ต วอย างแผนภ ม แท งเก ยวก บเกาะ

ARTHROPODA

- Arthropoda (arthorn แปลว่า ข้อต่อ และ podos แปลว่า เท้า) - ลักษณะเด่นของสัตว์ในไฟลัมนี้คือ ลำตัวเป็นปล้องและมีรยางค์เป็นข้อๆต่อกัน (jointed appendage) ยื่นออกมาจากแต่ละปล้องของลำตัว - มีจำนวนชนิดมากที่สุดในอาณาจักรสัตว์ ประมาณว่ามีถึงกว่า 9 แสนชนิดที่มนุษย์เราได้ค้นพบ - อาร์โทรปอดสามารถอาศัยอยู่ได้ในแทบทุกสภาพภูมิประเทศบนโลก นับว่าประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตบนโลกเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการที่เราพบสัตว์เหล่านี้ได้แทบทุกหนทุกแห่ง ทุกฤดูกาล และพบเป็นจำนวนมาก - การปรับตัวที่สำคัญคือ 1. มีโครงสร้างของร่างกายที่แข็งแรง 2. มีรยางค์ที่เคลื่อนไหวได้ดีมากและทำหน้าที่ได้หลายอย่าง 3. มีระบบประสาทที่เจริญดี มีอวัยวะรับความรู้สึกหลายชนิด 4. กินอาหารได้แทบทุกประเภท 5. และมีระบบสืบพันธุ์ที่เจริญดี ตัวเมียวางไข่ได้คราวละมากๆ 6. มีระยะตัวอ่อนที่สามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทำให้มีอัตราการรอดสูง 7. ฮอร์โมนและฟีโรโมน (pheromone) ทำให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างชนิดเดียวกันได้ดี - อาร์โทรปอดเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่สามารถดำรงชีวิตอยู่บนบกได้อย่างสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าบางกลุ่มยังคงอยู่ในน้ำ การที่อาศัยอยู่บนบกได้เนื่องจาก 1. มีผิวตัวที่แข็งป้องกันการระเหยของน้ำได้ดี 2. มีระบบหายใจที่สามารถนำเอาออกซิเจนจากอากาศเข้าไปยังเนื้อเยื่อได้โดยตรง 3. มีรยางค์ที่เคลื่อนไหวได้ดี มีน้ำหนักเบา 4. บางชนิดมีปีกบินได้ ทำให้การหาอาหารสะดวกยิ่งขึ้น

ลักษณะทั่วไป - สัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโปดามีลำตัวที่แบ่งออกเป็นส่วนๆอย่างชัดเจน (tagmatization) แต่ละส่วนจะประกอบไปด้วยปล้องหลายปล้องมารวมกัน และจำนวนปล้องในแต่ละส่วนของร่างกายจะมีจำนวนปล้องที่แน่นอนในสัตว์แต่ละชนิด - ตัวอย่างเช่น แมลงแบ่งร่างกายออกเป็น 3 ส่วนคือ หัว 4 ปล้อง อก 3 ปล้อง ท้อง 11 ปล้อง เป็นต้น - ปล้องแต่ละปล้องจะมีรยางค์ปล้องละ 1 คู่ แต่กลุ่มที่มีวิวัฒนาการสูงจะมีจำนวนปล้องน้อยและรยางค์มักจะมีไม่ครบทุกปล้อง ท รยางค์มีหลายแบบ สามารถทำหน้าที่ได้ครบถ้วนในการดำรงชีวิต

สิ่งห่อหุ้มร่างกาย - cuticle เป็นโครงร่างภายนอกที่มีไคตินเป็นส่วนประกอบ จึงแข็ง - epidermis อยู่บน basement membrane - epidermis สร้างคิวติเคิลซึ่งมีสารประกอบทางเคมีที่สำคัญ 1. chitin เป็นpolysaccharide คล้ายกับเซลลูโลส แต่มีไนโตรเจนอยู่ในโครงสร้างด้วย 2. โปรตีน ประกอบด้วย arthropodin และ resilin ซึ่งสามารถเปลี่ยนรูปของโมเลกุลทำให้เกิดเป็นโปรตีนแข็ง (sclerotization) 3. lipid, wax เป็นส่วนประกอบที่อยู่เฉพาะบริเวณผิวบนสุดของคิวติเคิล ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำในตัว 4. calcium carbonate พบสะสมอยู่ทั่วไปในคิวติเคิล ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ calcite ถ้ามีมากก็จะทำให้ผิวตัวแข็ง เช่น กระดองปู ถ้ามีน้อยตัวก็จะนิ่มลง เช่น ผิวตัวของตั๊กแตน เป็นต้น - cuticle จะเรียงตัวเป็นชั้นๆ ประกอบด้วย 1. epicuticle เป็นชั้นนอกสุด มีแต่ลิปิดและขี้ผึ้ง ไม่มีไคติน 2. procuticle เป็นชั้นที่หนา มีไคติน โปรตีน แคลเซียม และเม็ดสี มักจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้นย่อยเรียงจากด้านนอกเข้ามาคือ exocuticle และ endocuticle ทั้งสองชั้นนี้จะมีความหนาบางต่างกันไปในสัตว์แต่ละชนิด

ปล้อง - sclerite เปลือกหุ้มปล้องแต่ละปล้องแบ่งเป็น 4 แผ่นคือ 1. turgum 2. sternum 3. pleuron 2 แผ่น - articular membrane เยื่อบางที่พับทบอยู่ระหว่างเปลือกทำให้งอและเหยียดตัวในการเคลื่อนไหวได้ รยางค์ - prodomere ข้อแต่ละข้อในรยางค์ - articular membrane เช่นเดียวกับปล้องลำตัว

