In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน

ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง หมู่เกาะแปซิฟิก จีน มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือและตอนใต้

Show

ผล

ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ

  • การล่มสลายของของจักรวรรดิในทวีปยุโรปทั้งหมด(อันได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิออตโตมัน และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี)
  • การปฏิวัติรัสเซียและสงครามกลางเมืองรัสเซีย ซึ่งนำไปสู่การสถาปนาสหภาพโซเวียตในภายหลัง
  • การล่มสลายของจักรวรรดิเยอรมันและก่อตั้งสาธารณรัฐไวมาร์
  • สงครามประกาศอิสรภาพตุรกีภายหลังจากการยึดครองของจักรวรรดิออตโตมัน
  • การก่อความไม่สงบและการปฏิวัติได้แผ่กระจายไปทั่วทั้งทวีปยุโรปและเอเชีย
  • การก่อตั้งสันนิบาตชาติ(ดูเพิ่มเติมจากผลผวงของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
  • ญี่ปุ่นได้รับชิงเต่าและดินแดนอาณานิคมของเยอรมันอื่น ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งปาเลา หมู่เกาะมาร์แชลล์ และหมู่เกาะแคโรไลน์ ดินแดน เปลี่ยนแปลง
  • การสถาปนาประเทศใหม่ในทวีปยุโรปและตะวันออกกลาง
  • การโอนย้ายอาณานิคมและดินแดนของเยอรมันให้กับประเทศอื่น ๆ การแบ่งแยกจักรวรรดิออตโตมัน และการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

คู่สงคราม

ฝ่ายสัมพันธมิตร:

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ฝรั่งเศส

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
จักรวรรดิบริติช

  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    สหราชอาณาจักร
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    แคนาดา
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    ออสเตรเลีย
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    บริติชราช
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    นิวซีแลนด์
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    นิวฟันด์แลนด์
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    แอฟริกาใต้
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    รัสเซีย (1914–17)
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    ญี่ปุ่น
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    อิตาลี (1915–18)
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    สหรัฐ (1917–18)
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    เซอร์เบีย
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    มอนเตเนโกร
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    โรมาเนีย (1916–18)
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    เบลเยียม
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    จีน (1917–18)
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    กรีซ (1917–18)
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    โปรตุเกส (1916–18)
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    สยาม (1917-18)

...และอื่น ๆ

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง:

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
เยอรมนี
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ออสเตรีย-ฮังการี
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
จักรวรรดิออตโตมัน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
บัลแกเรีย (1915-18)

...และอื่น ๆผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตร:

  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    แรมง ปวงกาเร
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    ฌอร์ฌ เกลม็องโซ
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    เอช. เอช. แอสควิธ
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    เดวิด ลอยด์ จอร์จ
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    อัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย
    In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    อะเลคซันดร์ เคเรนสกี
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    วิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    วิตโตรีโอ ออร์ลันโด
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    วูดโรว์ วิลสัน
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    โยชิฮิโตะแห่งญี่ปุ่น
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    ปีเตอร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • และคนอื่น ๆ...

ผู้นำฝ่ายมหาอำนาจกลาง:

  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    วิลเฮล์มที่ 2
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    เอริช ลูเดินดอร์ฟ
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    เทโอบัลท์ ฟ็อน เบทมัน ฮ็อลเวค
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    ฟรันซ์ โยเซฟที่ 1
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    คาร์ลที่ 1
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    คาร์ล ฟ็อน ชเตือร์ค
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    อิสต์แวน ทิสซา
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 5
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 6
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    เซด ฮาลิม ปาชา
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    แอนแวร์ พาชา
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย
  • In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
    วาซิล ราโดสลาวอฟ
  • และคนอื่น ๆ...

กำลัง

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
12,000,000 คน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
8,841,541 คน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
8,660,000 คน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
5,615,140 คน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
4,743,826 คน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
1,234,000 คน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
800,000 คน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
707,343 คน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
380,000 คน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
250,000 คน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
1,600 คน

รวม : 42,961,450 คน

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
13,250,000 คน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
7,800,000 คน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
2,998,321 คน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
1,200,000 คน

รวม : 25,248,321 คนความสูญเสีย เสียชีวิต : 5,525,000 คน บาดเจ็บ : 12,831,500 คน สูญหาย : 4,121,000 คน รวม : 22,477,500 คน เสียชีวิต : 4,386,000 คน บาดเจ็บ : 8,388,000 คน สูญหาย : 3,629,000 คน รวม : 16,403,000 คน

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (อังกฤษ: World War I หรือ First World War) ยังเป็นที่รู้จักกันคือ "สงครามโลกครั้งแรก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) เป็นสงครามทั่วโลกที่กินเวลาจากวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึง 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เป็น "สงครามเพื่อยุติสงครามทั้งหมด" มันนำไปสู่การระดมพลบุคลากรทางทหารมากกว่า 70 ล้านนาย รวมทั้งชาวยุโรป 60 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในสงครามขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในความขัดแย้งที่อันตรายร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีผู้เสียชีวิตประมาณเก้าล้านคนและพลเรือนเสียชีวิต 13 ล้านคนอันเป็นผลโดยตรงจากสงคราม ในขณะที่ได้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการระบาดครั้งใหญ่ของไข้หวัดใหญ่สเปนในปี ค.ศ. 1918 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีก 17 - 100 ล้านคนทั่วโลก

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 กัฟรีโล ปรินซีป ชาวเซิร์บบอร์สเนีย นักชาตินิยมยูโกสลาฟ ได้ลอบปลงพระชนม์ อาร์ชดยุก ฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ รัชทายาทแห่งออสเตรีย-ฮังการี ในเมืองซาราเยโว ได้นำไปสู่วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม ในการตอบสนอง ออสเตรีย-ฮังการีได้ยื่นคำขาดต่อเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม คำตอบของเซอร์เบียได้ล้มเหลวในการสร้างความพึงพอใจให้กับชาวออสเตรีย และทั้งสองฝ่ายต่างได้เข้าสู่สงคราม

เครือข่ายของพันธมิตรที่ประสานกันได้ขยายวิกฤตจากปัญหาทวิภาคีในคาบสมุทรบอลข่านจนไปสู่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับส่วนใหญ่ของยุโรป ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1914 มหาอำนาจของยุโรปได้ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มพันธมิตร: ไตรภาคี ประกอบไปด้วยฝรั่งเศส รัสเซีย และบริติช และไตรพันธมิตรของเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ไตรพันธมิตร เป็นเพียงการป้องกันโดยธรรมชาติทำให้อิตาลีอยู่ห่างจากสงครามจนถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 1915 เมื่อเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังจากความสัมพันธ์กับออสเตรีย-ฮังการีได้ย่ำแย่ลง รัสเซียรู้สึกว่าจำเป็นต้องให้การสนับสนุนแก่เซอร์เบียและอนุมัติการระดมพลทหารบางส่วน ภายหลังจากออสเตรีย-ฮังการีได้เข้ายึดครองกรุงเบลเกรด เมืองหลวงของเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม การระดมพลทหารอย่างเต็มรูปแบบของรัสเซียได้ถูกประกาศในช่วงค่ำของวันที่ 30 กรกฎาคม วันต่อมา ออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนีได้ทำแบบเดียวกัน ในขณะที่เยอรมนีได้เรียกร้องให้รัสเซียยกเลิกการะดมพลทหารภายในเวลาสิบสองชั่วโมง เมื่อรัสเซียไม่ปฏิบัติตามคำเรียกร้อง เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่ 1 สิงหาคมเพื่อให้การสนับสนุนแก่ออสเตรีย-ฮังการี ตามหลังด้วยในวันที่ 6 สิงหาคม ฝรั่งเศสได้สั่งให้ระดมพลทหารอย่างเต็มรูปแบบเพื่อให้การสนับสนุนแก่รัสเซีย เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม

ยุทธศาสตร์ของเยอรมนีในการทำสงครามสองแนวรบกับฝรั่งเศสและรัสเซียคือ การรวบรวมกองทัพจำนวนมากในตะวันตกอย่างรวดเร็วเพื่อเอาชนะฝรั่งเศสภายในเวลาหกสัปดาห์ จากนั้นก็สับเปลี่ยนกองกำลังไปยังทางตะวันออกก่อนที่รัสเซียจะระดมพลทหารได้อย่างเต็มที่ สิ่งนี้เป็นที่รู้จักกันในเวลาต่อมาคือ แผนชลีเฟิน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม เยอรมนีได้เรียกร้องให้เคลื่อนทัพผ่านทางเบลเยียมโดยเสรี ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบรรลุชัยชนะอย่างรวดเร็วต่อฝรั่งเศส เมื่อคำเรียกร้องได้ถูกปฏิเสธ กองทัพเยอรมันจึงบุกครองเบลเยียมในวันที่ 3 สิงหาคม และประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในวันเดียวกัน รัฐบาลเบลเยียมได้เรียกร้องสนธิสัญญาลอนดอน ค.ศ. 1839 และเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาฉบับนี้ บริติชจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม บริติชและฝรั่งเศสยังได้ประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ญี่ปุ่นได้เข้าข้างกับบริติช ได้เข้ายึดครองดินแดนของเยอรมันในจีนและแปซิฟิก ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1914 จักรวรรดิออตโตมันได้เข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ได้ทำการเปิดแนวรบในคอลเคซัส เมโสโปเตเมีย และคาบสมุทรไซนาย สงครามเป็นการสู้รบกันใน (และดึงดูดเข้ามา) ดินแดนอาณานิคมของมหาอำนาจแต่ละฝ่ายได้กระจายความขัดแย้งไปยังแอฟริกาและทั่วโลก ฝ่ายภาคีและประเทศพันธมิตรต่าง ๆ ก็ได้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ในขณะที่การรวมกลุ่มของออสเตรีย-ฮังการี เยอรมนี และประเทศพันธมิตรต่าง ๆ ได้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง

เยอรมันได้รุกเข้าสู่ฝรั่งเศสได้หยุดชะงักลงในยุทธการที่มาร์น และในช่วงปลายปี ค.ศ. 1914 แนวรบด้านตะวันตกได้เข้าสู่สงครามการบั่นทอนกำลัง โดยมีการขุดแนวสนามเพลาะเป็นเส้นทางยาวที่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจนถึงปี ค.ศ. 1917 (แนวรบด้านตะวันออก ซึ่งตรงกันข้าม ได้มีการแลกเปลี่ยนกันไปมาโดยดินแดนขนาดใหญ่มาก) ในปี ค.ศ. 1915 อิตาลีได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและเปิดแนวรบในเทือกเขาแอลป์ บัลแกเรียได้เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางในปี ค.ศ. 1915 และกรีซได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1917 ซึ่งได้ขยายสงครามในคาบสมุทรบอลข่าน สหรัฐอเมริกาในช่วงแรกได้วางตัวเป็นกลาง แม้ว่าจะยังคงวางตัวเป็นกลาง ก็ได้กลายเป็นผู้จัดส่งที่สำคัญที่สุดในการส่งวัสดุสงครามให้กับฝ่ายสัมพันธมิตร ในท้ายที่สุด ภายหลังจากการจมเรือพาณิชย์ของอเมริกันโดยเรือดำน้ำเยอรมัน คำประกาศของเยอรมนีว่ากองทัพเรือจะกลับมาโจมตีอย่างต่อเนื่องต่อการเดินเรือที่เป็นกลาง และมีการเปิดเผยว่าเยอรมนีได้พยายามปลุกระดมให้แม็กซิโกริเริ่มทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1917 กองทัพอเมริกันที่ได้รับการฝึกฝนซึ่งยังไม่ได้เริ่มออกเดินทางไปยังแนวหน้าในจำนวนมากมาย จนกระทั่งกลางปี ค.ศ. 1918 แต่กองกำลังรบนอกประเทศอเมริกันซึ่งท้ายที่สุดก็มีจำนวนทหารถึงสองล้านนาย

แม้ว่าเซอร์เบียจะพ่ายแพ้ไปในปี ค.ศ. 1915 และโรมาเนียก็ได้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1916 แต่กลับประสบความพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1917 ไม่มีประเทศชาติมหาอำนาจใดถูกโค่นล้มออกจากสงครามจนถึงปี ค.ศ. 1918 ปี การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 ในรัสเซีย ได้เข้ามาแทนที่อำนาจของพระเจ้าซาร์โดยรัฐบาลเฉพาะกาล แต่ความไม่พอใจอย่างต่อเนื่องกับความสิ้นเปลืองของสงคราม จนนำไปสู่การปฏิวัติเดือนตุลาคม การก่อตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต และลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์โดยรัฐบาลใหม่ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 เป็นอันสิ้นสุดของการมีส่วนร่วมของรัสเซียในสงคราม ตอนนี้ เยอรมนีได้เข้าควบคุมยุโรปตะวันออกและย้ายกองกำลังรบจำนวนมากไปยังแนวรบด้านตะวันตก การใช้กลยุทธ์ใหม่ การรุกของเยอรมันในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 ได้ประสบความสำเร็จในช่วงแรก ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ล่าถอยและยืนหยัดไว้ กองกำลังสำรองสุดท้ายของเยอรมันได้หมดลง เมื่อกองกำลังทหารอเมริกันที่มีความสดใหม่ 10,000 นายได้เดินทางมาถึงทุก ๆ วัน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ขับไล่เยอรมันให้กลับไปในการรุกร้อยวัน การโจมตีอย่างต่อเนื่องซึ่งเยอรมันไม่อาจตอบโต้ได้เลย ต่อมาได้มีประเทศในฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ประกาศที่จะถอนตัว ประเทศแรกคือ บัลแกเรีย ต่อจากนั้นก็เป็นจักรวรรดิออตโตมัน และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อพ่ายแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ได้เกิดการปฏิวัติขึ้นในประเทศบ้านเกิด และกองทัพก็ไม่เต็มใจที่จะต่อสู้รบอีกต่อไป จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มได้สละราชบังลังก์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน และเยอรมนีได้ลงนามในการสงบศึก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เป็นอันสิ้นสุดลงของการสู้รบ

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในบรรยากาศทางการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคมของโลก สงครามและผลพวงโดยฉับพลันได้จุดประกายการปฏิวัติและการก่อการกำเริบมากมาย บิ๊กโฟร์ (บริติช ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และอิตาลี) ได้กำหนดเงื่อนไขของพวกเขาเกี่ยวกับประเทศมหาอำนาจที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ได้ตกลงกันในการประชุมสันติภาพปารีส ค.ศ. 1919 ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ สนธิสัญญาสันติภาพของเยอรมัน: สนธิสัญญาแวร์ซาย ในท้ายที่สุด อันเป็นผลมาจากสงคราม จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออตโตมัน และจักรวรรดิรัสเซียต่างได้ล่มสลายไปเสียแล้ว และประเทศรัฐใหม่จำนวนมากได้ถูกก่อตั้งขึ้นจากส่วนที่เหลือของพวกเขา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงสุดท้าย ฝ่ายสัมพันธมิตรจะได้รับชัยชนะ(และการก่อตั้งสันนิบาตชาติในช่วงการประชุมสันติภาพโดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันการเกิดสงครามขึ้นในอนาคต) สงครามโลกครั้งที่สองได้เกิดขึ้นตามมาในอีกยี่สิบปีต่อมา

ชื่อ[แก้]

คำว่า"สงครามโลก" ถูกใช้ครั้งแรกในเดือนกันยายน ค.ศ. 1914 โดยนักชีววิทยาและนักปรัชญาชาวเยอรมัน แอร์นสท์ เฮคเคิล ผู้กล่าวอ้างว่า "ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหลักสูตรและลักษณะของ'สงครามในยุโรป'ที่น่ากลัว ... จะกลายเป็นสงครามโลกครั้งแรกตามความหมายของคำนี้" ตามการอ้างอิงจากรายงานบริการโทรเลขในหนังสือพิมพ์อินเดียนาโพลิส สตาร์ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1914

ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1914 - 1918 เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อว่า มหาสงคราม หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า สงครามโลก ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1914 นิตยสารแคนาดาที่มีชื่อว่า แมคลีนส์ ได้เขียนไว้ว่า "บางครั้งสงครามต่าง ๆ ได้ตั้งชื่อเป็นของตัวเอง นี่คือมหาสงคราม" ชาวยุโรปในยุคเดียวกันยังได้เรียกว่า "สงครามเพื่อยุติสงคราม" หรือ "สงครามเพื่อยุติสงครามทั้งหมด" เนื่องจากการรับรู้ถึงขนาดและการทำล้ายล้างที่ไม่ใครเปรียบเทียบได้ในขณะนั้น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1939 คำดัวกล่าวได้กลายเป็นมาตรฐานมากขึ้นโดยนักประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิบริติช รวมทั้งชาวแคนาดา ที่นิยมใช้คำเรียกว่า "สงครามโลกครั้งแรก" และ"สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง" ของชาวอเมริกัน

ภูมิหลังแห่งสงคราม[แก้]

พันธมิตรทางการเมืองและการทหาร[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
คู่แข่งพันธมิตรทางทหารในปี ค.ศ. 1914: ไตรภาคีคือสีเขียว; ไตรพันธมิตรคือสีน้ำตาล. มีเพียงไตรพันธมิตรเท่านั้นที่เป็น"พันธมิตร" อย่างเป็นทางการ ส่วนอื่น ๆ ที่ได้ระบุไว้เป็นรูปแบบการสนับสนุนอย่างไม่เป็นทางการ

ในช่วงศตวรรษที่ 19 ประเทศมหาอำนาจที่สำคัญในทวีปยุโรปได้พยายามจะรักษาสมดุลแห่งอำนาจระหว่างกันเองส่งผลให้เครือข่ายพันธมิตรทางการเมืองและการทหารนั้นมีความซับซ้อน ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการถอนตัวของบริติชจนนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า การแยกตัวอย่างสง่างาม การเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน และการเถลิงอำนาจของปรัสเซียในช่วงหลังปี ค.ศ. 1848 ภายใต้การนำโดยอ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค ชัยชนะในสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย ปี ค.ศ. 1866 ได้สถาปนาให้ปรัสเซียใช้อำนาจครอบงำในเยอรมนี ในขณะที่ชัยชนะเหนือฝรั่งเศสในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ปี ค.ศ. 1870 - 1871 ได้รวมรัฐเยอรมันต่าง ๆ มาเป็นไรช์เยอรมันภายใต้การนำของปรัสเซีย ความต้องการแก้แค้นของฝรั่งเศสที่มีต่อความพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1871 ที่เรียกกันว่า ลัทธิการแก้แค้น และการเข้ายึดอาลซัส-ลอแรนกลับคืนมากลายเป็นเป้าหมายหลักของนโยบายฝรั่งเศสในอีกสี่สิบปีข้างหน้า(ดูที่ ฝรั่งเศส-เยอรมันเป็นศัตรูกัน)

ในปี ค.ศ. 1873 เพื่อแบ่งแยกฝรั่งเศสและหลีกเลี่ยงสงครามในสองแนวรบ บิสมาร์คได้เจรจากับสันนิบาตสามจักรพรรดิ(German: Dreikaiserbund) ระหว่างออสเตรีย-ฮังการี รัสเซีย และเยอรมนี สิ่งที่เกี่ยวข้องกับชัยชนะของรัสเซียในสงครามปรัสเซีย-ตุรกี ปี ค.ศ. 1877-1878 และมีอิทธิพลในคาบสมุทรบอลข่าน สันนิบาตจึงถูกยุบในปี ค.ศ. 1878 ด้วยเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีได้ก่อตั้งทวิพันธมิตรในเวลาต่อมาในปี ค.ศ. 1879 สิ่งนี้ได้กลายเป็นไตรพันธมิตร เมื่ออิตาลีเข้าร่วมในปี ค.ศ. 1882

รายละเอียดในทางปฏิบัติของพันธมิตรเหล่านี้มีจำกัด เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของพวกเขาคือเพื่อให้แน่ใจว่ามีการร่วมมือกันระหว่างสามมหาอำนาจจักรวรรดิและเพื่อแบ่งแยกฝรั่งเศส ความพยายามของบริติชในปี ค.ศ. 1880 เพื่อแก้ไขความตึงเครียดด้านอาณานิคมกับรัสเซียและการเคลื่อนไหวทางการทูตโดยฝรั่งเศสทำให้บิสมาร์คต้องก่อตั้งสันนิบาตขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ. 1881 เมื่อสันนิบาตได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1887 มันได้ถูกแทนที่ด้วยสนธิสัญญาประกันพันธไมตรี ข้อตกลงลับระหว่างเยอรมนีและรัสเซียเพื่อรักษาความเป็นกลาง หากถูกโจมตีโดยฝรั่งเศสหรือออสเตรีย-ฮังการี

ในปี ค.ศ. 1890 จักรพรรดิเยอรมันพระองค์ใหม่ ไคเซอร์ วิลเฮ็ล์มที่ 2 ทรงบีบบังคับให้บิสมาร์คเกษียณราชการและได้รับการโน้มน้าวไม่ต่ออายุสนธิสัญญาประกันพันธไมตรีโดยนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ลีโอ ฟอน คาพีวิ สิ่งนี้ทำให้ฝรั่งเศสสามารถต่อต้านไตรพันธมิตรด้วยการเป็นพันธมิตรกันของฝรั่งเศส-รัสเซียในปี ค.ศ. 1894 และความตกลงฉันทไมตรีกับบริติช ในขณะที่บริติชและรัสเซียได้ลงนามในอนุสัญญาอังกฤษ-รัสเซีย ปี ค.ศ. 1907 ข้อตกลงนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการ แต่ด้วยการยุติข้อพิพาทเกี่ยวกับอาณานิคมที่มีมายาวนาน พวกเขาได้ทำให้บริติชได้เข้าสู่ความขัดแย้งในอนาคตที่เกี่ยงข้องกับฝรั่งเศสหรือรัสเซียเท่าที่จะเป็นไปได้ ข้อตกลงทวิภาคีที่ประสานงานกันเหล่านี้ได้กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า ไตรภาคี บริติชได้ให้การสนับสนุนแก่ฝรั่งเศสในการต่อต้านเยอรมนีในช่วงวิกฤตการณ์โมร็อคโกที่สอง ปี ค.ศ. 1911 ได้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองประเทศ(และกับรัสเซีย) และความบาดหมางระหว่างอังกฤษ-เยอรมันได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการแบ่งแยกที่เข้มข้นขึ้นในปี ค.ศ. 1914

การแข่งขันทางอาวุธ[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
เรือเอชเอ็มเอ็ส ไรช์ลันด์, เรือรบระดับชั้น Nassau, เรือลำแรกของเยอรมันเพื่อตอบโต้การปรากฏตัวของเรือ เดรดนอตของบริติช

