กล มมน ษยน ม ปร ชญมน ษน ยม humanistic philophy

คํานํา รายงานเล่มน้ีเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาจิตวิทยาเพ่ืองานเทคโนโลยีการศึกษา (Psychology In Educational Technology) ในระดับปริญญาโท (ภาคพิเศษ) ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปน็ รายงานการศกึ ษาหลกั การ แนวคิด และทฤษฎีทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่สําคัญ เร่ือง จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาบุคลิกภาพ และจิตวิทยาสังคม คณะผู้จัดทําหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มน้ี จะเป็นประโยชนต์ ่อผู้ศกึ ษา ขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาเอกอากาศตรี ดร.สัญชัย พัฒนสิทธ์ิ เป็นอย่างสูงท่ีกรุณา ให้ความรู้ คาํ แนะนําและคําปรกึ ษาตลอดจนการทาํ งานของคณะผจู้ ดั ทาํ จนกระทง่ั เสร็จสมบรู ณ์ คณะผ้จู ัดทาํ 9 กุมภาพันธ์ 2562

สารบัญ บทที่ 1 จิตวิทยาพัฒนาการ หนา้ ทฤษฎพี ฒั นาการความตอ้ งการทางเพศและทางบุคลิกภาพ 1 ทฤษฎพี ฒั นาการทางสงั คมของอีริกสนั 2 ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์ 6 ทฤษฎีพฒั นาทางจริยธรรมของโคหเ์ บริ ก์ ( Kohlberg’s Moral Development ) 8 12 บทท่ี 2 จติ วิทยาบุคลกิ ภาพ 16 กลุ่มทฤษฎกี ารเคล่ือนไหวทางจิต (Psychodynamic Theories) 16 ทฤษฎจี ติ วิเคราะหข์ องฟรอยด์ 16 ทฤษฎีจติ วทิ ยาวิเคราะห์ 20 ทฤษฎจี ติ วิทยาปัจเจกบคุ คลของแอดเลอร์ (Adler’s Individual Psychology) 22 ทฤษฏีพฒั นาการบุคลกิ ภาพของอีริคสนั (Erikson’s Theory of development) 24 ทฤษฎีบุคลิกภาพกลุ่มมนษุ ยนิยม (Humanistic Theories) 24 ทฤษฎตี ัวตน (Self Theory) 24 ทฤษฎบี ุคลิกภาพของมาสโลว์ (Maslow’s Theory) 26 ทฤษฎบี คุ ลิกภาพโดยแบง่ ตามประเภท (Type Theories) 27 ทฤษฎีของเชลดอน (Sheldon Theory) 27 ทฤษฎขี องเคริตชเมอร์ (Kretschmer Theory) 28 กลมุ่ ทฤษฏีบคุ ลิกภาพโดยแบ่งตามคุณลักษณะเฉพาะตัว (Traits Theories) 29 ทฤษฎีอปุ นิสัยของอลั ล์พอร์ต (Allport’s Trait Theory) 29 ทฤษฎลี กั ษณะเฉพาะของแคตเตลล์ (Cattell’s Traits Theory) 30 กล่มุ ทฤษฎีการเรยี นรทู้ างสังคม (Social Learning Theories) 31 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบจงใจกระทา (Operant Conditioning Theory) 31 ทฤษฎบี ุคลิกภาพ แบบมนุษยนิยม (Humanist Personality Theory) 33 ทฤษฎกี ารเรียนรู้แบบลงมือกระทาของ สกินเนอร์ 34 การวดั บุคลิกภาพ (Personality Characteristics Subject to Appraisal) 41 42 บทที่ 3 จิตวิทยาสังคม 43 การพัฒนาจิตวิทยาทางสงั คม 44 ทฤษฎีทางจิตวทิ ยาสังคม 45 ทฤษฎีทางจิตวทิ ยาสงั คมที่ใช้อยา่ งแพร่หลาย 45 ทฤษฎกี ารเรียน (learning theories) 46 ทฤษฎีการรับรู้ (Cognitive Theories) 47 ทฤษฎแี รงจูงใจ (Motivational Theories) 48 ทฤษฎกี ารตัดสินใจ (Decision-making Theories) 48 ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสงั คม (Social Exchange Theories) 48 ทฤษฎีบทบาท (Role Theories) บรรณานกุ รม

บทที่ 1 จติ วทิ ยาพฒั นาการ พัฒนาการ (Development) หมายถึง การเปล่ียนแปลงคุณภาพและปริมาณท้ังทางด้านร่างกาย อา รม สังคม และสติปัญญา กระบวนการเปลี่ยนแปลงจะเกิดข้ึนอย่างต่อเน่ืองกันตลอดเวลา และมีลักษณะค่อย เปน็ คอ่ ยไปมิใชเ่ กิดอย่างทันทีทันใด พัฒนาการเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ที่มีรูปแบบ โดยเป็นไปอย่างมี ขั้นตอนและต่อเนื่องกันไป ซ่ึงเป็นการเปล่ียนแปลงท้ังด้านปริมาณและคุณภาพ ทําให้มีความสามารถและ ลักษณะใหมๆ่ เกดิ ข้นึ หลักการของพฒั นาการ พัฒนาการด้านต่าง ๆ โดยทั่วไปของคนเรา เช่น พัฒนาการด้านภาษา พัฒนาการด้านจริยธรรม พัฒนาการด้านสติปัญญา โดยเฉพาะพัฒนาการด้านร่างกาย เป็นไปตามหลักของพัฒนาการ หลักการของ พัฒนาการ (Principles of Development) มดี งั น้ี 1. พัฒนาการจะเป็นไปตามแบบฉบับของมันเอง โดยจะมีลักษณะท่ีเป็นไปตามลําดับ ขั้นตอนของ อินทรีย์แต่ละชนิด เช่น พัฒนาการของมนุษย์จะเกิดเป็นลําดับไปคือ พลิก คว่ํา น่ัง คลาน ยืน เดิน วิ่ง เป็นต้น สว่ นสัตวช์ ้ันตาํ่ นนั้ จะออกเป็นไข่ก่อนทจ่ี ะเกิดเป็นตวั 2. พฒั นาการจะเกดิ เป็นทศิ ทาง โดยมีลกั ษณะคอ่ ยเป็นค่อยไป ซ่ึงมี 2 ทศิ ทาง ดงั นี้ 2.1 พัฒนาการจะเริ่มจากส่วนบนลงสู่ส่วนล่าง มนุษย์จะพัฒนาจากศีรษะไปสู่ลําตัว ขา และเท้า ตามลาํ ดับ เชน่ เดก็ จะยกศรี ษะไดก้ ่อนอวัยวะสว่ นอน่ื ๆ เป็นตน้ 2.2 พัฒนาการจะเรมิ่ จากสว่ นกลางไปสสู่ ่วนนอก มนุษย์จะพัฒนาจากลําตวั ไปสู่แขน มือ และนิ้ว ตามลําดบั เช่น ทารกจะใช้แขนไดก้ ่อนทีจ่ ะใชม้ ือ หรอื ใช้ท้งั มอื หยิบจบั ส่ิงของได้ก่อนท่จี ะใช้น้วิ มือ เป็นตน้ 3. พัฒนาการจะเร่ิมจากส่วนใหญ่หรือส่วนกว้างไปสู่ส่วนย่อยหรือส่วนที่เฉพาะเจาะจง เช่น การมองเห็น ทารกจะเริ่มมองเห็นส่ิงท่ีใหญ่ ๆ ก่อนท่ีจะมองเห็นส่วนท่ีเป็นรายละเอียด ในช่วงท่ียังเล็กอยู่น้ัน ทารกยังไม่สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างพ่อแม่ หรือผู้เล้ียงดูกับคนแปลกหน้าได้ ต่อมา เมื่อสายตา สามารถปรับภาพได้ดีข้ึน จึงมองเห็นความแตกต่างของใบหน้าของผู้ที่เลี้ยงดูกับคนแปลกหน้าได้ ในเร่ืองของ การเคลื่อนไหว ทารกจะเคล่ือนไหวท้ังตวั ได้ก่อนอวัยวะส่วนหนงึ่ สว่ นใด ต่อมาเมื่อมีพัฒนาการกา้ วหน้ามากข้ึน ก็จะใชแ้ ขน – ขา มือ – เทา้ และน้ิวมอื – นวิ้ เท้า ไดด้ ีข้ึนตามลาํ ดบั 4. พัฒนาการจะเกิดข้ึนอย่างต่อเนื่องกันไป โดยนับต้ังแต่เร่ิมมีการปฏิสนธิ จากน้ันก็จะมีการพัฒนา ไปเป็นวัยก่อนคลอด วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และวัยชรา พัฒนาการจึงเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ตามลําดับและนําความเปล่ียนแปลงมาสู่ร่างกายตลอดเวลา โดยท่ีเราไม่สามารถจะหยุดการเปล่ียนแปลงของ ร่างกายได้ ฉะนัน้ พฒั นาการระยะหน่งึ ๆ จะเป็นรากฐานของพฒั นาการในระยะต่อไป 5. พัฒนาการทุกด้านจะสัมพันธ์กัน พัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจะมี ความเกี่ยวข้องสมั พันธก์ ัน เดก็ ทมี่ พี ัฒนาการทางดา้ นร่างกายไมด่ ี มกั จะมีปัญหาในการปรับตัวทางดา้ นอารมณ์ และสงั คม ตลอดจนมีผลกระทบต่อพฒั นาการทางด้านสติปญั ญาอกี ด้วย

ห น้ า | 2 6. พัฒนาการในแต่ละวัยจะมีลักษณะเด่นเฉพาะ กล่าวคือ ในแต่ละวัยลักษณะบางอย่างจะพัฒนา เร็วกว่าลักษณะอ่ืนๆ เช่น โดยท่ัวไปทารกจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย และการเคล่ือนไหวอย่างเห็นเด่นชัด วัยเด็กตอนต้นมีพัฒนาการทางภาษาและเรียนรู้สิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว และวัยชราจะแสดงลักษณะของ ความเสอ่ื ม เป็นต้น 7. พัฒนาการดําเนินไปควบคู่กับการเสื่อม เช่น การเติบโตของฟัน เด็กจะต้องสูญเสียฟันนํ้านม ก่อนท่ีฟันแท้จะข้ึน ในช่วงแรกของชีวิตเรามองเห็นพัฒนาการได้ชัดเจนกว่าการเสื่อม พอมาถึงช่วงกลางและ ช่วงปลายของชวี ติ จะมองเห็นการเสอื่ มไดช้ ดั เจนกวา่ การเติบโต 8. อตั ราพฒั นาการของส่วนต่าง ๆ ของรา่ งกายจะแตกต่างกนั ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ไดเ้ จริญใน อัตราท่ีเท่ากัน บางส่วนเจริญเร็ว บางส่วนเจริญช้า เช่น ขนาดของสมองจะเจริญถึงขีดสุดเมื่อเด็กมีอายุ ประมาณ 6-8 ปี ส่วนมือ เท้า และจมูกจะเจริญถึงขีดสุดเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น หัวใจ ปอด ตับและระบบการย่อย อาหารจะเจริญอยา่ งรวดเรว็ เม่อื ยา่ งเขา้ ส่วู ันร่นุ เปน็ ตน้ 9. อตั ราพัฒนาการของแต่ละคนจะไมเ่ ทา่ กัน คนเรามีพัฒนาการด้านต่าง ๆ แตกตา่ งกันเพราะได้รับ อิทธิพลจากท้ังพันธุกรรม และส่ิงแวดล้อม ท่ีทํางานร่วมกัน ควบคู่กันไป ซ่ึงเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไปในลักษณะเฉพาะของตน เช่น เด็กบางคนเจริญเติบโตเร็ว บางคน เจรญิ เตบิ โตช้า บางคนพูดไดเ้ รว็ บางคนพดู ไดช้ ้า เป็นตน้ ทฤษฎพี ฒั นาการ (Theories of Development) 1. ทฤษฎพี ัฒนาการความตอ้ งการทางเพศและทางบคุ ลิกภาพ รปู ที่ 1 ซิกมนั ด์ ฟรอยด์ ฟรอยด์ ได้อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ท่ีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการความต้องการ ทางเพศและทางบุคลิกภาพ ( Psychosexual Development) จากความเช่ือเก่ียวกับสัญชาตญาณทางเพศใน เด็กทารกทแ่ี สดงออกมาในรปู พลังของ ลิบิโด (Libido) และสามารถเคลอ่ื นทไ่ี ปยัง สว่ นใดสว่ นหนง่ึ ของรา่ งกาย

ห น้ า | 3 และบริเวณท่ีพลังลิบิโดไปรวมอยู่เรียกว่า ท่ีของความรู้สึกพึงพอใจ (Erogeneous Zone) เมื่อพลังลิบิโดไปอยู่ ในส่วนใดก็จะก่อให้เกิดความตึงเครียด (Tension) ข้ึนท่ีส่วนน้ัน วิธีการท่ีจะขจัดความตึงเครียด ได้ก็โดย การเร้าหรือกระตุ้นส่วนนั้นอย่างเหมาะสม เพ่ือทําให้เกิดความพึงพอใจ (Gratification) บริเวณที่พลัง Libido เคลื่อนไปอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ หรือวัยต่างๆ ของบุคคล จะทําให้เกิดการพัฒนาการไปตาม ขัน้ ตอนของวัยนั้นๆ ฟรอยด์ แบง่ การพัฒนาบคุ ลกิ ภาพออกเปน็ 5 ขัน้ ได้แก่ 1. ขั้นปาก (Oral Stage) เรมิ่ ตัง้ แต่แรกเกิดถงึ 1 ขวบ ในวัยน้ี Erogenous Zone จะอยู่บรเิ วณปาก การได้รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะทําให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ทําให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของ ตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างย่ิง การดูดนมแม่จึงเป็นความสุข และความพึงพอใจของเขาในขั้นนี้ ถ้าพ่อ แม่หรือผู้ใกล้ชิดให้การอบรมเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม มีการดูแลเอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเต็มท่ีจะทํา ให้เด็ก เกิดความไว้วางใจ และความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง และสภาพแวดล้อม เนื่องจากเด็กวัยน้ีเริ่มพัฒนา ความรักตัวเอง (Narcissism) แต่ถ้าเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม เช่น ถูกปล่อยให้ร้องไห้ เพราะ หิวเป็นเวลานาน ๆ ไม่ได้รับประทานอาหารตามเวลา และไม่ได้รับการสัมผัสท่ีอบอุ่นหรือการแสดงความรัก ความอบอุ่นจากพ่อแม่ และผู้ใกล้ชิด จะทําให้เด็กพัฒนาความไม่ไว้วางใจ (Distrust) มีความรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับ ตนเอง และเกลียดชังสภาพแวดล้อม ทําให้เกิดการยึดติด (Fixatio) ของพัฒนาการในข้ันปาก พลัง Libido บางสว่ นไม่ได้รบั การเรา้ อยา่ งเหมาะสม จะทาํ ใหก้ ารยึดติดอยู่บรเิ วณปาก และไม่สามารถเคล่อื นทีไ่ ปยงั ส่วนอ่ืน ของร่างกาย ตามความเหมาะสมของการพัฒนาการในขั้นต่อไป ก่อให้เกิดความผิดปกติทางบุคลิกภาพในขั้น ปาก และเม่ือบุคคลเข้าสู่วัยรุ่นบุคคลก็จะแสดงบุคลิกภาพที่ยึดติดในข้ันปากออกมาในรูปของพฤติกรรมต่างๆ เช่น การติดสุรา ติดบุหร่ี ยาเสพติด ชอบขบเค้ียวไม่หยุดปาก ชอบกินของคบเค้ียวกรอบๆ กินอาหารแปลกๆ เชน่ กินกงุ้ เตน้ หรอื ชอบพดู จาเยาะเยย้ ถากถาง กา้ วรา้ ว บ้าอาํ นาจ พูดจาใสร่ ้ายปา้ ยสีได้โดยขาดความละอาย และชอบทําตวั ให้เป็นจุดเด่นในสงั คมโดย วิธกี ารใชป้ ากหรอื เสียงดังๆ เปน็ ต้น 2. ข้ันทวาร (Anal Stage) เด็กจะมีอายุต้ังแต่ 1-3 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่ท่ีบริเวณ ทวาร โดยท่ีเดก็ จะมีความพงึ พอใจ เมอ่ื มีสิ่งมากระตุ้น หรอื เร้าบริเวณทวาร ในระยะน้เี ด็กเริม่ เปน็ ตัวของตัวเอง เร่ิมมีความพึงพอใจกับ ความสามารถใน การควบคุมอวัยวะ ของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย กิจกรรมที่ เด็กมีความสุขจะเก่ียวข้องกับการกลั้นอุจจาระ (Anal Retention) และการถ่ายอุจจาระ (Anal Expulsion) ความขัดแย้งท่ีมักเกิดขึ้นในขั้นน้ีคือ การฝึกหัดการขับถ่าย (Toilet) Training ดังน้ัน ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความ เอาใจใส่ และฝึกการขับถ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับเวลา และสถานที่โดยไม่บังคับ หรือเข้มงวด และวาง ระเบียบมากเกินไป เพราะไม่เช่นน้ัน เด็กจะเกิดความรู้สึกไม่แน่ใจในความมีอิสระ และความสามารถใน การบังคับอวัยวะของตนเอง ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่จะปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามความ พึงพอใจของเด็กโดยไม่สนใจให้การดูแล และฝึกหัดให้เด็กเรียนรู้การขับถ่ายท่ีเหมาะสม ก็จะทําให้เด็กติดตรึง อยู่กับความต้องการของตนเอง ไม่พัฒนาการยอมรับจากผู้อื่น จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยา กฎเกณฑ์ และเจตคติของ พ่อแมใ่ นการฝึกหัดการขับถ่ายของเด็ก จึงมีความสําคัญต่อการพัฒนาบุคลกิ ภาพที่เหมาะสม ในขั้นทวารเพราะ ถ้าสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับเด็กเป็นอย่างดีโดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับการฝึกการขับถ่ายของเด็กจึงมี ความสําคัญ ต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมในขั้นทวาร เพราะถ้าสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับเด็กเป็น อย่างดี โดยเฉพาะเก่ียวข้องกับ การฝึกการขับถ่าย จะทําให้เด็กพัฒนาอารมณ์ที่ม่ันคง เช่ือม่ันในความสามารถ ของตนเอง เป็นคนสงบเสงี่ยมอ่อนโยนแต่ถ้าเด็กเกิด การติดตรึงในข้ันตอนนี้ จะทําให้ไม่สามารถพัฒนา บุคลิกภาพตามความเหมาะสม เช่น ถ้าเด็กพอใจกับการถ่ายอุจจาระมากเกินไป เม่ือโตข้ึนก็จะเป็นคนสุรุ่ย-

ห น้ า | 4 สุร่าย แต่ถ้าเด็กพอใจกับการกลั้นอุจจาระไว้ไม่ยอมขับถ่าย ก็จะเป็นคนข้ีเหนียว ตระหน่ี หรือถ้าเด็กรู้สึกโกรธ หรอื เกลียด พ่อแมท่ ีเ่ ขม้ งวดในเรือ่ งขับถ่ายก็จะทาํ ใหเ้ ด็กมนี สิ ัยด้อื รัน้ ก็จะกลายเป็นเจ้าระเบียบ จจู้ ี้จุกจกิ หรือ ถ้าพ่อแม่ท่ีเน้นการขับถ่ายตรงเวลา ไม่รู้จักยืดหยุ่นก็จะกลายเป็นคนเข้มงวด ไม่ยืดหยุ่น แต่ถ้ายึดติดในข้ันน้ี เป็นไปอย่างรุนแรง อาจทําให้เกิดเด็กมีบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น ชอบทําร้ายให้ผู้อื่นเจ็บปวด (Sadism) หรือ การรว่ มเพศดว้ ยวิธกี ารตา่ ง ๆ เปน็ ตน้ รูปท่ี 2 แสดงพัฒนการทางบคุ ลิกภาพของฟรอยด์ในระยะปากและระยะทวาร (ทมี่ า : Kalat; 1990) 3. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage) เริ่มตั้งแต่ 3 – 5 ขวบ ในข้ันนี้ Erogenous Zone จะ อยู่ท่ีอวัยวะเพศ โดยที่เด็กเกิด ความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ ท่ีตนเองในระยะแรก ต่อมาในช่วง 4-5 ขวบ พลัง Libido บางส่วนจะเคลื่อนท่ีออกจากตนเองไปรวมอยู่ที่พ่อ แม่ ซ่ึงเป็นเพศตรงข้ามกับเดก็ ทาํ ใหเ้ ด็กชายรักใคร่ และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา และเปน็ ปรปักษ์กับ พ่อในขณะท่ีเด็กหญิงจะรักใคร่ และหวง แหนพ่อ จึงรู้สึกอิจฉา และเป็นศัตรูกับแม่ ที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เป็นปมออดิปุส (Oedipus Complex) ในเด็กชาย และปมอีเลคต้า (Electra Complex) ในเด็กหญิงในข้ันน้ี นอกจากจะเกิด Oedipus Complex แล้วเด็กชายจะเกิดความวิตกกังวลกลัวว่าจะถูกตัดอวัยวะเพศ (Castration Anxiety) เพราะเด็กชายเริ่มมองเห็นความแตกต่างทางร่างกายของเพศชาย และเพศหญิง ทําให้ เด็กชายเกิด จินตนการว่าเด็กหญิงก็มีองคชาต (Penis) แต่ถูกตัดไป จึงเกิดความกังวลไม่อยากให้เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นกับตนเอง ทําให้เร่ิมเรียนรู้อํานาจของพ่อที่มีเหนือเขา ความรู้สึกเกลียดชัง และเป็น ปรปักษ์กับพ่อ เพราะต้องการแยง่ ชงิ ความรกั จากแม่คอ่ ยๆ หมดไป หนั มาเปน็ มิตร และเลียนแบบ (Identification) พ่อจงึ เอา (Introject) บทบาททางเพศชายของพ่อมาไว้ในตนเอง ทําให้ปรากฏการณ์ของ Oedipus Complex หายไป และเด็กจะเลียนแบบบทบาทที่เหมาะสมตามเพศของตนเองในระยะนี้ Superego ของเด็กจะเร่ิมพัฒนาจาก การรับเอาค่านิยม คุณธรรม และบรรทัดฐานทางสังคมของพ่อแม่มาไว้ในตัว ในขณะที่เด็กหญิง นอกจากจะ เกิด Electra Complex แล้ว เด็กหญิงจะเกิดความอิจฉาของ องคชาต (Penis Envy) ในเด็กชาย และรู้สึกตํ่า ต้อยที่ตนเองไม่มีองคชาตเหมือนเด็กชาย เม่ือเกิดปรากฏการณ์ Electra Complex แล้วเด็กหญิงจะรักใคร่ และหวงแหนพ่อในท่ีเกลียดชัง และรู้สึกว่าเป็นคู่แข่งกับแม่ และเห็นว่าพ่อไม่สามารถให้องคชาตแก่ตนได้ จึงเกิดความรู้สึกว่าแม่เป็นผู้ที่มีอํานาจเหนือกว่าตนเอง และแม่ไม่มีองคชาตเช่นกัน ทําให้รู้สึกว่าเป็นพวก เดียวกับแม่หันมาเลียนแบบแม่ ทําให้ปมอีเลคตร้าหมดไป ในขณะท่ีส่วนของ Superego เริ่มพัฒนาข้ึนในข้ันน้ี ถ้าพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นไปด้วยดี จะทําให้เด็กแสดงบทบาทท่ีเหมาะสมตามเพศของตนเองเมื่อโตข้ึน และมีเจตคติที่ดีในเรื่องเพศ แต่ถ้าพัฒนาการเป็นไปอย่างไม่เหมาะสมแล้วจะเกิดการติดตรึงทําให้บุคลิกภาพ ผิดปกติไป เช่น ไม่สามารถทําหน้าท่ีได้อย่างสมบูรณ์ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว(Impotence)ในเพศชาย และมี ความรู้สึกเย็นชาเก่ียวกับเรื่องเพศ (Frigidity) ในเพศหญิง การรักร่วมเพศ (Homosexuality) หรือชอบอวด อวัยวะเพศ (Exhibitionism) เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น เป็นขั้นตอนที่สําคัญมากใน การพัฒนาบุคลิกภาพ พ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูจะมีบทบาทสําคัญ ที่จะช่วยให้บทบาททางเพศของเด็กเป็นไปด้วยดี

ห น้ า | 5 พ่อแม่จึงไม่ควรตําหนิหรือเข้มงวดกับเด็กมากเกินไป เม่ือเด็กจับต้องอวัยวะเพศของตน ในขณะเดียวกันเด็ก ควรได้รับช้ีแจง และการสั่งสอนเร่ืองเพศ ตามความเหมาะสมกับการอยากรู้อยากเห็นของเขา และพ่อแม่ควร ทําให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงบทบาททางเพศ ให้ความรัก ความอบอุ่น และความเอาใจใส่แก่เด็ก มีเวลา ใกล้ชิดกับเด็ก ซ่ึงทําให้เด็กเรียนรู้ถึงสัมพันธภาพที่ดีในการอยู่ร่วมกนั ระหวา่ งเพศเดียวกัน และต่างเพศ การให้ ข้อมูลทางเพศควรใช้เหตุผล และค่านิยมของสังคมที่เหมาะสมในการอธิบายเพ่ือเสริมสร้างเจตคติที่ดีในเรื่อง เพศแก่เด็ก ทําให้เด็กยอมรับความรู้สึกของตนเอง และสามารถแสดงความรู้สึกต่างๆ ออกมาได้เหมาะสมกับ บทบาททางเพศ ตามบรรทดั ฐานของสังคมต่อไป 4. ข้ันแฝง (Latency Stage) เร่ิมตั้งแต่ อายุ 6 – 11 ปี ในข้ันนี้ Erogenous Zone จะไม่ปรากฏ อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเร่ืองเพศ และ จินตนาการทางเพศ เด็กจะเริ่มมีชีวิตสังคมภายนอกบ้านมากข้ึนท่ีจะเรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับเพ่ือนๆ ในโรงเรียนโดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ในวัยดงั กล่าว เดก็ หากเด็กมพี ัฒนาการในวัยต้นๆ อย่างเหมาะสมในขั้นน้เี ด็กจะมี ความสามารถในการปรบั ตัวให้เขา้ กับเพื่อนกล่มุ เดยี วกัน 5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage) เร่ิมจาก 12 ขวบเป็นต้นไป ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่ วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ และวัยชรา โดยมี Erogonous Zone จะมาอยู่ทีอ่ วัยวะเพศ (Genitel Area) เมื่อเด็ก ย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลง ทางร่างกายทั้งหญิง และชายต่างๆ กัน และมีพัฒนาการทางร่างกายตน มีความสามารถในการสืบพันธ์ุ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความต้องการตาม สัญชาตญาณ ทางเพศอย่างรุนแรง ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระในขณะเดียวกับก็ต้องการได้รับความอบอุ่น และการดูแลเอาใจใสท่ างจิตใจจากพอ่ แม่ เมอ่ื บุคคลมีวฒุ ิภาวะทางเพศอย่างสมบรู ณแ์ ล้ว จะเกิดความพงึ พอใจ ทางด้านเพศ มีการแสวงความสุขทางเพศระหว่างชายหญิง บุคคลท่ีมีการพัฒนาการทางบุคลิกภาพอย่างปกติ ไม่มีการติดตรึง ก็จะสามารถมีชีวิตทางสังคม ที่ถูกต้องเหมาะสมคือมีครอบครัว และสามารถแสดงบทบาท ทางเพศ และบทบาทของพ่อแมไ่ ด้อย่างเหมาะสม 2. ทฤษฎพี ัฒนาการทางสงั คมของอีริกสนั รูปท่ี 3 อิรคิ สนั

ห น้ า | 6 อิริคสัน ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีช่ือของอเมริกา และจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่ เกิดท่ี เมืองแฟรงเฟิต ประเทศเยอรมัน ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปี ค.ศ. 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์ เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตัน เห็นว่าการจะทําความเข้าใจพฤติกรรมเด็กจะต้องศึกษาจากการอบรม เล้ียงดู สภาพสังคม และความเป็นอยู่ของเด็ก ปัญหาที่นํามาวิเคราะห์น้ันจะอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยา กับสังคมวิทยาในรูปแบบของมนุยวิทยา ซ่ึงมีแนวความคิดว่ามนุษย์ต้องพ่ึงสังคมและสังคมก็ต้องพึ่งมนุษย์ มนษุ ย์มวี ิวฒั นาการทีส่ ลบั ซบั ซอ้ นและผ่านขนั้ ตอนตา่ งๆของธรรมชาติหลายขัน้ ตอน พฒั นาการทางบคุ ลิกภาพ 8 ขั้นตอนของอริ คิ สนั 1. ความไวว้ างใจกบั ความไม่ไวว้ างใจ (Trust VS. Mistrust) (ในช่วง0 -1 ปี) ถ้าเด็กไดร้ ับความรัก ใคร่ที่เหมาะสม ทําให้เขารู้สึกว่าโลกน้ีปลอดภัย น่าอยู่และไว้วางใจได้ แต่ถ้าตรงกับข้ามเด็กก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ เต็มไปด้วยอนั ตรายไมม่ ีความปลอดภัย มีแตค่ วามหวาดระแวง 2. ความเป็นตัวของตัวเองกับความคลางแคลงใจ (Autonomy VS. Doubt) (ในช่วง2 – 3 ปี) เด็กในวัยน้ีจะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกว่าตนเองมีความสําคัญและอยากเอาชนะสิ่งแวดล้อมหรือ อํานาจท่ีมีอยู่ พ่อแม่จึงควรระวังในเร่ืองความสมดุลในการเลี้ยงดู ควรให้โอกาสและกําลังใจต่อเด็ก เด็กจะ พฒั นาความเป็นตัวเอง มีความมั่นใจ รู้จกั อิสระท่จี ะควบคุมตนเอง แต่ถ้าพ่อแมไ่ ม่ให้โอกาสหรือทําแทนเด็กทุก อยา่ ง เดก็ จะเกิดความคลางแคลงใจในความสามารถของตนเอง 3. ความริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative VS. Guilt) (ในช่วง4 – 5 ปี) การมีส่วนร่วมในกิจกรรม ตลอดถึงการใช้ภาษาจะช่วยใหเ้ ด็กเกดิ แงค่ ดิ ในการวางแผนและการรเิ ร่มิ ทาํ กิจกรรมต่างๆ ก็จะเปน็ การสง่ เสริม ทําให้เขารู้สึกต้องการท่ีจะศึกษาค้นคว้าต่อไปเด็กก็จะมีความคิดริเร่ิม แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ใหญ่คอยเข้มงวด ไม่เปิดโอกาสให้เด็ก ตําหนิอยู่ตลอดเวลา เขาก็จะรู้สึกผิดเมื่อคิดจะทําสิ่งใดๆ นอกจากน้ีเขาก็จะเริ่มเรียนรู้ บทบาททางเพศมาตรฐานทางศีลธรรมและการควบคุมอารมณ์ 4. ความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกต่ําต้อย (Industry VS. Inferiority)(ในช่วง6 – 12 ปี) เด็ก ในวัยนี้จะเริ่มเข้าเรียนและต้องการเป็นท่ียอมรับของผ้อู ่ืน มีพัฒนาการทางด้านความขยันขันแข็ง โดยพยายาม คิดทํา คิดผลิตสิ่งต่างๆ ให้เหมือนผู้ใหญ่ด้วยการทุ่มเทท้ังกําลังกายและกําลังใจ ถ้าเขาได้รับคําชมเชยก็จะเป็น แรงกระตุ้นให้เกิดกําลังใจ มีความมานะพยายามมากข้ึน แต่ถ้าตรงกันข้ามเด็กไม่ได้รับความสนใจหรือผู้ใหญ่ แสดงออกมาใหเ้ ขาเห็นว่าเป็นการกระทําท่ีนา่ รําคาญเขาก็จะรู้สกึ ตํ่าต้อย รูปท่ี 4 เดก็ อายุ 6 – 11 ปี จะเป็นวัยท่ีไมอ่ ยนู่ ง่ิ ขยนั ทาํ งาน และภูมใิ จในความสําเรจ็ ท่ีตนไดร้ ับตามทฤษฎี ของอิริกสันในข้นั ขยนั หมัน่ เพยี รกบั รู้สึกมปี มดอ้ ย (ทมี่ า : Weiten; 1989)

