ต.ห วยแย อ.หนองบ วระเหว จ.ช ยภ ม ภาษาอ งกฤษ

ส่วนราชการที่ตั้งอยู่ในที่ว่าการอำเภอหนองบัวระเหว (หลังใหม่) ประกอบด้วยที่ทำการปกครองอำเภอ (ฝ่ายสำนักงานอำเภอ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายพัฒนาและฝึกอบรม ฝ่ายโครงการชุมชนพอเพียงและเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายอำนวยความเป็นธรรมและคุ้มครองผู้บริโภค ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายทะเบียนและบัตร ทั้งนี้ บางฝ่ายจัดตั้งเป็นการภายใน) สำนักงานท้องถิ่นอำเภอ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ สำนักงานสรรพากรอำเภอ สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น สำนักงานสัสดีอำเภอ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานที่ดินอำเภอ สำนักงานประสานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอำเภอ สำนักงานประสานงานป่าไม้อำเภอ สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ สำนักงานการกีฬาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอ ส่วนราชการอื่นซึ่งมีที่ทำการแยกอาคารต่างหาก ประกอบด้วยสำนักงานเกษตรอำเภอ สถานีตำรวจ โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยหรือ กศน. ห้องสมุดประชาชน ศูนย์ประสานงานของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ สำนักงานโครงการชลประทานขนาดใหญ่ ที่ทำการไปรษณีย์ ที่ทำการไฟฟ้า ธนาคาร ธกส. ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ฯลฯ

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอหนองบัวระเหวแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 58 หมู่บ้าน ได้แก่

1. หนองบัวระเหว (Nong Bua Rawe)09 หมู่บ้าน 2. วังตะเฆ่ (Wang Takhe) 18 หมู่บ้าน 3. ห้วยแย้ (Huai Yae) 14 หมู่บ้าน 4. โคกสะอาด (Khok Sa-at)09 หมู่บ้าน 5. โสกปลาดุก (Sok Pla Duk)08 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอหนองบัวระเหวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลหนองบัวระเหว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวระเหวทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลห้วยแย้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยแย้ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลโคกสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสะอาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะเฆ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังตะเฆ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโสกปลาดุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโสกปลาดุกทั้งตำบล

แหล่งน้ำสำคัญ[แก้]

  • แม่น้ำชี เป็นลำน้ำสายหลักของอำเภอ
  • ลำห้วยระเหว ไหลผ่านตำบลหนองบัวระเหว
  • ลำเชียงทา เป็นลำน้ำตั้งต้นจากตำบลวังตะเฆ่ ผ่านตำบลโคกสะอาดและตำบลหนองบัวระเหว
  • ลำห้วยแย้ เป็นลำน้ำสำคัญของตำบลห้วยแย้
  • ลำห้วยตะโก เป็นลำน้ำที่ไหลผ่าน ตำบลห้วยแย้ ตำบลวังตะเฆ่และตำบลโคกสะอาด
  • อ่างเก็บน้ำท่าช้าง เป็นแอ่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญในเขตตำบลโสกปลาดุก
  • บึงหนองบัวระเหว พื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ เป็นแหล่งประปา แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและแหล่งประมง ซึ่งมีกุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ (ขนาด 3 ตัว น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ดูรายละเอียดในเว็บของอำเภอ)

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

อุทยานแห่งชาติไทรทอง[แก้]

อุทยานแห่งชาติไทรทองมีพื้นที่หลักและทางเข้าอยู่ในเขตอำเภอหนองบัวระเหว มีอาณาเขตครอบคลุมอำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอภักดีชุมพล และอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ 199,375 ไร่ หรือ 319 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติป่าหินงามและอุทยานแห่งชาติภูแลนคา เป็นผืนป่าบนทิวเขาพังเหย ในช่วงต้นฤดูฝนนอกจากผืนป่าจะเขียวชอุ่มชุ่มชื้นไปด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่แล้ว ที่นี่ยังงดงามโดดเด่นด้วยดอกกระเจียวที่ผลิบานอยู่เต็มท้องทุ่ง เรียกชื่อว่า "ทุ่งบัวสวรรค์" มีน้ำตกไทรทองที่สวยงาม

ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงต่ำหลายลูกเรียงรายสลับซับซ้อน มีระดับความสูงตั้งแต่ 300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ถึงสูงสุดที่ยอดเขาพังเหย 1,008 เมตร เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของลำห้วยโป่งขุนเพชร ลำห้วยเชียงทา ลำห้วยแย้ ลำห้วยยาง ล้ำน้ำเจา ลำน้ำเจียง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำชี หมู่บ้านสำคัญที่ตั้งอยู่ในบริเวณนี้ในเขตอำเภอหนองบัวระเหวคือหมู่บ้านหลังสันและหมู่บ้านปากดง ซึ่งสามารถปลูกไม้เมืองหนาวได้หลากหลายชนิด เช่น แมคาเดเมีย อาโวคาโด ชาโยเตหรือฟักแม้วหรือมะระหวาน เสาวรส และกาแฟ

พื้นที่ป่าแห่งนี้จัดอยู่ในภูมิอากาศประเภทฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม สามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู คือ

  1. ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ลักษณะของฝนที่ตกส่วนมากจะเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง อิทธิพลของพายุดีเปรสชันจะได้รับไม่มากนัก ฝนตกมากในช่วงเดือนกันยายน
  2. ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
  3. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม

สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติไทรทองสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. ป่าดิบแล้ง พบทางตอนเหนือของทิวเขาพญาฝ่อ และตอนกลางของทิวเขาพังเหย พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตะแบก กระบาก ตะเคียนหิน มะค่าโมง มะม่วงป่า ประดู่ นนทรีป่า สาธร และเขล็ง ฯลฯ
  2. ป่าเต็งรัง พบมากบริเวณพื้นที่สันเขาและพื้นที่ลอนลาดตอนล่างในทิวเขาพังเหย พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อ พะยอม เต็ง รัง พลวง ตีนนก กว้าว แดง รัก กระบก ส้าน ไผ่ และหญ้าชนิดต่าง ๆ
  3. ป่าเบญจพรรณ พบไม่มากนัก พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก มะค่าโมง และไผ่ชนิดต่าง ๆ

สัตว์ป่าที่พบเห็นได้ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรทอง ได้แก่ หมูป่า อ้น อีเห็น ชะมด เก้ง กระจง กระรอก กระแต กระต่ายป่า นกตะขาบทุ่ง นกกระปูด อีกา เหยี่ยว ไก่ป่า ตะกวด แย้ ตุ๊กแก กิ้งก่า งู กบ ปาด เขียด อึ่งอ่าง ฯลฯ และพบปลาบางชนิดตามแหล่งน้ำต่างๆ

ภายในอุทยานแห่งชาติไทรทอง ประกอบด้วยจุดท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ได้แก่

  • น้ำตกไทรทอง อยู่ใกล้บริเวณที่ทำการอุทยาน ตัวน้ำตกสูงประมาณ 5 เมตร ลานหินกว้างประมาณ 80 เมตร มีแอ่งน้ำขนาดใหญ่อยู่บริเวณหน้าน้ำตก เรียกว่า "วังไทร" สามารถลงเล่นน้ำได้ เหนือน้ำตกขึ้นไปมีวังน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า "วังเงือก" น้ำจะไหลลงมาตามความคดเคี้ยวของลานหินลงสู่น้ำตก ยาวประมาณ 150 เมตร เหนือน้ำตกไทรทองขึ้นไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกชวนชมมีเส้นทางเดินเพื่อศึกษาธรรมชาติ ระหว่างทางมีจุดที่เด่นน่าชมคือ ผาพิมพ์ใจ ดงเฟิร์น น้ำตกบุษบากร และพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่สวยงามตลอดเส้นทาง
  • ต้นไม้พันปี ตามเส้นทางไปสู่น้ำตกทางด้านซ้ายมือลึกเข้าไปประมาณ 50 เมตร จะมีต้นกระบากใหญ่ขนาดประมาณ 5 คนโอบ เรียกว่า ต้นไม้พันปี นับว่าเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่มากต้นหนึ่งของประเทศไทย สำหรับความสูงยังไม่มีผู้ใดประมาณไว้ เนื่องจากต้นไม้พันปีขึ้นอยู่ในหุบ เมื่อมองจากด้านบนจึงไม่เห็นความเด่น
  • น้ำตกชวนชม อยู่เหนือน้ำตกไทรทองขึ้นไปประมาณ 2 กิโลเมตร ตัวน้ำตกสูงประมาณ 20 เมตร กว้างประมาณ 50 เมตร อยู่ภายใต้แมกไม้ที่ร่มรื่น และมีน้ำตกไหลตลอดปี
  • ทุ่งดอกกระเจียว (ทุ่งบัวสวรรค์) มีอยู่มากบริเวณสันเขาพังเหยทางด้านทิศตะวันตก มีอยู่ 5 ทุ่งใหญ่ ๆ ด้วยกัน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานประมาณ 12 กิโลเมตร ดอกกระเจียวมีทั้งดอกสีชมพูและสีขาวซึ่งหาดูได้ไม่ง่ายนัก ในช่วงฤดูฝนระหว่างปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคม จะออกดอกสวยงามเต็มท้องทุ่ง ในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม บริเวณทุ่งดอกกระเจียวจะมีพันธุ์ไม้ชนิดอื่นขึ้นอยู่ให้ดอกสีม่วง ชมพู ส้ม และเหลืองสวยงาม เช่น ดอกดุสิตา สร้อยสุวรรณ จุกนารี กระดุมเงิน กระดุมทอง เอื้องนวลจันทร์ หงอนไก่แจ้ สามพันตึง และดาวเรืองภู เป็นต้น
  • ผาพ่อเมือง' อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานประมาณ 10 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปสู่ทุ่งบัวสวรรค์ ลักษณะเป็นแนวหน้าผาตามสันเขาพังเหย ทางด้านทิศตะวันตก ยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีความสูง 700-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล เมื่อมองลงไปทางเบื้องล่างจะเห็นตัวอำเภอภักดีชุมพล และทิวเขาพญาฝ่อซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างจังหวัดเพชรบูรณ์กับจังหวัดชัยภูมิ มีเส้นทางเดินชมธรรมชาติลัดเลาะไปตามแนวหน้าผา มีจุดชมวิวอยู่หลายจุดด้วยกันคือ ผาเพลินใจ ผาอาทิตย์อัสดง ผาสวนสวรรค์ และผาหำหด
  • ผาหำหด ได้ชื่อว่าเป็นหน้าผาที่น่าหวาดเสียวที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุด เมื่อขึ้นไปอยู่บนชะง่อนหินที่ยื่นออกไปจากหน้าผา

