นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เป็นน้ำมันที่ได้จากส่วนของเนื้อมะพร้าวแห้ง (Copra) นำมาผ่านกระบวนการสกัด แยกเหวี่ยง โดยไม่มีการเติมไฮโดรเจน และสารเคมีใดๆ เป็นน้ำมันที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น ฟลาวานอยด์ และ โพลีฟีนอล มีกรดไขมันอิ่มตัวชนิดที่มีประโยชน์ มีกรดไขมัน Omega 3 , 6 และ 9

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

กรดไขมันอิ่มตัวในมะพร้าวไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

นอกจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นจะถูกใช้อย่างแพร่หลายในด้าน ผิวพรรณ และความงามแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังได้รับความนิยมในการนำมาประกอบอาหารมากขึ้น ซึ่งน้ำมันมะพร้าวเป็นอาหารกลุ่มไขมันที่สามารถใช้เป็นพลังงานให้กับร่างกาย เช่นเดียวกับไขมันแหล่งอื่นๆ และคาร์โบไฮเดรต โดยไขมัน 1 กรัมจะให้พลังงาน 9 kcal

ในน้ำมันมะพร้าว มีกรดไขมันอิ่มสูง โดยเป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดกลาง (Medium chain fatty acid) ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถ ย่อย ดูดซึม และนำไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว จึงถูกสะสมในเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) ได้น้อยกว่ากรดไขมันอิ่มตัวที่มีขนาดโมเลกุลยาว (Long chain fatty acid) และยังมีรายงานบางชิ้น สนับสนุนว่า การกินหรือใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหาร ไม่ทำให้ระดับไขมันที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด อย่างไขมันตัวร้าย (LDL) และไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น และยังช่วยเพิ่มระดับไขมันตัวดี (HDL) ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวอีกด้วย

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

การใช้น้ำมันมะพร้าวมาประกอบอาหาร

การเลือกใช้น้ำมันแต่ละชนิดในการปรุงอาหาร ควรเลือกชนิดของน้ำมันให้เหมาะสมกับระดับความร้อนในการปรุงอาหาร น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ใช้ในการทอด และผัด น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียว ใช้ในการผัด และ น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ใช้ผัดที่ความร้อนไม่สูงนัก หรือประกอบกับการทำน้ำสลัด

ด้วยที่น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง จึงเหมาะที่จะใช้ในการ ผัด และ ทอดกรอบอาหาร เพราะให้ความร้อนสูง ทอดอาหารแล้วกรอบได้นาน เปลี่ยนแปลงสภาพน้อยเมื่อเจอความร้อนสูงๆ มีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นหืน และไม่ทำให้ของทอดอมน้ำมัน อย่างไรก็ดี การใช้น้ำมันพืชในการทอดอาหาร สิ่งสำคัญคือ ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ควรใช้เพียง 1- 2 ครั้งแล้วทำการเปลี่ยนน้ำมันจะดีที่สุด

น้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนชา ให้พลังงานราว 39 kcal และไม่มีคอเรสเตอรอล พลังงานทั้งหมดมาจากไขมัน การใช้น้ำมันมะพร้าวในการปรุงอาหาร ควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรเกินปริมาณไขมันรวมที่ร่างกายต้องการ คืออยู่ที่ประมาณ 25-30% ของปริมาณพลังงานรวมที่ร่างกายต้องการ

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

การเลือกน้ำมันมะพร้าวที่ดี

น้ำมันมะพร้าวที่ดีจะต้องมีความใส โปร่งแสง ไม่มีตะกอน หรือ สิ่งเจือปน มีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นหืน การเลือกควรอ่านฉลากประกอบสินค้าให้ละเอียด ตรวจสอบที่มา สถานที่ผลิตที่ได้มาตรฐาน ตรวสอบส่วนผสม วันผลิต และวันหมดอายุเสมอ

