ค ม อ การ ใช โปรแกรม coreldraw 12

โดยปกติเมื่อได้ทำการสร้างรูปร่างพื้นฐาน เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม จำไม่สามารถทำการปรับเปลี่ยนรูปร่างดืแต่โปรแกรม CorelDraw 12 นี้ มีวิธีในการปรับเปลี่ยนรูปร่างของรูปทรงพื้นฐาน ดังวิธีต่อไปนี้

  1. คลิกที่รูปทรงที่ต้องการเปลี่ยนรูปร่าง
  1. คลิกเลือกเมนู Arrange
  1. เลือกคำสั่ง Convert To Curve
  1. จะปรากฏเห็นจุด (Node) รอบเส้น หลังจากนั้นคลิกเลือกเครื่องมือ Shape Tool
  1. คลิกที่จุดที่ต้องการปรับเปลี่ยน

การเลือก Node

  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Shape Tool
  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. คลิกเลือก Node

การเพิ่ม/ลบ Node

  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Shape Tool
  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. ดับเบิ้ลคลิก Node ที่ต้องการเพิ่ม/ลบ

การปิดเส้นโค้ง

  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Shape Tool
  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. คลิกเลือก Node สุดท้าย
  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Auto – close Curve

การปิดเส้นตรง

  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Shape Tool
  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. คลิกเลือก Node แรก
  1. คลิกเลือก Node สุดท้าย
  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Extend Curve to close

การเรียง Node

  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Shape Tool
  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. เลือก Node ที่ต้องการเรียง
  1. คลิกปุ่ม Align Node บน Property bar
  1. กำหนดตำแหน่งของการเรียง Node

· Align Horizontal เรียงในแนวนอน

· Align Vertical เรียงในแนวตั้ง

· Align Control Points เฉพาะการเรียง 2 Node ทั้งแนวตั้งและแนวนอนพร้อมกัน

  1. คลิกปุ่ม OK

การยืด/หมุน Node

  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Shape Tool
  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. เลือก Node ที่ต้องการ ยืด/หด
  1. คลิกเลือกที่ Property bar
  1. คลิกเลือก Node แล้วจับย้ายเพื่อยืด/หด

การบิดวัตถุ

  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. คลิกเลือกเมนู Arrange
  1. เลือก Transformations
  1. เลือก Skew
  1. กำหนดตำแหน่งการบิดวัตถุในแนวนอนหรือแนวตั้ง
  1. คลิกปุ่ม Apply หรือ Apply to Duplicate

การยืด/หดวัตถุ

  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. คลิกเลือกเมนู Arrange
  1. เลือก Transformations
  1. เลือก Size
  1. กำหนดค่าการยืด/หด ในแนวตั้งและแนวนอน
  1. คลิกเอาเครื่องหมายถูกที่ Non-proporitional ออก
  1. คลิกปุ่ม Apply หรือ Apply to Duplicate

การเพิ่ม/ลบพื้นที่บางส่วนของภาพ

เมื่อสร้างวัตถุขึ้นมา หากต้องการเพิ่มหรือลบพื้มที่ของวัตถุนั้น ในโปรแกรม CorelDraw 12 สามารถทำได้ดังนี้

  1. คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการเพิ่ม/ลบ
  1. คลิกเลือกเมนู Arrange
  1. เลือกคำสั่ง Convert To Curve
  1. เลือกเครื่องมือ Smudge brush tool
  1. คลิก ณ ตำแหน่งที่ต้องการเพิ่ม/ลบ
  1. จะปรากฏว่ามีพื้นที่บางส่วนของภาพเพิ่มขึ้น

การสร้างรอยหยักในเส้น Path

  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Roughen brush tool
  1. แล้วคลิกที่เส้น Pathที่ต้องการเพิ่มรอยหยัก
  1. คลิกที่ตำแหน่งที่ต้องการสร้างรอยหยัก

การเปลี่ยนรูปร่างวัตถุโดยใช้ Distortion

Distortion เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปร่างของวัตถุ โดยลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร่างมี 3 ลักษณะ ดังจะได้ศึกษาต่อไปนี้