ระบบกล้ามเนื้อ - กล้ามเนื้อส่วนใหญ่เป็นกล้ามเนื้อลายเป็นมัดสั้น ๆ ยึดระหว่างปล้องของลำตัวและระหว่างโปโดเมียของรยางค์ - กล้ามเนื้อของอาร์โทรปอดจะมี 2 ชุดทำงานตรงข้ามกัน - flexor muscle มีขนาดใหญ่มักอยู่ทางด้านท้อง ทำให้ตัวงอได้ - extensor muscle มีขนาดเล็กกว่าและอยู่ตรงข้ามกล้ามเนื้องอตัว - อาร์โทรปอดเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เคลื่อนไหวได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ช่องตัวและระบบหมุนเวียน - ช่องตัวของอาร์โทรปอดมีขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่เป็นตัวเต็มวัย ช่องตัวจะเหลืออยู่รอบๆอวัยวะสืบพันธุ์ (gonocoel) เท่านั้น - ช่องว่างในลำตัวเกือบทั้งหมดจะเป็น hemocoel แทรกกระจายอยู่ทั่วไปในช่องว่างของลำตัว - ระบบหมุนเวียนเป็นระบบเปิด ประกอบไปด้วยหัวใจ เลือด และแอ่งเลือด (hemocoel) - เลือดของอาร์โทรปอดส่วนใหญ่มี haemocyanin เป็นตัวจับออกซิเจน บางชนิดมี haemoglobin - บางชนิดมีเกล็ดเลือด (blood-platelet) เหมือนสัตว์ชั้นสูง การแลกเปลี่ยนแก๊ส - gill เหงือกจะต้องชุ่มชื้นอยู่เสมอจึงจะแลกเปลี่ยนแก๊สได้ - book lung นำออกซิเจนจากอากาศเข้าไปตามท่อเข้าสู่เนื้อเยื่อโดยตรง - tracheal system นำออกซิเจนจากอากาศเข้าไปตามท่อเข้าสู่เนื้อเยื่อโดยตรง

ระบบย่อยอาหาร ท่อทางเดินอาหารของอาร์โทรปอดแบ่งออกเป็น 3 ตอนคือ 1. fore gut ด้านในบุด้วยคิวติเคิล ทางเดินอาหารส่วนนี้ประกอบด้วยปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร 2. mid gut จะมีท่อจากต่อมน้ำย่อยเข้ามาเปิด จึงมีหน้าที่ย่อยอาหาร ดูดซึมอาหาร 3. hind gut มีคิวติเคิลบุอยู่ที่ผนังด้านใน เป็นทางผ่านออกของกากอาหาร มีการดูดซึมน้ำ เกลือแร่บางอย่างออกจากกากอาหารเพื่อนำกลับไปใช้อีก

ระบบขับถ่าย - coxa gland - antennal gland - maxillary gland - Malpighian tubule

ระบบประสาท - brain - ventral nerve cord 1 คู่ nerve cord 2 เส้นก็มักจะมาชิดกันรวมกันเป็นเส้นเดียว - อาร์โทรปอดมีอวัยวะรับความรู้สึกหลายประเภทแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม

ระบบสืบพันธุ์ - เพศแยกเกือบทั้งหมด ยกเว้นพวกที่ยึดเกาะอยู่กับที่ เช่น เพรียงคอห่าน (Lepas sp.) มีเพศรวม - มี sexual dimorphism) อวัยวะที่แสดงความแตกต่างระหว่างเพศมักพบที่หนวด รยางค์อก รยางค์ท้อง - รังไข่ และอัณฑะจะมีเป็นคู่ ตำแหน่งจะแตกต่างกันไป แต่จะอยู่ใกล้กับช่องสืบพันธุ์เสมอ - ช่องสืบพันธุ์อาจจะเป็นช่องเดี่ยวหรือเป็นคู่ก็ได้ และมักจะอยู่ที่โคนของรยางค์ขาเดิน - มักจะมี copulation เพศผู้จะดัดแปลงรยางค์บางอันมาทำหน้าที่ยึดเกาะตัวเมียและทำหน้าที่ส่งสเปิร์มเข้าไปผสมกับไข่ - พวกที่อยู่บนบก การปฏิสนธิจะเป็นแบบปฏิสนธิภายในตัว - พวกที่อยู่ในน้ำ การปฏิสนธิมีได้ทั้งแบบปฏิสนธิภายในและภายนอกตัว - ไข่มีไข่แดงมาก มักมี metamorphosis จึงมีตัวอ่อนหลายระยะ แต่ละระยะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไป - pathenogenesis มักจะพบในไรน้ำที่มีขนาดเล็ก เช่น ไรแดง (Moina macrocopa) - เนื่องจากอาร์โทรปอดมีเปลือกแข็ง การเจริญเติบโตโดยการเพิ่มขนาดไม่อาจจะทำได้ตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีการลอกคราบเพื่อถอดเอาเปลือก (cuticle) อันเดิมออก ขณะที่เปลือกที่สร้างขึ้นใหม่ยังไม่ทันแข็งตัวนั้น ร่างกายสามารถเพิ่มขนาดขึ้นได้เต็มที่จนกระทั่งเปลือกใหม่แข็งตัวร่างกายก็หยุดการเพิ่มขนาด ตัวอ่อนลอกคราบหลายครั้งกว่าตอนที่เป็นตัวเต็มวัยแล้ว

การจัดหมวดหมู่ Phylum Arthopoda (Hickman, 1979) Subphylum Trilobita - trilobite Subphylum Chelicerata Class Merostomata - แมงดาทะเล Class Arachnida - แมงมุม แมงป่อง เห็บ ไร Subphylum Mandibulata Class Crustacea - กุ้ง ปู ไรน้ำ ฯลฯ Class Diplopoda - กิ้งกือ Class Chilopoda - ตะขาบ Class Insecta - แมลง

Subphylum Trilobita - สูญพันธุ์ไปประมาณ 200 ล้านปีแล้ว - ปัจจุบันพบซากของมันติดอยู่กับก้อนหิน โครงร่างของซากดึกดำบรรพ์นี้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ เห็นรูปร่างชัดเจน ทำให้สามารถคาดหมายรูปร่างที่แท้จริงของมันได้ - ไตรโลไบท์ (Trilobite) มีลำตัวรูปไข่ ขนาดตั้งแต่ 2-67 ซม. มีผิวตัวแข็ง ปกคลุมด้วยคิวติเคิล มีแคลเซียมคาร์บอเนตสะสมในบางบริเวณ ลำตัวเป็นปล้องประมาณ 20 ปล้อง ด้านหลังมีร่องตามยาวพาดอยู่บนหลังสองร่องทำให้แบ่งลำตัวเป็น 3 ส่วน อันเป็นที่มาของชื่อ Subphylum ส่วนหัวมีหนวด 1 คู่ มีตารวม 1 คู่ - ส่วนลำตัวมีรยางค์ขาเดินปล้องละ 1 คู่