ปัจจุบันน้ำมะพร้าวในท้องตลาดนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ( Virgin Coconut Oil ) มีความใสเหมือนน้ำ ไม่มีสี และน้ำมันมะพร้าว 100% สำหรับใช้ปรุงอาหาร (Coconut Cooking Oil) มีสีเหลืองอ่อนๆ ใส ไม่มีตะกอน ด้วยลักษณะของไขมันอิ่มตัวที่มีอยู่ในน้ำมันมะพร้าว จึงทำให้น้ำมันมะพร้าวเกิดการแปลงสภาพเป็นของแข็งเมื่อเจอกับความเย็น และ ละลายกลับไปเป็นของเหลวอย่างรวดเร็วเมื่อเจอความร้อน จึงไม่ต้องแปลกใจเมื่อพบน้ำมันมะพร้าวเป็นไขสีขาวบนชั้นในซุปเปอร์มาร์เก็ต

OrGreen (ออร์กรีน) น้ำมันมะพร้าวเพื่อคนรักสุขภาพ

น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร Orgreen (ออร์กรีน) ผลิตจากเนื้อมะพร้าวออร์แกนิคแห้ง 100% สกัดแบบแยกเหวี่ยง โดยไม่เติมไฮโดรเจน และสารเคมีใดๆ ทำให้น้ำมันมะพร้าวของ OrGreen (ออร์กรีน) ไม่มีกลิ่นของมะพร้าว รวมถึงไม่มีกลิ่นหืนมารบกวนกลิ่นอาหาร และไม่มีควันในขณะปรุงอาหาร

Orgreen (ออร์กรีน) น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร ประกอบด้วยกรดไขมันที่มีความอิ่มตัวสูง ไม่ใส่สารกันเสีย ไม่มีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ทนความร้อนได้ดี ไม่แปรสภาพทางเคมี เมื่อเจอความร้อนสูงๆ จากการทอด จึงนำมาใช้ ผัด และทอดกรอบอาหารที่ใช้ความร้อนสูงๆ ได้ ทำให้อาหารกรอบได้นาน เพิ่มรสชาติของอาหารให้หอม อร่อย พร้อมได้คุณค่าทดีต่อสุขภาพ

น้ำมันมะพร้าว 100% สำหรับปรุงอาหารอร์กรีน มีจำหน่าย 3 ขนาด คือ 240 / 500 / 1000 มล. มีจำหน่ายแล้วในโซนน้ำมันพืชตาม ห้างสรรพสินค้า และ ร้านค้าชั้นนำทั่วไป

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันที่กลับขึ้นมาเป็นน้ำมันพืชที่ได้รับความนิยม นำมาปรุงอาหารมากขึ้น การเลือกน้ำมันมะพร้าวมาใช้ควรเลือกน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตโดยวิธีการสกัดเย็น เพื่อลดการเปลี่ยนสภาพเมื่อเจอความร้อนสูง ตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์ ดูวันผลิต และวันหมดอายุ และควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะน้ำมันมะพร้าวก็มีพลังงานเช่นเดียวกับน้ำมันพืช และไขมันสัตว์ชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ หากใช้น้ำมันมะพร้าวในการทอดอาหาร ควรเปลี่ยนน้ำมันบ่อยๆ หรือใช้เพียงแค่ 1-2 ครั้งแล้วทำการเปลี่ยนน้ำมันใหม่

ถ้าน้ำมันมะกอกสกัดเย็นคือของล้ำค่าของชาวตะวันตก น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นก็คือของล้ำค่าของชาวตะวันออกอย่างเราเช่นกัน

เราต่างรู้จักน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นในฐานะเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ ราคาค่อนข้างสูง เพราะกว่าจะสกัดน้ำมันออกมาได้ ต้องใช้เนื้อมะพร้าวในปริมาณมาก เป็นน้ำมันที่ไม่ผ่านความร้อนเลย หรืออาจจะผ่านความร้อนอ่อน ๆ จึงยังมีสารอาหารตามธรรมชาติอัดแน่นอยู่มากมาย ดื่มก็ดี ทาก็ได้ อีกทั้งยังเป็นยาสมานแผลชั้นเลิศ ควรค่าแก่การบรรจุเป็นน้ำมันสารพัดประโยชน์ประจำบ้าน

