Chernobyl มห นตภ ยน วเคล ยร โลกไม ล ม

ิดีโอจำนวนหนึ่งที่เผยแพร่บนโลกออนไลน์บ่งชี้ว่า รัสเซียยึดเชอร์โนบิลได้แล้ว รถถังของกองกำลังที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดเคลื่อนพลมาเข้ายังพื้นที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีมากที่สุดในโลก เชอร์โนบิลคือชื่อของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของยูเครน ไม่ไกลจากชายแดนเบลารุส และยังเป็นชื่อเรียกของอุบัติเหตุครั้งเลวร้ายในประวัติศาสตร์

รัสเซียยึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลสำเร็จ หวั่นหายนะครั้งใหม่

ยูเครนระดมพลแฮกเกอร์ใต้ดิน ช่วยปกป้องหลังบ้านจากรัสเซีย

ย้อนไปเมื่อวันที่ 26 เมษายน ปี 1986 ในช่วงเวลาที่ยูเครนยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต โรงไฟฟ้าที่เป็นความหวังด้านพลังงานกลับกลายเป็นหายนะ เมื่อแท่งเชื้อเพลิงที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ของเกิดหลอมละลายและระเบิดขึ้น ชิ้นส่วนในเครื่องปฏิกรณ์กระจายไปทั่วอาคาร

โดยเศษแกนกราไฟต์ติดประกายไฟ เพลิงลุกไหม้อาคารโรงไฟฟ้าอยู่ถึง 10 วัน ฝุ่นกัมมันตรังสีพวยพุ่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ กระแสลมพัดพาเถ้ากัมมันตรังสีกินอาณาเขตแถบตะวันตกของรัสเซีย ยูเครน เบลารุส ไปจนถึงยุโรปตะวันตกและยุโรปเหนือ

Chernobyl มห นตภ ยน วเคล ยร โลกไม ล ม

จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดมีเพียง 31 คน แต่จำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากรังสีมีมากถึงเกือบหมื่นคน และพิษของรังสียังคงตกค้างมาจนถึงคนรุ่นหลัง ทำให้ผู้คนในบริเวณนี้ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์สูงเป็นพิเศษ

มหันภัยที่เกิดขึ้นกับเชอร์โนบิลถือเป็นมหันตภัยการรั่วไหลของกัมมันตรังสีระดับ 7 หรือระดับร้ายแรงที่สุด อีกความเสียหายในระดับเดียวกันคือ มหันตภัยที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ซึ่งทุกวันนี้รังสีที่ปนเปื้อนยังเป็นปัญหาเช่นกัน

Chernobyl มห นตภ ยน วเคล ยร โลกไม ล ม

ผ่านพ้นมา 36 ปีแล้ว เชอร์โนบิลยังคงรกร้าง มีนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการผจญภัยแวะเวียนไปเยี่ยมเยียน แต่ที่นี่ยังไม่ปลอดภัยพอให้อยู่อาศัย อาณาเขตกว้าง 2,600 ตารางกิโลเมตร ยังคงปนเปื้อนไปด้วยรังสี

Chernobyl มห นตภ ยน วเคล ยร โลกไม ล ม

ทั้งนี้ รายงานระบุว่า กองทัพรัสเซียยึดพื้นที่ทางเข้าของเชอร์โนบิลเท่านั้น พวกเขายังไม่ได้เข้าไปข้างใน ส่วนเจ้าหน้าที่ชาวยูเครนจำนวนหนึ่งที่ประจำการบริเวณนั้นถูกจับเป็นตัวประกัน ประชาคมโลกหวั่นใจต่อแผนการขั้นต่อไปของรัสเซีย เพราะไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ด้วยตำแหน่งที่ไม่ไกลจากชายแดน เชอร์โนบิลอยู่ในการคาดการณ์ตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะถูกรัสเซียบุกจากทางตอนเหนือ โดยเข้ามาทางเบลารุส เนื่องจากระยะห่างระหว่างชายแดนเบลารุสและเชอร์โนบิลมีระยะเพียง 16 กิโลเมตรเท่านั้น

เหตุผลของการบุกยึดเชอร์โนบิลที่แท้จริงคงมีเพียงแต่กองทัพรัสเซียเท่านี้ที่ทราบ แต่สำหรับทางการทหาร เชอร์โนบิลคือทางผ่านไปสู่กรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครนที่ห่างออกไปเพียง 130 กิโลเมตรเท่านั้น กองทัพรัสเซียสามารถข้ามแม่น้ำดีเปอร์ในเบลารุส เพื่อลงใต้มายังเชอร์โนบิล มุ่งสู่กรุงเคียฟ วิธีนี้ช่วยให้รัสเซียไม่ต้องข้ามแม่น้ำดนีเปอร์ในยูเครนที่กว้างและอันตรายกว่า ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า รัสเซียไม่ได้ต้องการอะไรจากเชอร์โนบิล เว้นแต่เป็นทางผ่านไปสู่การบุกล้อมเมืองหลวง