ห น้ า | 7 5. ความเป็นเอกลักลักษณ์กับความสับสนในบทบาท (Identity VS. Role Confusion) (ในช่วง 12 – 17 ปี) เปน็ ช่วงที่เดก็ ยา่ งเข้าสวู่ ัยรนุ่ และเร่มิ พัฒนาเอกลกั ษณ์ของตนเองวา่ ตนคือใคร ถ้าเขาค้นหาตนเอง ได้ เขาจะแสดงบทบาทของตนเองได้อยา่ งเหมาะสม แต่ถ้าตรงกันข้ามเขาค้นหาเอกลักษณ์ของตนไม่พบเขาจะ เกดิ ความสบั สนและแสดงบทบาททไี่ ม่เหมาะสมหรอื ไมส่ อดคลอ้ งกับตนเอง 6. ความผูกพนั กบั การแยกตัว(Intimacy VS. Isolation) (ในช่วง18- 34 ปี) เปน็ ขนั้ ของการพฒั นา ทางด้านความรัก ความผูกพัน เมื่อบุคคลสามารถค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองได้แล้ว ก็เกดิ ความรู้สกึ ต้องการมี เพ่ือนสนิทที่รู้ใจ สามารถปรับทุกข์ซ่ึงกันและกันได้ ตลอดถึงแสดงความยินดี และเสียสละให้แก่กัน แต่ถ้า พัฒนาการในช่วงน้ีล้มเหลวไม่สามารถสร้างความรู้สึกเช่นนี้ได้ เขาก็จะขาดเพื่อนสนิท หรือเกิดความรู้สึก ต้องการจะชิงดีชิงเด่น ชอบทะเลาะกับผู้อื่น รู้สึกว้าเหว่เหมือนถูกทอดท้ิง ซึ่งจะนําไปสู่การแยกตัวเอง และ ดาํ เนนิ ชีวิตอย่างโดดเดย่ี ว 7. การทําประโยชน์ให้สังคมกับการคิดถึงแต่คนเอง (Generativity VS. Self Absorption) (ในช่วงปี 35 – 60 ปี) เป็นช่วงของวัยกลางคน ซ่ึงมีความพร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้สังคมได้เต็มท่ี ถ้าพัฒนาการแต่ละขั้นตอนที่ผ่านมาดําเนินไปด้วยดี มีการดูแลรับผิดชอบเอาใจใส่ต่อบุตรหลานให้มีความสุข มีการอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้เป็นคนดีต่อไปในอนาคต แต่ถ้าตรงกันข้ามก็จะไม่ประสบความสําเร็จ เขาจะ เกิดความร้สู กึ ท้อถอย เบอื่ หน่ายชวี ิต คิดถงึ แตต่ นเองไมร่ บั ผิดชอบต่อสงั คม 8. บูรณาการกับความส้ินหวงั (Integrity VS. Despair) (ในชว่ ง60 ปีขึ้นไป) เป็นช่วงของวัยชรา ซ่ึงเป็นวัยสุดท้าย ถ้าบุคคลผ่านข้ันตอนต่าง ๆ มาด้วยดี ก็จะมองอดีตเต็มไปด้วยความสําเร็จ มีปรัชญาชีวิต ตนเอง ภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์ต่างให้แก่ลูกหลาน แต่ถ้าตรงกันข้ามกันชีวิตมีแต่ความล้มเหลว ก็จะเกิดความรู้สึกส้ินหวังในชีวิต เสียดายเวลาที่ผ่านมาไม่พอกับชีวิตในอดีตไม่ยอมรับสภาพตนเอง เกิดความ คบั ข้องใจต่อสภาพความเปลย่ี นแปลงที่เกิดขนึ้ ขาดความสงบสขุ ในชีวติ สรุป ทฤษฎีของอีริคสัน เป็นทฤษฎีท่ีอธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่งวัยทารกจนถึงวัยชรา อีริคสัน เชื่อว่า วัยแรกของชีวิตเป็นวัยท่ีเป็นรากฐานเบื้องต้น และวัยต่อ ๆ มาก็สร้างจากรากฐานน้ี ถ้าหากในวัยทารก เด็กได้รับการดูแลอย่างดีและอบอุ่น ก็จะช่วยให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อ่ืนท่ีอยู่รอบ ๆ ตั้งแต่บิดามารดา บุคคล ต่าง ๆ ท่ีอยู่รอบตัวเขา จะช่วยให้เด็กช่วยตนเอง มีความต้ังใจที่จะทําอะไรเอง และเม่ือเขาเติบโตข้ึนก็จะเป็นผู้ ท่ีรู้สึกว่าตนเองมีสมรรถภาพที่จะทําอะไรได้ นอกจากน้ีจะมีความซ่ือสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น สามารถที่จะ ยอมรับสิ่งท่ีดีและไม่ดีของตนเองได้และผู้อ่ืนสามารถที่จะสนิทสนมกับผู้อื่น ท้ังเพศเดียวกันและเพศตรงข้าม โดยสนิทใจ โดยไม่มีความอิจฉาว่าเพ่ือนจะดีกว่าตน เมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้เสียสละไม่เห็นแก่ตัวดูแลผู้ท่ีอ่อน เยาว์กวา่ เช่น ลกู หลาน หรอื คนรุ่นหลงั ต่อไป และเมอื่ อยู่ในวัยชราก็จะมคี วามสขุ เพราะว่าไดท้ าํ ประโยชน์และ หน้าท่ีมาอย่างเต็มท่ีแล้ว อีริคสสันถือว่าชีวิตของคนเรา แต่ละวัยจะมีปัญหา บางคนก็สามารถแก้ปัญหาด้วย ตนเอง และดําเนินชีวิตไปตามข้ัน แต่บางคนก็แก้ปัญหาเองไม่ได้ อาจจะต้องไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา ชว่ ยเพอ่ื แก้ปัญหา แตบ่ คุ ลกิ ภาพของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องท่ีเปลย่ี นแปลงอยู่เสมอ และทุกคนมโี อกาสท่ีจะแกไ้ ข บุคลิกภาพของตน และผู้ใหญ่ท่ีอยู่แวดล้อมก็มีส่วนท่ีจะช่วยส่งเสริมหรือแก้ไขบุคลิกภาพของผู้เยาว์ที่อยู่ใน ความดแู ลให้เจรญิ เติบโตเปน็ ผู้ใหญ่ทม่ี ีความสุข

ห น้ า | 8 3. ทฤษฎพี ฒั นาการทางเชาวน์ปญั ญาของเพียเจต์ (Piaget’s Cognitive Development Theory) รปู ท่ี 5 ฌอง เพีย เจย์ ฌอง เพีย เจย์ เป็นนักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ ที่มีชื่อเสียงมากต่อวงการจิตวิทยาและการศึกษา ที่สุดคนหน่ึงของโลก ที่ได้สร้างคุณประโยชน์ต่อวงการจิตวิทยาและการศึกษาอย่างมาก เขาได้สร้างคุณประโยชน์ ต่อวงการจิตวิทยาและการศึกษาเป็นอย่างมาก เขาได้ศึกษาค้นคว้าเก่ียวกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาอย่าง จริงจังและลึกซ้ึง ผลจากการทดลองของเขาพบว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมท่ีจะปฏิสัมพันธ์กับส่ิงแวดล้อมอยู่ ตลอดเวลา และการปฏิสัมพันธ์น้ีเองท่ีเป็นปัจจัยก่อให้เกิดพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาข้ึน สําหรับพัฒนา ทางการเชานป์ ญั ญาของเพยี เจยไ์ ด้แบ่งข้ันตอนท้ังสน้ิ ออกเปน็ 4 ลําดับขน้ั 1. ขั้นของการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเน้ือ (Sensory-Motor operation or Reflexive ) ตั้งแต่แรกเกิดถึงหนึ่งปี เป็นวัยท่ีเด็กจะเร่ิมเรียนรู้ได้โดยอาศัยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพ่ือตอบสนองส่ิงแวดล้อม เด็กจะพยายามพัฒนาความสามารถเพื่อตอบสนองส่ิวแวดล้อม เด็กจะพยายาม พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องใช้ภาษาเป็นส่ือ เน่ืองจากเด็กยังใช้ภาษาพูดไม่ได้ ดังน้ันจึง เป็นระยะของการพัฒนาเชาวน์ปัญญาโดยใช้ประสาทสัมผัสท่ีสําคัญระยะน้ีเป็นช่วงเริ่มต้นที่จะเรียนรู้ในการ ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นถ้าเด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมได้มากเท่าใดก็จะช่วย พัฒนาเชาวนป์ ัญญาของเดก็ ได้มากข้ึนไปด้วย โดยทวั่ ไปเด็กวยั นจ้ี ะรับรูส้ ่ิงท่ีเป็นรปู ธรรมได้เท่าน้ัน สาํ หรับข้ัน นเ้ี พียเจต์ยงั ได้แบ่งเป็นระยะยอ่ ยได้อีก 6 ขัน้ คอื

ห น้ า | 9 รูปที่ 6 ทารกจะเรม่ิ เรียนรูส้ งิ่ ตา่ ง ๆ โดยอาศยั ประสาทสมั ผสั ตามทฤษฎขี องเพียเจต์ ในขน้ั ประสาทสมั ผสั และกล้ามเน้อื (ท่มี า : Rubin; 1981) 4 เดือน เด็กจะแสดงพฤติกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ดูดมือ ไข่วคว้าโดยไม่ จดุ มุ่งหมาย 8 เดือน เด็กจะให้ความสนใจสิ่งท่ีมีการเคล่ือนไหว โดยการมองและเคล่ือนตาตาม นอกจากนี้ ยงั พฤติกรรมซ้ํา เชน่ กําๆ แบๆ จับ ดงึ เป็นต้น ข้นั นี้เรยี กว่า Primary Circular Reaction - 1 ปี เด็กจะแสดงพฤติกรรมซ้ําๆเพื่อทดลองว่าจะเกิดผลอย่างไร เช่น เขย่าของเล่น ใช้เท้าเข่ีย ส่ิงของใกล้ตัว คว้าของที่อยู่รอบๆ ตัว เป็นการแสดงพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายท่ีต้องต้องการเห็น การเปล่ียนแปลงที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่าเด็กวัยน้ีเร่ิมที่จะแสดงพฤติกรรมอย่างมีเป้าหมายแล้ว ระยะนี้ เรยี กวา่ Secondary Circular Reaction - 1 ปี 4 เดือน เด็กจะเริ่มรู้จักการแก้ปัญหาง่ายๆ โดยอาศัยการเรียนรู้จากพฤติกรรมในอดีตมา ช่วยในการแก้ปญั หา เช่น ผลักหมอนเพอ่ื หาของเลน่ ท่ีซอ่ นอย่ขู ้างได้ จะเห็นว่าจะแตกตา่ งไปจากระยะ 1 ปีท่ี ผลักหมอนเพื่อจะดูหมอนล้มเท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถแยกสิ่งที่ตนต้องการและไม่ต้องการออกจากกันได้ รวมท้ังเลียนแบบพฤติกรรมง่ายๆ จากบุคคลรอบข้าง ดังน้ันพฤติกรรมในข้ันนี้จึงเป็นเครื่องมือเพ่ือช่วย แกป้ ัญหาใหก้ ับตน้ เปน็ ส่วน ระยะนเี้ รยี กวา่ Coordination of Secondary Reaction - 1 ปี 8 เดือน เป็นระยะท่ีเด็กเร่ิมแสดงพฤติกรรมแบบลองผิดลองถูก (trial and error) โดย ทดลองแสดงพฤติกรรมใหม่ๆหลายๆแบบเพื่อดูผลของพฤติกรรมนั้นด้วยความสนใจ ซ่ึงในขั้นนี้จะต่างไปจาก ระยะที่ผ่านมาท่ีไม่เพียงแต่สนใจพฤติกรรมซ้ํา ๆเท่านั้น แต่จะพยายามเปล่ียนแปลงพฤติกรรมใหม่ๆเสมอเป็น ลักษณะของความคิดริเร่ิมในการแสดงพฤติกรรม ซ่ึงเป็นคุณสมบัติที่สําคัญของเชาวน์ปัญญา ระยะนี้เรียกว่า Tertiary Circular Reaction 2 ปี เป็นพัฒนาการของเชาน์ปัญญาระดับสุดท้ายของข้ัน Sensorimotor เด็กวัยน้ีจะมีความสามารถในการค้นคิดวิธีใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาข้ึนภายในใจ เด็กจะเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ ระหว่างของสองสิ่งได้ ในระยะน้ีถ้าเด็กประสบกับปัญหาใหม่ที่ตนยังไม่เคยแก้ไขมาก่อน จะรู้จักวิธีการค้นหา วธิ ีการแก้ปัญหาใหม่ขึ้นมาเองได้ วิธีท่ีเด็กคิดข้ึนน้ันไม่เพียงแต่เป็นการลองผิดลองถูกเท่านั้น แต่เป็นการแสดง ให้เห็นถึงการเกิดการหยั่งเห็น (insight) ในตัวเด็กอีกด้วย นอกจากน้ียังสามารถเลียนแบบพฤติกรรมของ ผู้ใหญ่และเรยี นรคู้ วามสัมพันธข์ อสิ่งแวดล้อมรอบตวั ได้เป็นอย่างดีอกี ด้วย ระยะนี้เรียกวา่ Investion of New Means Through Mental Combination

ห น้ า | 10 ข้ันเตรียมสําหรับความคิดที่มีเหตุผล ( Preopertion or Preconceptural Stage or Concret Thinking Operations) ระยะอายุ 2-7 ปี พัฒนาการทางเชาน์ปัญญาของเด็กในวัยน้ีข้ึนอยู่กับการเรียนรู้เป็น ส่วนใหญ่ เด็กจะเริ่มเรียนรู้และเข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆได้ดีข้ึน เริ่มมีพัฒนาการทางด้านภาษาด้วยการสามารถ พูดเป็นประโยต รู้จักคําเพิ่มมากข้ึน คิดสิ่งต่างๆในใจได้ อย่างไรก็ตาม ความคิดของเด็กในวัยน้ีมีข้อจํากัด หลายอย่าง โดยเฉพาะระยะตน้ ของวยั พฒั นาการทางเชาวน์ปญั ญาในขน้ั ท่ี 2 น้อี าจสรุปไดด้ งั นี้ 1. เด็กจะเร่ิมเข้าใจภาษาได้ดีขึ้นและเรียนรู้ว่าสิ่งต่างๆรอบตัวจะมีช่ือเรียกเฉพาะ มีความสามารถ ในการใช้ภาษาเพ่อื แก้ปญั หาให้กับตนเองได้ 2. เด็กจะเกิดพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่ (deferred imitation) เช่น เล่นขายของ เล่น กับตุ๊กตาซึ่งมักจะเป็นการแสดงเลียนแบบผู้ใหญ่ที่เกิดจากความทรงจํา โดยที่ตัวแบบไม่จําเป็นต้องอยู่ ตรงหน้าขณะนั้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้สิ่งของอื่นๆแทนของจริงได้ เช่น ใช้กล่องแทนรถ ไม้บรรทัด แทนเครื่องบิน ปากกาแทนปืน เป็นต้น 3. เด็กวัยนี้จะมีความต้ังใจทีละอย่าง ( centration) ดังนั้นจึงทําให้เกิดความคลาดเคล่ือนจาก ความเป็นจริงได้ เช่น เพียเจย์ให้เด็กอายุ 5 ปีดูลูกปัดไม้ 1 กล่อง ซึ่งประกอบด้วยลูกปัดไม้สีขาว 20 ลูก สีน้ําตาล 7 ลูก แล้วถามว่าลูกปัดไม้กล่องมีสีอะไรมากที่สุด เด็กตอบถูกว่าสีขาว และเม่ือถามต่อไปว่า ระหว่าง ลูกปัดไม้สีขาวกับลูกปัดท้ังหมด อะไรมีจํานวนมากกว่ากัน เด็กกับตอบว่าสีขาวมากกว่า แทนที่จะตอบว่าเป็น ลูกปัดไม้ทง้ั หมด ท้งั นี้เนือ่ งจากเด็กยังไม่เขา้ ใจว่าลกู ปัดไม้สีขาวเปน้ สว่ นหน่ึงของลูกปัดไม้ทงั้ หมด เปน้ ตน้ 4. เด็กวัยน้ีจะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (ego centrism) ดังน้ันเด็กจะไม่เข้าใจถึงความคิดหรือ รู้สึกของผู้อ่ืน จะยึดตาความคิด ความรู้สึกและความต้องการของตนเท่าน้ัน เช่น ถ้าเราเห็นเด็กสองคนคุยกัน อยู่เราอาจเข้าใจว่าเขากําลังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอยู่ แต่แท้จริงแล้วเขากําลังต่างคนต่างคุยเรื่องของ ตัวเองเท่านัน้ ความจริงของเดก็ วัยนค้ี อื สง่ิ ท่ีเขาไดม้ ีโอกาสรบั รูเ้ ท่านน้ั 5. เดก็ วัยน้ยี งั ไมส่ ามารถแก้ปัญหาการเรยี งลาํ ดับได้ (seriation)เช่นไมส่ ามารถเรียงลําดับตัวเลข จากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อย ไม่สามารถเปรียบเทียบความส้ันยาวของวัตถุได้ นอกจากน้ีเด็กยัง ไมเ่ ขา้ ใจการคดิ ยอ้ นกลับไปมา (reversibility)ได้ เช่น 1+2+=2 แล้ว2-1=1ไดเ้ ชน่ กนั 6. เด็กวัยน้ียังไม่เข้าใจเร่ืองเกี่ยวกับคนสภาพปรมิ าณของสสาร (conservation)เน่ืองจากเด็กใน วยั นจ้ี ะใหเ้ หตผุ ลว่าเหตผุ ลจากรปู รา่ ง(status)เท่านนั้ ไม่ใช่การเปลีย่ นแปลงเป็นรปู อืน่ (transformation) จากการทดสอบของเพียเจต์ซึ่งแสดงให้เห็นถึงข้อสรุปดังกล่าวน้ีคือเพียเจต์ได้ใช้แก้วน้ําที่มีขนาด และความสูงเท่ากันทั้งสองใบใส่น้ําให้มีระดับพอดีกันจากในรูป3.7(ก)เมื่อถามเด็กว่าน้ําท้ังสองแก้วนี้เท่ากัน หรือไม่เด็กตอบว่าเท่ากัน จากนั้นจึงนําน้ํา(B)ไปใสใ่ นแก้ว(C)ซึ่งมีรูปทรงแตกตา่ งกันไปจากแก้วทั้งสองใบคือสูง และเล็กกว่า ดังรูป(ข)จึงทําให้น้ําในแก้ว(C)มีปริมาณมากกว่าแก้ว(A)ดังรูป(ค)เม่ือถามเด็กว่านํ้าในแก้ว(A)และ (C)เทา่ กันหรือไม่ เด็กตอบว่าไมเ่ ท่ากัน น้าํ ในแก้ว(C)มากกวา่ แก้ว(A)จากการทดสอบในคร้งั นีท้ าํ ให้เห็นได้วา่ เดก็ ยงั ไม่สามารถเข้าใจเหตุผลของหลักการคงสภาพของสสารที่มีปริมาณเท่ากัน ถึงแม้เปล่ียนรปู ทรงของภาชนะท่ี รองรบั เปน็ รปู ทรงใดก็ตาม ปริมาณของสสารกจ็ ะคงทอี่ ยู่เสมอแตเ่ ด็กจะตัดสนิ จากสงิ่ ท่ีตวั เองเหน็ เทา่ น้นั

ห น้ า | 11 รูปที่ 7 แสดงการทดลองของเพียเจต์ ข้ันเตรยี มสําหรับความคิดทีม่ ีเหตุผล (ทีม่ า : Weiten; 1989) หรือจากการทดลองอีกครั้งเพื่อยืนยันว่าความคิดและความเข้าใจของเด็กวัยน้ีข้ึนอยู่กับการรับรู้ (perception)เป็นสําคัญ กล่าวคือเพียเจต์ได้นําไม้ท่ีมีความยาวเท่ากันสองท่อนมาวางขนานกันให้มีความยาว เท่ากันพอดี ดังรูป3.8ที่จากน้ันให้เด็กสังเกตและถามเด็กว่าไม้จากรูป(ก)และขเท่ากันหรือไม่ เด็กตอบว่าเท่ากัน จากนั้นผู้ทดลองได้ขยับไม้จากรูป(ก)ไปทางขวา ดงั รูป(ข) แลว้ ใหเ้ ด็กดอู ีกคร้ัง แลว้ ถามว่าไม้จากรูป (ก)หรอื รูป (ข) เท่ากันหรอื ไม่ เด็กตอบวา่ ไม่เทา่ กนั จากการทดลองทั้งสองคร้ังของเพียเจต์ทําให้เห็นว่าเด็กในข้ันนี้จะเข้าใจและตัดสินสิ่งที่ตนเอง สามารถรับรู้โดยทางสายตาเท่านั้นยังไม่สามารถใช้เหตุผลในการทําความเข้าใจกับส่ิง ต่างๆรอบตัวได้ด้วยเหตุนี้พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กในขั้นนี้จึงขึ้นอยู่กับการ รบั รู้ส่งิ ตา่ งๆรอบตวั เปน็ สาํ คัญ 3. การคิดอย่างมเี หตุผลและเป็นรปู แบบ(Concrete Operation Stage or Period of Concrete Operation)ระยะอายุ 7-11 ปีสําหรับเด็กในวัยน้ีจะมี พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาสูงขึ้นกว่าข้ันที่ 2 มากเพราะสามารถใช้เหตุผลในการ ตัดสินใจในปัญหาต่างๆได้ดีข้ึน เพียเจย์ ได้สรุปลักษณะพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา ของเด็กในวยั นไ้ี ว้ดงั นี้ 1. เด็กวัยนีจ้ ะสามารถสรา้ งจนิ ตนาการในความคดิ ของตนข้ึนมาได้ (mental representations) เช่นถ้าเด็กในวัยนี้เขียนภาพครอบครัวของฉันเด็กจะสามารถอธิบายหรือวาดภาพได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ซ่ึงเด็กในขน้ั Preoperation จะทาํ ไม่ได้ 2. เป็นวัยท่ีเด็กจะเริ่มเข้าใจกับการคงสภาพปริมาณของสสาร (conservation) กล่าวคือจะ สามารถเข้าใจได้ว่าของแข็งหรือของเหลวจํานวนหน่ึงจะมีปริมาณคงที่เสมอไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงภาชนะท่ี รองรับเป็นรูปทรงใดๆก็ตามโดยเพียเจต์ได้ทําการทดลองน้ําในแก้วกับท่อนไม้อีกครั้งกับเด็กวัยนี้ปรากฏว่า เดก็ สามารถตอบได้ถกู ตอ้ ง 3. เด็กวัยน้ีเร่ิมมีความสามารถในการคิดแบบเปรียบเทียบ (relation tems) กล่าวคือเร่ิมเข้าใจ ความแตกต่างเก่ียวกับขนาดรูปร่างว่าใหญ่หรือเล็กกว่ากันมากน้อยแค่ไหน น่ันแสดงให้เห็นว่าเด็กเร่ิมรู้จัก การเปรียบเทยี บระหว่างสิ่งหนึ่งกับอีกสงิ่ หนง่ึ หรอื สามารถเข้าใจไดว้ ่าทุกส่งิ ทุกอย่างจะไม่มคี วามสมบูรณใ์ นตัว ของมนั เองแตจ่ ะขึน้ อยู่กบั ความสมั พนั ธ์เปรียบเทยี บกับสิง่ ท่อี ยู่รอบขา้ ง 4. เด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์เพื่อจัดสิ่งรอบตัวให้เป็นหมวดหมู่ได้ (Class inclusion) เม่ือนําตุ๊กตาสัตว์จํานวนหน่ึงไปให้เด็กเล่นเด็กจะสามารถแยกสัตว์ 4 ขาสัตว์ 2 ขาสัตว์บกและสัตว์น้ําว่าเป็น คนละพวกได้นอกจากนี้เด็กจะสามารถเข้าใจความหมายของส่วนรวมกับส่วนย่อยได้ดีอีกด้วยโดยเพียเจต์ได้นํา

ห น้ า | 12 ลกู ปัดไม้ซ่ึงเคยทดลองกับเด็กในข้ันที่ 2 มาทดลองกับเด็กในขั้นที่ 3 ปรากฏว่าเด็กในขั้นนสี้ ามารถตอบได้อย่าง ถูกต้องว่าเป็นลกู ปัดไม้ทั้งหมดมากกวา่ ลูกปัดไม้สีขาวเพราะลูกปัดไม้สขี าวเปน็ สว่ นยอ่ ยของลูกปัดท้งั หมด 5. เด็กวัยน้ีจะมีความสามารถในการเรียงลําดบั (serialization and hierarchical arrangements) ส่ิงของใดๆที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันในด้าน ความยาว น้ําหนัก สัดส่วน และความสูง เด็กในวัยน้ีจะสามารถ เรียงลําดับจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อยได้เช่นการทดลองเอาแท่งไม้ท่ีมีความสูงแตกต่างกันจํานวน หน่งึ มากองรวมกนั เด็กจะสามารถเรียนจากตํา่ ไปหาสงู ได้อย่างถกู ต้องซง่ึ เป็นในขัน้ ทส่ี องจะทาํ ไมไ่ ด้ 6. เด็กวัยน้ีจะสามารถย้อนกลับไปมาได้ (reversibility)นอกจากนี้ยังสามารถทําความเข้าใจ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวเลขได้มากข้ึนกว่าเดิม เช่นถ้าเด็กคิดได้ว่าจะคิดย้อนกลับได้ว่า7+6=13 จะคิด ยอ้ นกลับไดว้ า่ 13-6+7หรอื 13-7=6 4. ข้ันของการคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม( Formal Operational stage or period of formal operation) ตั้งแต่ 12 ปีจนถึงวัยผู้ใหญ่ในระยะน้ีจะเป็นขั้นที่พัฒนาการทางเชาวน์ ปญั ญาถึงจุดสูงสุดกลา่ วคือเด็กจะเริม่ คิดแบบผูใหญ่ สามารถเข้าใจสิ่งทเ่ี ป็นนามธรรมได้ คิดตงั้ สมมติฐานและ สร้างทฤษฎีแบบนักวิทยาศาสตร์ได้ เป็นตัวของตัวเอง ต้องการความอิสระ ไม่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางรู้จักให้ เหตผุ ลของตนในการทําความเขา้ ใจและตัดสินสง่ิ ต่างๆ และคดิ ย้อนกลับไปมาได้อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ 4. ทฤษฎีพฒั นาทางจริยธรรมของโคหเ์ บริ ์ก ( Kohlberg’s Moral Development ) รปู ท่ี 8 โคลเบิรก์ (Kolberg) โคลเบิร์ก (Kolberg) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม (cognitivism) ซ่ึงมีความเชื่อพ้ืนฐานว่า มนุษย์ เป็นสัตว์ท่ีมีสมอง สามารถเกิดการเรียนรู้ เพ่ือการปรับตัวให้ดํารงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ โดยนําแนวเช่ือ ทางชีววิทยามาประยุกต์กับศาสตร์ทางจิตวิทยา แนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิกของเพียเจต์ ( Piaget) คือ เชื่อว่า จริยธรรมนั้นมีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะเช่นกัน เพราะจริยธรรมของมนุษย์เกิดจากกระบวนการ ทางปัญญา เมื่อมนุษย์มีการเรียนรู้มากข้ึน โรงสร้างทางปัญญาเพ่ิมพูนขึ้น จริยธรรมก็พัฒนาตามวุฒิภาวะ

ห น้ า | 13 แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบสัมพัทธนิยม (Relativism) ซึ่งเชื่อว่าจริยธรรมมีความสัมพันธ์กับอายุ กาลเวลา สถานท่ี วัฒนธรรม และสภาพการณ์ ซ่ึงความหมายว่า “ความถูกต้อง” “ความดี” “ความงาม” ขนึ้ อยู่กับเวลา สถานท่ี และองค์ประกอบอ่นื ๆ นอกจากน้ีโคลเบิร์ก (Kolberg) ยังได้ศึกษาวิจัย (Kolberg, 1964 : 383-432) โดยวิเคราะห์คําตอบ ของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10-16 ปี เก่ียวกับเหตผุ ลในการเลือกทําพฤตกิ รรมอย่างหนึ่งในสถานการณท์ ี่ขัดแย้ง กันระหว่างความต้องการส่วนบุคคลและกฎเกณฑ์ของกลุ่มหรือสังคม และนํามาสรุปเป็นเหตุผลในการแบ่ง จริยธรรมออกเป็น 6 ขน้ั โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดบั ๆ ละ 2 ข้นั ดังน้ี ระดบั ท่ี 1 ระดบั กอ่ นมีจรยิ ธรรมหรือระดบั กอ่ นกฎเกณฑ์สังคม (Pre - Conventional Level) ระดับนี้เด็กจะรับกฎเกณฑ์และข้อกําหนดของพฤติกรรมที่ “ดี” “ไม่ดี” จากผู้มีอํานาจเหนือตน เช่น บิดา มารดา ครู อาจารย์ พ่ี หรือเดก็ ทีโ่ ต กวา่ และมักจะนกึ ถงึ รางวัลและการลงโทษทไ่ี ดร้ ับเป้นสว่ นประกอบ สําคญั ในการตดั สนิ พฤตกิ รรมดีหรือไมด่ ี เชน่ พฤตกิ รรม “ด”ี คอื พฤติกรรมทแ่ี สดงแลว้ ไดร้ างวัล พฤตกิ รรม “ไมด่ ”ี คอื พฤตกิ รรมทแ่ี สดงแลว้ ไดร้ ับโทษ ข้ันท่ี 1 การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง (Punishment and Obedience Orientation) เด็กจะยอมทํา ตามคําส่ังผู้มีอํานาจเหนือตนโดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อไม่ให้ตนถูกลงโทษ ข้ันนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อหลบหลีกการถูก ลงโทษ เพราะกลัวความเจ็บปวด ยอมทาํ ตามผู้ใหญ่เพราะมอี ํานาจทางกายเหนอื ตน ถ้าเด็กถูกทําโทษกจ็ ะคิดว่าสิง่ ท่ตี นทํา “ผดิ ” และจะพยายามหลกี เลยี่ งไมท่ าํ ส่ิงนัน้ อีก พฤติกรรมทมี่ รี างวัลหรือคําชม เดก็ ก็จะคดิ ว่าสิ่งท่ตี นทาํ “ถูก” จะทําซ้าํ เพื่อหวังรางวัล ขั้นท่ี 2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพ่ือประโยชน์ของตน (Instrumental Relativist Orientation) ใช้ หลักการแสวงหารางวัลและการแลกเปลี่ยน โดยให้ความสําคัญของการได้รับรางวัลตอบแทน ทั้งท่ีเป็นวัตถุ หรือการตอบแทนทางกาย วาจา และใจ โดยไม่คํานึงถึงความถกู ตอ้ งของสงั คม โคลเบิร์ก อธิบายว่า ในขั้นน้ีเด็กจะสนใจทําตามกฎข้อบังคับ เพื่อประโยชน์หรือความพอใจของ ตนเอง หรือทาํ ดีเพราอยากได้ของตอบแทน ไม่ไดค้ ิดถึงความยุติธรรมและความเห็นอกเห็นใจผู้อน่ื พฤติกรรม ของเด็กในข้ันนี้ทําเพ่ือสนองความต้องการของตนเอง แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอ่ืน เช่น ประโยค “ถา้ เธอทาํ ให้ฉัน ฉนั จะให.้ ......” ระดับที่ 2 ระดับจรยิ ธรรมตามกฎเกณฑ์สงั คม (Conventional Level) ผูท้ ําถือว่าการประพฤติตนตามความคาดหวังของผู้ปกครอง บิดามารดา กลุ่มที่ตนเปน็ สมาชิกหรือของ ชาติ เป็นส่ิงท่ีควรจะทําหรือทําความผิด เพราะกลัวว่าตนจะไม่เป็นท่ียอมรับของผู้อื่น ผู้แสดงพฤติกรรมจะไม่ คํานึงถึงผลตามท่ีจะเกิดข้ึนแก่ตนเอง ถือว่าความซ่ือสัตย์ ความจงรักภักดีเป็นส่ิงสําคัญ ทุกคนมีหน้าท่ีจะ รักษามาตรฐานทางจริยธรรม