ข่าวดีคือเราก็ทำเองได้ และข่าวดีต่อที่สองสำหรับผู้ที่รักสุขภาพผิว เราจะมาชวนทำ Cleansing Oil หรือน้ำมันล้างหน้าจากน้ำมันมะพร้าวที่เราสกัดเองแบบปราศจากสารกันเสีย เรียกได้ว่าได้ใช้ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวทั้งส่วนบำรุงไปจนถึงการชำระล้าง

น้ำมันมะพร้าวมีวิธีสกัดออกมาได้หลายแบบ โดยวิธีที่เราจะทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นในครั้งนี้ เกิดจากวิธีการหมักน้ำกะทิ (Fermentation Method) โดยใช้หลักการตามธรรมชาติให้น้ำมันแยกออกจากน้ำเอง ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกที่สุดในรูปแบบโฮมเมด เรียบง่าย ใช้พลังงานน้อย ใคร ๆ ก็ทำได้ รอเวลาแค่ข้ามคืนก็ได้น้ำมันแล้ว ชนิดของน้ำมันมะพร้าวที่ได้เรียกว่าเป็น Raw Virgin Coconut Oil เพราะเป็นการสกัดโดยไม่ใช้ความร้อนและผ่านขั้นตอนน้อยที่สุด

อุปกรณ์

  1. มะพร้าวขูด 2 กิโลกรัม คั้นเป็นหัวและหางกะทิ
  2. โหลแบบใสปากกว้าง
  3. ช้อนตัก
  4. ที่กรองกาแฟและกระดาษกรอง

วิธีทำ

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

1. ไปร้านขายกะทิใกล้บ้านเพื่อสั่งซื้อมะพร้าวขูด 2 กิโล และให้เขาคั้นน้ำกะทิให้เลย ปัจจุบันร้านขายกะทิ มีเครื่องคั้นน้ำกะทิแบบแยกหัวแยกหางให้เสร็จสรรพ สะดวกมาก

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

2. เราจะได้หัวกะทิเข้มข้นไม่ผสมน้ำหนึ่งถุง และอีกถุงคือน้ำหางกะทิที่เกิดจากการผสมน้ำเพื่อคั้นรอบสอง หรือหากใครหาร้านที่คั้นเป็นน้ำกะทิให้ไม่ได้ ก็หาซื้อมะพร้าวขูดอย่างเดียวแล้วมาคั้นมือเองก็ยังได้ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะการทำน้ำมันมะพร้าวแบบโฮมเมดนี้ เราจะใช้ทั้งหัวและหางกะทิผสมรวมกันอยู่ดี

เมื่อได้น้ำกะทิแล้ว นำมาใส่โหลปากกว้าง วัสดุเป็นแก้วหรือพลาสติกใสเพื่อสังเกตการแยกชั้น ใช้หัวกะทิและหางกะทิในอัตราส่วนเท่า ๆ กันเทลงไปในโหล กะทิที่เราซื้อมารวมกันได้ประมาณ 2,600 กรัม หรือ 2 กิโลกว่า หลักการคือปริมาณน้ำกะทิที่ใช้ จะใกล้เคียงกับน้ำหนักของมะพร้าวขูดในตอนแรก

ส่วนโหลต้องปากกว้าง และขนาดโหลควรสัมพันธ์กับปริมาณน้ำกะทิที่เมื่อเทไปแล้ว น้ำกะทิจะเกือบเต็มในระดับบน ไม่ควรต่ำกว่าครึ่งโหล เพราะเมื่อเป็นน้ำมันแล้วจะตักออกยาก

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

3. ปิดฝาโหลตามปกติ ตั้งไว้ไม่ขยับประมาณ 24 ชั่วโมง สำหรับหน้าร้อนที่มีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสกว่า ๆ ตั้งไว้ในอุณหภูมิห้องได้เลย และถ้าเป็นหน้าหนาว ต้องมีตัวช่วยให้ความอบอุ่น ไม่ว่าจะห่มผ้าหนา ๆ หรือใส่ลังโฟมที่ข้างในมีกระเป๋าน้ำร้อน ถ้ายังอุ่นไม่พอ บ้านใครมีเตาอบให้ตั้งไว้ในเตาอบ เปิดอุณหภูมิแค่พออุ่น แล้วค่อยปิดไฟพักไว้

