ทะเลทราย อ ณหภ ม กลางว น กลางค น

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน

Af

Am

Aw

BWh

BWk

BSh

BSk

Csa

Csb

Cwa

Cwb

Cwc

Cfa

Cfb

Cfc

Dsa

Dsb

Dsc

Dsd

Dwa

Dwb

Dwc

Dwd

Dfa

Dfb

Dfc

Dfd

ET

EF

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน (อังกฤษ: Köppen climate classification) เป็นหนึ่งในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศที่ใช้กันกว้างขวางที่สุด วลาดีเมียร์ เคิพเพิน เป็นผู้เผยแพร่ระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้เป็นคนแรกใน พ.ศ. 2427 และการแก้ไขเล็กน้อยโดยเคิพเพินเองตามมาใน พ.ศ. 2461 และ พ.ศ. 2479 ภายหลังนักกาลวิทยาชาวเยอรมันนามว่า รูด็อล์ฟ ไกเกอร์ ร่วมมือกับเคิพเพินเปลี่ยนแปลงระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้ บางครั้งจึงอาจเรียกระบบนี้ว่า การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินและไกเกอร์ (Köppen–Geiger climate classification system)

ตารางคำอธิบายสัญลักษณ์การจำแนกสภาพภูมิอากาศแบบเคิพเพิน ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 ภูมิอากาศเขตร้อน (A) f (ป่าฝน, ป่าดิบชื้น) m (มรสุม) s (สะวันนา, แห้งแล้งในฤดูร้อน) w (สะวันนา, อบอุ่นชื้นในฤดูร้อน) ภูมิอากาศเขตแห้งแล้ง (B) S (ทุ่งหญ้าสเตปป์, ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย) W (ทะเลทราย) h (ร้อน) k (อบอุ่น) ภูมิอากาศเขตอบอุ่น (C) f (ไม่มีฤดูแล้ง) s (แห้งแล้งในฤดูร้อน) w (แห้งแล้งในฤดูหนาว) a (อบอุ่นชื้น) b (อบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร) c (หนาวภาคพื้นสมุทร) ภูมิอากาศเขตหนาว (D) f (ไม่มีฤดูแล้ง) s (แห้งแล้งในฤดูร้อน) w (แห้งแล้งในฤดูหนาว) a (อบอุ่นชื้น) b (อบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร) c (หนาวภาคพื้นสมุทร) d (หนาว) ภูมิอากาศเขตขั้วโลก (E) T (ทุนดรา) F (ทุ่งน้ำแข็ง) H (สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,500 เมตร)

การแบ่งเขตภูมิอากาศ[แก้]

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินนั้นแบ่งเขตภูมิอากาศเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 6 กลุ่ม (อันประกอบด้วยกลุ่ม A, B, C, D,E และH) แต่ละกลุ่มใหญ่จะมีประเภทของเขตภูมิอากาศแบบต่าง ๆ อยู่ โดยแต่ละประเภทจะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์อักษรภาษาอังกฤษตั้งแต่ 2 ถึง 4 ตัวอักษร

กลุ่ม A (ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น)[แก้]

ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมีลักษณะพิเศษคืออุญหภูมิที่ค่อนข้างสูงบริเวณระดับน้ำทะเล ตลอดเวลา 12 เดือนใน 1 ปี จะมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 18 องศาเซลเซียส (64 องศาฟาเรนไฮต์) หรือสูงกว่านี้ ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสามารถแบ่งได้เป็นเขตภูมิอากาศย่อย ๆ ดังนี้

  • ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Af) ตลอด 12 เดือนมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 60 mm (2.4 in) สามารถพบภูมิอากาศแบบนี้ได้บริเวณละติจูด 5–10 องศาเหนือหรือใต้เส้นศูนย์สูตร ในบางพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกอาจพบภูมิอากาศแบบนี้ได้ไกลถึง 25 องศาจากเส้นศูนย์สูตร
    • ตัวอย่างเมือง
      • สิงคโปร์
      • เมเดยิน, ประเทศโคลอมเบีย
  • ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am)
    • ตัวอย่างเมือง
      • จาการ์ตา, ประเทศอินโดนีเซีย
      • ไมแอมี, รัฐฟลอริดา, สหรัฐอเมริกา
  • ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw)
    • ตัวอย่างเมือง
      • กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
      • มุมไบ, ประเทศอินเดีย

กลุ่ม B (ภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง)[แก้]

ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งเป็นบริเวณที่มีการระเหยของน้ำสูง ไม่มีปริมาณฝนเหลือพอที่จะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ปรากฏทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น แบ่งเป็นภูมิอากาศย่อยดังนี้

  • ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (BW) ปริมาณฝนตลอดปีน้อยกว่า 250 มิลลิเมตร (10 นิ้ว) ส่วนมากพบอยู่ตอนในของภาคพื้นทวีปทั้งบริเวณอากาศร้อนและอากาศอบอุ่น ทำให้แบ่งภูมิอากาศย่อยได้ ดังนี้
    • ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh)
    • ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตอบอุ่น (BWk)
  • ภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย (BS) มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าสั้น ๆ ปริมาณฝนอยู่ระหว่าง 250–750 มิลลิเมตร (10–30 นิ้ว) พบอยู่รอบทะเลทรายบริเวณอากาศร้อนและทะเลทรายบริเวณอากาศอบอุ่น ทำให้แบ่งภูมิอากาศย่อยได้ ดังนี้
    • ภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทรายเขตร้อน (BSh)
    • ภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น (BSk)

กลุ่ม C (ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นแถบละติจูดกลาง)[แก้]

  • ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Csa/Csb)
    • ตัวอย่างเมือง
      • เบรุต, ประเทศเลบานอน (Csa)
      • ลอสแอนเจลิส, สหรัฐอเมริกา (Csa)
      • คอร์รามาบัด, ประเทศอิหร่าน (Csa)
      • เซบิยา, ประเทศสเปน (Csa)
      • ซานเตียโก, ประเทศชิลี (Csb)
      • เอสซาอูรา, ประเทศโมร็อกโก (Csb)
      • โปร์ตู, ประเทศโปรตุเกส (Csb)
      • ซานฟรานซิสโก, สหรัฐอเมริกา (Csb)
      • เคปทาวน์, ประเทศแอฟริกาใต้ (Csb)
      • ซีแอตเทิล, สหรัฐอเมริกา (Csb)
  • ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa, Cwa)
    • ตัวอย่างเมือง
      • ฮ่องกง (Cwa)
      • ฮานอย, ประเทศเวียดนาม (Cwa)
      • กอร์โดบา, ประเทศอาร์เจนตินา (Cwa)
      • แรชต์, กิราน, ประเทศอิหร่าน (Cfa)
      • แจ็กสันวิลล์, รัฐฟลอริดา, สหรัฐอเมริกา (Cfa)
  • ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร (Cfb, Cfc, Cwb, Cwc)

กลุ่ม D (ภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป)[แก้]

กลุ่ม E (ภูมิอากาศแบบขั้วโลก)[แก้]

แผนที่เพิ่มเติม[แก้]

  • ทะเลทราย อ ณหภ ม กลางว น กลางค น
    แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในทวีปเอเชีย
  • ทะเลทราย อ ณหภ ม กลางว น กลางค น
    แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในทวีปแอฟริกา
  • ทะเลทราย อ ณหภ ม กลางว น กลางค น
    แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
  • ทะเลทราย อ ณหภ ม กลางว น กลางค น
    แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในภูมิภาคโอเชียเนีย
  • ทะเลทราย อ ณหภ ม กลางว น กลางค น
    แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในประเทศบราซิล
  • ทะเลทราย อ ณหภ ม กลางว น กลางค น
    แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในทวีปยุโรป
  • ทะเลทราย อ ณหภ ม กลางว น กลางค น
    แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในประเทศรัสเซีย
  • ทะเลทราย อ ณหภ ม กลางว น กลางค น
    แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในตะวันออกกลาง
  • ทะเลทราย อ ณหภ ม กลางว น กลางค น
    แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในทวีปอเมริกาใต้
  • ทะเลทราย อ ณหภ ม กลางว น กลางค น
    แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในทวีปอเมริกาเหนือ
  • ทะเลทราย อ ณหภ ม กลางว น กลางค น
    แผนที่แสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินในเอเชียใต้ การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน

ตาราง[แก้]

เขตภูมิอากาศ ภูมิอากาศ อุณหภูมิ ภูมิอากาศเขตร้อน (A) Af ภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน เฉลี่ยรายเดือนสูงกว่า 18°C Am ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน เฉลี่ยรายเดือนสูงกว่า 18°C As ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา แห้งแล้งในฤดูร้อน เฉลี่ยรายเดือนสูงกว่า 18°C Aw ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา อบอุ่นชื้นในฤดูร้อน เฉลี่ยรายเดือนสูงกว่า 18°C ภูมิอากาศเขตแห้งแล้ง (B) BS ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย BSh ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน เฉลี่ยรายปีสูงกว่า 18°C BSk ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น เฉลี่ยรายปีต่ำกว่า 18°C BW ภูมิอากาศแบบทะเลทราย BWh ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน เฉลี่ยรายปีสูงกว่า 18°C BWk ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตอบอุ่น เฉลี่ยรายปีต่ำกว่า 18°C ภูมิอากาศเขตอบอุ่น (C) Cf ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้ง Cfa ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งอบอุ่นชื้น เฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C Cfb ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C Cfc ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งหนาวภาคพื้นสมุทร เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C Cs ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน Csa ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่นชื้น เฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C Csb ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C Cw ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาว Cwa ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวอบอุ่นชื้น เฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C Cwb ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C Cwc ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวหนาวภาคพื้นสมุทร เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C ภูมิอากาศเขตหนาว (D) Df ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้ง Dfa ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งอบอุ่นชื้น เฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C Dfb ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C Dfc ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งหนาวภาคพื้นสมุทร เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C Dfd ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งหนาว เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า -38°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C Ds ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูร้อน Dsa ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูร้อนอบอุ่นชื้น เฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C Dsb ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูร้อนอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C Dsc ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูร้อนหนาวภาคพื้นสมุทร เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C Dsd ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูร้อนหนาว เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า -38°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C Dw ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาว Dwa ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวอบอุ่นชื้น เฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C Dwb ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีมากกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด อยู่ระหว่าง -3°C ถึง 18°C Dwc ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวหนาวภาคพื้นสมุทร เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า 10°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C Dwd ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในฤดูหนาวหนาว เฉลี่ยในฤดูร้อนต่ำกว่า 22°C มีน้อยกว่า 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่า -38°C เฉลี่ยในเดือนที่หนาวที่สุด ต่ำกว่า -3°C ภูมิอากาศเขตขั้วโลก (E) EF ภูมิอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง เฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ระหว่าง 0°C ถึง 10°C ET ภูมิอากาศแบบทุนดรา เฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ระหว่าง 0°C ถึง 10°C 1. ถ้าในแผนที่มีตัว H แสดงว่าเป็นภูมิอากาศแบบทุนดราที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,500 เมตร

อ้างอิง[แก้]

  • ↑ Peel, M. C. and Finlayson, B. L. and McMahon, T. A. (2007). "Updated world map of the Köppen–Geiger climate classification". Hydrol. Earth Syst. Sci. 11: 1633–1644. doi:10.5194/hess-11-1633-2007. ISSN 1027-5606.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) (direct: Final Revised Paper) มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา. 2557. ภูมิศาสตร์กายภาพ. ด่านสุทธาการพิมพ์.