ห น้ า | 14 ขั้นท่ี 1 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สําหรับ “เด็กดี” (Interpersonal Concordance of “Good boy , nice girl” Orientation) บุคคลจะใช้หลักทําตามที่ผู้อ่ืนเห็นชอบ ใช้เหตุผลเลือกทําในสิ่งที่ กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพ่ือน เพื่อเป็นท่ีช่ืนชอบและยอมรับของเพ่ือน ไม่เป็นตัวของตัวเอง คล้อยตามการชัก จูงของผอู้ ื่น เพ่อื ต้องการรกั ษาสัมพนั ธภาพท่ดี ี พบในวยั รุน่ อายุ 10 -15 ปี โคลเบิร์ก อธิบายว่า พัฒนาการทางจริยธรรมขั้นน้ีเป็นพฤติกรรมของ “คนดี” ตามมาตรฐานหรือ ความคาดหวังของบิดา มารดาหรือเพื่อนวัยเดียวกัน พฤติกรรม “ดี” หมายถึง พฤติกรรมท่ีจะทําให้ผู้อ่ืนชอบ และยอมรับ หรอื ไมป่ ระพฤตผิ ิดเพราะเกรงว่าพ่อแมจ่ ะเสยี ใจ ขั้นที่ 2 กฎและระเบียบ (“Law-and-order” Orientation) พบในอายุ 13 -16 ปี ขั้นน้ีแสดงพฤติกรรม เพื่อทําตามหน้าท่ีของสังคม โดยบุคคลรู้ถึงบทบาทและหน้าท่ีของเขาในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมน้ัน จงึ มีหน้าที่ทําตามกฎเกณฑต์ า่ งๆ ท่ีสงั คมกาํ หนดให้ หรอื คาดหมายไว้ โคลเบิร์ก อธิบายว่า เหตุผลทางจริยธรรมในข้ันน้ี ถือว่าสังคมจะอยู่ด้วยความมีระเบียบเรียบร้อยต้อง มีกฎหมายและข้อบังคับ คนดีหรือคนท่ีมีพฤติกรรมถูกต้องคือ คนท่ีปฏิบัติตามระเบียบบังคับหรือกฎหมาย ทกุ คนควรเคารพกฎหมาย เพอ่ื รักษาความสงบเรยี บรอ้ ยและความเปน็ ระเบยี บของสังคม ระดบั ท่ี 3 ระดบั จรยิ ธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณหรอื ระดับเหนือกฎเกณฑ์สงั คม (Post-Conventional Level) เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป ผู้ทําหรือผู้แสดงพฤติกรรมจะตีความหมายของหลักการ และมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณ ก่อนท่ีจะยึดถือเป็นหลักของความประพฤติท่ีจะปฏิบัติตาม การตัดสินใจ “ถูก” “ผิด” “ไม่ควร” มาจากวิจารณญาณของตนเอง ปราศจากอิทธิพลของผู้มีอํานาจหรือ กลุ่มท่ีตนเป็นสมาชิก กฎเกณฑ์ – กฎหมาย ควรจะตั้งบนหลักความยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับของสมาชิก ของสังคมที่ตนเป็นสมาชิก ทําให้บุคคลตัดสินข้อขัดแย้งของตนเองโดยใช้ความคิดไตร่ตรองอาศัยค่านิยมท่ีตน เช่ือและยึดถือเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ จะปฏิบัติตามสิ่งท่ีสําคัญมากกว่าโดยมีกฎเกณฑ์ของตนเอง ซึ่งพัฒนามาจากกฎเกณฑ์ของสังคม เป็นจริยธรรมที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทาง จรยิ ธรรม ระดบั นี้เป็น 2 ข้นั คือ ข้ันท่ี 1 สัญญาสงั คมหรอื หลักการทาํ ตามคาํ มัน่ สัญญา (Social Contract Orientation) ขั้นน้ีแสดงพฤติกรรมเพ่ือทําตามมาตรฐานของสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วน ตน โดยบุคคลเห็นความสําคัญของคนหมู่มากจึงไม่ทําตนให้ขัดต่อสิทธิอันพึงมีได้ของผู้อื่น สามารถควบคุม บังคับใจตนเองได้ พฤติกรรมท่ีถูกต้องจะต้องเป็นไปตามค่านิยมส่วนตัว ผสมผสานกับมาตรฐานซ่ึงได้รับ การตรวจสอบและยอมรับจากสังคม โคลเบิร์ก อธิบายว่า ขั้นนี้เน้นถึงความสําคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคม ยอมรับว่าเป็นสิ่งท่ีถูกสมควรที่จะปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้เป็น มาตรฐานทางจริยธรรม ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนผิดและส่ิงไหนถูก ในข้ันนี้การ “ถูก” และ “ผิด” ขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล แม้ว่าจะเห็นความสําคัญของสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างบุคคล แต่เปิดใหม้ กี ารแกไ้ ข โดยคาํ นึงถงึ ประโยชน์และสถานการณแ์ วดลอ้ มในขณะน้ัน ขั้นท่ี 2 หลักการคุณธรรมสากล (Universal Ethical Principle Orientation) เป็นข้ันท่ีเลือกตัดสินใจ ทีจ่ ะกระทําโดยยอมรับความคดิ ที่เป็นสากลของผู้เจริญแลว้ ขัน้ น้แี สดงพฤตกิ รรมเพ่ือทําตามหลักการคณุ ธรรม สากล โดยคํานึงความถูกต้องยุติธรรมยอมรับในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ มีอุดมคติและคุณธรรมประจําใจ

ห น้ า | 15 มคี วามยืดหยุ่นและยึดหลักจริยธรรมของตนอย่างมีสติ ด้วยความยุติธรรม และคํานึงถึงสิทธมิ นุษยชน เคารพ ในความเป็นมนษุ ย์ของแตล่ ะบุคคล ละอายและเกรงกลวั ตอ่ บาป พบในวัยผใู้ หญ่ทีม่ คี วามเจรญิ ทางสตปิ ญั ญา โคลเบิร์ก อธิบายว่า ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพ่ือความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชนและเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน ในข้ันน้ีสิ่งที่ “ถูก” และ “ผิด” เปน็ สง่ิ ทขี่ ้นึ มโนธรรมของแตล่ ะบุคคลท่ีเลอื กยดึ ถือ

ห น้ า | 16 บทท่ี 2 จิตวิทยาบุคลิกภาพ บุคลิกภาพ หมายถึง คุณลักษณะโดยส่วนรวมท้ังหมดของบุคคล ซ่ึงประกอบไปด้วยคุณลักษณะ ภายนอก ได้แก่ รูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทาง และคุณลักษณะภายใน ได้แก่ นิสัยใจคอ ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม อารมณ์ ซึ่งคุณลักษณะทั้งหลายเหล่าน้ีเป็นตัวกําหนดรูปแบบของพฤติกรรมแสดงออกจน กลายเปน็ เอกลกั ษณเ์ ฉพาะตัว อนั มีผลทําให้บุคคลน้ันแตกต่างไปจากคนอืน่ ทฤษฎบี ุคลิกภาพ (Theories of Personality) ทฤษฎีบุคลกิ ภาพ หมายถงึ แนวทางทน่ี ักจติ วิทยาใช้ในการอธบิ ายธรรมชาติของบคุ ลกิ ภาพที่เก่ียวข้อง กบั โครงสร้าง (structure) กระบวนการ (process) และสาระสําคัญ (content) เพื่อใหเ้ ข้าใจถึงความแตกตา่ ง ด้านบุคลิกภาพที่เกิดข้ึนในแต่ละบุคคล แต่เน่ืองจากแนวคิดหรือทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพท่ีนักจิตวิทยา ทั้งหลายได้อธิบายไว้นนั้ มเี ปน็ จาํ นวนมาก จงึ อาจจะจําแนกเป็นกลมุ่ ทฤษฎีไดด้ ังตอ่ ไปนี้ 1. กลุม่ ทฤษฎีการเคล่ือนไหวทางจิต (Psychodynamic Theories) ทฤษฎบี คุ ลกิ ภาพในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย 1.1 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ (Psychoanalysis Theory) ซิกมันด์ฟรอยด์ จิตแพทย์ ชาวเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นผู้ก่อต้ังทฤษฎีจิตวิเคราะห์ข้ึน โดยอาศัยข้อมูลและประสบการณ์จาก การรักษาผู้ป่วยในคลินิกของเขา ฟรอยด์ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพการแสดงออกของแต่ละคนเป็น อย่างมาก ซง่ึ เขาไดอ้ ธบิ ายทฤษฎีบุคลิกภาพของบคุ คลไว้ดังน้ี 1) ทฤษฎีโครงสร้างบุคลิกภาพ (Structure of Personality) จากการศึกษาและรวบรวม ข้อมูลของฟรอยด์ พบว่าโครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากความขัดแย้งกันระหว่างพลังงานทางจิต 3 ส่วน ได้แก่ อิด (id) อีโก้ (ego) และซูเปอร์อีโก้ (super ego) โดยพลังทั้ง 3 ส่วนน้ีจะอยู่ในจิตทั้ง 3 ระดับ ซงึ่ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ รปู ท่ี 9 แสดงพลงั งานทางจิตและจิต 3 ระดับตามทฤษฎจี ิตวิเคราะหข์ องฟรอยด์ (ทม่ี า : Kalat; 1990)

ห น้ า | 17 ก. อิด (id)เป็นพลังงานทางจิตท่ีซ่อนอยู่ภายในจิตใต้สํานึกเป็นส่วนใหญ่ พลังงานทางจิตส่วนนี้ จะหมายถึง ความอยาก ความต้องการ กิเลส และตัณหาท้ังหลาย ซ่ึงเม่ือเกิดข้ึนแล้วจะพยายามหาทาง ตอบสนองโดยไม่สนใจในโลกแห่งความเป็นจริงว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ ฟรอยด์กล่าวว่าอิดของบุคคลจะเกิดจาก สัญชาตญาณ 2 ประเภท ได้แก่  สัญชาติญาณแห่งการดํารงชีวิตอยู่ (life instinct) ซ่ึงเป็นสัญชาตญาณท่ีจะกระตุ้นให้ บุคคลเกิดการแสวงหาสิ่งท่ีทําให้เกิดความสุข ความสบาย และความพึงพอใจแก่ตน ในบรรดาสัญชาตญาณ แห่งการดํารงชีวิตอยู่น้ัน ฟรอยด์จะให้ความสําคัญกับความต้องการทางเพศ (sexual) มากท่ีสุด แต่ความ ต้องการทางเพศในทัศนะของฟรอยด์นั้นไม่ได้หมายถึงความต้องการความสุขจากการมีเพศสัมพันธ์เท่าน้ัน แต่จะครอบคลุมถึงความต้องการความสุข ความพึงพอใจ หรือความสะดวกสบายทุกอย่าง เช่น ต้องการน่ังรถ ปรับอากาศเพราะเย็นสบาย ต้องการความสุขจากการับประทานอาหารระดับเชลล์ชวนชิม หรือมีความสุขกับ การเรียนวิชาท่เี ราชอบ เป็นต้น  สัญชาตญาณแหง่ ความตาย (death instinct) เป็นสญั ชาตญาณที่กระตนุ้ ใหบ้ คุ คลเกดิ การ แข่งขันเอาชนะ ต่อสู้ ท้าทาย ซึ่งฟรอยด์ได้ให้ความสําคัญกับความก้าวร้าว (aggression) มากที่สุด ตัวอย่าง ของความก้าวรา้ ว ได้แก่ ความตอ้ งการท่จี ะไดร้ บั การคัดเลอื กขึน้ เป็นหวั หน้างาน จึงพยายามขยนั ทํางานเพ่ือให้ ผู้บังคับบัญชาเลือกตน แม้กระทั่งการทะเลาะเบาะแว้ง ชกต่อย ทําร้ายร่างกาย รวมกระท่ังถึงการทําสงคราม ระหวา่ งกนั เปน็ ต้น แต่ในระหว่างความต้องการทางเพศกับความก้าวร้าว สัญชาตญาณท่ีมีอิทธิพลต่อมนุษย์มาก ท่ีสุด ได้แก่ ความต้องการทางเพศ ด้วยเหตุน้ีฟรอยด์จึงอธิบายว่าบุคลิกภาพของมนุษย์ท่ีแสดงออกมานั้นจึง เป็นไปเพ่ือตอบสนองความต้องการทางเพศของตนเป็นส่วนใหญ่ สําหรับบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบอิด (id personality) นั้นจึงมักแสดงอะไรตามสัญชาตญาณของตนโดยไม่สนใจอะไรท้ังสิ้น เพียงเพ่ือให้ตนเองได้รับ การตอบสนองความสุขและความพอใจเพียงอย่างเดียว ซ่ึงบุคลิกภาพเช่นนี้เราจะเห็นได้จากบุคคลในวัยทารก หรอื เด็กเล็กเป็นส่วนใหญ่ ข. อีโก้ (ego)เป็นพลังงานท่ีจะอยู่ในจิตสํานึกและก่ึงสํานึกเป็นส่วนใหญ่ เป็นพลังงานทางจิตใน ส่วนที่จะทําหน้าท่ีบริหารพลังงานจากฝ่ายอิด และฝ่ายซูเปอร์อีโก้ให้สมดุลและแสดงออกให้สอดคล้องกับโลก แห่งความเป็นจริง (reality principle) ที่สังคมยอมรับหรือเหมาะสมกับเหตุผลในสถานการณ์นั้น แต่ท้ังน้ี ย่อมขึน้ อยกู่ บั ความแข็งแกร่งหรอื ความออ่ นแอของอโี ก้ในแตล่ ะบุคคลนนั้ ด้วย สําหรับบุคคลท่ีมีบุคลิกภาพแบบอีโก้ (ego personality) นั้นมักจะแสดงออกมาตามเหตุผล และความเป็นจรงิ ที่ตนพิจารณาแลว้ ว่าเหมาะสมและถกู ตอ้ งเท่านั้น จะไม่สนใจเหตุผลและความคิดของผู้อ่นื ค. ซูเปอร์อีโก้ (super ego)เป็นพลังงานท่ีอย่ภู ายในจิตสาํ นึกเป็นส่วนใหญ่ เป็นพลังงานทางจิต ท่กี ่อตัวข้นึ จากการเรียนรู้ในระเบียบ กฎเกณฑ์ กตกิ า กฎของศลี ธรรม และกฎหมายของสังคม ซูปเปอร์อโี กจ้ ะ เป็นตัวบอกให้รู้อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด ควรหรือไม่ควร ซูเปอร์อีโก้จึงมีลักษณะเป็นพลังที่ตรงข้าม กับอิด มีหน้าที่คอยควบคุมความต้องการทางเพศและความก้าวร้าวในอิดไมใ่ ห้แสดงออกมา ส่วนซูเปอรอ์ ีโก้จะ ควบคุมอิดได้ดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าซูเปอร์อีโก้ของบุคคลน้ันแข็งแกร่งมากน้อยเพียงใด โดยปกติแล้วซูเปอร์อีโก้ ของแต่ละบคุ คลจะเริม่ พฒั นาข้ึนในตัวต้ังแตอ่ ายุ 3-5 ปี หรือในระยะอวัยวะเพศ (phallic stage) เปน็ ต้นไป สําหรับบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบซูเปอร์อีโก้ (super ego personality) มักจะชอบทําตาม ระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา และกฎหมายอยา่ งเคร่งครัด ยดึ ม่ันในทฤษฎแี ละมีอดุ มคตสิ ูง

ห น้ า | 18 ที่กล่าวมาท้ังหมดแล้วจะเห็นได้ว่า การที่บุคคลแสดงบุคลิกภาพในรูปแบบใดออกมานั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความขัดแย้งกันระหว่างพลังทางจิตทั้งสามส่วนน้ีว่าพลังงานทางจิตส่วนใดจะมีอํานาจเหนือกว่า บุคคลก็จะแสดงบุคลิกภาพออกมาตามอิทธิพลของพลังงานทางจิตฝ่ายท่ีมีอํานาจนั้น แต่ถ้าเมื่อใดท่ีพลังงาน ระหวา่ งอิดกบั ซเู ปอร์อโี กม้ คี วามขดั แย้งกันอยา่ งรุนแรงมากเกินไป บางคร้ังอโี กจ้ ะหาทางประนปี ระนอมเพ่ือลด ความขัดแย้งนั้นให้น้อยลง โดยใช้วิธีการปรับตัวที่เรียกว่ากลวิธานในการป้องกันตัวเอง (defense mechanisms) ถ้าทําสําเร็จจะช่วยให้บุคคลน้ันสามารถผ่อนคลายความขัดแย้งไปได้ แต่ถ้าใช้ไม่สําเร็จอาจมีผล ทาํ ใหบ้ คุ คลน้นั กลายเปน็ โรคจิตและโรคประสาทได้ในท่ีสดุ 2) การพัฒนาบุคลิกภาพตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ นอกจากทฤษฎีโครงสร้างบุคลิกภาพของ ฟรอยด์ดังท่ีกล่าวมาแล้วน้ี ฟรอยด์ยังได้อธิบาบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลไว้ว่า บุคลิกภาพของบุคคลต้องอาศัยการพัฒนาอย่างต่อเน่ืองเป็นลําดับข้ันจนกลายเป็นบุคลิกภาพท่ีถาวรในท่ีสุด โดยเฉพาะช่วงเวลาสําคญั ของการพัฒนาบคุ ลกิ ภาพนั้นจะอยู่ในระยะแรกเกดิ ถงึ 5 ปี ซึ่งฟรอยด์เรียกระยะนี้ว่า ระยะวิกฤต (crisis period) ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กทุกคนเกิดขึ้นมาพร้อมกับความต้องการในการท่ีจะแสวงหาความสุขและ ความพึงพอใจ (pleasure principle) ให้กับตนเอง โดยผ่านอวัยวะของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึกใน การตอบสนองความสุขหรือเรียกอีกอย่างว่าอีโรจีเนียสโซน(erogenous zone) ซึ่งอวัยวะท่ีไวต่อความรู้สึกใน การตอบสนองความสุขน้ีจะเปล่ียนแปลงไปตามช่วงอายุ ซึ่งฟรอยด์ได้แบ่งพัมนาการทางบุคลิกภาพออกเป็น 5 ระยะตามการเปล่ียนแปลง ดังน้ี รปู ท่ี 10 แสดงให้เห็นพัฒนาการในระยะปากและระยะทวารตามทฤษฎีของฟรอยด์ (ทมี่ า : Rubin; 1981) ก. ระยะปาก (oral stage)ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 2 ปี เป็นระยะที่ปากจะเป็นอวัยวะที่ไวต่อ ความรสู้ ึกตอ่ การตอบสนองความสขุ เดก็ วัยน้ีจงึ แสวงหาความสุขความพึงพอใจใหก้ ับตนโดยใช้ปากทาํ กจิ กรรม ต่างๆ เช่น การดูดนม แทะของเล่น ดูดมือ เป็นต้น ระยะนี้ฟรอยด์เชื่อว่าถ้าเด็กคนใดได้รับการตอบสนอง พัฒนาการระยะปากตามความเหมาะสม บุคลิกภาพจะเป็นปกติ แต่ในทางตรงข้าม ถ้าเด็กถูกขัดขวาง การแสวงหาความสุขโดยการใช้ปาก เช่น ต้องร้องอยู่นานกว่าจะได้ดูดนม ถูกบังคับให้หย่านมเร็วเกินไป ได้ดูด นมไม่เพียงพอ ถูกลงโทษเมื่อเอาของเข้าปาก จะทําให้พัฒนาการระยะน้ีขาดความสมบูรณ์ไป เด็กจะเกิด การติดชะงักกับระยะปาก (oral fixation) ทําให้เด็กจะมาแสดงบุคลิกภาพชดเชยระยะปากท่ไี ม่สมบูรณ์ในชว่ ง วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ด้วยการใช้ปากในการแสวงหาความสุขให้กับตนเองหรือเพ่ือผ่อนคลายความเครียด จึงมี

ห น้ า | 19 บุคลิกภาพเป็นคนพูดมาก ชอบนินทาว่าร้ายผู้อื่น รับประทานของจุกจิก ติดบุหรี่ กัดเล็บ แม้กระท่ังการนิยม ใชป้ ากในการทํากจิ กรรมทางเพศ (oral sex) เปน็ ต้น ซ่ึงบคุ ลิกภาพเหลา่ นเ้ี รียกวา่ Oral Personality ข. ระยะทวาร (anal stage) อยู่ในช่วงอายุ 2-3 ปี ระยะนี้อวัยวะท่ีไวต่อความรู้สึกจะอยู่ บรเิ วณชอ่ งทวาร เด็กวัยน้ีจะมีความสุขความพึงพอใจกับการขับถ่าย ดังนั้น การขับถ่ายในระยะน้ีจึงควรเป็นไป ตามความต้องการของเด็ก การฝึกหัดในการขับถ่ายให้เป็นเวลาควรจะกระทําอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความ อ่อนโยน อยา่ ใชว้ ิธีการบบี บังคบั จงึ จะทําให้เดก็ สามารถตอบสนองความสุขของตนได้อย่างเตม็ ที่ เมื่อโตข้ึนเด็ก จะเป็นคนท่ีมีบุคลิกภาพท่ีเหมาะสม ในทางกลับกัน ถ้าเด็กถูกบังคับ ข่มขู่ หรือลงโทษให้ขับถ่ายเป็นเวลาเพ่ือ ไม่ให้เลอะเทอะหรือต้องน่ังขับถ่ายในที่ท่ีพ่อแม่กําหนดให้เป็นประจํา สถานการณ์ท่ีเกิดข้ึนกับเด็กเช่นน้ีจะทํา ให้การแสวงหาความสุขของเด็กเกดิ การตดิ ชะงักกับระยะทวาร (anal fixation) เมื่อเข้าสวู่ ัยรนุ่ และวัยผใู้ หญ่จะ แสดงบุคลิกภาพชดเชยหลายอย่าง เช่น ชอบสะสมของ ตระหนี่ถ่ีเหนียว หวงของ ชอบน่ังท่ีใดนาน ๆ เจ้าระเบียบ จู้จ้ี ย้ําคิดย้ําทําเร่ืองความสะอาด ต่อต้านระเบียบกฎเกณฑ์และไม่ยอมใคร บุคลิกภาพเช่นนี้ เรียกวา่ Anal Personality ค. ระยะอวัยวะเพศ (phallic stage) อยู่ในช่วงอายุ 3-5 ปี เป็นระยะท่ีฟรอยด์ถือว่าสําคัญ ที่สุดของการพัฒนาทางบุคลิกภาพ ระยะน้ีความสุข ความพึงพอใจจะเคล่ือนมาอยู่ท่ีบริเวณอวัยวะเพศ จึงทํา ให้เด็กมีความพึงพอใจกับการได้สัมผัสอวัยวะเพศตนเอง เช่น ลูบคลํา ชอบถูไถ แม้กระท่ังการซักถามและให้ ความสนใจเกี่ยวกับอวัยวะเพศ เป็นต้น การแสดงพฤติกรรมเช่นน้ีถ้าพ่อแม่หรือผู้ใหญ่มองเห็นว่าเป็นเร่ือง ผิดปกติก็มักจะลงโทษ ดุว่า ตําหนิ หรือข่มขู่ ทําให้เด็กเกิดความกลัวและติดตึงกับระยะอวัยวะเพศ (phallic fixation) ทําให้เกดิ บุคลิกภาพทางเพศแปรปรวนได้ในวยั ผูใ้ หญ่ บุคลิกภาพเชน่ นีเ้ รยี กว่า Phallic Personality นอกจากนี้ฟรอยดย์ ังได้อธิบายถึงปรากฏการณ์ท่ีเกดิ ข้ึนกับเด็กในระยะน้ีอีกประการหน่ึง คือเร่อื ง ของปม (complex) ซึ่งเป็นผลจากความรู้สึกผูกพันกับพ่อแม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตน โดยเด็กชายจะเกิดปม ออดิปุส(Oedipus complex) กล่าวคือ จะรักแม่ หวงแม่ และอยากได้แม่มาครอบครองแต่เพียงผู้เดียว อิจฉา พ่อท่ีแม่แสดงความรักและความเอาใจใส่ ดังน้ัน ในระยะน้ีเด็กชายจึงไม่ค่อยลงรอยกับพ่อ แต่พยายามจะ เลียนแบบพฤติกรรมของพ่อ เนื่องจากเข้าใจว่าแบบอย่างของพ่อจะทําให้แม่รักได้ ฟรอยด์เรียกกระบวนการนี้ ว่า (resolution of Oedipus complex) ในทํานองเดียวกัน เด็กผู้หญิงจะเกิดปมอิเล็กตรา (electra complex) กล่าวคือ จะรกั พ่อ หวงพ่อ และกลัวพ่อจะรักแม่มากกว่าตน ต้องการความรักและการเอาใจใส่จาก พ่อ เห็นแม่เป็นคู่แข่ง ดังน้ันจึงมักจะพบว่าลูกผู้หญิงจึงมักจะขัดแย้งและไม่ลงรอยกับแม่เสมอ ขณะเดียวกัน เด็กผู้หญิงก็พยายามจะเลียนแบบพฤติกรรมของแม่เพื่อให้พ่อพอใจ เพ่ือทําให้พ่อรักตน ดังน้ันระยะนี้จึงเป็น ช่วงเวลาสําคัญที่พ่อแม่จะสร้างแบบฉบับความเป็นชายจริงหญิงแท้ให้ลูกของตนเห็น มิฉะน้ันอาจทําให้เด็กมี บุคลกิ ภาพประเภทเบย่ี งเบนทางเพศ (homeosexual) ในตอนโตได้ ง. ระยะสงบ (latency stage) อยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี นับต้ังแต่ในขั้นนี้ไปแล้ว อิทธิพลท่ีมีต่อ บุคลิกภาพของบุคคลจะน้อยลง ระยะนี้จึงเป็นระยะของการหยุดพักเพื่อการแสวงหาบทบาทให้เหมาะสมกับ ตนเอง ซ่ึงเด็กจะสามารถสะกดกล้ันหรือเก็บกดความต้องการทางเพศของตนไว้ในจิตใต้สํานึกได้ โดยจะให้ ความสนใจในเร่ืองอ่ืน ๆ แทน เช่น การอยู่ในกลุ่มเพศเดียวกัน การเล่นกีฬา การเล่นเกม และกิจกรรมใน การใชส้ ตปิ ัญญาต่าง ๆ เปน็ ตน้ จ. ระยะสนใจเพศตรงข้าม (genital stage) อยู่ในชว่ งอายุตัง้ แต่ 12 ปีข้ึนไป ในระยะน้ีถ้าเด็ก ผ่านขั้นท่ีสามมาได้อย่างราบร่ืน บุคลิกภาพของความเป็นชายจริงหญิงแท้จะปรากฏออกมาให้เห็นในขั้นนี้ เดก็ จะเริม่ มีความต้องการทางเพศและสนใจเพศตรงขา้ ม ซง่ึ เปน็ ระยะของการเริม่ ต้นสู่ความเป็นผู้ใหญ่

ห น้ า | 20 1.2 ทฤษฎีจิตวิทยาวิเคราะห์ (Analytical Psychology Theory) ผู้ก่อตั้งทฤษฎีน้ี ได้แก่ คาร์ล จี. จุง (Carl F. Jung : 1875-1961) นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ เป็นบุคคลท่ีมีช่ือเสียงมากท่ีสุดคน หนึ่งของนักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ แต่ภายหลังเขามีความคิดเห็นคัดค้านแนวคิดทฤษฎีของฟรอยด์ใน บางเร่ือง จึงแยกตัวมาต้ังกลุ่มใหม่โดยเรียกชื่อกลุ่มของตนเองว่าจิตวิทยาวิเคราะห์ (analytical psychology) และได้เผยแพร่ทฤษฎีของเขาจนได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั้งในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมี ชื่อเรียกกันติดปากว่าจิตวิเคราะห์ของจุง(Jung’s psychoanalysis) จุงได้เสนอผลงานของตนในรูปของ บทความ หนังสือตําราทางวิชาการ รวมท้ังการแสดงปาฐกถาในมหาวิทยาลัยต่างๆ และมีการแปลผลงาน เหล่าน้ันเป็นภาษาต่างๆ มากมายหลายภาษา จนมหาวิทยาลัยช้ันนําหลายแห่งท้ังในทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเชีย ได้มอบปริญญากิตติมศักด์ิเพ่ือเป็นการเชิดชูเกียรติแก่จุง นอกจากน้ีเขายังได้รับรางวัลเกียรติยศอื่น ๆ อีกมากมาย ผลงานท่ีสําคัญอีกประการหนึ่งคือเป็นผู้ก่อต้ังองค์การจิตวิเคราะห์สากล (International Psychoanalytic Association) และได้รับการเลือกต้ังให้เป็นประธานคนแรกในปี ค.ศ. 1941 จุดเด่นใน ผลงานการศึกษาทางจิตวิทยาของจุงอยู่ที่การรวบรวมความรู้ ความคิด และวัฒนธรรมจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ท้ังซีกโลกตะวันออก และซีกโลกตะวันตกมาผสมผสานให้เป็นหน่ึงเดียวกัน จนทําให้ทฤษฎีของเขา สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดข้ึนของมนุษย์ได้อย่างกว้างขวางไม่มีขีดจํากัด โดยส่วนตัวแล้วคาร์ล จี. จุง เป็นคนใจดี ร่าเริง แจ่มใส เป็นกันเองกับทุกคน และมีบุคลิกท่ีน่าประทับใจต่อผู้พบเห็น แต่ท่ีน่าสนใจคือเขา เป็นคนที่มีความศรัทธาและเช่ือมั่นในศาสนาเป็นอย่างมาก และจากผลงานทั้งหลายท่ีจุงได้สร้างสรรค์และ ทุ่มเทให้กับวงการจิตวิทยารวมทั้งวงการศึกษาจนตลอดชีวิตของเขา จึงทําให้คาร์ล จี. จุง ได้รับการยกย่องให้ เป็นนักจติ วทิ ยาผู้ยิง่ ใหญร่ ะดบั ชน้ั แนวหนา้ คนหนง่ึ ของโลก แนวความคิดทฤษฎบี ุคลิกภาพของจุงนั้นจาํ แนกเป็นสว่ นสาํ คัญได้ 2 สว่ น ดงั น้ี 1) โครงสร้างบุคลิกภาพ (Structure of Personality) บุคลิกภาพตามความหมายของจุงคือจิต (psyche) ซ่งึ ประกอบดว้ ยระบบตา่ ง ๆ เป็นส่วน ๆ มาทํางานรว่ มกัน ได้แก่ ก. อีโก้ (ego) จุงเชื่อว่าอีโก้เป็นศูนย์กลางแห่งบุคลิกภาพของบุคคลซ่ึงอยู่ในส่วนของ จิตสํานึก (conscious) ซึ่งประกอบไปด้วยความจํา ความรู้สึกนึกคิด การตัดสินใจ และการมีสติ ซ่ึงเป็นส่วน สําคัญท่ีบุคคลจะสามารถรับรู้เกี่ยวกับตนเองได้ตลอดเวลา จึงเท่ากับว่าอีโก้เป็นตัวกําหนดบทบาท หน้าที่ และ ความเป็นเอกลักษณเ์ ฉพาะของแต่ละบุคคล ข. จิตใต้สํานึกส่วนบุคคล (personal unconscious) ส่วนนี้จะอยู่ถัดจากอีโก้ลงไป เป็น ส่วนท่ีประกอบไปด้วยประสบการณ์ต่าง ๆ ท่ีเคยอยู่ในจิตสํานึกมาก่อนแต่ได้ถูกกดลงสู่จิตใต้สํานึก (unconscious) ด้วยกลไกทางจิต ท้ังน้ีเน่ืองมาจากความต้องการท่ีจะลืมประสบการณ์เหล่านั้น เพราะเป็น ความเจ็บปวด เป็นทุกข์ หรือไมพ่ อใจ เป็นตน้ ต่อมาภายหลงั ภายใตส้ ถานการณ์ สง่ิ แวดลอ้ ม หรอื ได้รับส่งิ เรา้ ท่ี เหมาะสม ประสบการณ์เหล่าน้ันอาจจะผลักดันขึ้นมาสู่จิตสํานึกที่รับรู้ได้อีกครั้ง ประสบการณ์ต่าง ๆ ภายใน จิตใต้สํานึกส่วนบุคคล (personal unconscious) น้ีถ้าได้รับการรวบรวมให้เป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของ ความรู้สึก ( constellation) ท่ีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว จุงเรียกการเกิดสภาวะเช่นนั้นว่าปม (complex) ดังนั้น เท่ากับว่าจิตใต้สํานึกส่วนบุคคลจึงเป็นแหล่งรวบรวมปมของบุคคลไว้มากมาย เช่น ปมเก่ียวกับแม่ (mother complex) เกิดจากการจัดกลุ่มหรือหมวดหมู่ของประสบการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับแม่ เช่น ความรู้สึก ความจําต่างๆ ท่ีได้รับจากแม่ เช่น ความรู้สึก ความจําต่าง ๆ ท่ีได้รับจากแม่จนก่อตัวข้ึนเป็นปม เมื่อพลังจาก ปมนี้มีมากจะกลายเป็นจุดศูนย์กลางในการควบคุมบุคลิกภาพของบุคคลน้ันให้ทําตามส่ิงที่แม่พูด แม่ส่ัง แม่คิด หรอื ส่ิงท่ีเปน็ ความประสงคข์ องแม่ แม้กระทงั่ การเลือกภรรยาก็จะเลอื กบุคคลซ่ึงลักษณะคลา้ ยคลงึ กับแม่ของตน

