๆ ชุดเกม นีดฟอร์สปีด ได้มีรายการของรถแต่ละประเภทและแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ รถสมรรถนะสูงมาก (ซุปเปอร์คาร์, เอ็กโซติก) รถมัสเซิล รถแต่ง และรถพิเศษ รถเอ็กโซติกมีคุณสมบัติคือมีสมรรถนะที่สูงและแพง เช่น ลัมโบร์กินี มูร์เซียลาโก, เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอสแอลอาร์ แม็คลาเรน, เชฟโรเลต คอร์เวิต และ ฟอร์ด จีที; รถมัสเซิล เช่น ฟอร์ด มัสแตง, ดอดจ์ ชาเลนเจอร์ และ เชฟโรเลต คามาโร; รถแต่ง เช่น นิสสัน สกายไลน์ และ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน ส่วนรถพิเศษจะเป็นรถของพลเรือนและรถตำรวจซึ่งสามารถใช้ได้ในบางเกม เช่น ฟอร์ด คราวน์ วิคตอเรีย ในเกม นีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์ซูต ส่วนรถขยะ รถดับเพลิง และรถแท็กซี่ใช้ได้ในเกม นีดฟอร์สปีด: คาร์บอน.

แต่เดิมแล้ว ชุดเกมนี้ได้ใช้สนามแข่งรถและจัดฉากให้คล้ายกับเมืองหรือประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย ยุโรป และแอฟริกา แต่ต่อมา ตั้งแต่ภาคอันเดอร์เกราน์ด ได้มีการสมมุติเมืองอุตสาหกรรมขึ้นมา ภาคเกมแรกนั้นมีจราจรในโหมด "ตัวต่อตัว" และต่อมาเกมใหม่ๆ ก็สามารถเปิดปิดโหมดจราจรได้เริ่มตั้งแต่ภาคอันเดอร์เกราน์ด หน้าที่ของรถสัญจรจราจรคือเป็นสิ่งกีดขวางผู้แข่ง ภาคหลังๆ ของเกมนีดฟอร์สปีดใหม่ๆ ได้ใช้โลกที่สมมุติขึ้นมา อีกทั้งยังมีตอนกลางวัน/กลางคืนด้วย โลกสมมุติได้แก่ โอลิมปิก ซิตี้ (Olympic city), เบย์วิว ซิตี้ (Bayview city), ร็อกพอร์ต ซิตี้ (Rockport city), ไทร-ซิตี้ เบย์ (Tri-city Bay) ซีเครสต์ คันที (Seacrest County), แฟร์แฮฟเว่น ซิตี้ (Fairhaven City), เวนทูร่า เบย์ (Ventura Bay) และ เรดวิว คันที (Redview County)

การพัฒนา[แก้]

ปีที่เกมวางจำหน่าย1994เดอะนีดฟอร์สปีด199519961997นีดฟอร์สปีด II1998นีดฟอร์สปีด III: ฮอตเพอร์ซูต1999นีดฟอร์สปีด: ไฮสเต็กส์2000นีดฟอร์สปีด: ปอร์เช่อันลีชต์20012002นีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์ซูต 22003นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์เกราน์ด2004นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์เกราน์ด 22005นีดฟอร์สปีด: โมสท์วอนเต็ด2006นีดฟอร์สปีด: คาร์บอน2007นีดฟอร์สปีด: โปรสตรีท2008นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์คัฟเวอร์2009นีดฟอร์สปีด: ชิฟต์นีดฟอร์สปีด: ไนโตร2010นีดฟอร์สปีด: เวิลด์นีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์ซูต2011ชิฟต์ 2: อันลีชต์นีดฟอร์สปีด: เดอะรัน2012นีดฟอร์สปีด: โมสท์วอนเต็ด2013นีดฟอร์สปีด: ไรวัลส์20142015นีดฟอร์สปีด: โนลิมิตนีดฟอร์สปีด (2015)20162017นีดฟอร์สปีด เพย์แบ็ก20182019นีดฟอร์สปีดฮีต