Subphylum Chelicerata - อยู่บนบกได้อย่างดี บางกลุ่มยังคงอยู่ในทะเล - ลำตัวแบ่งออกเป็นสองส่วน ลำตัวส่วนหน้าเรียกว่า prosoma ปล้องเชื่อมรวมกันทางด้านหลังเป็นแผ่นเดียวกัน ทำให้นับจำนวนปล้องได้ยาก มีรยางค์ 6 คู่ - chelicera คู่ที่อยู่หน้าสุดเป็นข้อสั้นๆ 3-4 ข้อ ปลายเป็นก้านหนีบ - pedipalp ปลายมักจะเป็นก้ามหนีบเช่นเดียวกัน - ขาเดิน 4 คู่ - โปรโซมามีตา (ocelli) หลายคู่ แต่ไม่มีหนวด - opisthosoma ลำตัวส่วนท้าย มี 12 ปล้องและมักจะเชื่อมติดกันเช่นเดียวกับส่วนหน้า ไม่มีรยางค์ในการเคลื่อนที่เลย ส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงไปเป็นเหงือกและอวัยวะในการแลกเปลี่ยนแก๊สอื่น ๆ เช่น book lung, spiracle บางชนิดมีหาง (telson) 1 อันที่ปล้องสุดท้ายของส่วนท้าย - วิธีกินอาหารที่ต่างไปจากกลุ่มอื่นๆ คือ จะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหารนอกตัว และดูดอาหารที่ย่อยแล้วเข้าไปในท่อทางเดินอาหาร - มี coxal gland หรือ Malpighian tubule ในการขับถ่าย - มี book lung หรือ book gill ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส - เพศแยก ปฏิสนธิภายใน มักมี copulation มีการเกี้ยวพาราสีก่อนจะมีการผสมพันธุ์

Class Merostomata - แมงดาทะเล (King crab, horseshoes crab) - living fossil - สูญพันธุ์ไปเกือบหมด เหลือเพียง 3 สกุล 4 ชนิดเท่านั้นคือ Limulus polyphemus,Tachyplius gigas (แมงดาจาน), Tachyplius tridentatus และ Carsinoscorpius rotundicauta (แมงดาถ้วย, แมงดาไฟ, เหรา) - แมงดาทะเลพบในทะเลและน้ำกร่อยเท่านั้น

Class Arachnida แมงมุม (spider) - แมงมุมเป็น predator จึงมีความสำคัญทางการเกษตร ช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืช - แมงมุมบางชนิดอาจจะมีพิษร้ายแรงต่อคนในเวลาถูกกัด - แมงมุมอาศัยอยู่ตามต้นไม้ ทุ่งหญ้า และมีทั้งชนิดที่ขุดรูอยู่ในดิน ส่วนใหญ่จะสร้างใย (web) เพื่อใช้ดักจับเหยื่อ แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่สร้างใย - แมงมุมมีประมาณ 36,000 ชนิด โดยทั่วไปมีขนาดเล็ก เฉพาะส่วนลำตัวยาวประมาณ 1-2 ซม. - แมงมุมแพร่กระจายทั่วไปในเขตอบอุ่นและเขตร้อน - วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับแมงมุมโดยเฉพาะเรียกว่า วิชา Araneaology - โปรโซมาและโอพิสโทโซมาจะมีก้านสั้น ๆ (pedicel) ยึดระหว่างกัน โปรโซมาจะเล็ก ส่วนโอพิสโทโซมาจะใหญ่

แมงป่อง (scorpion) - แมงป่องพบในเขตอบอุ่นและเขตร้อนเป็นส่วนใหญ่ ชอบอาศัยในที่มืด ๆ ใต้กองไม้ ก้อนหิน ตามพื้นดิน พื้นทราย ออกหากินเวลากลางคืน - อาหารส่วนใหญ่เป็นแมงมุมและแมลงต่าง ๆ - แมงป่องมีประมาณ 800 ชนิด บางชนิดมีพิษร้ายแรงต่อมนุษย์

เห็บและไร (tick and mite) - เห็บและไรมีรูปร่างแตกต่างไปจากอเรชนิดอื่น - ลำตัวแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหัว เรียก capitulum หรือ gnathosoma หัวเล็กมาก มีรยางค์เพียง 2 คู่คือ chelicera และ pedipalp - chelicera ของปรสิตเป็นแท่งแหลม มีพิษตามขอบเพื่อใช้ขูดผิวของเหยื่อและเจาะดูดกินของเหลวจากตัวเหยื่อ - chelicera และ pedipalp ของพวกที่ล่าเหยื่อจะเป็นก้ามหนีบ - idiosoma ส่วนส่วนท้องขนาดใหญ่ไม่เป็นปล้อง มีขาเดิน 4 คู่ - เห็บ (tick) เป็นปาราสิตภายนอกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด น้ำลายมีสารป้องกันเลือดไม่ให้แข็งตัวช่วยให้การดูดเลือดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีซีกัมช่วยเก็บอาหาร เห็บที่เรารู้จักกันทั่วไปคือเห็บสุนัขสกุล Rheipicephalus - ไร (mite) มีทั้งที่ดำรงชีวิตเป็นอิสระอยู่ในดิน ในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล พวกที่เป็นปรสิตมีทั้งแบบภายนอกและภายในของสัตว์และพืช

subphylum Mandibulata - มี mandible อยู่ในอุ้งปาก - ลำตัวแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1. cephalothorax = head + thorax 2. abdomen

Class Crustacea - ครัสเทเชียน (crustaceans) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเล ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดมีน้อยชนิดกว่าในทะเลมาก และบางชนิดสามารถปรับตัวขึ้นมาอยู่บนบกในที่ชื้นๆ ได้ดี - ขนาดรูปร่างของครัสเทเชียนแตกต่างกันมาก มีตั้งแต่พวกไรน้ำขนาดเล็กไม่กี่มิลลิเมตรไปจนถึงปูแมงมุมบางชนิดมีความยาวรวมทั้งขาถึง 3 เมตร ครัสเทเชียนมีลักษณะเด่น ๆ ดังนี้คือ - มีหนวด 2 คู่ (ยกเว้นพวกที่อยู่บนบกจะมี 1 คู่) - รยางค์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบไบรามัส (biramous) - ร่างกายแบ่งเป็นสองส่วนคือ cephalothorax เป็นส่วนหัวกับส่วนอกเชื่อมรวมกัน หัวจะมี 5 ปล้อง อกมี 8 ปล้อง - abdomen จำนวนปล้องต่างกันในแต่ละชนิด แต่ละปล้องจะมีรยางค์ 1 คู่ มีรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกันไป - ส่วนปากจะมีรยางค์ 3 คู่ช่วยในการจับอาหาร เคี้ยวอาหาร คือ mandible 1 คู่ และ maxilla 2 คู่ - ใช้เหงือกในการแลกเปลี่ยนแก๊ส รยางค์ - ครัสเทเชียนมีรยางค์หลายประเภททำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่มีรูปแบบพื้นฐานของรยางค์เพียงสองประเภท คือ - biramous ประกอบด้วย protopodite, exopodite และ endopodite ได้แก่ รยางค์ว่ายน้ำ รยางค์รอบ ปาก - uniramous เป็นแบบข้อต่อเรียงต่อกัน ตรงปลายข้อฐานไม่แยกเป็นสองแขนง exopodite เสื่อมไป ได้แก่ ขาเดิน