ห น้ า | 21 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่รวมกลุ่มหรือหมวดหมู่ข้ึนเป็นปมน้ันอาจกลับข้ึนมาสู่จิตสํานึกได้ อีกครง้ั ถา้ อยูใ่ นสถานการณ์ทีเ่ หมาะสมดงั ทกี่ ล่าวมาแล้ว ค. จิตใต้สํานึกส่วนท่ีสะสมประสบการณ์ในอดีตชาติ (collective unconscious) จุงอธิบาย ว่าจิตใต้สํานึกส่วนนี้จะทําหน้าท่ีสะสมประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ทุกคนได้รับเป็นมรดกสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ตั้งแต่เร่ิมต้นมีมนุษย์เกิดข้ึนภายในโลกเป็นคร้ังแรก ด้วยเหตุนี้จุงเช่ือว่ามนุษย์ทุกคนทุกตระกูล ทุกเชื้อชาติ และทุกเผ่าพันธุต์ ่างก็มีประสบการณ์ในจิตใต้สํานึกส่วนที่สะสมประสบการณ์ในอดีตชาติท่ีเป็นต้นฉบับเดียวกัน ท้ังสนิ้ โดยบนั ทึกเปน็ ข้อมูลอยู่ในสมองแล้วถ่ายทอดกันมาแต่ละรนุ่ ยาวนานตลอดจนปจั จุบัน เช่น ทําไมมนุษย์ ทุกคนจึงกลัวความมืด น่ันเป็นเพราะว่ามนุษย์ในยุคดึกดําบรรพ์ต้องอยู่กับความหวาดกลัวภัยภายใต้ความมืด มาตลอดก่อนจะพบไฟ เป็นต้น ความกลัวเหล่านี้จะส่งทอดมาตลอดและยังคงตกค้างอยู่จนเข้าสู่ยุคปัจจุบัน ทําให้มนุษย์ทุกคนแสดงพฤติกรรมออกมาคล้ายคลึงกันทุกคน ประสบการณ์ทั้งหลายท่ีตรึงแน่นอยู่ในจิตใต้ สํานึกตั้งแต่อดีตชาติเป็นต้นมาน้ันจะก่อเป็นภาพของสิ่งนั้นข้ึนมา ซ่ึงจุงเรียกภาพนั้นว่า อาร์คีไทป์ (archetype) ทาํ ให้มนษุ ยแ์ สดงพฤติกรรมไดส้ อดคลอ้ งกับอาร์คไี ทปท์ ม่ี อี ยู่ ง. หน้ากาก (persona) หมายถงึ สภาวะของบุคคลท่ีจะแสดงบทบาทไปตามความคาดหวัง ของสังคมและเป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีตามท่ีสังคมกําหนด หรือเป็นการแสดงออกเพื่อให้ได้รับ การยอมรับและสร้างความประทับใจบุคคลอ่ืนๆ ดังน้ันในบางครั้งบุคลิกภาพของบุคคลท่ีเกิดจากการใช้ หน้ากาก จึงอาจจะมีความขัดแย้งกับบุคลิกภาพท่ีแท้จริงภายในตัวบุคคลนั้นได้ เท่ากับว่าหน้ากากจึงทําหน้าที่ ควบคุมบุคลิกภาพส่วนท่ีไม่ดีที่แท้จริงของบุคคลไม่ให้ปรากฏออกมาต่อสังคมภายนอก ความขัดแย้งระหว่าง บุคลิกภาพเหล่าน้ีถ้าเกิดบ่อยครั้งในหลายๆ เร่ืองอาจจะทําให้บุคคลน้ันขาดความเป็นตัวของตัวเอง กลายเป็น คนสวมหนา้ กากเขา้ หาผู้อ่ืน หรอื เปน็ คนที่มคี วามขดั แย้งในใจได้ จ. ลกั ษณะซ่อนเรน้ (anima or animus) จุงเช่ือว่ามนุษย์มีลกั ษณะทงั้ สองเพศอยู่ในคนคน เดียวกัน โดยจะเห็นได้จากการที่เพศชายจะมีความนุ่มนวลและอ่อนโยนซึ่งเป็นลักษณะของเพศหญิงอยู่ในตัว จุงเรียกลักษณะเช่นน้ีว่าแอนิมา (anima) ส่วนผู้หญิงจะมีความเข้มแข็ง กล้าหาญ และเด็ดขาดซึ่งเป็นลักษณะ ของเพศชายซ่อนเรน้ อย่ใู นตัวเช่นกนั จุงเรียกลักษณะเช่นนี้วา่ แอนมิ ัส (animus) จากลักษณะทง้ั สองเพศที่ซอ่ น เร้นอย่นู จ้ี งึ ทําใหผ้ ู้ชายใจธรรมชาติของผู้หญิง และผู้หญงิ ก็มคี วามเข้าใจธรรมชาติของผูช้ ายไดด้ ว้ ยตวั ของตัวเอง ฉ. เงาแฝง (shadow) เป็นภาพหรืออาร์คีไทป์รูปแบบหน่ึงท่ีก่อตัวมาจากสัตว์ก่อนจะมี วิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่าเงาแฝงเป็นสัญชาตญาณของสัตว์ท่ีจะส่งผลให้มนุษย์แสดงความ ชั่วรา้ ย กา้ วร้าว และป่าเถ่ือน รวมทัง้ พฤตกิ รรมต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกับกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีอนั ดขี อง สังคม เงาแฝงเหลา่ นจ้ี ะถกู ควบคมุ และปกปดิ โดยหน้ากาก หรอื เกบ็ กดไวใ้ นจิตใตส้ าํ นึก 2) ลักษณะบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล จากโครงสร้างทางบุคลิกภาพท่ีจุดได้อธิบายไว้นี้ เขาจึง แบง่ ลกั ษณะบคุ ลกิ ภาพของบุคคลไว้ 2 ประเภท คือ ก. แบบเก็บตวั (introvert)เปน็ บุคลกิ ภาพของบคุ คลทมี่ ีแนวโน้มเปน็ พวกเก็บตวั ชอบความ สงบเงียบ ไม่ชอบการเข้าสังคม ขี้อาย พอใจท่ีจะอยู่เบ้ืองหลัง ขาดความม่ันใจในตนเอง ชอบใช้วิธีหนีปัญหา มากกว่าเผชิญปัญหา ส่วนดีของบุคลิกภาพแบบเก็บตัวน้ีมักจะเป็นบุคลิกของนักประดิษฐ์และนักคิดค้น ท้งั หลาย แต่สว่ นเสยี มกั จะเกิดอาการซมึ เศร้า แยกตวั และไม่สนใจสงั คม ข. แบบแสดงตัว (extrovert)เป็นบุคลิกภาพประเภทแสดงตัว ชอบเข้าสังคม รักความ สนุกสนาน ชอบการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่เป็นจริง มีมนุษยสัมพันธ์ดี กล้าท่ีจะแสดงออก ชอบความเปน็ ผ้นู าํ ตอ้ งการเปน็ ทรี่ ้จู กั ของคนทัว่ ไป คบคนงา่ ย ชอบเผชญิ ปญั หามากกว่าการหนปี ญั หา เป็นต้น

ห น้ า | 22 อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงจะพบว่าคนบางคนจะมีบุคลิกภาพแบบกลาง ๆ กล่าวคือ มักจะมี บุคลิกภาพเป็นไปตามสถานการณ์ เช่น ในสถานการณ์หนึ่งอาจมีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว ในอีกสถานการณ์ หนึง่ อาจเปน็ แบบเกบ็ ตัวได้ จึงจดั คนประเภทน้อี ยู่ในพวกแอมบเิ วริ ต์ (Ambivert) เป็นต้น 1.3 ทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกบุคคลของแอดเลอร์ (Adler’s Individual Psychology) อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler; 1870-1937) นักจิตวิทยาเชื้อสายยิวที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งในกลุ่มจิตวิเคราะห์ ก่อนที่เขาจะหันมาเป็นนักจิตวิทยาน้ัน แอดเลอร์เคยทํางานเป็นแพทย์และเปิดคลินิกรักษาผู้ป่วยมาก่อน ประสบการณ์จากการได้รักษาผู้ป่วยที่มาขอรับการรักษานั้น ทําให้แอดเลอร์พบว่าคนไข้ที่เป็นนักกายกรรมที่มี ร่างกายแขง็ แรง กลา้ มเนอ้ื สมบูรณม์ พี ละกําลงั มาก หรอื ศิลปนิ ที่ประสบความสาํ เรจ็ ในงานของเขานนั้ เบ้อื งหลัง คนเหล่านี้ในวัยเด็กมักจะเป็นคนที่อ่อนแอและข้ีโรคมาก่อนทั้งส้ิน ประเด็นสําคัญน้ีเองทําให้แอดเลอร์เช่ือว่า ความอ่อนแอและข้ีโรคในวัยเด็ก จะเป็นต้นเหตุที่จะทําให้คนเหล่าน้ีหาทางชดเชยด้วยการสร้างพละกําลังและ แข็งแกร่ง รวมท้ังสร้างความสําเร็จใหก้ ับตนเอง จากข้อสังเกตนี้แอดเลอรจ์ ึงให้ความสนใจทจี่ ะศึกษาพฤติกรรม เกย่ี วกับการชดเชยปมดว้ ยของคนเหลา่ น้ี จนกลายเป็นสว่ นสาํ คัญประการหนึ่งในทฤษฎบี ุคลกิ ภาพของเขา ในระยะเร่ิมต้นน้นั แอดเลอร์เคยทํางานร่วมกับกลมุ่ จิตวเิ คราะหม์ าระยะหนง่ึ แตภ่ ายหลงั เขามีความคิด เห็นคัดค้านแนวความคิดของฟรอยด์ในหลายเร่ือง เช่น เกี่ยวกับความฝัน ตลอดจนวิธีการบําบัดผู้ป่วยตาม แนวทางของจิตวิเคราะห์ ทําให้ในท่ีสุดเขาจึงแยกตัวมาต้ังทฤษฎีใหม่ และเรียกกลุ่มตนเองว่ากลุ่มทฤษฎี จิตวิทยารายบุคคล (individual psychology) ท้ังนี้เนื่องจากเขาเช่ือว่าการจะศึกษาบุคลิกภาพของบุคคลน้ัน ไม่ใช่จะเป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมหรือบุคลิกภาพเพียงด้านหนึ่งด้านใดเพียงด้านเดียว แต่จะต้องศึกษา พฤติกรรมทั้งหมดท่ีบุคคลน้ันแสดงต่อสถานการณ์หรือรูปแบบของพฤติกรรมท่ีใช้ในการสร้างความสัมพันธ์กับ บุคคลอื่น ๆ ในสังคม ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามสภาพร่างกายและสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคล และ ผลจากการศกึ ษาของแอดเลอร์ทาํ ใหเ้ ขาได้ขอ้ สรุปปัจจัยท่มี อี ทิ ธพิ ลต่อบุคลกิ ภาพของบคุ คลไว้ 3 ประการ ดังนี้ 1. ลาํ ดับการเกิดของเด็กในครอบครัว (Order of Birth) แอดเลอร์ไห้ความสําคญั ต่อสังคมระดับ ครอบครัวเป็นอันดับแรก โดยสังเกตจากบุคลิกภาพของลูกคนโต คนกลาง และคนสุดท้อง ซ่ึงจะแตกต่างกัน ไปอย่างเห็นได้เด่นชัด จึงทําให้เชื่อว่าเป็นเพราะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากพ่อแม่แตกต่างกันไป ซึ่งเขาได้ สรปุ ไวด้ ังน้ี ก. ลกู คนโตเป็นลูกคนแรกของครอบครัว ดงั น้ันเด็กจะได้รับความรัก ความเอาใจใส่จากพ่อ แม่อย่างมาก จนกระทั่งเม่ือน้องใหม่เกิดขึ้นเด็กจะมีความรู้สึกว่าความรักที่เขาเคยได้รับจะถูกแบ่งปันให้น้อง ที่มาใหม่ ประสบการณ์เช่นน้ีจะทําให้เด็กมีบุคลิกประเภทขี้อิจฉา และเกลียดชัดผู้อ่ืน รู้สึกไม่มั่นคง พยายาม ปกป้องตนเอง ดังนั้นถ้าพ่อแม่สามารถท่ีจะเตรียมความพร้อมให้ลูกคนโตเพื่อรับสถานการณ์ท่ีกําลังจะเกิดได้ ล่วงหน้าแล้ว จะทําให้ลูกคนโตมีบุคลิกภาพพัฒนาไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ เช่น มีความรับผิดชอบสูง เช่ือมั่นในตนเอง ชอบชว่ ยเหลือปกป้องคมุ้ ครองผู้อืน่ ที่ด้อยกวา่ ตน ข. ลูกคนกลางมักจะเป็นคนที่มีความทะเยอทะยานสูง มีความอุตสาหะ พยายาม อดทน แต่มีแนวโน้มที่จะเป็นคนด้ือรั้น และในส่วนลึกจะมีความรู้สึกอิจฉาพ่ีน้องของตน จึงพยายามจะเอาชนะหรือ แสดงความสามารถที่เหนือกว่าพี่และน้องออกมา ทั้งนี้เน่ืองจากคิดว่าพ่อแม่จะรักพี่คนโตและน้องคนสุดท้อง มากกว่าตน แต่โดยทั่วไปแล้วลกู คนกลางมกั จะมคี วามสามารถในการปรบั ตัวไดด้ ีกว่าพ่แี ละนอ้ ง ค. ลูกคนสุดท้องเนื่องจากเป็นลูกคนเล็กจึงมักได้รับการตามใจประคบประหงมและได้รับ ความช่วยเหลือจากพ่อแม่หรือพี่ ๆ อยู่เสมอ ทําให้เดก็ ที่เป็นลูกคนสุดท้องจึงมีลักษณะเป็นคนเอาแต่ใจตนเอง ชอบขอความชว่ ยเหลอื ผอู้ ่ืน ไมร่ จู้ ักโต

ห น้ า | 23 2. ประสบการณ์ในวัยเด็ก (Childhood Experience) หมายถึง ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจาก การอบรมเล้ียงดูในระยะแรกของชีวิต ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี ซ่ึงแอดเลอร์ได้ให้ความสนใจประสบการณ์ เหลา่ นเี้ ปน็ กรณีพิเศษ ทง้ั นเี้ พราะเขาเชือ่ ว่าเปน็ ปจั จัยท่มี ีผลต่อบุคลิกภาพของบุคคลเป็นอยา่ งยิง่ ประสบการณ์ ทเี่ ดก็ ไดร้ ับดังกล่าวแบง่ เป็น 3 ลกั ษณะคอื ก. เด็กที่ถูกเล้ียงดูแบบตามใจ (spoiled child) แอดเลอร์เห็นว่าการตามใจลูกหรือทะนุ ถนอมลูกจนเกินไปจะทําให้เด็กเสียคน ไม่สามารถจะพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมกับบุคคลอ่ืนได้ ขาดเหตุผล เอาแต่ใจตนเอง เห็นแก่ตัว เรียกร้องสิ่งที่ตนต้องการจากสังคมเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่เคยคิดจะตอบแทนผู้อื่นหรือ สงั คมเลย ข. เด็กท่ีถูกทอดท้ิง (neglected child) หมายถึง เด็กที่ได้รับการเล้ียงดูแบบปล่อยปละ ละเลย ขาดความเอาใจใส่ เน่ืองจากพ่อแม่เสียชีวิต แยกทางกัน หรือเกิดจาปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมไปถึง ถูกทอดทิ้งเพราะพ่อแม่เกลียดชังไม่ต้องการลูก เด็กท่ีอยู่ในสภาพเช่นน้ีจะรู้สึกเกลียดชังพ่อแม่ตนเองและคน รอบข้าง ทําให้มีบุคลิกเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เห็นทุกคนเป็นศัตรูกับตน เป็นพวกต่อต้านและแก้แค้นสังคม ชอบขม่ ขู่ วางอํานาจ ปรบั ตัวเข้ากบั ผู้อื่นไดย้ าก ค. เด็กที่ได้รับความรักและความอบอุ่นอย่างสมบูรณ์ (warmed child) หรือเล้ียงดูแบบใช้ เหตุผลกับลูก เด็กได้รับประสบการณ์ที่ดีเช่นนี้จะทําให้เป็นคนท่ีมีเหตุผล กล้าคิด กล้าพูด กล้าทํา มีจิตใจและ ความคิดเป็นประชาธิปไตย มองโลกในแง่ดี ร่าเริง แจ่มใส และเอาใจใส่ผู้อื่น ซ่ึงเป็นบุคลิกภาพท่ีพึงประสงค์ ของสังคม 3. ความรู้สึกว่ามีปมด้อยและสร้างปมเด่นชดเชย (Inferiority Feeling and Superiority) แอดเลอรเ์ ชื่อวา่ มนษุ ยท์ ุกคนมีปมดอ้ ย (inferiority complex) ซึ่งในระยะแรกจากการสงั เกตผู้ปว่ ยท่มี ารบั การ รักษาในคลินิกของเขา พบว่าในวัยเด็กคนไข้เหล่าน้ีมักมีความบกพร่องทางร่างกายเป็นส่วนใหญ่ แต่ต่อมาเขา จึงพบว่านอกจากสภาพร่างกายท่ีเป็นปมด้อยแล้ว ยังเป็นผลมาจากประสบการณ์ต่าง ๆ ท่ีบุคคลได้รับจาก สังคมดังที่ได้กล่าวมาแล้วอีกด้วย ปัจจัยเหล่านี้จะกลายเป็นปมด้อยของแต่ละคนก็ต่อเมื่อบุคคลน้ันเกิด การปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับบุคคลอ่ืนแล้วมีการเปรียบเทียบซ่ึงกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา สภาพทางร่างกาย ความสามารถ สถานภาพทางสังคม ฐานะความเป็นอยู่ การยอมรับ ฯลฯ ซ่ึงปกติโดยท่ัวไป แล้วแต่ละคนมักจะมองเห็นว่าสิ่งท่ีตนเองมีอยู่น้ันไม่สมบูรณ์ สู้คนอ่ืนไม่ได้ หรือเป็นปมด้อยเสมอ และ ความรู้สึกว่าเป็นปมด้อยนี้เองทําให้เกิดเป็นแรงผลักดันในการท่ีจะด้ินรนเพ่ือเอาชนะปมด้อยของตน โดยการสร้างปมเด่น (superiority complex) ขึ้นมา เพ่ือทําให้เกิดรู้สึกม่ันใจ ภูมิใจ พึงพอใจ และเป็นที่ ยอมรับของบุคคลท้ังหลายในสังคม ตัวอย่างท่ีเห็นได้ชัด ได้แก่ กรณีของแฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ (Franklin D. Roosvelt) ประธานาธิบดีหลายสมัยของสหรัฐอเมริกาท่ีได้รับความนิยมจากประชาชนสูงสุดท่านหนึ่ง ในวัยเดก็ เขาเปน็ คนขโ้ี รค อ่อนแอ หรือดโี มสทนิ สิ (Demosthenes) เปน็ นักพดู ผู้ยง่ิ ใหญ่ของโลกแต่เปน็ เด็กพูด ติดอ่างมาก่อน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้แอดเลอร์จึงเห็นว่าความรู้สึกถึงการมีปมด้อยนั้นจึงเป็นเรื่องปกติของบุคคล ทั้งหลายที่จะช่วยในการพัฒนาบุคคลและสังคม ถ้าบุคคลเหล่านั้นจะใช้พลังงานจากปมด้อยในการแสวงหา วิธีการเพื่อสร้างปมเด่นในลักษณะสร้างสรรค์และเป็นท่ียอมรับของสังคม เช่น เด็กที่รู้ตัวว่าเรียนไม่เก่งเพราะมี ระดับสติปัญญาไม่สูงจึงหันไปสร้างปมเด่นด้วยการฝึกฝนด้านกีฬาจนได้เป็นตัวแทนทีมชาติ เป็นต้น แต่ว่า เม่ือใดที่บุคคลแสวงหาปมเด่นโดยใชพ้ ลังจากปมดอ้ ยไปในทางที่ผิดและไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น มีฐานะ ยากจนจึงหันไปค้ายาเสพติดจนรํ่ารวย ถ้าทําเช่นน้ีนอกจากจะเป็นการทําลายตนเองแล้ว ยังสร้างปัญหาให้ สังคมอกี ด้วย

ห น้ า | 24 จะเห็นได้ว่าแนวทฤษฎีบุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพของกลุ่มเคล่ือนไหวทางจิต เช่น ทฤษฎีของฟรอยด์ ทฤษฎีของจุง และทฤษฎีของแอดเดอร์น้ัน จะเชื่อว่าปัจจัยพื้นฐานสําคัญในการสร้าง บุคลิกภาพของบุคคลนั้นเกิดจากความขัดแย้งของพลังทางจิตภายในตัวบุคคล และการพยายามรักษา ความสมดุลของพลังท้ังสามเหล่านั้นไว้ นักจิตวิทยาทั้งสามท่านยังเห็นตรงกันว่า การพัฒนาบุคลิกภาพของ บุคคลน้ันจะมีความต่อเน่ืองกัน โดยเฉพาะในวัยต้ังแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี ซ่ึงจะถือว่าเป็นวัยสําคัญแห่ง การเริ่มต้นในการพัฒนาบุคลิกภาพเพียงแต่แอดเลอรไ์ ด้ให้ความสําคญั เพิ่มเติมในสว่ นของประสบการณ์ที่ได้รับ จากการแสดงความสมั พันธ์กบั บคุ คลอ่ืนในสงั คมว่าเปน็ ปัจจัยทีม่ คี วามสําคญั ไม่ย่งิ หย่อนไปกว่ากนั ด้วย 1.4 ทฤษฏีพัฒนาการบุคลิกภาพของอีริคสัน (Erikson’s Theory of development) อีริคสัน เอช อีริคสัน(Erikson H. Erikson) มีความคิดเป็นว่าพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นเรื่องที่เกิดข้ึนในทุกช่วงของ ชีวิต มิใช่สําคัญเฉพาะพฤติกรรมในช่วงแรกของชีวิตท่ีอยู่ใน Critical Period เท่านั้น ซ่ึงพัฒนาการของมนุษย์ มิได้เป็นไปเพ่ือสนองความสุขความพึงพอใจทางด้านสรีระเท่าน้ัน แต่ยังจะต้องข้ึนอยู่กับสภาพทางจิต – สังคม ซึ่งหมายถึงลักษณะการอบรม เล้ียงดู สัมพันธภาพระหว่าง พ่อ – แม่ ตลอดจนอิทธิพลของวัฒนธรรมในสังคม นัน้ ๆ ซึ่งเดก็ จะแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดท่มี ีตอ่ ตนเองและสิ่งแวดล้อม (Self – Concept) และความร้สู ึก น้ีเป็นสง่ิ สําคัญในการพัฒนาทางบคุ ลกิ ภาพ ซง่ึ จะเป็นเร่ืองทตี่ ิดตอ่ สบื เนอ่ื งกันไปตลอดชีวติ ในแต่ละขั้นตอนของพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่อีริคสันเสนอไว้มีโอกาสที่จะพัฒนาไปได้ไม่ทางบวก ก็ทางลบ ซ่ึงมี 8 ข้ันตอนด้วยกัน อีริคสันมีความเห็นว่าพัฒนาการทางบุคลิกภาพเกิดขึ้นได้เนื่องจากคนมี การตดิ ต่อสัมพันธ์กับสังคม ดงั นั้นจึงเน้นที่สมั พันธ์ภาพระหว่างบุคคลและสังคมในแต่ละขั้นของการพฒั นาจะมี “ช่วงวิกฤต” (Critical Period) สําหรับท่ีจะพัฒนาเรื่องน้ัน ๆ ซึ่ง อีริคสันหมายถึงผู้ที่มีบุคลิกภาพจิตดี ซ่ึงจะ เป็นลักษณะของคนท่ีสามารถเผชิญปัญหาหรือแก้ปัญหาทั้งปัญหาท่ีเกิดจากภายในตนเองและปัญหาจาก ภายนอก ดว้ ยการท่ีสามารถจดั ระบบระเบียบความคิดและสามารถตดั สนิ ใจได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าในช่วงชีวิตใด พัฒนาการเป็นไปในทางลบมากกว่า เด็กผู้น้ันจะมีพัฒนาการทาง บุคลิกภาพไม่สมบูรณ์ ซ่ึงจะนําไปสู่การเป็นผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัว นอกจากนั้นยังอธิบายว่า ถ้าพัฒนาการ ของ ego ในตอนแรกเป็นไปด้วยดีก็จะไปช่วยพัฒนา ego ในขั้นท่ี 2 ต่อไป แต่ถ้าพัฒนาการในข้ันแรกไม่ดี ข้ันท่ี 2 อาจจะพัฒนาไปในทางดีได้ ถ้าได้รับประสบการณ์ท่ีเหมาะสมในช่วงน้ัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามอีริคสัน ชใี้ หเ้ หน็ ถึงอิทธพิ ลทีแ่ ตล่ ะข้ันมตี ่อกนั โดยท่พี ฒั นาการในขน้ั หลงั จะได้รับอทิ ธิพลจากขนั้ ก่อนน้นั จากทฤษฎีบุคลิกภาพทั้ง 10 ทฤษฎี นั้นจะนําไปใช้ในการประยุกต์ในการทํางาน เพ่ือนําไปสู่ การพัฒนาตนเอง พัฒนาพนักงาน พัฒนาองค์การ ซึ่งแต่ละทฤษฎีก็สามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้ต่าง ๆ กัน แล้วแตม่ มุ มองการเลอื กนําไปใช้ 2. ทฤษฎบี ุคลกิ ภาพกลุม่ มนุษยนิยม (Humanistic Theories) ทฤษฎบี คุ ลกิ ภาพกลมุ่ น้ีประกอบดว้ ย 2 ทฤษฎี ดงั น้ี 2.1 ทฤษฎีตัวตน (Self Theory)ผู้ก่อตั้งทฤษฎีน้ี ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Carl Rogers; 1902) นกั จิตวิทยากลุ่มมนุษยนยิ มชาวอเมริกนั ท่มี ีชื่อเสยี งโด่งดังจนได้รับการยกย่องให้เปน็ บิดาแห่งการให้คาํ ปรึกษา แบบไมน่ ําทาง (non-directive) โรเจอร์มีความเช่ือม่ันในตัวมนุษย์อย่างมากกว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับการมองเห็นคุณค่าในตนเอง มเี หตุผลเป็นของตัวเอง สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ เชื่อถือ ไว้วางใจได้ และมีความต้องการพัฒนาตนเองให้ สูงสุดในทุก ๆด้านเท่าทจ่ี ะทําได้ ซ่ึงรวมไปถงึ การพัฒนาดา้ นบคุ ลกิ ภาพของตนด้วย

ห น้ า | 25 บุคลิกภาพตามแนวความคิดของโรเจอร์น้ันเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของการรับรู้ต่อตนเอง (self) หรือ อตั ตาหรือฉัน (I) หรอื ฉนั (me) ว่าฉันเป็นใคร เป็นคนอย่างไร มีคุณค่าแคไ่ หน เก่งเพียงใด และมคี วามสามารถ ระดบั ใด ซงึ่ การรับรตู้ นเองเชน่ นจ้ี ะทําใหส้ ามารถแยกออกจากความไมใ่ ช่ตัวฉันได้ โรเจอร์เช่ือว่าประสบการณ์ในวันเด็กท่ีบุคคลได้รับจากคนใกล้ชิดรอบข้าง เช่น พ่อแม่ พ่ีน้อง และ คนเลยี้ งจะมคี วามสําคัญต่อการสร้างตวั ตน (self) ของบคุ คลข้ึนมา ดังนัน้ คําชม คาํ วจิ ารณ์ คาํ ตําหนิ คาํ ยกยอ่ ง รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดอัดมโนทัศน์หรือการรับรู้ตนเอง (self concept) ท้ังใน ทางบวกและทางลบได้เสมอ เม่ือบุคคลใดมีการรับรู้ตนเองหรืออัตมโนทัศน์เช่นไร บุคลิกภาพของเขาก็จะ พัฒนาไปตามอัตมโนทัศน์ท่ีตนรับรู้เช่นน้ัน เช่น ถ้าเด็กมีการรับรู้ตนเองว่าเป็นคนมีความสามารถ ก็จะพัฒนา บุคลิกภาพของตนให้กล้าแสดงออกอยู่เสมอ หรือถ้าเด็กมีการรับรู้ตนเองว่าขี้เหร่และโง่ เด็กก็จะมีบุคลิกภาพ เก็บตัว ขาดความมั่นใจ และไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เป็นต้น จากแนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพเช่นน้ีทํา ใหโ้ รเจอรเ์ รยี กทฤษฎีของเขาวา่ ทฤษฎีตวั ตน (self theory) โดยเขาได้จําแนกตวั ตนออกเปน็ 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ตนที่ตนรับรู้ (Perceived Self; P.S.) หมายถึง ตัวตนที่เราคดิ วา่ ตัวเราเป็นอยู่ เช่น คิดว่าเป็น คนดี เปน็ คนเกง่ เปน็ คนหล่อ เป็นคนสวย เปน็ ตน้ 2) ตนตามความเป็นจริง (Real Self; R.S.) หมายถึง ตัวตนที่แท้จริง ซึ่งบางคนอาจจะมองไม่ เห็นตัวตนที่แท้จริงของตนเองก็ได้ ในบางคร้ังบุคคลจึงอาจจะรับรู้ตัวตนตามความเป็นจริงนี้ได้จากคนใกล้ชิด รอบขา้ ง 3) ตนตามอุดมคติ (Ideal Self; I.S.) หมายถึง ตัวตนท่ีตนอยากจะเป็น อยากจะทํา หรือตั้ง ความคาดหวังไว้ I. I. S S P. R. P. R. รูปท่ี 11 แสดงความสอดคล้องและไมส่ อดคล้องของตัวตนท้งั สามลักษณะทมี่ ผี ลตอ่ บคุ ลิกภาพ โรเจอร์ กล่าวว่า บุคคลใดก็ตามท่ีสามารถทําให้ตนที่ตนรับรู้กับตนตามความเป็นจริงและตนตาม อดุ มคตสิ อดคล้องสมั พันธ์กันอย่างเหมาะสม บุคคลน้นั จะสามารถพัฒนาบคุ ลิกภาพได้จนถงึ ขดี สุด เชน่ รับรวู้ ่า ตนเป็นคนพูดเก่งและเข้าใจง่าย ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นเช่นน้ัน ถ้าบุคคลนั้นใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักพูดที่มี ชื่อเสียงในอนาคต เขาจะสามารถพัฒนาบุคลิกภาพของตนได้ถึงขีดสูงสุดจนถึงเป้าหมายในอุดมคติของตนได้ แต่ถ้าตัวตนทั้งสามลักษณะน้ันไม่สอดคล้องกันอาจทําให้บุคคลนั้นเกิดความขัดแย้งในใจ คับข้องใจ วิตกกังวล สูง และมีปมด้อย ซ่ึงจะส่งผลต่อบุคลิกภาพของบุคคลนั้นด้วย เช่น คิดว่าตนเองเป็นคนรูปหล่อและมีเสน่ห์ แต่ในความเป็นจริงกลบั ไม่เป็นเช่นน้ันถ้าบุคคลนน้ั มคี วามใฝ่ฝนั อยากจะเป็นพระเอกยอดนิยม ซึง่ จะเห็นได้ว่ามี ทางเป็นไปได้ยากมาก เม่ือไม่สามารถไปถึงซ่ึงเป้าหมายขอตนตามที่คาดหวังได้ บุคคลนั้นอาจจะต้องใช้กล วธิ านการปอ้ งกันตนเอง (defense mechanisms) เช่น บอกกบั ตนเองและผู้อ่ืนว่า “วงการภาพยนตรไ์ ทยไม่มี วาสนาท่ีจะได้ฉันไปประดับวงการ หรือตอนน้ีฉันไม่มีเวลาให้กับการเป็นดารา” เป็นต้น หรือถ้า ความไม่สอดคล้องกันเป็นไปอย่างรุนแรงมาก ๆอาจทําให้ผู้นั้นมีปัญหาในด้านการปรับตัว มีปัญหาสุขภาพจิต และเกิดปญั หาด้านบุคลกิ ภาพได้

