Logo การไฟฟ าส วนภ ม ภาค call center

ขอให้ปรับปรุง แอพ การจดเลขหน่วย ในขณะพนักงานจดเลข ให้ถ่ายรูป เลขหน่วยที่มเตอร์ เพื่อ แนบในแอพ ประชาชนจะด้าย ตรวจสอบ เลข ขณะจดด้ายในแอพ ว่า ตรงกันหรือ เปล่า กันจดเลขผิด ใช้จริง1030 จด1300 มัน ต่างกัน มาก นะครับ

เข้าระบบไม่ได้เลย

เข้าระบบไม่ได้เลย ขึ้นแจ้งระบบมีคนเข้าใช้งานเป็นจำนวนมากให้รอสักครู่ #รีบแก้ไขด่วนเลยค่ะ ใช้ไม่ได้หลายวันแล้ว

ลงทะเบียนไม่ได้ บอกไม่มีข้อมูล Device

ลงทะเบียนไม่ได้

บอกไม่มีข้อมูล Device แต่มี otp ส่งมา

งง

ความเป็นส่วนตัวของแอป

นักพัฒนาแอป Provincial Electricity Authority ได้ระบุว่าแนวปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวของแอปอาจรวมถึงการจัดการข้อมูลตามที่อธิบายไว้ด้านล่างสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ให้ดูที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวของนักพัฒนา

ข้อมูลที่เชื่อมโยงกับคุณ

ข้อมูลต่อไปนี้อาจถูกเก็บและเชื่อมโยงกับตัวตนของคุณ:

  • ข้อมูลติดต่อ

ข้อมูลที่ไม่เชื่อมโยงกับคุณ

ข้อมูลต่อไปนี้อาจถูกเก็บรวบรวมแต่ไม่ได้เชื่อมโยงกับตัวตนของคุณ:

  • ตำแหน่งที่ตั้ง
  • ข้อมูลติดต่อ
  • ตัวระบุ
  • ข้อมูลการใช้งาน
  • การวินิจฉัย

แนวทางปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวอาจแตกต่างกันไป เช่น ตามคุณสมบัติที่คุณใช้หรือตามอายุของคุณ เรียนรู้เพิ่มเติม

ข้อมูล

ผู้เผยแพร่

PROVINCIAL ELECTRICITY AUTHORITY

ขนาด

57.2 MB

ประเภท

เครื่องมืออำนวยความสะดวก

ใช้ได้กับ iPhone ต้องมี iOS 12.0 หรือใหม่กว่า iPod touch ต้องมี iOS 12.0 หรือใหม่กว่า Mac ต้องมี macOS 11.0 หรือใหม่กว่าและ Mac ที่ใช้ชิพ Apple M1 หรือใหม่กว่า

เตือนภัยออนไลน์ล่าสุด แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แอบอ้าง เป็น กฟภ. หลอกคืนเงินประกันค่าไฟฟ้า 2,000-6,000 บาท ให้ประชาชนตามมาตรการรัฐ ขณะ ตำรวจเตือน ไม่กดลิงค์ที่ไม่รู้จัก เสี่ยงถูกฝั่งแอปควบคุมมือถือ มีสติ อย่าโลภ

14 เมษายน 2566 - อัปเดตล่าสุด เรื่องภัยออนไลน์ ของกลุ่มมิจฉาชีพ โดยมีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แจ้งว่า ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืน เพื่อช่วยเหลือประชาชนตามมาตรการเร่งด่วน

ซึ่งเมื่อผู้เสียหายกดลิงก์ที่แนบมากับข้อความดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่มิจฉาชีพปลอมขึ้นมา จากนั้นมิจฉาชีพจะสอบถามรายละเอียดต่างๆ เริ่มจากสอบถามว่า ได้รับการแจ้งเตือนมาจากช่องทางใด แจ้งผู้เสียหายว่าจะได้รับเงินประกันคืนในอัตราตั้งแต่ 2,000-6,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของมิเตอร์ที่ใช้

แกล้งทำเป็นสอบถามว่าโทรศัพท์ที่ใช้งานใช้ระบบปฏิบัติการ Android หรือ IOS พร้อมทั้งขอหมายเลขโทรศัพท์เพื่อติดต่อกลับ เมื่อตอบคำถามเสร็จสิ้น จะมีหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยโทรฯ มายังผู้เสียหาย อ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แล้วทำการส่งลิงก์ทางไลน์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(ปลอม) อ้างว่าเป็นแอปพลิเคชันเวอร์ชันใหม่ล่าสุด สามารถตรวจสอบปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ได้ในแต่ละวัน

Logo การไฟฟ าส วนภ ม ภาค call center

โดยมีการขอสิทธิติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (ไฟล์อาจเป็นอันตราย หรือไฟล์นามสกุล .apk) มีการหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน 6 หลัก จำนวนหลายๆ ครั้ง เพื่อหวังให้ผู้เสียหายกรอกรหัสชุดเดียวกับรหัสเข้าถึง หรือทำธุรกรรมการเงินของแอปพลิเคชันธนาคารต่างๆ ในโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย รวมไปถึงขอสิทธิในการควบคุมอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ เช่น ดูและควบคุมหน้าจอ ดูและดำเนินการ เป็นต้น

โดยในขั้นตอนนี้ มิจฉาชีพจะแสร้งหวังดีสอนผู้เสียหายว่าทำอย่างไร โดยการโทรศัพท์มาแจ้งวิธีการด้วยตนเอง กระทั่งเมื่อมิจฉาชีพได้สิทธิควบคุมอุปกรณ์หรือโทรศัพท์มือถือแล้ว จะทำการล็อกหน้าจอโทรศัพท์ ทำให้เสมือนโทรศัพท์ค้าง ซึ่งมักจะแสดงข้อความว่า อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบ ห้ามใช้งานโทรศัพท์มือถือ ทำให้มิจฉาชีพสามารถนำรหัสที่ผู้เสียหายเคยกรอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ ทำการโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหาย

เตือนประชาชนอย่าโลภ ต้องมีสติ ระวังถูกหลอกติดตั้งแอปพลิเคชั่นปลอม

ทั้งนี้ ตำรวจ กล่าวว่า การหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าว ยังคงเป็นการหลอกลวงในรูปแบบเดิมๆ เพียงแต่มิจฉาชีพจะเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน และเปลี่ยนเนื้อหาไปตามวันเวลา และสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งว่าได้รับสิทธิ หรือได้รับเงินคืน ให้อัปเดตข้อมูล โดยในขั้นตอนสุดท้ายจะหลอกลวงให้เหยื่อกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมของหน่วยงานที่แอบอ้าง ที่ผ่านมาก็ปรากฏในหลายๆ หน่วยงาน มิจฉาชีพจะอาศัยความไม่รู้ และความโลภ ของประชาชนเป็นเครื่องมือ ใช้ความสมัครใจของเหยื่อให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม มีการใช้สัญลักษณ์ของหน่วยงาน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ประกาศยกเลิกการส่งข้อความสั้น (SMS) หรือส่งอีเมลไปยังประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันการเงิน หรือธนาคารต่างๆ

ทั้งนี้ฝากย้ำเตือนไปยังประชาชน ไม่ว่ามิจฉาชีพจะมาในรูปแบบใดๆ ก็ตาม ให้ระมัดระวังและมีสติอยู่เสมอ โดยหากพบเห็นข้อความสั้น (SMS) หรือลิงก์ ในลักษณะดังกล่าว ให้แจ้งเตือนไปยังบุคคลใกล้ชิด และหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานนั้นๆ ให้ช่วยตรวจสอบทันที เพื่อลดการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