การสร้างไรช์เยอรมันภายหลังจากชัยชนะในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียในปี ค.ศ. 1871 ได้นำไปสู่ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของเยอรมนีที่เพิ่มมากขึ้น พลเรือเอก อัลเฟรท ฟ็อน เทียร์พิทซ์ และวิลเฮ็ล์มที่ 2 ที่กลายเป็นจักรพรรดิในปี ค.ศ. 1890 ได้พยายามที่จะใช้สิ่งนั้นเพื่อสร้างไคเซอร์ลีเชอมารีเนอหรือกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันเพื่อแข่งขันกับราชนาวีของบริติชเพื่อแย่งชิงอำนาจสูงสุดทางทะเลของโลก ในการทำเช่นนี้ พวกเขาได้รับอิทธิพลจาก อัลเฟรด เธเออร์ มาฮาน นักยุทธศาสตร์กองทัพเรือสหรัฐ ผู้ที่โต้แย้งว่าการครอบครองน้ำสีฟ้าของกองทัพเรือนั้นมีความสำคัญต่อสิ่งที่วางแผนไว้ในอำนาจทั่วโลก เทียร์พิทซ์ได้แปลหนังสือของเขาเป็นภาษาเยอรมันและวิลเฮ็ล์มที่ 2 ทรงให้พวกเขาได้อ่านมัน อย่างไรก็ตาม มันยังได้รับแรงผลักดันจากการยกย่องของวิลเฮ็ล์มที่ 2 ที่มีต่อราชนาวีและทรงปรารถนาที่จะเอาชนะ

สิ่งนี้ส่งผลให้เกิดการแข่งขันอาวุธทางเรือของอังกฤษ-เยอรมัน แต่การเปิดตัวของเรือหลวงเดรดนอต ในปี ค.ศ. 1906 ทำให้ราชนาวีมีความได้เปรียบทางเทคโนโลยีเหนือคู่แข่งอย่างเยอรมัน ซึ่งพวกเขาไม่เคยพ่ายแพ้ ในท้ายที่สุด การแข่งขันนั้นได้ใช้ทรัพยากรจำนวนมากไปสู่การสร้างกองทัพเรือเยอรมันที่มีขนาดใหญ่ที่มากพอที่จะต่อต้านบริติช แต่ก็ไม่อาจที่จะเอาชนะได้ ในปี ค.ศ. 1911 นายกรัฐมนตรี เทโอบัลท์ ฟ็อน เบทมัน ฮ็อลเวค ได้ยอมรับความพ่ายแพ้ ซึ่งนำไปสู่ Rüstungswende หรือ 'จุดเปลี่ยนอาวุธยุโธปกรณ์' เมื่อเยอรมนีได้เปลี่ยนค่าใช้จ่ายจากกองทัพเรือมาเป็นกองทัพบกแทน

สิ่งนี้ได้รับแรงผลักดันจากการฟื้นฟูของรัสเซียจากการปฏิวัติ ปี ค.ศ. 1905 โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการเพิ่มการลงทุนในช่วงหลังปี ค.ศ. 1908 ในทางรถไฟและโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคชายแดนตะวันตก เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีได้อาศัยการระดมพลทหารที่เร็วขึ้นเพื่อชดเชยจำนวนที่มีน้อยลง ด้วยความกังวลในการปิดช่องว่างนี้ซึ่งนำไปสู่การสิ้นสุดลงของการแข่งขันทางเรือ แทนที่จะลดความตึงเครียดจากที่อื่น เมื่อเยอรมนีได้ขยายกองทัพบกที่มีจำนวนคงที่คือ 170,000 นาย ในปี ค.ศ. 1913 ฝรั่งเศสได้ขยายการเกณฑ์ทหารจากสองถึงสามปี มาตรการที่มีความคล้ายกันที่ถูกดำเนินการโดยประเทศมหาอำนาจในคาบสมุทรบอลข่านและอิตาลีทำให้ออตโตมันและออสเตรีย-ฮังการีมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น จำนวนที่สมบูรณ์เป็นสิ่งที่ยากจะคำนวณ เนื่องจากความแตกต่างในการจัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่าย ในขณะที่มักจะละเว้นโครงการโครงสร้างพื้นฐานของพลเรือนที่มีการใช้ทางทหาร เช่น ทางรถไฟ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1908 ถึง ปี ค.ศ. 1913 ค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันโดยประเทศมหาอำนาจในยุโรป 6 ประเทศได้เพิ่มขึ้นกว่า 50% ในมุมมองที่แท้จริง

ความขัดแย้งในบอลข่าน[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ชาวเมืองซาราเยโวได้ยืนอ่านโปสเตอร์ด้วยคำประกาศของการผนวกดินแดนของออสเตรียในปี ค.ศ. 1908

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1908 ออสเตรีย-ฮังการีได้ยุติวิกฤตการณ์บอสเนียในปี ค.ศ. 1908-1909 โดยทำการผนวกอดีตดินแดนของออตโตมันอย่างบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งถูกยึดครองตั้งแต่ปี ค.ศ. 1878 สิ่งนี้ทำให้ราชอาณาจักรเซอร์เบียและผู้อุปถัมภ์ กลุ่มลัทธิรวมชาวสลาฟ และกลุ่มนิกายออร์ทอดอกซ์ของจักรวรรดิรัสเซียเกิดความโกรธเกี้ยว บอลข่านได้รับการขนานนามว่า "ถังแป้งแห่งยุโรป" สงครามอิตาลี-ตุรกี ในปี ค.ศ. 1911–1912 เป็นเค้าลางที่สำคัญของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เนื่องจากจุดชนวนลัทธิชาตินิยมในรัฐบอลข่านและปูทางไปสู่สงครามบอลข่าน.

ในปี ค.ศ. 1912 และ 1913 สงครามบอลข่านครั้งที่หนึ่งเป็นการสู้รบระหว่างสันนิบาตบอลข่านและจักรวรรดิออตโตมันที่แตกแยก ส่งผลทำให้เกิดสนธิสัญญาลอนดอนซึ่งทำให้จักรวรรดิออตโตมันได้หดตัวลงไปอีก ทำให้เกิดรัฐแอลเบเนียที่เป็นเอกราช ในขณะที่ได้ขยายการถือครองดินแดนของบัลแกเรีย เซอร์เบีย มอนเตเนโกร และกรีซ เมื่อบัลแกเรียได้เข้าโจมตีเซอร์เบียและกรีซในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1913 เป็นการจุดชนวนของสงครามบอลข่านครั้งที่สองที่กินเวลาเพียง 33 วัน ในช่วงตอนท้ายก็ต้องสูญเสียส่วนใหญ่ของมาซิโดเนียให้กับเซอร์เบียและกรีซ และดอบรูจาใต้ให้กับโรมาเนีย ทำให้ภูมิภาคแห่งนั้นเกิดความสั่นคลอนต่อไป ประเทศมหาอำนาจสามารถที่จะรักษาความขัดแย้งบอลข่านไว้ได้ แต่ครั้งต่อไปจะแพร่กระจายไปทั่วยุโรปและอื่น ๆ

จุดชนวน[แก้]

การลอบสังหารที่เมืองซาราเยโว[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ภาพถ่ายนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจับกุมกัฟรีโล ปรินซีป แม้ว่าจะมีบางคนเชื่อว่า ภาพนี้แสดงให้เห็นถึง Ferdinand Behr (ผู้ยืนด้านซ้าย) เป็นผู้ยืนดูเห็นเหตุการณ์

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 อาร์ชดยุก ฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ รัชทายาทสืบทอดราชบังลังก์จักรพรรดิแห่งออสเตรีย-ฮังการี ได้เสด็จเยี่ยมเยียนเมืองหลวงบอสเนียคือ ซาราเยโว กลุ่มมือลอบสังหาร 6 คน (Cvjetko Popović, กัฟรีโล ปรินซีป, Muhamed Mehmedbašić, Nedeljko Čabrinović, Trifko Grabež, และ Vaso Čubrilović) จากกลุ่มเยาวชนบอสเนียของกลุ่มนิยมยูโกสลาเวีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้วยอาวุธโดยกลุ่มแบล็คแฮนด์เซอร์เบีย ได้รวมตัวกันบนท้องถนนที่ขบวนรถพระที่นั่งของอาร์ชดยุกจะผ่านไปโดยมีเป้าหมายที่จะลอบปลงพระชนม์ เป้าหมายทางการเมืองของการลอบสังหารคือเพื่อทำลายจังหวัดสลาฟทางตอนใต้ของออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งออสเตรีย-ฮังการีได้ทำการผนวกดินแดนจากจักรวรรดิออตโตมัน เพื่อให้พวกเขารวมชาติเป็นยูโกสลาเวีย

Čabrinović ได้โยนระเบิดใส่รถพระที่นั่งแต่กลับพลาด เลยไปถูกฝูงชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงจนได้รับบาดเจ็บกันทั่วหน้า แต่ขบวนรถพระที่นั่งของแฟร์ดีนันท์ยังเดินหน้าต่อไป มือสังหารคนอื่น ๆ ต่างล้มเหลวในการลงมือ ในขณะที่รถพระที่นั่งได้ผ่านพ้นพวกเขาไป

ในประมาณหนึ่งชั่วโมงต่อมา เมื่อแฟร์ดีนันท์กำลังเสด็จกลับจากการเยี่ยมเยียนผู้บาดเจ็บจากความพยายามลอบปลงพระชนม์ที่โรงพยาบาลในเมืองซาราเยโว ขบวนรถพระที่นั่งได้เลี้ยวผิดทางเข้าสู่ถนนที่ซึ่งปรินซีปยืนอยู่โดยบังเอิญ ปรินซีปจึงชักปืนพกยิงใส่อาร์ชดยุกและดัสเชสโซเฟีย ผู้เป็นพระชายา จนสิ้นพระชนม์ทั้งคู่ แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้สนิทกันเป็นส่วนตัว จักรพรรดิ ฟรันทซ์ โยเซ็ฟ รู้สึกตกพระทัยและพระโสมนัสอย่างมาก ปฏิกิริยาท่ามกลางประชาชนในออสเตรีย แม้กระนั้นจะเบาบาง แทบจะไม่สนใจแต่อย่างใด ตามที่นักประวัติศาสตร์ที่ชื่อว่า Zbyněk Zeman ได้เขียนไว้ในภายหลังว่า "เหตุการณ์ครั้งนี้แทบจะล้มเหลวในการสร้างความประทับใจแต่อย่างใด ในวันอาทิตย์และวันจันทร์ (28 และ 29 มิถุนายน) ฝูงชนในกรุงเวียนนาได้ฟังเพลงและดื่มไวน์ราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น" อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทางการเมืองของการลอบปลงพระชนม์รัชทายาทนั้นมีความสำคัญและได้รับการอธิบายโดยนักประวัติศาสตร์ที่ชื่อ คริสโตเฟอร์ คลาร์ก ในรายการวิทยุบีบีซี 4 ในหัวเรื่องคือ เดือนแห่งความบ้าคลั่ง คือ เอฟเฟกต์ 9/11 เหตุการณ์การก่อการร้ายที่มีความหมายในประวัติศาสตร์ ได้เปลี่ยนแปลงทางเคมีในกรุงเวียนนา"

การขยายความรุนแรงในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ฝูงชนบนท้องถนนในช่วงหลังเหตุการณ์จลาจลต่อต้านชาวเซิร์บในเมืองซาราเยโว, 29 มินายน ค.ศ. 1914

เจ้าหน้าที่ออสเตรีย-ฮังการีได้ให้การสนับสนุนให้เกิดการก่อจลาจลต่อต้านชาวเซิร์บในเมืองซาราเยโวในเวลาต่อมา ซึ่งชาวบอสเนียโครแอต และชาวบอสนีแอกได้สังหารชาวเซิร์บบอสเนีย 2 คน และสร้างความเสียหายให้กับอาคารที่ชาวเซิร์บเป็นเจ้าของ การกระทำความรุนแรงต่อเชื้อชาติเซิร์บก็ยังจัดขึ้นนอกเมืองซาราเยโว ในเมืองอื่น ๆ ในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โครเอเชีย และสโลวีเนีย ที่ถูกควบคุมโดยออสเตรีย-ฮังการี เจ้าหน้าที่ออสเตรีย-ฮังการีในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้จำคุกและส่งผู้ร้ายข้ามแดนชาวเซิร์บที่มีความสำคัญจำนวนประมาณ 5,500 คน 700 คน ถึง 2,200 คนได้เสียชีวิตในคุก ชาวเซิร์บอีก 460 คนถูกตัดสินประหารชีวิต มีการจัดตั้งกองทหารอาสาสมัครชาวบอสนิกที่รู้จักกันในชื่อว่า Schutzkorps และทำการประหัตประหารต่อชาวเซิร์บ

วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม[แก้]

การลอบปลงพระชนม์ได้นำไปสู่เดือนของการวางแผนทางการทูตระหว่างออสเตรีย-ฮังการี เยอรมนี รัสเซีย ฝรั่งเศส และบริติช ซึ่งเรียกกันว่า วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม ออสเตรีย-ฮังการีได้เชื่อมั่นว่า เจ้าหน้าที่เซอร์เบีย (โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของแบล็คแฮนด์) มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุก และต้องการยุติการแทรกแซงของเซอร์เบียในบอสเนียในที่สุด เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ออสเตรีย-ฮังการีได้ออกแถลงการณ์ในการยื่นคำขาดเดือนกรกฎาคมต่อเซอร์เบีย ข้อเรียกร้อง 10 ประการที่ทำให้ไม่สามารถยอมรับโดยเจตนาในความพยายามที่จะกระตุ้นให้เกิดสงครามกับเซอร์เบีย เซอร์เบียได้ออกคำสั่งให้ระดมพลทหารทั่วไป เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม เซอร์เบียได้ยอมรับเงื่อนไขทั้งหมดของการยื่นคำขาด ยกเว้นข้อที่ 6 ซึ่งเรียกร้องให้ผู้แทนออสเตรียได้รับอนุญาตในเซอร์เบียเพื่อแสดงเจตจำนงในการมีส่วนร่วมในการสอบสวนคดีการลอบปลงพระชนม์ ภายหลังจากนั้น ออสเตรียได้ยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับเซอร์เบียและในวันรุ่งขึ้น ได้ออกคำสั่งให้มีการระดมพลทหารบางส่วน ในที่สุด เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 หนึ่งเดือนหลังการลอบปลงพระชนม์ ออสเตรีย-ฮังการีได้ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
แผนที่ชาติพันธุ์วิทยาของออสเตรีย-ฮังการี, ค.ศ. 1910. บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาถูกผนวกในปี ค.ศ. 1908.

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม รัสเซียในการสนับสนุนเซอร์เบีย ได้ประกาศระดมพลทหารบางส่วนเพื่อต่อต้านออสเตรีย-ฮังการี วันที่ 30 กรกฎาคม รัสเซียได้สั่งระดมพลทหารทั่วไป นายกรัฐมนตรีเยอรมนี Bethmann-Hollweg ได้รอจนถึงวันที่ 31 เพื่อรับคำตอบที่เหมาะสม เมื่อเยอรมันได้ประกาศ Erklärung des Kriegszustandes, หรือ "คำแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานะสงคราม" d ไคเซอร์ วิลเฮ็ล์มที่ 2 ทรงขอให้พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ผู้ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้อง ให้ระงับการระดมพลทหารทั้วไปของรัสเซีย เมื่อถูกปฏิเสธ เยอรมนีได้ยื่นคำขาดเรียกร้องให้หยุดการระดมพลทหาร และให้คำมั่นสัญญาที่จะไม่สนับสนุนแก่เซอร์เบีย อีกด้านหนึ่งก็ส่งไปยังฝรั่งเศส เพื่อขอให้ไม่สนับสนุนแก่รัสเซีย หากต้องมาปกป้องเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ภายหลังจากรัสเซียตอบกลับ เยอรมนีได้สั่งระดมพลทหารและประกาศสงครามกับรัสเซีย นอกจากนี้ยังได้นำไปสู่การระดมพลทหารในออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม

รัฐบาลเยอรมนีได้ประกาศข้อเรียกร้องให้ฝรั่งเศสยังคงวางตัวเป็นกลาง ในขณะที่พวกเขาได้ตัดสินใจว่าจะใช้แผนการใดในการปรับใช้ มันยากมากที่จะเปลี่ยนปรับใช้ เมื่อกำลังดำเนินการอยู่ แผนชลีเฟน ของเยอรมันที่ได้รับการแก้ไข Aufmarsch II West จะส่งกำลังทหาร 80% ไปทางตะวันตก ในขณะที่ Aufmarsch I Ost และ Aufmarsch II Ost จะส่งกำลังทหาร 60% ในทางตะวันตกและ 40 % ในทางตะวันออก ฝรั่งเศสไม่ได้ตอบโต้ แต่ส่งข้อความแบบผสมโดยสั่งให้ทหารถอนกำลังออกจากชายแดน 10 กม.(6 ไมล์) เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ใด ๆ และในเวลาเดียวกันก็สั่งระดมพลทหารกำลังสำรองของพวกเขา เยอรมันได้ตอบโต้ด้วยระดมพลทหารกองกำลังสำรองของตนเองและนำไปใช้กับ Aufmarsch II West คณะรัฐมนตรีบริติชได้ตัดสินใจ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม เมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1839 เกี่ยวกับเบลเยียมที่ไม่ได้ถูกบังคับให้ต่อต้านเยอรมันในการบุกครองเบลเยียมด้วยกำลังทหาร

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม วิลเฮล์มทรงมีรับสั่งให้นายพล เฮ็ลมูท ฟ็อน ม็อลท์เคอ ยังเกอร์ "เคลื่อนทั้งกองทัพ...สู่ตะวันออก" ภายหลังจากได้รับรู้ว่าบริติชจะวางตัวเป็นกลาง หากฝรั่งเศสไม่ถูกโจมตี(และอาจจะเป็นไปได้ อำนาจยังอยู่ในกำมือ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ซึ่งต้องคอยยับยั้งวิกฤตการณ์ไอร์แลนด์) ม็อลท์เคอได้กราบทูลกับไคเซอร์ว่า ความพยายามที่จะโยกย้ายกำลังคนเป็นล้านนั้นเรื่องที่คาดไม่ถึงและนั่นจะทำให้เป็นไปได้ว่าฝรั่งเศสจะเข้าโจมตีเยอรมันจาก"ทางด้านหลัง" ซึ่งพิสูจน์ได้เลยว่าเป็นความหายนะ แต่วิลเฮล์มได้ยืนยันว่ากองทัพเยอรมันไม่ควรเคลื่อนทัพเข้าไปยังลักเซมเบิร์กจนกว่าพระองค์จะได้รับโทรเลขจากพระเจ้าจอร์จที่ห้า ลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ ซึ่งทำให้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าเป็นความเข้าใจผิด ในที่สุดไคเซอร์ทรงรับสั่งกับม็อลท์เคอว่า "ตอนนี้ ท่านจะสามารถทำสิ่งที่ท่านต้องการได้แล้ว"

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ฝูงชนที่เชียร์ในกรุงลอนดอนและกรุงปารีสในวันที่มีการประกาศสงคราม

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม เยอรมันเข้ายึดครองลักเซมเบิร์ก และวันที่ 3 สิงหาคม ได้ประกาศสงครามกับฝรั่งเศส ในวันเดียวกัน พวกเขาได้ยื่นคำขาดไปยังรัฐบาลเบลเยียมเพื่อเรียกร้องสิทธิที่ไม่มีข้อจำกัดสำหรับเส้นทางผ่านส่วนใดส่วนหนึ่งของเบลเยี่ยม ซึ่งถูกปฏิเสธ ช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 4 สิงหาคม เยอรมันได้ทำการบุกครอง สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ทรงมีรับสั่งให้ทหารทำการต่อต้านและเรียกร้องขอความช่วยเหลือภายใต้สนธิสัญญาลอนดอน ปี ค.ศ. 1839 บริติชได้เรียกร้องให้เยอรมนีปฏิบัติตามสนธิสัญญาและเคารพความเป็นกลางของเบลเยียม ซึ่งได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีในช่วงวลา 1 ทุ่มของเวลาสากลเชิงพิกัดของวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 5 ทุ่ม) ภายหลังจากที่"ได้รับคำตอบที่ไม่น่าพอใจ"

เส้นทางของสงคราม[แก้]

เปิดฉากความเป็นปรปักษ์[แก้]

ความสับสนภายในฝ่ายมหาอำนาจกลาง[แก้]

ยุทธศาสตร์ของฝ่ายมหาอำนาจกลางเสียหายเพราะความผิดพลาดในการติดต่อสื่อสารกัน เยอรมนีให้คำมั่นสนับสนุนออสเตรีย-ฮังการีในการรุกรานเซอร์เบีย แต่ได้มีการตีความความหมายนี้ผิดไป แผนการจัดวางกำลังซึ่งเคยทดสอบมาแล้วในอดีตถูกเปลี่ยนใหม่ในต้นปี ค.ศ. 1914 แต่ยังไม่เคยทดสอบในทางปฏิบัติ ผู้นำออสเตรีย-ฮังการีเชื่อว่าเยอรมนีจะป้องกันปีกด้านทิศเหนือที่ติดกับรัสเซีย อย่างไรก็ตาม เยอรมนีซึ่งเห็นว่าออสเตรีย-ฮังการีมุ่งส่งกำลังทหารส่วนใหญ่ต่อสู้กับรัสเซีย ขณะที่เยอรมนีจัดการกับฝรั่งเศส ความสับสนนี้ทำให้กองทัพออสเตรีย-ฮังการีต้องแบ่งกำลังเพื่อไปประจำทั้งแนวรบรัสเซียและเซอร์เบีย

การทัพเซอร์เบีย[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
เครื่องรุ่น Blériot XI ของกองทัพบกเซอร์เบียที่มีชื่อว่า "Oluj", ปี ค.ศ. 1915

ออสเตรียได้บุกครองและต่อสู้รบกับกองทัพเซอร์เบียที่ยุทธการที่เซียร์และยุทธการที่โคลูบารา ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ในอีกสองสัปดาห์ต่อมา ฝ่ายโจมตีอย่างออสเตรียได้ถูกผลักดันกลับพร้อมกับความสูญเสียอย่างหนัก ซึ่งถือว่าเป็นชัยชนะที่สำคัญครั้งแรกของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามและดับความหวังของออสเตรีย-ฮังการีในการเอาชนะอย่างรวดเร็ว เป็นผลทำให้ ออสเตรียต้องรักษากองกำลังขนาดใหญ่ไว้ในแนวรบเซอร์เบียทำให้ความพยายามในการต่อต้านรัสเซียอ่อนแอลง ความพ่ายแพ้ของเซอร์เบียในการบุกครองของออสเตรีย-ฮังการีในปี ค.ศ. 1914 ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในชัยชนะที่สำคัญที่ทำให้เกิดหัวเสียในศตวรรษที่ยี่สิบ การทัพครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกด้วยการใช้การอพยพทางการแพทย์โดยกองทัพเซอร์เบียในฤดูใบไม้ร่วงในปี ค.ศ. 1915 และการทำสงครามต่อต้านอากาศยานในฤดูใบไม้ผลิในปี ค.ศ. 1915 ภายหลังจากเครื่องบินของออสเตรียถูกยิงตกด้วยการยิงจากภาคพื้นดินสู่อากาศ