- รยางค์จำแนกตามตำแหน่งของรยางค์แบ่งออกเป็น 1. รยางค์ส่วนหัว ประกอบด้วย - หนวด หนวดคู่แรกอยู่หน้าสุดคือ antennule คู่ที่สองอยู่ถัดไปคือ antenna - รยางค์รอบปาก (mouth parts) ประกอบด้วยรยางค์ 3 คู่ คือ - mandible 1 คู่ เป็นแท่งแข็ง ทำหน้าที่บดอาหาร - maxilla 2 คู่ เป็นแผ่นแบนบาง ช่วยในการจับอาหารเข้าปาก 2. รยางค์อก ประกอบด้วย - maxilliped 1-3 คู่ ทำหน้าที่ช่วยจับอาหารเข้าปาก - walking leg 3. รยางค์ท้อง มี swimmerette ช่วยในการว่ายน้ำ แลกเปลี่ยนแก๊ส รยางค์ท้องส่วนใหญ่เป็นแบบไบรามัส โภชนาการ - filter feeding โดยใช้รยางค์ของร่างกายกรองอาหารที่ปนอยู่ในน้ำเข้าปาก - พวกที่มีขนาดใหญ่จะกินอาหารโดยการล่าเหยื่อ (predator) สัตว์กลุ่มนี้มีรยางค์อกเป็นก้ามหนีบเพื่อใช้จับเหยื่อ - บางกลุ่มเป็น scarvenger - บางกลุ่มเป็นปรสิต มักจะดัดแปลงอวัยวะบางอย่างมาทำหน้าที่ช่วยเกาะกับโฮสต์ เช่น hook, sucker ปากเปลี่ยนจากปากกัดเป็นปากดูด - fore gut ประกอบด้วยหลอดอาหาร (esophagus) และกระเพาะอาหาร - midgut มี digestive gland มาเปิดเข้า ต่อมน้ำย่อยบางส่วนอาหารด้วย จึงเรียกว่า hepatopancreas - hind gut ได้แก่ ส่วนท้ายของลำไส้และทวารหนัก

ระบบหมุนเวียนและการแลกเปลี่ยนแก๊ส - ระบบหมุนเวียนโลหิตของครัสเทเชียนเป็นระบบเปิด ประกอบไปด้วยอวัยวะและส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 1. heart มี pericardium บนหัวใจมี ostia ให้เลือดไหลเข้าสู่หัวใจหลายคู่ 2. artery เป็นเส้นเลือดนำเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย เลือดจะกลับเข้าหัวใจทาง ostia จึงไม่มี veins นำเลือดกลับเข้าหัวใจ 3. hemocoel เป็นแอ่งเลือดเล็กแทรกอยู่ทั่วไปตามเนื้อเยื่อต่างๆ 4. sinus รวบรวมเลือดที่ใช้แล้วจากร่างกายเพื่อส่งไปที่เหงือก และรวบรวมเลือดจากเหงือกเข้าสู่หัวใจทาง ostia 5. blood มี amoeboid cell ใน plasma มี respiratory pigment เป็น haemocyanin เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มี haemoglobin

ระบบขับถ่าย - antennal gland - maxillary gland - green gland - gill ครัสเทเชียนชั้นสูงหลายชนิดใช้เหงือกกำจัดแอมโมเนียได้

ระบบประสาทและอวัยวะความรู้สึก - ระบบประสาทของครัสเทเชียนประกอบไปด้วยปมประสาทที่สำคัญคือ 1. supraesophageal ganglion (brain) มีเส้นประสาทไปยังหนวด 2 คู่ และตา 1 คู่ 2. circumesophageal commissure ไปเชื่อมกับปมประสาทใต้หลอดอาหาร 3. subesophageal ganglion 4. ventral nerve cord 5. segmental ganglion 6. lateral nerve ปล้องละ3 คู่ 7. thoracic ganglionic mass 8. ventral mass

- ครัสเทเชียนมีอวัยวะรับความรู้สึกหลายประเภท ประกอบด้วย 1. eyes มีสองประเภทคือ median simple eyes ในตัวอ่อน ทำหน้าที่รับแสงเท่านั้น และ compound eyes ประกอบไปด้วยตาย่อย (ommatidium) จำนวนมาก ตาย่อยแต่ละอันมีเลนส์รับภาพได้ ภาพรวมที่เห็นจะเป็นแบบภาพเรียงกันหลายภาพ (mosaic image) ภาพไม่ชัดเจน แต่สามารถจับความเคลื่อนไหวของภาพได้ดี ทำให้สามารถล่าเหยื่อ หลบหลีกศัตรูได้ดี 2. statocyst เป็นแอ่งที่ statolith และ setae เมื่อ statolith เอียงหรือกลิ้งมากระทบขนจะส่งความรู้สึกไปได้ 3. proprioceptor เป็นอวัยวะรับความรู้สึกเกี่ยวกับแรงกด พบเฉพาะในกุ้ง ปู อวัยวะรับความรู้สึกชนิดนี้ได้แก่เซลล์กล้ามเนื้อบางบริเวณที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น บริเวณข้อต่อของรยางค์ 4. tactile sense organ เป็นอวัยวะรับความรู้สึกโดยการสัมผัส ได้แก่ setae ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วไปตามรยางค์ 5. chemoreceptors เป็นอวัยวะรับความรู้สึกเกี่ยวกับสารเคมีในน้ำ