  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Interractive Distortion tool
  1. คลิกเลือกลักษณะของรูปร่างที่ต้องการจะเปลี่ยนต่อไปนี้

· Push and pull Distortion

· Zipper Distortion

· Twister Distortion

  1. คลิกที่จุดที่ต้องการแล้วลากเมาส์เพื่อปรับเปลี่ยนรูปร่างตามต้องการ
  1. จะได้รูปร่างตามที่ไดปรับเปลี่ยน

การยกเลิกใช้ Distortion

  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. คลิกที่เมนู Effects
  1. เลือกคำสั่ง Clear Distortion
  1. วัตถุจะกลับมาเหมือนเดิม

การเปลี่ยนรูปร่างวัตถุโดยใช้ Envelope

เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุให้ผิดแปลกไปจากปกติ มีขั้นตอนดังนี้

  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Interractive Envelope tool
  1. เลือกเปลี่ยนลักษณะรูปร่างที่ Property bar
  1. คลิกเลือก Node ที่ต้องการแล้วลากเมาส์เพื่อเปลี่ยนรูปร่าง

การตัดวัตถุโดยใช้คำสั่ง Trim

เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างวัตถุที่เกิดจากการตัดกัน 2 วัตถุ สามารถเรียกใช้คำสั่งนี้จากเมนู Arrange>Shaping>Trim หรือสามารถเรียกได้จาก Docker ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการใช้ Trim ที่ Docker มีขั้นตอนดังนี้

  1. สร้างวัตถุขึ้นมา 2 ชิ้น
  1. คลิกเลือกเมนู Arrange>Shaping>Trim
  1. เลือก Trim
  1. เลือกวัตถุที่เป็นตัวตัด
  1. คลิกเลือกปุ่ม Trim
  1. จะปรากฏสัญลักษณ์ให้คลิกที่วัตถุที่ต้องการตัด
  1. จะปรากฏวัตถุที่ถูกตัดโดยวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง

การเชื่อมวัตถุเข้าด้วยกัน

เป็นการเชื่อมวัตถุ 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  1. สร้างวัตถุขึ้นมา 2 ชิ้น และคลิกวัตถุชิ้นที่ 1
  1. คลิกที่ปุ่ม Weld To ที่ Docker
  1. คลิกวัตถุชิ้นที่2 ที่ต้องการ Weld
  1. จะปรากฏว่าวัตถุทั้ง 2 ชิ้นได้เชื่อมต่อกัน

การ Blend วัตถุ

การ Blend วัตถุ มีขั้นตอนดังนี้

  1. คลิกที่ปุ่ม Interractive Blend tool
  1. คลิกวัตถุชิ้นที่ 1
  1. กดเมาส์ค้างไว้และลากไปยังวัตถุชิ้นที่ 2
  1. จะปรากฏการรวมกันของวัตถุ 2 ชิ้น

การใช้ PowerClip Effect

PowerClip Effect คือ การนำวัตถุชิ้นหนึ่งวางภายในวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  1. คลิกเลือกวัตถุต้นแบบ
  1. เลือก Effects
  1. เลือก PowerClip > Place Inside Container
  1. จะปรากฏลัลักษณะลูกศรสี ให้คลิกที่วัตถุที่ต้องการนำมาวาง
  1. จะปรากฏว่าวัตถุชิ้นหนึ่ง วางอยู่ในวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง

การใส่สีพื้นหลังให้กับวัตถุ

มีขั้นตอนดังนี้

  1. คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการใส่สี
  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Interractive Fill Tool
  1. เลือกสีที่ต้องการจากแถบสี

การใสสีพื้นหลังแบบ Fointain Fills

เป็นวิธีการระบายสีให้กับวัตถุโดยสามารถกำหนดสีได้มากกว่า 1 สี และมีรูปแบบการใส่สีอยูทั้งหมด 4 แบบ ด้วยกัน ซึ่งการใส่สีมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการใส่สี
  1. คลิกเลือกที่ Fill Tool แล้วเลือก Fointain Fills Dialog
  1. กำหนดรูปแบบของการใส่สีที่ Type
  1. กำหนดสีที่ต้องการใส่ ชื่อช่อง Color blend
  1. คลิกปุ่ม OK

