Developer ในการพ ฒนาซอฟต แวร ม หน าท อะไร

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามีบทบาทสำคัญในโลกการทำงานแบบเต็มร้อย ดังจะเห็นได้จากบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ที่นำเรื่องราวของเทคโนโลยีเข้าผสมผสานกับการทำงานมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงคนทั่วไปที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรื่องโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตถือเป็นปัจจัยที่ 6 ในการดำรงชีวิต ซึ่งแอปพลิเคชันหรือซอฟแวร์ต่าง ๆ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนถูกสร้างขึ้นและได้รับการพัฒนาจากอาชีพ Software Engineer แทบทั้งสิ้น นี่จึงให้อาชีพนี้ก้าวขึ้นแท่นเป็นอีกหนึ่งสายอาชีพยอดฮิตแห่งยุค โดยบทความนี้เราจะมาเจาะลึกถึง Software Engineer กันให้มากขึ้น ว่าพวกเขาทำหน้าที่อะไร และต้องใช้ทักษะแบบไหนในการทำงานบ้าง

Software Engineer คืออะไร

อาชีพ Software Engineer หรือที่เราเรียกกันในภาษาไทยว่า “วิศวกรซอฟต์แวร์” คือหนึ่งใน สายงานวิศวกรรม เป็นคนที่สามารถนำโปรแกรมต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผสานกับความสามารถในการพัฒนาระบบเพื่อช่วยเรื่องการประเมินคุณภาพและปฏิบัติการภายในองค์กร ซึ่งคนที่จะทำตำแหน่งนี้ได้นั้น ต้องมีความรู้ด้านซอฟต์แวร์และวิศวกรรม เพราะระบบต่าง ๆ ขององค์กรจะอยู่ภายในมือของพวกเขา ทั้งในส่วนของการผลิต จัดเก็บข้อมูล พัฒนา หรือออกแบบ เป็นต้น

นี่จึงถือเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญในบริษัทไม่แพ้ตำแหน่งอื่น ๆ เลยทีเดียว เพราะทุกองค์กรจะต้องมีการใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเกี่ยวกับด้านระบบซอฟต์แวร์ เพื่อป้องกันความเสียหายมูลค่ามหาศาลที่อาจเกิดขึ้นได้ โดย Software Engineer จะต้องมีการนำหลักการและทฤษฎีทางวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การมองและวิเคราะห์ปัญหาด้วยแนวคิดเชิงวิศวกรรม หรือการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเดิมก่อนสร้างสิ่งใหม่ เป็นต้น

จากนั้นก็ต้องทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแก่องค์กรหรือลูกค้า เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เขาทำงานให้ ผสานกับการทำงานร่วมกันกับ Programmer ซึ่งการทำงานกับโปรแกรมเมอร์นี่แหละที่ทำให้ Software Engineer จะต้องมีความรู้ด้าน Coding ติดตัวไว้ด้วย

Associate Software Engineer คืออะไร

นอกจากตำแหน่ง Software Engineer แล้ว หลายคนคงอาจเคยเห็นตำแหน่ง Associate Software Engineer กันมาด้วย ซึ่งความแตกต่างกันก็คือตัว Associate นั้นว่าง่าย ๆ ก็คือระดับ Entry Level ที่กำหนดไว้สำหรับเด็กจบใหม่หรือผู้ที่ยังมีประสบการณ์ในอาชีพนี้มาไม่มากนัก เมื่อสั่งสมประสบการณ์ไปได้ประมาณ 1-3 ปี ก็อาจมีการปรับชื่อตำแหน่งเป็น Software Engineer

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างหรือการกำหนดชื่อตำแหน่งภายในองค์กรด้วย เพราะบางองค์กรก็ไม่ได้มีการระบุคำว่า Associate เอาไว้ในตำแหน่งของผู้ที่เพิ่งเริ่มงานหรือในระดับ Entry Level โดยบางที่ก็อาจใช้ชื่อว่า Junior Software Engineer หรือบางทีก็ใช้ว่า Software Engineer ไปเลย