ระบบสืบพันธุ์ - เพศแยก มีsexual dimorphism - บางชนิดที่เกาะอยู่กับที่ เช่น เพียงหิน (acron barnacle) เพรียงคอห่าน (goose neck barnacle) มีเพศรวม - นอกจากนี้ไรน้ำบางชนิด เช่น ไรแดง (water fea: Moina macrocopa) จะมีเพศผู้น้อยมาก และมักจะพบในบางฤดูบางสภาวะเท่านั้น ประชากรเกือบทั้งหมดจึงเป็นเพศเมีย และจะสืบพันธุ์แบบ pathenogenesis - ตัวอ่อนระยะหลักมี 3 ระยะคือ 1. nauplius เป็นระยะที่ฟักออกจากไข่ ลำตัวไม่เป็นปล้อง มี 1 ocellus รยางค์ 3 คู่คือ antennule,, antenna และ mandible 2. zoea ลำตัวแบ่งเป็นส่วนๆ มีคาราเพสคลุมหัวและอก มีรยางค์อก รยางค์ท้องแล้ว แต่ยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ 3. postlarva เป็นระยะที่มีรูปร่างคล้ายตัวเต็มวัย มีรยางค์ครบและทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์แล้ว แต่ขนาดเล็ก ฮอร์โมน - ครัสเทเชียนสร้างฮอร์โมนควบคุมการสืบพันธุ์ และ การลอกคราบ กลุ่มเซลล์และอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนได้แก่ 1. X-organ เป็นกลุ่มเซลล์ประสาทบริเวณสมองหรือก้านตา สร้าง Molt-Inhibiting Hormone (MIH) และ Gonad-Inhibiting Hormone (GIH) ถ้าทำลายฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะเร่งให้อวัยวะสืบพันธุ์เจริญเติบโตได้ ปัจจุบันมีการใช้วิธีบีบก้านตาของกุ้งตัวเมียเพื่อทำลายเซลล์สร้างฮอร์โมน ทำให้ไข่แก่เร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ยังพบว่า X-organ ยังสร้างฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ (Gonad Stimulating Hormone-MSH) อีกด้วย 2. sinus gland เป็นต่อมที่โป่งออกมาจากปลายเส้นใยประสาทที่มาจาก X-organ และสมองส่วนอื่นๆ ต่อมไซนัสอาจสร้างฮอร์โมนเอง หรืออาจเป็นถุงเก็บฮอร์โมนของ X-organ 3. Y-organ เป็นกลุ่มเซลล์ขับสารที่บริเวณโคน antenna หรือโคน maxilla คู่ที่ 2 สร้าง Molting Hormone (MH) 4. androgenic gland อยู่ใกล้กับอัณฑะ สร้าง male hormone กระตุ้นการเจริญของอัณฑะ 5. ovary สร้าง female hormone กระตุ้นการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย

Class Diplopoda - กิ้งกือ (milipedes) กิ้งกือพบทั่วไปในเขตอบอุ่นและเขตร้อน อาศัยอยู่ตามพื้นดิน ตามใต้กองใบไม้ ต้นไม้ผุ ๆ บางชนิดขุดรูอยู่ในดินตื้น ๆ มีประมาณ 8,000 ชนิด มีขนาดทั่ว ๆ ไปประมาณ 3-10 ซม. - กิ้งกือส่วนใหญ่มีลักษณะตัวยาวทรงกระบอก ประกอบด้วยส่วนหัว อก และท้อง ส่วนอกและท้องมักรวมเรียกว่า ลำตัว (trunk) - หัว มีหนวด 1 คู่ ด้านข้างของหัวมีแมนดิเบิลที่ขยายเป็นแผ่นปิดอยู่สองข้างของหัว มีส่วนที่ทำหน้าที่ขุดดิน - trunk ประกอบด้วยอก 4 ปล้องและ ส่วนท้อง - อกปล้องแรกมีเปลือกเป็นปลอกอยู่ตอนท้ายของหัว ไม่มีรยางค์ เรียกว่า collum - 3 ปล้องที่เหลือมีรยางค์ปล้องละ 1 คู่ - ส่วนท้อง เกิดจากการเชื่อมรวมของเทอกัมของปล้อง 2 ปล้อง (double segment) เป็นที่มาของชื่อ Diplopoda ดังนั้นปล้องแต่ละปล้องจึงมีรยางค์ปล้องละ 2 คู่ บริเวณรอยต่อของปล้องจะเป็นวงแหวนสีน้ำตาล - ส่วนท้องของกิ้งกือบางชนิดอาจมีจำนวนปล้องมากถึง 100 ปล้อง - ปล้องท้ายๆ บางปล้องอาจไม่มีรยางค์ ส่วนปลายสุดของ ลำตัวเป็นไพจีเดียม - Schizophyllum subalosum เป็นกิ้งกือสีน้ำตาลแดง ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 4-5 ซม. พบทั่วไปตามกองไม้ผุ - Julus terrestris เป็นกิ้งกือขนาดใหญ่ สีน้ำตาลแก่ ตัวยาวประมาณ 15 ซม. - กระสุนพระอินทร์ (pill millipede) กิ้งกือชนิดตัวสั้น ลำตัวแบนกว้าง เวลาม้วนตัวจะเป็นก้อนกลม - ตะเข็บ (flat back millipede) ตัวแบนคล้ายตะขาบขนาดเล็ก ตัวยาวประมาณ 2 ซม. ปล้องท้องมีขาเดินปล้องละ 2 คู่เช่นเดียวกับกิ้งกือ

Class Chilopoda - ตะขาบ (centipeds) ตะขาบอาศัยอยู่ตามพื้นดิน ใต้กองไม้ผุ ใต้ก้อนหิน ขอนไม้ในที่มืด บางกลุ่มอยู่ตามพื้นทราย ตามชายฝั่งในเขตที่น้ำทะเลท่วมถึง โดยอยู่ตามใต้ก้อนหิน เปลือกหอย - ท้องแบนนูนหลัง (dorsoventral flattened) - ปล้องแต่ละปล้องมีขาเดินปล้องละ 1 คู่ จำนวนปล้องต่างกันในแต่ละชนิด - ตะขาบมีประมาณ 3,000 ชนิด โดยทั่วไปมีขนาดยาวประมาณ 6-8 นิ้ว - หัว มีหนวด 1 คู่ มีกลุ่มของโอเซลไลสองข้างของหัว - ลำตัวมีปล้องหลายปล้อง ปล้องอกปล้องแรกที่ติดกับหัวจะมี poison claw 1 คู่ยื่นไปข้างหน้าแนบกับส่วนหัว ใช้กัดเหยื่อและปล่อยน้ำพิษออกมาที่ปลายเขี้ยว น้ำพิษทำให้สัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลง ไส้เดือน แมงมุม ลูกคางคก ตายได้ หลังจากนั้นจึงจะใช้แมกซิลลาและแมนดิเบิลฉีกอาหารเข้าปาก - ลำตัวปล้องถัดไปจะมีขาเดินปล้องละ 1 คู่