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

4. หลังจากนี้น้ำกะทิจะค่อย ๆ เข้าสู่กระบวนการหมักที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของแลกติกแอซิดแบคทีเรีย (Lactic Acid Bacteria) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่พบได้ในอาหารหรือนม โดยมีจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ทำหน้าที่แยกน้ำมันออกจากน้ำ แลคโตบาซิลลัสเจริญเติบโตได้ในน้ำ แต่ไม่เจริญเติบโตในน้ำมัน ดังนั้นน้ำที่ใช้ในกระบวนการคั้นน้ำกะทิจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญ เหมือนเป็นการสร้างที่อยู่อาศัยให้เหล่าจุลินทรีย์เจริญเติบโต นอกจากนี้แลคโตบาซิลลัสจะทำงานได้ดีในอุณหภูมิ 30 – 40 องศาเซลเซียส

นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องใช้อุณหภูมิค่อนข้างอุ่นในการสกัดน้ำมันมะพร้าว และการปิดฝาโหลไว้ก็เป็นการช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในโหล ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเหล่าจุลินทรีย์ เพราะพวกเขาเจริญเติบโตได้ในสภาวะที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน

การสกัดน้ำมันมะพร้าวด้วยวิธีหมักนี้มีผลดีและปลอดภัยมากกว่าวิธีอื่น เก็บรักษาได้นาน แถมมีกลิ่นหอมตามแบบฉบับของน้ำมันมะพร้าวอีกด้วย

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

5. เมื่อครบ 24 ชั่วโมง จะเห็นการแยกชั้นหลัก ๆ เป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดมีลักษณะเป็นครีมสีขาวคือโปรตีนกะทิ ชั้นกลางคือน้ำมันมะพร้าว และชั้นล่างคือส่วนของน้ำหมัก เป็นสัญญาณว่าเหล่าจุลินทรีย์ได้ทำหน้าที่ของตัวเองเสร็จสิ้นแล้ว พร้อมส่งต่อผลงานอันทรงคุณค่านี้ให้เราได้ใช้ประโยชน์ต่อ ขั้นตอนนี้เราควรรับมอบอย่างเบามือที่สุด ไม่ขยับโหลมากเกินไป

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

6. หาช้อนที่จะตักแต่ละชั้นออกมาได้ถนัด เราใช้ช้อนแกงแบบบางพับเป็นมุมฉากช่วยให้ตักออกมาง่ายขึ้น ค่อย ๆตักชั้นบนสุดที่เป็นโปรตีนกะทิแยกออกไปพักไว้ก่อน แต่อย่าเพิ่งทิ้ง เพราะนำไปทำน้ำมันมะพร้าวสกัดร้อนได้ด้วย เดี๋ยวตอนท้ายเราจะพาทำ

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

7. เมื่อตักชั้นแรกออก จะเห็นชั้นน้ำมันที่เราตั้งตารอ ให้ช้อนขึ้นอย่างเบามือ เลือกเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำมันออกมาให้ได้มากที่สุด พยายามไม่ให้ครีมสีขาวติดช้อนมาเยอะ เพราะจะทำให้ใช้เวลากรองที่นานขึ้น และให้แน่ใจว่าไม่ตักโดนส่วนน้ำที่อยู่ด้านล่าง

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

8. หาภาชนะและที่กรองมารองไว้ เป็นขั้นตอนที่ต้องกรองให้ละเอียดที่สุดด้วยเช่นกัน เราใช้กระดาษกรองกาแฟมาช่วยในขั้นตอนนี้ ซึ่งมีประสิทธิภาพดีมาก ดีกว่าการกรองด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าขาวบาง ซึ่งกระดาษกรองกาแฟเป็นอุปกรณ์ราคาไม่แพง หาซื้อได้จากร้าน 60 บาท รวมถึงดริปเปอร์ทรงกรวยด้วย