ห น้ า | 26 2.2 ทฤษฎีบุคลิกภาพของมาสโลว์ (Maslow’s Theory)ผู้ก่อต้ังทฤษฎีน้ี ได้แก่ อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow; 1908-1970) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเช้ือสายยิว ผู้ก่อต้ังทฤษฎีมนุษยนิยมจนมีช่ือเสียง และไดร้ บั ความเช่อื ถืออย่างกว้างขวาง จนได้รบั การยกยอ่ งใหเ้ ปน็ บดิ าแห่งจติ วิทยามนุษยนยิ ม มาสโลว์ได้เริ่มต้นในการเป็นอาจารย์ผู้สอนในภาควิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (Wisconsin University) ในปี ค.ศ. 1930 ต่อมาภายหลังจึงย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) หลังจากนั้นจึงรับตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยบรูกลิน (Brooklyn University) และ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (New York University) ตามลําดับ ท่ีมหาวิทยาลัยนิวยอร์กนี้เองท่ีทําให้มาสโลว์ได้พบ กับนักจิตวิทยาช้ันนําหลายท่านที่หนีภัยสงครามโลกครั้งท่ี 2 มายังสหรัฐอเมริกา เช่น อีริก ฟรอมม์ (Erich Fromm) อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) คาเรน ฮอร์นีย์ (Karen Horney) แมกซ์ เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer) เป็นต้น ทําให้มาสโลว์ได้มีโอกาสแลกเปล่ียนความคิดเห็นในด้านจิตวิทยากับนักจิตวิทยาท่ีมี ช่ือเสียงเหล่านี้ และเป็นพ้ืนฐานสําคัญต่อแนวความคิดของทฤษฎีมนุษยนิยมในเวลาต่อมาจนกระท่ังในปี ค.ศ. 1951 มาสโลว์ได้รับแต่งต้ังให้เป็นประธานของคณะจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยแบรนไดส์ (Brandeis University) และหลงั จากนน้ั ไม่นานจึงได้รบั แตง่ ต้ังให้ดํารงตําแหนง่ ศาสตราจารยท์ างจิตวทิ ยาในทีส่ ดุ แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีบุคลิกภาพของบุคคลนั้น มาสโลว์เชื่อว่าปัจจัยสําคัญอยู่ท่ีธรรมชาติของ มนุษย์ในความปรารถนาที่ต้องการจะพัฒนาตนเองเพ่ือให้ถึงจุดสูงสุดตามศักยภาพของแต่ละคนเพ่ือความเป็น มนุษย์โดยสมบูรณ์ (self actualization) ดังนั้น ความปรารถนาหรือความต้องการของบุคคลนี้เองที่ก่อให้เกิด แรงจูงใจในตัวบุคคลข้ึน ซ่ึงมาสโลว์ถือว่าเป็นหัวใจสําคัญในทฤษฎีบุคลิกภาพของเขา โดยมาสโลว์อธิบายว่า ความปรารถนาหรือความต้องการเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กําเนิด โดยความต้องการเหล่านั้นจะต้อง เป็นไปตามลําดับข้ันไม่มีการข้ามช้ัน เม่ือความต้องการในขั้นหน่ึงข้ันใดได้รับการตอบสนองจนเป็นที่พอใจแล้ว ความต้องการในข้ันสูงลําดับต่อไปจึงเกิดขึ้น ในทางกลับกัน ถ้ายังไม่ได้รับความพอใจจะแสดงพฤติกรรม การแสวงหาในข้นั นั้นต่อไปเรอ่ื ย ๆ มาสโลว์ไดแ้ บ่งความต้องการของมนษุ ย์ออกไวเ้ ป็น 5 ขนั้ ตอนดงั ต่อไปน้ี 1) ความต้องการทางรา่ งกาย (physiological needs) 2) ความตอ้ งการความม่นั คงและปลอดภัย (safety needs) 3) ความต้องการความเปน็ เจา้ ของและความรัก (belongingness and love needs) 4) ความต้องการได้รบั การยกยอ่ งนับถือ (esteem needs) 5) ความตอ้ งการทจ่ี ะเป็นมนุษย์ทสี่ มบรู ณ์ (self actualization needs) สําหรับรายละเอียดเก่ียวกับความต้องการท้ัง 5 ลําดับข้ันน้ัน ได้กล่าวมาแล้วในบทท่ี 6 เก่ียวกับ เรือ่ งแรงจงู ใจ ดังท่ีกล่าวในตอนต้นแล้วว่าบุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพตามแนวความคิดของมาสโลว์นั้น จะเกิดจากความต้องการของมนุษย์ท่ีต้องการจะพัฒนาตนเองให้บรรลุจัดสูงสุดแห่งความปรารถนาแห่งตนเพื่อ ประโยชนข์ องสังคมโดยสว่ นรวม แตใ่ นการทเ่ี ขาจะบรรลจุ ุดมงุ่ หมายได้นัน้ บุคคลจะตอ้ งประจักษ์ในศักยภาพที่ แท้จริงของตนเองเสียก่อน นอกจากนี้การที่บุคคลจะผ่านความต้องการของตนแต่ละขั้นได้ หรือขัดขวาง ความต้องการในแต่ละข้ัน จะมีผลทําให้พัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลในข้ันนั้น ๆ ถูกขัดขวางไปด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้าส่ิงแวดล้อมของบุคคลได้ให้การสนับสนุน ส่งเสริม และสามารถตอบสนองความต้องการ แต่ละขั้นได้อย่างเหมาะสมแล้ว บุคลิกภาพของบุคคลนั้นจะสามารถพัฒนาถึงขั้นสูงสุดตามความประสงค์ มาสโลว์ได้ทําการศึกษาชีวประวัติของบุคคลท่ีมีชื่อเสียงเป็นท่ียอมรับทางสังคมในหลาย ๆ ด้าน เช่น บุคคล ระดับผู้นําประเทศ นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ เพ่ือค้นหาว่าคนเหล่านี้มีบุคลิกภาพอย่างไรบ้างที่มีความ คล้ายคลึงร่วมกันอยู่ เช่น โธมัส เจฟเฟอร์สัน, อีลีเนอร์ รุสเวลต์, อับราฮัม ลินคอร์น และจอร์จ วอชิงตัน

ห น้ า | 27 ผลการศึกษาของเขาได้สรุปบุคลิกภาพของบุคคลท่ีสามารถไปถึงข้ันสูงสุดตามความปรารถนาของตนหรือ ความเปน็ มนษุ ยท์ ี่สมบรู ณ์ (self actualization) ไวท้ ั้งสิ้น 15 ประการ ดังนี้ 1) มองโลกและสถานการณ์ตา่ งๆ ตามความเปน็ จริง 2) ยอมรบั จุดเดน่ และจดุ ด้อยของตน 3) มคี วามเป็นธรรมชาตอิ ยูใ่ นตวั โดยไม่ไดเ้ สแสร้ง 4) มองปญั หาที่ตัวปญั หา ไม่ใช่มองทตี่ นเองเป็นศูนยก์ ลางในการมองปัญหา 5) ถือสนั โดษ รักความเปน็ ส่วนตัว และใชช้ ีวิตอยา่ งเรียบง่าย 6) เป็นตัวของตวั เอง มีอิสระ และไมย่ ดึ ติดกบั ตวั บุคคลหรือสงิ่ แวดลอ้ มจนเกินไป 7) รกั และชืน่ ชมกับชวี ติ โดยไมร่ ูส้ กึ เบ่อื หนา่ ยหรอื ท้อแทส้ ้ินหวัง 8) เอาใจใส่สงั คมและรักเพอ่ื นมนุษย์ 9) มีจติ ใจและแสดงออกถงึ ความเปน็ ประชาธปิ ไตย 10) ยดึ มั่นในคุณธรรมและความถูกตอ้ ง 11) มีมนษุ ยสมั พนั ธ์อันดกี บั คนทั้งหลาย 12) มอี ารมณ์ขันที่เหมาะสม 13) มคี วามคิดริเร่ิมและสร้างสรรค์ 14) ดืม่ ดํา่ กับความลาํ้ ลึกทางธรรมชาติ 15) ยอมรับวัฒนธรรมและประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยสามารถผสมผสานให้เข้ากับวัฒนธรรมและ ประสบการณ์เดิมของตนเพือ่ ใช้ใหเ้ กิดประโยชน์ตอ่ สังคม จากทฤษฎีทั้งสองของกลุ่มมนุษยนิยมที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นได้ว่ากลุ่มมนุษยนิยมจะเน้น ความสําคัญเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการพฒั นาบุคลกิ ภาพของบุคคลว่าเกิดจากความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง ทั้งนี้เพราะมนุษย์มีคุณค่า มีสติปัญญา ใช้เหตุผล และสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่เกิดจาก ความขัดแย้งหรือการสร้างความสมดุลของพลังทางจิต เช่น แนวคิดของกลุ่มเคลื่อนไหวทางจิต หรืออาศัย การวางเงื่อนไขและการเสริมแรง เช่น ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม ทําให้ทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยมจึงได้รับ ความสนใจอย่างกวา้ งขวางในวงการจิตวิทยาอีกกล่มุ หนง่ึ 3. ทฤษฎบี ุคลกิ ภาพโดยแบง่ ตามประเภท (Type Theories) สําหรับแนวคิดในการอธิบายบุคลิกภาพของมนุษย์โดยวิธีการจัดแบ่งตามประเภท (type) ของ โครงสร้างทางร่างกายนั้นมีมาต้ังแต่สมัยกรกี โบราณแล้ว สําหรับในปัจจุบันนักจิตวิทยาท่ีใช้การแบ่งบุคลิกภาพ ตามประเภทนั้นไดแ้ ก่ 3.1 ทฤษฎีของเชลดอน (Sheldon Theory) ผู้ต้ังทฤษฎีนี้ ได้แก่ วิลเลียม เชลดอน (William Sheldon) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ที่ได้ทําการศึกษาบุคลิกภาพโดยพิจารณาโครงสร้างของร่างกายจาก นักศึกษาจํานวนนับพันๆ คน จนได้ข้อสรุปเก่ียวกับโครงสร้างทางร่างกายของมนุษย์ไว้ 3 ประเภท และแต่ละ ประเภทก็ตา่ งก็มีบคุ ลกิ ภาพเฉพาะของตน ดังน้ี 1) ประเภทอ้วนเต้ีย (endomorphy) มีบุคลิกภาพร่าเริง มีอารมณ์ขันชอบสนุกสนาน ชอบสบาย รับประทานอาหารจกุ จกิ เสียงดงั โกรธงา่ ยหายเร็ว 2) ประเภทสมส่วน (mesomorphy) มีบคุ ลกิ ภาพแข็งแรง มีกาํ ลังมาก กระฉบั กระเฉง วอ่ งไว ชอบกฬี า รักการผจญภยั กล้าหาญ

ห น้ า | 28 3) ประเภทผอมสูง (ectomorphy) มีบุคลิกภาพไหลห่อ เคร่งขรึม จริงจัง ไวต่อความรู้สึก ไมค่ อ่ ยชอบเขา้ สังคม อ้วนเตี้ย สมส่วน ผอมสงู รปู ท่ี 12 แสดงลักษณะบคุ ลกิ ภาพจากโครงสร้างของร่างกายตามทฤษฎีของเชลดอน 3.2 ทฤษฎีของเคริตชเมอร์ (Kretschmer Theory) ทฤษฎีนี้เป็นแนวคิดของเออร์เนสต์ เคริตช เมอร์ (Ernest Kretschmer) จติ แพทย์ชาวเยอรมัน ซง่ึ มีลกั ษณะการแบง่ บคุ ลกิ ภาพคลา้ ยคลึงกับของเชลดอน พบว่าคนที่มีลักษณะโครงสรา้ งทางร่างกายทัง้ 4 ประเภท มีบุคลกิ ภาพแตกตา่ งกนั ดังนี้ 1) ประเภทอ้วนเต้ีย พุงพลุ้ย (pyknic type) มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผย แสดงตัว ร่าเริง สนกุ สนาน เสยี งดัง 2) ประเภทสมส่วน (atheletic type) บุคลิกภาพมีเสน่ห์ กล้าได้กล้าเสีย ชอบออกกําลังกาย รักการตอ่ สู้ 3) ประเภทผอมสงู (asthenic type) บคุ ลิกภาพเก็บตัว เครง่ ขรึม วิตกกงั วลงา่ ย กระตือรอื รน้ 4) ประเภทผิดส่วนไม่สมประกอบ (dysphastic type) มีบุคลิกภาพทางกายผิดปกติ กล่าวคือ ตัวใหญ่เกินไป เต้ียเกนิ ไป ไม่ได้ส่วน มักจะมปี มด้อย เจ้าอารมณ์ ขาดความเช่อื ม่ัน เจ้าคิดเจ้าแคน้ หวาดระแวง เป็นตน้ แคทเทล (Cattel) กล่าววา่ แตล่ ะบคุ คลจะสามารถอธบิ ายได้ตามคณุ ลักษณะ ของบคุ คลเช่น มีความ เป็นมิตร ติดต่อสัมพันธ์กัน ชอบเข้าสังคม แจกแจงจากลักษณะนสิ ัยซ่อนเร้น (Source traits) ซ่ึงพฤติกรรมต้น จะมีอยู่ 16 แบบ และมีลักษณะค้านกันเป็นคู่ เช่น พ่ึงตนเองตรงข้ามกับพึ่งพวกพ้อง หรือใฝ่อิทธิพลกับคล้อย ตาม เรียกลักษณะเหลา่ นวี้ ่า นสิ ยั ท้งั 16 ของบคุ ลกิ ภาพ แฮนส์ ไอเซงค์ (Hans Esenck) ได้มีการพัฒนาทฤษฏีที่จะอธิบายว่าทําไมแต่ละบุคคลจึงมี ความแตกต่างกันในทางบุคลิกภาพและพฤติกรรม คุณลักษณะบุคลิกภาพท่ีสําคัญ มี 4 คุณลักษณะ คือ พฤติกรรมปกปิด(Introversion) พฤติกรรมเปิดเผย(Extroversion) และพฤตกิ รรมท่ีมัน่ คง(Stability) แนวโนม้ โรคประสาท(Neuroticism) ต่างก็มีจุดเร่ิมต้นมาจากทางด้านชีววิทยา ขึ้นอยู่กับจํานวนกิจกรรมในระบบ ประสาทของแต่ละบุคคล กิจกรรมนี้จะจูงใจให้แต่ละบุคคลมีการพัฒนาไปในแนวทางที่แน่นอน ข้ันสุดท้าย บุคลิกภาพจะได้มาจากระบบประสาทของแต่ละบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และจาก ประสบการณ์ทแี่ ตล่ ะบุคคลได้รบั มาแล้ว

ห น้ า | 29 บุคลิกภาพที่มีพฤติกรรมเปิดเผย มีธรรมชาติระบบประสาทที่มีความสงบเงียบ เกิดจากธรรมชาติของ ระบบประสาท ที่ไม่ต้องการแสวงหาส่ิงเพิม่ เติมที่มีความตนื่ เต้น จึงมีพฤติกรรมชอบอยู่ตามลําพัง บุคคลทุกคน จะมีบุคลิกภาพเป็นแบบพฤติกรรมเปิดเผยหรือพฤติกรรมปกปิดก็ได้ หรือจะมีพฤติกรรมทั้งแบบเปิดเผยและ ปกปดิ ก็ได้ 4. กลุ่มทฤษฏีบุคลิกภาพโดยแบง่ ตามคณุ ลักษณะเฉพาะตวั (Traits Theories) กลุ่มน้ปี ระกอบดว้ ย 2 ทฤษฎี ไดแ้ ก่ 4.1 ทฤษฎีอุปนิสัยของอัลล์พอร์ต (Allport’s Trait Theory) เจ้าของทฤษฎีน้ี ได้แก่ กอร์ดอน อัลล์พอร์ต (Gordon Allpor; 1897-1967)นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ความจริงแล้วอัลล์พอร์ตมีพ้ืนฐานเริ่มต้น มาจากการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์และปรัชญา ต่อมาภายหลังจึงหันกลับมาสนใจและศึกษาวิชาจิตวิทยา จนสําเร็จในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) หลังจากน้ันจึงได้เดินทางไป ศึกษาเพิ่มเติมในมหาวิทยาลัยชั้นนําอีกหลายแห่งในประเทศเยอรมันนีและอังกฤษ อัลล์พอร์ตได้รับเกียรติ แต่งต้ังให้เป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง นอกจากน้ียังดํารงตําแหน่งประธาน องคก์ รสําคญั ทางจติ วทิ ยาอกี หลายสถาบนั ด้วย แนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพตามทฤษฎีอุปนิสัย (Trait theory) ของอัลล์พอร์ต เขาเช่ือว่า บุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากระบวนการทํางานของอุปนิสัย (trait) ในตัวบุคคลท่ีสะท้อนออกมาให้เห็นในรูป ของพฤติกรรมภายนอก ซึ่งอุปนิสัยของแต่ละคนจะมีระดับที่แตกต่างกันจึงทําให้แต่ละคนมีบุคลิกภาพที่ แตกต่างกันไปด้วย เขาเช่ือว่าบุคลิกภาพจะทําหน้าท่ีเหมือนตัวประสานระหว่างร่างกายกับจิตใจใน การตอบสนองต่อส่ิงแวดล้อม เท่ากับว่าบุคลิกภาพจะทําหน้าท่ีสําคัญคือ แสดงออกให้เห็นถึงความสามารถใน การปรบั ตัวของบุคคลตอ่ สิง่ แวดล้อมนั่นเอง และจากการที่อลั ลพ์ อร์ตให้ความสําคัญตอ่ กระบวนการทํางานของ อุปนิสัยที่มีต่อบุคลิกภาพของบุคล จึงทําให้มีการศึกษาเร่ืองอุปนิสัยของมนุษย์อย่างจริงจังและลึกซึ้ง จนกล่าว วา่ อลั ลพ์ อร์ตเปน็ ผู้ใหก้ าํ เนดิ จติ วิทยาอปุ นสิ ัย (Trait Psychology) ข้นึ เป็นคร้ังแรกในวงการจิตวิทยา คาํ ว่าอุปนิสยั มีความหมายใกลเ้ คียงกบั คําอีกหลายคาํ เช่น นิสัย (habits) ทัศนคติ (attitude) ลักษณะ (types) ซ่ึงท้ังส่ีคําน้ันต่างก็เป็นสิ่งท่ีกําหนดแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรมของบุคคลทั้งสิ้น และอัลล์พอร์ต ได้จําแนกอปุ นิสัยออกเปน็ สว่ น ๆ เพือ่ ใชใ้ นการอธบิ ายบุคลิกภาพไว้ ดังน้ี 1) อุปนิสัยพื้นฐาน (Common Traits) อุปนิสัยของบุคคลที่มีความคล้ายคลึงกันเน่ืองจากเกิด และเติบโตภายในสังคมและวัฒนธรรมเดียวกัน จึงทําให้มีอุปนิสัยส่วนหน่ึงท่ีคล้ายคลึงกัน ดังน้ันการพิจารณา อุปนิสัยพ้ืนฐานจึงเป็นการพิจารณาเปรียบเทียบบุคลิกภาพได้ในภาพกว้างๆ เท่าน้ัน อัลล์พอร์ตยํ้าว่ามนุษย์ทุก คนจะมีความแตกต่างอยู่ในตัว จึงเป็นไปไม่ได้ว่าบุคคลสองคนจะมีอุปนิสัยท่ีเหมือนกันแม้ว่าจะเกิดในสังคม เดียวกนั กต็ าม ดงั น้นั การนําอปุ นิสัยพื้นฐานมาใช้ในการอธบิ ายบุคลกิ ภาพของแต่ละคนจึงไม่ถูกตอ้ ง แตค่ วรจะ ศึกษารายละเอยี ดของอปุ นิสยั ส่วนบุคคล (personal disposition traits) เปน็ หลักสาํ คญั ด้วย 2) อุปนิสัยส่วนบุคคล (Personal Disposition Traits) หมายถึง อุปนิสัยท่ีเป็นลักษณะ เอกลกั ษณ์เฉพาะตวั ของบคุ คล ซ่ึงแต่ละคนจะมีแตกต่างกันไป เมือ่ เป็นเช่นนีจ้ งึ ไม่สามารถนาํ อุปนิสัยส่วนน้ีของ แต่ละคนมาเปรียบเทียบกันได้ ดังน้ันอุปนิสัยส่วนบุคคลจึงถือว่าเป็นปัจจัยสําคัญที่ใช้ศึกษาร่วมกับอุปนิสัย พ้ืนฐานในการอธิบายบุคลกิ ภาพของแต่ละบุคคล อัลล์พอร์ตได้แบ่งอุปนสิ ัยสว่ นบุคคลไว้สามระดับตามอิทธิพล ทีม่ ตี ่อพฤตกิ รรมของบุคคลไว้ดังน้ี ก. อุปนิสัยหลัก (cardinal disposition traits) หมายถึง อุปนิสัยที่เป็นลักษณะเด่นชัดที่ บุคคลนั้นแสดงออกมาเหนืออุปนิสัยอ่ืน ๆ ซ่ึงยากจะลบล้างหรือปิดบังซ่อนเร้นเอาไว้ ดังนั้นอุปนิสัยหลักจึงมี

ห น้ า | 30 อิทธพิ ลต่อพฤติกรรมของบคุ คลเกือบทุกดา้ น จนกระทงั่ เมือ่ เอย่ ถึงบคุ คลใดขึน้ มาจะทําใหน้ ึกถึงอปุ นิสัยของเขา ทนั ที ข. อุปนิสัยร่วม (central traits) หมายถึง กลุ่มลักษณะอุปนิสัยท่ีบุคคลแสดงออกมาใน สถานการณ์ต่าง ๆ เพียง 5-10 ลักษณะเท่านั้น ไม่ได้แสดงออกมาท้ังหมด แต่จะสามารถอธิบายถึงบุคลิกภาพ ของบุคคลนน้ั ไดใ้ กลเ้ คยี งมากที่สดุ ค. อุปนสิ ัยทุติยภมู ิ (secondary traits) หมายถึง อปุ นิสยั ท่ัวไปหลาย ๆ อย่างท่ีมอี ย่มู ากมาย ในตัวบุคคลแต่เป็นอุปนิสัยแบบกวา้ งๆ ซ่ึงโดยทวั่ ไปมักจะเก่ียวกบั ความคิดเห็น ทศั นคติ รสนิยมในเร่ืองใดเร่อื ง หน่ึงหรือสง่ิ ใดส่งิ หนึง่ ในการอธิบายบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลน้ัน อัลล์พอร์ตจึงนิยมใช้อุปนิสัยส่วนบุคคลท้ังสามระดับ มาเป็นปัจจัยในการพิจารณา ทั้งนี้เพราะอัลล์พอร์ตเชื่อว่าเมื่อมีสิ่งเร้าหรือมีสถานการณ์ใดเกิดข้ึน อุปนิสัย เหล่าน้ีจะทําหน้าท่ีสร้างแรงจูงใจให้เกิดการแสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนองสถานการณ์หรือสิ่งเร้าน้ัน ๆ ใน หลายรูปแบบ สิง่ เรา้ อปุ นิสยั บุคลกิ ภาพ คนถือของหนกั มีนา้ํ ใจ - วิ่งเขา้ ไปช่วยถือ - ซอื้ น้าํ มาใหด้ ่มื - วิ่งไปเอารถเข็นมารบั รปู ที่ 13 แผนภูมิแสดงใหเ้ หน็ ว่าบคุ ลิกภาพเปน็ ไปตามอุปนสิ ยั ของแต่ละบคุ คลตามทฤษฎขี องอัลลพ์ อร์ต 4.2 ทฤษฎีลักษณะเฉพาะของแคตเตลล์ (Cattell’s Traits Theory) เรมอนด์ บี. แคตเตลล์ (Raymond B. Cattell; 1905) นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ มีช่ือเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีบุคลิกภาพท่านหนึ่ง ระหว่าง ท่ีเขาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยคิง (King University) ในกรุงลอนดอน เขาได้มีโอกาสเป็นผู้ช่วยนักจิตวิทยาที่มี ช่ือเสียงหลายท่าน ทําให้แคตเตลล์ได้รับแนวคิดจากการใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) และ วิธีการทางสถิติมาช่วยในการอธิบายทฤษฎีบุคลิกภาพของเขา ดังนั้นทฤษฎีลักษณะเฉพาะของแคตเตลล์จึงมี ชือ่ เรียกอีกอยา่ งหน่ึงว่าทฤษฎวี ิเคราะหอ์ งค์ประกอบ (factor-analytic theory) หลังจากจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยคิงแล้ว แคตเตลล์จึงได้มีโอกาสร่วมงานกับธอร์นไดก์ (Thorndike) ท่ีมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) ในกรุงนิวยอร์ก จากน้ันจึงย้ายไปเป็น อาจารย์สอนวิชาจิตวิทยาในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของประเทศอังกฤษ เช่น มหาวิทยาลัยคลาร์ก (Clark University) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ในท่ีสุดจึงย้ายกลับมาสอนที่มหาวิทยาลัย อิลินอยส์ (Illinois University) ในปี ค.ศ. 1944 แคตเตลล์ ได้สร้างผลงานท่ีมีชื่อเสียงไว้มากมายโดยเฉพาะ เกี่ยวกับแบบทดสอบบุคลิกภาพที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ 16PF, IPAT, PTB เป็นต้น ซ่ึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ วงการจติ วิทยาอยา่ งกวา้ งขวาง แนวความคิดเก่ียวกับบุคลิกภาพของแคตเตลล์น้ันคล้ายคลึกงกับของอัลล์พอร์ต กล่าวคือ บุคลิกภาพ ของแต่ละคนเป็นผลมาจากอิทธิพลของอุปนิสัยที่แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าสามารถทําความเข้าใจอุปนิสัยทั้งสาม ระดับของแต่ละคนได้แล้ว จะสามารถทํานายบุคลิกภาพของบุคคลนั้นได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด แต่นอกเหนือจากน้ีแคตเตลล์ยังให้ความสนใจที่จะศึกษาถึงรายละเอียดของอุปนิสัยแต่ละลักษณะโดยการหา ความสัมพันธ์ด้วยวิธีการใช้วิธีวิเคราะห์ตัวประกอบ (factor analysis) แคตเตลล์เริ่มต้นจากการศึกษา บุคลิกภาพของคนหลายประเภทในวัยต่าง ๆ เป็นจํานวนมาก โดยใช้วิธีการหลายวิธี เช่น การใช้แบบทดสอบ

ห น้ า | 31 สังเกต ประเมินค่า ศึกษาภายในห้องทดลอง และวิธีอื่น ๆ ที่ได้รับการยอมรับถึงความเท่ียงตรงในการศึกษา พฤติกรรม เม่ือได้ค่าคะแนนจากวิธีการเหล่านั้นแล้วจึงนํามาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของลักษณะต่าง ๆ ทางบุคลิกภาพโดยวิธีการวิเคราะห์ตัวประกอบ (factor analysis) และจัดอันดับกลุ่ม (cluster analysis) ทําใหเ้ ขาไดข้ อ้ สรุปถงึ ลกั ษณะบุคลิกภาพเปน็ 2 กลุม่ ใหญ่ ๆ คือ 1) ลักษณะอุปนิสัยพื้นผิว (Surface Traits) หมายถึง ลักษณะของบุคลิกภาพภายนอกที่ บุคคลแสดงออกมาในลักษณะเปน็ กลุ่มของพฤติกรรมหลาย ๆ ลกั ษณะด้วยกัน เชน่ เปน็ คนคล่องแคล่ว พูดเร็ว สนกุ สนาน เป็นกนั เอง ลกั ษณะพนื้ ผิวแตล่ ะอย่างท่ีรวมกันเป็นกลุม่ นี้แคตเตลล์เช่ือว่าจะมลี ักษณะคล้ายคลึงกัน จึงสามารถเป็นกลุ่มเดียวกันได้ จะเห็นได้ว่าลักษณะพ้ืนผิวจึงมีความใกล้เคียงกับอุปนิสัยร่วม (central traits) ของอัลล์พอร์ตมาก แตกต่างกันท่ีว่าของอัลล์พอร์ตนั้นนําอุปนิสัยต่าง ๆ เหล่านั้นมาจัดกลุ่มเอง แต่ของแคต เตลล์นั้นจัดกลุ่ม (cluster analysis) ด้วยการใช้วิธีรวบรวมข้อมูลและหาความสัมพันธ์ของลักษณะต่าง ๆ ของบุคลิกภาพที่เป็นลักษณะพื้นผิดเดียวกนั เขา้ ด้วยกัน โดยจัดบุคลิกภาพท่มี ีค่าสหสมั พันธ์ต้ังแต่ 60 ข้ึนไปให้ อยู่ในกลมุ่ เดียวกนั 2) ลักษณะอุปนิสัยด้งั เดิม (Source Traits) หมายถึง ลักษณะอปุ นสิ ัยภายในที่แทจ้ รงิ ของแต่ ละบุคคล ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม หล่อหลอมกันขึ้นเป็นอุปนิสัยประจําตัว ทําให้ เปล่ียนแปลงค่อนข้างยาก อุปนิสัยดั้งเดิมน้ีเองจึงถือเป็นพื้นฐานบุคลิกภาพของบุคคลทั้งทางด้านบวกและลบ การศึกษาเพ่ือหาลักษณะอุปนิสัยดั้งเดิม (source traits) นั้นแคตเตลล์ใช้การหาค่าความสัมพันธ์ด้วยวิธี วิเคราะห์ตัวประกอบ โดยหาว่าลักษณะอุปนิสัยใดบ้างที่มีค่าสหสัมพันธ์สูง ลักษณะอุปนิสัยใดบ้างที่มีค่า สหสัมพันธ์ตํ่า แล้วจัดเป็นกลุ่มแยกออกจากกัน นอกจากน้ียังศึกษาต่อไปอีกว่าลักษณะอุปนิสัยด้ังเดิมมี ความสัมพันธ์ต่อบุคลิกภาพอย่างใดบ้าง และผลจากการศึกษาคร้ังนี้แคตเตลล์ได้จําแนกลกั ษณะอุปนิสัยด้ังเดิม ได้ทั้งส้ิน 16 ลักษณะ ซึ่งต่อมาภายหลังแคตเตลล์จึงได้สร้างแบบทดสอบบุคลิกภาพเพื่อวิเคราะห์บุคลิกภาพ ของบุคคลโดยยึดแนวทางวิเคราะห์จากลักษณะอุปนิสัยด้ังเดิมท้ัง 16 ด้านนี้ แบบทดสอบบุคลิกภาพฉบับน้ีมี ช่ือว่า 16PF (Sixteen Personality of Factor Questionnaire) ดังน้ัน จะเห็นได้ว่าทฤษฎีบุคลิกภาพของ แคตเตลล์จงึ ให้ความสาํ คญั ตอ่ ลกั ษณะอปุ นิสยั ดง้ั เดิมของบคุ คลอยา่ งมาก จากท่ีกล่าวรายละเอียดมาท้ังหมดแล้วนี้ สามารถสรุปได้ว่าทั้งทฤษฎีอุปนิสัยของอัลล์พอร์ตและทฤษฎี ลักษณะเฉพาะของแคตเตลล์ ต่างก็ให้ความเห็นตรงกันที่ว่าโครงสร้างบุคลิกภาพของแต่ละคนนั้นเป็นผลมาจาก ความสมั พนั ธ์ของกลมุ่ อุปนิสัยภายในท่ีแตกต่างกันจนกลายเปน็ เอกลกั ษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคลในทส่ี ุด 5. กลุ่มทฤษฎกี ารเรียนรู้ทางสงั คม (Social Learning Theories) นักจิตวิทยากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยม แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎี บุคลิกภาพ จึงให้ความสนใจพฤติกรรมที่มองเห็นได้ (overt behavior) มากกว่าพฤติกรรมภายใน (covert behavior) โดยมีความเห็นว่าบุคลิกภาพของแต่ละคนเป็นผลมาจากการเรียนรู้ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับเงื่อนไข การเสริมแรง และการเลียนแบบ ดั้งนัน้ จึงเรียกกลุ่มทฤษฎีบุคลกิ ภาพกลุ่มน้ีอีกชื่อหน่ึงว่าทฤษฎีกลุ่มพฤตกิ รรม นิยม (behavior theories) ซึ่งประกอบไปดว้ ยทฤษฎบี ุคลกิ ภาพ 2 ทฤษฎี ได้แก่ 5.1 ทฤษฎกี ารวางเงอื่ นไขแบบจงใจกระทาํ (Operant Conditioning Theory) ความเข้าใจ สภาพการณ์ และพฤติกรรม ทําไมแต่ละบุคคลจึงแสดงการกระทําท่ีแตกต่างกัน ทั้งท่ีใน สภาพการณท์ เี่ หมือนกนั และทําไมในบคุ คลคนเดียวกันจะแสดงการการทําดว้ ยความยุติธรรมในโอกาสทต่ี า่ งกัน นักพฤติกรรมมีความเห็นว่า ท่ีเป็นเช่นน้ีเพราะว่าแต่ละบุคคลจะรู้จักการใช้ลักษณะเฉพาะบุคคลตามแต่ละ สภาพการณ์

