ต วอ กษรประจำภ ม ภาคของทว ปเอเช ยตามแผนท ทางทหาร

เผยแพร่: 8 ม.ค. 2556 22:42 โดย: MGR Online

เอเจนซีส์ - ญี่ปุ่นภายใต้รัฐบาลชาตินิยมชุดใหม่ของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ เล็งเพิ่มงบกลาโหมเป็นครั้งแรกในรอบระยะเวลา 10 ปี รับมือสถานการณ์ตึงเครียดกับเพื่อนบ้านรอบด้าน ทั้งจีน เกาหลีเหนือและใต้ ล่าสุดโตเกียวยังเรียกทูตจีนมารับฟังการประท้วงกรณีเรือแดนมังกรรุกล้ำน่านน้ำบริเวณหมู่เกาะที่เป็นข้อพิพาท

ทีมเฉพาะกิจของพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (แอลดีพี) ที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งได้บริหารประเทศ มีแผนเพิ่มงบประมาณกลาโหมกว่า 100,000 ล้านเยน (1,150 ล้านดอลลาร์) ซึ่งแม้คิดเป็นเพียง 2% ของงบประมาณกลาโหมทั้งหมด แต่ถือว่ามีความสำคัญมากในเชิงสัญลักษณ์ และสะท้อนความกังวลที่มีต่อสถานการณ์ในภูมิภาคที่แดนปลาดิบมองว่า มีบรรยากาศของการเป็นปรปักษ์มากขึ้นจากการที่จีนดูเหมือนพอใจที่จะแผ่ขยายอำนาจอิทธิพล

เจ้าหน้าที่แอลดีพีเปิดเผยเมื่อวันอังคาร (8) ว่า งบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะนำไปใช้ในการวิจัยระบบเรดาร์ใหม่ ตลอดจนเป็นค่าเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงสำหรับเครื่องบินเตือนภัย

ข่าวนี้มีขึ้นไล่เลี่ยกับที่กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเรียกเอกอัครราชทูตจีนมารับทราบการประท้วงกรณีล่าสุดที่เรือของทางการจีนรุกล้ำน่านน้ำรอบ “หมู่เกาะเซงกากุ” ที่โตเกียวควบคุมอยู่ โดยที่จีนซึ่งก็อ้างกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกัน เรียกชื่อว่า “เตี้ยวอี๋ว์”

การเรียกตัวทูตจีนมารับทราบการประท้วงครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกภายใต้รัฐบาลนายกรัฐมนตรีอาเบะ และสะท้อนแนวทางแข็งกร้าวต่อจีนตามที่อาเบะหาเสียงไว้ในเดือนธันวาคม

สถานการณ์ในภูมิภาคยังระอุจากการที่เกาหลีเหนือยิงจรวดข้ามหมู่เกาะทางใต้ของญี่ปุ่นเมื่อเดือนที่แล้วโดยอ้างว่า เพื่อส่งดาวเทียมสำรวจสภาพอากาศขึ้นสู่วงโคจร ทว่า โตเกียวและพันธมิตรเชื่อว่า เป็นการบังหน้าเพื่อทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกล

นอกจากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ยังตึงเครียด หลังจากเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีอี มยอง-บัคของเกาหลีใต้ เดินทางไปยังหมู่เกาะที่สองประเทศพิพาทช่วงชิงกันอยู่ โดยที่ญี่ปุ่นเรียกชื่อหมู่เกาะนี้ว่าทาเกชิมะ และชาวแดนกิมจิเรียกว่าด็อกโด

ทั้งนี้ กองทัพของญี่ปุ่นอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญสันติภาพที่อเมริการ่างขึ้น ซึ่งจำกัดความสามารถในการทำสงครามก้าวร้าว กระนั้น นักวิจารณ์ระบุว่ากองทัพแดนปลาดิบมีความทันสมัยและเพียบพร้อมทั้งด้านเงินทุนและยุทโธปกรณ์

ระหว่างการหาเสียงเดือนที่แล้ว พรรคแอลดีพีประกาศเพิ่มกำลังพลของกองกำลังปกป้องตนเอง และเพิ่มอาวุธยุทโธปกรณ์และงบประมาณ หลังจากที่โตเกียวตัดลดการใช้จ่ายส่วนนี้ต่อเนื่อง 10 ปีจากภาวะหนี้สาธารณะที่สูงเป็น 2 เท่าของมูลค่าเศรษฐกิจ และถือว่าสูงที่สุดในบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว

งบประมาณกลาโหมเริ่มแรกสำหรับปีงบประมาณ 2012 ที่สิ้นสุดเดือนมีนาคมที่จะถึงอยู่ที่ 4.65 ล้านล้านเยน เทียบกับปี 2002 ที่อยู่ที่ 4.94 ล้านล้านเยน

