ตัวอย่าง ธุรกิจ ที่ ถูก disruption

Digital Disruption เป็นจำนวนมาก การปรับตัวไม่ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายธุรกิจได้บทเรียนในเรื่องนี้ Nokia เองก็เช่นกัน Nokia เป็นแบรนด์โทรศัพท์มือถือ สัญชาติฟินแลนด์ เป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงมากในอดีต เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา โนเกียทำยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง และมีส่วนแบ่งการตลาดที่มากถึง 80% เคยทำสถิติ ยอดขายปี 2005 ได้มากถึง 250 ล้านเครื่อง ถือว่าประสบความสำเร็จสูงมากในอดีต แต่ทำไมยักษ์ใหญ่ของค่ายมือถือถึงได้ล้มแบบไม่มีวันหวนกลับ กลายเพียงเป็นตำนานให้เราได้คิดถึง ในวันนี้ social media master มีคำตอบ Nokia เริ่มต้นจากธุรกิจโรงงานเยื่อกระดาษ ในปี 1965 และธุรกิจอื่น ๆ อีกมากมาย ผ่านยุคสงครามโลกมาอย่างยากลำบาก จนในปี 1991 Nokia ได้ร่วมพัฒนาระบบ GSM ที่ประสบความสำเร็จและทำรายได้มหาศาลมากมาย Nokia จึงยกเลิกการทำธุรกิจอื่น ๆ ที่ขณะนั้นกำลังขาดทุน หันมาเดินหน้าธุรกิจผู้พัฒนา GSM call อย่างเต็มตัว

โดย Nokia ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือ โดยอิงจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งรุ่นแรกๆจะเป็น Nokia 1011, Nokia 2110 และรุ่นยอดฮิตในตำนาน Nokia 3310 2007 Apple ได้เปิดตัว iPhone มีระบบปฏิบัติการ IOS สร้างปรากฏการณ์ให้กับคนทั่วโลก และในปีถัดมา google ก็ได้เปิดตัวระบบ Android รุ่นแรก ในขณะที่ Nokia ยังมั่นใจในระบบปฏิบัติการ Symbian ที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้นมา เพราะในเวลาถัดมาผู้คนจะหันมาสนใจแค่ Android และ IOS ในเวลานั้น Nokia มีทางเลือก 2 ช่องทางคือ มุ่งไปหา Android แบบค่ายโทรศัพท์มือถืออื่น ๆ หรือขายระบบปฏิบัติการ Symbian คำตอบของเขาคือ ไม่!! ทำทั้งสองทาง Nokia หันไปพึ่งระบบปฏิบัติการ Windows Phone ที่มีการสนับสนุนจากค่าย Microsoft แต่ Windows Phone ก็เปิดตลาดได้ช้าไป แอปพลิเคชั่นรองรับมากเท่าฝั่ง Android ส่งผลให้ Nokia ขาดทุนต่อเนื่อง สุดท้ายในปี 2013 Nokia ตัดสินใจขายกิจการโทรศัพท์มือถือทั้งหมดให้กับ Microsoft ปิดตำนานค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ค่ายหนึ่ง

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ Nokia ก็ยังเป็นตำนานที่น่าจดจำและก็ยังไม่มีค่ายมือถือค่ายไหนสามารถทำยอดขายมากกว่า 250 ล้านเครื่องใน 1 ปี Nokia ถือเคสตัวอย่างที่ปรับตัวไม่ทันเทคโนโลยี จากคำที่กล่าวว่า เมื่อก่อนปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ในปัจจุบัน ปลาเร็วจะกินปลาช้า

ฝันร้ายของนักธุรกิจใหญ่หลายท่านคือการที่ธุรกิจของตัวเองถูก disrupt จากธุรกิจหน้าใหม่ที่อยู่ ๆ ก็โผล่มาจากไหนไม่รู้ และแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดไปเพียงชั่วข้ามคืน บางธุรกิจที่ไหวตัวทันก็ยังสามารถหาช่องทางในการช่วงชิงอำนาจการแข่งขันในตลาดกลับมาได้ แต่บางธุรกิจที่ชะล่าใจ คิดว่าไม่ควรปรับตัวไปตามกระแส ก็ถึงขั้นล้มละลาย ต้องปิดฉากการดำเนินธุรกิจกันไปเลยทีเดียว