ห น้ า | 32 วอลเตอร์ มิสเชล (Walter Mischel) มีความเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นรางวัลท่ีบุคคลเคยได้รับและ เป็นประสบการณ์ในสภาพการณท์ ่ีเหมือนกัน เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อสภาพการณ์ ความเข้าใจที่ เป็นลักษณะเฉพาะต่อสภาพการณท์ ่เี กดิ ขนึ้ การใหค้ ุณคา่ ความสําคัญต่อสิ่งเร้าโดยเฉพาะ เช่น เงิน หรอื การเขา้ กับบุคคลอน่ื ได้ เปา้ หมายและวัตถุประสงค์ท่ไี ด้กาํ หนดไว้ ย่อมขึน้ อยู่กับบุคคลที่อยรู่ อบตัวเขา และความสําคัญ ในการพยากรณ์บุคลิกภาพอีกด้วย นักทฤษฎีลัทธิ พฤติกรรมเน้นบทบาทความคิดของแค่ละบุคคล ความรู้สึก และการคาดหวงั ในบุคลกิ ภาพ เรียกวา่ ทฤษฎีการเรยี นรู้ทางสังคม การศึกษาบุคลิกภาพโดยใช้วิธีการเรียนรู้ทางสังคม เน้นตัวบุคคล ส่ิงแวดล้อมและ พฤติกรรมล้วนแต่ เป็นส่วนประกอบท่ีมีความสําคัญ ถึงแม้ว่าพฤติกรรมจะเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้การ ตัดสินโดยอาศัยสภาพการณ์ที่มี ตัวบุคคลอยู่ในสภาพการณ์นั้น กระบวนการความเข้าใจ ประสบการณ์ที่เคยผ่านมาแล้วและบุคคลอ่ืนจะช่วย ทําให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมีส่วนช่วยทําให้แต่ละบุคคลเกิดแนวทางปรับปรุงพฤติกรรมตาม สภาพการณ์น้ัน นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเป็นจํานวนมากเห็นว่าพฤติกรรมคือ การมีปฏิสัมพันธ์อย่าง ตอ่ เนอื่ ง ระหวา่ งคุณลกั ษณะเฉพาะบุคคลของแตล่ ะบคุ คลและสิง่ แวดลอ้ มทอี่ ยรู่ อบตัว แอลเบิร์ท แบนดูร่า (Albert Bandura) นักทฤษฏีการเรียนรู้ทางสังคมท่ีมีช่ือเสียง ชี้ให้เห็นว่า กระบวนการความเข้าใจเป็นศูนย์กลางของการกระทําท้ังหลาย แบนดูร่ามีความเชื่อว่า มนุษย์มีศักยภาพใน การใช้สัญลักษณ์เป็นกระบวนการ และสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ท่ีเกิดขึ้นแก่ ตนเองให้เป็นการนําไปสู่ การกระทําในอนาคต บุคคลมีความสามารถสร้างสรรค์วิทยาการใหม่ด้วยการลงมือกระทํา โดยการรู้จักใช้ ความรู้และพลังอํานาจในการรู้จักใช้สัญลักษณ์พฤติกรรมของบคุ คล มิใช่อาศัยเพียงแต่ประสบการณ์ท่ีเคยผ่าน มาแล้วและมิใช้ปฏิกิริยาตอบสนองในทันทีทันใดต่อ ส่ิง แวดล้อม แต่เป็นการควบคุมโดยความคิดท่ีมองเห็น การณ์ไกล นั้นก็คือ อนาคตที่วางแผนไว้ ล่วงหน้าหรือกําหนดลําดับขั้นของการกระทําไว้เป็นการล่วงหน้า ส่วนมากพฤติกรรมของแต่ ละบุคคลถูกจูงใจและควบคุมโดยมาตรฐานภายในตัวบุคคล การประเมินผล ปรับความคิดและ พฤติกรรมได้ รูปแบบของความคิดที่มีผลต่อการกระทําทั้งหลาย แบนดูร่ามีความเช่ือว่า บุคคลมีการตัดสินใจโดยการใช้ความสามารถของตนท่ีจะจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อสภาพการณ์ท่ี ต่างกัน นัน้ กค็ ือศูนยก์ ลางทเ่ี รยี กว่า ประสทิ ธิภาพของตนเอง อิทธิพลท่ีเกิดจากประสิทธิภาพการทํางานของบุคคล เป็นส่ิงท่ีทําให้บุคคลเกิดการกระทําโดยใช้ ความอุตสาหะในกจิ กรรมแต่ละอย่าง และถ้าเป็นงานทบี่ คุ คลนัน้ มีความกระตือรือร้นหรือมีความศรัทธา บุคคล นัน้ ก็สามารถเลือกระดับประสิทธิภาพการทํางานของเขาได้ การรจู้ ักสังเกตตัวอย่างบคุ คลอ่ืนท่มี ีความสําเรจ็ ใน การทํางาน เป็นสิ่งจูงใจให้บุคคลเกิดการเปล่ียนแปลงสถานภาพทางฐานะความเป็นอยู่ในการดํารงชีพของ ตนเองไดด้ ขี น้ึ แบนดูร่ามีความเห็นว่า การกระทําท้ังหลายของบุคคลเกิดข้ึนได้จากพฤติกรรม ความเข้าใจปัจจัยส่วน บุคคลและอิทธิพลของสงิ่ แวดลอ้ ม การกระทําของแต่ละบคุ คลจะมพี ลงั แตกต่างกันโดยจะแปรตามสภาพการณ์ เงื่อนไขของสิ่งแวดล้อมในขณะใดขณะหน่ึงซึ่งจะมีพลังอิทธิพลต่อ พฤติกรรม เช่น เมื่อคนกระโจนลงในน้ําลึก ทุกคนจะพยายามวา่ ยน้ําข้ึนมา การเรียนรูโ้ ดยใช้การสงั เกตจากบคุ คลอ่นื เป็นสง่ิ สาํ คญั ในการพัฒนาบคุ ลิกภาพ แบนดูร่า กลา่ วว่า บคุ คลรู้จักสงั เกต พฤติกรรมของบคุ คลอนื่ และรู้จกั ดวู ่าหลังจากการแสดงพฤตกิ รรมนั้นแล้ว ผลที่ตามมาจะได้รับรางวัลหรือการลงโทษ ถึงแม้ว่าพฤติกรรมจะถูกควบคุมโดยลําดับข้ันต่างๆ แตะยังมีผลต่อ ความ เขา้ ใจและการประเมนิ สภาพการณข์ องบุคคล

ห น้ า | 33 6. ทฤษฎบี คุ ลกิ ภาพ แบบมนุษยนยิ ม (Humanist Personality Theory) ทฤษฎีบุคลิกภาพแบบมนุษยนิยม แนะนําเร่ืองคุณค่าของการให้ความเคารพโดยปราศจากเง่ือนไขต่อ คนอื่น ซึ่งในความเป็นจริงนําไปสู่การปรับเปล่ียนบุคลิกภาพที่ดีกว่า ยึดถือแนวทางอิสระของ 2 นักทฤษฎี จิตวทิ ยาประกอบดว้ ย อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) มาสโลว์มีทรรศนะเหมือนกับฟรอยด์ มีความเชื่อ เกี่ยวกับ การจูงใจมนษุ ย์ แตท่ รรศนะของมาสโลว์มีเหตผุ ลทมี่ ีความแตกตา่ งจากทรรศนะของฟรอยดท์ ีม่ ีความเช่อื ในพลงั อํานาจ ส่ิงที่บุคคลมีมาต้ังแต่แรกเกิด ล้วนแต่เป็นการจูงใจในทางลบ แต่มาสโลว์มีความเห็นว่า จุดอ่อนในสิ่งที่ บุคคลมีมาต้ังแต่แรกเกิด ควรจะจัดให้เป็นแนวทางบวก ควรจะได้รับการสนับสนุนให้เกิดการจูงใจ เพ่ือให้ มนุษย์สามารถมีชีวติ อยู่รอดได้ จัดเปน็ พลังอํานาจท่ีดีท่ีสดุ และเป็นการจูงใจที่จะต้องกระทําในทันที มาสโลว์มี ความเห็นว่า ถ้าตราบใดที่มนุษย์ยังมีความอดอยากหิวโหยอยู่ สิ่งท่ีมีความสําคัญที่สุดสําหรับเขาก็คืออาหาร น่นั เอง ลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์เป็นท่รี ู้จักกันอย่างแพร่หลาย ไดม้ ีการเสนอแนะว่า เมื่อมนุษย์ได้รับ ความต้องการขั้นพื้นฐานจนเป็นที่พึงพอใจแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการในลําดับข้ันที่สูงต่อไปให้ปรากฏ เห็นอยู่เสมอ ตามทรรศนะของมาสโลว์มีความเช่ือว่า ความต้องการตามลําดับขั้นทั้งหมดเป็นความต้องการของ มนษุ ยท์ ม่ี ีมาต้ังแต่แรกเกิด แตม่ นษุ ย์ทม่ี ีความตอ้ งการตามลําดบั ขน้ั ในขั้นทส่ี ูงขนึ้ มนษุ ย์จึงต้องการ การชนี้ ําใน การกระทํา เมื่อมนุษย์ได้รับความพึงพอใจในลับดับข้ันความต้องการข้ันพื้นฐานคือ ได้รับอาหารเพียงพอแล้ว และมีความปลอดภัยในชีวิตแล้ว ก็เป็นส่ิงที่เชื่อแน่ได้ว่า มนุษย์ก็จะถูกจูงใจให้มีความต้องการทางสังคม หรือมี ความต้องการการยอมรบั ซึ่งเปน็ สว่ นหนึ่งของสงั คมและจะได้รบั การยอมรับนบั ถอื เปน็ อยา่ งสงู เขาก็จะเปน็ ผู้ท่ี รจู้ ักและมีความเขา้ ใจโลกของเขา หรอื จดั เป็นการสร้างสนุ ทรียภาพแห่งความพอใจที่บริสุทธ์ิ มนุษย์สามารถจะ ประสบผลสําเร็จได้ตามเป้าหมาย เขาจะกลายเป็นบุคคลที่มีความสามารถมากท่ีสุดตลอดไปและ มีความสามารถหลายอย่าง หรือเป็นบุคคลท่ีประสบความสําเร็จชีวิต ดังนั้นแต่ละบุคคลจะมีความสามารถใน การพัฒนาตนเองได้เป็นอยา่ งดีทส่ี ดุ ตามแผนการของมาสโลว์ สังคมควรจะมีส่วนช่วยทําให้เกิดความเชือ่ มั่นได้ว่า บุคคลทุกคนสามารถจะ ได้รับความพึงพอใจในความต้องการขั้นพ้ืนฐานทางด้านสรีระ แต่ควรจะให้เขาได้มีการพัฒนาความต้องการใน ลําดับความต้องการข้ันต่อไปอย่างเต็มท่ี เพื่อเป็นการรักษาและควบคุมทางสังคมเหนือสัญชาตญาณของบุคคล มาสโลว์มีความรู้สึกว่า สังคมจะต้องให้การสนับสนุนส่งเสริมบุคคลท่ีมีความอ่อนแอ โดยการเพ่ิมการจูงใจให้ มากข้ึน การท่ีมนุษย์มีแต่การกระทําความเลวก็เป็นส่ิงท่ีไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้เน่ืองจากเป็นผลสืบเน่ืองมาจาก การที่บุคคลถูกขัดขวางในความต้องการข้ันพ้ืนฐาน ดังน้ันบุคคลก็ไม่สามารถทําหน้าที่ตามแรงขับที่เพ่ิมข้ึนได้ บุคคลแจจะมีพฤติกรรมที่มีความเห็นแก่ตัว หรือกระทําการก่อเหตุร้ายแรง เน่ืองจากบุคคลเหล่านั้นจะไม่เคย ได้รับความต้องการตามลําดับขั้นในระดับข้ันท่ีตํ่าที่สุดเพราะว่าบุคคลเหล่านั้นมีความต้องการมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุท่ีทําให้เข้าต้องกลับมาอยู่ในลําดับความต้องการขั้นตํ่าท่ีสุด แต่ก็ยังเปิดโอกาสให้เขามีแนวทาง ไปส่คู วามสาํ เรจ็ สูงสุดในชีวติ ได้ ในการศึกษาความสัมพันธ์เหล่านี้ มาสโลว์ได้ให้ความสนใจมิใช่แต่เพียงผู้ป่วยท่ีมีปัญหาทางด้าน จิตวิทยาเท่านั้น แต่ได้ให้ความสนใจแก่บุคคลท่ีมีความรู้สึกว่าใกล้จะประสบความสําเร็จในชีวิตถึงแม้ว่าบุคคล เหล่านี้จะไม่มีความสมบูรณ์ในตนเอง ซ่ึงเขาอาจจะเป็นบุคคลท่ีมีความด้ือร้ัน โมโหง่ายไม่เป็นประโยชน์หรือ แม้กระท่ังเป็นบุคคลท่ีน่าสงสาร บุคคลเหล่าน้ีแต่ละบุคคลมี ศักยภาพเกือบเต็มที่ได้แก่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) และอเี ลียเนอร์ รูสเวลท์ (Eleanor Roosevelt) แต่บุคคลทั้งสองน้ีก็มิได้มีผลงานสําเร็จเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ สาํ หรบั การทาํ งานทุกชนิดทผ่ี ่านมาตลอดชวี ิต'

ห น้ า | 34 คาร์ล โรเจอร์ส (Carl Rogers) มีความเห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสิ่งท่ีดีและมีความสําคัญมาก โดยมีความพยายามที่จะพัฒนาร่างกายให้มีความเจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพสูงสุด โรเจอร์ส ต้ังทฤษฏีข้ึนมา จากการศึกษาปัญหาพฤติกรรมของคนไข้จากคลินิกการักษาคนไข้ของเขา และได้ให้ความสนใจเก่ียวกับ บุคลิกภาพท่ีเกิดจากสุขภาพเปน็ อยา่ งมาก ทฤษฏีของโรเจอร์เน้นถงึ เกียรติของบุคคล ซ่ึงบคุ คลมีความสามารถ ท่ีจะทําการปรับปรุงชีวิตของตนเองเมื่อมีโอกาสเข้ามิใช่จะเป็นเพียงแต่เหย่ือในขณะท่ีมีประสบการณ์ในสมัยท่ี เป็นเด็ก หรือจากแรงขับของจิตใต้สํานึก แต่ละบุคคลจะรู้จักการสังเกตส่ิงแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา โดยมี แนวทางเฉพาะของบุคคล กล่าวได้ว่า เป็นการับรสู้ ภาพส่ิงแวดล้อมซง่ึ มีความสําคัญมาก โรเจอร์ เชื่อว่า มนุษย์ ทุกคนมตี ัวตน 3 แบบ 1. ตนที่ตนมองเห็น (Self Concept) ภาพท่ีตนเห็นเองว่าตนเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถ ลักษณะเพราะตนอย่างไร เช่น สวย รวย เก่ง ต่ําต้อย ขี้อายฯลฯ การมองเห็นอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือ ภาพทคี่ นอ่นื เหน็ 2. ตนตามท่ีเป็นจริง (Real Self) ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บ่อยครั้งที่ตนมองไม่เห็นข้อเท็จจริง เพราะอาจเป็นสิง่ ที่ทํา ให้รูส้ ึกเสยี ใจ ไม่เท่าเทียมกบั บุคคลอื่น เป็นตน้ 3. ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) ตัวตนท่ีอยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มีไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เช่น ชอบเก็บตวั แต่อยากเก่งเข้าสงั คม เปน็ ต้น ถ้าตัวตนทั้ง 3 ลักษณะ ค่อนข้างตรงกันมาก จะทําให้มีบุคลิกภาพม่ันคง แต่ถ้าแตกต่างกันสูง จะมี ความสบั สนและออ่ นแอดา้ นบคุ ลกิ ภาพ โรเจอร์วางหลักไว้ว่า บุคคลถูกกระตุ้นโดยความต้องการสําหรับการยอมรับนับถือทางบวก นั่นคือ ความต้องการความรกั การยอมรับและความมคี ุณค่า บุคคลเกิดมาพร้อมกับความตอ้ งการการยอมรับนับถือใน ทางบวก และจะไดร้ บั การยอมรับนับถอื โดยอาศยั การศกึ ษาจากการดาํ เนินชีวติ ตามมาตรฐานของบคุ คลอน่ื ทฤษฏีของโรเจอร์กล่าวว่า “ตนเอง” (Self) คือการรวมกันของรูปแบบค่านิยม เจตคติการรับรู้และ ความรู้สึก ซึ่งแต่ละบุคคลมีอยู่และเชื่อว่าเป็นลักษณะเฉพาะของเขาเอง ตนเองหมายถึงฉันและตัวฉัน เป็น ศูนย์กลางที่รวมประสบการณ์ทั้งหมดของแต่ละบุคคล ภาพพจน์นี้เกิดจากการท่ีแต่ละบุคคลมีการเรียนรู้ตั้งแต่ วัยเริ่มแรกชีวิต ภาพพจน์นั่นเองสําหรับบุคคลที่มีการปรับตัวดีก็จะมีการเปล่ียนแปลงอย่างคงที่และมี การปรับตวั ตามประสบการณ์ทแ่ี ตล่ ะคนมอี ยู่ การสังเกตและการรับรู้เป็นเรื่องของตนเองที่ปรับให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมในการทํางาน ตัวอย่าง เช่น พนกั งานบางคนมีการตอบสนองอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพต่อสภาพสงิ่ แวดล้อมในการทาํ งานและการเป็นผู้นาํ 7. ทฤษฎกี ารเรยี นร้แู บบลงมือกระทาํ ของ สกนิ เนอร์ สกินเนอร์มีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ Pavlov นั้น จํากัดอยู่กับพฤติกรรม การเรียนรทู้ เ่ี กดิ ขึน้ เป็นจํานวนนอ้ ยของมนษุ ย์ พฤติกรรมสว่ นใหญ่แลว้ มนุษย์จะเป็นผูล้ งมือปฏิบัติเอง ไมใ่ ชเ่ กดิ จากการจับคู่ระหว่างส่ิงเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov สกินเนอร์ได้แบ่ง พฤติกรรมของ สิ่งมีชวี ิตไว้ 2 แบบ คอื 1. Respondent Behavior คือพฤติกรรมหรือการตอบสนองท่ีเกิดข้ึนโดยอัตโนมัติ หรือเป็น ปฏิกริ ิยาสะทอ้ น (Reflex) ซ่งึ สงิ่ มชี วี ติ ไม่สามารถควบคมุ ตัวเองได้ เชน่ การกระพริบตา นํ้าลายไหล

ห น้ า | 35 2. Operant Behavior คือพฤติกรรมท่ีเกิดจากส่ิงมชี วี ติ เปน็ ผกู้ าํ หนด หรือเลอื กที่จะแสดงออกมา ส่วนใหญจ่ ะเปน็ พฤติกรรมทบี่ ุคคลแสดงออกในชวี ติ ประจาํ วนั เชน่ กนิ นอน พดู เดิน ทาํ งาน ขบั รถ การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์ เกิดจากการเช่ือมโยงระหว่างส่ิงเร้ากับการตอบสนอง เช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสําคัญต่อการตอบสนองมากกว่าส่ิงเร้า จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวาง เงอื่ นไขแบบ Type R นอกจากนสี้ กินเนอร์ให้ความสาํ คัญตอ่ การเสริมแรง (Reinforcement) วา่ มีผลทําให้เกิด การเรียนรู้ที่คงทนถาวร ยิ่งข้ึนด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่ กับผลของการกระทํา คือ การเสริมแรง หรอื การลงโทษ ท้ังทางบวกและทางลบ สกินเนอรไ์ ดอ้ ธบิ าย คาํ วา่ \"พฤตกิ รรม\" วา่ ประกอบดว้ ยองค์ประกอบ 3 ตวั คอื วา่ ประกอบด้วย องคป์ ระกอบ 3 ตวั คอื 1. Antecedents คอื เง่อื นไขนาํ หรอื สงิ่ เร้าท่ีกระตนุ้ ให้เกดิ พฤตกิ รรม (สง่ิ ทีก่ ่อใหเ้ กดิ ขนึ้ กอ่ น) ทกุ พฤติกรรมตอ้ งมเี ง่ือนไขนํา เชน่ วันนตี้ อ้ งเข้าเรยี นบา่ ยโมง พฤตกิ รรมเราถูกกาํ หนดด้วยเวลา 2. Behavior คือ พฤติกรรมท่ีแสดงออก 3. Consequences หรอื ผลกรรม เกิดขึ้นหลงั การทําพฤติกรรม เปน็ ตวั บอกว่าเราจะทาํ พฤตกิ รรม น้นั อกี หรอื ไม่ ดงั น้ัน ไม่มใี ครทท่ี ําอะไรแล้วไม่หวงั ผลตอบแทน ซ่ึงเรยี กยอ่ ๆ ว่า A-B-C ซ่ึงทัง้ 3 จะดาํ เนิน ตอ่ เน่อื งไป ผลทไ่ี ด้รับจะกลับกลายเปน็ สง่ิ ท่ีก่อให้เกดิ ข้นึ กอ่ นอันนาํ ไปสกู่ ารเกิดพฤติกรรมและนําไปสผู่ ลท่ไี ด้รบั ตามลาํ ดบั รูปท่ี 14 กล่องทดลองของสกินเนอร์ สําหรบั การทดลองของสกนิ เนอร์ เขาได้สร้างกลอ่ งทดลองขน้ึ ซึ่ง กล่องทดลองของสกินเนอร์ (Skinner Boxes) จะประกอบด้วยท่ีใส่อาหาร คันโยก หลอดไฟ คันโยกและที่ใส่อาหารเช่ือมติดต่อกัน การทดลองเร่ิม โดยการจับหนูไปใส่กล่องทดลอง เม่ือหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา ทําให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่าการเหยียบคันโยกจะได้รับอาหารคร้ังต่อไปเม่ือหนูหิวก็จะตรงไปเหยียบคันโยกทันที ซงึ่ พฤตกิ รรมดังกล่าวถอื วา่ หนูตวั นเี้ กดิ การเรยี นรแู้ บบการลงมอื กระทาํ เอง หลกั การและแนวคดิ ท่สี ําคญั ของสกนิ เนอร์ 1. การวดั พฤติกรรมตอบสนอง สกินเนอร์ เห็นว่าการศึกษาจิตวิทยาควรจํากัดอยู่เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่าง ชัดเจน และพฤติกรรมท่ีสังเกตได้น้ันสามารถวัดได้โดยพิจารณาจากความถี่ของการตอบสนองในช่วงเวลาใด เวลาหน่งึ หรอื พิจารณาจากอตั ราการ ตอบสนอง (Response rate) น่นั เอง

ห น้ า | 36 2. อัตราการตอบสนองและการเสรมิ แรง สกินเนอร์เชื่อว่าโดยปกติการพิจารณาว่าใครเกิดการเรียนรู้หรือไม่เพียงใดนั้นจะสรุปเอาจาก การเปลี่ยนแปลงการตอบสนอง (หรือพูดกลับกันได้ว่าการท่ีอัตราการตอบสนองได้เปลี่ยนไปนั้นแสดงว่าเกิด การเรียนรู้ขึ้นแล้ว) และการเปล่ียนแปลงอัตราการตอบสนองจะเกิดขึ้นได้เม่ือมีการเสริมแรง (Reinforcement) น้ันเอง สิ่งเร้านี้สามารถทําให้อัตราการตอบสนองเปล่ียนแปลง เราเรียกว่าตัวเสริมแรง (Reinforcer) สิ่งเร้าใดที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองเราเรียกว่าไม่ใช่ตัวเสริมแรง (Nonreinforcer) 3. ประเภทของตวั เสรมิ แรง ตัวเสริมแรงนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ อาจแบ่งเป็นตัวเสริมแรงบวกกับตัวเสริมแรงลบ หรืออาจแบง่ ได้เปน็ ตัวเสริมแรงปฐมภมู ิกับตัวเสรมิ แรงทุติยภูมิ 3.1 ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer) หมายถึง ส่ิงเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซ่ึงเมื่อ ได้รับหรือนําเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจ และทําให้อัตราการตอบสนอง เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเขม้ ข้นขึ้น เช่น อาหาร คาํ ชมเชย ฯลฯ 3.2 ตัวเสริมแรงลบ (Negative Reinforcer) หมายถึง ส่ิงเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเม่ือตัด ออกไปจากสถานการณ์น้ันแล้ว จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปล่ียนไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น เสียง ดงั แสงสว่างจ้า คาํ ตําหนิ ร้อนหรอื เย็นเกินไป ฯลฯ การลงโทษ (Punishment) การลงโทษ (Punishment) คือ การทําให้อัตราการตอบสนองหรือความถ่ีของพฤติกรรมลดลง การลงโทษมี 2 ทางไดแ้ ก่ 1. การลงโทษทางบวก (Positive Punishment) 2. การลงโทษทางลบ (Negative Punishment) ตารางเปรียบเทียบการเสรมิ แรงและการลงโทษ ไดด้ ังน้ี ชนดิ ผล ตวั อยา่ ง การเสริมแรงทางบวก พฤติกรรมเพ่ิมขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้า ผู้เรียนที่ทําการบ้านส่งตรงเวลาแล้ว โดยเฉพาะอย่างย่ิงเป็นสิ่งเร้าที่ ได้รับคําชม จะทําการบ้านส่งตรงเวลา บุคคลนน้ั ต้องการ สมา่ํ เสมอ การเสรมิ แรงทางลบ พฤตกิ รรมเพ่มิ ขน้ึ เม่ือสิ่งเร้าทไี่ ม่เป็น ผู้เรียนท่ีทํารายงานส่งตามกําหนด ที่พึงปรารถนาถูกทําให้ลดน้อยหรือ เวลาจะไม่เกิดความวิตกอีกต่อไป หมดไป ดังน้ันในคร้ังต่อไปเขาก็จะรีบทํา รายงานให้เสรจ็ ตรงตามเวลา การลงโทษ 1 พ ฤ ติ ก ร ร ม ล ด ล ง เ มื่ อ มี สิ่ ง เ ร้ า เมื่อถูกเพ่ือน ๆ ว่า \"โง่\" เพราะตั้ง โดยเฉพาะสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนา คําถามถามผู้สอน ผู้เรียนคนนั้น เกิดข้นึ เลกิ ตัง้ คําถามในชน้ั เรียน การลงโทษ 2 พฤตกิ รรมลดนอ้ ยลง เมื่อนําสงิ่ เร้าที่ ผู้เรียนที่ถูกหักคะแนนเพราะตอบ เขาพึงปรารถนาออกไป ข้ อ ส อ บ ใ น ลั ก ษ ณ ะ ท่ี แ ต ก ต่ า ง จ า ก ค รู ส อ น ใ น ค รั้ ง ต่ อ ไ ป เ ข า จ ะ ไ ม่ ตอบคําถามในลกั ษณะน้นั อีก

ห น้ า | 37 การลงโทษ (Punishment) การเสริมแรงทางลบ และการลงโทษมีลักษณะท่ีคล้ายคลึงกันและมักจะ ใช้แทนกันอยู่เสมอแต่การอธิบายของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน โดยเน้นว่าการ ลงโทษเป็นการระงับหรือหยดุ ยั้งพฤติกรรม พฤติกรรม การเสรมิ แรง เพมิ่ พฤตกิ รรม กอ่ ใหเ้ กดิ การกระทาํ พฤติกรรมนน้ั บ่อยข้ึน พฤติกรรม การลงโทษ ลดพฤติกรรม กอ่ ให้เกดิ การกระทาํ พฤติกรรมนั้นนอ้ ยลง ขอ้ เสียของการลงโทษ 1. การลงโทษไม่ไดท้ ําใหพ้ ฤตกิ รรมเปลย่ี น แค่เกบ็ กดเอาไว้ แตพ่ ฤติกรรมยังคงอยู่ 2. บางครัง้ ทาํ ใหพ้ ฤตกิ รรมทถี่ กู ลงโทษ เพมิ่ ขึ้น เชน่ โดนหา้ มลางาน กเ็ ลยมาแกล้งคนอ่นื ทท่ี ํางาน 3. บางครงั้ ไม่ร้วู า่ ทําไมถูกลงโทษ เพราะเคยทาํ พฤตกิ รรมนน้ั แล้วไมถ่ กู ลงโทษ 4. ทาํ ใหเ้ กดิ อารมณ์ไม่เหมาะสม และนาํ ไปสู่การหลีกเล่ียงและหลีกหนี 5. การลงโทษอาจนาํ ไปสคู่ วามก้าวรา้ ว 6. การลงโทษไมไ่ ดก้ อ่ ใหเ้ กดิ พฤติกรรมท่เี หมาะสม 7. การลงโทษที่รุนแรงอาจก่อใหเ้ กดิ ปัญหาทางกายและใจ การใชก้ ารลงโทษ 1. Time-out คือ การเอาตัวเสริมแรงทางบวกออกจากบุคคล แต่ถ้าพฤติกรรมเด็กหยุดต้องเอา กลับเข้ามาและเสรมิ แรงพฤตกิ รรมใหม่ทันที 2. esponse Cost หรือ การปรับสินไหม คือ การดึงสิทธิ์หรือส่ิงของออกจากตัว เช่น ปรับเงินคนที่ ขบั รถผดิ กฎ 3. Verbal Reprimand หรือ การ ตําหนิหลั ก คือ ห้ามตําหนิที่ Personality ต้องตําหนิ ที่ Behavior ใช้เสียงและหน้าทเี่ รยี บๆ เชอื ดเฉือนหัวใจ 4. Overcorrection คอื การแก้ไขเกนิ กวา่ ทที่ าํ ผดิ แบ่งออกเป็น 4.1. Restitutional Overcorrection คือ การทําส่ิงที่ผิดให้ถูก ใช้กับสิ่งที่ทําผิดแล้วยังแก้ไขได้ เช่น ทาํ เลอะแล้วต้องเชด็ 4.2. Positive-Practice Overcorrection คือ การฝึกทําส่ิงที่ถูกต้อง ใช้กับสิ่งท่ีทําผิดแล้วแก้ไข ไมไ่ ด้อกี เชน่ ฝกึ ทิง้ ขยะใหล้ งถัง 4.3. Negative-Practice คือ การฝึกทาํ สิ่งท่ีผิดเพอื่ ให้เลกิ ทําไปเอง เช่น ถ้าเด็กสบู บหุ รี่กใ็ ห้สบู ซิการ์ การใช้การลงโทษอย่างมปี ระสิทธภิ าพ 1. เม่ือลงโทษแลว้ พฤตกิ รรมตอ้ งลด 2. การลงโทษต้องรุนแรง แตต่ อ้ งไมเ่ กินกว่าเหตุ 3. ควรเตือน 1 ครัง้ ก่อนการลงโทษ และในการเตือนต้องพดู ในสิง่ ทท่ี าํ ได้จรงิ 4. พฤตกิ รรมทจ่ี ะถกู ลงโทษ ควรถกู บรรยายให้ชดั เจนและเฉพาะเจาะจง 5. การลงโทษต้องสมาํ่ เสมอ 6. ถ้าเป็นไปได้ ควรปรับสภาพแวดล้อม เพอ่ื ไมใ่ หพ้ ฤตกิ รรมไม่พึงประสงคก์ ลบั มา 7. เมื่อลงโทษแลว้ ต้องมกี ารเสรมิ แรงพฤติกรรมใหม่ 8. เมือ่ เกดิ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ตอ้ งลงโทษทันที และตอ้ งลงโทษในทรี่ โหฐาน 9. ควรอธิบายวา่ ทาํ ไมพฤติกรรมน้นั ถึงไมด่ ี