Class Insecta - แมลงเป็นสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตบนบกได้ดีที่สุดในบรรดาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง - แมลงอาศัยอยู่ได้แทบทุกแห่ง ทุกสภาวะแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นภูเขา ทะเลทราย หรือขั้วโลกที่มีอากาศหนาวเย็น - แมลงบางชนิดมีระยะตัวอ่อนอยู่ในน้ำจืด บางชนิดตัวเต็มวัยลงไปหากินอยู่ในน้ำจืด แต่แมลงยังไม่สามารถลงไปดำรงชีวิตอยู่ในทะเลได้ มีเพียงบางชนิดอาจจะว่ายน้ำ วิ่งอยู่ตามผิวน้ำทะเลได้ แต่ยังไม่สามารถดำรงชีวิตในทะเลได้อย่างสมบูรณ์เหมือนครัสเทเชียน - จากการที่แมลงมีความสามารถในการปรับตัวในการดำรงชีวิตได้ดีมาก แมลงจึงมีมากทั้งปริมาณและชนิด ประมาณว่ามีมากกว่า 750,000 ชนิดที่ตั้งชื่อแล้ว และยังมีอีกมากที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ - แมลงมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์มากเนื่องจากเป็นศัตรูทำลายพืช ผลิตผลทางการเกษตร เป็นพาหะนำโรค เป็นปรสิตของคนและสัตว์เลี้ยง ทำให้เกิดความเสียหายในทางการเกษตร ทำลายสุขภาพของมนุษย์เป็นอย่างมาก และขณะเดียวกันก็ทำประโยชน์ให้แก่มนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน จึงมีการศึกษาเรื่องแมลงอย่างกว้างขวาง - วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับแมลงคือ กีฏวิทยา (Entomology)

ลักษณะทั่วไป - แมลงมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมากในแต่ละชนิด - คิวติเคิลบางแต่เหนียวแข็งแรงยืดหยุ่นได้ดี น้ำหนักเบา ทำให้เคลื่อนที่ได้สะดวก มีขี้ผึ้ง (wax) และลิปิด (lipid)คลุมผิวนอกสุดทำให้ป้องกันการระเหยของน้ำได้ดี - procuticle มีเม็ดสีอยู่หลายประเภท ทำให้แมลงมีสีหลายสี ตัวเต็มวัยร่างกายของแมลงแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ head, thorax และ abdomen แต่ในระยะตัวอ่อน เช่น ตัวหนอน ดักแด้ ร่างกายจะไม่แบ่งเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน

ส่วนหัว - ส่วนหัวประกอบด้วยปล้อง 4 ปล้อง (ตัวอ่อนมี 5 ปล้อง) หัวทั้ง 4 ปล้องเชื่อมกันเป็นชิ้นเดียว - eyes ตาของแมลงมีสองประเภทคือ compound มี 1 คู่อยู่สองข้างของหัว และตาเดี่ยว (ocelli) อยู่ด้านหน้าของหัว ตาเดี่ยวจะทำหน้าที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของความเข้มของแสงได้ดีแต่รับภาพไม่ได้ เป็นตัวกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเตรียมพร้อมในการที่จะกระโดดหรือบิน ตาเดี่ยวมักจะพบในตัวหนอน (larva) ของแมลงด้วย ซึ่งมักจะอยู่ด้านข้างของส่วนหัวของตัวหนอนเรียกว่า stemmata - ตารวมของแมลงมีโครงสร้างเหมือนตาของครัสเทเชียน ประกอบไปด้วยตาย่อย (ommatium) จำนวนมาก ในแมลงปออาจมีตาย่อยถึง 30,000 อัน ตารวมมองเห็นภาพแบบเรียงต่อภาพ (mosaic immage) ภาพไม่ชัด แต่จับภาพที่เคลื่อนไหวได้ดี ทำให้สามารถล่าเหยื่อได้สะดวก - หนวด (antenna) แมลงมีหนวด 1 คู่อยู่ด้านล่างของตารวม มีรูปร่างแตกต่างกันมากในแมลงแต่ละกลุ่ม - ปาก (mouth) ปากของแมลงอยู่ทางด้านล่างของส่วนหัว รยางค์ที่ประกอบกันเป็นปากของแมลงประกอบด้วย 1. labrum เป็นแผ่นแบนห้อยลงมาจากส่วนหัว ปิดอยู่ด้านหน้าของปาก สามารถขยับเขยื้อนได้ 2. mandible ในปล้องที่ 2 มี 1 คู่อยู่ด้านข้างของปาก 3. maxilla คู่ที่ 1 อยู่ถัดจาก mandible ช่วยส่งอาหารเข้าปาก 4. labium เป็นแผ่นบาง เกิดจากการเชื่อมรวมของแมกซิลลาคู่ที่ 2 ด้านข้างมีติ่งเล็กๆ เรียกว่า labial palp ช่วยส่งอาหารเข้าปาก 5. hypopharynx อยู่ระหว่างริมฝีปากบนกับริมฝีปากล่างเหมือนลิ้น ไฮโปฟาริงซ์เป็นแผ่นเดี่ยว มีร่องตรงกลาง ไฮโปฟาริงซ์เป็นอวัยวะช่วยนำอาหารไหลเข้าสู่หลอดอาหาร - ระหว่างริมฝีปากล่างกับไฮโปฟาริงซ์มีท่อจากต่อมน้ำลายมาเปิดเข้า ส่งน้ำลายมาช่วยคลุกเคล้าอาหาร ต่อมน้ำลายของตัวหนอนผีเสื้อไหมจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นต่อมสร้างใยไหม (silk) เพื่อใช้หุ้มตัวเมื่อจะเข้าดักแด้ - ปากของแมลงมีการดัดแปลงไปเพื่อให้เหมาะกับวิธีการกินอาหาร ดังนั้นโครงสร้างอวัยวะต่าง ๆ จึงมีรูปร่างแตกต่างกันมาก ปากของแมลงมีหลายแบบ ตัวอย่างเช่น - chewing type มี mandible ใหญ่ เช่น ปากของตั๊กแตน, แมลงปอ - sucking type แมกซิลลาเปลี่ยนรูปไปเป็นท่อยาวกลวงใช้ดูดอาหารที่เป็นของเหลว เช่น ปากของผีเสื้อ - piercing and sucking type แมนดิเบิลและแมกซิลลารวมกันเป็นเข็มแหลม (stylet) ใช้แทงและดูดอาหารที่เป็นของเหลว เช่น ปากของยุง - ปากของตัวหนอน (larva) กับปากของแมลงระยะที่เป็นตัวเต็มวัยจะมีโครงสร้างที่ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ตัวเต็มวัยของผีเสื้อกลางคืน (moth) ตัวชีปะขาว (mayfly) ซึ่งตัวเต็มวัยไม่กินอาหาร รยางค์ปากจะเสื่อมไป