การสร้างลวดลายจากจอภาพ

  1. คลิกที่เมนู Tool
  1. เลือก Create
  1. เลือก Pattern
  1. คลิกที่ Full Color
  1. คลิกปุ่ม OK
  1. กำหนดขอบเขตของภาพที่ต้องการทำเป็นลวดลาย
  1. คลิกปุ่ม OK เพื่อยืนยันพื้นที่ที่ต้องการสร้างลวดลาย
  1. บันทึกชื่อไฟล์ตามลวดลาย
  1. คลิกปุ่ม OK

การนำภาพเพื่อทำเป็นลวดลาย

  1. เลือกวัตถุ
  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Fill Tool แล้วเลือก Pattern Fill Dialog
  1. เลือกรูปแบบใดๆ ต่อไปนี้

· 2 – Color

· Full - Color

· Bitmap

  1. คลิกปุ่ม Load
  1. เลือกชื่อไฟล์ที่ต้องการ
  1. คลิกที่รูป Import
  1. จะกลับมายังหน้าจอ Pattern Fill กำหนดรายละเอียดของภาพที่ Size
  1. หลังจากนั้นให้คลิกปุ่ม Ok
  1. จะปรากฏภาพที่กำหนดไว้เป็น Pattern

การใส่ลวดลายแบบ Postscript Fill

  1. เลือกวัตถุที่ต้องการใส่ลวดลาย และเลือกเครื่องมือ Interractive Fill Tool
  1. เลือก Postscript Fill ที่ Fill Type
  1. เลือกลวดลายที่ช่อง Postscript Fill Textures
  1. จะปรากฏลวดลายตามที่ต้องการ

การใช้ Mesh Fill

  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Interractive Mesh Fill
  1. กำหนดจำนวนของแถวที่ปุ่มบน Property bar และกำหนดคอลัมน์ที่ปุ่มบน Property bar
  1. จะปรากฏเส้นตาข่ายขึ้นมา และมี Node กำกับ สามารถคลิกและทำการเคลื่อนย้ายแต่ละ Node ได้
  1. จะปรากฏสีพื้นมีการเปลี่ยนแปลง

การลบสี

  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. คลิกที่เครื่องมือ X (No Fill)

การสร้างวัตถุให้มีความลึก (Perspective Effect)

เป็นการเพิ่มความลึก ให้กับวัตถุ ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองในภาพด้วย สามารถทำงานได้กับวัตถุชิ้นเดียว หรือกลุ่มของวัตถุก็ได้

  1. คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการ
  1. คลิกเลือกที่เมนู Effect > Add Perspective
  1. จะปรากฏกรอบเส้นประสีแดงขึ้นมา ให้กด CTRL ค้างเอาไว้แล้วคลิกที่ Node แล้วลากขึ้นลงเพื่อปรับความลึกของวัตถุ
  1. จะปรากฏรูปที่มีที่ปรับความลึก

การสร้างมิติให้กับวัตถุ (Extrude Effect )

เป็นเครื่องมือในการสร้างมิติสามให้กับวัตถุ 2 มิติ

  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Interractive Extrude Tool
  1. นำเมาส์คลิกที่ Node และลากเพื่อปรับมิติให้กับวัตถุตามต้องการ

การสร้างเงาให้กับวัตถุ (Drop Shadow)

Interractive Drop Shadow Tool เป็เครื่องมือสำหรับสร้างเงาที่ซ้อนอยู่หลังวัตถุ

  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Interractive Drop Shadow Tool
  1. จะปรากฏจุดขึ้นมาให้คลิกที่จุดและลากเมาส์

การสร้างภาพโปร่งแสง (Transperency Effect)

  1. คลิกเลือกวัตถุ
  1. คลิกเลือกเครื่องมือ Interractive Transperency Tool
  1. คลิกที่ Node ที่ต้องการสร้างภาพโปร่งแสง และลากเพื่อกำหนดระยะของภาพ

การใช้ Lens Effect

Lens Effect คือการทำให้วัตถุที่อยู่ด้านหลังมีการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่มีการซ้อนทับกันของวัตถุ โดยจะสามารถมองเห็นวัตถุด้านหลัง