การรุกของเยอรมันในเบลเยียมและฝรั่งเศส[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ทหารเยอรมันในตู้รถไฟขนสินค้าขณะไปยังแนวหน้าใน ค.ศ. 1914 ข้อความบนตู้เขียนว่า "ทริปไปปารีส" ในช่วงต้นของสงครามคาดกันว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะกินเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

เมื่อมีการระดมพลใน ค.ศ. 1914 80% ของกองทัพบกเยอรมันตั้งอยู่บนแนวรบด้านตะวันตก โดยส่วนที่เหลือซึ่งทำหน้าที่เป็นกองกำลังป้องกันในด้านตะวันออก ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Aufmarsch II West ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีคือ แผนชลีฟเฟิน ตามชื่อของผู้ก่อตั้งแผน นามว่า อัลเฟรท ฟ็อน ชลีเฟิน หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่ของเยอรมัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1891 ถึง ค.ศ. 1906 แทนที่จะโจมตีโดยตรงในการข้ามชายแดนร่วมกัน ปีกขวาของเยอรมันจะกวาดผ่านทางเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม จากนั้นเคลื่อนลงทางตอนใต้ โอบล้อมกรุงปารีสและดักล้อมกองทัพฝรั่งเศสไว้กับชายแดนสวิส ชลีเฟินคาดการณ์ว่าจะใช้เวลาถึงหกสัปดาห์ หลังจากนั้นกองทัพบกเยอรมันจะโยกย้ายไปทางด้านตะวันออกและเอาชนะรัสเซีย

แผนการนี้ได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างมากโดยผู้รับช่วงต่อจากเขา เฮ็ลมูท โยฮันเนิส ลูทวิช ฟ็อน ม็อลท์เคอ ภายใต้ชลีฟเฟิน 85% ของกองกำลังเยอรมันในด้านตะวันคกได้รับมอบหมายให้เป็นปีกขวา โดยส่วนที่เหลือยังคงยึดที่มั่นตามแนวชายแดน โดยจงใจให้ปีกซ้ายอ่อนแอ เขาหวังว่าจะหลอกล่อให้ฝรั่งเศสเข้ารุกโจมตี "จังหวัดที่เสียไป" ของอาลซัส-ลอแรน ซึ่งอันที่จริงแล้วเป็นยุทธศาสตร์ที่วางเอาไว้โดยแผนสิบเจ็ด อย่างไรก็ตาม ม็อลท์เคอเริ่มวิตกกังวลว่าฝรั่งเศสอาจจะผลักดันปีกซ้ายแรงเกินไป และเมื่อกองทัพบกเยอรมันได้เพิ่มขนาด ตั้งแต่ ค.ศ. 1908 ถึง ค.ศ. 1914 เขาได้เปลี่ยนแปลงการจัดสรรกำลังระหว่างปีกทั้งสองข้างจาก 85:15 เป็น 70:30 นอกจากนี้ เขายังถือว่าความเป็นกลางของดัตซ์ยังมีความจำเป็นต่อการค้าขายของเยอรมัน และยกเลิกการบุกเข้าไปในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งหมายความว่า ความล่าช้าใด ๆ ในเบลเยียมจะเป็นภัยคุกคามต่อการนำไปปฏิบัติจริงของแผนการทั้งหมด นักประวัติศาสตร์นามว่า Richard Holmes ได้ให้เหตุผลว่า การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หมายความว่า ปีกขวาไม่แข็งแกร่งพอที่จะบรรลุความสำเร็จอย่างเด็ดขาดและด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่เป้าหมายและเวลาที่ไม่สมจริง

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ทหารฝรั่งเศสได้บุกเข้าชาร์จด้วยดาบปลายปืนในยุทธการชายแดน; โดยจบลงในเดือนสิงหาคม, ฝรั่งเศสได้มีผู้บาดเจ็บเกินกว่า 260,000 นาย และรวมทั้งผู้เสียชีวิต 75,000 นาย.

การรุกของเยอรมันช่วงแรกในด้านตะวันตกประสบความสำเร็จอย่างมาก และเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้จากไป ซึ่งรวมถึงกองกำลังรบนอกประเทศบริติช(BEF) ได้ล่าถอยอย่างเต็มกำลัง ในเวลาเดียวกัน การรุกของฝรั่งเศสในอาลซัส-ลอแรนเป็นความล้มเหลวอย่างย่อยยับ โดยมีการสูญเสียมากกว่า 260,000 นาย รวมถึงผู้เสียชีวิต 27,000 นาย ในวันที่ 22 สิงหาคม ในช่วงยุทธการชายแดน การวางแผนของเยอรมันได้ให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์อย่างกว้างขวาง ในขณะที่ปล่อยให้ผู้บัญชาการกองทัพบกมีอิสระอย่างมากในการปฏิบัติการที่แนวหน้า สิ่งนี้ใช้ได้ผลดีใน ค.ศ. 1866 ถึง ค.ศ. 1870 แต่ใน ค.ศ. 1914 ฟ็อน คลัดใช้เสรีภาพในการขัดคำสั่ง เปิดช่องว่างระหว่างกองทัพเยอรมันในขณะที่พวกเขาปิดล้อมกรุงปารีส ฝรั่งเศสและอังกฤษได้ใช้ประโยชน์จากช่องว่างนี้เพื่อหยุดยั้งการรุกของเยอรมันทางตะวันออกของกรุงปารีสในยุทธการมาร์นครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 12 กันยายน และผลักดันกองทัพเยอรมันให้ล่าถอยกลับไปประมาณ 50 กิโลเมตร(31 ไมล์)

ใน ค.ศ. 1911 สตาฟกา(กองบัญชาการทหารสูงสุด)ของรัสเซียได้ตกลงกับฝรั่งเศสที่จะโจมตีเยอรมนีภายในสิบห้าวันของการระดมพล สิบวันก่อนที่เยอรมันจะเตรียมการป้องกันล่วงหน้า แม้ว่าจะหมายถึงสองกองทัพรัสเซียที่กำลังเข้าสู่ปรัสเซียตะวันออก เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม การทำเช่นนั้นโดยปราศจากองค์ประกอบการสนับสนุนมากนัก แม้ว่ากองทัพที่สองของรัสเซียเกือบที่จะถูกทำลายในยุทธการที่ทันเนินแบร์ค เมื่อวันที่ 26 - 30 สิงหาคม การรุกของพวกเขาทำให้เยอรมันต้องเปลี่ยนเส้นทางให้กับกองทัพภาคที่ 8 จากฝรั่งเศสสู่ปรัสเซียตะวันออก ซึ่งเป็นปัจจัยในชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในสมรภูมิมาร์น

ในปลายปี ค.ศ. 1914 กองกำลังทหารเยอรมันได้เข้ายึดตำแหน่งป้องกันที่แข็งแกร่งในฝรั่งเศศ เข้าควบคุมกองถ่านหินภายในประเทศของฝรั่งเศส และทำให้มีการสูญเสียมากกว่า 230,000 คน มากกว่าที่พวกเขาเสียไป อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านการสื่อสารและการตัดสินใจในการสั่งการที่น่าสงสัยทำให้เยอรมนีสูญเสียโอกาศที่จะได้รับผลตัดสินชี้ขาด ในขณะที่เยอรมนีล้มเหลวในการบรรลุวัตถุประสงค์หลักในการหลีกเลี่ยงสองแนวรบที่ยาวนาน ดังที่ผู้นำเยอรมันหลายคนได้เข้าใจอย่างชัดเจน สิ่งนี้ถือเป็นความพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ ไม่นานภายหลังจากสมรภูมิมาร์น เจ้าชายวิลเฮ็ล์ม มกุฎราชกุมารทรงตรัสกับนักข่าวชาวอเมริกันว่า "เราแพ้สงคราม มันจะดำเนินต่อไปเป็นเวลายาวนาน แต่ได้พ่ายแพ้ไปแล้ว"

เอเชียและแปซิฟิก[แก้]

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1914 นิวซีแลนด์เข้ายึดครองเยอรมันซามัว ปัจจุบันคือรัฐเอกราชแห่งซามัว เมื่อวันที่ 11 กันยายน กองกำลังรบนอกประเทศการทหารและเรือของออสเตรียยกพลขึ้นบกที่เกาะนิวบริเตน จึงเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมันนิวกินี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม เรือลาดตระเวนของเยอรมัน SMS Emden จมเรือลาดตระเวนของรัสเซีย Zhemchug ในยุทธนาวีที่ปีนัง ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับเยอรมนีก่อนที่จะเข้ายึดครองดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหมู่เกาะทะเลใต้ในการอาณัติ รวมทั้งท่าเรือตามสนธิสัญญาของเยอรมันบนคาบสมุทรซานตงของจีนที่ชิงเต่า ภายหลังจากที่เวียนนาได้ปฏิเสธที่จะถอนเรือลาดตระเวน SMS Kaiserin Elisabeth ออกจากชิงเต่า ญีปุ่นก็ประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการีเช่นกัน และเรือก็ถูกจมลงที่ชิงเต่า ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1914 ภายในเวลาไม่กี่เดือน กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึดครองดินแดนของเยอรมันทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิก เหลือแค่เพียงการเข้าโจมตีเรือพาณิชย์เพียงลำพังและกองกำลังทหารที่ยืนหยัดสู้รบเพียงไม่กี่แห่งในนิวกินี

การทัพแอฟริกา[แก้]

จักรวรรดิและอาณานิคมของโลก ราวปี ค.ศ. 1914

การปะทะกันครั้งแรก ๆ ของสงครามเกิดขึ้นในกองทัพอาณานิคมอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีในแอฟริกา วันที่ 6-7 สิงหาคม กองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษรุกรานโตโกแลนด์และแคเมอรูน อันเป็นดินแดนในอารักขาของเยอรมนี วันที่ 10 สิงหาคม กองทัพเยอรมันในแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้โจมตีแอฟริกาใต้ การต่อสู้ประปรายและป่าเถื่อนดำเนินต่อไปกระทั่งสงครามสิ้นสุด กองทัพอาณานิคมเยอรมันในแอฟริกาตะวันออกของเยอรมนี นำโดยพันเอก พอล เอมิล ฟอน เลทโท-วอร์เบค สู้รบในการทัพสงครามกองโจรระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและยอมจำนนสองสัปดาห์หลังสัญญาสงบศึกมีผลใช้บังคับในยุโรป

อินเดียให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
กองพลทหารราบจากกองทัพบริติชอินเดีย ซึ่งได้ถอนกำลังออกจากฝรั่งเศสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1915 และถูกส่งไปยังเมโสโปเตเมีย

เยอรมนีได้พยายามใช้ลัทธิชาตินิยมอินเดียและอุดมการณ์รวมกลุ่มอิสลามให้เป็นประโยชน์ ได้ยุยงปลุกปั่นทำให้เกิดการลุกฮือในอินเดีย และส่งคนให้ไปทำภารกิจที่กระตุ้นทำให้อัฟกานิสถานเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง อย่างไรก็ตาม ตรงกันข้ามที่บริติชหวาดกลัวต่อการก่อการกำเริบในอินเดีย การปะทุของสงครามได้แสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดีและความปรารถนาดีได้หลั่งไหลมาสู่บริติชอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ผู้นำทางการเมืองของอินเดียจากคองเกรสแห่งชาติอินเดียและกลุ่มอื่น ๆ ได้กระตือรือร้นที่จะให้การสนับสนุนต่อการทำสงครามของบริติช เนื่องจากพวกเขาเชื่อกันว่าการให้สนับสนุนที่เข้มแข็งสำหรับความพยายามในการทำสงครามจะเป็นสาเหตุที่อินเดียจะได้รับมอบในการปกครองตนเอง(Indian Home Rule)มากยิ่งขึ้น ในความเป็นจริง กองทัพอินเดียมีจำนวนมากกว่ากองทัพบริติชในช่วงเริ่มต้นของสงคราม ทหารและคนงานชาวอินเดียประมาณ 1.3 ล้านนาย ซึ่งทำหน้าที่ในยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง ในขณะที่รัฐบาลส่วนกลางและรัฐมหาราชาคอยส่งซับพลายขนาดใหญ่สำหรับอาหาร เงิน และกระสุนอาวุธปืน โดยรวมแล้ว มีทหารจำนวน 140,000 นาย ซึ่งทำหน้าที่ในแนวรบด้านตะวันตกและเกือบ 700,000 นาย ในตะวันออกกลาง จำนวนความสูญเสียของทหารอินเดียทั้งหมดโดยมีผู้เสียชีวิต 47,746 นาย และผู้ได้รับบาดเจ็บ 65,126 นาย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นมาจากสงคราม เช่นเดียวกับความล้มเหลวของรัฐบาลบริติชในการมอบให้ปกครองตนเองแก่อินเดีย ภายหลังของการสิ้นสุดของการสู้รบ ความท้อแท้และแรงผลักดันก่อให้เกิดการรณรงค์ในการเรียกร้องเอกราชโดยสมบูรณ์ภายใต้การนำโดยมหาตมา คานธี และคนอื่น ๆ

แนวรบด้านตะวันตก[แก้]

การริเริ่มทำสงครามสนามเพลาะ[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
สนามเพลาะของกรมทหารเชชเชอร์ที่ 11 ใน Ovillers-la-Boisselle, บนแม่น้ำซอม, กรกฎาคม ค.ศ. 1916

กลยุทธ์ทางทหารช่วงก่อนสงครามที่เน้นการทำสงครามแบบเปิดโล่งและพลปืนไรเฟิลแต่ละคนได้รับการพิสูจน์แล้วว่าล้าสมัย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1914 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เกิดการสร้างระบบป้องกันที่แข็งแกร่งซึ่งส่วนใหญ่จะป้องกันการรุกของทหารราบจำนวนมาก เช่น ลวดหนาม ปืนกล และเหนือกว่าสิ่งอื่นใดด้วยปืนใหญ่ที่ทรงพลังยิ่งกว่า ซึ่งได้ครอบงำในสนามรบและทำให้การข้ามพื้นที่แบบเปิดโล่งยากลำบากมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามดิ้นรนเพื่อพัฒนายุทธวิธีสำหรับการเข้ายึดตำแหน่งฐานที่มั่นโดยปราศจากการเผชิญพบกับการสูญเสียอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา เทคโนโลยีได้ริเริ่มผลิตอาวุธสำหรับการรุกขึ้นมาใหม่ ๆ เช่น การทำสงครามแก๊ส และรถถัง

ภายหลังยุทธการที่มาร์นครั้งที่หนึ่งในเดือนกันยายน ค.ศ. 1914 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายเยอรมันต่างพยายามโจมตีขนาบข้างแต่ละฝ่ายซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ เป็นหนึ่งในรูปแบบของการฝึกซ้อมรบซึ่งเป็นที่รู้จักกันในเวลาต่อมาคือ "การแข่งขันสู่ทะเล" (Race to the Sea) ในช่วงปลาย ค.ศ. 1914 กองทัพที่เป็นฝ่ายปฏิปักษ์ต่างเผชิญหน้ากันตามแนวของตำแหน่งฐานที่มั่นที่ไม่ขาดสายจากช่องแคบถึงชายแดนสวิส เนืองจากโดยปกติแล้ว เยอรมันสามารถที่จะเลือกจุดที่ยืนได ้ พวกเขามักจะครอบครองอยู่บนพื้นที่สูง นอกจากนี้ สนามเพลาะของพวกเขาค่อนข้างจะสร้างได้ดีกว่า เนื่องจากสนามเพลาะของอังกฤษ-ฝรั่งเศสแต่เดิมมีจุดมุ่งหมาย"ชั่วคราว" และจะต้องใช้ในยามจำเป็นเท่านั้นจนกว่าจะสามารถทลายแนวป้องกันของเยอรมัน

ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามที่จะทำลายหนทางตันโดยใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1915 ในยุทธการที่แม่น้ำอิพร์ครั้งที่สอง เยอรมัน(ละเมิดอนุสัญญากรุงเฮก) ได้ใช้แก๊สคลอรีนเป็นครั้งแรกบนแนวรบด้านตะวันตก ในไม่ช้า แก๊สหลายชนิดได้ถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยทั้งสองฝ่าย และถึงแม้ว่าไม่เคยพิสูจน์ว่า เป็นอาวุธที่นำมาซึ่งชัยชนะอย่างเด็ดขาดในการสู้รบ แก๊สพิษกลายเป็นหนึ่งในความน่าสะพรึงกลัวมากที่สุดและเป็นที่จดจำอย่างดีที่สุดของความหวาดกลัวของสงคราม

ความต่อเนื่องของสงครามสนามเพลาะ[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ทหารปืนเล็กยาวหลวงไอริชในการสื่อสารสนามเพลาะ, วันแรกบนแม่น้ำซอม, ค.ศ. 1916

ทั้งสองฝ่ายได้พิสูจน์ว่าไม่สามารถส่งผลกระทบอย่างเด็ดขาดในอีกสองปีข้างหน้า ตลอดช่วงปี ค.ศ. 1915 - 17 จักรวรรดิบริติชและฝรั่งเศสได้เผชิญกับความสูญเสียมากกว่าเยอรมนี เนื่องจากทั้งจุดยืนทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ทั้งสองฝ่ายเลือก ในทางยุทธศาสตร์ ในขณะที่เยอรมันเข้ารุกโจมตีครั้งใหญ่เพียงฝ่ายเดียว ส่วนฝ่ายสัมพันธมิตรได้พยายามหลายครั้งที่จะบุกทะลวงฝ่าแนวรบของเยอรมัน

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1916 เยอรมันเข้าโจมตีตำแหน่งป้องกันของฝรั่งเศสที่ยุทธการที่แวร์เดิง ยืดเยื้อจนถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1916 เยอรมันได้เปรียบในช่วงแรก ก่อนที่ฝรั่งเศสจะโจมตีตอบโต้กลับจนสามารถผลักดันกลับไปยังใกล้กับจุดเริ่มต้น ความสูญเสียนั้นมีจำนวนมากมายสำหรับฝรั่งเศส แต่เยอรมันกลับนองเลือดอย่างหนักเช่นกัน โดยมีตั้งแต่จำนวน 700,000 นาย ถึง 975,000 นาย การเผชิญประสบความสูญเสียระหว่างสองคู่สงคราม แวร์เดิงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการตัดสินใจอันแน่วแน่และการเสียสละตนเองของฝรั่งเศส

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ศพทหารเยอรมันที่เสียชีวิตในแม่น้ำซอม ค.ศ. 1916

ยุทธการที่แม่น้ำซอมเป็นการรุกของอังกฤษ-ฝรั่งเศสในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1916 วันเปิดฉากของการรุก(1 กรกฎาคม ค.ศ. 1916) เป็นวันแห่งการนองเลือดในประวัติศาสตร์ของกองทัพบกอังกฤษ ซึ่งประสบความสูญเสียจำนวน 57,470 นาย รวมทั้งจำนวนผู้เสียชีวิต 19,240 นาย ราคาของการรุกแม่น้ำซอมทั้งหมดทำให้กองทัพอังกฤษสูญเสียประมาณ 420,000 นาย ฝรั่งเศสประสบความสูญเสียอีกประมาณ 200,000 คน และเยอรมันประมาณ 500,000 นาย การยิงปืนไม่ใช่เพียงแค่ปัจจัยเดียวที่คร่าชีวิต โรคภัยที่เกิดขึ้นในสนามเพลาะเป็นนักฆ่าที่สำคัญต่อทั้งสองฝ่าย สภาพความเป็นอยู่ทำให้เกิดโรคภัยและการติดเชื้อมากมาย เช่น โรคเท้าแช่เย็น(Trench foot) ภาวะหวาดผวาจากกระสุนปืนใหญ่(Shell shock) ตาบอด/แผลไหม้จากแก๊สมัสตาร์ด เหา ไข้สนามเพลาะ(trench fever) Cooties(เหาลำตัว) และไข้หวัดใหญ่สเปน[แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ]

สงครามทางทะเล[แก้]

พระเจ้าจอร์จที่ 5 (ด้านซ้ายหน้า) และกลุ่มข้าราชการเข้าตรวจสอบโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ของอังกฤษ ค.ศ. 1917

เมื่อสงครามเริ่มต้น จักรวรรดิเยอรมันมีเรือลาดตระเวนกระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งเรือบางลำในจำนวนนี้ได้ถูกใช้โจมตีการเดินเรือพาณิชย์ฝ่ายสัมพันธมิตรต่อมา ฝ่ายราชนาวีอังกฤษได้พยายามตามล่าเรือรบเหล่านี้อย่างเป็นระบบ แต่ก็ยังอับอายจากความไร้ความสามารถในการคุ้มครองการเดินเรือฝ่ายสัมพันธมิตร ตัวอย่างเช่น เรือลาดตระเวนเบาเยอรมนี เอสเอ็มเอส เอมเดน อันเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือเอเชียตะวันออก ประจำการอยู่ในเมืองท่าชิงเตา ได้ยึดหรือทำลายเรือพ่อค้า 15 ลำ ตลอดจนเรือลาดตระเวนเบารัสเซียและเรือพิฆาตฝรั่งเศสอย่างละลำด้วย อย่างไรก็ตาม กองเรือเอเชียตะวันออกของเยอรมนีส่วนใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะสองลำ เรือลาดตระเวนเบาสองลำ และเรือขนส่งสองลำ ไม่ได้รับคำสั่งให้โจมตีการเดินเรือแต่อย่างใด และกำลังอยู่ระหว่างแล่นกลับเยอรมนีเมื่อกองเรือเผชิญกับเรือรบฝรั่งเศส กองเรือเยอรมัน พร้อมด้วยเรือเดรสเดิน จมเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะได้สองลำในยุทธนาวีโคโรเนล หากกองเรือดังกล่าวเกือบถูกทำลายสิ้นที่ยุทธนาวีหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1914 โดยมีเพียงเรือเดรสเดินและเรือเล็กอีกไม่กี่ลำเท่านั้นที่สามารถหลบหนีไปได้

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
เรือประจัญบานแห่งกองเรือทะเลหลวง(Hochseeflotte) ของเยอรมัน
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
เรือดำน้ำ U-155 ถูกจัดแสดงใกล้กับสะพานทาวเวอร์ในลอนดอน ภายหลังจากการสงบศึก ค.ศ. 1918