โดย Associate Software Engineer นั้น จะต้องทำงานร่วมกับ Software Engineer ที่มีประสบการณ์มาแล้ว เพื่อช่วยกันพัฒนาและปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ภายในองค์กร พร้อมทั้งร่วมกันออกแบบหรือดีไซน์แอปพลิเคชันต่าง ๆ อีกด้วย ส่วนความรู้ที่ต้องมีติดตัว เรียกได้ว่าก็ต้องมีแบบอัดแน่นไม่แพ้ Software Engineer เลย

Software Developer กับ Software Engineer ต่างกันอย่างไร

อีกตำแหน่งที่หลายคนก็ยังเคยได้ยินกันมาก็คือ Software Developer จนอาจสงสัยว่ามีความแตกต่างจาก Software Engineer อย่างไร สำหรับ Software Developer หรือเรียกกันในภาษาไทยว่า “นักพัฒนาซอฟต์แวร์” นั้นคือผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบ วางแผนพัฒนา การเขียนโปรแกรม ตลอดจนถึงการบริหารโปรเจกต์หรือออกแบบฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า Software Engineer ที่จะดูเป็นภาพกว้าง

โดยหน้าที่หลักของ Software Developer เช่น

  • วิจัย วิเคราะห์ และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์
  • เรียนรู้กระบวนการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  • ดูแลขั้นตอนของระบบซอฟต์แวร์ให้อยู่ในมาตรฐาน
  • แก้ไขข้อมูลซอฟต์แวร์ภายในบริษัท

วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) ต้องเรียนจบคณะอะไร

ในปัจจุบันมีมากกว่า 20 มหาวิทยาลัยที่ทำการเปิดสอนรายวิชาต่าง ๆ เพื่อรองรับการทำงานในตำแหน่ง Software Engineer ซึ่งส่วนใหญ่จะมีบรรจุหลักสูตรอยู่ในคณะต่าง ๆ เช่น

คณะวิศวกรรมศาสตร์

  • คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

ตามแต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดว่าอยู่ในคณะไหน แต่ส่วนใหญ่ในทุกคณะที่กล่าวไป จะวิชาเอกเป็นชื่อ “สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์” ทั้งหมด

โดยจะมีการสอนในด้านความรู้พื้นฐานของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ไล่ตั้งแต่การวิเคราะห์ออกแบบไปจนถึงขั้นตอนของการทดสอบ นอกจากนี้ยังมีการสอนเกี่ยวกับด้านวิศวกรรมความรู้ และวิชาเลือกด้านปัญญาประดิษฐ์เสริมเข้ามาอีกด้วย

Hard skill ที่สำคัญต่ออาชีพ Software engineer

หน้าที่ของ Software Engineer คือการออกแบบ พัฒนา และดูแลรักษาระบบซอฟต์แวร์ ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่การให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ ตลอดไปจนถึงการสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้ จากนั้นจึงลงมือทำการออกแบบ พัฒนา และทดสอบระบบ ก่อนจะดำเนินการส่งถึงมือผู้ใช้งาน เมื่อขั้นตอนทุกอย่างเสร็จสิ้น ก็ยังต้องคอยมีการปรับปรุงและแก้ไขระบบ เพื่อสนับสนุนการบริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป โดย ทักษะ ด้านแบบ Hard Skill ที่สำคัญของ Software Engineer ได้แก่

ทักษะทางด้านเทคนิค

อันดับแรกเลยคงหนีไม่พ้นทักษะเกี่ยวกับเทคนิค ที่จำเป็นต้องมีอย่างยิ่ง เช่น

  • Coding
  • Programming Paradigms
  • Software Architecture Styles
  • Data Patterns
  • Data Structures และ Algorithms
  • Database
  • Testing
  • Version Control Systems
  • Build Tools
  • Web Security
  • Caching
  • Cloud Computing