9. เมื่อเราตักน้ำมันไปถึงจุดที่ตักแยกน้ำมันไม่ได้อีก ให้เปลี่ยนเป็นตักส่วนครีมกะทิที่เหลือที่ก้นชั้นน้ำมันไปรวมกับครีมกะทิส่วนแรก เพื่อเตรียมทำน้ำมันแบบสกัดร้อนต่อไป อาจจะติดส่วนน้ำไปบ้างก็ไม่เป็นไร เพราะน้ำจะระเหยไปเมื่อถูกความร้อน ส่วนน้ำหมักครึ่งโหลที่เหลือ หากนำไปรดน้ำต้นไม้ก็เป็นปุ๋ยชั้นดี

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

10. น้ำมันมะพร้าวที่ได้จะมีปริมาณเกือบ 500 กรัม ใช้เวลากรองทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง

11. แค่นี้เราก็ได้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นสดใหม่กว่าทุก ๆ ขวดที่วางขายในท้องตลาด แบ่งมารับประทาน ทาผิว ทำออยล์พูลลิ่ง หรือกลั้วปากด้วยน้ำมันสกัดเย็น​​ได้เลย

12. ก่อนจะนำไปทำน้ำมันล้างหน้า ให้วางพักไว้ก่อนในอุณหภูมิห้องประมาณ 7 วัน อย่าเพิ่งปิดฝา แค่คลุมด้วยผ้าสะอาดหรือทิชชูแล้วรัดหนังยางไว้ก็พอ เพื่อให้ความชื้นหรือหยดน้ำที่ปนอยู่ในน้ำมันได้ระเหยออกไป เพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้หืนง่ายและเกิดรา หมั่นสังเกตดูจนกว่าฟองอากาศส่วนที่เป็นน้ำหมดไป เหลือแค่น้ำมันใส ๆ เพื่อความแน่ใจ เราอาจนำมากรองอีกครั้งก่อนใส่ภาชนะปิดฝา

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

น้ำมันล้างหน้า (Cleansing Oil)

มาถึงขั้นตอนที่จะแบ่งไปทำเป็นน้ำมันล้างหน้า (Cleansing Oil)

Cleansing Oil คือน้ำมันทำความสะอาดเครื่องสำอาง ชนิดที่เมื่อล้างออกน้ำมันจะเปลี่ยนเป็นน้ำนม ใช้ทำความสะอาดเป็นขั้นตอนแรกในขณะที่ใบหน้ายังแห้งอยู่ ก่อนจะใช้โฟมล้างหน้าตามอีกที เป็นไอเท็มที่สาว ๆ หลายคนคุ้นเคยดี เคาน์เตอร์แบรนด์ใหญ่มีแทบทุกแบรนด์และราคาค่อนข้างสูง ในขณะเดียวกันก็ไม่แน่เสมอไปว่าเราใช้แล้วจะไม่แพ้ บางคนแพ้ส่วนประกอบน้ำมันที่อยู่ในนั้น บางคนแพ้น้ำหอม บางคนแพ้สารกันเสีย พลิกอ่านส่วนผสมก็ไม่เข้าใจเพราะเยอะจนตาลาย

จะดีแค่ไหนถ้าเราได้เลือกสรรส่วนประกอบเท่าที่จำเป็นด้วยตัวเราเอง ซึ่งจริง ๆ แล้วส่วนประกอบของเคลนซิ่งออยล์ไม่ได้ซับซ้อนเลย ใช้เพียงส่วนผสมแค่ 2 ชนิดเท่านั้น คือน้ำมันและอิมัลซิไฟเออร์ เราก็จะได้เคลนซิ่งออยล์ประเภทเดียวกับที่ขายตามเคาน์เตอร์แบรนด์ไว้ใช้ล้างหน้า เป็นเคลนซิ่งออยล์ในฝันอย่างที่เราต้องการคือ ทำจากน้ำมันธรรมชาติและไม่ต้องใส่สารกันเสียใด ๆ