ส่วนอก - ส่วนอกของแมลงมี 3 ปล้องเรียงจากด้านหน้ามาคือ prothorax, mesothorax และ metathorax - sclerite ประกอบด้วย notum หรือ turgum, sternum และ pleuron - wing 2 คู่อยู่ที่ mesothorax และ metathorax ปล้องละ 1 คู่ เรียกว่า mesothorax wing และ metathorax wing - แมลงบางชนิดมีปีกคู่เดียวเช่น แมลงวัน ปีกคู่หลังของแมลงวันเป็นตุ่มเล็ก ๆ เรียกว่า halteres ทำหน้าที่ช่วยในการทรงตัวขณะบิน - แมลงบางชนิดมีปีกในบางช่วงของชีวิตเท่านั้น เช่น ปลวกตัวผู้มีปีกช่วงฤดูสืบพันธุ์ ส่วนปลวกงาน (worker) ไม่มีปีก หมัด (flea) เหา (lice) โลน (pubis louse) ไม่มีปีกตลอดชีวิต - แมลงกลุ่มด้วงปีกแข็งมีปีกสองคู่ แต่จะใช้ปีกคู่หลังในการบิน ปีกคู่แรกเป็นแผ่นแข็งมากเรียกว่า elytra ใช้คลุมตัวทับปีกคู่หลังไว้ - walking legs แมลงตัวเต็มวัยมีขา 3 คู่ - โครงสร้างทั่วไปของขามีลักษณะเป็นข้อต่อหลายข้อ มีชื่อเรียกต่างกันเรียงลำดับจากในตัวออกมาคือ coxa, trochanter, femur, tibia และ tarsus มีขน (sensilla) กระจายอยู่ทั่วขา ทำหน้าที่รับความรู้สึกด้วยนอกเหนือจากการเคลื่อนที่

ส่วนท้อง (abdomen) - ส่วนท้องประกอบไปด้วยปล้อง 11 ปล้อง - คิวติเคิลของส่วนท้องบางและนุ่มกว่าส่วนหัวและส่วนอกมาก - ท้องปล้องสุดท้ายมีขนาดเล็กมากและมักมีติ่งเป็นเส้นยาว 1 คู่ เรียกว่า เซอร์คัส (circus) - ปล้องด้านท้ายของลำตัวมักจะเชื่อมรวมกัน ดังนั้นจำนวนปล้องของส่วนท้องจึงมักจะน้อยกว่า 11 ปล้อง - ระยะตัวเต็มวัย ส่วนท้องจะมีรยางค์ซึ่งทำหน้าที่ช่วยในการสืบพันธุ์เท่านั้น

ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ท่อทางเดินอาหารของแมลงประกอบไปด้วยท่อทางเดินอาหารตอนต้น ตอนกลาง และตอนท้าย 1. fore gut - pharynx เป็นถุงกล้ามเนื้อหนา ช่วยดูดอาหารเข้ามาภายในหลอดอาหาร - esophsgus เป็นหลอดอาหารสั้น ๆ เป็นทางผ่านของอาหาร - crop เป็นที่พักของอาหาร - gizzard, proventriculus มักจะมีฟันอยู่เพื่อบดอาหาร 2. midgut 3. hind gut ประกอบด้วยลำไส้ ไส้ตรง (rectum) และทวารหนัก และมี Malpigion tubule การแลกเปลี่ยนแก๊ส แมลงมีระบบท่ออากาศ (tracheal system) ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส อวัยวะในระบบนี้ประกอบด้วย 1. spiracle 2. trachea 3. tracheole แมลงพวกที่บินได้จะมี air sac มีอากาศอยู่ทำให้ตัวเบาบินได้ดี

ระบบหมุนเวียน แมลงมีระบบหมุนเวียนเป็นระบบเปิด มีอวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบหมุนเวียนคือ heart หัวใจจึงเป็นท่อยาว มี ostia หลายคู่

dorsal aorta sinus

hemocoel hemolymph plasma ไม่มีสี มีอาหาร ฮอร์โมน ของเสีย รงควัตถุในการแลกเปลี่ยนแก๊สมีน้อยมาก ตัวอ่อนแมลงบางชนิดมี haemoglobin เช่น หนอนแดง (chironomid larva) บางชนิดมีเม็ดสี insectoverdin ทำให้เลือดมีสีเขียว ส่วนhaemocyanin พบน้อยมาก

  • hemocyte หลายแบบ หน้าที่ต่างๆ กัน สะสมอาหาร ทำลายเชื้อโรค ทำให้เลือดแข็งตัว

ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก - ระบบประสาทเป็นแบบเดียวกับครัสเตเชียน - แมลงมีอวัยวะรับความรู้สึกหลายประเภท ทำให้แมลงสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสมบูรณ์กว่าสัตว์กลุ่มอื่นๆ สามารถหาอาหารได้เก่ง หลบหลีกศัตรูได้ดี สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างพวกเดียวกันได้ดี อวัยวะรับความรู้สึกของแมลงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. photoreceptors ได้แก่ compound eye และocelli หรือ stemmata 2. mechanoreceptors เป็นอวัยวะรับความรู้สึกโดยที่ต้องมีการกระทบสัมผัสกับอวัยวะรับสัมผัสโดยตรงจึงจะรับรู้ได้ คือ รับสัมผัส, รับแรงกด, รับคลื่นเสียง และรับรู้สารเคมี แมลงบางชนิดทำเสียงได้ เช่น - จิ้งหรีด ใช้ปีกคู่หน้าถูกัน - ตั๊กแตน ใช้ขา (femur) ถูกับปีกคู่หน้า