ห น้ า | 38 3.3 ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Reinforcer) เป็นสิ่งเร้าท่ีจะสนองความต้องการทางอินทรีย์ โดยตรง ซ่ึงเปรียบได้กับ UCS. ในทฤษฎีของพาฟลอฟ เช่น เมื่อเกิดความต้องการอาหาร อาหารก็จะเป็นตัว เสริมแรงปฐมภมู ทิ จี่ ะลดความหิวลง เป็นตน้ ลําดับข้นั ของการลดแรงขบั ของตวั เสรมิ แรงปฐมภูมิดงั นี้ 1. ความไมส่ มดลุ ย์ในอินทรยี ์ ก่อให้เกิดความต้องการ 2. ความต้องการจะทําใหเ้ กดิ พลังหรอื แรงขับ (drive) ทจ่ี ะกอ่ ใหเ้ กิดพฤติกรรม 3. มพี ฤตกิ รรมเพือ่ จะมุง่ สเู่ ป้าหมาย เพ่ือใหค้ วามต้องการได้รับการตอบสนอง 4. ถึงเป้าหมาย หรือได้รับส่ิงท่ีต้องการ สิ่งท่ีได้รับที่เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ตัวเสริมแรงที่จะ เปน็ รางวัลทีจ่ ะมผี ลให้อยากทําซํ้า และมพี ฤติกรรมทีเ่ ขม้ ขน้ ในกิจกรรมซาํ้ ๆ น้ัน 3.4 ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ โดยปกติแล้วตัวเสริมแรงประเภทนี้เป็นสิ่งเร้าท่ีเป็นกลาง (Natural Stimulus) ส่ิงเร้าที่เป็นกลางน้ี เมื่อนําเข้าคู่กับตัวเสริมแรงปฐมภูมิบ่อย ๆ เข้า ส่ิงเร้าซ่ึงแต่เดิมเป็นกลางก็ กลายเป็นตัวเสริมแรง และจะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับตัวเสริมแรงปฐมภูมิ เราเรียกตัวเสริมแรงชนิดน้ีว่า ตัว เสริมแรงทุติยภูมิ ตัวอย่างเช่น การทดลองของสกินเนอร์ โดยจะปรากฎว่า เมื่อหนูกดคานจะมีแสงไฟสว่างขึ้น และมอี าหารตกลงมา แสงไฟซง่ึ แต่เดมิ เปน็ สิ่งเร้าทเี่ ป็นกลาง ต่อมาเมื่อนําเขา้ คู่กับอาหาร (ตัวเสริมแรงปฐมภมู ิ) บ่อย ๆ แสงไฟกจ็ ะกลายเป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิเช่นเดียวกับอาหาร แสงไฟจึงเปน็ ตัวเสริมแรงทตุ ยิ ภมู ิ ตารางกําหนดการเสริมแรง (SCHEDULES OF REINFARCEMENT) ตวั อยา่ งการใหก้ ารเสริมแรง ตารางการเสริมแรง ลักษณะ ตัวอย่าง ก า ร เ ส ริ ม แ ร ง ทุ ก ค รั้ ง เ ป็ น ก า ร เ ส ริ ม แ ร ง ทุ ก ค ร้ั ง ท่ี ทุ ก ค รั้ ง ท่ี เ ปิ ด โ ท ร ทั ศ น์ แ ล้ ว (Continuous) แสดงพฤติกรรม เห็นภาพ การเสริมแรงตามจํานวนครั้ง ใ ห้ ก า ร เ ส ริ ม แ ร ง โ ด ย ดู จ า ก การจ่ายค่าแ รงตาม จํานวน ของการตอบสนองที่แน่นอน จํานวนครั้งของการตอบสนอง ครง้ั ทข่ี ายของได้ (Fixed - Ratio) ทถี่ ูกตอ้ งดว้ ยอตั ราทแี่ น่นอน การเสริมแรงตามจํานวนคร้ัง ให้การเสริมแรงตามจํานวนครั้ง การได้รับรางวัลจากเครื่อง ของการตอบสนองท่ีไม่แน่นอน ของการตอบสนองแบบไม่แน่นอน เลน่ สลอ๊ ตมาชีน (Variable - Ratio) การเสริมแรงความช่วงเวลาท่ี ให้การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ ทุ ก ๆ สั ป ด า ห์ ผู้ ส อ น จ ะ ทํ า แน่นอน (Fixed - Interval) กําหนด การทดสอบ การเสริมแรงตามช่วงเวลาท่ี ให้การเสริมแรงตามระยะเวลา ผู้สอนสุ่มทดสอบตามช่วงเวลา ไม่แนน่ อน ท่ีไมแ่ นน่ อน ทีต่ ้องการ (Variable - Interval) ลักษณะของตวั เสรมิ แรง 1. Material Reinforcers คือ ตัวเสรมิ แรงทีเ่ ปน็ วัตถุสง่ิ ของ เชน่ มือถือ ขนม 2. Social Reinforcers เป็นสงิ่ ทท่ี ุกคนตอ้ งการ เนื่องจากมนุษยเ์ ปน็ สัตว์สังคม

ห น้ า | 39 2.1. Verbal เป็นคาํ พูด เชน่ การชม (ตอ้ งชมพฤติกรรมท่ีแสดงออก ไม่ใชบ่ คุ ลิกภาพ) 2.2. Nonverbal ภาษากาย เช่น กอด (การกอดเป็น The Best Social Reinforcers ซ่ึงต้อง ใชก้ ับ Positive Behavior) หมายเหต:ุ ถา้ Verbal ไมส่ ัมพันธ์กับ Nonverbal คนเราจะเชอื่ Nonverbal มากกว่า 3. Activity Reinforcers เป็นการใช้กิจกรรมที่ชอบทําที่สุดมาเสริมแรงกิจกรรมท่ีอยากทําน้อย ที่สุด โดยต้องทําตาม Premack Principle คือ ให้ทําส่ิงท่ีอยากทําน้อยที่สุดก่อน แล้วจึงให้ทํากิจกรรมที่ชอบ ทส่ี ุด เช่น เดก็ ท่ีชอบกนิ Chocolate แตไ่ มช่ อบเล่น Pinball ก็ใหเ้ ลน่ Pinball กอ่ นแลว้ จึงใหก้ นิ Chocolate หมายเหตุ: ถา้ สิ่งใดเป็นของตาย คือจะทําหรอื ไมท่ าํ ก็ได้สิ่งนัน้ อยูแ่ ล้ว สิง่ นน้ั จะเป็นตัวเสริมแรงไม่ไดอ้ กี ต่อไป 4. Token Economy จะเป็นตัวเสริมแรงได้เฉพาะเมื่อแลกเป็น Backup Reinforcers ได้ เช่น เงิน ธนบัตรก็เป็นแค่กระดาษใบหนึ่ง แต่ว่ามันใช้ชําระหน้ีได้ตามกฎหมาย ดังน้ัน ถ้ามันใช้ชําระหน้ีไม่ได้ก็เป็นแค่ กระดาษใบหนง่ึ เงินมอี ทิ ธิพลสงู สุด 5. Positive Feedback หรือการให้ข้อมูลป้อนกลับทางบวก จับเฉพาะจุดบวก มองเฉพาะส่วนที่ดี เช่น บอกเด็กวา่ หนทู ํางานส่วนนไ้ี ดด้ ีมาก แต่ส่วนท่เี หลือเอากลับไปแก้นะ 6. Intrinsic Reinforcers หรอื ตวั เสรมิ แรงภายใน เชน่ การช่ืนชมตัวเอง ไม่ต้องให้มใี ครมาชม ปจั จัยที่มผี ลตอ่ การเสริมแรง 1. Timing การเสรมิ แรงต้องทําทันที เช่น แฟนตัดผมมาใหม่ต้องชมทันที ถา้ ชา้ จะถกู ตาํ หนิ 2. Magnitude & Appeal การเสริมแรงต้องตอบสนองความต้องการอย่างพอเหมาะ อย่ามาก ไปหรอื นอ้ ยไป 3. Consistency การเสริมแรงต้องให้สม่ําเสมอ เพราะจะได้รู้ว่าทําแล้วต้องได้รับการเสริมแรง อย่างแนน่ อน ทฤษฎีการเรียนรกู้ ารวางเงอื่ นไขแบบการกระทาํ สามารถสรุปได้ดงั น้ี 1. การกระทําใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มเกิดข้ึนอีก ส่วนการกระทําที่ไม่มี การเสริมแรงแนวโนม้ ท่คี วามถ่ขี องการกระทาํ นน้ั จะลดลง และหายไปในทสี่ ดุ 2. การเสรมิ แรงที่แปรเปล่ยี นทาํ ให้เกิดการตอบสนองกวา่ การเสริมแรงทตี่ ายตัว 3. การลงโทษทาํ ใหเ้ รียนร้ไู ดเ้ รว็ และลมื เรว็ 4. การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อมีการแสดงพฤติกรรมที่ต้องการสามารถช่วยปรับหรือปลูกฝัง นิวัยท่ตี ้องการได้ การนําทฤษฎไี ปประยกุ ต์ใช้ 1. ใช้ในการปลูกฝังพฤติกรรม (Shaping Behavior) หลักสําคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ การกระทําของสกินเนอร์ คือ เราสามารถควบคุมการตอบสนองได้ด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะให้การ เสริมแรงเฉพาะเม่ือมีการตอบสนองที่ต้องการ เพ่ือให้กลายเป็นนิสัยติดตัวต่อไป อาจนําไปใช้ในการปลูกฝัง บุคลิกภาพของบุคคลใหม้ พี ฤตกิ รรมตามแบบท่ตี อ้ งการได้การแสดงพฤตกิ รรมสาธารณะ 1. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) เม่ือมีการแสดงออก ซงึ่ พฤติกรรมจิต สาธารณะ ซ่งึ อาจใชต้ ัวเสริมแรงได้เปน็ 4 ประเภท คือ 1.1 ตัวเสริมแรงที่เป็นส่ิงของ ( material reinforce ) เป็นตัวเสริมแรงที่ประกอบได้ ด้วยอาหาร ของท่ีเลน่ ได้ และส่งิ ของต่างๆ เช่น เส้ือผา้ ของเลน่ รถยนต์

ห น้ า | 40 1.2 ตัวเสริมแรงทางสังคม ( social reinforce ) ตัวเสริมแรงทางสังคมเป็นตัวเสริมแรง ทไ่ี มต่ ้องลงทุนซื้อหามีอยู่กับตัวเราและคอ่ นข้างจะมีประสิทธิภาพสงู ในการปรับพฤตกิ รรม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ คําพูด ได้แก่ คําชมเชย เช่น ดมี าก นา่ สนใจมาก และการแสดงออกทางท่าทาง เช่น ยิ้ม จบั มอื 1.3 ตัวเสริมแรงท่ีเป็นกิจกรรม ( activity reinforce) เป็นการใช้กิจกรรมหรือ พฤตกิ รรมทช่ี อบไปเสรมิ แรงกจิ กรรมหรือพฤติกรรมที่ไมช่ อบ 1.4 ตัวเสริมแรงท่ีเป็นเบี้ยอรรถกร (token reinforce) โดยการนําเบี้ยอรรถกรไปแลก เป็นตวั เสริมแรงอื่นๆได้ เช่น ดาว คปู อง โบนัส เงิน คะแนน 2. การเสริมแรงทางลบ (negative reinforcement) เป็นการทําให้ความถ่ีของพฤติกรรม คงที่หรือเพ่ิมมากข้ึน ซึ่งการเสริมแรงทางลบของผู้สอนควรปฏิบัติ คอื ทําทันทีหรือเร็วท่ีสุด เมือ่ พฤติกรรมท่ีไม่ ต้องการเกิดข้นึ ควรให้มีความรุนแรงพอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ควรให้ผู้ถกู ลงโทษรู้ว่าพฤตกิ รรมใดท่ี ถูกลงโทษและเพราะเหตุใด ควรใช้เหตุผลไม่ใช้อารมณ์ ควรใช้การลงโทษควบคู่กับการเสริมแรงบวก ผู้ลงโทษ ต้องเป็นตัวแบบท่ดี ใี นทกุ ๆดา้ น และการลงโทษควรเป็นวิธีสุดท้าย ถ้าไม่จาํ เปน็ ก็ไมค่ วรใช้การลงโทษ 2. การกาํ จัดพฤติกรรมทไี่ มพ่ ึงประสงค์ 1. ไม่สนใจ แต่ระวงั การเรียกร้องความสนใจ 2. เสริมแรงทุกพฤติกรรมทีไ่ มใ่ ช่พฤตกิ รรมทไ่ี ม่พงึ ประสงค์ 3. เสรมิ แรงพฤตกิ รรมอนื่ แทน 4. เสริมแรงพฤติกรรมท่ีไม่ทําให้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เกิด เช่น เสริมแรงพฤติกรรมน่ัง เพ่ือท่ี พฤตกิ รรมลกุ จะได้ไมเ่ กิด (Incompatible Behavior) 3. การเรยี นการสอน 1. Observable & Measurement คือ สงั เกตและวดั ได้ เช่น หลังเรยี นคอร์สนจ้ี บแล้วจะสามารถ อธบิ ายทฤษฎไี ด้ 2. Conditions คือ เงื่อนไข เช่น เมื่อกําหนดแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบให้ สามารถอ่านข้อมูลและ อภปิ รายประเดน็ ต่างๆได้ 3. Criterion คอื เกณฑ์ เช่น หลังเรียนคอร์สนีจ้ บแล้วจะสามารถทําขอ้ สอบ O-NET ได้ 80% 4. Programmed Instruction and Computer-Assisted Instruction เช่น ใช้โปรแกรมช่วย สอนสําเร็จรูป 5. Mastery Learning คือ เรียนให้ประสบความสําเร็จไปทีละขั้น เช่น ต้องสอบบทท่ี 1 ให้ผ่าน จึงจะสอนบทต่อไป สรุปแนวคิดท่สี าํ คัญของ สกนิ เนอร์ Skinner “สกินเนอร์” ได้กลา่ วไว้ว่า “ การเสรมิ แรงเป็นส่ิงทสี่ าํ คญั ที่ทาํ ใหบ้ คุ ลแสดงพฤตกิ รรมซ้ําแลพฤติกรรม ของบุคคลส่วนใหญเ่ ป็นพฤติกรรมแบบเรียนรู้ปฏิบตั ิและพยายามเน้นวา่ การตอบสนองต่อสงิ่ เรา้ ใดๆของบคุ คล สิ่งเรา้ นน้ั จะต้องมสี ิ่งเสริมแรงอยใู่ นตัว หากลดสงิ่ เสรมิ แรงลงเม่ือใด การตอบสนองจะลดลงเม่อื น้นั ’’

ห น้ า | 41 การวัดบคุ ลกิ ภาพ (Personality Characteristics Subject to Appraisal) บคุ ลิกภาพของบคุ คลเป็นผลของพัฒนาการ ซ่งึ ตอ่ มาจะกลายเป็นลักษณะรวมท่ีบุคคลแสดงพฤติกรรม ต่อส่ิงแวดล้อม ดังน้ัน บุคลิกภาพจึงเป็นผลของพัฒนาการและผลของการ เข้าเก่ียวข้องกับสิ่งแวดล้อม ผสมผสานกัน การจะเข้าใจบุคลิกภาพจําเป็นจะต้องรู้ เก่ียวกับประวัติพัฒนาการของบุคคล แต่การวัด บุคลิกภาพ เราวัดจากการเข้าเกี่ยวข้องกับส่ิงแวดล้อมปัจจุบัน เราคํานึงถึงว่า ปัจจุบัน บุคคลเข้ากับคนอ่ืนได้ดี เพียงใด บุคลิกภาพแสดงออกได้หลายทาง ฉะนั้น จิตวิทยาจึงแบ่งบุคลิกภาพไว้แตกต่างกันข้ึนอยู่กับความ คดิ เหน็ ของแตล่ ะบคุ คล แต่กม็ ีบางอย่างทซี่ อ้ นกันอยู่ ซ่งึ พอจะสรปุ ลกั ษณะของบุคลิกภาพของบคุ คลได้ดงั น้ี ลกั ษณะทางร่างกายและอารมณ์ (Physique and Temperament) ซึ่งได้แก่ ขนาดของรูปร่าง ความ สมบูรณ์แข็งแรง ท่าทาง ตลอดจนหน้าตา นอกจากนั้นยังมีลักษณะอารมณ์ของบุคคล เป็นคนมีความมั่นคง อ่อนไหวแค่ไหน ส่ิงเหล่านีเ้ ปน็ ลักษณะหนึง่ ของบคุ ลกิ ภาพของบคุ คลซ่งึ มี ผลตอ่ คนอ่นื และมผี ลตอ่ ตนเองด้วย 1. เชาวน์ปัญญาและความสามารถอื่น ๆ (Intellectual and Other Abilities) บุคลิกภาพรวมไป ถึงส่งิ ท่ที าํ ใหบ้ ุคคลแตกต่างกันดว้ ย 2. ค่านิยมและความสนใจ (Interests and Values) บุคลิกภาพจะสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจ ตลอดจนคา่ นยิ มที่บคุ คลยดึ ถอื 3. ทัศนคติทางสังคม (Social Attitudes) ทัศนคติเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพ เช่น แบบนิยมใช้ อํานาจ จะเป็นคนท่ีชอบบังคับ ใช้อํานาจ ไม่เชื่อใครง่ายๆ และมีอคติ พวก Dogmatism คิดว่าความเห็นของ ตนถกู ตอ้ งเสมอ หรอื พวก Equalitarianism ทเี่ ชอ่ื ในเรื่องความเสมอภาค เทา่ เทียมกัน 4. แรงจูงใจ (Motivational Disposition) บางครั้งบุคคลทําส่ิงใด เพราะมีแรงจูงใจซึ่งอาจมีทั้ง จติ สาํ นึก (Conscious) และจิตใต้สํานึก(Unconscious) ทําใหแ้ ตล่ ะคนมบี คุ ลกิ ภาพท่แี ตกตา่ งกนั 5. ลักษณะการแสดงออก (Expressive and Stylistic Traits) บางครั้งเราแบ่งบุคคลเป็น style เช่น เป็นคนสุภาพ ชอบสงั คม มีเหตผุ ล และวจิ ารณญาณ 6. แนวโน้มของความผิดปกติทางจิต (Pathological Trends) โดยพิจารณาจากโรคจิตว่าบุคคลมี ลกั ษณะจติ ใจแตกตา่ งจากบุคคลอืน่ แค่ไหน

ห น้ า | 42 บทที่ 3 จิตวทิ ยาสงั คม พฤติกรรมมนุษยแ์ ละพฤติกรรมสังคม (Social Behavior)พฤติกรรมที่เก่ียวข้องกับบุคคลไม่วา่ จะเป็น บุคคลต่อบุคคล บุคคลภายในกลุ่มหรือพฤติกรรมใดๆ ของแต่ละบุคคลน้ัน หากเป็นการกล่าวถึงพฤติกรรม ใดๆ และพฤติกรรมน้นั มสี าเหตกุ ารเกิดมาจากสังคมหรือไดร้ บั อิทธิพลมาจากสังคมแล้วละก็จะเรยี กพฤตกิ รรม น้ันว่าเป็น “พฤติกรรม” เพ่ือให้เข้าใจว่าจิตวิทยาสังคมเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับอะไร มีสาระครอบคลุมถึง ไหน ขอเสนอความหมายทีม่ ีผนู้ ยิ ามไว้ ดังนี้ วฒั นา ศรีสตั ย์วาจา (2534 : 3) นิยามวา่ จิตวิทยาสังคม คือ “การศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เก่ียวกับปัจจัยทางสถานการณ์และบุคคล ซ่ึงมีผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของแต่ละบุคคล เป็นการศึกษา พฤติกรรมระหว่างบุคคล หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์กับบุคคล และเป็นการศึกษาพฤติกรรมทาง สงั คมทง้ั หมด” Michener and Delamater (1999 : 3) นิยามว่า จิตวิทยาสังคม คือ การศึกษาอย่างเป็น ระบบเกยี่ วกับธรรมชาตแิ ละสาเหตุการเกิดพฤตกิ รรมทางสังคมของมนษุ ย์ จะเห็นได้ว่า จากการให้ความหมายจิตวิทยาสังคมแต่ละความหมายนั้น หากพิจารณาวิธีการศึกษา ทางจิตวิทยาสังคมแล้วจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาเพื่อค้นหาความรู้ทางพฤติกรรมมนุษย์ไปสู่ความ ถูกต้องแม่นยํา มองว่าเหมือนนักวิทยาศาสตร์ทั่วๆไป ที่ศึกษาความรู้อย่างเป็นระบบ และมีความลําเอียง น้อยทสี่ ุด (Smith and Mackie, 2000 : 8) อีกมุมหน่ึงของจิตวิทยาสังคมนั้นจะเห็นว่า จิตวิทยาสังคมมีแบบของพฤติกรรม (Core Concern) ท่ีสามารถอธิบายได้เม่ือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมต่อกัน (Social Interaction) อยู่ 4 ลักษณะ (Michener and Delamater, 1999 : 3 – 5) 1. ความเกย่ี วพันระหวา่ งบคุ คลหนึง่ กบั อีกคนหนึ่ง บุคคลในสังคมย่อมได้รับการปะทะสัมพันธ์ระหว่างกัน การเกี่ยวข้องกันนั้นย่อมมีได้หลาย ช่องทางโดยจะออกมาในรูปของการสื่อสารระหว่างกันในเรื่องราวต่างๆมากมาย ความเก่ียวข้องสัมพันธ์กนั จะ เป็นไปในลกั ษณะการใหข้ ้อมูลขา่ วสารหรอื การชกั จูงก็ได้ เมือ่ บคุ คลหน่งึ ไดร้ บั ขอ้ มลู ข่าวสารหรือการชักจงู จาก อีกบุคคลหนึ่งแล้วอาจนําไปสู่การเปลี่ยนความคิดหรือความเช่ือเดิมของตนได้ ต่อจากนั้นความคิดความเชื่อ ของเขาก็จะไปแสดงออกตอ่ บุคลอื่นๆ ในสังคมตอ่ ไป 2. ความเกยี่ วพนั ของกลมุ่ ทมี่ ตี อ่ บคุ คลหนึ่ง พฤติกรรมลักษณะนี้เป็นความเกี่ยวพันของกลุ่มท่ีมีต่อสมาชิกของกลุ่ม โดยธรรมชาติแล้วบุคคล แต่ละคนจะเป็นสมาชิกของกล่มุ หลายกล่มุ อาทิ ครอบครัว กลมุ่ เพื่อน กลุ่มทาํ งาน และกลุ่มสมาคม เปน็ ตน้ กลุ่มถือว่ามีอิทธิพลต่อบุคคลในลักษณะของการเรียนรู้ทางสังคม (Socialization) สมาชิกของ กลุ่มมีการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ ทุกๆ ด้าน และถือได้ว่าเป็นแหล่งหล่อหลอมในการอยู่ร่วมกัน ท้ังกลุ่ม ย่อยและกลุ่มในสังคมใหญ่ๆ ได้ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ ค่านิยม ความสามารถ ทางภาษา ความเช่อื ทางศาสนา และการรูเ้ ก่ยี วกบั การพฒั นาตนเอง (Self) เปน็ ตน้ 3. ความเก่ียวพนั ของบุคคลทีม่ ีตอ่ กลุม่ พฤตกิ รรมด้านนเ้ี ป็นการแสดงออกของบุคคลในกลมุ่ ทีม่ ีต่อกล่มุ บุคคลดงั กล่าวน้มี ักมีอิทธพิ ลต่อ ความสัมพันธ์ของสมาชิกภายในกลุ่มและผลงานของกลุ่ม บุคคลที่มีอิทธิพลดังกล่าวนี้จะอยู่ในตําแหน่งผู้นํา กลุ่มเป็นส่วนใหญ่ หากเขามีภาวะผู้นําดี เช่น มีความสามารถวางแผนงาน แยกแยะงาน มีความคิดริเร่ิม

ห น้ า | 43 สร้างสรรค์ กล้าตัดสินใจ และติดตามผลเป็นระยะแล้ว ก็จะถือได้ว่าเป็นบุคคลที่สําคัญต่อการทํางานของ กลุ่มอย่างมาก ในทางตรงกันข้ามหากผู้นํากลุ่มขาดภาวะการเป็นผู้นําท่ีดี ย่อมจะนําไปสู่การแตกแยกภายใน กลุม่ และผลงานก็ล้มเหลวในท่ีสุด 4. ความเกย่ี วพันระหว่างกลุม่ กบั กล่มุ สัมพันธภาพระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่มจะเป็นเช่นไรขึ้นอยู่กับความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม กลุ่มบางกลุ่มอาจเป็นมิตรกัน บางกลุ่มอาจเป็นปรปักษ์กัน หากเป็นเร่ืองของการทํางานบางกลุ่มอาจร่วมมือ กนั แต่บางกล่มุ อาจแข่งขันกัน ความสมั พันธ์ระหวา่ ง 2 กลุ่มจึงเป็นพ้ืนฐานที่ทาํ ให้สมาชิกท้ัง 2 กลุ่มปฏิบัติ ต่อกันอย่างไร สมาชิกกลุ่มจะยึดกลุ่มของตนเป็นหลัก สิ่งที่น่าสนใจอย่างหน่ึงทางจิตวิทยาสังคมคือ ความขดั แยง้ ระหวา่ งกลุม่ ซง่ึ มกั จะพฒั นาไปสคู่ วามเกลียดชงั ของสมาชิกระหว่าง 2 กลมุ่ ได้ การพฒั นาจิตวทิ ยาทางสงั คม การพัฒนาศาสตร์ทุกแขนงย่อมเร่ิมต้นจากจุดของความสงสัย ใช้ความคิดโดยเสรีเป็นพ้ืนฐานแล้ว ค่อยๆพัฒนามาเป็นความเจริญก้าวหน้าโดยลําดับ ประวัติการพัฒนาจิตวิทยาสังคมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ยุค คอื (Hollander,1976) 1. ยุคปรัชญาสังคม (Social Philosophy)เป็นช่วงการศึกษาพฤติกรรมทางสังคมในลักษณะ การศกึ ษาไมเ่ ปน็ ระบบนัก ส่วนใหญใ่ ช้การคิดในเชงิ เหตผุ ลหรอื ตรรกศาสตร์เมื่อมีความสงสยั ปรากฏการณท์ าง สังคมที่เกิดขึ้นหรือผลการกระทําของมนุษย์พวกเขาจะคิดหาคําตอบว่าพฤติกรรมน้ันเกิดขึ้นได้อย่างไร มนุษย์ มีพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างไรอะไรน่าจะเป็นสาเหตุของพฤติกรรมน้ันๆมีวิวัฒนาการไปอย่างไรเน้ือหาสาระที่ ศึกษาในยุคนี้จะออกไปในลักษณะของการอยากรู้อยากเห็นเป็นส่วนใหญ่ แนวคิดที่เป็นเชิงของนักปรัชญา สงั คม เช่น Plato, Aristotle, john Locke และBurkeley เป็นตน้ 2. ยุคสังเกตปรากฏการณ์ทางสังคม ( Social Philosophy ) เป็นช่วงการศึกษาพฤติกรรมทาง สงั คมท่ีพัฒนาขึน้ มา เป็นการศกึ ษาทีเ่ นน้ ตัวเลขและสิง่ ทสี่ มั ผสั ไดจ้ งึ เปน็ เรือ่ งของการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลอยา่ งมี ระบบ วิธีการศึกษาในยุคนี้จึงสร้างความมั่นใจและเช่ือถือข้ึนมาอีกระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับการศึกษายุค ปรชั ญาสงั คมแล้วจะแตกต่างกันออกไปตรงทว่ี ่าในยุคการสังเกตปรากฏการณ์สังคมมีแนวคิดวา่ การศกึ ษาสังคม นั้น ไม่ใช่การน่ังคิดเพียงอย่างเดียวจะต้องออกไปศึกษาปรากฏการณ์สังคมท่ีเกิดขึ้นจริงๆ โดยมีการสังเกต และจดบันทึกอย่างมีแบบแผนส่ิงหนึ่งท่ีถูกสร้างข้ึนและนําไปใช้ในการศึกษายุคนี้จะเน้นเร่ืองของแบบสอบถาม และเครอื่ งมือวัดทางจิตวทิ ยาด้านต่างๆ เช่นแบบทดสอบวดั I.Q. แบบวัดทัศนคตแิ ละแบบวดั บุคลิกภาพเป็น ตน้ 3. ยุควิเคราะห์สังคม (Social Analysis)เป็นช่วงการศึกษาพฤติกรรมทางสังคม ยุคน้ีพัฒนาขึ้น ในราวศตวรรษที่ 20 เป้าหมายของการศึกษาเพ่ือให้เกิดความเข้าใจและความรู้อย่างลึกซ้ึง ข้อมูลการศึกษา จึงต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งถือได้ว่ามีความน่าเช่ือถือได้มากที่สุดผลในการศึกษาในยุคจึงเป็น พ้นื ฐานของการสรา้ งแนวคิดและทฤษฎตี ่างๆ ไดอ้ ยา่ งมากมาย รูปแบบการศึกษาจะเป็นการศึกษาเพื่อหาสาเหตุของพฤติกรรมและวิธีการศึกษาท่ีใช้คือ การทดลอง การทดลองทางภาคสนาม (Field Experiment) และการทดลองในห้องปฏบิ ตั ิการ (Laboratory Experiment) ท้ังนี้เพ่ือต้องสะท้อนความรู้ออกมาจากข้อมูลให้ได้มากที่สุดและปราศจากตัวแปรเด่นใดๆ เข้ามาแทรกซ้อน ส่วนเครื่องมือที่นํามาใช้ให้เกดิ ความถูกต้องและแม่นยาํ ก็ได้นาํ คอมพวิ เตอร์มาใช้ในยุคน้ีด้วยเช่นกัน