อิมัลซิไฟเออร์จะช่วยประสานน้ำมันให้เข้ากับน้ำ ทำงานร่วมกับน้ำมันเพื่อสลายเมคอัพออกจากผิว และเมื่อสัมผัสกับน้ำก็จะนำพาสิ่งสกปรกคราบมันออกไปพร้อมกับน้ำ อิมัลซิไฟเออร์ที่เราเลือกใช้นั้นเรียกว่า BrijL4 มีชื่อทางการค้าคือ Laureth-4 และชื่อเล่นว่า Oil Milk มีลักษณะเป็นของเหลวใส แม้จะไม่ใช่วัตถุดิบธรรมชาติ แต่ก็มีความปลอดภัยต่อผิว เป็นตัวเดียวกับที่อยู่ในผลิตภัณฑ์อาบน้ำ Shower Oil ที่ทำขึ้นสำหรับคนผิวแห้งแพ้ง่าย

ปริมาณการใช้ BrijL4 ปรับได้ตามความต้องการ อยู่ระหว่าง 8 – 30 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นคนแต่งหน้าเยอะ ก็ปรับสัดส่วน BrijL4 ให้มากขึ้น ถ้าไม่ได้แต่งหน้าเลย แต่ใช้แค่ครีมกันแดดก็ปรับลดลงได้ หาซื้อได้ตามร้านขายวัตถุดิบเครื่องสำอางซึ่งมีจำหน่ายแบบออนไลน์อยู่หลายร้าน อัตราส่วนที่เรานำเสนอในวันนี้เป็นสูตรที่มีค่าชำระล้างปานกลาง ใช้ได้ทุกวัน เหมาะกับคนที่แต่งหน้าอ่อน ใช้รองพื้นบาง ๆ ตบแป้งฝุ่นนิดหน่อยหรือใช้แค่ครีมกันแดด

ส่วนประกอบ

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

1. น้ำมันมะพร้าวที่สกัดเตรียมไว้ 90 เปอร์เซ็นต์

2. BrijL4 10 เปอร์เซ็นต์

ในตัวอย่างเราทำที่ปริมาณ 200 กรัม ดังนั้นจะใช้น้ำมันมะพร้าว 180 กรัม และ BrijL4 20 กรัม

วิธีทำ

1. นำสองอย่างผสมและคนให้เข้ากัน ใส่อะไรก่อนก็ได้

2. เติมกลิ่นหอมที่ชอบได้ ด้วยการเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ (Essential Oil) ผสมเพิ่มเข้าไปในอัตราส่วนประมาณ 1 – 1.5 เปอรเซ็นต์ เช่น เราทำเคลนซิ่งออยล์ที่ 200 กรัม ให้เติมกลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยเพิ่มเข้าไป 2 – 3 กรัม ซึ่งน้ำมันหอมระเหยแต่ละกลิ่น ยังมีคุณสมบัติในการเยียวยาผิวที่ต่างกันไป ถ้าเรามีปัญหาสิว ให้ลองใช้น้ำมัน Tea Tree, Lemon หรือผิวไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่อยากสร้างกลิ่นหอมผ่อนคลาย ก็เลือกผสมกลิ่นที่ชอบได้เลย

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

สำหรับเรา เคลนซิ่งออยล์กลายเป็นไอเท็มที่ขาดไม่ได้ ในวันที่อยู่บ้าน แม้ไม่ได้แต่งหน้าก็ต้องทาครีมกันแดดตามคำแนะนำของคุณหมอเลเซอร์ผิวหน้าที่เราไปพบอยู่เป็นประจำ ซึ่งครีมกันแดดจัดเป็นเครื่องสำอางประเภทหนึ่งที่มีส่วนผสมชนิดกันน้ำกันเหงื่อ และยากต่อการล้างทำความสะอาดด้วยโฟมล้างหน้าแบบปกติ

การใช้เคลนซิ่งออยล์ชำระล้างก่อน จึงช่วยเพิ่มความแน่ใจว่าจะไม่มีสิ่งตกค้างอุดตันอยู่บนผิว เราชอบเคลนซิ่งออยล์ตรงที่ไม่ต้องใช้สำลี เพียงแค่ลูบไล้บนใบหน้าเบา ๆ ให้ทั่วแล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า ก็ชำระล้างเครื่องสำอางได้สะอาดแล้ว เพราะการใช้สำลีเช็ดหน้ามีข้อควรระวังตรงที่ไม่ควรเช็ดถูแรงเกินไป จะทำให้โครงสร้างผิวหนังเสียสมดุลได้ แถมยังไปกระตุ้นเม็ดสีให้ทำงานมากขึ้น ทำให้เกิดฝ้ากระและจุดด่างดำบนใบหน้าได้อีก