ระบบสืบพันธุ์ - แมลงมีเพศแยก อวัยวะสืบพันธุ์จะอยู่ตอนท้ายของลำตัว - แมลงมีการปฏิสนธิภายใน ไข่ที่ถูกปฏิสนธิแล้วจะมีการเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนหลายระยะ แต่ละระยะมีการลอกคราบ มี metamorphosis - egg อาจเป็นฟองเดี่ยวหรือมีหลายใบอยู่ใน capsule - larva มีรูปร่างต่าง ๆ กัน บางชนิดมีขาแรกเริ่ม (proleg) มีตา (stemmata) แต่ไม่มีตารวม - pupa มักมีคราบเก่า (puparium) จากการลอกคราบครั้งสุดท้ายของตัวหนอนหุ้มตัว หรือใช้ใบไม้หุ้มตัว อวัยวะภายในที่มาจากตัวหนอนจะสลายไปสร้างอวัยวะใหม่ขึ้นมาแทน ดักแด้ไม่กินอาหาร ไม่เคลื่อนไหว - metamorphosis ของแมลงมีหลายแบบ ได้แก่ 1. ametamorphosis, simple development จากไข่จะพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนที่มีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย 2. incomplete metamorphosis, hemimetabolous development ไข่ฟักออกมาเป็นตัวอ่อนที่คล้ายแม่ คือมีตาประกอบ หนวด ขาเดิน แต่ยังไม่มีปีก และระบบสืบพันธุ์ เรียกว่า ระยะนิ้มฟ์ (nymph) พวกที่อยู่ในน้ำจะมีเหงือกเรียกว่า เนเอด (naiad) หลังจากนั้นจึงลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย ได้แก่ จิ้งหรีด ตั๊กแตน เป็นต้น 3. complete metamorphosis, homometabolous development ไข่ฟักออกมาเป็นตัวหนอน (larva) ตัวหนอนลอกคราบหลายครั้งและเข้าดักแด้ (pupa) หลังจากนั้นจะออกจากดักแด้เป็นตัวเต็มวัย (adult) ได้แก่ ยุง ผีเสื้อ ด้วงต่าง ๆ

ฮอร์โมนของแมลง แมลงสร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตได้เช่นเดียวกับสัตว์ชั้นสูง ฮอร์โมนที่พบได้แก่ 1. brain-hormone (BH) สร้างจาก neurosecretory cell เป็นเซลล์ประสาทส่วนหนึ่งของสมอง BH จะทำหน้าที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนอื่นๆ 2. ecdysonเป็นฮอร์โมนในการลอกคราบ (molting hormone: MH) สร้างจาก prothoracic gland เป็นต่อมอยู่ที่ส่วนหัวหรือบริเวณอก ถ้าในเลือดมีเอคไดซอนมากแมลงก็จะลอกคราบ 3. juvenile hormone (JH) สร้างจาก corpora allata อยู่เหนือหลอดอาหารใกล้ ๆ กับเส้นประสาทเชื่อมปมประสาทสมอง ฮอร์โมนนี้จะกระตุ้นให้ตัวอ่อนลอกคราบเป็นตัวอ่อนอีกระยะหนึ่ง แต่ไม่เป็นตัวเต็มวัย ระดับฮอร์โมนนี้ต้องลดลง ตัวอ่อนจึงจะพัฒนาไปเป็นตัวเต็มวัย ทั้ง MH และ JH ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนจาก brain hormone

ฟีโรโมน - pheromone เป็นสารที่สร้างขึ้นและปล่อยออกนอกตัว มีผลต่อพฤติกรรมของสัตว์ชนิดเดียวกันเท่านั้น - ส่วนมากจะมีผลในการดึงดูดทางเพศเป็น sex attractant - แมลงสร้างฟีโรโมนได้หลายประเภท จากอวัยวะภายในหลายแห่ง - องค์ประกอบทางเคมีของฟีโรโมนมักเป็นกรดไขมันหลายชนิดที่ระเหยได้ และสารเคมีอื่นๆหลายชนิด - แมลงชนิดเดียวกันจะรับรู้จากอวัยวะสัมผัส เช่น หนวด รยางค์ปาก - หนวดรับฟีโรโมนมากที่สุด ฟีโรโมนสร้างได้จากทั้งแมลงตัวผู้และตัวเมีย ฟีโรโมนที่พบบ่อยๆ ได้แก่ 1. sex pheromone มีผลทำให้เพศตรงข้ามที่ได้กลิ่นติดตามมาพบเพื่อผสมพันธุ์กันได้ เช่น - แมลงสาบตัวเมียปล่อยฟีโรโมนลอยไปในอากาศล่อให้ตัวผู้เข้ามาผสมพันธุ์ - ผีเสื้อกลางคืน (ยิปซีมอท) ตัวเมียสร้างฟีโรโมน ตัวผู้มีหนวดสามารถรับฟีโรโมนได้ไกลหลายไมล์ - ผึ้งนางพญา สร้างฟีโรโมนราชินี (queen pheromone) จากต่อมบริเวณแมนดิเบิลล่อให้ตัวผู้มาผสมพันธุ์ และทำให้ผึ้งงานซึ่งเป็นตัวเมียเป็นหมัน ผึ้งงานได้รับฟีโรโมนราชินีในเวลาป้อนอาหารให้นางพญา 2. trail หรือ scent pheromone เพื่อบอกให้ทราบถึงทิศทางในการไปหาอาหาร กลับรัง พบในพวกผึ้งและมด 3. alarm pheromone เป็นฟีโรโมนเตือนภัยและเพื่อให้ออกมาป้องกันตัว พบในผึ้ง - ปัจจุบันสามารถสังเคราะห์ฟีโรโมนบางชนิดได้ เช่น ฟีโรโมนเพศของแมลงวันทอง ซึ่งเป็นสาร methyl eugenol เมื่อนำไปผสมกับอาหารจะล่อให้แมลงวันทองตัวผู้เข้ามาติดกับดักได้ จึงเป็นการกำจัดแมลงได้วิธีหนึ่ง

สังคมของแมลง - แมลงเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกในชนิดเดียวกันได้ดี ทำให้มีการรวมกลุ่มกันเพื่ออาศัยอยู่ด้วยกัน มีการแบ่งหน้าที่กันในอาณาจักรของมัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มด ปลวก ผึ้ง เป็นตัวอย่างที่ดีของการอยู่ร่วมกัน - สังคมของปลวกจะแบ่งสมาชิกในสังคมออกเป็น 3 วรรณะคือ sexuals, workers และ soldier