หลังสงครามปะทุไม่นาน อังกฤษก็ได้ทำการปิดล้อมทางทะเลต่อเยอรมนี ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์เห็นผลแล้วว่ามีประสิทธิภาพ โดยการปิดล้อมได้ตัดเสบียงของทั้งทหารและพลเรือนที่สำคัญของเยอรมนี แม้ว่าพฤติการณ์ดังกล่าวจะเป็นการละเมิดกฎหมายนานาชาติซึ่งได้รับการยอมรับและประมวลขึ้นผ่านความตกลงระหว่างประเทศหลายครั้งในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมาก็ตาม กองทัพเรืออังกฤษยังได้วางทุ่นระเบิดในเขตน่านน้ำสากลเพื่อป้องกันมิให้เรือลำใดออกสู่เขตมหาสมุทร ซึ่งเป็นอันตรายแม้แต่กับเรือของประเทศที่เป็นกลาง และเนื่องจากอังกฤษได้รับปฏิกิริยาจากยุทธวิธีดังกล่าวเพียงเล็กน้อย เยอรมนีจึงคาดหวังว่าสงครามเรือดำน้ำไม่จำกัดขอบเขตของตนจะได้รับปฏิกิริยาเพียงเล็กน้อยแบบเดียวกัน

ค.ศ. 1916 ยุทธนาวีจัตแลนด์ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นยุทธนาวีครั้งใหญ่ที่สุดในสงคราม และครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นการปะทะกันเต็มอัตราศึกของกองทัพเรือทั้งสองฝ่าย ซึ่งกินเวลาสองวัน คือ 31 พฤษภาคมและ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1916 ในทะเลเหนือนอกคาบสมุทรจัตแลนด์ กองเรือทะเลหลวงของกองทัพเรือเยอรมัน ภายใต้บังคับบัญชาของพลเรือโทไรนาร์ด เชร์ ประจัญกับกองเรือหลวงของราชนาวีอังกฤษภายใต้การนำของพลเรือเอก เซอร์จอห์น เจลลิโค ผลของยุทธนาวีนี้ไม่มีฝ่ายใดแพ้หรือชนะ เมื่อฝ่ายเยอรมันสามารถหลบหนีจากกองเรืออังกฤษที่มีกำลังเหนือกว่า และสร้างความเสียหายแก่กองเรืออังกฤษมากกว่าที่ตนได้รับ แต่ในทางยุทธศาสตร์แล้ว ฝ่ายอังกฤษแสดงสิทธิ์ในการควบคุมทะเล และกองเรือผิวน้ำส่วนใหญ่ของเยอรมนีถูกกักอยู่แต่ในท่ากระทั่งสงครามยุติ

เรืออูของเยอรมนีพยายามตัดเส้นทางเสบียงระหว่างอเมริกาเหนือกับอังกฤษ ธรรมชาติของสงครามเรือดำน้ำ หมายความว่า การโจมตีมักมาโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า ทำให้ลูกเรือสินค้ามีหวังรอดชีวิตน้อยมาก สหรัฐประท้วง และเยอรมนีเปลี่ยนกฎการปะทะ หลังการจมเรือโดยสาร อาร์เอ็มเอส ลูซิตาเนีย อันฉาวโฉ่ใน ค.ศ. 1915 เยอรมนีสัญญาว่าจะไม่เลือกโจมตีเรือเดินสมุทรอีก ขณะที่อังกฤษติดอาวุธเรือสินค้าของตน และจัดให้อยู่นอกเหนือการคุ้มครองของ "กฎเรือลาดตระเวน" ซึ่งกำหนดให้มีการเตือนภัยและจัดวางลูกเรือไว้ใน "ที่ปลอดภัย" อันเป็นมาตรฐานซึ่งเรือช่วยชีวิตไม่เป็นไปตามนี้ จนในที่สุด ต้น ค.ศ. 1917 เยอรมนีปรับใช้นโยบายสงครามเรือดำน้ำไม่จำกัดขอบเขต เมื่อตระหนักว่าสหรัฐจะเข้าสู่สงครามในที่สุด เยอรมนีพยายามจะจำกัดเส้นทางเดินเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรก่อนที่สหรัฐจะสามารถขนส่งกองทัพขนาดใหญ่ข้ามทะเล แต่เยอรมนีสามารถใช้เรืออูพิสัยไกลออกปฏิบัติการได้เพียงห้าลำ จึงมีผลจำกัด

ภัยจากเรืออูนั้นเริ่มลดลงใน ค.ศ. 1917 เมื่อเรือพาณิชย์ของอังกฤษเริ่มเดินทางในขบวนเรือคุ้มกัน (convoy) ที่มีเรือพิฆาตนำ ยุทธวิธีดังกล่าวทำให้เรืออูค้นหาเป้าหมายยาก และทำให้การสูญเสียลดลงอย่างสำคัญ หลังจากเริ่มมีการใช้ไฮโดรโฟนและระเบิดน้ำลึก ทำให้เรือพิฆาตที่เสริมเข้ามาอาจโจมตีเรือดำน้ำที่อยู่ใต้น้ำได้โดยมีหวังสำเร็จอยู่บ้าง ขบวนเรือคุ้มกันดังกล่าวทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งเสบียง เพราะเรือต้องรอให้ขบวนเรือคุ้มกันมารวมกันครบก่อน ทางแก้ปัญหาความล่าช้านี้ คือ โครงการอันกว้างขวางในการสร้างเรือขนส่งสินค้าแบบใหม่ ส่วนเรือขนส่งทหารนั้นเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าเรือดำน้ำและไม่เดินทางไปกับขบวนเรือคุ้มกันในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ เรืออูจมเรือฝ่ายสัมพันธมิตรมากกว่า 5,000 ลำ โดยมีเรือดำน้ำถูกทำลายไป 199 ลำ

เขตสงครามใต้[แก้]

สงครามในบอลข่าน[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
การขนส่งผู้ลี้ภัยจากเซอร์เบียในไลบ์นิทซ์, สตีเรีย, ค.ศ. 1914
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ทหารบัลแกเรียในสนามเพลาะ เตรียมเล็งปืนยิงอากาศยานที่กำลังบินเข้ามามาทหารออสเตรีย-ฮังการีประหารชีวิตชาวเซอร์เบียที่ถูกจับเป็นเชลยใน ค.ศ. 1917 เซอร์เบียสูญเสียประชากรราว 850,000 คน หนึ่งในสี่ของประชากรก่อนสงคราม และทรัพยากรครึ่งหนึ่งก่อนสงคราม

เมื่อต้องเผชิญหน้ากับรัสเซีย ออสเตรีย-ฮังการีจึงสามารถแบ่งกองทัพโจมตีเซอร์เบียได้เพียงหนึ่งในสาม หลังประสบความสูญเสียอย่างหนัก ออสเตรียก็สามารถยึดครองเมืองหลวงเบลเกรดของเซอร์เบียได้ช่วงหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การตีโต้ตอบของเซอร์เบียในยุทธการคอลูบารา ได้ขับออสเตรียออกจากประเทศเมื่อถึงปลาย ค.ศ. 1914 ในช่วงสิบเดือนแรกของ ค.ศ. 1915 ออสเตรีย-ฮังการีใช้ทหารกองหนุนส่วนใหญ่สู้รบกับอิตาลี แต่ทูตเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการีสามารถชักชวนให้บัลแกเรียเข้าร่วมโจมตีเซอร์เบีย จังหวัดสโลวีเนีย โครเอเชียและบอสเนียของออสเตรีย-ฮังการีเป็นพื้นที่จัดเตรียมทหารให้แก่ออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งรุกรานเซอร์เบียเช่นเดียวกับสู้รบกับรัสเซียและอิตาลี มอนเตเนโกรวางตัวเป็นพันธมิตรกับเซอร์เบีย

เซอร์เบียถูกยึดครองนานกว่าหนึ่งเดือนเล็กน้อย เมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางเริ่มโจมตีทางเหนือตั้งแต่เดือนตุลาคม อีกสี่วันถัดมา บัลแกเรียร่วมโจมตีจากทางตะวันออก กองทัพเซอร์เบีย ซึ่งสู้รบบนสองแนวรบและแน่นอนว่าต้องเผชิญหน้ากับความพ่ายแพ้ ได้ถอยทัพไปยังอัลเบเนีย และหยุดยั้งเพียงครั้งเดียวเพื่อป้องกันการโจมตีของบัลแกเรีย ชาวเซิร์บประสบความพ่ายแพ้ในยุทธการคอซอวอ มอนเตเนโกรช่วยคุ้มกันการล่าถอยของเซอร์เบียไปยังชายฝั่งเอเดรียติกในยุทธการมอยคอแวทส เมื่อวันที่ 6-7 มกราคม ค.ศ. 1916 แต่สุดท้ายก็ส่งผลให้ออสเตรียยึดครองมอนเตเนโกรเช่นเดียวกัน กองทัพเซอร์เบียถูกอพยพทางเรือไปยังกรีซ

ปลาย ค.ศ. 1915 กองทัพฝรั่งเศส-อังกฤษยกพลขึ้นบกที่ซาโลนิกาของกรีซ เพื่อเสนอความช่วยเหลือและกดดันให้รัฐบาลกรีซประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลาง โชคไม่เข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อพระมหากษัตริย์กรีกผู้ทรงนิยมเยอรมนี พระเจ้าคอนแสตนตินที่ 1 ทรงปลดรัฐบาลนิยมสัมพันธมิตรของเอเลฟเทริออส เวนิเซลอสพ้นจากตำแหน่ง ก่อนที่กองทัพรบนอกประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรจะมาถึง ความร้าวฉานระหว่างพระมหากษัตริย์กรีซและฝ่ายสัมพันธมิตรพอกพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้กรีซถูกแบ่งแยกเป็นภูมิภาคซึ่งยังจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และที่จงรักภักดีต่อรัฐบาลเฉพาะกาลใหม่ของเวนิเซลอสในซาโลนิกา หลังการเจรจาทางการทูตอย่างเข้มข้นและการเผชิญหน้าด้วยอาวุธในกรุงเอเธนส์ระหว่างกองทัพสัมพันธมิตรและฝ่ายนิยมกษัตริย์ ทำให้พระมหากษัตริย์กรีซต้องสละราชสมบัติ และพระราชโอรสพระองค์ที่สอง อเล็กซานเดอร์ เสด็จขึ้นครองราชย์แทน เวนิเซลอสเดินทางกลับมายังกรุงเอเธนส์เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1917 และกรีซ ซึ่งรวมเป็นหนึ่งอีกครั้ง เข้าร่วมสงครามอย่างเป็นทางการโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพกรีซทั้งหมดถูกระดมและเริ่มเข้าร่วมในปฏิบัติการทางทหารต่อฝ่ายมหาอำนาจกลางบนแนวรบมาซิโดเนีย

หลังจากถูกยึดครอง เซอร์เบียถูกแบ่งออกระหว่างออสเตรีย-ฮังการีและบัลแกเรีย ใน ค.ศ. 1917 ชาวเซิร์บได้ก่อการกำเริบโทพลิคาขึ้น และส่งผลให้พื้นที่ระหว่างเทือกเขาโกบาโอนิคและแม่น้ำเซาท์โมราวาถูกปลดปล่อยชั่วคราว แต่การก่อการกำเริบดังกล่าวถูกบดขยี้โดยกองทัพร่วมบัลแกเรียและออสเตรียเมื่อปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917

แนวรบมาซิโดเนียส่วนใหญ่ไม่มีพัฒนาการ กองทัพเซอร์เบียยึดคืนบางส่วนของมาซิโดเนียโดยยึดบิโตลาคืนเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916 และเฉพาะเมื่อสงครามใกล้ยุติลงแล้วเท่านั้นที่ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถโจมตีผ่านได้ หลังกองทัพเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการีส่วนใหญ่ถอนกำลังออกไปแล้ว กองทัพบัลแกเรียประสบความพ่ายแพ้เพียงครั้งเดียวในสงครามที่ยุทธการโดโบรโพล แต่อีกไม่กี่วันให้หลัง บัลแกเรียก็สามารถเอาชนะกองทัพอังกฤษและกรีกได้อย่างเด็ดขาดที่ยุทธการดอเรียน แต่เพื่อป้องกันการถูกยึดครอง บัลแกเรียได้ลงนามการสงบศึกเมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1918 ฮินเดินบวร์คและลูเดินดอร์ฟสรุปว่าสมดุลทางยุทธศาสตร์และปฏิบัติการเอียงไปข้างฝ่ายสัมพันธมิตรแล้วอย่างไม่มีข้อสงสัย และหนึ่งวันหลังบัลแกเรียออกจากสงคราม ระหว่างการประชุมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ยืนยันให้มีการเจรจาสันติภาพในทันที

การหายไปของแนวรบมาซิโดเนียหมายความว่าถนนสู่บูดาเปสต์และเวียนนาเปิดกว้างสำหรับกองทัพขนาดกำลังพล 670,000 นาย ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอกเฟรนเช เดเปเร เมื่อบัลแกเรียยอมจำนน ทำให้ฝ่ายมหาอำนาจกลางสูญเสียทหารราบ 278 กองพัน และปืนใหญ่ 1,500 กระบอก ซึ่งเทียบเท่ากับกองพลของเยอรมนีราว 25 ถึง 30 กองพล ซึ่งเคยยึดแนวดังกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ กองบัญชาการทหารสูงสุดของเยอรมนีตัดสินใจส่ง 7 กองพลทหารราบ และ 1 กองพลทหารม้าไปยังแนวหน้า แต่กำลังเหล่านี้ไม่เพียงพอจะสถาปนาแนวรบขึ้นมาใหม่ได้อีก

จักรวรรดิออตโตมัน[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ทหารออสเตรเลียวิ่งเข้าชาร์จใกล้กับสนามเพลาะของตุรกีในช่วงการทัพกัลลิโพลี

จักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยได้ลงนามเป็นพันธมิตรออตโตมัน-เยอรมันอย่างลับ ๆ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 ซึ่งได้ภัยคุกคามต่อดินแดนคอเคซัสของรัสเซีย และการติดต่อคมนาคมของอังกฤษกับอินเดียผ่านทางคลองสุเอซ อังกฤษและฝรั่งเศสได้เปิดแนวรบโพ้นทะเลด้วยการทัพกัลลิโพลีและการทัพเมโสโปเตเมีย ที่กัลลิโพลี จักรวรรดิออตโตมันสามารถขับไล่กองทัพอังกฤษ ฝรั่งเศสและเหล่ากองทัพออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ แต่การณ์กลับตรงกันข้ามในเมโสโปเตเมีย ซึ่งจักรวรรดิออตโตมันพ่ายแพ้อย่างหายนะจากการล้อมคุท (ค.ศ. 1915-16) กองทัพจักรวรรดิอังกฤษรวบรวมทัพใหม่และสามารถยึดกรุงแบกแดดได้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917

ห่างไปทางตะวันตก คลองสุเอซได้รับการป้องกันอย่างเป็นผลจากการโจมตีของออตโตมันใน ค.ศ. 1915 และ 1916 ในเดือนสิงหาคม กองทัพเยอรมันและออตโตมันพ่ายแพ้ที่ยุทธการโรมานี หลังชัยชนะนี้ กองทัพจักรวรรดิอังกฤษรุกคืบข้ามคาบสมุทรไซนาย ผลักดันกองทัพออตโตมันให้ถอยกลับไปในยุทธการแมกดาบา (Magdhaba) ในเดือนธันวาคมและยุทธการราฟาตรงชายแดนระหว่างไซนายของอียิปต์และปาเลสไตน์ของออตโตมันในเดือนมกราคม ค.ศ. 1917 ในเดือนมีนาคมและเมษายน ที่ยุทธการกาซาครั้งแรกและครั้งที่สอง กองทัพเยอรมันและออตโตมันหยุดการรุกคืบ แต่ในปลายเดือนตุลาคม การทัพไซนายและปาเลสไตน์ดำเนินต่อ เมื่อกองทัพรบนอกประเทศอียิปต์ของอัลเลนบีชนะยุทธการเบียร์เชบา สองกองทัพออตโตมันพ่ายแพ้อีกไม่กี่สัปดาห์ให้หลังที่ยุทธการสันเขามักอาร์ (Maghar Ridge) และต้นเดือนธันวาคม เยรูซาเลมถูกยึดได้หลังกองทัพออตโตมันอีกกองทัพหนึ่งพ่ายแพ้ที่ยุทธการเยรูซาเล็ม พอถึงช่วงนี้ ฟรีดริช ไฟรแฮร์ เครสส์ ฟอน เครสเซนสไตน์ถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพที่ 8 และแทนที่ด้วย Cevat Çobanlı และอีกไม่กี่เดือนให้หลัง ผู้บัญชาการกองทัพออตโตมันในปาเลสไตน์ เอริช ฟอน ฟัลเคนไฮน์ ถูกแทนที่ด้วยออทโท ลีมัน ฟอน ซันเดอร์ส

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 5 ทรงทักทายกับจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ในการเสด็จมายังคอนสแตนติโนเปิล

โดยปกติแล้วกองทัพรัสเซียด้านคอเคซัสเป็นกองทัพที่ดีที่สุด เอนเวอร์ ปาชา ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพออตโตมัน มีความทะเยอทะยานและใฝ่ฝันจะยึดครองเอเชียกลางอีกครั้ง และดินแดนที่เคยเสียให้แก่รัสเซียในอดีต แต่เขาเป็นผู้บัญชาการที่ไม่มีความสามารถ เขาออกคำสั่งโจมตีรัสเซียในคอเคซัสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1914 โดยมีกำลังพล 100,000 นาย เขายืนกรานการโจมตีทางด้านหน้าต่อที่ตั้งของรัสเซียที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาในฤดูหนาว ซึ่งทำให้สูญเสียกำลังพลไปถึง 86% ในยุทธการซาริคามิส

ผู้บัญชาการรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1915-1916 พลเอกนิโคไล ยูเดนนิช สามารถขับไล่พวกเติร์กให้ออกไปจากเขตเทือกเขาคอเคซัสตอนใต้ส่วนใหญ่โดยได้รับชัยชนะอย่างต่อเนื่อง ใน ค.ศ. 1917 แกรนด์ดยุกนิโคลัสเข้าบัญชาการกองทัพรัสเซียแนวรบคอเคซัส เขาวางแผนสร้างทางรถไฟจากจอร์เจียไปยังดินแดนยึดครอง เพื่อที่ว่ากองทัพรัสเซียจะมีเสบียงเพียงพอในการรุกครั้งใหม่ใน ค.ศ. 1917 อย่างไรก็ตาม เดือนมีนาคม ค.ศ. 1917 พระเจ้าซาร์ถูกโค่นล้มหลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ และกองทัพรัสเซียคอเคซัสเริ่มแตกออกจากกัน

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ไคเซอร์ วิลเฮ็ล์มที่ 2 ทรงตรวจตรากองทหารตุรกีของกองพลน้อยที่ 15 ในกาลิเซียตะวันออก ออสเตรีย-ฮังการี(ปัจจุบันคือ โปแลนด์) เจ้าชายเลโอโพลด์แห่งบาวาเรีย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเยอรมันบนแนวรบด้านตะวันออก อยู่ลำดับที่สองจากด้านซ้าย

ด้วยการยุยงของสำนักอาหรับของสำนักงานต่างประเทศและเครือจักรภพของอังกฤษ การปฏิวัติอาหรับจึงเริ่มต้นขึ้นด้วยความช่วยเหลือของอังกฤษในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1916 ด้วย ยุทธการเมกกะ โดย ชารีฟ ฮัสเซน แห่งเมกกะ และจบลงด้วยการยอมจำนนของจักรวรรดิออตโตมันที่ดามัสกัส ฟาครี ปาชา ผู้บัญชาการออตโตมันที่เมดินะ ทำการรบต้านทานเป็นเวลากว่าสองปีครึ่งระหว่างการล้อมเมดินะ

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
สนามเพลาะป่าของรัสเซียใน ยุทธการที่ซาริคามิส ค.ศ. 1914–1915

ตามพรมแดนลิเบียของอิตาลีและอียิปต์ของอังกฤษ ชนเผ่าเซนุสซี ซึ่งได้รับการปลุกปั่นยุยงและติดอาวุธโดยพวกเติร์ก ทำสงครามกองโจรขนาดเล็กต่อกองทัพสัมพันธมิตร ฝ่ายอังกฤษถูกบีบให้ต้องแบ่งทหาร 12,000 นายมาต่อสู้ในการทัพเซนุสซี จนกระทั่งกบฏเหล่านี้ถูกบดขยี้ในที่สุดเมื่อกลาง ค.ศ. 1916

การเข้าร่วมของอิตาลี[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ทหารภูเขาออสเตรีย-ฮังการีในไทรอล

อิตาลีเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีตั้งแต่ ค.ศ. 1882 โดยเป็นภาคีของไตรพันธมิตร อย่างไรก็ตาม อิตาลีนั้นมีเจตนาของตนบนพื้นที่ของออสเตรียในเตรนตีโน อิสเตรียและดัลมาเทีย อิตาลีได้แอบทำสนธิสัญญาอย่างลับ ๆ กับฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1902 ซึ่งเป็นการลบล้างพันธมิตรเก่าอย่างสิ้นเชิง ในตอนต้นของสงคราม อิตาลีปฏิเสธที่จะส่งทำเข้าร่วมรบกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง โดยให้เหตุผลว่าไตรพันธมิตรเป็นพันธมิตรป้องกัน แต่จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีกลับเป็นผู้เปิดฉากสงครามก่อนเสียเอง รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีเริ่มเจรจาเพื่อพยายามจะให้อิตาลีวางตัวเป็นกลางในสงคราม โดยเสนออาณานิคมตูนิเซียของฝรั่งเศสให้เป็นการตอบแทน ซึ่งทางฝ่ายสัมพันธมิตรก็ยื่นข้อเสนอซ้อนโดยสัญญาว่าจะอิตาลีจะได้ไทรอลใต้ จูเลียนมาร์ช และดินแดนบนชายฝั่งดัลมาเทียหลังออสเตรีย-ฮังการีพ่ายแพ้ ข้อเสนอดังกล่าวทำให้เป็นทางการในสนธิสัญญาลอนดอน หลังถูกกระตุ้นจากการรุกรานตุรกีของฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1915 อิตาลีเข้าร่วมกับไตรภาคีและประกาศสงครามต่อออสเตรีย-ฮังการีเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม และประกาศสงครามต่อเยอรมนีอีกสิบห้าเดือนให้หลัง

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ทหารอิตาลีกำลังฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา

แม้ว่าในทางการทหาร อิตาลีจะมีความเหนือกว่าด้านกำลังพลก็ตาม แต่ข้อได้เปรียบดังกล่าวเสียไป ไม่เพียงแต่มีสาเหตุจากลักษณะภูมิประเทศสลับซับซ้อนที่เกิดการสู้รบขึ้นเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ใช้ด้วย จอมพลลุยจิ คาดอร์นา ผู้เสนอการโจมตีทางด้านหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ใฝ่ฝันว่าจะตีเข้าไปสู่ที่ราบสูงสโลวีเนีย ตีเมืองลูบลิยานา และคุกคามกรุงเวียนนา มันเป็นแผนการสมัยนโปเลียน ซึ่งไม่มีโอกาสสำเร็จแท้จริงเลยในยุคของลวดหนาม ปืนกลและการยิงปืนใหญ่ทางอ้อม ประกอบกับภูมิประเทศที่เป็นเนินและภูเขา