กรณีตัวอย่างที่ถูกหยิบยกมาอ้างถึงอยู่บ่อย ๆ คงจะหนีไม่พ้น Blockbuster อดีตยักษ์ใหญ่แห่งวงการเช่าภาพยนตร์ ที่เจอศึกใหญ่จาก Netflix น้องใหม่มาแรงที่เอาเทคโนโลยี streaming video เข้าสู้ ด้วยการใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่า การเข้าถึงที่สะดวกสบายกว่า รวมถึงไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้อันดับ 1 ของโลกประสบปัญหาขาดทุน และล้มละลายลงในที่สุด แม้ภายหลังจะพยายามปรับตัวโดยหวังว่าชื่อเสียงที่สั่งสมมานานจะช่วยกู้สถานการณ์ให้ดีขึ้นบ้าง แต่ก็สายเกินไปแล้ว

ตัวอย่าง ธุรกิจ ที่ ถูก disruption

Credit : The Strategy Journey

ดังนั้นจึงเกิดเป็นคำถามที่ว่าองค์กรควรจะมีแผนธุรกิจอย่างไรในสถานการณ์อย่างนี้เพื่อความอยู่รอด ?

คำตอบก็คือการวางแผน ‘นวัตกรรมทางธุรกิจ’ หรืออธิบายง่าย ๆ ก็คือ การหาแนวคิดในการทำมาหากินแบบใหม่ ๆ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันนั่นเอง คำว่า ‘นวัตกรรม’ คือการสร้างความแตกต่าง ความแปลกใหม่ อาจจะเป็นที่ความคิด หรือวิธีการ ไม่ได้เป็นแค่ตัววัตถุที่จับต้องได้อย่างที่หลายคนเข้าใจ

แต่สำหรับองค์กรใหญ่ทั้งหลายที่ผ่านการประสบความสำเร็จมาแล้ว ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะตัดสินใจยกเครื่ององค์กรใหม่ทั้งหมด แล้วปรับไปตามกระแสธุรกิจใหม่ ที่ไม่สามารถจะคาดการณ์หรือเอาแน่เอานอนอะไรได้ หลายองค์กรที่พยายามปรับตัวก็ยังติดอยู่กับกรอบความสำเร็จเดิม ๆ ที่ใช้ตัวชี้วัดเดิม ๆ ในการประเมินผลการดำเนินงาน เช่น NPV (Net Present Value) หรือ IRR (Internal Rate of Return) ที่เน้นการทำตัวเลขให้ดูดี ด้วยการเลือกลงทุนในแผนการที่ใช้ระยะเวลาน้อยและทำเงินได้เร็วที่สุด ซึ่งหากตัวเลขบนผลชี้วัดเหล่านี้ออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจ แผนการก็จะไม่ได้รับการสนับสนุน หรือที่เคยได้รับเงินทุนไปแล้วก็อาจจะไม่ได้ไปต่อ

แล้ววิธีที่จะสนับสนุนนวัตกรรมทางธุรกิจคืออะไร ?

ก่อนอื่นเลยคือคุณต้องแยกแยะให้ออกก่อนว่าแผนธุรกิจของคุณนั้นเป็นแผนสำหรับสร้างนวัตกรรมใหม่หรือเป็นแค่แผนปรับเปลี่ยนภายในขององค์กร หรือไม่ใช่ทั้งคู่

ตัวอย่าง ธุรกิจ ที่ ถูก disruption

McKinsey's Three Horizons of Growth

ลองกลับมานั่งทบทวนแผนธุรกิจของคุณโดยใช้กรอบความคิดทางการบริหารของ McKinsey เจ้าพ่อแห่งวงการนวัตกรรมทางธุรกิจ ที่ใช้ทฤษฎีที่ชื่อว่า The Three Horizons of Growth หรือ หลักสามเส้นขอบฟ้าแห่งการเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งสำหรับนวัตกรรมทางธุรกิจจะตรงกับขอบฟ้าเส้นที่สาม คือ

- ยังเป็นธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งเป้าไปยังผู้บริโภคในกระแสหลัก

- เน้นกลุ่มลูกค้าขนาดเล็กที่มีปริมาณน้อยในตลาด

- เน้นผลกำไรเพียงเล็กน้อย ยังไม่หวังผลตอบแทนก้อนโต

- สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีราคาถูกและเข้าถึงได้ง่าย

ตัวอย่างธุรกิจรูปแบบนี้ เช่น Airbnb ที่นำแนวคิดธุรกิจแบบ sharing economy โดยการรวบรวมห้องพักทำเลต่างๆ ทั่วโลก ให้แก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการหาที่พักราคาถูก และอยากซึมซับวิถีชีวิตท้องถิ่นแบบใกล้ชิด ซึ่งกว่าจะมาเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าถึงสามหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงปีแรกพวกเขาทำรายได้ได้เพียง 200 เหรียญต่ออาทิตย์เท่านั้น แต่สามหนุ่มเพื่อนรักผู้ร่วมก่อตั้งไม่ลดละความพยายามจนเกิดไอเดียกว้านซื้อซีเรียลมารีแพคเกจใหม่โหนกระแสการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2008 จนได้เงินทุนก้อนใหม่ที่จะประทังชีวิตและธุรกิจของพวกเขาต่อไปได้