การทำเองยังช่วยให้เราปรับแต่งสูตรที่เหมาะกับผิวของเรา เคลนซิ่งออยล์เหมาะกับคนทุกสภาพผิว คนผิวมันก็ใช้ได้ เพราะถึงจะเป็นน้ำมันก็ไม่ได้ทำให้อุดตันหรือเป็นสิว ในทางตรงกันข้าม กลับช่วยดึงคราบมันออกจากผิวได้อย่างหมดจดแต่ไม่เสียความชุ่มชื้น เมื่อรูขุนขนไม่อุดตันก็จะช่วยให้เราไม่เป็นสิว

สิ่งสำคัญคือเราต้องเลือกใช้น้ำมันธรรมชาติที่มีคุณภาพ นอกจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่เราทำเองแล้ว เรายังเลือกใช้น้ำมันชนิดอื่นที่ชอบมาทำเคลนซิ่งออยล์ได้อีก เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันอัลมอนด์ น้ำมันรำข้าว น้ำมันโจโจบา จะเป็นรูปแบบสกัดเย็นหรือสกัดร้อนก็ได้

และถ้ารู้สึกว่าน้ำมันล้างหน้าเนื้อเหลวไป ให้ใช้น้ำมันละหุ่งประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ แทนที่น้ำมันตัวหลักที่ใช้ในสูตร เพื่อเพิ่มความหนืดสำหรับนวดหน้าได้สะดวกขึ้น

ลองเปลี่ยนจากการใช้เวลาเลือกยี่ห้อเคลนซิ่งออยล์ในท้องตลาด ที่อาจเต็มไปด้วยส่วนผสมจากน้ำมันสังเคราะห์เพื่อลดต้นทุน และการใส่สารกันเสียที่ไม่จำเป็นเพื่อให้วางขายในท้องตลาดได้นานขึ้น มาเป็นการทำน้ำมันมะพร้าวสด ๆ ที่ดีต่อสุขภาพผิว เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ล้างหน้าให้ตัวเองก็น่าภูมิใจไม่น้อย แถมช่วยลดค่าใช้จ่ายกับสิ่งที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ ซึ่งทำใช้ได้อย่างต่อเนื่อง หรือจะทำเป็นของขวัญของฝากให้กับคนที่เรารักก็ยิ่งดี แม้การทำเองจะดูยุ่งยาก แต่ก็เป็นสิ่งที่ควรใส่ใจ

เราเชื่อเสมอว่าทุกคนเข้าถึงคุณค่าแท้ของสิ่งต่าง ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาข้าวของที่ราคาเกินเอื้อม เพียงแค่เปิดใจให้กับความเป็นไปได้อื่นและลองลงมือทำ

วิธีทำน้ำมันมะพร้าวแบบสกัดร้อน

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

1. นำครีมกะทิที่ตักแยกไว้เทลงในกระทะ ตั้งไฟปานกลาง

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

2. ค่อย ๆ คนไม่ให้ติดก้นกระทะ แนะนำเป็นกระทะเคลือบ จะไม่ติดก้นเลย

3. รอเวลาที่ครีมกะทิค่อย ๆ สกัดน้ำมันออกมา ยืนรับกลิ่นหอม ๆ ของน้ำมันสักครู่

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

4. ผ่านไปประมาณ 10 นาที ครีมกะทิเปลี่ยนเป็นกากสีเหลืองทองแยกตัวชัดเจนออกจากน้ำมัน

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

5. กรองเอากากออก

นำ ม นมะพร าวทำอาหาร ต างก นย งไง

6. จะได้น้ำมันมะพร้าวสกัดร้อนสีเหลืองอ่อนมาในปริมาณถ้วยเล็ก ๆ ไว้ใช้ทอดไข่ดาวได้ตั้ง 2 ฟองในมื้อถัดไป