ทักษะด้าน Transferable Skills

ยกตัวอย่างเช่น จะต้องมีความรู้ด้านการออกแบบสำหรับ Software Engineer ที่รับผิดชอบในส่วนของมือถือและเว็บไซต์ ซึ่งจะต่อยอดไปถึงการให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ หรือในส่วนของ Software Engineer ที่รับผิดชอบในด้านความปลอดภัย ก็ต้องเป็นคนที่ความรอบคอบ กล้าตัดสินใจ ผสานกับการมีวิจารณญาณที่ดีเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบให้ได้มากที่สุด

Soft skill ที่สำคัญต่อ Software engineer

การเป็น Software Engineer นั้น แม้หลักๆ แล้วจะต้องอาศัย Hard Skill ที่เน้นทักษะด้านเทคนิคในการทำงานเป็นหลักแล้ว แต่ Soft Skill ก็ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกันสำหรับการทำงานตำแหน่งนี้ เพราะอย่างไรเสียก็ต้องมีการร่วมงานกับคนอื่น และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผ่านทักษะเหล่านี้

มีความอ่อนน้อมถ่อมตนทางปัญญา

ไม่ว่าใครหรือทำงานตำแหน่งไหน ก็ไม่ควรทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว เพราะทุกคนย่อมมีประสบการณ์และความรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเรื่องราวของ Intellectual Humility หรือความอ่อนน้อมถ่อมตนทางปัญญา จึงถือเป็นทักษะที่จะช่วยให้คุณพัฒนาตัวเอง เพราะแม้ว่าคุณจะมีประสบการณ์อัดแน่นมาเพียงไหน แต่บางครั้งคุณก็อาจจะพลาดรายละเอียดเล็กน้อยในบางเรื่องไป ในขณะที่คนอื่นกลับไม่พลาดในเรื่องนี้ ดังนั้นการเรียนรู้พร้อมทั้งยอมรับคำวิจารณ์ ก็จะช่วยให้คุณได้ปรับปรุงชิ้นงานและพัฒนาตัวเองได้เช่นกัน

ใช้ประโยชน์จากความรู้รอบด้าน

การเป็น Software Engineer ต้องพร้อมที่จะปรับตัวและยอมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้นหากอยากประสบความสำเร็จในสายอาชีพนี้ อาจต้องใช้ความรู้จากหลายๆ ด้านเข้ามาประกอบ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับคนในบริษัทหรือลูกค้าที่อาจไม่ได้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีมากนัก เพราะฉะนั้นคุณนี่แหละที่จะเป็นตัวช่วยให้ทุกอย่างประสบความสำเร็จได้ การนำความรู้ด้านอื่น ๆ ที่คุณมีมาเสริมทัพกับทักษะด้านเทคนิค ก็จะช่วยเพิ่มคุณค่าและช่วยให้คุณเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ที่ดียิ่งขึ้นได้

มองภาพรวมเป็นหลัก

เรื่องของวิสัยทัศน์ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ ต้องเป็นคนที่มองภาพรวมเป็นหลัก ผสานกับการทำความเข้าว่าทำไมบริษัทจึงต้องสร้างผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ขึ้นมา ต้องเข้าใจภาพใหญ่ของบริษัท คอยศึกษาอยู่เสมอว่างานที่กำลังพัฒนาอยู่เป็นธุรกิจแบบไหน พร้อมกับการนำเอาเรื่องของเทคโนโลยีมีผสมผสาน ว่าจะช่วนสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้อย่างไรบ้าง

พัฒนาทักษะตัวเองอยู่เสมอ

การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ดังนั้นการเป็น Software Engineer ก็ต้องหมั่นพัฒนาทักษะตนเองอยู่เสมอ คอยหาความรู้หรือ เทคคอร์ส เพิ่มเติม เพื่อดึงสิ่งเหล่านี้มาช่วยเสริมให้งานของคุณออกมาดียิ่งขึ้น อาจลองรังสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ หรือลองเขียนโค้ดที่ไม่เคยใช้มาก่อน ลองพัฒนาความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมด้วยการใช้อัลกอริธึมหรือโครงสร้างข้อมูลที่แตกต่างกัน ก็ช่วยให้คุณได้พัฒนาและสร้างสรรสิ่งใหม่ ๆ ได้

ตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง

เรื่องของ การตั้งเป้าหมายในการทำงาน จริง ๆ แล้วควรมีในทุกสายอาชีพ เพราะการที่คุณกำหนด Career Path ให้ตัวเองไว้อย่างชัดเจน ว่าอยากไปถึงจุดไหนในเส้นทางอาชีพ ก็จะช่วยเป็นแรงผลักดันให้เราอยากเดินทางไปถึงจุดนั้นได้ โดยอาศัยทักษะต่าง ๆ ที่คุณมี ประกอบกับความพยายามและความสำเร็จที่ผ่านมา ให้เป็นตัวขับเคลื่อนและสร้างกำลังใจ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นประโยชน์แก่ตัวคุณเองทั้งสิ้น ทั้งนี้หากไม่รู้ว่าจะตั้งเป้าหมายให้ออกมาอย่างไรดี สามารถใช้เทคนิค Smart Goal ได้ เพื่อให้เห็นเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ค้นหางานตำแหน่งวิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)

ทักษะต่าง ๆ ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill ที่กล่าวไปนั้น ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งจะที่ช่วยทำให้คนที่สนใจกลายเป็น Software Engineer ประสบความสำเร็จได้ แต่นอกจากนี้ยังต้องอาศัยทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน ผสานกับความรักและความมุ่งมั่นในอาชีพนี้ด้วย อีกทั้งการอยู่ในสายงานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ถือเป็นอีกอาชีพที่มีส่วนช่วยให้ผู้คนใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

Software Engineer ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ต้องอาศัยทักษะความรู้มากพอสมควร โดยในตลาดแรงงาน อาชีพนี้ยังคงต้องเป็นที่ต้องการของหลายบริษัท และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ใครที่กำลังมองหางาน Software Engineer อยู่ สามารถค้นหาบริษัทที่โดนใจผ่านทาง JobsDB ได้เลย

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%81-%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%ad%e0%b8%97%e0%b8%b5/

Developer มีตำแหน่งอะไรบ้าง

โดยทั่วไปแล้ว Developer จะแบ่งได้เป็น 4 ตำแหน่งหลัก ๆ ได้แก่ Front End Developer, Back End Developer, Full Stack Developer และ DevOps Engineer เนื่องจากการพัฒนา Software มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก โดยแต่ละตำแหน่งที่แยกย่อยลงไปนี้ ก็จะมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

Software Engineer กับ Software Developer ต่างกันยังไง

ดังนั้นความแตกต่างคือ งาน programming จะโฟกัสที่ development ส่วนงาน software engineering จะโฟกัสที่ development, modification, และ maintenance. เพื่อให้เห็นผลกระทบของเวลาที่ชัดเจนขึ้น ลองดูคำถามนี้กัน “คิดว่าโค้ดของเราจะอยู่ไปถึงเมื่อไรกัน” เพื่อตอบคำถามนี้ลองจินตนาการถ้าเราจะต้องอยู่กับซอฟต์แวร์นั้นเป็นทศวรรษ (10 ปี)

Software Engineer ต้องเก่งอะไร

ทักษะการแก้ปัญหา (Problem-Solving) ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) ทักษะการปรับตัว (Adaptability) ทักษะการทำงานเป็นทีม (Collaboration / Teamwork)

Developer หมายถึงอะไร

(n) ผู้พัฒนา, See also: นักพัฒนา, Syn. builer, projector. Hope Dictionary. developer. (ดีเวล'ละเพอะ) n. ผู้พัฒนา, สิ่งที่พัฒนา, น้ำยาล้างฟิล์มถ่ายรูป, ผู้บุกเบิก