อิสึโนริ โอโนเดระ รัฐมนตรีกลาโหมเผยว่า รัฐบาลจะทบทวนแนวทางโครงการกลาโหมแห่งชาติที่กำหนดกรอบนโยบายการทหารระยะ 10 ปีฉบับปัจจุบันที่บังคับใช้ในปี 2010 ภายใต้รัฐบาลของพรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟเจแปน (ดีพีเจ) ที่เพิ่งพ่ายแพ้การเลือกตั้งที่ผ่านมา

อนึ่ง โครงการกลาโหมพื้นฐานระยะยาวปัจจุบันครอบคลุมแผนการลดจำนวนกำลังพลราว 1,000 นาย

คาสึฮิโกะ โตโกะ ผู้อำนวยการสถาบันกิจการโลกของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซังเงียว มองว่าแผนการเพิ่มงบกลาโหมนี้เป็นผลโดยตรงจากทัศนคติที่เป็นปฏิปักษ์มากขึ้นของจีน โดยเฉพาะในประเด็นข้อพิพาทหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ ที่ปักกิ่งประกาศกร้าวว่า จะใช้กำลังยึดหากจำเป็น ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะ ญี่ปุ่นจึงไม่มีทางเลือกนอกจากป้องปรามด้วยการเพิ่งงบการทหาร

ด้านนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง COP28 พันธสัญญาไทยขับเคลื่อนความยั่งยืน ในงาน Sustainability Forum 2024 ยอมรับว่า หากต้องให้นิยามเศรษฐกิจในปีหน้า (2567) หนึ่งคำสั้นๆ คือคำว่า "หนักใจ" ทั้งเรื่องวิกฤตต่างๆ ค่าแรงขั้นต่ำที่ยังต่ำอยู่

อดีตทูตทหารสหรัฐฯ เตือน “โอบามา” เร่งฟื้นสัมพันธ์ “ไทย” ชี้กระทบยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชีย

เผยแพร่: 23 ก.ค. 2558 06:19 ปรับปรุง: 23 ก.ค. 2558 16:04 โดย: MGR Online

วอลล์สตรีท เจอนัลด์ - อดีตผู้ช่วยทูตทหารสหรัฐฯเขียนบทความเตือนรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา ว่าความสัมพันธ์ที่เสื่อมทรามลงระหว่างอเมริกากับไทยกำลังคุกคามนโยบายปักหมุดเอเชียของผู้นำรายนี้ แนะวอชิงตันปรับท่าทีเล่นบทบาทเชิงสร้างสรรค์กับพันธมิตรเก่าแก่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งทางยุทธศาสตร์

บทความของ พ.อ.เดสมอนด์ วอลตัน อดีตผู้ช่วยทูตทหารสหรัฐฯ ประจำกรุงเทพฯ และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาทางทหารสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย บนเว็บไซต์วอลล์สตรีท เจอนัลด์ ระบุว่าความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกากับไทย เสื่อมทรามลงอย่างมากนับตั้งแต่เหตุรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 และไม่เป็นที่แปลกใจที่วอชิงตันจะแสดงท่าทีหมางเมินใส่รัฐบาลรักษาการของไทยและเน้นย้ำให้คืนสู่ประชาธิปไตยในทันที ที่ก่อความเสียหายในแง่มุมอื่นๆของความสัมพันธ์ด้วย

พ.อ.วอลตันระบุว่า แนวทางนี้ไม่ได้แค่สั่นสะเทือนความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงที่เพิ่งได้รับการปรับปรุงเมื่อเร็วๆ นี้ แต่มันยังคุกคามหนึ่งในความคิดริเริ่มทางนโยบายต่างประเทศที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของประธานาธิบดีโอบามา ในการคืนความสมดุลแก่เอเชีย-แปซิฟิก

ด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงกับไทยที่อ่อนแอลง ส่วนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าก็หยุดนิ่ง พ.อ.วอลตัน จึงแนะนำว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะทบทวนพิจารณาแนวทางใหม่

อดีตผู้ช่วยทูตทหารสหรัฐฯ บอกต่อไปว่าเขาไม่ได้พูดว่าให้สหรัฐฯ ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นการเข้าแทรกแซงทางการเมืองของกองทัพไทย แต่วอชิงตันสามารถเล่นบทบาทเชิงสร้างสรรค์ในการสนับสนุนธรรมาภิบาล ในนั้นรวมถึงเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพลเรือน โดยไม่จำเป็นต้องโต้เถียงอย่างเปิดเผยกับเหล่านายพล ในแนวทางที่รังแต่สร้างความบาดหมางกับคนไทยต้องการเห็นการสิ้นสุดของการปกครองของทหารเช่นกัน ทั้งนี้รูปแบบทางการทูตที่ดีที่สุดคือต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและมีชั้นเชิง ไม่ประณามอย่างโต้งๆ