ห น้ า | 44 ประโยชน์ของจติ วิทยาสงั คม 1. สามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข นําความรู้ทางวิชาการมาพัฒนาศักยภาพของตน (Potentialities) เสริมบคุ ลกิ ภาพและทาํ ตนใหเ้ ปน็ บุคคลท่ีสังคมปรารถนา 2. สามารถเข้าใจพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่มและในทีมงานได้อย่างดีปรับความแตกต่างของคน ภายในกลุ่มให้เกิดความกลมกลืนกัน เข้าใจกันเพ่ิมความร่วมมือและลดความขัดแย้งภายในกลุ่มดังท่ี (Hallander, 1978) กล่าวไว้ว่า “จิตวิทยาสังคมให้คุณค่าอันเป็นพ้ืนฐาน (Fundamental Value) ที่จะทํา ใหเ้ กดิ ความรู้ความเขา้ ใจในการดําเนนิ กิจการตา่ งๆไดอ้ ยา่ งแทจ้ ริง” 3. สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมทางสังคมได้ถูกต้อง ซ่ึงจะนําไปสู่การเข้าใจธรรมชาติของคนอย่าง แท้จริง เพราะเม่ือสังคมเปลี่ยนเร็ววิธีการดําเนินชีวิตของคนก็เปล่ียนเร็วตามไปด้วย ยิ่งบทบาทของบุคคลท่ี เป็นผู้บริหารจําเป็นต้องรู้ถึงบุคลิกภาพความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติต่องานของบุคคลรอบข้างได้อย่างละเอียดถี่ ถ้วน 4. จิตวิทยาสังคมยังสามารถก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ ช่วยให้มีความถูกต้องแม่นยําใน การพรรณนา (Description) การอธิบาย (Explanation) การทํานาย (Prediction) การควบคุม (Control) ทฤษฎีทางจติ วิทยาสังคม นักจิตวิทยาสังคมพยายามท่ีจะอธิบายพฤติกรรมทางสังคม โดยการศึกษาค้นคว้าและสร้างแนวคิด ทฤษฎีทีเ่ กี่ยวขอ้ งอย่างกว้างขวางโดยเร่ิมจากต้นศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมากลุ่มแนวคิดตา่ งๆท่ีมาของจติ วิทยา สังคมในปจั จบุ นั จําแนกไดเ้ ปน็ 3 กลุม่ ใหญ่ๆ (Seares,Peplau, Taylor, 1991 : 6-16) ดงั นี้ กลุ่มท่ี 1 กลุ่มทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นผู้ก่อตั้งฟรอยด์สนใจศึกษาเร่ืองของจิตมนุษย์โดยเช่ือว่าพฤติกรรมที่แสดงออกได้รับแรงจูงใจจากแรงขับ และแรงบนั ดาลใจทอี่ ย่ภู ายใน (internal drives and impulses) เช่นเร่ืองเพศและความก้าวรา้ วเขาเชอ่ื ว่า พฤติกรรมของผู้ใหญ่ก่อร่างสร้างรูปมาจากความขัดแย้งทางจิตใจท่ีไม่ได้รับการตอบสนองจากประสบการณ์ใน ครอบครัวในวัยเด็ก กลุ่มนักจิตวิเคราะห์พยายามค้นหาเพื่อทําความเข้าใจถึงแรงบังคับผักพายในทางจาก ระดบั จติ สาํ นกึ (conscious) และจติ ใตส้ าํ นกึ (unconscious) ซ่งึ เป็นพลงั ผลกั ดนั ให้เกิดพฤติกรรมโดยตรง กลุ่มที่ 2 กลุ่มพฤติกรรมนิยม (behaviorism) เสนอแนวคิดท่ีแตกต่างกันออกไปในการศึกษา ประสบการณ์ของมนุษย์ นักจิตวิทยากลุ่มนี้ ได้แก่ พาฟลอฟ (lvan Pavlov) วัตสัน (John B. Wastson) สกินเนอร์ (Skinner) และอื่นๆๆนักพฤติกรรมนิยมเน้นการสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ และไม่สนใจ ในเร่ืองของความรู้สึกนึกคิดใดๆพวกเขาชอบศึกษาในส่ิงท่ีเขาสังเกตเห็นและวัดได้ซึ่งเรียกว่า พฤติกรรม ภายนอก (over behavior) รวมทงั้ สนใจศกึ ษาวิธีการท่สี ง่ิ แวดล้อมกระทาํ การหล่อหลอมพฤตกิ รรมของสตั ว์ อันนําไปสู่ข้อสรุปท่ีว่าพฤติกรรมท่ีปรากฏเป็นผลมาจากการเรียนรู้ในอดีตที่ผ่านมา นักพฤติกรรมนิยมมี เอกลักษณ์ที่โดดเด่นในการใช้หลักการอธิบายกระบวนการเฉพาะท่ีสําคัญต่อการเรียนรู้และแสดงออกเป็น พฤตกิ รรมของมนษุ ย์ กลุ่มท่ี 3 กลุ่มเกสตัลต์ (Gestalt) พัฒนาข้ึนโดยโคลเลอร์ (Wolfgang Koler) คอฟกา (Kurt Koffka) เลวิน (Kurt Lewin) และนักจิตวิทยาชาวยุโรปอื่นๆ ๆอพยพไปอยู่อเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1930 กลุ่มน้ีสนใจศึกษาวิธีการซึ่งปัจเจกบุคคลรับรู้และเข้าใจสรรพสิ่งเหตุการณ์และผู้คนในมุมมองน้ีเห็นว่า ผู้คน ไม่ได้รับรู้สถานการณ์หรือเหตุการณ์ตามท่ีองค์ประกอบย่อยๆแต่ละส่วนได้ร่วมกันก่อรูปข้ึนแต่จะรับรู้ภาพรวม ของส่ิงน้ันๆมากกว่าเรียกว่าเป็น “dynamic wholes” ตัวอย่างเช่นให้นึกถึงเพื่อนสนิทที่สุดคนหน่ึงเม่ือพบ กนั ครงั้ สุดทา้ ยไดร้ ับรู้หรอื ไมว่ า่ เขาหรอื หล่อนมีแขนขาน้วิ มือและองคาพยพอนื่ ๆ ๆบางทีอาจมไี ดส้ งั เกตเช่นนั้น

ห น้ า | 45 การรับรู้ดังกล่าวย้ําให้เห็นว่าคนเราจะรับรู้ในภาพรวมมากกว่ารับรู้เป็นส่วนๆ ซ่ึงรู้จักกันในนามของจิตวิทยา เกสตัลต์ซงึ่ เป็นภาษาเยอรมนั หมายถงึ รูปรา่ งหรือรปู ทรง (shape or form) แนวทฤษฎีที่สําคัญท้ัง 3 กลุ่มเป็นรากฐานสําคัญที่ใช้ในการอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ แต่ยังไม่มีทฤษฎี เฉพาะใดที่สามารถอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ได้อย่างเป็นสากลและสมบูรณ์เช่นเดียวกับทฤษฎีอะตอมในทาง วทิ ยาศาสตร์ แตก่ ็ไดใ้ ช้อธิบายพฤตกิ รรมทางสังคมของมนุษยแ์ ละเป็นฐานในการวิจัยทางจิตวทิ ยาสังคมทว่ั ไป ทฤษฎที างจติ วทิ ยาสังคมท่ีใช้อย่างแพรห่ ลาย 1. ทฤษฎีการเรยี น (learning theories) ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นทฤษฎีท่ีมีบทบาทสําคัญสําหรับวิชาจิตวิทยามาเป็นเวลานาน หลักการสําคัญ ของทฤษฎีน้ีคือการให้ความสําคัญกับพฤติกรรมของบุคคลซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ พฤติกรรมปัจจุบันเกิดจาก การเรียนรู้ประสบการณ์ในอดีตและในสถานการณ์แต่ละเร่ืองบุคคลจะได้เรียนรู้พฤติกรรมหน่ึงพฤติกรรมใด ผ่านเข้ามาซํ้าแล้วซํ้าเล่าซึ่งหล่อหลอมกลายเป็นอุปนิสัย และพฤติกรรมเช่นนั้นออกมาในลักษณะเดียวกันจน กลายเป็นความเคยชินเช่นเมื่อมีคนขอให้เราจะจับมือเขย่าเพราะเป็นส่ิงท่ีเราเคยผ่านการเรียนรู้ท่ีจะโต้ตอบ ด้วยการยื่นมือออกไปเมื่อมีผู้ยื่นมือมาขอสัมผัส เมื่อมีใครบางคนมาพูดจาหยาบคายกับเราเราอาจตอบโต้ กลับไปอย่างหยาบคายเช่นกันหรือไม่ก็พยายามทําให้คนอ่ืนเหมือนเราในเร่ืองใดเร่ืองหน่ึงอยู่กับสถานการณ์ เดิมว่าเราเคยผ่านการเรียนรู้วิถีทางเช่นใดมาในอดีต หลักการดังกล่าวเป็นหลักการที่แบนดูรา (Albert Bandura, 1977) และคนอื่นๆนํามาใช้กับพฤติกรรมทางสังคมซ่ึงเรียกว่าทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (social learning theory) กลวิธีทแ่ี พร่หลายซงึ่ ใช้ในการเรยี นรู้ มี 3 ลักษณะคอื 1. ความสัมพันธ์เช่ือมโยง (association) หรือการวางเง่ือนไขแบบคลาสสิค (classical conditioning) ซ่ึงสุนัขของฟาฟลอฟ (Pavlov’s dogs) นักจิตวิทยาชาวรัสเซียเรียนรู้ท่ีจะน้ําลายไหลเมื่อได้ ยินเสียงกระด่ิง เพราะจะได้กินอาหารทุกครั้งเมื่อได้ยินเสียงกระด่ิงและต่อมาสุนัขมีอาการน้ําลายไหลเมื่อได้ ยินเสียงกระด่ิงท้ังๆท่ีไม่มีอาหารให้ ทั้งนี้เพราะสุนัขเช่ือมโยงเสียงกระดิ่งกับอาหารเข้าด้วยกันเราสามารถ เรียนรู้ท่ีจะมีทัศนคติต่อสิ่งต่างๆด้วยการเช่ือมโยงเช่นกัน ดังเช่นคําว่านาซีไปเชื่อมโยงกับอาชญากรรมท่ีมี ความโหดเห้ียมน่าสะพรึงกลัวความเชื่อว่าพวกนิยมนาซีเป็นคนเลวเพราะเราเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงพวกเขากับ ความโหดร้ายทารณุ เปน็ ตน้ 2. การเสรมิ แรง (reinforcement) นกั จิตวิทยาผู้นาํ เสนอทฤษฎีนี้คือ สกนิ เนอร์ (Skinner) และ คนอืน่ ๆซ่งึ กลา่ วว่า ผู้คนเรียนรู้ท่ีจะแสดงพฤติกรรมตา่ งๆออกมาเพราะเขาได้รับส่งิ ทพ่ี ึงปรารถนาและความพึง พอใจตามมา และหลีกเลี่ยงท่ีจะแสดงพฤติกรรมที่ได้รับส่ิงซ่ึงไม่พึงปรารถนาหรือไม่พึงพอใจตามมาเด็กๆ เรียนรู้ท่ีจะให้ความช่วยเหลือผู้อ่ืนเพราะแม่แสดงความชื่นชมเมื่อเด็กแบ่งของเล่นให้เพ่ือน หรือย้ิมให้เม่ือเด็ก ช่วยทํางานบ้านเล็กๆน้อยๆหรือนิสิตอาจเรียนรู้ที่จะไม่โต้แย้งอาจารย์ในชั้นเรียนเพราะแต่ละคร้ังท่ีเขาทํา เช่นนั้นอาจารย์จะขมวดค้ิวแสดงอาการโกรธและตอบกลับดว้ ยเสียงอนั ดงั เกนิ ควร เป็นตน้ 3. การเรียนรู้ด้วยการสังเกต (observational learning) บ่อยคร้ังที่ผู้เรียนรู้ที่จะแสดงทัศนคติ และแสดงพฤติกรรมทางสังคมง่ายๆ ด้วยการสงั เกตจากการแสดงทศั นคตแิ ละพฤตกิ รรมทางสังคมของผู้อ่ืนซ่ึง เรียกวา่ เป็นตัวแบบ (model) เด็กๆเรียนรู้ภาษาถน่ิ และภาษาของกลุม่ ชาติพันธโุ์ ดยการฟงั จากผคู้ นทีพ่ ูดคุยอยู่ รอบตัวเขา ผู้คนวัยหนุ่มสาวเรียนรู้ที่จะมีทักษะทางการเงินอย่างง่ายๆด้วยการฟังการสนทนาของบิดามารดา ระหว่างช่วงเวลามีการเลือกตั้งในการเรียนรู้ด้วยการสังเกตคนอื่นๆๆคือบุคคลสําคัญท่ีจะเป็นแหล่งข้อมูล ข่าวสารในการเรียนรู้ การเรียนแบบหรือการจําลองแบบอย่าง (imitation or modeling) เกิดข้ึนเม่ือ

ห น้ า | 46 บุคคลไม่เพียงแต่สังเกตเท่าน้ันแต่ลอกเลียนแบบอย่างพฤติกรรมอย่างจงใจจากตัวแบบน้ันการเรียนรู้ด้วยการ สังเกตสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่จําเป็นต้องมีแรงเสริมพฤติกรรมใดๆ อย่างไรก็ตามเห็นแบบจะเลียนแบบ พฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อเขาหรือไม่ยังข้ึนอยู่กับวา่ พฤติกรรมนั้นกอ่ ให้เกิดผลบางอย่างตามมาแกเ่ ขาหรือไม่เช่น เด็กชายเล็กๆอาจเรียนรู้ส่ิงต่างๆมากมายจากการสังเกตพฤติกรรมการเล่นตุ๊กตาของน้องสาวแต่เขาไม่กล้าเล่น ตุ๊กตาเช่นเดียวกับท่ีเห็นน้องสาวเล่น เพราะบิดามารดาจะว่ากล่าวตอกย้ําบ่อยครั้งว่า “ตุ๊กตาไม่ใช่ของเล่น ของเด็กผู้ชาย” เปน็ ตน้ หลกั การเรยี นรู้ มีลกั ษณะพิเศษ 3 ประการคือ 1. สาเหตุพฤติกรรมเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเรียนรู้ตามภูมิหลังของแต่ละบุคคล ตัวอย่างเช่น อาชญากรยิงตํารวจอาจเป็นเพราะเขาเคยประสบกับตํารวจท่หี ยาบคาย ก้าวร้าว และไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่นมา กอ่ นบางทีอาชญากรอาจเคยได้รับแรงเสรมิ พฤตกิ รรมจากการตอบโตส้ ถานการณ์ความขัดแย้งดว้ ยความรุนแรง แล้วแก้ปัญหาได้ ขณะที่เม่ือไม่ใช้ความรุนแรงในสถานการณ์ทํานองเดียวกันแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาได้หรือ บางทีบิดาของเขาอาจจะทําต่อเขาด้วยวิธีการท่ีรุนแรงเขาจึงเรียนรู้ที่จะเรียนแบบและกระทําพฤติกรรมตาม อย่างตัวแบบท่ีก้าวร้าวรุนแรงก็เป็นได้ นักจิตวิทยาการเรียนรู้ให้ความสนใจกับร่องรอยของประสบการณ์ใน อดตี อยา่ งมากขณะทีส่ นใจทราบรายละเอียดเกีย่ วกับสถานการณ์ปจั จุบันน้อยกว่า 2. หลักการเรียนรู้มีแนวโน้มที่จะสนใจสาเหตุพฤติกรรมท่ีเกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอก มากกว่าการแปลความหมายเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล และเช่ือในวิธีการที่ผู้คนตอบสนองต่อการกระทําของ คนอนื่ ๆๆและการเรียนแบบตวั แบบซ่งึ ลว้ นแลว้ แต่เปน็ ปัจจัยภายนอกของแตล่ ะบุคคล 3. หลักการเรียนรู้มีเป้าหมายท่ีจะอธิบายพฤติกรรมที่แสดงออก (overt behavior) มากกว่าท่ีจะ อธิบายถึงเรื่องของจิตใจ หรอื ผู้อยู่ร่วมในเหตกุ ารณ์ (คือพยายามอธิบายว่าทําไมอาชญากรจึงยิงตํารวจ)มากกว่า สนใจว่าเป็นเพราะสาเหตุจากอีกฝ่ายหน่ึงหรือไม่ (คือเป็นเพราะเขารับรู้ว่าตํารวจกําลังจะยิงเขาเขาจึงป้องกัน ตนเอง)หรอื สนใจอารมณ์ความร้สู ึกทอี่ ยู่เบ้อื งหลังพฤติกรรม (คืออาชญากรกาํ ลังโกรธหรือกลวั ) เป็นต้น 2. ทฤษฎีการรบั รู้ (Cognitive Theories) แนวคิดสําคัญสําหรับทฤษฎีการรับรู้คือเช่ือว่าพฤติกรรมมนุษย์ขั้นกับวิธีการท่ีเขารับรู้สถานการณ์ทาง สังคม โดยบุคคลจะจัดระบบการรับรู้ ความคิด ความเชื่อของตนเองโดยอัตโนมัติเก่ียวกับสถานการณ์ท่ัวไป และสถานการณ์ที่มีความหมาย ไม่ว่าสถานการณ์จะยุ่งเหยิงแค่ไหน ผู้คนจะสามารถส่ังการและจัดระบบ การรับรู้ ความคิด และความเชื่อของตนได้ ซึ่งการจัดระบบ การรับรู้ และการตีความความเป็นไปของโลก เหลา่ นลี้ ้วนมนี ัยสําคญั เปน็ ผลกระทบตอ่ พฤติกรรมของบุคคลนัน้ ในสถานการณต์ า่ ง ๆ เลวิน อธิบายการรับรู้ตามแนวคิดของกลุ่มเกสตอลท์ในเชิงจิตวิทยาสังคมว่าเป็น “สนามทางจิตวิทยา ของบุคคล” (Person’s Psychological Field) ซ่ึงพฤติกรมของบุคคลน้ันได้รับผลกระทบจากบุคลิกภาพ ส่วนตัว (เช่น ความสามารถ บคุ ลกิ ภาพ พนั ธกุ รรม) และสงั คมแวดลอ้ มตามท่ีเขารับรู้ นอกจากนี้ ผู้คนยังรับรู้บางสิ่งโดดเด่นออกมาเป็นภาพ (Figure) และบางส่วนเป็นเพียงพื้นหรือฉาก หลงั (Ground) งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า สาเหตุของการให้เหตุผล (Attribution) และวิธีการที่ผู้คนใช้ข้อมูลข่าวสารใน การพิจารณาสาเหตุของพฤติกรรมสังคมต่าง ๆ เช่น ในกลุ่ม ในสถานการณ์สังคม ฯลฯ เพื่อศึกษาแง่มุมต่าง ๆ เปน็ เร่อื งทนี่ ่าสนใจย่งิ ซงึ่ ได้แก่

ห น้ า | 47 1) ศึกษาวิธีการที่ผู้คนรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสังคม เช่น ทําไมคนบางคนจึงสนใจเร่ืองบางเร่ืองแต่ ไม่สนใจเรื่องบางเร่ือง ตัวอย่างเช่น ทําไมคนจึงไม่สนใจคนอื่นท่ียกมือเกาคางให้เห็น แต่ถ้าเขาร้องตะโกนเรา จงึ จะสนใจ เป็นต้น 2) ศึกษาอิทธิพลของสังคมที่มีต่อผู้คนในการประมวลข่าวสารเข้าด้วยกันเพ่ือสร้างความประทับใจ และเพ่ือการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กกําลังเลือกตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัยหน่ึงในสองแห่งได้เดินทางไป เย่ียมมหาวิทยาลัยนั้นเพ่ือดูว่ามหาวิทยาลัยแห่งใดน่าสนใจกว่ากัน เด็กอาจพูดคุยได้รับข้อมูลข่าวสารสั้น ๆ ประมวลข่าวสารข้อมูลเข้าด้วยกันและได้ข้อสรุป เขาสรุปได้อย่างไรว่ามหาวิทยาลัยแห่งหน่ึงอบอุ่นและเป็น มิตรมากกว่าอกี แห่งหนึ่ง 3) ศึกษาการตรวจสอบความทรงจําทางสังคมว่าปัจเจกบุคคลจดจําและลําดับข้อมูลข่าวสารได้ อย่างไร ตัวอย่างเช่น ประจักษ์พยานที่เห็นการฆาตกรรมด้วยตนเองจดจําเหตุการณ์ได้อย่างไร และพนักงาน อยั การช่วยเหลือพยานบคุ คลให้จดจํารายละเอยี ดของเหตุการณท์ ี่เกดิ ขนึ้ ได้อย่างไร เป็นต้น แนวคดิ เกีย่ วกบั การรบั รู้แตกต่างจากแนวคิดเกี่ยวกบั การเรียนรู้ 2 ประการ คือ 1) การรบั ร้เู นน้ ทีก่ ารรบั รู้ ณ สถานการณ์ปจั จบุ ัน มากกว่าการเรียนรูท้ ผ่ี า่ นมาในอดีต 2) การรับรู้เน้นท่ีความสําคัญของการรับรู้ส่วนบุคคล หรือ กระบวนการแปลความหมายสถานการณ์ ท่ีเกิดของแต่ละบุคคลมากกว่า “สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง” ซ่ึงมีบุคคลที่สามที่เป็นกลางเห็นเหตุการณ์และ อธิบายตามทเี่ กดิ ขนึ้ จรงิ 3. ทฤษฎแี รงจงู ใจ (Motivational Theories) แนวคิดอีกลักษณะหนึ่งที่จะกล่าวถึงคือ แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการและแรงจูงใจของปัจเจกบุคคล ทั้งประสบการณ์ในชีวติ ประจาํ วนั และงานวิจัยทางจิตวทิ ยาสังคม ล้วนแสดงให้เห็นตัวอย่างของความต้องการที่ มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของบุคคล ตัวอย่างเช่น ในการเพ่ิมพูนความเคารพนับถือตนเอง (Self-Esteem) ความพึงพอใจในตนเอง และคงความรู้สึกดี ๆ ต่อตนเองให้อยู่ต่อไป เราอาจตําหนิ ติเตียนผู้อื่นแทนการยอมรับความผิดพลาดของเรา ทีวีก็ใช้ความรู้สึกกลัวของผู้คนเพ่ือประโยชน์ในการโฆษณา สินค้าต่าง ๆ กลุ่มแนวคิดฟรอยด์เดียนหรือกลุ่มจิตวิเคราะห์เชื่อว่าแรงจูงใจของมนุษย์เกิดจากปัจจัยที่มีบทบาท สําคัญสองสามประการ คือ แรงขับ (Drive) หรือพลังอํานาจที่เร่งเร้ามาตั้งแต่เกิด โดยเฉพาะแรงขับประเภท แรงขับทางเพศ (Sex Drive) และความก้าวร้าว (Aggressive) ในทางตรงกันข้าม นักจิตวิทยาสังคมได้เน้น วิธีการท่ีอธิบายสถานการณ์เฉพาะ และสัมพันธภาพทางสังคมว่าสามารถสร้างความต้องการ (Needs) และ แรงจงู ใจ (Motivation) ได้มากกวา่ แรงับตามแนวคิดของฟรอยด์ ตัวอย่างเช่น การออกจากบา้ นมาพักท่หี อพัก ได้สร้างความรู้สึกเงียบเหงา ว้าเหว่ และโดดเดี่ยวให้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในกลุ่มหนุ่มสาวชาวมหาวิทยาลัย ทําให้ เกิดความพยายามแสวงหาเพ่ือนกลุ่มใหม่ ๆ สร้างให้เกิดชมรมต่าง ๆ ขึ้นเพื่อรวมกลุ่มทํากิจกรรมกัน หรือไป งานเลี้ยงสังสรรค์ หรือพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่ห้องอาหาร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการที่ต้องการ เพ่ือน ต้องการรวมกลุ่มยังชักนําให้ผู้คนเข้ารวมกลุ่มด่ืมสุราและเสพยาเสพติดอีกด้วย ซ่ึงสถานการณ์เหล่าน้ัน เพียงแตน่ ําไปสู่พฤตกิ รรมทีแ่ สดงออกเพื่อลดระดับความตอ้ งการของบคุ คลลงเท่านัน้

ห น้ า | 48 4. ทฤษฎกี ารตดั สนิ ใจ (Decision-making Theories) ทฤษฎีการตัดสินใจ เชื่อว่าผู้คนจะคิดคํานวณต้นทุนและผลกําไรต่อการกระทําต่าง ๆ และเลือกแสดง วิธีการที่สมเหตุสมผลท่ีสุดออกมา โดยเขาจะเลือกวิธีการที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดขณะท่ีลงทุนน้อยท่ีสุดแก่ ตนเอง จากตัวอย่างเดิมพบว่า นายบุญเชิด ผลทวี ยิงตํารวจแล้วหนีไปพึ่งไอทีวี คือแจ้งให้ส่ือมวลชนทราบว่า ตนยิงตํารวจแทนที่จะเข้ามอบตัวที่สถานีตํารวจ เพราะคิดว่าทีวีสามารถช่วยเหลือ เป็นส่ือกลางสื่อสารไปยัง ประชาชนในสังคมที่รับสารให้เป็นพยานและเห็นใจตนว่าตนได้ยิงตํารวจบาดเจ็บสาหัสโดยสําคัญผิดใน ข้อเท็จจริง หากตํารวจจะกระทําวิสามัญตน หรือกระทํารุนแรงด้วยประการใด ๆ ตนก็จะมีประชาสังคมเป็น พวก เป็นการลงทุนน้อยท่ีสุด ได้ผลกําไรคุ้มค่าท่ีสุดในสถานการณ์ที่มีเรื่องกับตํารวจซึ่งเป็นฝ่ายท่ีจะต้องเป็น กลางในการให้ความยุติธรรมเบื้องต้นแก่ตน เป็นต้น เอดเวิร์ด (Edwards, 1954) ได้พัฒนาทฤษฎีการตัดสินใจไปสู่ ทฤษฎีความคาดหมายในคุณค่า (Expectancy-Value Theory) โดยเพ่ิมเติมการประเมินสถานการณ์เข้าไประหว่างการช่ังน้ําหนัก ต้นทุนกําไร ของบุคคลก่อนตัดสินใจ โดยเชื่อว่าการตัดสินใจตั้งอยู่บนพ้ืนฐานของผลผลิตที่ผสมผสานระหว่างปัจจัยสอง ประการ คือ 1) ค่าของความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ที่จะออกมาของทางเลือกแต่ละทาง และ 2) ความเป็นไปได้ หรือความคาดหมายวา่ การตัดสนิ ใจแต่ละลักษณะจะใหผ้ ลลพั ธ์อย่างไร บางคร้ังการตัดสินใจอาจใช้หลักการคิดอย่างมีเหตุผลสนับสนุน ดังกล่าวมาประกอบการคิดก็ได้ ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจเลือกระหว่างเข้าเรียนมหาวิทยาลัยสองแห่ง เด็กอาจใช้วิธีการจดรายการเหตุผล ในทางสนับสนุนหรือเหตุผลท่ีชอบ (Pros) และเหตุผลในทางหักล้าง หรือเหตุผลแย้ง (Cons) เก่ียวกับ มหาวิทยาลัยทั้งสองว่ามหาวิทยาลัยใดจะดีกว่ากัน อย่างไรก็ตามในชีวิตจริงสถานการณ์แต่ละเร่ืองไม่อาจใช้ เหตุผลในการตดั สินใจเปน็ แนวเดยี วกันได้ทกุ ครงั้ ไป 5. ทฤษฎีการแลกเปลยี่ นทางสังคม (Social Exchange Theories) ทฤษฎีการแลกเปล่ียนทางสังคม ย้ายจากวิธีการวิเคราะห์พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลไปสู่ การวิเคราะห์พฤติกรรมของบุคคลตั้งแต่ 2 คนข้ึนไป ซ่ึงมีความสนใจซ่ึงกันและกัน หลักการสําคัญองทฤษฎีนี้ สรา้ งขึน้ บนพืน้ ฐานของทฤษฎกี ารเรียนรู้ และทฤษฎกี ารตัดสินใจ กล่าวคือ การที่คนสองคนสนใจซงึ่ กันและกัน พวกเขาจะต่างคนต่างแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ (Benefits) และการลงทุน (Costs) ซึ่งกันและกัน เช่น นิสิตคน หนึ่งช่วยติววิชาการเมืองเปรียบเทียบให้เพื่อน เพื่อนก็ช่วยติววิชาภาษาอังกฤษให้ ซึ่งเรียกว่าเป็นผลประโยชน์ ต่างตอบแทน ในปฏิสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกันสิ่งน้ีสร้างผลกําไรให้เกิดไมตรี ปฏิสัมพันธ์ ความรู้สึกที่ดี และเป็นที่ รักต่อกัน ส่วนทุนท่ีลงไปคือ เวลา เป็นต้น และทฤษฎีน้ีสนใจการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลบนฐาน ของการได้ผลประโยชน์ และการลงทุนท่ีมีต่อกันเป็นสําคัญ ตัวอย่างเช่น นางพยาบาลให้ยาคนไข้อย่างเป็น กนั เอง คนไข้ที่ให้ความรว่ มมือก็ได้ประโยชน์จากการกินยา พยาบาลก็ได้ประโยชน์จากคนไขท้ ี่เชื่อฟังทําให้เห็น วา่ พยาบาลเป็นพยาบาลท่ที ํางานของตนไดด้ ี เปน็ ต้น ทฤษฎีการแลกเปล่ียนทางสังคมมีประโยชน์ในการใช้วิเคราะห์สถานการณ์การเจรจาต่อรองระหว่าง สองฝา่ ย ซงึ่ มักกระทําไดส้ าํ เร็จดว้ ยการแบง่ ปันผลประโยชน์กันอยา่ งสมนํา้ สมเนื้อ 6. ทฤษฎีบทบาท (Role Theories) จิตวิทยาสังคมมิได้ต้ังอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีทางจิตวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่ยังอาศัยทฤษฎีทางสังคม วทิ ยาในการอธิบายด้วย โดยอาศัยเรื่องของบรรทัดฐาน (Norm) และบทบาท (Role) ในการอธิบายพฤติกรรม ทางสังคมบางลักษณะ บทบาท คือ สิ่งซึ่งบรรยายให้เห็นส่วนที่แตกต่างกันซึ่งผู้คนแสดงออกในการปฏิสัมพันธ์

ห น้ า | 49 กัน เช่น บทบาทการเป็นนสิ ิต เปน็ เพื่อน หรือลูกค้า ฯลฯ เราอาจแยกบทบาททางสงั คมออกได้อย่างเป็นระบบ โดยใช้โครงสร้างทางสังคมและกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นตัวชี้บทบาท นักสังคมวิทยากล่าวว่า สังคมปรากฏอยู่ในโลกนี้มานานก่อนที่ปัจเจกบุคคลจะก้าวเข้ามาแสดงบทบาทบนเวทีแห่งนี้ และสังคมยัง กําหนดกฎเกณฑท์ างสังคมมากมายเพ่อื กํากับพฤตกิ รรมมนษุ ย์ ซ่ึงเรียกกนั ว่าเปน็ บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) แต่บางคร้ังกฎเกณฑ์บางอย่างกําหนดไว้สําหรับบังคับต่อคนที่อยู่ในตําแหน่งเท่านั้น เช่น อาจารย์ถูก คาดหวังวา่ จะเข้าสอนในชัน้ เรียนตรงเวลา เตรยี มสอน นําการอภิปราย ออกข้อสอบ ตักเกรด ทํางานวจิ ัย เขียน บทความ และเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามท่ีมหาวิทยาลัยมอบหมาย เป็นต้น ขณะท่ีนิสิตมี บทบาทในการเรียนในช้ันเรียน ศึกษาทําความเข้าใจเพ่ือสอบ ค้นคว้า ทํารายงาน เป็นต้น ดังนั้น บทบาททาง สังคม (Social Role) จึงหมายถึง กลุ่มของบรรทัดฐาน (Set of Norms) ท่ีเหมาะสมกับผู้คนในตําแหน่งต่าง ๆ เช่น อาจารย์ นิสิต ฯลฯ ซ่ึงมีบทบาทเบ็ดเสร็จอยู่แล้วในสังคมท่ีเมื่อผู้ใดสวมบทบาทน้ันก็สามารถแสดง พฤติกรรมน้ัน ๆ ได้เลย แล้วยังเรียนรู้บทบาทของคนอ่ืน ๆ ไปด้วยในการปฏิสัมพันธ์ซ่ึงกันและกัน หรือท่ีเห็น ทวั่ ไปในสงั คม และแม้แตอ่ าชญากรกเ็ รียนรทู้ ีจ่ ะสวมบทบาทอาชญากรจากทีเ่ คยเหน็ มากอ่ น

บรรณานุกรม จําลอง เงนิ ด.ี 2552. จิตวิทยาสังคม. กรงุ เทพ : โอเดยี นสโตร์. เตมิ ศักด์ิ คทวณิช. 2546. จิตวิทยาท่ัวไป. กรุงเทพมหานคร : ซเี อ็ดยเู คชนั่ . นพมาศ องุ้ พระ. 2546. ทฤษฎีบคุ ลกิ ภาพและการปรบั ตวั . พมิ พ์คร้ังที่ 3. กรงุ เทพมหานคร: มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร.์ _____. 2555. จติ วิทยาสงั คม. กรงุ เทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาลิณี จุโฑปะมา. 2554. จิตวิทยาการศึกษา. บุรีรมั ย์ : คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรรี มั ย์ ศรเี รอื น แกว้ กงั วาล. 2536. ทฤษฎจี ติ วิทยาบุคลกิ ภาพ. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบา้ น.

คณะผูจดั ทาํ 1. นางสาวชลทิชา ปนศรีนวล รหสั นิสิต 6114653424 2. นายชัยวฒุ ิ เพยี รขนุ ทด รหสั นสิ ิต 6114653432 3. นางสาวธัญชิตา โมขศกั ดิ์ รหสั นสิ ิต 6114653475 4. นางสาวพิชชาภา โตสกุล รหัสนสิ ิต 6114653513 5. นางสาวสธุ ิดา งมิ ขนุ ทด รหัสนิสิต 6114653548