วัดเขาตาเงาะ[แก้]

เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพสักการะของชาวอำเภอหนองบัวระเหวและใกล้เคียง จะมีพิธีทำบุญมุทิตาจิตพระอาจารย์จื่อ การแสดงธรรมเทศนา การเลี้ยงและแจกจ่ายอาหาร เครื่องดื่มฟรี ประมาณปลายเดือนมิถุนายนของทุกปี มีทัศนียภาพสวยงาม ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สวยงาม มีภาพวาดพระเวสสันดรชาดกที่ประณีตสวยงาม มีพิพิธภัณฑ์ไม้สักทองที่มีพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ติดต่ออำเภอหนองบัวระเหวที่ [email protected]

ศาลเจ้าพ่อหลวงอภัยและเจ้าแม่อรพิม[แก้]

เป็นศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพสักการะคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอหนองบัวระเหว ปกติจะมีพิธีแห่เจ้าพ่อและพิธีบวงสรวงสักการะประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี ถือเป็นงานเทศกาลประจำปีที่สำคัญของอำเภอหนองบัวระเหว ในการจัดงานประจำปีจะจัดขึ้นในต้นเดือนธันวาคมของทุกปี

สวนสาธารณะและสวนสุขภาพบึงหนองบัวระเหว[แก้]

เป็นสถานที่ที่มีทิวทัศน์บึงหนองบัวระเหวที่สวยงาม ร่มรื่น เย็นสบาย เป็นสถานที่ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ และจัดงานประเพณีลอยกระทง รวมทั้งการทำกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ

อ้างอิง[แก้]

ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 55.

ต.วังตะเฆ่ มีกี่หมู่บ้าน

ตำบลวังตะเฆ่อยู่ในเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตที่ 3 จ.ชัยภูมิ และแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 18 หมู่บ้าน

หนองบัวระเหว อ่านว่าอะไร

หฺนอง-บัว-ระ-เหฺว

อำเภอ หนองบัว ระเหว มี กี่ หมู่บ้าน

แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 58 หมู่บ้าน แยกเป็นรายตำบล ดังนี้ ตำบลหนองบัวระเหว มี 9 หมู่บ้าน ตำบลวังตะเฆ่ มี 18 หมู่บ้าน

ระเหว แปลว่าอะไร

ประเด็นแรก ทหารได้เข้ามาส่องกล้องถางป่าเป็นทางเล็กๆ ลากเส้นกระแสวัดไปตามลำห้วยที่ผ่านหมู่บ้าน (เรียกว่า เซอร์เวย์) แต่ชาวบ้านเรียกว่า "ระเว" ซึ่งหมายถึงการแทรก หรือวัด และจึงเรียกลำห้วยที่ทหารเข้ามาเซอร์เวย์ว่า "ระเว" ต่อมาหลายปีเข้ามาจึงมีเสียงเรียกเพี้ยนไปเป็น "ห้วยระเหว"