ตัวอย่าง ธุรกิจ ที่ ถูก disruption

Credit : Michael Carney, Pando

ด้วยความที่รูปแบบนวัตกรรมทางธุรกิจเป็นลักษณะนี้ คือต้องลงทุนเวลาและความพยายามอย่างหนักกว่าจะเห็นผลตอบแทนที่คุ้มค่า นักธุรกิจในองค์กรใหญ่ ๆ จึงไม่ค่อยปลื้มสักเท่าไหร่ เพราะการที่ไม่สามารถทำผลประกอบการได้ตามตัวเลขและภายในระยะเวลาที่ตั้งเป้าไว้ องค์กรอาจจะเจอปัญหาราคาและมูลค่าของหุ้นที่ตกต่ำลงได้

องค์กรจึงต้องเสาะหาวิธีการดำเนินแผนพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมที่สุดกับองค์กรตัวเอง ซึ่งมีหลากหลายวิธี เช่น

- แยกการบริหารเฉพาะออกมาเป็นอีกภาคส่วน มีการดำเนินการ งบประมาณและมูลค่าของตัวเอง

- ลงทุนหรือทำความร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัพผ่านการทำนวัตกรรมแบบเปิด

- ปฏิรูปแบบสิ้นเชิง แต่วิธีการนี้มักจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จและอาจจะส่งผลกระทบต่อแก่นของธุรกิจได้ ยกตัวอย่างเช่น กรณีการปฏิรูปของแบรนด์ Dyson ที่เตรียมออกโครงการรถยนต์ไฟฟ้า แต่สุดท้ายก็ต้องพับแผนกลับบ้านไป

ปัจจุบันตัวเลขการร่วมมือกันระหว่างองค์กรใหญ่กับธุรกิจสตาร์ทอัพมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะหลายองค์กรใหญ่เริ่มตระหนักได้ว่าไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนองค์กรของตัวเองได้ทันเวลาในโลกที่เทคโนโลยีเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงเพียงชั่วพริบตา อีกทั้งการจะปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจภายในระยะเวลาอันสั้น การทำความร่วมมือกับสตาร์ทอัพ ดูจะเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และคุ้มค่ามากกว่า ในการพัฒนาเทคโนโลยี บนแผนธุรกิจใหม่ โดยทีมที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพราะสตาร์ทอัพไม่ได้ยึดติดกับรูปแบบบริหารที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน เน้นการดำเนินงานที่รวดเร็ว จึงสามารถสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้ไวกว่า

การปรับตัวสามารถเลือกทำได้หลายรูปแบบแล้วแต่ความเหมาะสมและวัตถุประสงค์ขององค์กร ติดตามอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการปรับตัวทางธุรกิจได้ที่ 7 ทางรอดธุรกิจในยุคนวัตกรรมครองเมือง

อาชีพอะไรบ้างที่ถูก Disruption

อาชีพที่จะหายไป เพราะ Digital Disruption.

1. คนนำเที่ยว หรือ คนทำทัวร์ ... .

2. แคชเชียร์ ... .

3. คนทำอาหารฟาสต์ฟู้ด ... .

4. พนักงานธนาคาร ... .

5. ช่างทอผ้า หรือ แรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ... .

6. พนักงานต้อนรับ ... .

7. พนักงานในอุตสาหกรรมการพิมพ์.

Digital Disruption คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

Digital Disruption มักแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นการตามให้ทันเหตุการณ์ต่าง ๆ ช่วยให้คุณสามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้ พร้อมทั้งทำให้ลูกค้าเก่ามีความสุขและเปิดโอกาสให้พบลูกค้าใหม่ได้ ตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Digital Disruption ได้แก่ Grab, Shopee, Alibaba, Amazon หรือ Line เป็นต้น

ตัวอย่าง Disruptive Technology มีอะไรบ้าง

11 ตัวอย่างอันน่าทึ่งของการเข้ามาของ Disruptive Technology.

1. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ... .

2. Internet of Things (IoT): ... .

3. Space Colonization: ... .

4. 3D Printing: ... .

5. นวัตกรรมทางการแพทย์ (Medical Innovations): ... .

6. การเดินทางด้วยความเร็วสูง (High-Speed Travel): ... .

7. วิทยการหุ่นยนต์ (Robotics):.

ธุรกิจถูก disrupt คืออะไร

การ Disruption คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ ที่เข้ามาทำลายธุรกิจในรูปแบบเดิม แต่เป็นการทำลายเพื่อพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งธุรกิจแบบเก่าจะถูกแทนที่ด้วยธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์มากกว่าเดิม