Chernobyl มห นตภ ยน วเคล ยร โลกไม ล ม

แต่กระนั้นประชาคมโลกก็อดกังวลไม่ได้ เพราะทราบดีว่ามีอะไรอยู่ในเชอร์โนบิล โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลตั้งอยู่กลางป่าสนใกล้กับเมืองปรีเปียต พื้นที่บริเวณนี้มีค่าปนเปื้อนของรังสีไม่เท่ากัน ภาพถ่ายของเชอร์โนบิลที่ถูกเผยแพร่และเป็นภาพจำมักเป็นภาพของกลุ่มอาคารถูกทิ้งร้างว่างเปล่า และข้าวของผุพังเต็มไปด้วยสนิม ภาพเหล่านี้มาจากเมืองปรีเปียต ชุมชนใกล้เชอร์โนบิลที่ถูกสั่งให้อพยพทันทีเมื่อ 36 ปีก่อน และปัจจุบันกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ความน่าหวาดหวั่นที่แท้จริงตั้งอยู่ ณ ใจกลางโรงไฟฟ้า ตรงจุด Ground Zero ที่เคยเกิดระเบิดขึ้น ปัจจุบันจุดนี้มีเหล็กกล้าเสริมด้วยคอนกรีตหนาขนาดมหึมาครอบอยู่ โครงสร้างพิเศษนี้ออกเแบบให้มีรูปทรงโค้ง กว้าง 256 เมตร ยาว 152 เมตร หรือยาวกว่าสนามฟุตบอล และสูงพอที่จะครอบเทพีเสรีภาพได้จนหมด ที่ต้องสูงก็เพราะต้องปกปิดเตาปฏิกรณ์ที่ระเบิดทั้งหมด อันที่จริงจุดนี้เคยมีคอนกรีตเก่าสมัยที่โซเวียตสร้างขึ้นเพื่อป้องกันรังสีครอบอยู่ แต่ผุพังในเวลาต่อมา รัฐบาลยูเครนจึงตัดสินใจครอบพื้นที่อันตรายนี้ใหม่ทั้งหมดเมื่อปี 2017

Chernobyl มห นตภ ยน วเคล ยร โลกไม ล ม

โครงการนี้มีมูลค่า 1,500 ล้านยูโร หรือราว 55,000 ล้านบาท ได้รับเงินสนับสนุนจากหลายชาติในกลุ่ม G7 เพื่อป้องกันไม่ให้รังสีรั่วไหลออกมาสู่สิ่งแวดล้อม คาดกันว่าโครงสร้างจะตั้งตระหง่านไปอีกร้อยปี ด้วยความหวังว่าในอนาคตปริมาณรังสีจะลดลง หรือมนุษยชาติอาจหาวิธีกำจัดที่มีประสิทธิภาพได้แล้ว และถ้าหากหาวิธีไม่ได้ ก็ต้องรอถึงหมื่นปี กว่ารังสีจะสลายตัวไปตามธรรมชาติ

โดมยักษ์ไม่ต่างจากกล่องแพนโดรา เชอร์โนบิลยังคงเป็นฝันร้ายของยุโรป และมาวันนี้พื้นที่อันตรายยังถูกใช้เป็นตัวประกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองให้รัสเซีย

Chernobyl มห นตภ ยน วเคล ยร โลกไม ล ม

นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า แม้พื้นที่ดังกล่าวจะไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่หากโดมยักษ์ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะจากความตั้งใจหรืออุบัติเหตุก็ตาม รังสีปริมาณมหาศาลจะรั่วไหลออกมาเพราะโครงสร้างนี้ได้รับการออกแบบให้ทนทานต่อพายุทอร์นาโดและภัยธรรมชาติอื่นๆ ไม่ใช่ทนทานต่อจรวดหรือการโจมตีจากความขัดแย้งของมนุษย์

อย่างไรก็ตาม นาทีนี้ พื้นที่ปนเปื้อนที่อันตรายที่สุดในโลกกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง และผู้คนคาดหวังว่ารัสเซียจะใช้เชอร์โนบิลเป็นเพียงแค่ทางผ่าน เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้น โลกอาจได้เห็นภาพของมหันตภัยการรั่วไหลของกัมมันตรังสีเกิดขึ้นอีกครั้งในปีนี้

เชอร์โนบิล ดูได้ที่ไหน

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl nuclear power plant) ในประเทศยูเครน ตั้งอยู่ที่เมือง “พรีเพียต” (Pripyat) ซึ่งเดิมอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศสหภาพโซเวียต ส่วนปัจจุบันเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ ทางตอนเหนือของยูเครน (ใกล้ชายแดนเบลารุส)

เชอร์โนบิล ใช้เวลากี่ปี

แม้จะผ่านมานานกว่า 30 ปี ในทุกวันนี้ เชอร์โนบิล เมืองพริเพียต ยังคงถูกทิ้งร้าง เนื่องจากต้องกำจัดพลูโตเนียมที่แพร่กระจายปกคลุมไปทุกหนแห่ง โดยคาดว่าต้องใช้เวลามากกว่า 300 ปี เพื่อให้เมืองกลับมาดังเดิม

ฟุกุชิมะ อันตรายไหม

สารรังสีที่ยังพบในโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ : สำหรับสารรังสีที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและพบในน้ำที่เก็บกักไว้ที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ประกอบด้วย... 1.ซีเซียม-134 มีค่าครึ่งชีวิต 2 ปี (หมายถึงระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งของกัมมันตภาพรังสีตั้งต้น)

สาเหตุที่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดปัญหาคือ อะไร

ปัญหาพื้นฐานที่เอื้อต่อความซับซ้อนของระบบไฟฟ้านิวเคลียร์คืออายุการใช้งานที่ยาวนานมาก ๆ ของมัน ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นของการก่อสร้างสถานีพลังงานนิวเคลียร์เชิงพาณิชย์จนถึงการกำจัดที่ปลอดภัยของกากกัมมันตรังสีครั้งสุดท้ายของมันอาจกินเวลาถึง 100-150 ปี