บนแนวรบเตรนติโน ออสเตรีย-ฮังการีใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศแบบภูเขา ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายตั้งรับ หลังจากการล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในช่วงแรก ส่วนใหญ่แนวรบก็แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเลย ขณะที่ทั้งสองฝ่ายสู้รบในระยะประชิดตัวอันขมขื่นตลอดฤดูร้อน ออสเตรีย-ฮังการีตีโต้ตอบที่อัสซิอาโก มุ่งหน้าไปยังเวโรนาและปาดัว ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1916 แต่มีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อย

เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1915 กองทัพอิตาลีภายใต้การบังคับบัญชาของคาดอร์นา ได้โจมตีประมาณสิบเอ็ดครั้งบนแนวไอซอนโซตามแนวของแม่น้ำชื่อเดียวกัน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของตรีเยสเต ซึ่งการโจมตีทั้งหมดก็ถูกขับไล่โดยกองทัพออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งยึดภูมิประเทศที่สูงกว่า ในฤดูร้อน ค.ศ. 1916 กองทัพอิตาลีสามารถตีเมืองกอร์ริซเซียได้ หากหลังจากชัยชนะย่อยครั้งนี้ แนวรบนี้ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเวลานานกว่าหนึ่งปี แม้อิตาลีจะโจมตีอีกหลายครั้ง เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1917 ทหารออสเตรีย-ฮังการีได้รับกำลังเสริมขนาดใหญ่จากเยอรมนี ฝ่ายมหาอำนาจกลางเริ่มการรุกเด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1917 โดยมีทหารเยอรมันเป็นหัวหอก ฝ่ายมหาอำนาจกลางได้รับชัยชนะที่คาปอร์เรตโต กองทัพอิตาลีแตกพ่ายและล่าถอยเป็นระยะทางมากกว่า 100 กิโลเมตร จึงสามารถจัดระเบียบใหม่ได้ และยึดแนวที่แม่น้ำเปียเว และเนื่องจากอิตาลีสูญเสียอย่างหนักในยุทธการคาปอร์เรตโต รัฐบาลอิตาลีจึงสั่งให้ชายอายุต่ำกว่า 18 ปีทุกคนเข้าประจำการ ใน ค.ศ. 1918 ออสเตรีย-ฮังการีไม่สามารถตีผ่านแนวดังกล่าวได้ ในยุทธการหลายครั้งตามแม่น้ำเปียเว และสุดท้ายก็พ่ายแพ้ราบคาบในยุทธการวิตโตริโอ วีนีโตในเดือนตุลาคมปีนั้น ออสเตรีย-ฮังการียอมจำนนในต้นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918

การเข้าร่วมของโรมาเนีย[แก้]

โรมาเนียได้เป็นพันธมิตรกับฝ่ายมหาอำนาจกลางตั้งแต่ ค.ศ. 1882 อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามเริ่มต้น โรมาเนียได้ประกาศตนเป็นกลาง โดยให้เหตุผลว่าออสเตรีย-ฮังการีเองที่เป็นฝ่ายประกาศสงครามต่อเซอร์เบีย และโรมาเนียไม่มีข้อผูกมัดที่จะต้องเข้าสู่สงคราม เมื่อฝ่ายไตรภาคีให้สัญญาว่าจะยกดินแดนขนาดใหญ่ทางตะวันออกของฮังการี (ทรานซิลเวเนียและบานัต) ซึ่งมีประชากรโรมาเนียขนาดใหญ่อาศัยอยู่ ให้แก่โรมาเนีย แลกเปลี่ยนกับที่โรมาเนียต้องประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลาง รัฐบาลโรมาเนียจึงสละความเป็นกลาง และวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1916 กองทัพโรมาเนียได้เปิดฉากโจมตีออสเตรีย-ฮังการี โดยได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากรัสเซีย การรุกของโรมาเนียประสบความสำเร็จในช่วงต้น โดยสามารถผลักดันทหารออสเตรีย-ฮังการีในทรานซิลเวเนียออกไปได้ แต่การตีโต้ตอบของฝ่ายมหาอำนาจกลางขับกองทัพรัสเซีย-โรมาเนีย และเสียกรุงบูคาเรสต์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1916 การสู้รบในมอลโดวาดำเนินต่อไปใน ค.ศ. 1917 ซึ่งจบลงด้วยการคุมเชิงกันที่มีราคาแพงสำหรับฝ่ายมหาอำนาจกลาง เมื่อรัสเซียถอนตัวจากสงครามในปลาย ค.ศ. 1917 จากผลของการปฏิวัติเดือนตุลาคม โรมาเนียถูกบีบให้ลงนามในการสงบศึกกับฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1917

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1918 กองทัพโรมาเนียสถาปนาการควบคุมเหนือเบสซาราเบีย เมื่อกองทัพรัสเซียละทิ้งดินแดนดังกล่าว แม้ว่าสนธิสัญญาถูกลงนามโดยรัฐบาลโรมาเนียและบอลเชวิครัสเซียหลังการประชุมระหว่างวันที่ 5-9 มีนาคม ค.ศ. 1918 ที่ให้กองทัพโรมาเนียถอนกำลังออกจากเบสซาราเบียภายในสองเดือน วันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1918 โรมาเนียผนวกเบสซาราเบียเข้าเป็นดินแดนของตน โดยอาศัยอำนาจอย่างเป็นทางการของมติที่ผ่านโดยสภานิติบัญญัติท้องถิ่นของดินแดนในการรวมเข้ากับโรมาเนีย

โรมาเนียยุติสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางอย่างเป็นทางการโดยการลงนามในสนธิสัญญาบูคาเรสต์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 ภายใต้สนธิสัญญาดังกล่าว โรมาเนียมีข้อผูกมัดจะยุติสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางและยกดินแดนบางส่วนให้แก่ออสเตรีย-ฮังการี ยุติการควบคุมช่องเขาบางแห่งในเทือกเขาคาร์พาเธียนและยกสัมปทานน้ำมันแก่เยอรมนี ในการแลกเปลี่ยน ฝ่ายมหาอำนาจกลางจะรับรองเอกราชของโรมาเนียเหนือเบสซาราเบีย สนธิสัญญาดังกล่าวถูกละทิ้งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1918 และโรมาเนียเข้าสู่สงครามอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 วันรุ่งขึ้น สนธิสัญญาบูคาเรสต์ถูกทำให้เป็นโมฆะตามเงื่อนไขของการสงบศึกที่คองเปียญ มีการประเมินว่าชาวโรมาเนียทั้งทหารและพลเรือนที่เสียชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1914 และ 1918 ภายในพรมแดนปัจจุบัน มีถึง 748,000 คน

แนวรบด้านตะวันออก[แก้]

การปฏิบัติขั้นต้น[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ทหารรัสเซียกำลังเดินทางไปยังสนามรบ

ขณะที่สถานการณ์ในแนวรบด้านตะวันตกยังคุมเชิงกันอยู่ สงครามยังดำเนินต่อไปในแนวรบด้านตะวันออก แผนเดิมของรัสเซียกำหนดให้รุกรานกาลิเซียของออสเตรียและปรัสเซียตะวันออกของเยอรมนีพร้อมกัน แม้ว่าการรุกขั้นต้นเข้าไปในกาลิเซียของรัสเซียจะประสบความสำเร็จใหญ่หลวง แต่กองทัพที่ส่งไปโจมตีปรัสเซียตะวันออกถูกขับกลับมาโดยฮินเดินบวร์คและลูเดินดอร์ฟที่ทันเนินแบร์คและทะเลสาบมาซูเรียนในเดือนสิงหาคมและกันยายน ค.ศ. 1914 ฐานอุตสาหกรรมที่ด้อยพัฒนาของรัสเซียและผู้นำทางทหารที่ไม่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังนี้ เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1915 รัสเซียล่าถอยเข้าไปในกาลิเซีย และในเดือนพฤษภาคม ฝ่ายมหาอำนาจกลางสามารถตีผ่านแนวรบทางใต้ของโปแลนด์ครั้งใหญ่ วันที่ 5 สิงหาคม ฝ่ายมหาอำนาจกลางยึดวอร์ซอและบีบให้รัสเซียถอยออกจากโปแลนด์

การปฏิวัติรัสเซีย[แก้]

วลาดีมีร์ เลนิน

แม้ความสำเร็จในกาลิเซียตะวันออกระหว่างการรุกบรูซิลอฟเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1916 แต่ความไม่พอใจกับการชี้นำสู่สงครามของรัฐบาลรัสเซียเพิ่มมากขึ้น ความสำเร็จถูกบ่นทอนโดยความไม่เต็มใจของนายพลคนอื่นที่ส่งกำลังของตนเข้าไปสนับสนุนให้ได้รับชัยชนะ กองทัพสัมพันธมิตรและรัสเซียฟื้นฟูชั่วคราวเฉพาะเมื่อโรมาเนียเข้าสู่สงครามเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม กองทัพเยอรมันเข้าช่วยเหลือกองทัพออสเตรีย-ฮังการีพร้อมรบในทรานซิลเวเนียและบูคาเรสต์เสียให้แก่ฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ขณะเดียวกัน ความไม่สงบเกิดขึ้นในรัสเซีย ระหว่างที่ซาร์ยังคงประทับอยู่ที่แนวหน้า การปกครองอย่างขาดพระปรีชาสามารถของจักรพรรดินีอเล็กซานดรานำไปสู่การประท้วง และการฆาตกรรมคนสนิทของพระนาง รัสปูติน เมื่อปลายปี ค.ศ. 1916

เมื่อเดือนมีนาคม 1917 การชุมนุมประท้วงในเปโตรกราด ลงเอยด้วยการสละราชบัลลังก์ของซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียและการแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราวของรัสเซียซึ่งอ่อนแอ และแบ่งปันอำนาจกับกลุ่มสังคมนิยมเปโตรกราดโซเวียต การจัดการดังกล่าวนำไปสู่ความสับสนและความวุ่นวายทั้งที่แนวหน้าและในรัสเซีย กองทัพรัสเซียยิ่งมีประสิทธิภาพด้อยลงกว่าเดิมมาก

สงครามและรัฐบาลได้รับความนิยมน้อยลงเรื่อย ๆ ความไม่พอใจทำให้พรรคบอลเชวิค ที่นำโดย วลาดีมีร์ เลนิน ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก เขาให้สัญญาว่าจะดึงรัสเซียออกจากสงครามและทำให้รัสเซียกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ชัยชนะของพรรคบอลเชวิคในเดือนพฤศจิกายนนั้น ตามมาด้วยการสงบศึกและการเจรจากับเยอรมนี ในตอนแรก พรรคบอลเชวิคปฏิเสธข้อเสนอของเยอรมนี แต่เมื่อกองทัพเยอรมันทำสงครามต่อไปและเคลื่อนผ่านยูเครนโดยไม่ช้าลง รัฐบาลใหม่จึงต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1918 ซึ่งทำให้รัสเซียออกจากสงคราม แต่ต้องยอมยกดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาล รวมไปถึงฟินแลนด์ รัฐบอลติก บางส่วนของโปแลนด์และยูเครนแก่ฝ่ายมหาอำนาจกลาง อย่างไรก็ตาม ดินแดนที่เยอรมนีได้รับจากรัสเซียทำให้ต้องแบ่งกำลังพลไปยึดครองและอาจเป็นปัจจัยนำสู่ความล้มเหลวของการรุกฤดูใบไม้ผลิ และสนับสนุนอาหารและยุทธปัจจัยอื่นค่อนข้างน้อย

ด้วยการลงมติยอมรับสนธิสัญญาเบรสต์-ลีตอฟสก์ ไตรภาคีจึงไม่คงอยู่อีกต่อไป ฝ่ายสัมพันธมิตรนำกำลังขนาดเล็กรุกรานรัสเซีย ส่วนหนึ่งเพื่อหยุดมิให้เยอรมนีใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของรัสเซีย และในขอบเขตที่เล็กกว่า เพื่อให้การสนับสนุน "รัสเซียขาว" (ตรงข้ามกับ "รัสเซียแดง") ในสงครามกลางเมืองรัสเซีย กองทัพสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่อาร์ชอันเกลและวลาดิวอสตอก

กองทหารเชคโกสโลวาเกีย[แก้]

ข้อเสนอริเริ่มการเจรจาสันติภาพของฝ่ายมหาอำนาจกลาง[แก้]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1916 หลังจากการสู้รบอย่างดุเดือดสิบเดือนของยุทธการแวร์ดังและการรุกโรมาเนียที่ประสบความสำเร็จ เยอรมนีพยายามจะเจรจาสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตร ไม่นานหลังจากนั้น ประธานาธิบดีสหรัฐ วูดโรว์ วิลสันพยายามเข้าแทรกแซงเป็นผู้ประนีประนอม โดยร้องขอในโน้ตแก่ทั้งสองฝ่ายให้ระบุข้อเรียกร้องของแต่ละฝ่าย คณะรัฐมนตรีสงครามของอังกฤษมองว่าข้อเสนอสันติภาพของเยอรมนีเป็นแผนการสร้างความแตกแยกในฝ่ายสัมพันธมิตร หลังจากพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว อังกฤษถือโน้ตของวิลสันเป็นอีกความพยายามหนึ่ง โดยส่งสัญญาณว่าสหรัฐใกล้จะเข้าสู่สงครามกับเยอรมนีหลัง "การทำลายล้างด้วยเรือดำน้ำ" ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรโต้เถียงกันเรื่องการตอบข้อเสนอของวิลสัน เยอรมนีเลือกจะบอกปัดและสนับสนุน "การแลกเปลี่ยนมุมมองโดยตรง" มากกว่า เมื่อทราบถึงการตอบสนองของเยอรมนี รัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นอิสระจะระบุข้อเรียกร้องที่ชัดเจนในวันที่ 14 มกราคม โดยเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหาย การอพยพประชากรจากดินแดนยึดครอง ค่าเสียหายแก่ฝรั่งเศส รัสเซียและโรมาเนีย และการยอมรับหลักการแห่งเชื้อชาติ ซึ่งรวมไปถึงการให้เสรีภาพแก่ชาวอิตาลี สลาฟ โรมาเนีย เชโกสโลวัก และการสถาปนา "โปแลนด์ที่มีอิสระและรวมเป็นหนึ่ง" ว่าด้วยปัญหาความมั่นคง ฝ่ายสัมพันธมิตรเรียกร้องคำยืนยันที่จะป้องกันหรือจำกัดสงครามในอนาคต และยกเลิกการลงโทษ เป็นเงื่อนไขของทุกการเจรจาสันติภาพ การเจรจาล้มเหลวและไตรภาคีปฏิเสธข้อเสนอของเยอรมนี เพราะเยอรมนีไม่ได้กล่าวถึงข้อเสนอใดเจาะจง วิลสันและไตรภาคีว่าจะไม่เริ่มการเจรจาสันติภาพจนกว่าฝ่ายมหาอำนาจกลางจะอพยพประชากรในดินแดนยึดครองที่เคยเป็นของฝ่ายสัมพันธมิตรและค่าชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด

ค.ศ. 1917-1918[แก้]

ความคืบหน้าใน ค.ศ. 1917[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
เครื่องบินขับไล่ของเยอรมนี

เหตุการณ์ใน ค.ศ. 1917 นั้นได้พิสูจน์แล้วว่ามีความเด็ดขาดในการยุติสงคราม แม้ว่าผลจะยังไม่อาจสัมผัสได้กระทั่งปลาย ค.ศ. 1918 การปิดล้อมทางทะเลของกองทัพเรืออังกฤษได้ทำให้เกิดผลกระทบใหญ่หลวงต่อเยอรมนี เยอรมนีได้โต้ตอบด้วยการออกปฏิบัติการเรือดำน้ำแบบไม่จำกัดขอบเขตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้อังกฤษขาดแคลนอาหารและต้องออกจากสงคราม นักวางแผนชาวเยอรมันประเมินว่า สงครามเรือดำน้ำแบบไม่จำกัดขอบเขตจะทำให้อังกฤษสูญเสียเรือไปกว่า 600,000 ตันต่อเดือน ขณะที่อังกฤษตระหนักว่านโยบายดังกล่าวมีแนวโน้มจะดึงให้สหรัฐเข้าสู่ความขัดแย้ง การสูญเสียเรือของอังกฤษจะสูงมากเสียจนอังกฤษถูกบีบให้เรียกร้องสันติภาพหลังเวลาผ่านไป 5 ถึง 6 เดือน ก่อนที่การเข้าแทรกแซงของสหรัฐจะมีผลกระทบ ในความเป็นจริง เรืออังกฤษถูกยิงจมไปคิดเป็นน้ำหนักมากกว่า 500,000 ตันต่อเดือนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม และสูงที่สุด 860,000 ตันในเดือนเมษายน หลังเดือนกรกฎาคม ได้มีการนำระบบขบวนเรือคุ้มกันกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดภัยคุกคามจากเรืออูลงอย่างยิ่ง อังกฤษปลอดภัยจากการขาดแคลนอาหาร ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลง และทหารสหรัฐเข้าร่วมสงครามเป็นจำนวนมากกว่าที่เยอรมนีเคยคาดไว้ก่อนหน้านี้มาก

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ทหารฝรั่งเศสที่ขัดขืนคำสั่งถูกยิง ใน ค.ศ. 1916

วันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1917 ระหว่างการรุกเนวิลล์ กองพลอาณานิคมที่ 2 ของฝรั่งเศสที่เหน็ดเหนื่อย ทหารผ่านศึกยุทธการแวร์เดิง ปฏิเสธคำสั่งที่ได้รับ มาถึงโดยเมาและปราศจากอาวุธ นายทหารไม่อาจหาวิธีการมาลงโทษทหารทั้งกองพลได้ และไม่มีการดำเนินมาตรการรุนแรงในทันที จากนั้น การขัดขืนคำสั่งได้ลุกลามไปยังอีก 54 กองพลของฝรั่งเศส และมีทหารหนีหน้าที่ 20,000 นาย กองทัพสัมพันธมิตรอื่นโจมตีแต่ประสบความสูญเสียมหาศาล อย่างไรก็ตาม ด้วยการดึงดูดสู่ความรักชาติและหน้าที่ เช่นเดียวกับการจับกุมและการพิจารณาครั้งใหญ่ กระตุ้นให้ทหารกลับมาป้องกันสนามเพลาะของตน แม้ว่าทหารฝรั่งเศสปฏิเสธจะเข้าร่วมในการปฏิวัติการรุกต่อไป โรเบร์ต เนวิลล์ถูกปลดจากตำแหน่งบัญชาการในวันที่ 15 พฤษภาคม และแทนที่ด้วยพลเอกฟิลิป เปแตง ผู้ยกเลิกการรุกขนาดใหญ่อันนองเลือดชั่วคราว

ชัยชนะของออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนีที่ยุทธการกาปอเรตโต นำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรที่การประชุมราปัลโลจัดตั้งสภาสงครามสูงสุดเพื่อประสานการวางแผน โดยก่อนหน้านั้น กองทัพอังกฤษและฝรั่งเศสได้ดำเนินการบังคับบัญชาแยกกัน

ในเดือนธันวาคม ฝ่ายมหาอำนาจกลางลงนามสงบศึกกับรัสเซีย ทำให้ทหารเยอรมันจำนวนมากสามารถถูกส่งมาปฏิบัติหน้าที่ในทางตะวันตกได้ ด้วยกำลังเสริมเยอรมนีและทหารสหรัฐที่ไหลบ่าเข้ามาใหม่ ทำให้แนวรบด้านตะวันตกจะเป็นการตัดสินผลของสงคราม ฝ่ายมหาอำนาจกลางทราบว่าตนไม่อาจเอาชนะสงครามยืดเยื้อ แต่พวกเขาตั้งความหวังไว้สูงสำหรับความสำเร็จโดยขึ้นอยู่กับการรุกอยางรวดเร็วครั้งสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้น ผู้นำฝ่ายมหาอำนาจกลางและฝ่ายสัมพันธมิตรต่างเริ่มรู้สึกกลัวต่อความไม่สงบในสังคมและการปฏิวัติในยุโรป ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็มุ่งได้รับชัยชนะขั้นเด็ดขาดอย่างรวดเร็ว

ค.ศ. 1917 จักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย ทรงพยายามเจรจาแยกต่างหากอย่างลับ ๆ กับคลูมองโซ โดยมีน้องชายของพระมเหสี ซิกตัส ในเบลเยียม เป็นคนกลาง โดยเยอรมนีไม่รับรู้ด้วย เมื่อการเจรจาล้มเหลว และความพยายามดังกล่าวทราบถึงเยอรมนี ส่งผลให้เกิดหายนะทางการทูตระหว่างสองประเทศ

สหรัฐเข้าสู่สงคราม[แก้]

สหรัฐเดิมดำเนินนโยบายไม่แทรกแซง เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความขัดแย้งระหว่างประเทศและเป็นนายหน้าสันติภาพ เมื่อเรืออูเยอรมันจมเรือโดยสารลูซิเทเนียของอังกฤษ ใน ค.ศ. 1915 ที่มีชาวอเมริกันอยู่บนเรือ 128 คน ประธานาธิบดีวิลสันได้สาบานว่า "อเมริกามีทิฐิมากเกินกว่าจะสู้" และเรียกร้องให้ยกเลิกการโจมตีเรือพลเรือน ซึ่งเยอรมนีก็ยอมตาม วิลสันพยายามเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทแต่ล้มเหลว เขาเตือนย้ำว่าสหรัฐจะไม่ทนต่อสงครามเรือดำน้ำไม่จำกัดขอบเขต วิลสันได้รับแรงกดดันธีโอดอร์ รูสเวลต์ ผู้ประณามพฤติการณ์ของเยอรมนีว่าเป็น "การกระทำอันเป็นโจรสลัด" ความปรารถนาของวิลสันที่จะได้เข้าร่วมในการเจรจาสันติภาพเมื่อสงครามยุติเพื่อพัฒนาแนวคิดสันนิบาตชาติเองก็เป็นส่วนสำคัญ รัฐมนตรีต่างประเทศของวิลสัน วิลเลียม เจนนิงส์ ไบรอัน ซึ่งความคิดเห็นของเขาได้ถูกเพิกเฉย ได้ลาออกเพราะไม่อาจสนับสนุนนโยบายของประธานาธิบดีได้อีกต่อไป มติมหาชนรู้สึกโกรธกับเหตุวินาศกรรมแบล็กทอมในนครเจอร์ซีย์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ ซึ่งสงสัยว่าเยอรมนีอยู่เบื้องหลัง และเหตุระเบิดคิงส์แลนด์