บทความของ พ.อ.วอลตัน ระบุว่าปฏิกริยาตอบสนองของไทยเป็นไปตามความคาดหมาย เมื่อเหล่าผู้นำจำเป็นต้องบ่ายหน้าหนีสหรัฐฯอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ความร่วมมือทวิภาคีได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะในด้านการทหาร ผลกระทบจากมาตรการต่างๆ ของสหรัฐฯ กัดเซาะความเชื่อมั่นของไทยต่อคำสัญญาจะเป็นพันธมิตรระยะยาวของอเมริกา และไทยก็ตอบโต้ด้วยการกันไปกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับคู่หูอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คำถามที่ว่าทำไมเรื่องนี้ถึงเป็นความผิดพลาด บางคนในสหรัฐฯอาจบอกว่าไม่มีความจำเป็นต้องแสดงความนับถือต่อกัน ในเรื่องนี้ พ.อ.วอลตัน บอกว่าก็จริงที่ไทยเป็นประเทศขนาดกลาง มีประชากรราวๆ 70 ล้านคนและเป็นชาติเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 22 ของโลก ขณะที่มูลค่าการค้าทวิภาคีแค่ 38,000 ล้านดอลลาร์ คงไม่ส่งผลกระทบเป็นหรือตายแก่เศรษฐกิจอเมริกา

แต่ พ.อ.วอลตันชี้ว่าอย่าลืมความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของไทย และในฐานะพันธมิตรที่ยาวนานของสหรัฐฯ อเมริกันชนควรคิดทบทวนเป็น 2 เท่าต่อการปล่อยให้ความสัมพันธ์นี้เสื่อมทรามลงไปมากกว่าเดิม โดยไทยไม่ใช่แค่จุดเข้าถึงเอเชียของกองกำลังอเมริกัน แต่ไทยยังมีแสนยานุภาพทางทหารอันสำคัญ ที่สามารถใช้เป็นตัวช่วยให้ภูมิภาคแห่งนี้ลดการพึ่งพาสหรัฐฯ ในการตอบโต้ความท้าทายด้านความมั่นคงต่างๆ

บทความของ พ.อ.วอลตัน ระบุต่อว่ายิ่งไปกว่านั้นอุตสาหกรรมกลาโหมของสหรัฐฯ เองก็จะได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายด้านกลาโหมอันกำยำของไทย คาดหมายน่าจะอยู่ราวๆ 7,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2015 โดยในช่วง 5 ปีหลังสุดเหล่าบริษัทต่างๆ ของสหรัฐฯ ขายอาวุธยุทโธปกรณ์และการบริการด้านกลาโหมแก่ไทยเกือบๆ 2,000 ล้านดอลลาร์

พ.อ.วอลตันบอกต่อไปว่า ท่ามกลางยุทธศาสตร์คืนความสมดุลแก่เอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งขึ้นอยู่กับเครือข่ายความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แข็งแกร่ง สหรัฐฯ จะได้ประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ด้วยการคงและกระชับความเป็นพันธมิตรกับไทย และจากคำถามที่ว่าความเป็นพันธมิตรระหว่างสองฝ่ายจะเข้มแข็งได้อย่างไรในแนวทางไม่ประนีประนอมของสหรัฐฯ ที่ยึดถือและเชื่อมั่นในการส่งเสริมประชาธิปไตย ในเรื่องนี้ พ.อ.วอลตันตอบว่าหากดูจากปฏิกิริยาอย่างกว้างๆ ของเหล่าผู้นำกองทัพของไทย นักวิชาการและพลเมืองคนดัง เขาเชื่อว่าคำตอบของคำถามนี้คือ “ได้แน่”

อดีตผู้ช่วยทูตทหารสหรัฐฯ ระบุต่อไปว่า คนไทยคาดหมายอยู่แล้วว่าสหัฐฯคงพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพลเมือง อย่างไรก็ตาม มีอยู่ 2 อย่างที่จะสามารถโน้มน้าวไทยให้มีพัฒนาการในประเด็นสำคัญต่างๆ เหล่านี้ อย่างแรกคืออเมริกาต้่องมีส่วนร่วมโดยตรงกับเหล่าผู้นำระดับสูงของไทย บังคับตัวเองละเว้นจากการพูดคุยที่ไม่สร้างสรรค์ อย่างที่สองคือสหรัฐฯ ควรใช้ช่องทางที่หลากหลายมากขึ้นในการอำนวยความสะดวกแลกเปลี่ยนมุมมองอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งท่าทีถมึงทึงรังแต่จะนำมาซึ่งความเป็นปรปักษ์และความหมางเมินกับพันธมิตรเก่าแก่แห่งนี้