ชุดวีดีโอเกม นีดฟอร์สปีด แต่เดิมแล้วได้ถูกพัฒนาโดย Distinctive Software บริษัทสตูดิโอเกมแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ แวนคูเวอร์, บริติชโคลัมเบีย, แคนาดา และหลังจากนั้นก็ถูกบริษัทวีดีโอเกมอิเล็กทรอนิก อาตส์ซื้อบริษัทนี้ไปในปี ค.ศ. 1991 บริษัทนี้เคยได้สร้างวีดีโอเกมแข่งรถชื่อดังหลายเกมเช่น Stunts และ Test Drive II: The Duel หลังจากถูกซื้อ บริษัทนี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Electronic Arts (EA) Canada หลังจากนั้น บริษัท EA Canada ก็ได้เริ่มการพัฒนาชุดเกมนีดฟอร์สปีดต่อถึงปี ค.ศ. 2002 และต่อมา บริษัทเกมแห่งหนึ่งจากแวนคูเวอร์ที่ชื่อว่า Black Box Games ก็ได้ถูกจ้างให้สร้างเกมนีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์สูต 2 ต่อ บริษัท EA Black Box นั้นก็ได้เป็นบริษัทหลักสร้างชุดเกมนี้ตลอดมาจากปี ค.ศ. 2002–2008 ต่อมาในปี ค.ศ. 2009 ชุดเกมนีดฟอร์สปีดเริ่มมียอดขายน้อยลง อีเอจึงได้ซื้อบริษัทเกม Slightly Mad Studios เพื่อพัฒนา นีดฟอร์สปีด: ชิฟต์ และบริษัท Criterion Games จากสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 2010 เพื่อพัฒนาเกม นีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์สูต ในปี 2011, Slightly Mad Studios ก็ได้พัฒนาเกม ชิฟต์ 2: อันลีชต์ และ EA Black Box ได้พัฒนาเกม นีดฟอร์สปีด: เดอะรัน.

ในปี ค.ศ. 2010 อีเอได้แนะนำเครือข่ายสังคมที่ชื่อว่า Autolog สำหรับ นีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์สูต และเกมนีดฟอร์สปีด อื่นๆ ในอนาคต Autolog นั้นมีคุณสมบัติตรวจสอบความคืบหน้าของเกม ดูตารางอันดับ และส่งภาพหน้าจอให้กับเพื่อนๆ และอีกมากมายผ่านโทรศัพท์มือถือ

ที่งาน E3 2012 อเล็กซ์ วอร์ด รองประธานบริษัทไครทีเรียนเกมส์ ได้ออกมากล่าวว่านักพัฒนาของบริษัทไม่ได้เป็นผู้สร้างภาคต่อของนีดฟอร์สปีดอีกต่อไปแล้ว แต่วอร์ด ก็ไม่ได้ยืนยันว่าเกมนีดฟอร์สปีดในอนาคตนั้นบริษัทไครทีเรียนเกมส์ จะเป็นผู้พัฒนาเกมนีดฟอร์สปีดเพียงผู้เดียว แต่ก็มีส่วนร่วมอย่างมากในการพัฒนาภาคใหม่ของนีดฟอร์สปีดในอนาคต

ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2013 ได้มีการประกาศว่าบริษัทไครทีเรียนเกมส์ จะมีการปรับโครงสร้างและลดขนาดองกรณ์ลง ในขณะที่บริษัทโกสต์เกมส์จะเป็นหัวหอกในการพัฒนาซีรีส์นีดฟอร์สปีดในอนาคตทั้งหมด

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2020 โกสต์เกมส์ได้ประกาศลดบทบาทลงให้เป็นสตูดิโอสนับสนุนด้านวิศวกรรมสำหรับอีเอทั้งหมดและเปลี่ยนชื่อกลับเป็นอีเอ กอเทนเบิร์ก โดยมีนิดฟอร์สปีดฮีต เป็นเกมสุดท้ายทั้งสำหรับแฟรนไชส์ และในฐานะทีมพัฒนาหลัก หลังจากที่สองเกมที่ผ่านมาทั้งนิดฟอร์สปีด (วิดีโอเกม พ.ศ. 2558) และ นีดฟอร์สปีด: เพย์แบ็กนั้น ไม่เพียงพอที่จะคืนฟอร์มให้กับแฟรนไชส์ได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ทีมพัฒนาซีรีส์นีดฟอร์สปีดกลับไปที่ไครทีเรียนเกมส์