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1917 เยอรมนีทำสงครามเรือดำน้ำไม่จำกัดขอบเขตอีกครั้ง รัฐมนตรีต่างประเทศบอกแก่เม็กซิโก ผ่านโทรเลขซิมแมร์มันน์ ว่า สหรัฐมีแนวโน้มเข้าสู่สงครามหลังสงครามเรือดำน้ำไม่จำกัดขอบเขตเริ่มขึ้น และเชิญเม็กซิโกเข้าสู่สงครามเป็นพันธมิตรของเยอรมนีต่อสหรัฐ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน เยอรมนีจะส่งเงินให้เม็กซิโกและช่วยให้เม็กซิโกได้รับดินแดนเท็กซัส นิวเม็กซิโกและแอริโซนาที่เม็กซิโกเสียไประหว่างสงครามเม็กซิโก-อเมริกาเมื่อ 70 ปีก่อน วิลสันเปิดเผยโทรเลขดังกล่าวให้แก่สาธารณชน และชาวอเมริกันมองว่าเป็นเหตุแห่งสงคราม

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
วิลสันประกาศตัดความสัมพันธ์กับเยอรมนีอย่างเป็นทางการต่อหน้ารัฐสภา 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสหรัฐจะเข้าสู่สงครามโดยอยู่ข้างเดียวกับฝ่ายพันธมิตร แต่ไม่เคยเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของฝ่ายพันธมิตรเลย โดยเรียกตัวเองว่าเป็น "ประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ" (Associated Power) สหรัฐมีกองทัพขนาดเล็ก แต่หลังรัฐบัญญัติคัดเลือกทหาร (Selective Service Act) สหรัฐก็มีทหารเกณฑ์มากถึง 2.8 ล้านนาย และภายในฤดูร้อน ค.ศ. 1918 ก็มีการส่งทหารใหม่กว่า 10,000 นายไปยังฝรั่งเศสทุกวัน ใน ค.ศ. 1917 รัฐสภาสหรัฐให้สถานะพลเมืองแก่ชาวเปอร์โตริโก เมื่อพวกเขาถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จากรัฐบัญญัติโจนส์ เยอรมนีคำนวณผิด โดยเชื่อว่าจะใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าสหรัฐจะมาถึง และการขนส่งทหารข้ามมหาสมุทรสามารถถูกหยุดยั้งได้โดยเรืออู

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ทหารแอฟริกันอเมริกันกำลังเดินสวนสนามในฝรั่งเศส

กองทัพเรือสหรัฐได้ส่งกองเรือรบไปยังสกาปาโฟลว์ (Scapa Flow) เพื่อเข้าร่วมกับกองเรือหลวง (Grand Fleet) อังกฤษ, เรือพิฆาตไปยังควีนส์ทาวน์, ไอร์แลนด์ และเรือดำน้ำไปช่วยคุ้มกันขบวนเรือ นาวิกโยธินหลายกรมของสหรัฐถูกส่งไปยังฝรั่งเศส ด้านอังกฤษและฝรั่งเศสต่างต้องการให้หน่วยทหารอเมริกันเข้าเสริมกำลังบนแนวรบที่มีทหารของตนอยู่ก่อนแล้ว และไม่สิ้นเปลืองจำนวนเรือที่มีอยู่น้อยเพื่อขนย้ายเสบียง และไม่ต้องการใช้เรือเพื่อเป็นการขนส่งเสบียง ซึ่งสหรัฐปฏิเสธความต้องการแรก แต่ยอมตามความต้องการข้อหลัง พลเอกจอห์น เจ. เพอร์ชิง ผู้บัญชาการกองกำลังรบนอกประเทศอเมริกา (AEF) ปฏิเสธที่จะแบ่งหน่วยทหารออกเพื่อใช้เป็นกำลังหนุนแก่หน่วยทหารอังกฤษและฝรั่งเศส โดยยกเว้นให้กรมรบแอฟริกัน-อเมริกันถูกใช้ในกองพลฝรั่งเศสได้ หลักนิยมของ AEF กำหนดให้ใช้การโจมตีทางด้านหน้า ซึ่งผู้บัญชาการอังกฤษและฝรั่งเศสเลิกใช้ไปนานแล้ว เพราะสูญเสียกำลังพลมหาศาล

การรุกฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1918[แก้]

พลเอกเยอรมัน อิริช ลูเดินดอร์ฟ ได้ร่างแผนซึ่งใช้ชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการมิคาเอล ขึ้นสำหรับการรุกบนแนวรบด้านตะวันตกใน ค.ศ. 1918 การรุกฤดูใบไม้ผลิมีจุดประสงค์เพื่อแยกกองทัพอังกฤษและฝรั่งเศสออกจากกันด้วยการหลอกหลวงและการรุกหลายครั้ง ผู้นำเยอรมนีหวังว่าการโจมตีอย่างเด็ดขาดก่อนที่กองกำลังสหรัฐขนาดใหญ่จะมาถึง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1918 โดยโจมตีกองทัพอังกฤษที่อเมนส์ และสามารถรุกเข้าไปได้ถึง 60 กิโลเมตรอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตลอดสงคราม

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ทหารเยอรมันเดินทัพผ่านที่มั่นฝ่ายอังกฤษ ซึ่งถูกยึดได้ระหว่างการรุกฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1918

ส่วนแนวสนามเพลาะของอังกฤษและฝรั่งเศสถูกเจาะผ่านด้วยยุทธวิธีแทรกซึมที่เป็นของใหม่ ซึ่งถูกตั้งชื่อว่า ยุทธวิธีฮูเทียร์ (Hutier tactics) ตามชื่อพลเอกชาวเยอรมันคนหนึ่ง ก่อนหน้านั้น การโจมตีเป็นรูปแบบการระดมยิงปืนใหญ่อย่างยาวนานและการบุกโจมตีโดยใช้กำลัพลมหาศาล อย่างไรก็ตาม ในการรุกฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1918 ลูเดินดอร์ฟได้ใช้ปืนใหญ่เฉพาะเป็นเวลาสั้น ๆ และแทรกซึมกลุ่มทหารราบขนาดเล็กไปยังจุดที่อ่อนแอ พวกเขาโจมตีพื้นที่สั่งการและพื้นที่ขนส่ง และผ่านจุดที่มีการต้านทานอย่างดุเดือด จากนั้น ทหารราบที่มีอาวุธหนักกว่าจะเข้าบดขยี้ที่ตั้งที่ถูกโดดเดี่ยวนี้ภายหลัง ความสำเร็จของเยอรมนีนี้อาศัยความประหลาดใจของข้าศึกอยู่มาก

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
เครื่องบินขับไล่ของอังกฤษ

แนวหน้าเคลื่อนเข้าไปในระยะ 120 กิโลเมตรจากกรุงปารีส ปืนใหญ่รถไฟหนักของครุพพ์ยิงกระสุน 183 นัดเข้าใส่กรุงปารีส ทำให้ชาวปารีสจำนวนมากหลบหนี การรุกในช่วงแรกประสบความสำเร็จอย่างงดงามกระทั่งจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ทรงประกาศให้วันที่ 24 มีนาคมเป็นวันหยุดราชการ ชาวเยอรมันจำนวนมากคิดว่าชัยชนะของสงครามอยู่ใกล้แค่เอื้อมแล้ว อย่างไรก็ตาม หลังการต่อสู้อย่างหนัก ปรากฏว่าการรุกของเยอรมนีหยุดชะงักไป การขาดแคลนรถถังหรือปืนใหญ่เคลื่อนที่ทำให้ฝ่ายเยอรมันไม่สามารถรวมกำลังกันรุกต่อไปได้ สถานการณ์ดังกล่าวยังเลวร้ายลงไปอีกเมื่อเส้นทางส่งกำลังบำรุงตอนนี้ถูกยืดออกไปอันเป็นผลจากการรุก การหยุดกะทันหันนี้ยังเป็นผลมาจากกำลังจักรวรรดิออสเตรเลีย (AIF) จำนวนสี่กองพลที่ถูกกวดไล่ และสามารถกระทำในสิ่งที่ไม่มีกองทัพใดสามารถทำได้ และหยุดยั้งการรุกของเยอรมนีตามเส้นทางได้ ระหว่างช่วงเวลานี้ กองพลออสเตรเลียที่หนึ่งถูกส่งขึ้นเหนืออย่างเร่งรีบอีกครั้งเพื่อหยุดยั้งการเจาะผ่านครั้งที่สองของเยอรมนี

พลเอกฟอคกดดันให้ใช้กำลังอเมริกาที่มาถึงแล้วเป็นการเข้าสวมตำแหน่งแทนโดยลำพัง แต่เพอร์ชิงมุ่งให้จัดวางหน่วยของสหรัฐเป็นกองกำลังอิสระ หน่วยเหล่านี้ถูกมอบหมายให้อยู่ในการบังคับบัญชาของฝรั่งเศสและจักรวรรดิอังกฤษที่ทหารร่อยหรอลง เมื่อวันที่ 28 มีนาคม สภาสงครามสูงสุดของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรถูกจัดตั้งขึ้นที่การประชุมดูล็อง (Doullens) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 พลเอกฟอคถูกแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรสูงสุด เฮก เปแตง และเพอร์ชิงยังคงมีการควบคุมทางยุทธวิธีในส่วนของตนอยู่ ฟอครับบทบาทประสานงาน มากกว่าบทบาทชี้นำ และกองบัญชาการอังกฤษ ฝรั่งเศสและสหรัฐดำเนินการส่วนใหญ่เป็นอิสระต่อกัน

หลังปฏิบัติการมิคาเอล เยอรมนีเริ่มปฏิบัติการเกออร์เกทเทอ (Operation Georgette) ต่อเมืองท่าช่องแคบอังกฤษทางเหนือ ฝ่ายสัมพันธมิตรหยุดยั้งการผลักดันโดยเยอรมนีได้รับดินแดนเพิ่มน้อยมาก กองทัพเยอรมันทางใต้เริ่มปฏิบัติการบลอแชร์และยอร์ค ซึ่งพุ่งเป้าไปยังกรุงปารีส ปฏิบัติการมาร์นเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม โดยพยายามจะล้อมแรมส์และเริ่มต้นยุทธการแม่น้ำมาร์นครั้งที่สอง การตีตอบโต้ที่เป็นผลนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการรุกร้อยวัน นับเป็นการรุกที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงคราม

จนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม กองทัพเยอรมันถูกผลักดันข้ามแม่น้ำมาร์นที่แนวเริ่มต้นไกแซร์ชลัชท์ โดยที่ไม่บรรลุจุดประสงค์ใด ๆ เลย หลังขั้นสุดท้ายของสงครามในทางตะวันตกแล้ว กองทัพเยอรมันจะไม่อาจเป็นฝ่ายริเริ่มได้อีก ความสูญเสียของเยอรมนีระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน ค.ศ. 1918 อยู่ที่ 270,000 คน ในขณะเดียวกัน ในประเทศกำลังแตกออกเป็นเสี่ยง การรณรงค์ต่อต้านสงครามเกิดบ่อยครั้งขึ้น และขวัญกำลังใจในกองทัพถดถอย ผลผลิตทางอุตสาหกรรมทรุดลงอย่างหนัก โดยคิดเป็น 53% ของผลผลิตทางอุตสาหกรรมใน ค.ศ. 1913

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัย: ฤดูร้อนและใบไม้ร่วง ค.ศ. 1918[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ทหารปืนใหญ่อังกฤษในยุทธการอาเมียง
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ทหารช่างอเมริกันขณะเดินทางกลับจากแนวหน้า ระหว่างยุทธการแซงมีอีล

การตีตอบโต้ของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งรู้จักกันว่า การรุกร้อยวัน เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1918 ในยุทธการอาเมียง กองทัพน้อยที่ 3 กองทัพอังกฤษที่ 4 อยู่ทางปีกซ้าย กองทัพฝรั่งเศสที่ 1 อยู่ทางปีกขวา และกองทัพน้อยออสเตรเลียและแคนาดาเป็นหัวหอกโจมตีตรงกลางผ่าน Harbonnières ยุทธการครั้งนั้นมีรถถังมาร์ก 4 และมาร์ก 5 กว่า 414 คัน และทหารกว่า 120,000 นายเข้าร่วม ฝ่ายสัมพันธมิตรรุกเข้าไป 12 กิโลเมตรในดินแดนที่เยอรมนีถือครองในเวลาเพียงเจ็ดชั่วโมง เอริช ลูเดินดอร์ฟ เรียกวันนี้ว่า "วันอันมืดมนของกองทัพเยอรมัน"

หัวหอกออสเตรเลีย-แคนาดาที่อาเมียง ยุทธการซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความล่มจมของเยอรมนี ช่วยดึงให้กองทัพอังกฤษคืบหน้าไปทางเหนือและกองทัพฝรั่งเศสไปทางใต้ ขณะที่การต้านทานของเยอรมนีบนแนวรบกองทัพอังกฤษที่ 4 ที่อาเมียงเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง หลังฝ่ายสัมพันธมิตรรุกเข้าไป 14 กิโลเมตรจากอาเมียง กองทัพฝรั่งเศสที่ 3 ขยายความยาวของแนวรบอาเมียงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม เมื่อกองทัพถูกส่งไปทางปีกขวาของกองทัพฝรั่งเศสทรา 1 และรุกเข้าไป 6 กิโลเมตร ซึ่งกำลังปลดปล่อย Lassigny กระทั่งการสู้รบดำเนินไปจนถึงวันที่ 16 สิงหาคม ทางใต้ของกองทัพฝรั่งเศสที่ 3 พลเอก Charles Mangin เคลื่อนกองทัพฝรั่งเศสที่ 10 ไปข้างหน้าที่ Soissons เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม เพื่อจับกุมเชลยศึกแปดพันคน ปืนใหญ่สองร้อยกระบอก และที่ราบสูง Aisne ที่มองเห็นและคุกคามที่ตั้งของเยอรมนีทางเหนือของ Vesle เอริช ลูเดินดอร์ฟบรรยายว่านี่เป็น "วันอันมืดมน" อีกวันหนึ่ง

ขณะเดียวกัน พลเอก Byng แห่งกองทัพอังกฤษที่ 3 รายงานว่าข้าศึกบนแนวรบของเขากำลังมีจำนวนลดลงจากการจำกัดการล่าถอย ถูกออกคำสั่งให้โจมตีด้วยรถถัง 200 คัน ไปยัง Bapaume เปิดฉากยุทธการอัลแบร์ (Albert) ด้วยคำสั่งเฉพาะให้ "เจาะแนวรบข้าศึก เพื่อที่จะตีโอบปีกข้าศึกที่อยู่บนแนวรบ" (ตรงข้ามกองทัพอังกฤษที่ 4 ที่อาเมียง) การโจมตีเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะชิงความได้เปรียบจากการรุกที่ประสบความสำเร็จตรงปีก แล้วจากนั้นจึงยุติเมื่อการโจมตีสูญเสียแรงผลักดันเริ่มต้นไป

แนวรบยาว 24 กิโลเมตรของกองทัพอังกฤษ ทางเหนือของอัลแบร์ มีความคืบหน้า หลังหยุดไปวันหนึ่งเมื่อเผชิญกับแนวต้านทานหลักซึ่งข้าศึกได้ถอนกำลังไปแล้ว กองทัพอังกฤษที่ 4 ของรอว์ลินสัน สามารถสู้รบต่อไปทางปีกซ้ายระหว่างอัลแบร์และซอมม์ ซึ่งยืดแนวระหว่างตำแหน่งอยู่หน้าของกองทัพที่ 3 และแนวรบอาเมียง ซึ่งส่งผลให้ยึดอัลแบร์กลับคืนได้ในขณะเดียวกัน วันที่ 26 สิงหาคม กองทัพอังกฤษที่ 1 ซึ่งอยู่ทางปีกซ้ายของกองทัพที่ 3 ถูกดึงเข้าสู่การสู้รบซึ่งยืดกองทัพไปทางเหนือจนพ้นอารัส เหล่าทหารแคนาดาซึ่งกลับอยู่ที่เดิมในทัพหน้าของกองทัพที่ 1 สู้รบจากอารัสไปทางตะวันออก 8 กิโลเมตร คร่อมพื้นที่อารัส-กองเบร์ ก่อนจะถึงการป้องกันชั้นนอกของแนวฮินเดินบวร์ค ก่อนจะเจาะแนวดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 และ 29 สิงหาคม วันเดียวกัน เยอรมนีเสีย Bapaume ให้แก่กองพลนิวซีแลนด์แห่งกองทัพที่ 3 และกองทัพออสเตรเลีย ซึ่งยังนำการรุกของกองทัพที่ 4 สามารถผลักดันแนวรบไปข้างหน้าที่อาเมียงและยึดเปรอนน์ (Peronne) และมงแซ็ง-เกียงแต็ง (Mont Saint-Quentin) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ห่างไปทางใต้ กองทัพฝรั่งเศสที่ 1 และที่ 3 รุกคืบอย่างช้า ๆ ขณะที่กองทัพที่ 10 ซึ่งข้ามแม่น้ำ Ailette มาแล้ว และอยู่ทางตะวันออกของ Chemin des Dames ปัจจุบันอยู่ใกล้กับตำแหน่งอัลเบริชของแนวฮินเดนแบร์ก ระหว่างช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม แรงกดดันตามแนวรบยาว 113 กิโลเมตรต่อข้าศึกนั้นเป็นไปอย่างหนักหน่วงและต่อเนื่อง แม้กระทั่งทางเหนือในฟลานเดอร์ กองทัพอังกฤษที่ 2 และที่ 5 มีความคืบหน้าจับกุมเชลยศึกและยึดที่มั่นได้ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ประสบความสำเร็จระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายน

วันที่ 2 กันยายน เหล่าแคนาดาโอบล้อมแนวฮินเดนแบร์กด้านข้าง ด้วยการเจาะตำแหน่งโวทัน (Wotan) ทำให้กองทัพที่ 3 สามารถรุกคืบต่อไปได้ ซึ่งส่งผลสะท้อนกลับตลอดแนวรบด้านตะวันตก วันเดียวกันโอแบร์สเตอ เฮเรสไลทุง (OHL) ไม่มีทางเลือกนอกจากสั่งให้หกกองทัพล่าถอยเข้าไปสู่แนวฮินเดนแบร์กทางใต้ หลังกานัลดูนอร์ดบนแนวรบกองทัพที่ 1 ของแคนาดา และถอนกลับไปยังแนวทางตะวันออกของลิส (Lys) ในทางเหนือ ซึ่งถูกยึดครองโดยปราศจากการต่อสู้ ส่วนที่ยื่นออกมาถูกยึดในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตามข้อมูลของลูเดินดอร์ฟฟ์ "เราจำต้องยอมรับความจำเป็น ... ที่จะล่าถอยทั้งแนวรบจากสการ์ป (Scarpe) ถึงเวสเล (Vesle)"

เวลาเกือบสี่สัปดาห์หลังการต่อสู้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม มีเชลยศึกเยอรมันถูกจับกุมได้เกิน 100,000 นาย อังกฤษจับได้ 75,000 นาย และที่เหลือโดยฝรั่งเศส จนถึง "วันอันมืดมนของกองทัพเยอรมัน" กองบัญชาการทหารสูงสุดเยอรมนีตระหนักว่าพ่ายสงครามแล้วและพยายามบรรลุจุดจบอันน่าพอใจ วันหลังการสู้รบ ลูเดินดอร์ฟฟ์บอกพันเอกแมร์ทซ์ว่า "เราไม่อาจชนะสงครามได้อีกต่อไป แต่เราจะต้องไม่แพ้เช่นกัน" วันที่ 11 สิงหาคม เขาเสนอลาออกจากตำแหน่งต่อไกเซอร์ ผู้ทรงปฏิเสธ โดยทรงตอบว่า "ฉันเห็นว่าเราต้องทำให้เกิดสมดุล เราได้เกือบถึงขีดจำกัดอำนาจการต้านทานของเรา สงครามต้องยุติ" วันที่ 13 สิงหาคม ที่สปา (Spa) ฮินเดนแบร์ก ลูเดินดอร์ฟฟ์ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศฮินทซ์ตกลงว่าสงครามไม่อาจยุติลงได้ในทางทหาร และในวันรุ่งขึ้นสภาราชสำนักเยอรมันตัดสินใจว่า ชัยชนะในสนามรบขณะนี้ยากที่จะเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ออสเตรียและฮังการีเตือนว่า ทั้งสองสามารถทำสงครามได้ถึงเดือนธันวาคมเท่านั้น และลูเดินดอร์ฟฟ์เสนอการเจรจาสันติภาพทันที แด่ไกเซอร์ผู้ทรงสนองโดยทรงแนะนำให้ฮินทซ์มองหาการไกล่เกลี่ยจากสมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าชายรุพเพรชท์เตือนเจ้าชายมักซ์แห่งบาเดนว่า "สถานการณ์ทางทหารของเราบั่นทอนลงอย่างรวดเร็วเสียใจฉันไม่เชื่อว่าเราสามารถยื้อได้ตลอดฤดูหนาวอีกต่อไป และเป็นไปได้ว่าหายนะจะมาเร็วกว่านั้น" วันที่ 10 กันยายน ฮินเดนแบร์กกระตุ้นท่าทีสันติภาพต่อจักรพรรดิชาลส์แห่งออสเตรีย และเยอรมนีร้องต่อเนเธอร์แลนด์ขอการไกล่เกลี่ย วันที่ 14 กันยายน ออสเตรียส่งบันทึกถึงคู่สงครามและประเทศเป็นเลางทั้งหมดเสนอการประชุมสันติภาพในประเทศที่เป็นกลาง และวันที่ 15 กันยายน เยอรมนียื่นข้อเสนอสันติภาพต่อเบลเยียม ข้อเสนอสันติภาพทั้งสองถูกปฏิเสธ และวันที่ 24 กันยายน OHL แจ้งต่อผู้นำในเบอร์ลินว่าการเจรจาสงบศึกหลีกเลี่ยงไม่ได้

เดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝ่ายเยอรมันยังคงสู้รบการปฏิบัติกองระวังหลังอย่างเข็มแข้งและเริ่มการตีโต้ตอบหลายครั้งต่อตำแหน่งที่เสียไป แต่ประสบผลสำเร็จเพียงเล็กน้อย และเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมือง หมู่บ้าน ที่สูงและสนามเพลาะในตำแหน่งและกองรักษาด่านที่มีการป้องกันของแนวฮินเดนแบร์กยังเสียแก่ฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง โดยกองทัพอังกฤษเพียงชาติเดียวก็สามารถจับเชลยศึกได้ถึง 30,441 นายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา การรุกต่อไปทางตะวันออกขนาดเล็กจะเกิดขึ้นหลังชัยชนะของกองทัพที่ 3 ที่อีวินกูร์ (Ivincourt) ในวันที่ 12 กันยายน กองทัพที่ 4 ที่อีเฟอนี (Epheny) ในวันที่ 18 กันายน และกองทัพฝรั่งเศสยึดได้แอซซีญีเลอก็อง (Essigny-le-Grand) อีกวันหนึ่งให้หลัง วันที่ 24 กันยายน การโจมตีครั้งสุดท้ายของทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสบนแนวรบ 6.4 กิโลเมตรจะเข้ามาในระยะ 3.2 กิโลเมตรของแซ็งก็องแต็ง (St. Quentin) ด้วยกองรักษาด่านและแนวป้องกันขั้นต้นของตำแหน่งซีกฟรีดและอัลเบริชถูกทำลายหมดไป ฝ่ายเยอรมันขณะนี้อยู่หลังแนวฮินเดนแบร์กทั้งหมด ด้วยตำแหน่งโวทันของแนวนั้นได้ถูกเจาะไปแล้วและตำแหน่งซีกฟรีดอยู่ในอันตรายจะถูกโอบจากทางเหนือ เวลานี้ฝ่ายสัมพันธมิตรสบโอกาสโจมตีตลอดทั้งความยาวแนวรบ

การโจมตีตรงแนวฮินเดนแบร์กของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน รวมทหารสหรัฐด้วย ทหารอเมริกันที่ยังอ่อนประสบการณ์ประสบปัญหาเกี่ยวกับรถไฟเสบียงสำหรับหน่วยขนาดใหญ่บนภูมิประเทศทุรกันดาร สัปดาห์หนึ่งให้หลังหน่วยฝรั่งเศสและอเมริกันเจาะผ่านในช็องปาญ (Champagne) ที่ยุทธการเนินบลังก์มง (Blanc Mont) บีบให้ฝ่ายเยอรมันถอยไปจากที่สูงที่ควบคุมอยู่ และรุกคืบเข้าใกล้ชายแดนเบลเยียม เมืองเบลเยียมแห่งสุดท้ายที่ได้รับการปลดปล่อยก่อนการสงบศึกคือ เกนต์ (Ghent) ซึ่งฝ่ายเยอรมันยึดไว้เป็นจุดหลังกระทั่งฝ่ายสัมพันธมิตรนำปืนใหญ่ขึ้นมา กองทัพเยอรมันได้ย่นระยะแนวรบของตนและใช้พรมแดนดัตช์เป็นสมอเพื่อสู้รบการปฏิบัติกองหลัง

เมื่อบัลแกเรียลงนามการสงบศึกแยกต่างหากเมื่อวันที่ 29 กันยายน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับการควบคุมเซอร์เบียและกรีซ ลูเดินดอร์ฟฟ์ ซึ่งอยู่ภายใต้ความเครียดใหญ่หลวงหลายเดือน มีอาการคล้ายกับป่วย เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าเยอรมนีไม่อาจป้องกันได้อย่างสำเร็จอีกต่อไป

ขณะเดียวกัน ข่าวความพ่ายแพ้ทางทหารที่กำลังเกิดขึ้นในไม่ช้าของเยอรมนีแพร่สะพัดไปทั่วกองทัพเยอรมัน ภัยคุกคามการขัดขืนคำสั่งนั้นสุกงอม พลเรือเอกไรนาร์ด เชร์และลูเดินดอร์ฟฟ์ตัดสินใจเริ่มความพยายามครั้งสุดท้ายเพื่อฟื้นฟู "ความกล้าหาญ" ของกองทัพเรือเยอรมัน โดยทราบว่ารัฐบาลของเจ้าชายมาซีมีลันแห่งบาเดนจะยับยั้งการปฏิบัติเช่นนี้ ลูเดินดอร์ฟฟ์ตัดสินใจไม่ถวายรายงาน อย่างไรก็ดี ข่าวการโจมตีที่กำลังเกิดขึ้นในไม่ช้ามาถึงหูกะลาสีที่คีล กะลาสีหลายคนปฏิเสธจะเข้าร่วมการรุกทางทะเลซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเป็นการฆ่าตัวตาย ก่อกบฏและถูกจับกุม ลูเดินดอร์ฟฟ์รับผิดชอบความผิดพลาดนี้ ไกเซอร์ปลดเขาในวันที่ 26 ตุลาคม การล่มสลายของบอลข่านหมายความ่วา เยอรมนีกำลังเสียเสบียงอาหารและน้ำมันหลักของตน ปริมาณสำรองได้ใช้หมดไปแล้ว ขณะเดียวกับที่กองทัพสหรัฐมาถึงยุโรปด้วยอัตรา 10,000 นายต่อวัน

โดยได้รับความสูญเสียถึง 6 ล้านชีวิต เยอรมนีได้หันไปหาสันติภาพ เจ้าชายมาซีมีลันแห่งบาเดนมีหน้าที่ในรัฐบาลใหม่เป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนีในการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร การเจรจาทางโทรเลขกับประธานาธิบดีวิลสันเริ่มขึ้นทันที ในความหวังลม ๆ แล้ง ๆ ว่าเขาจะได้รับข้อเสนอที่ดีกว่ากับอังกฤษและฝรั่งเศส แต่วิลสันกลับเรียกร้องให้ไกเซอร์สละราชสมบัติ ไม่มีการต่อต้านเมื่อฟีลิพพ์ ไชเดมันน์แห่งพรรคสังคมประชาธิปไตย ประกาศให้เยอรมนีเป็นสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน จักรวรรดิเยอรมันล่มสลายลง และเยอรมนีใหม่ คือ สาธารณรัฐไวมาร์ ได้เกิดขึ้นแทน

การสงบศึกและการยอมจำนน[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
ในภาพ จอมพลฟอคเป็นคนที่สองนับจากทางขวา ด้านหลังเป็นตู้โดยสารรถไฟในป่าคองเปียญอันเป็นสถานที่ลงนามการสงบศึก ตู้รถไฟนี้ภายหลังถูกใช้เชิงสัญลักษณ์ในการสงบศึกของเปแตงในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 มันถูกย้ายไปยังกรุงเบอร์ลินเป็นรางวัล แต่เนื่องจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ย้ายไปยังคราวินเคล ธูรินเกีย ที่ซึ่งมันถูกทำลายอย่างเจตนาโดยกำลังเอสเอสใน ค.ศ. 1945
In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
แผนที่ดินแดนที่เปลี่ยนแปลงในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ในปี ค.ศ. 1923)

การล่มสลายของฝ่ายมหาอำนาจกลางมาเยือนอย่างรวดเร็ว บัลแกเรียเป็นประเทศแรกที่ลงนามการสงบศึก เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1918 ที่ซาโลนิกิ วันที่ 30 ตุลาคม จักรวรรดิออตโตมันยอมจำนนที่มูโดรส

วันที่ 24 กันยายน อิตาลีเริ่มการผลักดันซึ่งทำให้ได้รับดินแดนที่สูญเสียไปคืนหลังยุทธการคาปอเร็ตโต จนลงเอยในยุทธการวิตโตริโอ เวเนโต อันเป็นจุดจบที่กองทัพออสเตรีย-ฮังการีไม่อาจเป็นกำลังรบที่มีประสิทธิภาพได้อีกต่อไป การรุกนี้ยังกระตุ้นการสลายตัวของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ระหว่างสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม มีการประกาศเอกราชขึ้นในกรุงบูดาเปสต์, ปราก และซาเกร็บ วันที่ 29 ตุลาคม ทางการออสเตรีย-ฮังการีขอสงบศึกกับอิตาลี แต่อิตาลีรุกคืบต่อไป โดยไปถึงเทรนโต, ยูดีนและตรีเยสเต วันที่ 3 พฤศจิกายน ออสเตรีย-ฮังการีส่งธงพักรบขอการสงบศึก เงื่อนไข ซึ่งจัดการโดยโทรเลขกับทางการฝ่ายสัมพันธมิตรในกรุงปารีส มีการสื่อสารไปยังผู้บัญชาการออสเตรียและยอมรับ การสงบศึกกับออสเตรียมีการลงนามในวิลลา กิอุสติ ใกล้กับพาดัว เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ออสเตรียและฮังการีลงนามการสงบศึกแยกกันหลังการล้มล้างราชวงศ์ฮับส์บูร์ก

หลังการปะทุของการปฏิวัติเยอรมัน มีการสถาปนาสาธารณรัฐขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน องค์ไกเซอร์ได้ทรงหลบหนีไปยังเนเธอร์แลนด์ วันที่ 11 พฤศจิกายน มีการลงนามการสงบศึกกับเยอรมนีขึ้นในตู้โดยสารรถไฟในคองเปียญ เมื่อเวลา 11 นาฬิกา ของวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 หรือ "ชั่วโมงที่สิบเอ็ด ของวันที่สิบเอ็ด ของเดือนที่สิบเอ็ด" การหยุดยิงมีผลบังคับ กองทัพซึ่งประจัญกันอยู่บนแนวรบด้านตะวันตกนั้นเริ่มถอนจากตำแหน่งของตน พลทหารแคนาดา จอร์จ ลอว์เรนซ์ ไพรซ์ ถูกยิงโดยพลแม่นปืนชาวเยอรมันเมื่อเวลา 10.57 น. และสิ้นชีวิตเมื่อเวลา 10.58 น. เฮนรี กึนเธอร์ชาวอเมริกันถูกสังหาร 60 วินาทีก่อนการสงบศึกมีผลบังคับขณะเข้าตีกำลังพลเยอรมันที่รู้สึกประหลาดใจ เพราะทราบข่าวว่า กำลังจะมีการสงบศึกขึ้น ทหารอังกฤษคนสุดท้ายที่เสียชีวิต คือ พลทหารจอร์จ เอ็ดวิน เอลลิสัน ผู้เสียชีวิตคนสุดท้ายในสงคราม คือ ร้อยโทโธมัส ผู้ซึ่ง หลังเวลา 11 นาฬิกา กำลังเดินไปยังแนวรบเพื่อแจ้งข่าวแก่ทหารอเมริกันซึ่งยังไม่ถูกแจ้งข่าวการสงบศึกว่า พวกเขาจะละทิ้งอาคารเบื้องหลังพวกเขา

สถานะสงครามอย่างเป็นทางการระหว่างทั้งสองฝ่ายดำรงอยู่เป็นเวลาอีกจนเดือน กระทั่งการลงนามสนธิสัญญาแวร์ซายกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 สนธิสัญญากับออสเตรีย ฮังการี บัลแกเรียและจักรวรรดิออตโตมันมีการลงนามภายหลัง อย่างไรก็ดี การเจรจากับจักรวรรดิออตโตมันนั้นตามมาด้วยการขัดแย้งกัน และสนธิสัญญาสันติภาพสุดท้ายระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับประเทศซึ่งอีกต่อมาไม่นานจะได้ชื่อว่า สาธารณรัฐตุรกี มีการลงนามเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1923 ที่โลซาน

ในทางกฎหมาย สนธิสัญญาสันติภาพอย่างเป็นทางการไม่เสร็จสมบูรณ์กระทั่งมีการลงนามในสนธิสัญญาโลซานฉบับสุดท้าย ภายใต้เงื่อนไขนั้น กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรถอนออกจากคอนสแตนติโนเปิลเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1923

ความได้เปรียบของฝ่ายสัมพันธมิตรและตำนานแทงข้างหลัง พฤศจิกายน ค.ศ. 1918[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ฝ่ายสัมพันธมิตรมีกำลังบำรุงที่เป็นคนและยุทโธปกรณ์มากพอที่จะรุกรานเยอรมนี กระนั้น เมื่อมีการสงบศึกนั้น ไม่มีกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรใดข้ามพรมแดนเยอรมนีได้เลย แนวรบด้านตะวันตกยังอยู่ห่างจากกรุงเบอร์ลินเกือบ 1,400 กิโลเมตร และกองทัพเยอรมันยังล่าถอยจากสนามรบอย่างเป็นระเบียบดี ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ฮินเดินบวร์คและผู้นำเยอรมันอาวุโสคนอื่น ๆ เผยแพร่เรื่องเล่าว่า กองทัพของพวกเขามิได้ถูกเอาชนะอย่างแท้จริง ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นตำนานแทงข้างหลัง คือ ถือว่าความพ่ายแพ้ของเยอรมนีนั้นมิได้เกิดจากการขาดความสามารถในการสู้รบต่อไป (แม้ทหารมากถึงหนึ่งล้านนายกำลังเจ็บป่วยจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ค.ศ. 1918 และไม่พร้อมรบ) แต่เป็นเพราะสาธารณชนขาดการสนองต่อ "การเรียกด้วยความรักชาติ" และการก่อวินาศกรรมอย่างเจตนาต่อความพยายามของสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกยิว สังคมนิยมและบอลเชวิค

ภายหลังสงคราม[แก้]

หลังสงคราม จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในทวีปยุโรปต้องล่มสลายไปถึง 4 จักรวรรดิ ได้แก่ จักรวรรดิรัสเซีย, จักรวรรดิเยอรมัน, จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน หลายประเทศจำนวนมากได้รับเอกราชกลับคืนมา และประเทศใหม่ได้ถูกก่อตั้งขึ้นมา ราชวงศ์ทั้งสี่พร้อมกับขุนนางชนชั้นสูงต่างต้องล่มสลายอันเป็นผลมาจากสงคราม: ราชวงศ์โรมานอฟ ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค และราชวงศ์ออตโตมัน เบลเยียมและเซอร์เบียได้รับความเสียหายอย่างหนัก เช่นเดียวกับฝรั่งเศส โดยมีทหารเสียชีวิตจำนวน 1.4 ล้านนาย ไม่นับผู้เสียชีวิตรายอื่น ๆ เยอรมนีและรัสเซียได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

สิ้นสุดสงครามอย่างเป็นทางการ[แก้]

ภาวะสงครามอย่างเป็นทางการระหว่างสองฝ่ายยังคงดำเนินต่อไปอีกเจ็ดเดือน จนกระทั่งได้มีการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 วุฒิสภาสหรัฐไม่ได้ให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาฉบับนี้แม้จะได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนก็ตาม และไม่ได้มีการยุติการมีส่วนร่วมในสงครามอย่างเป็นทางการจนกระทั่งมติน็อกซ์-พ็อตเตอร์(Knox–Porter Resolution) ได้ถูกลงนามในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1921 โดยประธานาธิบดีวาร์เรน จี. ฮาร์ดิง สำหรับสหราชอาณาจักรและจักรวรรดิบริติช ภาวะสงครามได้สิ้นสุดลงภายใต้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสิ้นสุดสงครามปัจจุบัน(คำนิยาม) ค.ศ. 1918 ในส่วนที่เกี่ยวกับ:

  • เยอรมนี เมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1920
  • ออสเตรีย เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1920
  • บัลแกเรีย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1920
  • ฮังการี เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1920
  • ตุรกี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1920

กำเนิดสันนิบาตชาติ[แก้]

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เห็นว่าควรจะมีการจัดองค์การระหว่างประเทศเพื่อสันติภาพปราศจากสงคราม ดังนี้นจึงจัดตั้งสันนิบาตชาติขึ้นเพื่อป้องกันสงครามและความขัดแย้งในอนาคต โดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศด้วยการเจรจาและการทูต รวมทั้งพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น สิทธิแรงงาน ทาส ยาเสพติด การค้าอาวุธ ซึ่งนับเป็นองค์การระหว่างประเทศองค์การแรกที่มีภารกิจในด้านนี้ อย่างไรก็ดีเนื่องจากสันนิบาตไม่มีกองกำลังของตัวเองจึงต้องพึ่งพาชาติมหาอำนาจในการดำเนินการตามคำสั่ง สันนิบาตชาติจึงล้มเหลวในการป้องกันการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสงครามจบถูกยุบไปและแทนที่ด้วยสหประชาชาติกระทั่งปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงและการกำเนิดประเทศใหม่[แก้]

ผลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งผลให้เกิดการวาดรูปแผนที่ยุโรปใหม่มากมาย ซึ่งได้แก่

  1. จักรวรรดิออสเตรีย- ฮังการี แตกออกเป็นประเทศใหม่ ซึ่งได้แก่ ออสเตรีย ฮังการี เชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย
  2. จักรวรรดิออตโตมาน ได้ล่มสลายไป ทำให้แผ่นดินเดิมบางส่วนถูกแบ่งให้แก่ประเทศผู้ชนะสงคราม
  3. จักรวรรดิรัสเซีย ได้สูญเสียดินแดนฝั่งตะวันตกไปเป็นจำนวนมาก ต่อมาได้กลายเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนียและโปแลนด์

กำเนิดลัทธิคอมมิวนิสต์[แก้]

ประสบการณ์ของทหารผ่านศึก[แก้]

เพลง วีรกรรม (เสือเก่า) ในภาพยนตร์ไทยเรื่อง เป็ดน้อย ของอัศวินภาพยนตร์ เมื่อ พ.ศ. 2511 บทพระนิพนธ์โดย เวตาล หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เล่าถึงประสบการณ์ของผู้บัญชาการกองยานยนต์สยาม ที่นำกองร้อยลำเลียงอาวุธและกระสุนฝ่าเข้าช่วยทหารฝ่ายสัมพันธมิตรสู้กับทหารลาดตระเวนเยอรมัน ตอนกลางคืนที่แนวหน้าของฝรั่งเศส จนฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ

ความสูญเสียทางเศรษฐกิจและกำลังคน[แก้]

เทคโนโลยี[แก้]

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มต้นขึ้นเป็นการปะทะของเทคโนโลยีในคริสต์ศตวรรษที่ 20 กับยุทธวิธีในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยได้เกิดความสูญเสียเลือดเนื้ออย่างใหญ่หลวงตามมา อย่างไรก็ดี เมื่อถึงปลาย ค.ศ. 1917 กองทัพของประเทศใหญ่ ๆ ซึ่งมีกำลังพลหลายล้านนาย ได้ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยและมีการใช้โทรศัพท์ การสื่อสารไร้สาย รถหุ้มเกราะ รถถัง และอากาศยาน ขบวนทหารราบมีการจัดใหม่ ดังนั้น กองร้อยที่มีทหาร 100 นายจึงมิใช่หน่วยหลักในการดำเนินกลยุทธ์อีกต่อไป และหมู่ที่มีทหารประมาณ 10 นาย ภายใต้บัญชาของนายทหารประทวนอ่อนอาวุโสกลายเป็นได้รับความนิยม

ปืนใหญ่เองก็ได้เกิดการปฏิวัติขึ้นเช่นกัน ใน ค.ศ. 1914 ปืนใหญ่ประจำอยู่ในแนวหน้าและยิงไปยังเป้าหมายโดยตรง จนถึง ค.ศ. 1917 การยิงเล็งจำลองด้วยปืน (เช่นเดียวกับปืนครกหรือแม้กระทั่งปืนกล) พบแพร่หลาย โดยใช้เทคนิคใหม่สำหรับการกำหนดตำแหน่งและการตั้งระยะ ที่โดดเด่นคือ อากาศยานและโทรศัพท์สนามที่ตกค้างบ่อยครั้ง ภารกิจต่อสู้กองร้อยทหารปืนใหญ่ก็ได้กลายมาแพร่หลายเช่นกัน และการตรวจจับเสียงได้ถูกใช้เพื่อค้นหาปืนใหญ่ของข้าศึก

เยอรมนีนำหน้าฝ่ายสัมพันธมิตรไกลในการใช้การเล็งยิงจำลองหนัก กองทัพเยอรมันติดตั้งฮาวอิตเซอร์ขนาด 150 และ 210 มม. ใน ค.ศ. 1914 ขณะที่ปืนใหญ่ตามแบบของฝรั่งเศสและอังกฤษมีขนาดเพียง 75 และ 105 มม. อังกฤษมีฮาวอิตเซอร์ 152 มม. แต่มันหนักเสียจนต้องลำเลียงสู่สนามเป็นชิ้น ๆ และประกอบใหม่ ฝ่ายเยอรมันยังประจำปืนใหญ่ออสเตรีย 305 มม. และ 420 มม. และเมื่อสงครามเริ่มต้นขึ้นนั้น ได้มีรายการมีเนนเวอร์เฟอร์ (Minenwerfer) หลายขนาดลำกล้องแล้ว ซึ่งเหมาะสำหรับการสงครามสนามเพลาะตามทฤษฎี

การสู้รบมากครั้งข้องเกี่ยวกับการสงครามสนามเพลาะ ซึ่งทหารหลายร้อยนายเสียชีวิตในแผ่นดินแต่ละหลาที่ยึดได้ ยุทธการครั้งนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์จำนวนมากเกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ยุทธการเหล่านั้นเช่น อีแปร มาร์น คัมไบร ซอมม์ แวร์เดิง และกัลลิโปลี ฝ่ายเยอรมันนำกระบวนการฮาเบอร์ซึ่งเป็นการตรึงไนโตรเจนมาใช้ เพื่อให้กำลังมีเสบียงดินปืนอย่างต่อเนื่อง แม้ฝ่ายอังกฤษจะทำการปิดล้อมทางทะเลก็ตาม ปืนใหญ่เป็นเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด และบริโภควัตถุระเบิดปริมาณมหาศาล การบาดเจ็บที่ศีรษะจำนวนมากเกิดขึ้นจากกระสุนปืนใหญ่ที่ระเบิดและการแตกกระจาย ทำให้ชาติที่เข้าร่วมสงครามต้องพัฒนาหมวกเหล็กกล้าสมัยใหม่ นำโดยฝรั่งเศส ซึ่งนำหมวกเอเดรียนมาใช้ใน ค.ศ. 1915 และต่อมาไม่นานอังกฤษและสหรัฐได้ใช้หมวกโบรดี และใน ค.ศ. 1916 โดยหมวกสทาลเฮล์มที่มีเอกลักษณ์ของเยอรมนี ซึ่งการออกแบบและการปรับปรุง ยังใช้เรื่อยมาถึงปัจจุบัน

การใช้การสงครามเคมีอย่างแพร่หลายเป็นคุณลักษณะเด่นเฉพาะของความขัดแย้งนี้ แก๊สที่ใช้มีคลอรีน แก๊สมัสตาร์ดและฟอสจีน มีผู้เสียชีวิตจากแก๊สในสงครามเพียงเล็กน้อย เพราะมีวิธีการรับมือการโจมตีด้วยแก๊สที่มีประสิทธิภาพในเวลาอันรวดเร็ว เช่น หน้ากากกันแก๊ส ทั้งการใช้สงครามเคมีและการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขอบเขตเล็กนั้นถูกบัญญัติห้ามโดยอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1907 และทั้งสองพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพจำกัด แม้จะจับจินตนาการของสาธารณะก็ตาม

อาวุธติดตั้งภาคพื้นที่ทรงอานุภาพที่สุด คือ ปืนใหญ่รถไฟ (railway gun) ซึ่งแต่ละกระบอกหนักหลายร้อยตัน ปืนใหญ่เหล่านี้มีชื่อเล่นว่า บิกเบอร์ธา เยอรมนีได้พัฒนาปืนใหญ่ปารีส ซึ่งสามารถยิงถล่มกรุงปารีสจากพื้นที่ซึ่งห่างออกไปกว่า 100 กิโลเมตรได้ แม้กระสุนปืนใหญ่จะค่อนข้างเบา โดยมีน้ำหนัก 94 กิโลกรัม แม้ฝ่ายสัมพันธมิตรจะมีปืนใหญ่รถไฟเช่นเดียวกับเยอรมนี แต่แบบของเยอรมันมีพิสัยไกลกว่าและเหนือชั้นกว่าของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างมาก

การบิน[แก้]

อากาศยานปีกตรึงมีการใช้ในทางทหารครั้งแรกโดยอิตาลีในลิเบียเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1911 ระหว่างสงครามอิตาลี-ตุรกีเพื่อการลาดตระเวน ตามมาด้วยการทิ้งระเบิดมือและการถ่ายภาพทางอากาศในปีต่อมา เมื่อถึง ค.ศ. 1914 ประโยชน์ใช้สอยทางทหารของอากาศยานนั้นปรากฏชัด อากาศยานเหล่านี้เดิมทีใช้เพื่อการลาดตระเวนและโจมตีภาคพื้นดิน ในการยิงเครื่องบินฝ่ายข้าศึก จึงได้มีการพัฒนาปืนต่อสู้อากาศยานและเครื่องบินขับไล่ขึ้น เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ถูกผลิตขึ้น โดยเยอรมนีและอังกฤษเป็นหลัก แม้เยอรมนีจะใช้เซพเพลินด้วยเช่นกัน เมื่อสงครามใกล้ยุติ เรือบรรทุกเครื่องบินจึงได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก

บอลลูนสังเกตการณ์ที่มีคนขับ ลอยสูงเหนือสนามเพลาะ ถูกใช้เป็นแท่นตรวจตราอยู่กับที่ คอยรายงานการเคลื่อนไหวของข้าศึกและชี้เป้าให้ปืนใหญ่ โดยทั่วไปบอลลูนมีลูกเรือสองคน และมีร่มชูชีพติดตัว เผื่อหากมีการโจมตีทางอากาศของข้าศึก ร่มชูชีพจะสามารถกระโดดร่มออกมาได้อย่างปลอดภัย

เมื่อมีการตระหนักถึงคุณค่าของบอลลูนในฐานะแท่นสังเกตการณ์ บอลลูนจึงตกเป็นเป้าสำคัญขออากาศยานข้าศึก ในการป้องกันบอลลูนจากการโจมตีทางอากาศ บอลลูนจึงได้รับการป้องกันอย่างแน่นหนาโดยปืนต่อสู้อากาศยานและมีอากาศยานฝ่ายเดียวกันลาดตระเวน ในการโจมตี ได้มีการทดลองใช้อาวุธไม่ธรรมดาอย่างจรวดอากาศสู่อากาศ ดังนั้น คุณค่าการสังเกตการณ์ของเรือเหาะและบอลลูนจึงได้มีส่วนต่อการพัฒนาการสู้รบแบบอากาศสู่อากาศระหว่างอากาศยานทุกประเภท และต่อภาวะคุมเชิงกันในสนามเพลาะ เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะเคลื่อนย้ายกำลังขนาดใหญ่ได้โดยไม่ถูกสังเกตพบ เยอรมนีดำเนินการตีโฉบฉวยทางอากาศต่ออังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1915 และ 1916 ด้วยเรือบิน โดยหวังว่าจะบั่นทอนขวัญกำลังใจของอังกฤษและส่งผลให้อากาศยานถูกเบี่ยงเบนไปจากแนวหน้า และที่จริง ความตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นตามมาได้นำไปสู่การเบี่ยงเบนฝูงเครื่องบินขับไหล่หลายฝูงจากฝรั่งเศส

เทคโนโลยีนาวิก[แก้]

เยอรมนีวางเรืออู (เรือดำน้ำ) หลังสงครามอุบัติ โดยเปลี่ยนไปมาระหว่างการสงครามเรือดำน้ำจำกัดและไม่จำกัดในมหาสมุทรแอตแลนติก ไกเซอร์ลีเชอมารีนจัดวางเพื่อตัดทอนเสบียงสำคัญมิให้ไปถึงหมู่เกาะอังกฤษ การเสียชีวิตของกะลาสีเรือพาณิชย์อังกฤษและการที่เรืออูดูเหมือนอยู่คงกระพันนำไปสู่การพัฒนาทุ่นระเบิดน้ำลึก (ค.ศ. 1916), ไฮโดรโฟน (โซนาร์เชิงรับ, ค.ศ. 1917), เรือเหาะ (blimp), เรือดำน้ำล่าสังหาร (เรือหลวงอาร์-1, ค.ศ. 1917), อาวุธต่อสู้เรือดำน้ำโยนไปด้านหน้า และไฮโดรโฟนจุ่ม (สองอย่างนี้ถูกยกเลิกไปใน ค.ศ. 1918) เพื่อขยายขอบเขตการปฏิบัติ เยอรมนีได้เสนอเรือดำน้ำเสบียง (ค.ศ. 1916) เทคโนโลยต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกลืมไปหลังสงครามยุติ ก่อนได้รับการรื้อฟื้นใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ

เทคโนโลยีการสงครามภาคพื้น[แก้]

สนามเพลาะ ปืนกล การสอดแนมทางอากาศ รั้วลวดหนามและปืนใหญ่สมัยใหม่ซึ่งมีกระสุนลูกปรายมีส่วนให้แนวสู้รบของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งไม่อาจเอาชนะกันได้เด็ดขาด อังกฤษมองหาทางออกด้วยการสร้างการสงครามรถถังและยานยนต์ขึ้น รถถังคันแรก ๆ ถูกใช้ระหว่างยุทธการซอมม์เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1916 ความน่าเชื่อถือยานยนต์นั้นเป็นปัญหา แต่การทดลองพิสูจน์ถึงคุณค่าของมัน ภายในหนึ่งปี อังกฤษส่งรถถังเข้าสู่สนามรบหลายร้อยคัน และพวกมันได้แสดงแสงยานุภาพระหว่างยุทธการคัมไบรในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ด้วยการเจาะแนวฮินเดินบวร์ค ขณะที่กำลังผสมจับกุมทหารข้าศึกเป็นเชลยได้ 8,000 นาย และยึดปืนใหญ่ได้ 100 กระบอก สงครามยังได้มีการนำอาวุธกลเบาและปืนกลมือ เช่น ปืนลิวอิส ไรเฟิลอัตโนมัติบราวนิง และเบิร์กทันน์ เอ็มเพ 18

อาชญากรรมสงคราม[แก้]

สยามกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[แก้]

In secret ร กต องห าม ม อาจเล อน
กองกำลังทหารอาสาในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกำลังร่วมเดินสวนสนามฉลองชัยชนะ ที่อาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2462

กองทหารสยามในดินแดนเยอรมนี[แก้]

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2457 สยามตั้งตัวเป็นกลาง จนกระทั่งวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 สยามจึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี และได้ส่งทหารอาสาสมัครไปช่วยรบ 1,284 คน ทั้งนี้รวมทั้งนายและพลทหาร สมทบกับนักเรียนไทยในนานาประเทศอีกประมาณ 400 คน รวมทหารอาสาสมัครทั้งหมดประมาณ 1,600 คน

ทหารอาสาออกเดินทางเมื่อ พ.ศ. 2461 ถึงประเทศฝรั่งเศสอยู่ใต้บัญชาการของนายพล เปแตง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ไปปฏิบัติการในสมรภูมิประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมโดยการเข้าร่วมกับญี่ปุ่นและอังกฤษ ในการยึดแนวข้าศึกบริเวณอาณาเขตของเยอรมันทำให้มีทหารเสียชีวิต ระหว่างการรบ

ภายหลังสงคราม สยามได้ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ทำไว้เดิมกับประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมัน ฯลฯ โดยแก้ไขจากสนธิสัญญาเดิมที่สยามเป็นฝ่ายเสียเปรียบให้ได้ประโยชน์ดีขึ้น นอกจากนี้ สยามยังได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติอีกด้วย

ผลที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น มีความสำคัญดังนี้

  1. เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของประเทศ
  2. ได้รับเกียรติเข้าร่วมทำสนธิสัญญาแวร์ซาย
  3. เมื่อสงครามสงบได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกประเภทริเริ่มขององค์การสันนิบาตชาติ เป็นหลักประกันเอกราชและความปลอดภัยของประเทศ
  4. ได้แก้ไขสัญญาที่ทำไว้กับต่างประเทศตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นผลสำเร็จ ยกเลิกสัญญาต่าง ๆ ที่ไทยทำกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี และทำสัญญากับประเทศต่าง ๆ ใหม่ให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายไทยมากขึ้น
  5. ได้ยึดทรัพย์จากเชลย
  6. เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเผือกมาเป็นธงไตรรงค์ เพื่อนำไปใช้ในกองทัพไทยที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
  7. สร้างอนุสาวรีย์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งคือ อนุสาวรีย์ทหารอาสา วงเวียน 22 กรกฎา สมาคมสหายสงคราม เป็นต้น
  8. มีการจัดทหารแบบยุโรป และเริ่มจัดตั้งกรมอากาศยานขึ้นเป็นครั้งแรก เดิมอยู่ในสังกัด กองทัพบก และต่อมาได้วิวัฒนาการมาจนกลายเป็น กองทัพอากาศ ในปัจจุบัน

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายชื่อทหารผ่านศึกคนสุดท้ายในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
  • รายชื่อภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

หมายเหตุ[แก้]

  1. หรือย่อเป็น WWI หรือ WW1

อ้างอิง[แก้]

  • ↑ , p. 273
  • "British Army statistics of the Great War". 1914-1918.net. สืบค้นเมื่อ 13 December 2011.
  • Figures are for the British Empire
  • Figures are for Metropolitan France and its colonies
  • "The war to end all wars". BBC News. 10 November 1998.
  • , p. 8.
  • , pp. 167–168.
  • , p. 307.
  • "World War I – Killed, wounded, and missing". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
  • Spreeuwenberg, P.; และคณะ (1 December 2018). "Reassessing the Global Mortality Burden of the 1918 Influenza Pandemic". American Journal of Epidemiology. 187 (12): 2561–2567. doi:10.1093/aje/kwy191. PMID 30202996.
  • Williams, Rachel (2014). Dual Threat: The Spanish Influenza and World War I. University of Tennessee Thesis: Trace: Tennessee Research and Creative Exchange. pp. 4–10. สืบค้นเมื่อ 10 September 2018.
  • , pp. 80–93
  • , p. 24.
  • Charles Seymour (1916). The Diplomatic Background of the War. Yale University Press. pp. 35, 147.
  • Lieven, Dominic (2016). Towards the Flame: Empire, War and the End of Tsarist Russia. Penguin. p. 326. ISBN 978-0141399744.
  • ↑ Martel, Gordon (2014). The Month that Changed the World: July 1914 and WWI (Kindle ed.). OUP. 6286.
  • "Le Président de la République, R. [Raymond] Poincaré et al., 'A La Nation Française'" (PDF). Journal Officiel de la République Française: 7053–7054. 2 August 1914. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.
  • Zuber, Terence (2011). Inventing the Schlieffen Plan: German War Planning 1871–1914 (2014 ed.). OUP. pp. 46–49. ISBN 978-0198718055.
  • "Note Given 2 August 1914, at 19 hours, by M. de Below Saleske [Klaus von Below-Saleske], Minister of Germany, to M. Davignon, Minister of Foreign Affairs". Documents Diplomatiques 1914: La Guerre Européenne Diplomatic Documents 1914: The European War (PDF). Ministère des Affaires Étrangères (Ministry of Foreign Affairs). 1914. p. 201. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.
  • Coffman, Edward M. (1998). The War to End All Wars: The American Military Experience in World War I.
  • Sheffield, Gary (2002). Forgotten Victory. Review. p. 251. ISBN 978-0747271574.
  • Gerwath, Robert (2016). The Vanquished: Why the First World War Failed to End, 1917–1923 (Kindle ed.). Penguin. 3323–3342. ISBN 978-0141976372.
  • "Were they always called World War I and World War II?". Ask History. สืบค้นเมื่อ 24 October 2013.
  • , p. 8.
  • "great, adj., adv., and n". Oxford English Dictionary.
  • "The war to end all wars". BBC News. 10 November 1998. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
  • Margery Fee and Janice McAlpine. Guide to Canadian English Usage. (Oxford UP, 1997), p. 210.
  • , pp. 121–152.
  • Theodore Zeldin, France, 1848–1945: Volume II: Intellect, Taste, and Anxiety (1977) 2: 117.
  • , p. แม่แบบ:Pn.
  • , p. 52.
  • Medlicott, W.N. (1945). "Bismarck and the Three Emperors' Alliance, 1881–87". Transactions of the Royal Historical Society. 27: 66–70. doi:10.2307/3678575. JSTOR 3678575.
  • Keenan, George (1986). The Fateful Alliance: France, Russia and the Coming of the First World War. Manchester University Press. p. 20. ISBN 978-0719017070.
  • , p. 15
  • Fay, Sidney B. (1930). The Origins of the World War. Vol. 1 (2nd ed.). pp. 290–293.
  • ↑ , p. 21
  • Holger Herwig,"The Failure of German Sea Power, 1914–1945: Mahan, Tirpitz, and Raeder Reconsidered", The International History Review, 10:1 (February 1988), 72–73.
  • Moll, Luebbert; Kendall, Gregory (1980). "Arms Race and Military Expenditure Models: A Review". The Journal of Conflict Resolution. 24 (1): 153–185. doi:10.1177/002200278002400107. JSTOR 173938.
  • , p. 45.
  • , p. 42.
  • , pp. 48–49.
  • Clark, Christopher M. (2012). The Sleepwalkers: How Europe Went to War in 1914. London: Allen Lane. pp. 251–252. ISBN 9780713999426. LCCN 2012515665.
  • Finestone, Jeffrey; Massie, Robert K. (1981). The last courts of Europe. Dent. p. 247.
  • .
  • "European powers maintain focus despite killings in Sarajevo – This Day in History". History.com. 30 June 1914. สืบค้นเมื่อ 26 December 2013.
  • , p. 26.
  • Clark, Christopher (25 June 2014). Month of Madness. BBC Radio 4.
  • Djordjević, Dimitrije; Spence, Richard B. (1992). Scholar, patriot, mentor: historical essays in honor of Dimitrije Djordjević. East European Monographs. p. 313. ISBN 978-0-88033-217-0. Following the assassination of Franz Ferdinand in June 1914, Croats and Muslims in Sarajevo joined forces in an anti-Serb pogrom.
  • Reports Service: Southeast Europe series. American Universities Field Staff. 1964. p. 44. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013. ... the assassination was followed by officially encouraged anti-Serb riots in Sarajevo ...
  • Kröll, Herbert (2008). Austrian-Greek encounters over the centuries: history, diplomacy, politics, arts, economics. Studienverlag. p. 55. ISBN 978-3-7065-4526-6. สืบค้นเมื่อ 1 September 2013. ... arrested and interned some 5.500 prominent Serbs and sentenced to death some 460 persons, a new Schutzkorps, an auxiliary militia, widened the anti-Serb repression.
  • , p. 485.
  • Schindler, John R. (2007). Unholy Terror: Bosnia, Al-Qa'ida, and the Rise of Global Jihad. Zenith Imprint. p. 29. ISBN 978-1-61673-964-5.
  • , p. 141.
  • , p. 27.
  • Fromkin, David; Europe's Last Summer: Why the World Went to War in 1914, Heinemann, 2004; pp. 196–97.
  • L. F. C. Turner, "The Russian Mobilization in 1914." Journal of Contemporary History 3.1 (1968): 65-88 online.
  • "Verordnung, betreffend die Erklärung des Kriegszustandes". Reichs-gesetzblatt (ภาษาเยอรมัน). 31 July 1914. LCCN 14013198.
  • Christopher Clark, The Sleepwalkers (2012) p. 539.
  • "On This Day, March 24, 1917. Kaiser's spy in north". The Irish News. Belfast. 24 March 2017.
  • Coogan, Tim Pat (2009). Ireland in the 20th Century. London: Random Houe. p. 48. ISBN 9780099415220.
  • Preston, Richard (1 August 2014). "First World War centenary: how the events of August 1 1914 unfolded". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-25. สืบค้นเมื่อ 2020-08-23 – โดยทาง www.telegraph.co.uk.
  • McMeekin, Sean, July 1914: Countdown to War, Basic Books, 2014, 480 p., ISBN 978-0465060740, pp. 342, 349
  • , pp. 4–5.
  • Dell, Pamela (2013). A World War I Timeline (Smithsonian War Timelines Series). Capstone. pp. 10–12. ISBN 978-1-4765-4159-4.
  • , p. 29.
  • "Daily Mirror Headlines: The Declaration of War, Published 4 August 1914". BBC. สืบค้นเมื่อ 9 February 2010.
  • , pp. 292–296, 343–354
  • , p. 172.
  • Schindler, John R. (1 April 2002). "Disaster on the Drina: The Austro-Hungarian Army in Serbia, 1914". War in History. 9 (2): 159–195. doi:10.1191/0968344502wh250oa.
  • "Veliki rat – Avijacija". rts.rs. RTS, Radio televizija Srbije, Radio Television of Serbia.
  • "How was the first military airplane shot down". National Geographic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2015. สืบค้นเมื่อ 5 August 2015.
  • ↑ , p. 22.
  • , p. 22.
  • , p. 23.
  • , pp. 194, 211.
  • , p. 79.
  • , pp. 224–232.
  • , pp. 79–80.
  • , p. 353
  • , p. 424.
  • , pp. 421–423.
  • , p. 99.
  • , p. 199 (footnote).
  • Duffy, Michael (22 August 2009). "Weapons of War: Poison Gas". Firstworldwar.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2007. สืบค้นเมื่อ 5 July 2012.
  • .
  • Lichfield, John (21 February 2006). "Verdun: myths and memories of the 'lost villages' of France". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2017. สืบค้นเมื่อ 23 July 2013.
  • , p. 271.
  • "Living conditions". Trench Warfare. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2018. สืบค้นเมื่อ 19 April 2018.
  • , pp. 39–47
  • , pp. 5
  • Halpern 1995, p. 293
  • , pp. 50
  • , pp. 619–24
  • ↑ Sheffield, Garry, "The First Battle of the Atlantic", World Wars In Depth, BBC, สืบค้นเมื่อ 2009-11-11
  • , p. 306
  • , p. 80
  • "Nova Scotia House of Assembly Committee on Veterans' Affairs", Hansard, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-13, สืบค้นเมื่อ 2007-10-30
  • Roger Chickering, Stig Förster, Bernd Greiner, German Historical Institute (Washington, D.C.) (2005). "". Cambridge University Press. p.73. ISBN 0-521-83432-5
  • "(DOCID+yu0021) The Balkan Wars and World War I". Library of Congress Country Studies.
  • , pp. 54–55
  • , pp. 1075–6
  • , pp. 108–10
  • , p. 120
  • Robert A. Doughty (2005), , Harvard University Press, 2005;, p. 491, ISBN 9780674018808, สืบค้นเมื่อ 2010-10-03`{{citation}}`: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  • ↑ N.Korsun. "The Balkan Front of the World War" (ภาษารัสเซีย). militera.lib.ru. สืบค้นเมื่อ 2010-09-27.
  • , p. 119
  • ↑ , pp. 499–503
  • , pp. 122–138
  • The Battles of the Isonzo, 1915-17, FirstWorldWar.com
  • Battlefield Maps: Italian Front, FirstWorldWar.com
  • , pp. 60–65
  • "The Battle of Marasti (July 1917)". WorldWar2.ro. 1917-07-22. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
  • Cyril Falls, The Great War, p. 285
  • , p. 429.
  • Béla, Köpeczi, History of Transylvania, Akadémiai Kiadó, ISBN 848371020X
  • , p. 51.
  • , p. 715
  • , pp. 152–4, 161, 163, 175, 182
  • , pp. 54–55
  • , pp. 721–766
  • Stracham (1998), p. 61
  • , p. 243
  • Marshall, 292.
  • , pp. 146–147
  • , pp. 125–30
  • , p. 756
  • "Selective Service System: History and Records". Sss.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-07. สืบค้นเมื่อ 2010-07-27.
  • , p. 52
  • "African Americans during World War I".
  • , p. 143
  • , pp. 190&191
  • , p. 86
  • ↑ , pp. 495–196
  • ↑ The Battle of Amiens: 8 August 1918, Australian War Memorial, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16, สืบค้นเมื่อ 2008-12-12
  • Amiens Map, Australian War Memorial, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-17, สืบค้นเมื่อ 2009-10-24 (archived 2007-06-17)
  • , p. 215
  • , p. 49
  • , p. 380
  • , pp. 307–10
  • , p. 383
  • Clairière de l'Armistice (ภาษาฝรั่งเศส), Ville de Compiègne, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-27, สืบค้นเมื่อ 2008-12-03
  • ↑ "1918 Timeline". League of Nations Photo Archive. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.
  • Lindsay, Robert, "The Last Hours", 28th (Northwest) Battalion Headquarters, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09, สืบค้นเมื่อ 2009-11-20
  • John Hayes-Fisher (October 29, 2008), The last soldiers to die in World War I, BBC Magazine, สืบค้นเมื่อ 2012-12-06
  • Tomas (February 15, 2010), 11 Facts about the End of the Great War, สืบค้นเมื่อ 2012-12-06
  • , pp. 185–188
  • "France's oldest WWI veteran dies" เก็บถาวร 28 ตุลาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BBC News, 20 January 2008.
  • Hastedt, Glenn P. (2009). Encyclopedia of American Foreign Policy. Infobase Publishing. p. 483. ISBN 978-1-4381-0989-3.
  • Murrin, John; Johnson, Paul; McPherson, James; Gerstle, Gary; Fahs, Alice (2010). Liberty, Equality, Power: A History of the American People. Vol. II. Cengage Learning. p. 622. ISBN 978-0-495-90383-3.
  • "Harding Ends War; Signs Peace Decree at Senator's Home. Thirty Persons Witness Momentous Act in Frelinghuysen Living Room at Raritan". The New York Times. 3 July 1921.
  • "No. 31773". The London Gazette. 10 February 1920. p. 1671.
  • "No. 31991". The London Gazette. 23 July 1920. pp. 7765–7766.
  • "No. 13627". The London Gazette. 27 August 1920. p. 1924.
  • "No. 32421". The London Gazette. 12 August 1921. pp. 6371–6372.
  • "No. 32964". The London Gazette. 12 August 1924. pp. 6030–6031. สงครามโลกครั้งที่ 1. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2563. จาก https://medium.com/ประวัติศาสตร์โลก/สงครามโลกครั้งที่-1-61a549c7c31e